จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ศ,ส)

ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ
ตราประจำจังหวัด


รูปปรางค์กู่ มีดอกลำดวน 6 กลีบรองรับอยู่เบื้องล่าง
คำขวัญประจำจังหวัด
แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน
หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
จากการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายครั้งหลายหนในระยะหลัง ๆ นี้ อาทิ เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูป อัญมณีเครื่องประดับ ของใช้ประจำบ้านและเงินพดด้วง ซึ่งขุดพบใต้ฐานเจดีย์เก่าที่บ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2526 และที่หลายแห่งในพื้นที่ของกิ่งอำเภอห้วยทับทัน และอำเภออื่น ๆ
นักโบราณคดีได้วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักฐานศิลปวัตถุ เช่น เจดีย์บ้านโนนแกด ซึ่งเป็นเจดีย์รูปดอกบัว ตัวเจดีย์ย่อมุมมีบัวคว่ำบัวหงาย อายุประมาณ 1,200-1,300 ปี และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่มาแล้ว 2 ครั้งหลังจากที่ได้สร้างเสร็จ ครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.. 1700-1800 และครั้งที่ 2 เมื่อประมาณ พ.. 2000-2100
นอกจากนั้นวัตถุโบราณอื่น ๆ ที่ขุดพบ อาทิ เป็นถ้วยชาม หม้อ ไห สันนิษฐานว่า เป็นเครื่องปั้นดินเผาของชนชาติสยาม และบางส่วนเป็นศิลปะของชนชาติขอมแต่ไม่มากนัก ซึ่งอาจจะเกิดจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันระหว่างชนชาติสยามกับชนชาติขอม ประกอบกับมีปราสาทหินที่เก่าแก่หลายแห่งในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น ปราสาทหินสระกาแพงใหญ่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย ธาตุหรือปรางค์บ้านปราสาท ธาตุบ้านเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทันปราสาทปรางค์กู่บ้านกู่ ปราสาทบ้านสมอ อำเภอปรางค์กู่ ปราสาทเยอ ธาตุจังเกา อำเภอไพรบึงและประสาทหรือธาตุที่เก่าแก่ซึ่งยังพอมีซากปรากฏอยู่ในท้องที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดศรีสะะเกษและจากหลักฐานที่พบในหนังสือที่เขียนไว้เป็นภาษาขอมโบราณเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงการสร้างปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทบ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ ซึ่งสร้างในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจเวลาไล่เลี่ยกันคือราวในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 1 ปกครองเขมร
อาศัยหลักฐานต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วพอจะอนุมานได้ว่า พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติสยามและขอมมาเป็นเวลาช้านานประมาณไม่ต่ำกว่า 1,300 ปี แต่ก็ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจจะเป็นการอพยพหลบหนีภัยน้ำท่วมใหญ่หรือเกิดจากการกันดารน้ำและโรคภัยไข้เจ็บ
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ชนชาติลาวซึ่งอยู่ทางเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้อพยพเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำกินของพวกข่า ส่วย กวย ซึ่งตั้งหลักแหล่งอาศัยทำมาหากินอยู่ตามป่าดง แขวงเมืองอัตบือแสนแป ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศลาวปัจจุบัน1 ชาวลาวมีสติปัญญาดีกว่าเพราะเป็นชาวเมือง มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดีกว่าจึงมีความเจริญก้าวหน้า ลาวได้สร้างบ้านแปงเมืองและยกหัวหน้าขึ้นเป็นผู้ปกครองเมืองเป็นปึกแผ่นแน่นหนาจนรุ่งเรือง และสถาปนาขึ้นเป็นนครจาปาศักดิ์
เมื่อพวกส่วยถูกชาวลาวเข้ามารุกรานแย่งที่ทำกิน จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกไปหาที่ทำกินแห่งใหม่ ในราว พ.. 2220 ได้มีพวกส่วยหลายกลุ่มอพยพลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศไทย สู่ดินแดนอีสานตอนใต้ซึ่งยังรกร้างว่างเปล่าอยู่มาก ชาวไทยเจ้าของถิ่นในขณะนั้นเสื่อมอำนาจ เนื่องจากขอมซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) ได้ยกทัพมารบกวน ทำให้คนไทยต้องถอยร่นไปอยู่ที่อื่น พวกส่วยเหล่านี้จึงตั้งเป็นชุมนุมต่าง ๆ อาศัยดินแดนแถบนี้ทำไร่นาหาของป่าเลี้ยงชีพสืบกันต่อมาด้วยความเป็นสุข บรรดาชาวส่วยที่อพยพเข้ามาเหล่านี้ได้แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน เท่าที่ทราบมีดังนี้
กลุ่มที่ 1 หัวหน้าชื่อเชียงปุ่ม ตั้งหลักแหล่งที่บ้านเมืองทรี (ปัจจุบันคือเมืองที จังหวัดสุรินทร์)
กลุ่มที่ 2 หัวหน้าชื่อเชียงสี ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านหนองกุดหวาย (ท้องที่อำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์)
กลุ่มที่ 3 หัวหน้าชื่อเชียงสง ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ที่บ้านเมืองลิง (ปัจจุบันคืออำเภอจอมพระจังหวัดสุรินทร์)
กลุ่มที่ 4 หัวหน้าชื่อเชียงขัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลื่ยมดงลำดวน (ปัจจุบัน คือ บ้านดวนใหญ่ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ)
กลุ่มที่ 5 หัวหน้าชื่อเชียงฆะ ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึ่ง (ปัจจุบันคือบ้านสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
กลุ่มที่ 6 หัวหน้าชื่อเชียงชัย ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านจารพัด (ปัจจุบันคืออาเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)
การติดตามช้างเผือกและกำเนิดเมืองขุขันธ์
เมื่อ พ.. 23025ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจากโรงช้างต้นในกรุงศรีอยุธยา แล้วเดินทางมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง กับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา ให้คุมไพร่พลและทหารกรมช้างต้น 30 นายออกติดตาม ได้ติดตามพญาช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ผ่านมาจนถึงบริเวณป่าดงดิบทางฝั่งทิศใต้ลาน้ำมูลจึงได้ข่าวจากพวกชาวป่าว่า พญาช้างเผือกผ่านมาทางบ้านหนองกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี) นายทหารเอกสองพี่น้องจึงได้เข้าไปหาเชียงสีหัวหน้าบ้านหนองกุดหวายเพื่อให้เชียงสีช่วยพาไปหาหัวหน้าบ้านต่อ ๆ ไป
เชียงสีได้พาไปหาเชียงปุ่มที่บ้านเมืองทรี (เมืองที) เชียงชัยที่บ้านจารพัด (ศีขรภูมิ) ไปหาตากะจะและเชียงขันที่บ้านปราสาทที่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่) แล้วยกต่อไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง (สังขะ) เชียงฆะแจ้งให้ทราบว่า เห็นช้างเผือกกับโขลงช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก ครั้นวันรุ่งขึ้นนายทหารสองพี่น้องกับพวกหัวหน้าส่วยจึงขึ้นไปแอบอยู่บนต้นไม้ริมหนองโชกพอตะวันบ่ายประมาณ 2 โมง โขลงช้างก็ออกจากป่ามาเล่นน้ำ พญาช้างเผือกเดินอยู่กลางโขลงมีช้างป่าล้อมหน้าล้อมหลัง นายทหารสองพี่น้องจึงนาเอาก้อนอิฐ 8 ก้อนที่นำมาจากเมืองทรีขึ้นเสกเวทย์มนต์คาถาอธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างป่าทั้งแปดทิศ ช้างป่าแตกหนีเข้าป่าหมดเหลือแต่พญาช้างเผือก
นายทหารสองพี่น้องจึงนำพญาช้างเผือกกลับกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับพวกทหารและหัวหน้าชาวส่วยที่ช่วยติดตามช้าง เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วนายทหารทั้งสองได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงความดีความชอบของพวกหัวหน้าส่วยที่ช่วยติดตามช้างหลวงจนสำเร็จ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
1. ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ อยู่บ้านปราสาทที่เหลี่ยมดงลำดวน
2. เชียงขัน เป็นหลวงปราบ อยู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน
3. เชียงฆะ เป็นหลวงเพชร อยู่บ้านสังขะ
4. เชียงปุ่ม เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี อยู่บ้านคูปะทายสมัย (จังหวัดสุรินทร์)
5. เชียงสี เป็นหลวงศรีนครเตา อยู่บ้านหนองกุดหวาย
ให้เป็นหัวหน้าควบคุมพวกเขมรส่วยป่าดงในตำบลบ้านที่ตนอยู่ ทาราชการขึ้นอยู่กับเมืองพิมาย พวกนายกองทั้งห้าคนได้เดินทางกลับบ้านของตนและปฏิบัติราชการตามรับสั่ง
ต่อมาพวกนายกองเหล่านี้ได้นำสัตว์และของป่าต่าง ๆ ไปส่งส่วยยังกรุงศรีอยุธยา ของส่วยเหล่านี้ได้แก่ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอแรด งาช้าง ขี้ผึ้ง เป็นต้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท สี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่) ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ ให้พระไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมือง
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังขะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านโคกอัจจะขึ้นเป็นเมืองสังขะ
หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุ่ม) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางเจ้าเมืองสุรินทร์ยกบ้านคูปะทายสมันขึ้นเป็นเมืองสุรินทร์
หลวงศรีนครเตา (เชียงสี) เป็นพระศรีนครเตาเจ้าเมืองรัตนะ ยกบ้านหนองกุดหวาย (หรือบ้านเมืองเตา) ขึ้นเป็นเมืองรัตนบุรี ให้เมืองเหล่านี้ขึ้นกับเมืองพิมาย
ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยามีเรื่องราวตามพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานว่า กรุงศรีอยุธยาศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง หลวงพระบาง และนครจำปาศักดิ์ ต่างเป็นแคว้นเอกราชและเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ปรากฏว่าอำนาจปกครองของนครจำปาศักดิ์ครั้งนั้นได้แผ่เข้ามาถึงดินแดนบางส่วนของเมืองทางภาคอีสานหลายเมือง รวมทั้งเมืองขุขันธ์ด้วย
เมืองนครจำปาศักดิ์แต่เดิมนั้นเป็นแคว้นเอกราช มีเขตแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนจดเขตแขวงเมืองพิมาย ซึ่งเป็นชายแดนทางตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตแบ่งปันกันที่ลำห้วยขะยูงและเมืองท่ง ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและเมืองรัตนบุรี (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์) ก็เคยเป็นเมืองที่อยู่ในเขตแขวงของแคว้นนครจำปาศักดิ์มาก่อน
เมืองนครจำปาศักดิ์ได้เป็นประเทศราชของไทยเมื่อ พ.. 2321 สมัยกรุงธนบุรี จนถึง พ.. 2446 ไทยจึงได้เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงกันข้ามปากเซ อันมีเมืองนครจำปาศักดิ์และมะโนไพร ซึ่งเป็นเมืองขึ้นกับขุขันธ์ให้แก่ฝรั่งเศส
สมัยกรุงธนบุรี
แผ่นดินอยุธยาต้องพินาศสิ้นเพราะน้ำมือพม่าใน ปี พ.. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินครองกรุงธนบุรีปกครองแผ่นดินสยามสืบมา เมืองขุขันธ์ก็ยังขึ้นอยู่กับกรุงธนบุรีเป็นปกติ
ชาวขุขันธ์เข้าร่วมราชการสงครามในศึกลานช้าง
สาเหตุเกิดจากพระวอ พระตา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แต่มีเหตุบาดหมางกันขึ้นกับเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต จึงได้พาครอบครัวบ่าวไพร่หนีมาอยู่ที่เมืองลุ่มภู แล้วตกแต่งบ้านเมืองจัดสร้างค่ายคูประตูหอรบให้มั่งคงแข็งแรง ขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ข่าวและถือว่า พระวอ พระตา เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน จึงได้แต่งกองทัพยกมาตีอยู่ 3 แต่กำลังของพระวอ พระตา มีน้อยจึงสู้ไม่ได้ พระตาได้สิ้นชีพในที่รบ พระวอกับพวกได้ตีฝ่าวงล้อมไปได้ แล้วไปขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงแห่งเมืองนครจาปาศักดิ์ (เจ้าไชยกุมาร) โดยไปตั้งมั่นอยู่ที่เวียงดอนกอง เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้แต่งกองทัพติดตามไป แต่เจ้าไชยกุมารได้ไกล่เกลี่ยไว้จึงทำให้การศึกยุติลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง อยู่ต่อมาประมาณ 3 ปี เจ้าเมืองจำปาศักดิ์กับพระวอเกิดขัดใจและเป็นอริกันขึ้นพระวอจึงแต่งให้ท้าวเพี้ยถือศุภอักษรคุมเครื่องราชบรรณาการไปยังนครราชสีมา และขอขึ้นกับกรุงธนบุรีสืบไป
ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทราบข่าวว่า พระวอเป็นอริกับเจ้านครจำปาศักดิ์ เห็นเป็นโอกาสที่จะกาจัดพระวอได้ จึงแต่งให้พระยาสุโพเป็นแม่ทัพยกมาตีพระวอเมื่อจุลศักราช 1139 (.. 2320) กองทัพพระวอสู้ไม่ได้จึงแตกทัพหนีไป กองทัพเวียงจันทน์ตามไปล้อมจับพระวอได้ที่บ้านสักเมืองสมอเลียบ ริมฝั่งแม่น้ำโขงเหนือเมืองเก่า (ตรงกันข้ามปากเซ) ขึ้นมาเล็กน้อยและได้ฆ่าเสีย
ฝ่ายท้าวก่ำบุตรพระวอ ท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหมบุตรพระตาหนีไปได้ จึงแต่งให้คนถือหนังสือบอกไปยังเมืองนครราชสีมา ให้นำความกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีเพื่อทรงทราบ
มรณกรรมของพระวอนับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญของประวัติหัวเมืองมณฑลอีสานและประวัติศาสตร์ไทยมาก โดยทางกรุงธนบุรีถือว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นกรุงศรีสัตนาคนหุตกระทำการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบังอาจยกทัพมารังแกไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินในขอบขันธสีมา
ครั้นจุลศักราช 1140 (.. 2321) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปทางบกสมทบกับกาลังเกณฑ์ไพร่พลจากเมืองสุรินทร์ เมือง ขุขันธ์ เมืองสังขะ และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาทแต่ครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกไปทางกัมพูชาเกณฑ์พลเมืองเขมรต่อเรือรบยกขึ้นไปตามลำน้ำโขง กองทัพพระยาสุโพรู้ข่าวก็ถอยกลับไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต กองทัพไทยยกขึ้นไปตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) พาครอบครัวไปตั้งอยู่ที่เกาะไชยกองทัพไทยตามไปจับตัวได้ ต่อจากนั้นกองทัพไทยก็เลยยกไปตีเมืองนครพนมแล้วยกไปล้อมเมืองเวียงจันทร์ไว้ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้หนีไปอยู่ที่เมืองคำเกิด กองทัพไทยตีได้เมืองเวียงจันทน์แล้วตั้งให้พระยาสุโพเป็นผู้รั้งเมืองเวียงจันทน์
การศึกครั้งนี้เป็นผลทาให้กรุงศรีสัตนาคนหุตและนครจำปาศักดิ์ ตกมาเป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่นั้นมา และกองทัพไทยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตลงมายังกรุงธนบุรีด้วย ซึ่งปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ที่อยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยอยู่จนบัดนี้
ในการไปราชการทัพครั้งนี้ หลวงปราบ (เชียงขัน) ได้เป็นทหารเอกร่วมไปในกองทัพด้วย ทำศึกจนได้ชัยชนะ ขากลับเมืองขุขันธ์หลวงปราบ (เชียงขัน) ได้หญิงม่ายชาวลาวคนหนึ่งกลับมาเป็นภรรยามีลูกชายติดมาด้วยชื่อท้าวบุญจันทร์
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นความดีความชอบของเจ้าเมืองทั้งสามที่ช่วยราชการทัพในการตีเมืองนครจำปาศักดิ์ และเมืองเวียงจันทน์ได้สำเร็จ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองขุขันธ์ เจ้าเมืองสุรินทร์ และเจ้าเมืองสังขะ เลื่อนขึ้นเป็นตำแหน่งพระยาในบรรดาศักดิ์เดิมทั้งสามเมือง
ในปีเดียวกันนี้ (.. 2321) พระยาขุขันธ์ (ตากะจะ) ถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปราบ (เชียงขัน) เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองคนที่ 2 และในปีนั้นเองเจ้าเมืองขุขันธ์คนใหม่ ได้อพยพพลเมืองย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านแตระ (อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เพราะเมืองขุขันธ์เดิม (บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลาดวน) กันดารน้ำ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ลุ พ.. 2325 (ปีขาล จุลศักราช 1144) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ราชสมบัติปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขัน) ได้เปลี่ยนนามเป็น พระยาขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบทูลขอตั้งท้าวบุญจันทร์ (บุตรเลี้ยงชาวลาวที่ติดภรรยาม่ายมาจากเวียงจันทน์) ขึ้นเป็นพระไกร ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าเมืองอยู่มาวันหนึ่งพระยาขุขันธ์ภักดี (เชียงขัน) เผลอเรียกพระไกร (ท้าวบุญจันทร์) ว่าลูกเชลย พระไกรโกรธมากคิดจะแก้แค้นให้ได้
ภายหลังมีพวกญวนประมาณ 30 คน เป็นพ่อค้ามาชื้อโคกระบือถึงเมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีได้จัดให้พวกญวนพักที่ศาลากลาง แล้วเกณฑ์คนนำทางไปส่งที่ช่องโพย ให้พวกญวนนำโคกระบือไปเมืองพนมเปญ พระไกรจึงบอกกล่าวโทษมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงให้เรียกพระยาขุขันธ์ภักดีไปไต่สวน ได้ความตามข้อกล่าวหาจึงให้นำพระยาขุขันธ์ภักดี (เชียงขัน) กักขังไว้ที่กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระไกรเป็นพระยาขุขันธ์ภักดี เจ้าเมืองคนที่ 3
ในปี พ.. 2325 นั้น พระภักดีภูธรสงคราม (อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ ไม่พอใจพระยาขุขันธ์ภักดี (บุญจันทร์) จึงลงมากราบบังคมทูลที่กรุงเทพฯ ขอเป็นเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งแยกจากขุขันธ์โดยไปตั้งที่บ้านโนนสามขา สระกำแพงใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโนนสามขา สระกาแพงใหญ่ขึ้นเป็นเมืองศรีสระเกศ (มิได้เขียน ศรีสระเกษ ดังเช่นทุกวันนี้) ให้พระภักดีภูธรสงคราม (อุ่น) ขึ้นเป็นพระยารัตนวงษา เจ้าเมืองศรีสระเกศให้ท้าวมะนะ เป็นพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมืองขุขันธ์แทน และให้ท้าวเทศ เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมืองขุขันธ์
.. 2328 พระยารัตนวงษา (อุ่น) เจ้าเมืองศรีสระเกษถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวชม บุตรพระยารัตนวงษา ขึ้นเป็นพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองแทนบิดา
.. 2329 เจ้าเมืองศรีสะเกศกับเมืองขุขันธ์เกิดวิวาทชิงเขตแดนกัน จึงโปรดเกล้าฯ แบ่งปันเขตแดนให้เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์พระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศรีสะเกศถึงแก่กรรมใน พ.. 2330 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมือง เป็นพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมือง ให้หลวงยกระบัตรเป็นที่พระปลัดให้ราชบุตรเป็นหลวงยกกระบัตร ให้ทิดอูด เป็นหลวงมหาดไทย ให้ขุนไชยณรงค์เป็นหลวงธิเบศร์
กบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
ลุจุลศักราช 1185 ปีมะเส็ง (.. 2364) พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตร (โย่) เมืองเวียงจันทน์เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้เปลี่ยนธรรมเนียมเก็บส่วยแก่ชายฉกรรจ์ที่มีภรรยาแล้ว เป็นไหม หรือ ป่าน หรือ ผลเร่ว คนหนึ่งหนักชั่งห้าตำลึง ส่วนข้าวเปลือกให้เก็บตามเดิม ลำดับนั้น ตั้งแต่เขตแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์ อยู่ในอำนาจของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์กับเจ้าราชบุตร (โย่) ผู้ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังไพร่พลมากขึ้นก็กำเริบใจคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ
ครั้งปีจอ จุลศักราช 1188 (.. 2369) เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ยกกองทัพมาตีเมืองรายทางจนถึงกาฬสินธุ์ จับเจ้าเมืองอุปฮาดกับกรมการเมืองฆ่าเสียแล้วกวาดต้อนเอาครอบครัวไพร่พลเมืองกาฬสินธุ์ส่งไปเมืองเวียงจันทน์ แล้วยกไปตีเมืองเขมราฐจับเจ้าเมือง (ท้าวก่ำ บุตรพระวอ) ฆ่าเสีย แล้วยกกองทัพไปถึงเมืองร้อยเอ็ด
เจ้าเมืองร้อยเอ็ดเห็นว่าจะสู้ไม่ได้จึงคบคิดกับกรมการเมืองพาเอานางหมานุย นางตุ่ม นางแก้ว บุตรสาวยกให้เจ้าอุปราช เจ้าอุปราชจึงไม่ทำอันตราย แล้วยกกองทัพต่อไปถึงเมืองสุวรรณภูมิ จับข้าหลวงกองสักได้ให้ฆ่าเสีย แต่พระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิมิได้ยกนางออมบุตรสาวเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนเก่าและม้าผ่าน 1 ให้เจ้าอุปราช เจ้าอุปราชจึงงดไม่ทำอันตราย แล้วยกกองทัพของเจ้าอุปราชและเจ้าราชวงศ์ได้ยกเลยไปตีหัวเมืองรายทางจนถึงเมืองนครราชสีมา
ฝ่ายเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ (โย่) ได้เกณฑ์ไพร่พลยกกองทัดมาตีเมืองขุขันธ์ เมืองสังขะและเมืองสุรินทร์ จับพระยาขุขันธ์ภักดี (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ พระภักดีภูธรสงคราม (มะนะ) ปลัดเมือง พระแก้วมนตรี (ท้าวเทศ) ยกกระบัตร กับกรมการเมืองได้และให้ฆ่าเสียเพราะไม่ยอมเข้ากับพวกกบฏ ส่วนเจ้าเมืองสังขะและเจ้าเมืองสุรินทร์หนีเอาตัวรอดไปได้ ครั้งนั้นกองทัพเจ้าโย่ได้กวาดต้อนเอาครอบครัวไทย เขมร ส่วย ไปไว้ที่เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แล้วได้ยกไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี พระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานีจาต้องยอมเข้าด้วยกับพวกกบฏ เจ้านครจำปาศักดิ์จึงมิได้ทำอันตราย ครั้งนั้นเจ้าโย่และเจ้าอนุวงศ์ ได้มาตั้งค่ายอยู่ที่มูลเค็ง แขวงเมืองพิมายแห่ง 1 ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ แห่ง 1 ที่ทุ่งมนแห่ง 1 ที่บ้านบกหวาน แขวงเมืองหนองคายอีกแห่ง 1
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นทัพหลวง ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชาเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นทัพหน้า ยกกองทัพมาปราบกบฏ ถึงแขวงเมืองนคราชสีมาได้พบเป็นกองทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์และได้สู้รบกันเป็นสามารถ กองทัพเวียงจันทน์ต้านทานมิได้ก็แตกถอยร่นไปอยู่ที่ค่ายมูลเค็งกองทัพไทยได้ตามไปตีค่ายมูลเค็งแตกแล้วยกตามไปตีค่ายส้มป่อย ค่ายทุ่งมน ค่ายน้ำคำ แตกทุกค่ายจนถึงกองทัพเจ้านครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นฝ่ายครัวไทย เขมร ส่วย ที่เจ้านครจำปาศักดิ์ได้กวาดต้อนไปไว้ที่เมืองนครจาปาศักดิ์รู้ข่าวกองทัพไทยยกขึ้นมาช่วยก็พากันเอาไฟเผาเมืองนครจำปาศักดิ์ ราษฎรพลเมืองพากันแตกตื่นเป็นอลหม่านเมื่อวันอังคาร ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน จุลศักราช 1189 (.. 2370)
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เห็นว่าจะสู้กองทัพไทยไม่ได้ จึงถอยกลับไปตั้งรับอยู่ที่เมืองหนอง-บัวลาภูกองทัพไทยตามขึ้นไปตีจนถอยร่นหนีไปแล้ว กองทัพไทยได้ยกขึ้นไปตีได้เมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ทิ้งเมืองหนีไปอยู่ที่เมืองญวน ต่อจากนั้นได้ยกไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์ จับตัวเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้จึงยกทัพกลับกรุงเทพฯ โดยแบ่งทหารบางส่วนให้อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์ต่อมาทหารที่จัดให้อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์หลงเชื่อคาหลอกลวงของญวนว่า จะพาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เข้ามาอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่แล้วเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์กลับรวบรวมไพร่พลยกเข้ามาปล้นฆ่าคนไทยที่รักษาเมืองตายเกือบหมด ที่เหลือได้หนีรอดมาได้และได้รายงานให้เจ้าพระยาบดินทร์ทราบ ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้รับพระบรมราชโองการให้ยกทัพไปรักษาเมืองเวียงจันทน์แต่เดิมทัพไปยังไม่ถึงเมืองเวียงจันทน์ก็ได้ทราบข่าวเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในเวียงจันทน์และเห็นว่ากำลังทัพมีไม่พอที่จะยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงสั่งให้ถอยทัพไปรวบรวมไพร่พลที่เมืองยโสธรให้พร้อมเสียก่อนจึงจะยกไป แต่กองทัพเวียงจันทน์ได้ยกตามมาทันกันที่ค่ายบกหวานแขวงเมืองหนองคาย กองทัพเจ้าพระยาบดินทร์เดชาจึงได้รบกับกองทัพเวียงจันทน์ กองทัพเวียงจันทน์สู้ไม่ได้แตกพ่ายไป กองทัพเจ้าพระยาบดินทร์ เดชาจึงยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้เมืองเวียงจันทน์เป็นครั้งที่สอง และคราวนี้จับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้
การกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ครั้งนี้ นับเป็นการกบฏที่ยิ่งใหญ่ หัวเมืองสำคัญ ๆ ทางภาคอีสานหลายเมืองตกอยู่ในอำนาจของพวกกบฏเกือบทั้งสิน ในระหว่างปราบกบฏทางเมืองนครราชสีมาได้เกิดวีรสตรีขึ้นท่านหนึ่ง จากการต่อสู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ที่ทุ่งสำริดแขวงเมืองพิมาย ท่านผู้นั้นคือ คุณหญิง "โม" ซึ่งเป็นภริยาของพระยาสุรเดชวิเศษฤทธิ์ทศธิศวิชัยปลัดเมืองนครราชสีมา ได้รับพระราชทานนามว่า "ท้าวสุรนารี"
เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระยาสังขะบุรีไปเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่ 4 ให้พระไชย (ใน) เป็นพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมือง ให้พระสะเพื้อน (นวน) เป็นพระแก้วมนตรี ยกกระบัตรเมือง ให้ท้าวหล้าบุตรพระยาขุขันธ์ (เชียงขัน) เป็นพระมหาดไทย ช่วยกันรักษาเมืองขุขันธ์สืบไป
ตามพงศาวดารกล่าวว่า พวกกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้มาตั้งค่ายไว้แห่งหนึ่งที่แขวงเมืองขุขันธ์ เรียกว่าค่ายส้มป่อย (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอราษีไศล ทางตะวันตกบ้านส้มป่อย) ที่แห่งนี้ ปรากฏว่ามีโพน (จอมปลวก) ตั้งเรียงรายกันอยู่เป็นแนวติดต่อกันไป เริ่มตั้งแต่ทางตะวันตกบ้านส้มป่อยจนเกือบถึงบ้านบึงหมอก ชาวบ้านเรียกกันว่า "ค่ายส้มป่อยโพนเลียน" (โพงเรียง) เข้าใจว่าที่แห่งนี้จะเป็นค่ายส้มป่อยของกองทัพลาว เพระลักษณะโพนที่ตั้งเรียงรายกันอยู่อย่างมีระเบียบเป็นแถวเดียวกัน และมีระยะห่างเท่ากันไปโดยตลอด คงจะไม่ใช่โพนหรือจอมปลวกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลใกล้ ๆ กับโพนเรียงไปทางทิศใต้มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่าบ้านโก คนในหมู่บ้านนี้พูดภาษาไทยสำเนียงโคราช ชาวบ้านมีอาชีพปั้นหม้อขาย สองถามชาวบ้านได้ความว่า พวกที่มาตั้งบ้านโกครั้งแรกนั้นเป็นชาวโคราชที่ถูกกองทัพลาวกวาดต้อนมา
ลุ พ.. 2388 หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการเมืองศรีสะเกศไม่สมัครที่จะทำราชการกับพระยาวิเศษภักดีเจ้าเมืองศรีสระเกศ ได้อพยพครอบครัวไปตั้งอยู่ที่บ้านน้ำโดมใหญ่ พรมแดนเมืองจาปาศักดิ์ต่อกับอุบลฯ และขุขันธ์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ตั้งให้หลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง ให้หลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด หลวงอภัยเป็นหลวงยกกระบัตร รักษาราชการเมืองเดชอุดมต่อไป และในปีเดียวกันนี้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านไพรตระหมัก (บ้านดาสี) ขึ้นเป็นเมืองมะโนไพรให้หลวงภักดีจำนง (พรหม) เสมียนตรากรมการเมืองขุขันธ์ซึ่งเป็นบุตรเขยพระยาเดโช (เม้งเขมร) เป็นพระมะโนจำนง เจ้าเมืองมะโนไพร ขึ้นต่อเมืองขุขันธ์ และครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ เป็นข้าหลวงขึ้นไปจัดราชการบ้านเมืองตะวันออก และจัดปันเขตแดนเมืองนครจำปาศักดิ์กับเมืองขุขันธ์ ให้เป็นเขตแดนของเมืองมะโนไพรต่อไป (ปัจจุบันเมืองนะโนไพรอยู่ในเขตประเทศเขมร เขมรเรียกว่าเมืองมูลไปร ไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงกันข้ามปากเซซึ่งมีนครจำปาศักดิ์ และเมืองมะโนไพร ให้แก่ฝรั่งเศสไปเมื่อ พ.. 2446)
จุลศักราช 1212 (.. 2393) พระยาขุขันธ์ภักดีเจ้าเมืองคนที่ 4 ซึ่งมาจากเมืองสังขะถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระภักดีภูธรสงคราม (ใน) ปลัดเมือง เป็นพระยาขุขันธ์ภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่ 5 เลื่อนพระมหาดไทย (หล้า) เป็นพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมือง เมื่อพระภักดีภูธรสงคราม (หล้า) ถึงแก่กรรม ได้ตั้งให้ท้าวกิ่ง บุตรพระยาขุขันธ์ (เชียงขัน) เป็นปลัดเมืองและให้ท้าวศรีเมืองเป็นพระมหาดไทย ต่อมาพระยาขุขันธ์ภักดี (ใน) ถึงแก่กรรม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งยกระบัตร (นวน) เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี เจ้าเมืองคนที่ 6 เลื่อนพระมหาดไทย (ศรีเมือง) เป็นพระยกกระบัตร
ในศกเดียวกันนี้ พระยาขุขันธ์ภักดี (นวน) ถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระภักดีภูธรสงคราม (กิ่ง) เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี เจ้าเมืองคนที่ 7 เลื่อนยกกระบัตร (ศรีเมือง) เป็นพระปลัดเมือง ให้พระวิเศษ (พิมพ์) เป็นพระแก้วมนตรี พ..2395 พระยาขุขันธ์ภักดี (กิ่ง) ถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระวิไชย (วัง) ผู้เป็นน้องพระยาขุขันธ์ภักดี เป็นเจ้าเมืองแทน เป็นเจ้าเมืองคนที่ 8
ต่อมาใน พ.. 2410 ปลายรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาขุขันธ์ภักดี (วัง) ได้จับพระพล (รส) ผู้น้อง บอกส่งมายังกรุงเทพฯ และถูกจองจาอยู่ที่กรุงเทพฯ จึงถึงแก่กรรมและยังได้บอกกล่าวโทษพระปลัดเมือง (ศรีเมือง) ว่าเบียดบังเงินหลวง ได้มีพระบรมราชโองการให้ส่งตัวพระปลัดเมืองมาพิจารณาที่กรุงเทพฯ พิจารณาได้ความตามที่กล่าวโทษ ตุลาการตัดสินให้พระปลัดเมืองชดใช้เงินหลวง เสร็จแล้วให้กลับไปรับราชการตามเดิม ขณะเดินทางกลับเดินทางมาถึงเมืองปราจีนบุรีก็ล้มป่วยและถึงแก่กรรมกลางทาง ฝ่ายท้าวอ้น บุตรพระปลัดเมือง (ศรีเมือง) เห็นว่า ถ้าจะรับราชการอยู่ในเมืองขุขันธ์ดังแต่ก่อนมา เกรงว่าจะได้รับความเดือนร้อนจึงลงไปกรุงเทพฯ กราบทูลขอออกไปทาราชการเป็นกองนอกก็ได้รับกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอ้นเป็นพระบริรักษ์ภักดี กองนอกทาราชการขึ้นกับเมืองขุขันธ์ และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งท้าวบุญนาคบุตรพระยาขุขันธ์ภักดี (วัง) เป็นพระอนันต์ภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์ตามที่พระยาขุขันธ์ภักดี (วัง) มีใบบอกขอมา
.. 2426 ในแผ่นดินสมเด็จพระปิยมหาราช พระยาขุขันธ์ภักดี (ปัญญา) เจัาเมืองขุขันธ์กับพระปลัดเมือง (จันลี) ได้นาช้างพังสีประหลาย 1 เชือก กับช้างพังตาดา 1 เชือก ลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ
.. 2433 มีตราสารโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสะเกษไปอยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี
เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2434 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิดปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ได้โปรดให้หลวงจานงยุทธกิจ (อิ่ม) กับขุนไผท ไทยพิทักษ์ (เกลี่ยน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสะเกษ
.. 2435 ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์
.. 2437 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้อยู่จัดรูปการปกครองเป็นแบบมณฑล มีสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑล จังหวัดศรีสะเกษขึ้นอยู่ในมณฑลอีสาน กองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
.. 2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์ (ซึ่งอยู่ที่ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (ปัจจุบัน คือ ตำบลเมืองเหนือ ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ) และยังคงใช้ชื่อเมืองขุขันธ์อยู่เหมือนเดิม และยุบเมืองขุขันธ์เดิมลงเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอห้วยเหนือ
.. 2455 เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสาน เป็นมณฑลอุบล มีเมืองที่ขึ้นต่อมณฑลนี้เพียง 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์ (เข้าใจว่าเมืองศรีสระเกศคงถูกยุบลงเป็นอำเภอ ขึ้นอยู่กับเมืองขุขันธ์)
.. 2455 กระทรวงมหาดไทยประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุกเมือง เป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2459
.. 2481 มีพระราชกฤษฎีกา ให้เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ
ศรีสะเกษ กับ ศรีสระเกศ
คำว่า ศรีสะเกษ นี้ เดิมเขียนว่า ศรีสระเกศ ดังที่ปรากฏในเรื่องกำเนิดเมืองศรีสระเกศแล้ว โดยเขียนตามหนังสือพงศาวดารที่เขียนไว้ ซึ่งเป็นการถูกต้องตามหลักภาษาที่ระบุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตรงกับความหมายของตำบลที่ตั้งเมืองศรีสระเกศแต่เดิมดังนิยามปรับปรากล่าวถึงที่มาของคำว่า ศรีสระเกศ ดังนี้
นิยามที่ 1 พระยาแกรกเจ้าเมืองเขมร ได้เดินทางท่องเที่ยวไปจนถึงประเทศลาว ไปพบเนื้อคู่เป็นธิดาเจ้าเมืองลาวชื่อนางศรี ได้สู่ขอแต่งงานอยู่กินดัวยกันเรียบร้อยที่ประเทศลาวต่อมาพระยาแกรกเดินทางกลับประเทศเขมรก่อนทิ้งนางศรีไว้ที่เมืองลาว นางศรีมีครรภ์แก่และคิดถึงสามีจึงออกเดินทางติดตามสามีไปเมืองเขมร เดินทางไปถึงทาเลหนึ่งมีสระน้ำใสเย็นนางศรีได้คลอดทารกที่ริมสระแห่งนั้น และนางได้ลงชำระสระสรงอาบน้ำล้างตัว พร้อมทั้งชำระล้างทารกบุตรของนางที่สระน้ำ แล้วนางจึงเดินทางต่อไปยังเมืองเขมร สระนี้จึงได้ชื่อว่าศรีสระเกศ แต่นั้นมา
นิยามที่ 2 กล่าวถึงพระยาศรีโคตรตะบองเพชรครองกรุงกัมพูชา (เขมร) มีตะบองเพชรเป็นอาวุธวิเศษ พระยาศรีโคตรตะบองเพชรกับพระมเหสีเดินทางไปเมืองล้านช้าง ขากลับแวะลงสระสรงน้าที่สระกำแพงทั้งสององค์ จึงได้ชื่อว่า ศรีสระเกศ
นิยามที่ 3 เล่าว่าพระนางศรีนางพญาขอม (เขมรโบราณ) เดินทางจากเมืองพิมายผ่านมาและลงสระผมที่สระนี้ จึงได้ชื่อว่า ศรีสระเกศ
จึงสรุปได้ว่า มีคนชื่อศรี มาสระผมที่สระนี้ เกศ แปลว่า ผม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2493 หน้า 162) ส่วนคำว่า สระ แปลว่า ชำระ ฟอก ล้าง (หน้า 877) ดังนั้น ที่เขียนตามพงศาวดารว่า ศรีสระเกศ นั้นถูกต้องตรงกับความหมายทางภาษาทุกประการ แต่ที่เขียนเป็น ศรีสะเกษ ยังหาที่มาไม่พบ
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่า เป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนามาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลในสมัยนั้น การปกคอรงแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือระบบกินเมืองให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกันโดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ..  2439 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จ และเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของการเทศาภิบาล ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
"การเทศาภิบาล คือการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้หน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วย ตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นลำดับ ดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทานองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานีและจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจาทางตามตำแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็วแก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย"
จากคำจากัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนั้น การเทศาภิบาลนั้น หมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า " การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล นั้น คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทาความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียนการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อต่อไปนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่งคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้างและกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนี้มีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง หรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวน หรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว หรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมาและก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
.. 2437 เป็นปีแรกได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเดียวกัน จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนคร
ชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออก เป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าฯ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จานวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกันการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อกู้ยืมเงินจากอังกฤษมาสร้างทางรถไฟ
.. 2455 ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบลมีเมืองที่ขึ้นอยู่ในการปกครอง 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุข้นธ์ และเมืองสุรินทร์ (เข้าใจว่าเมืองศรีสะเกศ คงจะถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นอยู่กับเมืองขุขันธ์จึงไม่ปรากฏชื่อเมืองศรีสะเกศ)
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัดและกรมากรจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลแล้วยังแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภออีกด้วย เมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องมาจาก
(1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
(2) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
(3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
(4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
(1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
(2) อำนาจบริหารในจังหวัดซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคลได้แก่ คณะกรรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) ในฐานะของคณะกรรมการจังหวัดซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการ
ส่วนภูมิภาคเป็น
(1) จังหวัด
(2) อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร
ตราประจำจังหวัด

รูปพระธาตุเชิงชุม หน้าหนองหานหลวงและดอนสวรรค์
คำขวัญประจำจังหวัด
พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวกูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รวมทั้งบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เดิมเรียกว่า อาณาจักรโคตรบูรณ์ (น่าจะเขียนว่า โคตบูร หรือ โคตรบูร ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งพระอาทิตย์ เพราะอยู่ทางทิศตะวันออก – ผู้จัดทำ) ซึ่งเป็นอาณาจักรของขอมสมัยเรืองอำนาจในดินแดนแถบนี้ ขอมได้ตั้งเมืองศรีโคตรบูรณ์เป็นราชธานี และได้ตั้งเมืองพิมายเป็นเมืองอุปราช หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโคตรบูรณ์ คือ พระธาตุพนมและพระธาตุอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน
ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรโคตรบูรณ์ดังกล่าว เมืองหนองหานหลวงก็เป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรนี้ ช่วงเวลาที่มีหลักฐานประกอบการตั้งชุมชนรอบ ๆ หนองหานอยู่ในสมัยของขอมเรืองอำนาจดังกล่าว ปรากฏในโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระธาตุนารายณ์เจงเวงหรือพระธาตุนารายณ์ เชงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม และสะพานขอม เป็นต้น ประกอบกับตำนานอุรังคนิทานได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในสมัยพุทธกาล กรุงอินทรปัต มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ และมีเมืองหนองหานหลวงขึ้นกับกรุงอินทรปัต เมืองหนองหานหลวงเป็นเมืองเอกที่เป็นศูนย์กลางอำนาจปกครองของขอม
หลักฐานที่แสดงว่าเมืองหนองหานหลวงเป็นเมืองเอกของขอมที่ปรากฏชัดคือ ศิลปวัตถุที่พบในบริเวณแถบนี้สร้างด้วยศิลปะแบบขอมทั้งสิ้น โดยใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ ประกอบด้วยหน้าบันชั้นมุข ฯลฯ แบบขอมซึ่งสรุปได้ว่า กลุ่มผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้มีความรู้ในการสร้างศิลปะแบบขอมเป็นอย่างดี หลักฐานที่อ้างได้ไม่เฉพาะแต่โบราณสถานเท่านั้น ในโบราณวัตถุหลายอย่าง ได้ขุดค้นพบในรอบ ๆ บริเวณหนองหาน ดังเช่นที่หมู่บ้านดงชน บ้านหนองสระ บ้านเหล่ามะแงว ตำบลดงชน อำเภอเมืองสกลนคร เป็นต้น
ในศิลาจารึกที่มีผู้ค้นพบและน้ามาตั้งไว้ ณ วัดสุปัฏวนาราม อุบลราชธานี ได้เอ่ยถึงพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งบรรดาปราชญ์ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นกษัตริย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของกัมพูชาซึ่งมีเดชานุภาพมาก นับแต่รัชกาลของพระองค์เป็นต้นมา อิทธิพลของขอมได้แพร่หลายทั่วไปในอีสาน (ยกเว้นบริเวณลุ่มน้ำชี) ลัทธิศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็แพร่หลายตามล้าน้าโขงขึ้นไปจนถึงสกลนคร และอุดรธานี เมืองโบราณที่สำคัญเช่น เมืองหนองหานหลวง (สกลนคร) ก็คงเจริญขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 นี้ สังเกตได้จากลักษณะผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอ สระน้ำและศาสนสถานที่สำคัญ คือ ปราสาทพระธาตุนารายณ์เฮงเกง และพระธาตุดุม เป็นต้น
การเข้ามามีอิทธิพลของขอมในดินแดนแถบนี้ ยังไม่ทราบว่าเข้ามามีอิทธิพลโดยลักษณะใด เช่น อาจเป็นความนิยมของเจ้าผู้ครองนครเมืองต่าง ๆ ที่จะรับวัฒนธรรมฮินดูเพื่อส่งเสริมบารมีแห่งฐานะความเป็นกษัตริย์ของตนเองหรืออาจตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง หรือมีความสัมพันธ์กันโดยการแต่งงานก็อาจเป็นได้
สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี
หลังจากขอมเสื่อมอำนาจและหมดอิทธิพลจากดินแดนแถบนี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏหลักฐาน
อะไรหลงเหลืออีกเลย เข้าใจว่าอำนาจของกรุงศรีอยุธยาอาจแผ่ไปไม่ถึงดินแดนแถบนี้ สังเกตได้จากศิลปะและวัฒนธรรมของอยุธยาไม่ปรากฏให้เห็นเลย มีปรากฏให้เห็นเฉพาะอิทธิพลของขอม และอาณาจักรล้านช้างเท่านั้น
ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน กล่าวว่า ภายหลังรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไปแล้ว อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมก็ค่อย ๆ เสื่อมลงในภาคอีสานไม่ค่อยปรากฏการสร้างปราสาทหินขึ้นมาแต่อย่างใด เมื่อตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก็สลายตัว อันเนื่องมาจากการแพร่หลายของพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์บรรดาปราสาทหินและศาสนสถานแต่เดิมหลายแห่งถูกเปลี่ยนให้เป็นวัดหรือพุทธสถานแทน
จากข้อความดังกล่าวข้างต้นได้สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏในประวัติตำนานพงศาวดารเมืองสกลนครของพระยาประจันตะประเทศธานี (โง่นคำ) ที่กล่าวไว้ว่า เมื่อสิ้นพระชนม์พระยาสุวรรณภิงคารแล้ว เสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ชาวเขมรก็สมมุติกันเป็นเจ้าเมืองต่อมา เมื่อปีหนึ่งเกิดทุกขภัยคือฝนแล้ง ราษฎรไม่ได้ท้านาถึง 7 ปี เกิดความอัตคัดขัดสนข้าวปลาอาหารเป็นอันมาก เจ้าเมือง กรมการและราษฎรชาวเขมรที่อยู่ในเมืองหนองหานหลวงก็ทิ้งเมืองให้เป็นเมืองร้าง แต่จะร้างมาได้กี่ปีไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ที่ดินว่างเปล่าหลงเหลืออยู่รอบบริเวณพระธาตุ
ภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง บริเวณดินแดนลุ่มน้าโขงของภาคอีสานในยุคนั้นกลับรุ่งเรืองขึ้น อันเนื่องมาจากการเจริญขึ้นของอาณาจักรลานช้างซึ่งเกิดขึ้นแทนที่อาณาจักรโคตรบูรณ์ หลักฐานที่ปรากฏว่าอาณาจักรลานช้างได้รุ่งเรืองถึงดินแดนแถบนี้ คือ พระธาตุก่องข้าวน้อย ที่บ้านตาดทองจังหวัดยโสธร พระธาตุบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น และในสมัยต่อมาอิทธิพลของอาณาจักรลานช้างก็รุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้
หลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่า ดินแดนในบริเวณจังหวัดสกลนครในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรีได้รับอิทธิพลของอาณาจักรลานช้างอีกประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นชาวภูไทและชาวโซ่ (ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดสกลนคร) ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง การอพยพดังกล่าวเกิดขึ้นหลายรุ่น จึงทำให้ชาวภูไทและชาวโซ่อยู่กระจัดกระจายบริเวณพื้นที่ในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร และต่อมาก็ได้เจริญรุ่งเรืองกลายเป็น เมืองพรรณานิคม และเมืองกุสุมาลย์ ซึ่งในปัจจุบันอ้าเภอพรรณานิคมจะปรากฏชาวภูไทยอยู่อาศัยเป็นส่วนมาก ในขณะที่อำเภอกุสุมาลย์ในปัจจุบันก็มีชาวโซ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน
ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสกลนครโดยตรงไม่ปรากฏเรื่องราวไว้แต่อย่างใด เข้าใจว่าในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี จังหวัดสกลนครคงเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่แทบจะไม่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เลย และคงได้รับอิทธิพลของอาณาจักรลานช้างมากกว่าอาณาจักรอยุธยาดังกล่าวแล้ว ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดสกลนครอยู่เลย เพียงปรากฏในพงศาวดารบางฉบับที่กล่าวถึงสงครามระหว่างกรุงธนบุรีกับอาณาจักรลานช้าง ที่กล่าวพาดพิงถึงจังหวัดนครพนมบ้างเท่านั้น เข้าใจว่าจังหวัดสกลนครในสมัยนั้นคงขึ้นอยู่กับอาณาจักรลานช้างบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทยบ้าง แล้วแต่ฝ่ายใดจะมีอำนาจมากกว่ากัน แต่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป
สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ชุมชนในเขตจังหวัดสกลนคร ได้ขาดหายไปหลังจากที่ขอมหมดอำนาจลง
ดังกล่าว แต่ได้ทราบหลักฐานแน่ชัดอีกครั้งหนึ่งจากเพี้ยศรีครชุม หัวหน้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม เล่าสืบต่อกันมา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าปีใด ศักราชเท่าใด และในแผ่นดินรัชสมัยใด
ในแผ่นดินสยาม จะเป็นรัชกาลที่เท่าใดไม่ปรากฏ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ อพยพครอบครัวมารักษาพระธาตุเชิงชุมอยู่หลายปี อุปฮาดได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ขึ้นมาอยู่ในบ้านธาตุเชิงชุม พร้อมทั้งได้เกลี้ยกล่อมบ่าวไพร่ให้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชิงชุมหลายตำบล
พระเจ้าแผ่นดินสยาม โปรดให้ตั้งอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เปลี่ยนนามเมืองหนองหานหลวงเป็นเมืองสกลทวาปี ให้พระธานีเป็นเจ้าเมือง ขึ้นแก่กรุงสยามต่อมาหลายชั่วเจ้าเมือง
ในปีพุทธศักราช 2370 ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์คิดขบถต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม (รัชกาลที่ 3) โปรดฯ ให้กองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ แม่ทัพได้มาตรวจราชการเมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองกรมการเมืองสกลทวาปี ไม่ได้เตรียมกำลังทหารลูกกระสุนดินดำ เสบียงอาหารไว้ตามคำสั่งแม่ทัพ แม่ทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลทวาปีขบถกระทำการขัดขืนอำนาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปี ไปประหารชีวิตเสียที่เมืองหนองไชยขาว แม่ทัพนายกองฝ่ายสยามกวาดต้อนครอบครัวลงไปอยู่เมืองกระบิลจันทคามเป็นอันมาก ยังเหลืออยู่ได้รักษาพระธาตุเชิงชุมแต่พวกเพี้ยศรีครชุมบ้านหนองเหียน บ้านจันทร์เพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยาง บ้านผ้าขาว บ้านพันนาเท่านั้น เมืองสกลนครก็เป็นเมืองร้างไม่มีเจ้าเมืองปกครองอีก
ครั้งหนึ่ง เมื่อกองทัพไทยยกไปปราบเจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์นั้น สามารถเข้าตีทัพอนุเจ้าเมืองเวียงจันทน์จนแตกพ่าย เข้ายึดเมืองได้ เจ้าอนุหนีไปอยู่เมืองมหาชัยกองแก้ว
.. 2375 กองทัพพระราชสุภาวดี ยกติดตามไปตีเมืองมหาชัยกองแก้วแตก เจ้าอนุวงศ์และพระพรหมอาษา (จุลนี) เจ้าเมืองมหาชัยกองแก้ว หนีไปอยู่เมืองญวนและถึงแก่กรรมที่นั้น
.. 2378 อุปฮาดตีเจา (ดำสาย) ราชวงศ์ (ดำ) และท้าวชินผู้น้อง ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่มาพึ่งบรมโพธิสมภารพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้เข้าหาแม่ทัพที่เมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองอุปราชและมหาสงครามแม่ทัพสั่งให้น้าตัวลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนาในเมืองสกลทวาปีได้
.. 2380 อุปฮาดตีเจา (ดำสาย) ป่วยถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ให้ราชวงศ์ (ดำ) เมืองมหาชัยเป็นเจ้าเมืองสกลทวาปี ท้าวชินเป็นราชวงศ์เมืองสกลทวาปี ราชบุตร (ด่าง) เมืองกาฬสินธุ์เป็นราชบุตรเมืองสกลทวาปี
.. 2381 ราชวงศ์ (ดำ) เจ้าเมืองสกลทวาปีลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรัชกาลที่ 3
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งให้ราชวงศ์ (ดำ) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนครเปลี่ยนนามสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนคร และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแบ่งเขตแดนเมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร เมืองหนองหาน ให้เป็นเขตแดนเมืองสกลนคร โดยเฉพาะต่างหากจากเมืองอื่น
การปกครองเมืองสกลนครในยุคนี้นั้น ยังคงใช้ระบอบการปกครองหัวเมืองโบราณอยู่ ผู้ปกครอง (กรมการเมือง) ประกอบด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ และราชบุตร ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. เจ้าเมืองเป็นผู้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาสิทธิขาด สั่งราชการบ้านเมืองทั้งปวงและบังคับบัญชากรมการเมือง หรือกิจการเกี่ยวกับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎรในแคว้นบ้านเมืองที่ปกครอง การแต่งตั้งถอดถอนคณะกรมการเมืองเป็นพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน นอกจากการแต่งตั้งถอดถอนกรมการเมืองระดับรองเท่านั้นจึงเป็นอำนาจของเจ้าเมือง
2. อุปฮาด (อุปราช) สมัยต่อมาเรียกปลัดอำเภอ เป็นผู้มีหน้าที่ทำการแทนในกรณีเจ้าเมืองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ หน้าที่โดยเฉพาะคือการปกครองทั่วไป เป็นหัวหน้าในทางที่ปรึกษาหารือข้อราชการกรมการเมืองตำแหน่งรองลงไป และเป็นผู้รวบรวมสรรพบัญชีส่วยอากร ตามที่ทางราชการกำหนดและยังท้าหน้าที่ออกประกาศส่งเกณฑ์กำลังพลเมืองเพื่อท้าศึกสงครามอีกด้วย
3. ราชวงศ์ ต่อมาเรียกสมุหอำเภอ โดยมากมักแต่งตั้งจากเครือญาติของเจ้าเมืองแต่ไม่เสมอไป ทั้งนี้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีหน้าที่ทำการแทนอุปฮาดในกรณีที่อุปฮาดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ แต่หน้าที่ตามปกติแล้วเกี่ยวกับอรรถคดีตัดสินถ้อยความและควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินของเมือง
4. ราชบุตร ต่อมาเรียก เสมียนอำเภอ มีหน้าที่ช่วยราชวงศ์ ควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินของเมือง และเป็นผู้นำเงินส่วยส่งเจ้าพนักงานใหญ่ในหัวเมืองเอกหรือเมืองหลวงส่วนอำนาจการปกครองจากกรุงเทพฯ มีการควบคุมหัวเมืองเล็กเมืองน้อยพอสรุปได้ คือ
1. อนุมัติการตั้งเมือง และอนุมัติการขอขึ้นกับเมืองอื่นหรือกรุงเทพฯ
2. แต่งตั้งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ส่วนใหญ่มักเป็นเพียงหลักการและวิธีการเท่านั้น
3. รับแรงงานจากเลข หรือรับสิ่งของจากส่วยจากหัวเมืองเหล่านั้น
.. 2385 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์ (อิน) ขึ้นไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองอื่นที่ยังขัดขืนอยู่ ราชวงศ์ (อิน) ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองวังและบุตรหลานบ่าวไพร่เจ้าเมืองเป็นอันมาก กับได้ท้าวเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคดหัวหน้าข่า กะโล้และบ่าวไพร่เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเป็นอันมาก
.. 2387 โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโรงกลาง พระเสนาณรงค์เป็นเจ้าเมืองพรรณานิคมยกบ้านพังพร้าวเป็นเมืองพรรณานิคม ตั้งเมืองกุสุมาลย์มณฑลให้ขึ้นกับเมืองสกลนคร ให้เพี้ยเมืองสูง ข่า กะโล้ เป็นหลวงอารักษ์อาญาเจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล
เมื่อ พ.. 2393 ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโถงเจ้าเมืองมหาชัยเป็นอุปฮาด ให้ท้าวเหม็นน้องชายอุปฮาด (โถง) เป็นราชบุตรเมืองสกลนคร
.. 2396 เกิดเพลิงไหม้ในเมืองสกลนคร ทรัพย์สินเสียหายมาก ยังเหลืออยู่แต่พระเจดีย์เชิงชุมวัดธาตุศาสดาราม เจ้าเมือง กรมการพากันอพยพครอบครัวออกไปตั้งอยู่ดงบากห่างจากเมืองเดิมประมาณ 50 เส้น
.. 2400 ไทยโย้ย กรมการเมืองสกลนคร มีความคิดแตกแยกกันออกเป็น 2 กลุ่ม พวกหนึ่งมีนายจารดำเป็นหัวหน้าไปร้องสมัครขอเป็นเมืองขึ้นเมืองยโสธร อีกพวกหนึ่งมีเพี้ยติ้วซ้อยเป็นหัวหน้าไปร้องขอเป็นเมืองขึ้นเมืองนครพนม รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายจารดำเป็นหลวงประชาราษฎร์รักษายกบ้านกุดลิงแขวงเมืองยโสธรเป็นเมืองวานรนิวาส ให้หลวงประชาราษฎร์รักษา เป็น เจ้าเมืองขึ้นกับเมืองยโสธร แต่เจ้าเมืองกรมการและราษฎรยังคงตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านแห่กุดชุมภูในแขวงเมืองสกลนครตามเดิม (ภายหลังเมืองวานรนิวาสเปลี่ยนการปกครองกลับมาขึ้นเมืองสกลนครตามเดิม) และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงน้ำยามเป็นเมืองอากาศอำนวย ให้เพียงติ้วซ้ายเป็นหลวงผลานุกูลเป็นเจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองนครพนม
.. 2401 เจ้าเมือง กรมการ และราษฎรเมืองสกลนครที่ไปตั้งอยู่ที่ดงบาก เพราะอัคคีภัยพากันอพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิม ราชวงศ์ (อิน) ถึงแก่กรรม
.. 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโพหวาเป็นเมืองภูวดลสอาง และให้ราชบุตร (เหม็น) เป็นพระภูวดลบริรักษ์เป็นเจ้าเมือง และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโพนสว่างหาดยาวริมน้ำปลาหางเป็นเมืองสว่างแดนดิน โดยให้ท้าวเทพกัลยาหัวหน้าไทยโย้ยเป็นเจ้าเมืองให้นามว่า พระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ ขึ้นกับเมืองสกลนคร
ในปี พ.. 2406 นี้เองเกิดฝนแล้งที่เมืองร้อยเอ็ดและเมืองอุบล ราษฎรต่างได้รับความอดอยาก พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ในเขตเมืองสกลนครเป็นอันมาก เพราะเมืองสกลนครยังมีชาวในบ้านเมืองอยู่บ้าง ประกอบกับการหาของป่าพอเลี้ยงตัวไปได้
ในปีต่อมาเกิดฝนแล้งทำนาไม่ได้ในเมืองสกลนคร แต่ราษฎรก็มิได้อพยพออกไปจากเมืองอาศัยของป่าและท้านาแซง (นาปรัง) พอประทังชีวิต
ใน พ.. 2410 ปลายรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ปิด บุตรอุปราชตีเจา (ดำสาย) เป็นราชวงศ์ และให้ท้าวลาดบุตรอุปฮาด (โถง) เป็นราชบุตรเมืองสกลนครแทน ตำแหน่งราชวงศ์และราชบุตรที่ว่างอยู่
.. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 พวกข่ากระโล้ เมืองกุสุมาลย์ เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ท้าวขัตติยไทยข่ากระโล้ ขอขึ้นต่อเมืองสกลนคร โดยแยกออกจากเมืองกุสุมาลย์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนาโพธิ์แขวงเมืองสกลนครขึ้นเป็นเมืองโพธิไพศาลนิคม และตั้งให้ท้าวขัตติยเป็นพระไพศาลสีมานุรักษ์ เป็นผู้ปกครองเมืองต่อไป
ในปีนี้พระยาประเทศธานี เจ้าเมืองได้ขออนุมัติตั้งตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง เพราะเมืองสกลนครมีเมืองขึ้นถึง 6 เมือง จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวโง่นคำเป็นพระยาศรีสกุลวงศ์ ให้เป็นผู้ช่วยราชการเมืองสกลนคร
.. 2418 เกิดการจลาจลของจีนฮ่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) เป็นแม่ทัพคุมทหารกรุงเทพฯ กับไพร่พลหัวเมืองลาวไปตั้ง
ทัพสู้ที่เมืองหนองคาย เมืองสกลนคร ได้ยกพลไปช่วย 1,000 คน โดยมีราชวงศ์ (ปิด) กับพระศรีสกุลวงศ์ (โง่นคำ) เป็นหัวหน้า และรบกับจีนฮ่อจนได้ชัยชนะ
.. 2419 พระยาประเทศธานี (คำ) ถึงแก่กรรม เมืองสกลนครเกิดโรคระบาดร้ายแรง อุปฮาด (โถง) กับราชบุตร (ลาด) ก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคนี้ ราษฎรต่างล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางราชการได้แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (ปิด) เป็นผู้รักษาราชการเมือง
.. 2420 โปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วย (โง่นคำ) เป็นอุปฮาด ให้ท้าวฟองบุตรพระประเทศธานี (คำ) เป็นราชวงศ์เมืองสกลนคร และในปีต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ราชวงศ์ (ปิด) เป็นพระยาประจันตประเทศธานีเป็นเจ้าเมืองสกลนครต่อไป
ในปี พ.. 2424 รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้เจ้าเมืองและกรมการเมืองสกลนคร ลงไปกรุงเทพฯ เพื่อร่วมสมโภชพระนครครบ 100 ปี ในงานนี้อุปฮาด (โง่นคำ) ได้คุมสิ่งของต่าง ๆ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในการสมโภชพระนครเป็นจ้านวนมาก โปรดพระราชทานเหรียญสัตพรรษ์มาลาเงินแก่เจ้าเมือง และกรมการเมืองเป็นที่ระลึก
ในปี พ.. 2426 บาทหลวงอเลกซิสโปรดม ชาวฝรั่งเศส มาตั้งโรงเรียนสอนศาสนาโรมันคาทอลิกขึ้นที่บ้านท่าแร่ แขวงเมืองสกลนคร มีผู้คนเข้ารีตถือคริสต์เป็นจ้านวนมาก และบาทหลวงได้สร้างวัดสร้างโบสถ์ขึ้นมากมาย ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นอำนาจทางศาสนาของบาทหลวงลดลงราษฎรพากันออกจากศาสนาของบาทหลวงเป็นจำนวนมาก โดยมากก็คงเป็นชาวบ้านท่าแร่แห่งเดียวที่ยังนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกจนถึงปัจจุบันนี้
.. 2427 เกิดขบถจีนฮ่อที่เมืองเขียงของทุ่งเชียงค้า (ทุ่งไหหิน) ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาราชวรานุกูลเป็นแม่ทัพคุมกองทัพไทยลาวยกไปปราบโดยตั้งทัพที่เมืองหนองคายเช่นเดิม พระยาอุปฮาด (โง่นคำ) และราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายทัพ  ต่อมาได้รับข่าวว่าพระยาประจันตประเทศธานี (ปิด) เจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรมแม่ทัพจึงโปรดให้พระอุปฮาด (โง่นคำ) กลับมารักษาราชการบ้านเมือง
.. 2430 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระอุปฮาด (โง่นคำ) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี ปกครองเมืองสกลนครสืบต่อมา อีก 2 ปี ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวเมฆบุตรราชวงศ์ (อิน) เป็นราชบุตรเมืองสกลนคร
ต่อมาในปี พ.. 2434 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จขึ้นมาจัดการหัวเมืองลาวพวน และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นมณฑลลาวพวน
พระองค์ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนเป็นพระองค์แรก ซึ่งระบบการปกครองแบบใหม่นี้เองที่เรียกว่าการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล อันหมายถึงการจัดให้มีข้าหลวงไปกำกับรักษาราชการตามหัวเมืองทุกเมืองและจากนี้ต่อไปเมืองสกลนครก็จัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาลสืบไป
การตั้งข้าหลวงจากส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) มาเป็นข้าหลวงรักษาราชการเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ เป็นการขยายอำนาจจากส่วนกลางเข้ามาในภาคอีสาน เริ่มตั้งแต่ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับการคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก การที่จะรักษาไว้ซึ่งดินแดนของตนให้คงอยู่ต่อไปก็อยู่ที่การกำหนดเส้นเขตแดนของตนให้แน่นอน และเป็นการรับรองของมหาอำนาจประการหนึ่ง การเข้ามาควบคุมหัวเมืองชั้นนอกเป็นการแสดงสิทธิของตนประการหนึ่ง และเพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีพิพาทกับมหาประเทศคู่สัญญาในหัวเมืองชั้นนอกอีกประการหนึ่งด้วย
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบการปกครองอันสำคัญที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงน้ามาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น ระบบการปกครองแบบนี้เป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไปบริหารราชการในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบของการจัดให้อำนาจการปกครองมารวมอยู่จุดเดียวกัน  กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ลิดรอนอำนาจเจ้าเมืองตามระบอบเก่า การปกครองระบอบเทศาภิบาลอยู่ในระหว่างปี .. 2435-2458
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ตำนานพงศาวดารเมืองสกลนคร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ได้กล่าวถึงรูปแบบการปกครองและเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ไว้อย่างละเอียดพอสมควร ดังพอสรุปได้ว่า
เมื่อ พ.. 2435 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครเป็นคนแรก และข้าหลวงเมืองสกลนครพระองค์นี้ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารราชการ กล่าวคือ ให้ยกเลิกกอง เปลี่ยนเป็นหมู่บ้าน และตำบล และให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปกครองหมู่บ้าน และตำบลด้วย
.. 2436 ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน เสด็จจากเมืองหนองคายมาตั้งบ้านเมืองที่ตำบลหมากแข้ง เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ
.. 2437 จ่าช่วงไฟประทีปวังซ้าย (ช่วง) ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร และได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการบางอย่าง คือให้ตั้งกรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนาขึ้นและได้แบ่งเขตแดนเมืองสกลนครขึ้น เมืองนครพนม เมืองหนองหาน และเมืองมุกดาหารออกจากกันอย่างชัดเจน
.. 2438 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จมาตรวจราชการเมืองสกลนคร และแต่งตั้งให้นายปรีดาราช เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร
.. 2439 นายปรีดาราช ข้าหลวงถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายฉลองไนยนารถ (ไมย) เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร และได้เปลี่ยนแปลงให้เมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาลไปขึ้นกับเมืองนครพนม ให้เมืองวาริชภูมิซึ่งเป็นเมืองขึ้นเมืองหนองหานเดิมมาขึ้นกับเมืองสกลนคร
.. 2440 ในปีนี้พระราชทานเงินเดือนให้ข้าราชการเมืองสกลนครเป็นปีแรก เงินเบี้ยหวัดหรือเงินปี อย่างที่จัดมาแล้วให้ยกเลิก เงินประโยชน์ต่าง ๆ ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ ให้เก็บเป็นของหลวงทั้งสิ้น
.. 2442 รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าวัฒนาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลฝ่ายเหนือ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร
.. 2444 มีค้าสั่งให้นายฉลองไนยนารถ (ไมย) กลับไปรับราชการที่มณฑลอุดร และให้หลวงพิสัยสิทธิกรรม (จีน) เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร
.. 2445 มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครอง ถือเมืองสกลนครรวมทั้งเขตแขวงให้เรียกว่าบริเวณสกลนครข้าหลวงประจ้าเมืองให้เรียกข้าหลวงประจ้าบริเวณเปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นอำเภอ คำว่าเจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ คำว่าอุปฮาดเป็นปลัดอำเภอ ราชวงศ์เปลี่ยนเป็นสมุหอำเภอ ราชบุตรเปลี่ยนเป็นเสมียนอำเภอ
ในปีนี้ได้ให้พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงบริเวณสกลนคร เนื่องจากการเปลี่ยนระบบบริหารแผ่นดินดังกล่าวและชราภาพมากแล้ว
.. 2449 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนาข้าหลวงเทศาภิบาลเสด็จกลับกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสุริยราชวรนุวัตร (โพ) มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรแทน และในปีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการที่บริเวณสกลนครด้วย
.. 2450 แต่งตั้งให้หลวงผดุงแคว้นประจันต์ (ช่วง) มาเป็นข้าหลวงบริเวณสกลนครข้าหลวงบริเวณคนเก้าให้ย้ายไปเป็นข้าหลวงบริเวณขอนแก่น ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรได้แต่งตั้งให้ขุนราชขันธ์สกลรักษ์เป็นนายอำเภอพรรณานิคม พระบริบาลศุภกิจ (ค้าสาย) เป็นนายอำเภอวาริชภูมิ นายทะเบียนเป็นนายอำเภอสว่างแดนดิน และพระอนุบาลสกลเขต (เล็กบริเวณ) รักษาการนายอำเภอเมือง
.. 2453 ย้ายหลวงผดุงแคว้นประจันต์ ข้าหลวงบริเวณสกลนคร ไปเป็นข้าหลวงเมืองหล่มสัก และให้พระสุนธรชนศักดิ์ (สุทธิ) มาเป็นข้าหลวงบริเวณสกลนคร
ในปีนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 6
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ และสิ้นสุดลงในปี พ.. 2458
ในปี พ.. 2459 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบใหม่ คือเมืองสกลนครเปลี่ยนอำเภอเมืองให้เป็นอำเภอธาตุเชิงชุม
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
หลังจากที่ประเทศไทย ได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศเมื่อปี พ.. 2475 แล้ว ในปีต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 อันเป็นแม่บทของการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน เป็นการยกเลิกการจัดรูปการปกครองระบอบมณฑลเทศาภิบาลอย่างสิ้นเชิง  ในส่วนของการปกครองในส่วนภูมิภาคนั้น เริ่มจัดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเมื่อ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2440 (พระราชดำริการจัดระเบียบฯ นี้ เริ่มอย่างจริงจังในปี พ.. 2435) ซึ่งเป็นการจัดรูปการปกครองส่วนภูมิภาคแบบเทศาภิบาลดังกล่าวแล้ว และได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบมณฑลเทศาภิบาลนั้น (.. 2476) จังหวัดสกลนครมีผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก (ก่อนนั้นเรียกข้าหลวง) คือ พระตราษบุรีสุนทรเขต และคนต่อมาคือพระบริบาลนิยมเขต
ประวัติศาสตร์จังหวัดสงขลา
ตราประจำจังหวัด


รูปขอนสังข์วางอยู่บนพานแว่นฟ้า
คำขวัญประจำจังหวัด
นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ
เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้

สงขลา มาจากคาว่า สิงขร แปลว่า ภูเขา ตามสภาพที่ตั้งเมืองซึ่งปรากฏ ป้อมกำแพง และคูเมือง บนภูเขา ค่ายม่วง และทางตอนล่างบริเวณบ้านบนเมือง ตำบลหัวเขา ที่ได้ชื่อว่าเมืองสงขลานั้นมาจากคำว่า สิงขร+นคริน เดิมเป็นภาษาบาลี (มคธ) เมื่อเรียกชื่ออย่างไทยแล้ว เมืองสิงขร (สิงขะระ) เรียกควบเป็นสงขลา ชาวปอร์ตุเกสที่มาค้าขายสมัยอยุธยา เรียกว่า สิง-กอ-ลา (SINGOLA)
เมืองสงขลา ปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นเสวยราชย์ กรุงศรีอยุธยา พ.. 1893 ว่าเป็นเมืองประเทศราชในจานวน 16 เมือง ที่ตั้งตัวเมืองในสมัยนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหัวเขา อำเภอเมืองสงขลา (บริเวณเขาค่ายม่วง)
เมื่อ พ.. 2173 เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์ กับพวกทาการแย่งราชสมบัติ ปลดพระ
อาทิตวงศ์ จากราชบัลลังก์ แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง เป็นเหตุให้หัวเมืองต่าง ๆ แข็งเมือง เมืองสงขลาก็แข็งเมืองด้วย กรุงศรีอยุธยายกทัพมาปราบหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนถึง พ.. 2223 สมเด็จพระนารายณ์ ส่งกองทัพมาปราบเมืองสงขลาได้ และยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
เมื่อ พ.. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าจึงเกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้นสงขลารวมอยู่ในก๊กเจ้านคร เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้ เมื่อ พ.. 2313 เจ้านครและเจ้าเมืองสงขลา หนีไปยังเมืองปัตตานี พระเจ้าตากสินเสด็จเมืองสงขลา ประทับอยู่ 1 เดือนแล้ว ทรงแต่งตั้งให้ชาวเมืองสงขลาคนหนึ่งชื่อโยม เป็นพระสงขลา ต่อมามีพระราชดำริ พระสงขลา(โยม) หย่อนสมรรถภาพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอินทคีรีสมบัติ (เหยี่ยง แซ่เฮา) นายอากร รังนกเกาะสี่ เกาะห้า เป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลา (นายเหยี่ยง แซ่เฮา เป็นต้นสกุล ณ สงขลา) ส่วนพระสงขลา (โยม) ให้เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี
ครั้น พ.. 2374 ตนกูเดน ซึ่งเป็นกบฏต่อไทยและหนีไปเกาะหมาก (ปีนัง) กับเจ้าพระยาไทรปะแงรัน ผู้เป็นบิดาได้คบคิดกับพวกเมืองไทรบุรี เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ยะลา ให้เป็นกบฏยกทัพมาตีเมืองสงขลา แต่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ยกทัพมาปราบพวกกบฏไม่คิดต่อสู้ ทัพตามลงไปจนถึงเมืองเประ การปราบจึงสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสงขลามาตั้งฝั่งตะวันออก คือ ตั้งเมืองในเขตเทศบาลปัจจุบันเมื่อ พ.. 2377
ใน พ.. 2384 โปรดเกล้าฯ ให้จัดแจงฝังหลักเมืองสงขลา พระราชทานเทียนชัยหลักชัยพฤกษ์ กับเครื่องไทยทาน ออกมาให้พระยาสงขลาฝังหลักเมือง พระยาสงขลาจัดทำโรงพิธีกลาง และโรงพิธีสี่มุมเมืองกับโรงพิธีพราหมณ์ ในเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จัตวาศก 1204 เวลาเช้าโมง 2 บาท (วันศุกร์ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล พ.. 2385 เวลา 07.10 นาฬิกา) ปัจจุบันศาลเจ้าหลักเมืองอยู่ที่ถนนนางงาม
ใน พ.. 2401 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเมืองสงขลา ถึงสงขลาเมื่อเดือน 9 แรม 7 ค่ำ เวลาบ่าย 5 โมงเศษเรือพระที่นั่งกำปั่นกลไฟมณีเมขลา มาจอดที่เกาะหนู 2
ความเป็นมา สงขลา เป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ตั้งอยู่ทาง ฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่หลายเมือง มีศิลปะโบราณวัตถุ โบราณสถานขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา การละเล่นพื้นเมือง ศิลปะพื้นเมืองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา ปัจจุบันปรากฏว่า มีร่องรอยหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยอยุธยา เช่น บริเวณอำเภอสทิงพระได้พบซากอาคารสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น พระโพธิสัตว์ เทวรูปที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ มีอายุในศตวรรษ ที่ 13 เช่นกัน
แสดงให้เห็นว่าในเขตอำเภอดังกล่าวเป็นเมืองโบราณปรากฏชื่อในจดหมายจดหมายเหตุจีนของหลวงจีนอีซิ้งเซโลถิงซึ่งอาจตรงกับคำว่า สทิงพระก็เป็นได้ ซึ่งอยู่ในสมัยที่ นักโบราณคีดเรียกว่า ศรีวิชัยต่อมา สงขลาได้ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.. 1893 เป็นเมืองประเทศราชในจำนวน 16 เมือง ที่ตั้งตัวเมืองในสมัยอยู่ในท้องที่หมู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร (บริเวณเขาแดง) ยังมีโบราณสถานป้อง คูเมือง และที่ฝังศพเจ้าเมือง (สุลต่านสุไลมาน) ให้ศึกษาอยู่
เมื่อ พ.. 2185 ในสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาเจ้าเมืองสงขลา ตั้งตัวขึ้นเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาส่งกองทัพมาปราบ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จนถึง พ.. 2223 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่งกองทัพมาปราบสงขลาได้ สงขลาจึงขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
เมื่อ พ.. 2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยามหานครซึ่งตั้ง ตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้งนายวิเถียรญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แล้ว พ.. 2312-2325 ได้ตั้งให้จีนเหยี่ยง แซ่เฮา ซึ่งเป็นนายอากรรังนกขึ้นเป็นเจ้าเมือง ได้รับพระราชทานนามเป็น หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ ” (ต้นตระกูล ณ สงขลา) มีตัวเมืองตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 (แหลมสน) ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร คนละฟากฝั่งกับสงขลาปัจจุบัน (บ่อยาง) ขณะนี้ยังมีหลักฐานซึ่งชาวบ้านเรียกว่าที่วังซึ่งเป็นที่ตั้งวังเจ้าเมืองและตัวเมือง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกสงขลาขึ้นเป็นเมืองเอกขึ้นต่อกรุงเทพมหานคร ปกครองเมืองปัตตานี กลันตัน ตรังกานู จนกระทั่ง พ.. 2370 สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งรัตนโกสินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ..2367-2394) โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้น) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ก่อสร้างป้อมกำแพงเมืองระหว่างที่สร้างนี้ ตวนกูอาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบขบถราบคาบแล้ว จึงได้สร้างป้อมและกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จสิ้น โปรดเกล้าฯ ให้ฝังหลักเมือง โดยพระราชทานเทียนชัยพฤกษ์กับเครื่องไทยทานอาราธนาสมเด็จอุดมปิฎก พระสงฆ์อินเดีย 8 รูปเป็นประธาน พระอัษฎาจารย์พราหมณ์ มีชื่อ 8 นาย ออกมาให้พระยาสงขลาฝังหลักเมือง พระยาสงขลาได้จัดแจงทำโรงพิธีกลางและโรงพิศ 4 มุมเมือง กับโรงพิธีพราหมณ์เสร็จแล้ว ณ วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1204 เวลาเช้าโมงหนึ่งกับสิบนาที (ตรงกับวันศุกร์ ที่ 10 มีนาคม 2385 เวลา 07.10 .) ได้ฝังหลักชัยพฤกษ์ลงไว้กลางเมืองสงขลา (ปัจจุบันเป็นศาลเจ้าเมืองหลักเมือง) ตัวเมืองที่ย้ายมานี้ คือตัวเมืองทางฝั่งตะวันออกของแหลมสน หรือที่เรียกว่าบ่อยางคือในเขตเทศบาลเมืองสงขลาปัจจุบันนี้เ้อง ในสมัยราชการที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองสงขลาจึงเป็นที่ตั้งของมณฑลเทศาภิบาล เมืองสงขลาจึงเป็นที่ตั้งของมณฑลนครศรีธรรมราช
ต่อมาเมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2495 จึงเป็นที่ตั้งภาค 9 แม้ภายหลังจึงยุบเลิกภาค และประกาศใช้คณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2509 แทนพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.. 2495 แล้วก็ตาม การบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดสงขลา ก็ยังเป็นที่ตั้งของของเขตและภาคอยู่ในบันทึกของพ่อค้าชาวฮอลันดา ที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก เมืองสงขลาว่า แซงกลา  แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามของ นายนิโคลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า เมืองสิงขรจึงทำให้มีการสันนิฐานว่าที่มาของชื่อเมืองสงขลานั้น มีสองแนวด้วยกันคือ แนวแรกคือ ชื่อสงขลาเพี้ยนมาจากชื่อ สิงหลาหรือ สิงขรซึ่งแปลว่า ภูเขา คือ เกาะหนู และเกาะแมว เมื่อมองจากทะเลด้านนอก จะเห็นเป็นสิงห์สองตัวหมอบอยู่จริงจึงเรียกเมืองสงขลา ว่า เมืองสิงห์แนวที่สองก็อ้างว่า เมืองสงขลามีภูเขามากมาย เพราะตั้งอยู่บริเวณเขาชิงแดง และสมัยหลังมีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลา ว่า วิเชียร" จึงน่าจะมาจากชื่อสิงขรหรือสิขร
ประวัติศาสตร์จังหวัดสตูล
ตราประจำจังหวัด


รูปพระสมุทรเทวาประทับนั่งบนแท่นหิน เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อัสดง
คำขวัญประจำจังหวัด
สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยดังกล่าวยังไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบใกล้ฝั่งทะเล
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลซึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองไทรบุรีชื่อตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ ถึงแก่กรรมน้องชายชื่อตนกูดีบาอุดดีน ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง (รายามุดา) ได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาไม่นานนักก็ถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่าตวนกูดี-มาอุดดีนมีบุตรหรือไม่ ต่อมาปรากฏว่าบุตรชายของตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ จำนวน 10 คน ซึ่งต่างมารดากันได้แย่งชิงกันเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ซึ่งเป็นผู้กากับหัวเมืองฝ่ายตะวันตก จึงได้พิจารณานาตัวตวนกูปะแงรัน และตวนกูปัศนู ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไทรบุรี (ตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ) เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ กรุงเทพฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตวนกูปะแงรันซึ่งเป็นบุตรคนโตให้เป็นพระรัตนสงครามรามภักดีศรี ศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชบดินทร์ สุรินทวังษาพระยาไทรบุรี และทรงแต่งตั้งตวนกูปัศนู เป็นพระยาอภัยนุราช ตาแหน่งรายามุดา (ผู้ว่าราชการเมือง)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีข้าศึกยกตีเมืองถลางในปี พ.. 2352 พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้ส่งกองทัพจานวน 2,500 คน ไปช่วยรบกับข้าศึกที่เมืองถลาง และในปี พ.. 2355 พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้ยกกองทัพไปตีได้เมือง แประ ทำให้เมืองดังกล่าวเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ ด้วยความดีความชอบทั้งสองครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เป็นเจ้าพระยาไทรบุรี
ต่อมาไม่นานนัก เจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เกิดแตกร้าวกับพระยาอภัยนุราช (ตวนกูปัศนู) ผู้เป็นรายามุดา ปรากฏข้อความในหนังสือเก่าที่เมืองนครศรีธรรมราชว่าการแตกร้าวเกิดขึ้นเพราะพระยาอภัยนุราชขอเอาที่กวาลามุดาเป็นบ้านส่วย เจ้าพระยาไทรบุรีไม่ยอมให้ที่ดังกล่าวจะให้ที่อื่นแทน พระยาอภัยนุราชไม่ยอมรับ และต่างฝ่ายก็ทาเรื่องราวกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุงเป็นข้าหลวงออกไปว่ากล่าวไกล่เกลี่ยเมื่อ พ.. 2356 แต่เจ้าพระยาไทรบุรีกับพระยาอภัยนุราชไม่ปรองดองกัน ในที่สุดจึงโปรดให้ย้าย พระอภัยนุราชไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองไทรบุรี และทรงตั้งตวนกูอิบราฮิมเป็นราคามุดาเมืองไทรบุรี เหตุการณ์ที่เกิดแตกร้าวจึงสงบกันไป
ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้กล่าวถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเมืองไทรบุรีในครั้งนี้ไว้ว่าตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทาให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือพวกเจ้าพระยาไทรปะแงรัน พวก 1 พวกพระยาอภัยนุราช พวก 1 พวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราช ได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทย แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง 2 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อวงศ์ของพระยาอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น
ในปีพุทธศักราช 2363 ได้มีข่าวเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ว่า ข้าศึกเตรียมกองทัพจะยกมาตีเมืองไทย และได้คิดชักชวนเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ให้เข้าเป็นพวกยกมาทำศึกอีกทางหนึ่งด้วย จึงโปรดให้มีท้องตราสั่งออกไปให้สืบสวนและให้กองทัพเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา ไปตั้งต่อเรือที่เมืองสตูล เพื่อเป็นการคุมเมืองไทรบุรีไว้ด้วย
ในปีพุทธศักราช 2364 ตนกูม่อม ซึ่งเป็นน้องคนหนึ่งของเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ได้เข้ามาฟ้องต่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่า เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) เอาใจออกห่างและไป เผื่อแผ่แก่ข้าศึก จึงโปรดเกล้าให้มีตราลงไปหาตัวเจ้าพระยาไทรบุรีเข้ามาเพื่อไต่ถาม เจ้าพระยาไทรบุรีได้ทราบท้องตราแล้วก็เลยตั้งแข็งเมือง ต้นไม้เงินต้นไม้ทองก็ไม่ส่งเข้าไปทูลเกล้าถวายตามกำหนด จึงโปรดให้มีตราลงไปยังเมืองนครศรีธรรมราชว่า เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) เอาใจเผื่อแผ่แก่ข้าศึกเป็นแน่เลยจะละไว้ให้เมืองไทรบุรีเป็นไส้ศึกอีกทางหนึ่งไม่ได้ ให้พระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพลงไปตีเมืองไทรบุรีเอาไว้ในอำนาจเสียให้สิทธิ์ขาด
ในเวลานั้น พระยานครศรีธรรมราช ได้ต่อเรือรบเตรียมไว้ที่เมืองตรังและเมืองสตูลแล้ว เมื่อได้รับท้องตราให้ไปตีเมืองไทรบุรี จึงได้เตรียมจัดกองทัพ และทำกิติศัพท์ให้ปรากฏว่าจะยกไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรี และได้สั่งให้เจ้าพระยาไทรบุรีเป็นกองลาเลียงส่งเสบียงอาหาร แต่เจ้าพระยาไทรบุรีก็บิดพริ้วไม่ยอมส่งเสบียงอาหารมาให้ พระยานครศรีธรรมราชจึงได้ยกกองทัพบก กองทัพเรือพร้อมด้วยกองทัพเมืองพัทลุง และเมืองสงขลายกทางบกลงไปตีเมืองไทรบุรีพร้อมกัน ได้สู้รบกันเล็กน้อย กองทัพพระยานครศรีธรรมราช ก็ได้เมืองไทรบุรีในปี พ.. 2364 ส่วนเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) หลบหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก (เกาะปีนัง) พระยานครศรีธรรมราชจึงให้พระยาภักดีบริรักษ์ (ชื่อ แสง เป็นบุตรของพระยานครศรีธรรมราช) เป็นผู้รักษาเมืองไทรบุรี และให้นายนุช มหาดเล็ก (เป็นบุตรอีกคนหนึ่งของพระยานครศรีธรรมราช) เป็นปลัดอยู่รักษาราชการที่เมืองไทรบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง พระภักดีบริรักษ์เป็นพระยาอภัยธิเบศร์ มหาประเทศราชธิบดินทร์ อินทรไอศวรรย์ ขัณฑเสมาตยาชิตสิทธิสงครามรามภักดี พิริยะพาหะ พระยาไทรบุรี และตั้งนายนุชมหาดเล็ก เป็นพระยาเสนานุชิต ตาแหน่งปลัดเมืองไทรบุรี เมืองไทรบุรีตั้งอยู่ในอำนาจควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่ นั้นมา
ในปีพุทธศักราช 2373 ตนกูเดน ซึ่งเป็นบุตรของตนกูรายา ผู้ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดากันกับเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ได้เที่ยวลอบเกลี้ยกล่อมผู้คนเข้าไปเป็นสมัครพรรคพวกได้มากแล้วก็ยกเข้าไปตีเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์ เจ้าเมืองไทรบุรีและคนไทยในเมืองไทรบุรีต้องถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพัทลุง เจ้าพระยานครศรีธรรมราชทราบเรื่อง แล้วมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดให้ยกลงไป 4 กอง คือ พระยาณรงค์ฤทธิโกษา คุมลงไปกองหนึ่ง พระยาราชวังสัน กองหนึ่ง พระยาพิชัยบุรินทรา กองหนึ่ง พระยาเพชรบุรี (ชื่อ ศุข ได้เป็นเจ้าพระยายมราชในรัชกาลที่ 4) อีกกองหนึ่ง กองทัพทั้ง 4 กองนี้ ยกลงไปถึงเมืองสงขลาแล้วก็ได้ทราบความว่า เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชไปยังเมืองไทรบุรีแล้ว ดังนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ทั้ง 4 กอง จึงได้ยกไปทางบริเวณ 7 หัวเมือง แต่กาลังไม่พอที่จะไปรักษาความสงบได้ เนื่องด้วยเมืองกลันตันและเมืองตรังกานู ได้ยกพวกขึ้นมาช่วยพวกบริเวณ 7 หัวเมืองด้วย จึงได้มีใบบอกขอกาลังเพิ่มเติมจากกรุงเทพฯ อีก ได้โปรดให้เจ้าพระยาคลัง (ชื่อ ดิศ ได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาราชประยูรวงค์) ในรัชกาลที่ 4 ซึ่งในครั้งนั้นดารงตำแหน่งทั้งที่สมุหพระกลาโหมและกรมท่า เป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเรือตามลงไปอีกทัพหนึ่ง
ฝ่ายเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชลงไปยังเมืองไทรบุรี ได้สู้รบกับพวกตนกูเดน และกองทัพไทยได้เข้าล้อมพวกตนกูเดนไว้ ตนกูเดนกับพวกหัวหน้าเห็นว่าจะหนีไม่พ้นแน่ก็พากันฆ่าตัวตาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้เมืองไทรบุรีกลับมาเป็นของไทยดังเดิม
ในปีพุทธศักราช 2381 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปรากฏว่าได้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเมืองไทรบุรีเนื่องจากตนกูมะหะหมัดสหัส ตนกูอับดุลละ ซึ่งเป็นหลานเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) และได้หลบหนีไปเป็นสลัดอยู่ในทะเลฝ่ายตะวันตก ได้กลับยกพวกเข้ามาคบคิดกับหวันมาลี ซึ่งเป็นหัวหน้าสลัดอยู่ที่เกาะยาว แขวงเมืองภูเก็ต เที่ยวชักชวนผู้คนเข้ามาเป็นพวกได้จานวนมากขึ้นแล้ว จึงได้ยกพวกเข้ามาตีเมืองไทรบุรีอีก ในขณะนั้นพระยาอภัย-ธิเบศร์ (แสง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไทรบุรีกับพระยาเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรีเป็น บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นผู้รักษาเมืองไทรบุรีอยู่และเห็นว่าจะอยู่รักษาเมืองไว้มิได้ จึงต้องถอยมาตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองพัทลุง แล้วมีหนังสือบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ
ในเวลานั้น ข้าราชการผู้ใหญ่ทางหัวเมืองปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชและพระยาสงขลา เป็นต้น ได้เข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และช่วยงานทาพระเมรุถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระศรีสุลาไลย สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง
เมื่อตนกูมะหะหมัดสหัสและหวันมาลีตีได้เมืองไทรบุรีแล้ว ก็มีใจกำเริบ ด้วยรู้แน่ว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทางหัวเมืองปักษ์ใต้ส่วนมากไม่อยู่จึงได้คบคิดกันยกพวกเข้าตีได้เมืองตรัง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราชได้อีกเมืองหนึ่งครั้นเมื่อได้เมืองตรังแล้ว ก็ยกพวกเข้ามาเพื่อจะตีเมืองสงขลาต่อไปแล้วแต่งคนให้ชักชวนเกลี้ยกล่อมทางบริเวณ 7 หัวเมือง ให้กำเริบขึ้นอีก เมื่อมีข่าวเข้ามาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ผู้ว่าราชการเมืองทางปักษ์ใต้รีบกลับออกไปรักษาเมืองทันที ถึงกระนั้นก็ยังทรงพระวิตกอยู่ ด้วยคราวนี้พวกสลัดเข้ามาตีได้เมืองตรัง และยกกำลังประชิดเมืองสงขลาซึ่งเป็นเมืองใหญ่ด้วย เกรงว่าพวกบริเวณ 7 หัวเมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองสายบุรี เมืองรามัญ และเมืองยะลา รวมทั้งเมือง กลันตัน ตรังกานู จะกำเริบขึ้นมาอีก จึงทรงพระราชดำริให้จัดกองทัพใหญ่ยกออกไปจากกรุงเทพฯ เหมือนอย่างที่เคยโปรดให้เจ้าพระยาคลัง ออกไปเมื่อคราวก่อน เป็นแต่เปลี่ยนให้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์-รัตนราชโกษา (ชื่อ ทัด เป็นน้องเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) และได้เป็นเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ในรัชกาลที่ 4) ตำแหน่งจางวางพระคลังสินค้าเป็นแม่ทัพยกไปเมืองสงขลา
ส่วนเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเมื่อไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็เกณฑ์ผู้คนจากเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง ให้พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) ซึ่งเป็นพระยาไทรบุรี พระยาเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรี และพระยาวิชิตสรไกร ยกลงไปตีเมืองไทรบุรีคืนจากพวกสลัดที่ยึดเมืองอยู่ เมื่อพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัด) ยกกองทัพไปตั้งอยู่ ณ เมืองสงขลานั้น ได้ทราบว่าพระยาไทรบุรี พระเสนานุชิต และพระวิชิตสรไกร ยกกองทัพเข้าตีเมืองไทรบุรีคืนได้แล้วในปลายปี พ.. 2381
พระยาศรีพิพัฒน์รัตนโกษา จึงได้จัดการเมืองไทรบุรีให้เป็นที่เรียบร้อยกันต่อไป และได้พิจารณาเห็นว่าพระยาไทรบุรีและพระยาเสนานุชิตเป็นคนไทย จะให้อยู่รักษาเมืองไทรบุรีต่อไปก็จะได้รับความยุ่งยาก เนื่องจากบุตรหลานของเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) จะยกมารบกวนย่ำยีบ้านเมืองอีก ดังนั้น ในปี พ. . 2382 จึงได้จัดแบ่งแยกแขวง อำเภอเมืองไทรบุรีออกเป็น 4 เมือง คือ
1. เมืองกุปังปาซู ตั้งให้ตนกูอาเส็น เป็นเจ้าเมือง
2. เมืองปลิส ตั้งให้เสสอุเส็น เป็นเจ้าเมือง
3. เมืองสตูล ตั้งให้ตนกูมัดอาเก็บ เป็นเจ้าเมือง
4. เมืองไทรบุรี ตั้งให้ตนกูอาหนุ่ม เป็นผู้ว่าราชการเมือง
เมืองทั้ง 4 เมืองนี้ คงให้ขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชต่อไปดังเดิม สำหรับเมืองสตูลซึ่งตนกูมัดอาเก็บ เป็นเจ้าเมืองนั้นปรากฏว่า ตนกูมัดอาเก็บเป็นวงศ์ญาติของเจ้าเมืองไทรบุรีคนเก่า และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กวาลามุดา แขวงเมืองไทรบุรี ตนกูมัดอาเก็บรับตำแหน่งเจ้าเมืองสตูลอยู่นานถึง 37 ปี ซึ่งได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์มหินทรายานุวัตรศรีสตูล รัฐจางวางและก็ถึงแก่กรรมในปีนั้น
ในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา กล่าวถึงชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูลไว้ว่า ชื่อตนกูเดหวาได้เป็นพระยาสตูล ดังนั้น จึงเป็นที่เข้าใจว่า ตนกูมัดอาเก็บมีชื่อเรียกกันง่ายๆว่า "ตนกูเดหวา" และที่ได้กล่าวไว้ว่าได้แบ่งเมืองไทรบุรีเป็น 3 เมืองนั้น ถ้านับดูจำนวนแล้วก็จะเป็น 4 เมือง รวมทั้งเมืองไทรบุรีด้วย ส่วนรายชื่อผู้ว่าราชการเมืองนั้น พงศาวดารเมืองสงขลากล่าวไว้ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 คือ สลับชื่อผู้ว่าราชการเมืองไทรบุรีเป็นยมตวัน ที่แท้คือ ตนกูอาหนุ่ม และที่ว่าตนกูอาหนุ่มเป็นพระยาปังปะสู นั้นที่จริงคือ ตนกูอาสัน เป็นเจ้าเมืองกูปังปาซู จะขอนำข้อความในพงศาวดารเมืองสงขลายกมากล่าวอ้างไว้ดังนี้ คือ  

ส่วนเมืองไทรบุรี พระยาศรีพิพัฒน์แม่ทัพให้พระยาไทรบุรีบุตรเจ้าพระยานคร กลับไปรักษาราชการอยู่ตามเดิม ให้ตนกูเดหวาเปนผู้ว่าราชการเมืองสตูล แต่ให้ขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา ให้ปลัดเมืองพัทลุงไปว่าราชการเมืองพัทลุง และยกที่พะโคะ แขวงเมืองพัทลุงให้เปนแขวงเมืองสงขลา พระยาศรีพิพัฒน์ แม่ทัพจัดราชการเรียบร้อยแล้ว จึงมีหนังสือออกไปหาพระยาเพ็ชรบุรีพระสุนทรนุรักษ์ (บุญศรี) ซึ่งรักษาราชการอยู่ที่เมืองสงขลาสองปี และได้สถาปนาพระเจดีย์ไว้บนเขาเมืองสงขลาองค์หนึ่งเสร็จแล้วจึงได้ยกกองทัพกลับเข้าไป ณ กรุงเทพฯ นาข้อราชการขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เมืองไทรบุรีนั้นครั้นจะให้คนไทยเปนผู้ว่าราชการเมืองสืบต่อไป คงจะไม่เปนการเรียบร้อย ควรแบ่งเมืองไทรบุรีออกเปนสามเมืองเหมือนอย่างเมืองตานี จึงจะเปนปกติเรียบร้อยได้ขอรับพระราชทานให้ยมตวัน ซึ่งเปนพระยาไทรบุรีมาแต่ก่อนเปนพระยาไทรบุรีสืบต่อไป ให้ตนกูอานมเปนพระยาบังปะสู ให้ตนกูเสดอะเส็ม เปนพระยาปลิส ให้ตนกูเดหวาเปนพระยาสตูล แต่ให้ขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา ให้พระปลัดเมืองพัทลุงเปนพระยาพัทลุง ส่วนพระยาพัทลุงบุตรเจ้าพระยานครนั้น ควรพาตัวเข้ามาทาราชการเสียในกรุงเทพฯ แต่เมืองพังงานั้นเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ขอรับพระราชทานให้พระยาไทรบุรี บุตรเจ้าพระยานครไปเปนพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีตราตั้งเจ้าเมืองแล ผู้ว่าราชการเมือง ออกมาตามความเห็นพระยาศรีพิพัฒน์ แม่ทัพราชการบ้านเมืองก็เปนปกติ ไม่มีขบถสืบต่อมาจนทุกวันนี้
ในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลายังได้กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า
ครั้นปีมะโรง ฉศก. ศักราช 1206 (.. 2387) ถึงกาหนดงวดส่งต้นไม้ทองเงิน เมืองสตูลหาส่งต้นไม้ทองเงินไม่ พระยาสงขลา (เลี้ยนเว้ง) ต้องทาต้นไม้ทองเงินแทนเมืองสตูล แล้วแต่งให้ตนกูเดหวา ทาต้นไม้ทองเงิน เครื่องราชบรรณาการเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายโปรดเกล้าฯ ให้ตนกูเดหวาเป็นพระยาสตูล พระยาสตูล (เดหวา) กราบถวายบังคมลากลับออกมาเมืองสตูล ในปีนั้นพระยาสตูลกับพระยาปลิสวิวาทกันด้วยเรื่องเขตแดน จึงโปรดเกล้าฯ มีตราออกมาให้เมืองนครกับเมืองสงขลา พร้อมกันออกไปชำระสะสางให้เป็นที่ตกลงเรียบร้อยแก่กัน แล้วให้ปักหลักแดนไว้ให้มั่นคง อย่าให้เกิดวิวาทกันต่อไป ครั้งนั้นพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จึงได้มีใบบอกเข้าไปกราบบังคมทูลพระกรุณาพอยกเมืองสตูล ให้ขึ้นอยู่กับเมืองนคร เหตุด้วยเมืองสงขลาบังคับบัญชาเมืองแขก 7 เมืองเต็มกาลังแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลอยู่กับเมืองนครตั้งแต่นั้นมา
ในปีพุทธศักราช 2402 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระยากะบังปะซูถึงแก่กรรม พระยาไทรบุรี เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเมืองกะบังปะซูให้รวมอยู่ในเมืองไทรบุรีตามเดิม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองกะบังปาซูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นจึงมีเมืองที่มีผู้ว่าราชการเมือง 3 เมือง คือเมืองไทรบุรี เมืองปลิส และเมืองสตูล อนึ่ง กล่าวกันว่าพระยาไทรบุรีผู้นี้เป็นผู้เข้าออกในกรุงเทพฯ เนืองๆ เหมือนกับผู้สำเร็จราชการหัวเมืองไทย โดยสารเรือกลไฟมาทางเมืองสิงคโปร์บ้าง เดินทางมาลงเรือ ณ เมืองสงขลาบ้าง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไทรบุรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เหมือนขุนนางไทยทุกครั้ง เป็นการคุ้นเคยสนิทต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ต่อมาพระยาสตูลมีหนังสือบอกให้พระปักษาวาสะวารณินทร์ ผู้ช่วยราชการซึ่งเป็นบุตร ผู้ใหญ่คุมต้นไม้ทองเงิน เครื่องราชบรรณาการเข้ามายังเมืองนครศรีธรรมราช มีใบบอกให้กรมการล่ามนาเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย โดยพระยาสตูลมีหนังสือบอกมาว่า ทุกวันนี้พระยาสตูลชราตามืดมัวแล้วจะว่าราชการเมืองต่อไปมิได้ขอรับ พระราชทานพระปักษาวาสะวารณินทร์ว่าราชการบ้านเมืองต่อไป จึงทรงพระราชดาริว่า พระยาสตูลรักษาบ้านเมืองมามิได้มีเหตุผลเกี่ยวข้องแก่บ้านเมือง ควรจัดการให้สมควร ความปรารถนาพระยาสตูลจึงจะชอบ จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งพระปักษา-วาสะวารณินทร์ เป็นพระยาอภัยนุราชชาติรายาภักดี ศรีอินดาราวิยาหยา พระยาสตูล ให้เอาเครื่องยศพระยาสตูลคนเก่าพระราชทานแก่พระยาสตูลคนใหม่ แล้วพระราชทานสัญญาบัตรเพิ่มยศพระยาสตูลคนเก่าขึ้นเป็น พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ มหินทราธิรายานุวัตร ศรีสกลรัฐ มหาปธานาธิการ ไพศาล-สุนทรจริต สยามพิชิตภักดี จางวางเมืองสตูล พระราชทานเครื่องยศพานทองโปรดเกล้าฯ ให้มอบสัญญาบัตรเครื่องยศพระยาสตูลคนใหม่ออกไปพระราชทาน ณ เมืองสตูล
ในปีพุทธศักราช 2419 จีนเมืองภูเก็ตกบฏฆ่าฟันไพร่บ้านพลเมือง เอาไฟเผากุฏิ วิหาร ตึกเรือนโรงกรมการ ราษฎรแตกตื่นเป็นอันมาก เจ้าหมื่นเสมอใจราช ข้าหลวงรักษาราชการเมืองภูเก็ต มีหนังสือบอกข้อราชการของกองทัพเมืองไทรบุรี เมืองปลิส เมืองสตูล มาช่วยระงับจีนขบฏเมืองภูเก็ต เจ้าพระยาไทรบุรี พระยาปลิส พระยาสตูล ให้คนคุมไพร่รีบยกไปเมืองภูเก็ตทันราชการแล้ว เจ้าพระยาไทรบุรี ได้ไปปรึกษาราชการกับข้าหลวงเมืองภูเก็ต เจ้าพระยาไทรบุรี พระยาปลิส พระยาสตูล นายทัพ นายกอง มีความชอบในราชการแผ่นดินในครั้งนั้นพระยาอภัยนุราช พระยาสตูล ได้รับพระราชทานช้างเผือกสยาม ขั้นที่ 4 ชื่อ ภูษนาภรณ์
ในปีพุทธศักราช 2422 เจ้าพระยาไทรบุรี (ตนกูอามัด) ถึงแก่อสัญกรรม มีท้องตราโปรดเกล้าฯ ให้พระมนตรีสุริยวงศ์ ข้าหลวงเมืองตรังรับไปฟังราชการ ณ เมืองไทรบุรี พระยามนตรีสุริยวงศ์ ข้าหลวงมีหนังสือบอกให้หลวงโกชาอิศหากถือมา ว่าราชการเมืองไทรบุรีเรียบร้อย พระยาสตูล พระยาปลิส พระอินทรวิไชย พระเกไดสวรินทร์ พระเสรีณรงค์ฤทธิ์ พระเกษตรไทยสกลบุรินทร์ ตนกูอาเด ลงชื่อประทับตราปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า เจ้าพระยาไทรบุรีมีบุตรชายใหญ่ 2 คน คนหนึ่งชื่อ ตนกูไซนาระชิด อายุได้ 22 ปี คนหนึ่งชื่อ ตนกูฮามิด อายุ 16 ปี ตนกูไซนาระชิด เป็นที่ควรจะได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณแทนเจ้าพระยาไทรบุรีต่อไป ตนกูฮามิดเป็นน้อง ควรรับราชการรองลงมา จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งตนกูไซนาระชิด เป็นพระยาฤทธิสงครามรามภักดี ศรีศุลต่านมะหะหมัด รัตนราช-มุนนทร์ สุรินทรวิวังษา พระยาไทรบุรี พระราชทานพานทอง ตนกูฮามิด เป็นที่พระเสนีณรงค์ฤทธิ์ รายามุดา พระราชทานพานครอบทอง
ในปีพุทธศักราช 2424 พระยาไทรบุรีไซนาระชิดถึงแก่อสัญกรรม พระเสรีณรงค์ฤทธิ์ (ตนกูฮามิด) รายามุดา เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งพระเสรีณรงค์ฤทธิ์ รายามุดา เป็นพระยาฤทธิสงครามรามภักดี ศรีศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชมุนนทร์ สุรินทรวิวังษา พระยาไทรบุรี และต่อมาเลื่อนเป็นเจ้าพระยาฤทธิสงครามภักดีศรีศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชมุนนทร์ สุรินทรวิวังษา ผดุงทนุบารุงเกดะนคร อมรรัตนาณาเขต ประเทศราชราไชสวริยาธิบดี วิกรมสีหะ เจ้าพระยาไทรบุรี
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในปีพุทธศักราช 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไทรบุรี เมืองปลิส และเมืองสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลไทรบุรี โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรีมีข้อความตามกระแสพระราชดาริในการตั้งมณฑลไทรบุรี ต่อไปนี้คือ
"ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้ประกาศให้ทราบ ทั่วกันว่า
1. ทรงพระราชดำริเห็นว่า หัวเมืองมลายูฝ่ายตะวันตกมีอยู่ 3 เมือง คือเมืองไทรบุรี 1 เมืองปลิส 1 เมืองสตูล 1 และหัวเมืองทั้ง 3 นี้ ควรจะจัดให้มีแบบแผนบังคับบัญชาการเป็นอย่างเดียวกัน ให้ราชการบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
2. ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) มีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แลกรุงเทพมหานครเป็นอันมากมาเนืองนิตย์ และมีสติปัญญาอุตสาหะ จัดการเมืองไทรบุรีเจริญเรียบร้อยยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
3. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งเจ้าพระยาไทรบุรีเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการเมืองปลิส 1 เมืองสตูล 1 รวมทั้งเมืองไทรบุรีด้วยเป็น 3 เมือง
4. ให้เจ้าพระยาไทรบุรี มีอำนาจที่จะตรวจตราบังคับบัญชาผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล แลมีคาสั่งให้จัดการบ้านเมืองตามที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตทุกอย่าง เพื่อให้ ราชการบ้านเมืองเหล่านั้นเรียบร้อยและเจริญขึ้นและให้ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล ศรีตวันกรมการเมืองทั้งสองนั้นฟังบังคับบัญชา เจ้าพระยาไทรบุรีในที่ชอบด้วยราชการทุกประการ
5. ผู้ว่าราชการเมืองปลิส และเมืองสตูลคงมีอำนาจที่จะบังคับบัญชาว่ากล่าวศรีตวันกรมการไพร่บ้านพลเมืองนั้น ๆ แลรับผิดชอบในราชการบ้านเมืองทุกอย่าง แต่ต้องกระทาตามบังคับแลคาสั่งของเจ้าพระยาไทรบุรี ตามบรรดาการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น
6. ต้นไม้เงินทองเมืองปลิส เมืองสตูลซึ่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลหัวเมืองฝ่ายตะวันตกเคยบอกส่งเข้ามากรุงเทพฯ นั้น แต่นี้ไปเมื่อถึงกำหนดให้เจ้าพระยาไทรบุรีบอกนาส่งเข้ามากรุงเทพฯ
7. ข้อราชการบ้านเมือง ซึ่งผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล เคยมีใบบอกต่อข้าหลวงเทศาภิบาลฝ่ายตะวันตก เพื่อแจ้งข้อราชการหรือหารือราชการก็ดี หรือเพื่อให้บอกเข้ามากรุงเทพฯ ก็ดี แต่นี้ไปให้ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูลมีใบบอกไปยังเจ้าพระยาไทรบุรี เพื่อแจ้งข้อราชการหรือหารือราชการหรือเพื่อให้บอกเข้ามากรุงเทพฯ เหมือนเช่นนั้น แต่ในราชการบางอย่างซึ่งเคยเป็นแบบแผนเคยมีท้องตราจากกรุงเทพฯ ตรงไปตามหัวเมืองก็ดี ที่หัวเมืองเคยบอกตรงเข้ามากรุงเทพฯ ก็ดี ก็ให้คงเป็นไปตามแบบแผนเดิมนั้น แต่ต้องแจ้งความให้เจ้าพระยาไทรบุรีทราบด้วย
แต่การที่ว่ามาในข้อนี้ ไม่เกี่ยวข้องถึงฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายร้องทุกข์หรือเพื่อจะกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท โดยเฉพาะการเช่นนี้ย่อมเป็นราชประเพณีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั่วไป มิได้เลือกหน้าใครจะถวายก็ได้ไม่ห้ามปราม
8. ผลประโยชน์ของผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล เคยได้ในตำแหน่งเท่าใดให้คงได้อย่างแต่ก่อน ส่วนผลประโยชน์ ซึ่งผู้ว่าราชการเมืองเหล่านั้นได้เคยให้ประจำตำแหน่งศรีตวันกรมการเท่าใด ถ้าศรีตวันกรมการเหล่านั้นยังรับราชการบ้านเมืองตามสมควรแก่หน้าที่ ก็ให้คงได้รับผลประโยชน์ไปอย่างเดิมและเงินผลประโยชน์ เงินภาษีอากรที่ได้ในเมืองปลิส เมืองสตูล มากน้อยเท่าใด เงินเมืองใดให้จัดจ่ายให้ราชการทำนุบำรุงในเมืองนั้น และให้มีบัญชีทั้งรายรับ และรายจ่ายแยกออกเป็นเมือง ๆ อย่าให้ปะปนกัน
9. ตำแหน่งแลเกียรติยศบรรดาศักดิ์ ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูลและศรีตวันกรมการเมืองทั้งสองเมืองนั้น เคยมีมาประการใดก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้น การที่จะเลือกสรรตั้งแต่ศรีตวันกรมการผู้ใหญ่เมืองปลิสและเมืองสตูลนั้น ตำแหน่งใดว่างลงให้เจ้าพระยาไทรบุรี ปรึกษาหารือด้วยผู้ว่าราชการเมืองนั้น เลือกสรรผู้ซึ่งสมควรแล้วมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูล เมื่อทรงพระราชดำริเห็นชอบแล้วก็จะได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตามธรรมเนียม ส่วนแต่งตั้งกรมการผู้น้อยนั้น ให้ผู้ว่าราชการเมืองปลิส เมืองสตูล หารือต่อเจ้าพระยาไทรบุรี เมื่อเจ้าพระยาไทรบุรีเห็นชอบด้วยแล้วก็ตั้งได้
10. เจ้าพระยาไทรบุรีต้องมีใบบอกรายงานการที่ได้จัดแลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเขตแขวงเมืองปลิส และเมืองสตูล เข้ามากราบบังคมทูลเนืองๆ แลบรรดาการที่เจ้าพระยาไทรบุรีจะจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเมืองปลิส เมืองสตูล และการใดก็ให้มีใบบอกเข้ามาขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตตามแบบแผนขนบธรรมเนียมในราชการ"
เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ร.. 127 (.. 2452) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ร.. 128 (.. 2453)
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
ในปีพุทธศักราช 2475 ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้
คำว่า สตูล มาจากภาษามาลายูว่า สโตย แปลว่ากระท้อน อันเป็นต้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่บริเวณเมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า นครสโตยมาบังสการาหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูลแห่งเมืองพระสมุทรเทวา
จังหวัดสตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรกๆ จังหวัดสตูลแบ่งการปกครองออกเป็น 2 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมาบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.. 2482 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมาบังเป็นอำเภอเมืองสตูล
สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศ ติดต่อไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจา สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ พริกไทย เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่าอำเภอสุไหงอุเปต่อมาเมื่อประมาณปี 2457 การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ร่วงโรยลง จึงทาให้ราษฎรในท้องที่หันมาปลูกยางพาราแทน จึงขาด สินค้าออกที่สำคัญของท้องถิ่น ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทาการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งกันที่กิ่งอำเภอละงูกันมากขึ้น ทาให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง
ครั้นถึง พ.. 2473 ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่ากิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.. 2516 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอทุ่งหว้าขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอทุ่งหว้า เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.. 2516
ในปี พ.. 2512 กระทรวงมหาดไทยเห็นว่า ท้องที่อำเภอเมืองสตูล มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่ โดยทั่ว ๆ ไป เชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า จึงประกาศแบ่งท้องที่อำเภอเมืองสตูล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง ให้เรียกว่ากิ่งอำเภอควนกาหลง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2512 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2519 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะกิ่งอำเภอ ควนกาหลง ขึ้นเป็นอำเภอให้ชื่อว่า อำเภอควนกาหลง
เมื่อปี พ.. 2519 กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าท้องที่กิ่งอำเภอควนกาหลง อำเภอเมืองสตูล มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่โดยทั่วไป เชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า จึงประกาศแบ่งท้องที่กิ่งอำเภอควนกาหลง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง เรียกชื่อว่า กิ่งอำเภอท่าแพ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.. 2519
เมื่อปี พ.. 2520 กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าท้องที่อำเภอเมืองสตูล มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง สภาพท้องที่โดยทั่วๆ ไป เชื่อว่าจะเจริญต่อไปในภายหน้า จึงประกาศแบ่งท้องที่อำเภอเมืองสตูล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง เรียกว่า กิ่งอำเภอควนโดน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520
ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรปราการ
ตราประจำจังหวัด


รูปพระสมุทรเจดีย์
คำขวัญประจำจังหวัด
ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟราร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง
ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

 สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา เมืองสมุทรปราการ ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์จะมีแต่เมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่ขอมสร้างขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของขอมซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้าเจ้าพระยาและเป็นที่คาดคะเนว่าเมืองพระประแดงก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้มาจนตลอดสมัยสุโขทัย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยอ่อนลง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และได้เลือกเอาระบบการปกครองของขอมและสุโขทัยมาปรับปรุงเสียใหม่ และประกาศใช้เป็นระบบการปกครองของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวิธีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
- หัวเมืองชั้นใน มีเมืองป้อมปราการ เป็นด่านชั้นในกับหัวเมืองชั้นในที่อยู่รอบ ๆ เมืองป้อมปราการเหล่านั้น
- เมืองพระยามหานคร คือ หัวเมืองไกล ๆ ที่มอบอำนาจให้เจ้าเมืองปกครองชาวเมืองอย่างเจ้าชีวิต แต่ต้องส่งส่วยให้แก่เมืองหลวง
- เมืองประเทศราช อันได้แก่ เมืองขึ้นต่าง ๆ
ในสมัยนี้เมืองป้อมปราการด่านชั้นในมี 4 หัวเมือง คือ
ทิศเหนือ                 เมืองลพบุรี
ทิศใต้                     เมืองพระประแดง
ทิศตะวันออก            นครนายก
ทิศตะวันตก              สุพรรณบุรี
ต่อมาแผ่นดินที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้งอกลงมา ในท้องทะเลทางทิศใต้ ราว ๆ ใต้คลองบางปลากดทางฝั่งขวา และแถบตำบลบางด้วน บางนางเกรง ทางฝั่งซ้าย ในปัจจุบันนี้ ฉะนั้นเมืองพระประแดงจึงมิใช่เมืองที่ตั้งอยู่ปากแม่น้าเช่นเดิม ด้วยแผ่นดินงอกใหม่เกิดขึ้นออกมามากในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นให้เป็นหัวเมืองหน้าด่านทางใต้ ณ บริเวณฝั่งใต้ของคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองพระประแดงก็หมดความสำคัญลง และถูกยุบในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมืองสมุทรปราการนี้มีชื่อปรากฏในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.. 2178 เวลานั้นตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ไหนยังไม่พบหลักฐาน แต่ได้ความตามจดหมายเหตุฝรั่งว่า ที่ปากคลองบางปลากดฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าที่นั่น เรียกว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" และที่ตรงนี้คราวพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแต่งสมณทูตไปลังกา กล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดา ณ บางปลากด แสดงว่า ตำบลบางปลากดมีคนอยู่มาก อาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการครั้งนั้นก็ได้ และมีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองสมุทรปราการ ดังนี้
ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.. 2121 พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรยกทัพไปตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้เกิดเกรงความคิด จึงหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแต่ต่อมา เมื่อพระยาจีนจันตุทราบว่า พระยาละแวกไม่เอาโทษ จึงหนีกลับโดยลอบพาครอบครัวลงสำเภาที่ล่องลงไปขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาแต่เมืองพิษณุโลก ประทับอยู่ ณ วังใหม่ พระองค์จึงทรงประทับเรือพระ ที่นั่งออกติดตามสำเภาพระยาจีนจันตุไปในคืนวันเดียวกันนั้น ทันกันที่ปากน้ารับสั่งให้เรือตามเสด็จเข้าล้อมสำเภาไว้ เกิดรบพุ่งกัน พระยาจีนจันตุได้ยิงปืนลงมาต้องพระแสงปืนต้นที่ทรงนั้นแตกออกพระยาจีนจันตุถือโอกาสนั้นโล้สำเภาหลบหนีไปได้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะเสด็จไล่ตามก็ไม่ทันจึงยกทัพเรือกลับ
ใน พ.. 2163 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีเรือกำปั่นโปรตุเกส เข้ามาด้วยพบเรือฮอลันดา ที่บริเวณปากน้ำ ก็จับเรือฮอลันดาเอาไว้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงทราบโปรดให้ทหารลงไปบังคับโปรตุเกสให้คืนเรือแก่ฮอลันดา เหตุนี้จึงทำให้โปรตุเกสเคืยงไทย เลิกห้างค้าขายในกรุงศรีอยุธยาแล้วให้กองทัพเรือมาปิดอ่าวเมืองมะริด
ใน พ.. 2173 พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เกิดขัดใจขึ้นกับไทย ถึงกับต่อญี่ปุ่นจึงลงเรือสำภาหนีไป กองทัพเรือไทยตามทันที่ปากน้ำ ได้เกิดการต่อสู้กันที่บริเวณปากน้ำปรากฏว่าญี่ปุ่นพากันหนีไปได้
ใน พ.. 2207 พวกฮอลันดา ที่มาค้าขายอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เคืยงว่าทางราชการไทยทำการค้าขายผูกขาด แต่ผู้เดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เสียประโยชน์ของพวกฮอลันดาจึงเลิกการค้าขายกับไทยและกลับไปเสียจากกรุงศรีอยุธยาแล้วเอาเรือรบมาปิดปากน้ำ
.. 2231 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ไทยต่อสู้กับทหารฝรั่งเศสที่เข้ามารักษาป้อมวิชัยประสิทธิ์ครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในการต่อสู่กันนี้ไทยตั้งค่ายรายปืนที่บริเวณปากน้ำ และจับเรือฝรั่งเศสคุมมาได้ 2 ลำ ครั้นเมื่อตกลงกันว่าต่างจะปล่อยกลับไปบ้านเมืองของตนเอง แต่ให้มีตัวประกันไปด้วย จนถึงปากน้ำจึงจะแลกเปลี่ยนตัวประกันกับฝ่ายไทย แต่พวกตัวประกันที่ไทยยึดไว้ได้หนีลงเรือฝรั่งเศสไปโดยไม่คืนตัวประกันฝ่ายไทยให้ตามที่ตกลงกัน ไทยจึงต้องจับพวกบาทหลวงที่เหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยาขังต่อไป
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.. 2310 เมืองสมุทรปราการได้ถูกกองทัพพม่ากวาดต้อนผู้คนปล้นสดมภ์ยับเยิน วัดและบ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างอยู่พักหนึ่ง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้บ้านเมืองเอาไว้ได้ และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีเมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ผู้คนในเมืองสมุทรปราการที่อพยพหนีภัยสงคราม จึงได้กลับมาตั้งถิ่นฐานเดิม
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินนี้ พระองค์ทรงรื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิมที่ตั้งอยู่เขตราษฎร์บูรณะในปัจจุบัน ไปก่อกำแพงพระราชวังธนบุรีและที่อื่น ๆ อย่างรีบเร่ง เนื่องจากไม่มีเวลาเผาอิฐอีกทั้งกำแพงดังกล่าวก็อยู่ใกล้ สะดวกแก่การลำเลียง ดังนั้น เมืองพระประแดงเดิมจึงสิ้นซากนับแต่นั้นมา
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง เมืองพระประแดงขึ้นเป็นเมืองหน้าด่าน สาหรับป้องกันศัตรูซึ่งมาทางทะเลแต่พระองค์ทรงสร้างเพียงป้อมขึ้นไว้ทางฝั่งตะวันออก 1 ป้อม เรียกว่า ป้อมวิทยาคม
ใน พ.. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองสร้างปราการเมืองพระประแดงขึ้น ต่อจากที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างไว้ทางฝั่งตะวันออกและสร้างป้อมเพิ่มเติมทางฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวาของแม่น้าเจ้าพระยา) 5 ป้อม คือ
1. ป้อมแผลงไฟฟ้า
2. ป้อมมหาสังหาร
3. ป้อมศัตรูพินาศ
4. ป้อมจักร์กรด
5. ป้อมพระจันทร์ พระอาทิตย์
ป้อมทางฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) มี 4 ป้อม คือ
1. ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย
2. ป้อมปีศาจสิง
3. ป้อมราหูจร
4. ป้อมวิทยาคม
ป้อมเหล่านี้ชักปีกกาถึงกัน ทางหลังเมืองกำแพงล้อมรอบ มียุ้งฉาง ตึกดินและศาลาไว้เครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขนานนามเมืองพระประแดงนี้ว่าเมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 11 ค่ำ พ.. 2358 แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครัวมอญ เมืองปทุมธานี พวกเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ซึ่งหนีภัยพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นชายฉกรรจ์ 300 คน ให้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองนี้ และทรงแต่งตั้งสมิงทอมา บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ซึ่งเป็นพระยาราม น้องเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษาเมือง
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องเชียงสือเจ้าราชวงศ์ของญวนหนีภัยการเมืองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อองเชียงสือได้กลับไปเป็นใหญ่ในญวนสัมพันธภาพระหว่างไทยกับญวนจึงเป็นไปอย่างแน่นแฟ้นดุจพี่น้อง ต่อมาในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สัมพันธไมตรีที่มีอยู่ด้วยกันเสื่อมคลายลง เกิดกินแหนงแคลงใจกันสาเหตุจากญวนคิดเป็นเจ้าใหญ่นายโตปกครองประเทศเขมร
องต๋ากุน เจ้าเมืองญวน ได้เกณฑ์ไพร่พลญวน - เขมร ผลัดละ 10,000 คน ขุดคลองใหญ่จากทะเลสาบเขมร มาออกเมืองบันทายมาศ ใกล้ชายแดนไทยอันจะเป็นเหตุให้ไทยเราได้รับความกระทบกระเทือน เพราะถ้าญวนขุดคลองนี้สำเร็จญวนอาจยกกองทัพเรือมารุกรานไทยเข้าตีหัวเมืองไทยได้ง่ายเข้า เนื่องจากไม่ต้องอ้อมแหลมใหญ่ผ่านทะเล และเมืองบันทายมาศอยู่ใกล้ชายแดนไทยอีกทั้งยังเคยเป็นของไทยมาเก่าก่อน แต่เนื่องจากญวนได้แต่งทูตเข้ามาบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ 1 เลยถือโอกาสถวายสาส์นรัชกาลที่ 2 ขอเมืองบันทายมาศ โดยที่ไทยเห็นแก่ไมตรีที่มีมาดั้งเดิม พระองค์มิได้เฉลียวพระทัยว่าญวนจะคิดหักหลัง จึงยอมยกเมืองบันทายมาศให้ญวนไป
ฉะนั้น พระองค์จึงแน่พระทัยว่าการขุดคลองของญวนในครั้งนี้นั้น เป็นแผนการของญวนที่คิดจะรุกรานไทย พระองค์จึงทรงพระราชดำริว่า เมืองสมุทรปราการเดิมที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงสร้างไว้ทรุดโทรมลงมากแล้ว ประกอบทั้งอยู่ห่างไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา และทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องป้องกันพระนครทางน้ำให้แข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ เห็นควรให้สถาปนาเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ และเลื่อนออกไปให้ใกล้ปากแม่น้ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3) เป็นแม่กองร่วมด้วย เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) จัดการสร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ ใน พ.. 2362 เป็นการด่วน โดยทรงกำหนดเขตให้ตรงบริเวณพื้นที่ที่ชาวบ้าน เรียกว่า "บางเจ้าพระยา" (เป็นเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กับตำบลบางเมืองในปัจจุบัน) อยู่ระหว่างปากคลองปากน้ำคลองมหาวงศ์ มีป้อมปราการเป็นเมืองหน้าศึก 6 ป้อมปราการ คือ  
- ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตะวันออก)
1. ป้อมประโคนชัย อยู่ที่ปากคลองปากน้ำ
2. ป้อมนารายณ์ปราบศึก อยู่ในตำบลบางเมือง
3. ป้อมปราการ อยู่ในตำบลบางเมือง
4. ป้อมกายสิทธิ์ ในตำบลบางเมือง
- ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตะวันตก) มีป้อมนาคราช
- ส่วนกลางแม่น้ำมีเกาะใหม่เกิดขึ้น จึงสร้างป้อมขึ้นบนเกาะนั้น เรียกว่า "ป้อมผีเสื้อสมุทร" และในครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองปากลัด ในเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นมาด้วย
ในการสร้างเมืองสมุทรปราการใหม่นี้ ได้สร้างเสร็จเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 พ.. 2365 ครั้นในวันพุธ เวลา 04.24 น. ได้ฤกษ์เอาแผ่นยันต์ทอง เงิน ทองแดง ดีบุก และศิลา ลงสู่ภูมิบาทแล้วยกเสาหลักเมือง พอวันเสาร์ 05.24 น. ทำพิธีฝังอาถรรพ์แผนยันต์องครักษ์อีกครั้งหนึ่ง เสาหลักเมืองที่ทำพิธียกขึ้นครั้งนั้น เป็นที่ตั้งของ "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง" ในปัจจุบัน
ใน ปี พ.. 2365 ก่อนหน้าที่จะทำพิธีฝังหลักเมืองไม่นาน อุปราชเมืองนครพนมได้พาสมัครพรรคพวกและบริวารเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารประมาณ 2,000 คน รัชกาลที่ 2 โปรดให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบคลองมหาวงษ์ในเมืองสมุทรปราการ กับให้ท้าวอินทพิศาล บุตรชายคนโตของอุปราชเมืองนครพนมเป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ
ในระหว่างที่สร้างเมืองสมุทรปราการใหม่อยู่นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จทอดพระเนตรงานก่อสร้างอยู่เสมอ ครั้นวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 11 ค่า พ.. 2366 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดพิชัยสงคราม (วัดนอก) เมืองสมุทรปราการทรงทอดพระเนตรเห็นเกาะหาดทรายข้างป้อมผีเสื้อสมุทร จึงทรงพระราชดาริจะสร้างมหาเจดีย์เพื่อคู่กับชาวเมืองสมุทรปราการที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นไว้ ดังนั้นจึงโปรดให้สร้าง" พระสมุทรเจดีย์" ขึ้นบนเกาะกลางน้าตรงท้ายป้อมผีเสื้อสมุทรแต่การสร้างได้เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และเสร็จสิ้นในรัชสมัยของพระองค์
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปราบกบฏเวียงจันทน์เสร็จแล้วจะทำสงครามกับญวน พระองค์จึงโปรดให้สร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ เมื่อปีชวด พ.. 2371 โปรดให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างป้อมฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อป้อม ปีกกาต่อจากป้อมประโคมชัยของเดิม, ป้อมตรีเพ็ชร์ สร้างที่บางจะเกรง (บางนาเกรงในปัจจุบัน) เหนือเมืองขึ้นไป
ต่อมา ปีมะเมีย พ.. 2377 โปรดให้กรมสมเด็จพระเคชาดิศร ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมขุนเดชาอดิสรกับกรมหมื่นเสพสุนทร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ สร้างป้อมที่บางปลากด ทางฝั่งตะวันตกข้างเหนือเมืองสมุทรปราการ ชื่อป้อมคงกระพัน ในปีมะเส็ง พ.. 2388 โปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง ไปสร้างป้อมเพิ่มเติมที่เมืองสมุทรปราการ คือ ทาป้อมปีกกาต่อป้อมนาคราช เรียกว่า ป้อมปีกกาพับสมุทร ส่วนป้อมผีเสื้อสมุทร เดิมทาเป็น 2 ชั้น ให้รื้อชั้นบนออกเสียชั้นหนึ่งแล้วสร้างปีกกาขยายป้อมออกไปทั้ง 2 ข้าง และให้ถมศิลาปิดปากอ่าวที่แหลมฟ้าผ่า 5 กอง ไว้ทางเรือเดินเป็นช่อง ๆ เรียกว่า
"โขลนทวาร" ถึงปีวอก พ.. 2391 โปรดให้สมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อครั้งเป็นจมื่นไวยวรนารถ เป็นแม่กองสร้างป้อมใหญ่ขึ้นที่ตำบลมหาวงษ์ ทางฝั่งตะวันออกอีกหนึ่งป้อม เป็นป้อมที่ตั้งของแม่ทัพ ชื่อป้อมเสือซ่อนเล็บ
ในปี พ.. 2436 รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นต้องมีป้อมที่ปากอ่าวบริเวณแผ่นดินที่ยื่นออกไปจนถึงตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอเมืองสมุทรปราการ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งมีป้อมปืนสามารถต้านทานกระสุนปืนเรือทันสมัยได้ ประกอบกับเวลานั้นไทยกำลังมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส กรณีพิพาทดินแดนทางแม่น้ำโขง ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ ได้สิ้นพระราชทรัพย์ในการสร้างไปทั้งสิ้น 10,000 ชั่ง
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล แต่ก็รักษาไว้ไม่ได้นาน เพราะมีประเทศมหาอำนาจตะวันตกมาแสวงหาเมืองขึ้น ทางภาคตะวันออกของทวีปเอเชียประเทศเล็กประเทศน้อยก็ต้องสูญเสียดินแดนแก่มหาอำนาจที่ว่านี้ อย่างไม่มีทางจะเอาดินแดนคืนได้โดยเฉพาะประเทศไทยได้เสียดินแดนให้ประเทศมหาอำนาจตะวันตกไปทั้งหมด 11 ครั้ง และในการเสียดินแดน ครั้งที่ 7 มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันกับเมืองสมุทรปราการ คือ เหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเย็นวันที่ 13 กรกฎาคม 2436 เนื่องจากในวันนั้น เป็นวันกำหนดการเสด็จมาถึงของอาชดุ๊ค ฟรานซ์เฟอร์ดินานด์ ยุพราชแห่งออสเตรีย โดยจะเดินทางถึงอ่าวไทย เพื่อเยือนประเทศสยาม และในตอนเย็นวันนั้น มีฝนตกตรา ๆ ตลอดจนค่า เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ และมีเรือสินค้าซึ่งเคยทำการค้าระหว่างกรุงเทพฯ กับไซ่ง่อนเป็นเรือนำร่องเข้ามา ถือโอกาสแล่นเข้ามาเป็นการสวมรอย ทำให้ทหารไทยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายใดแน่นอน จึงเกิดความลังเลใจ เรือรบฝรั่งเศสจึงรอดจากการยิงของทหารไทยที่ป้อมปืนพระจุลจอมเกล้าเข้ามาได้ คงถูกยิงแต่เรือนาร่องและเกยตื้นอยู่ การเข้ามาของเรือรบฝรั่งเศสเป็นการขู่รัฐบาลไทยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งฝรั่งเศสให้ตอบภายใน 48 ชั่วโมง นอกจากนั้นฝรั่งเศสยังส่งเรือรบอีก 8 ลำ มาปิดอ่าวไทยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2436 อีกชั้นหนึ่งรัฐบาลไทยได้ยอมตกลงตามเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสเรียกร้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2436 ฝรั่งเศสจึงยอมถอนกองเรือรบที่ปิดอ่าว เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2436 แม้กระนั้นก็ยังยึดจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดไว้อีก 15 ปี
เหตุการณ์ ร.. 112 (..2436) นี้ นอกจากไทยจะถูกปรับเป็นเงินตราอย่างมหาศาลแล้วต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เป็นเนื้อที่ทั้งหมด 143,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส ประเทศลาวทั้งหมด อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.. 2136 อยู่กับไทยมาครบ 300 ปีพอดี ต้องมาเสียให้ฝรั่งเศสคราวนี้ด้วย และยึดจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดเป็นประกันอีก 15 ปี
การที่ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสใน ร.. 112 (.. 2436 หรือ จ.. 1255) นับว่าเป็นครั้งยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งในจำนวน 11 ครั้ง สร้างความขมขื่นให้ไทยอย่างใหญ่หลวง
ประเทศสยามเสียดินแดนให้แก่มหาอำนาจตะวันตก 11 ครั้ง ดังนี้
1. เสียเกาะหมาก ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.. 2329 เนื้อที่ 375 ตารางกิโลเมตร
2. เสียมะริด ทะวาย ตะนาวศรี ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2336 เนื้อที่ 55,000 ตร.กม.
3. เสียแสนหวี เชียงตุง เมืองพง ให้อังกฤษ เมื่อ พ.. 2368 เนื้อที่ 120,000 ตร.กม.
4. เสียสิบสองพันนา ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2397 เนื้อที่ 60,000 ตร.กม.
5. เสียแคว้นเขมร ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410 เนื้อที่ 124,000 ตร.กม.
6. เสียสิบสองจุไทย ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2431 เนื้อที่ 87,000 ตร.กม.
7. เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2436 เนื้อที่ 143,000 ตร.กม.
8. เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2446 เนื้อที่ 62,500 ตร.กม.
9. เสียมณฑลบูรพา ให้ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449 เนื้อที่ 51,000 ตร.กม.
10. เสียกะลันตัน,ตรังตานู,ไทรบุรี,ปลิศ, ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม 2451 เนื้อที่ 80,000 ตร.กม.
11. เสียเขาพระวิหาร ให้เขมร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 เนื้อที่ 2 ตร.กม.
จากหนังสือ การเสียดินแดนของชนเชื้อชาติไทย โดย พันเอก ถวิล อยู่เย็น หัวหน้ากองประวัติศาสตร์ กรมยุทธการทหารบก, กองทัพบก, กองบัญชาการตารวจภูธรชายแดง จัดพิมพ์เผยแพร่.
ในระหว่าง พ.. 2435 - 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงการปกครองพระราชอาณาเขตให้เรียบร้อยเป็นระเบียบ โปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับกรมพระกลาโหมกรมมหาดไทย และกรมท่า ให้มาอยู่ในบังคับบัญชา ของกระทรวงมหาดไทย เพียงกระทรวงเดียว อย่างไรก็ตาม ในการจัดระเบียบการปกครองโอนหัวเมืองต่าง ๆ ให้มาขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ปรากฏว่า เมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์ ได้รวมเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้นต่อกระทรวงนครบาลแทน ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.. 114
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงดาริว่านาม "พระประแดง" เป็นเมืองสำคัญมาแต่โบราณกาล สมควรใช้แทนนครเขื่อนขันธ์ เพราะอยู่ติดกันอยู่แล้ว ดังนั้น ใน พ.. 2458 พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ "นคร เขื่อนขันธ์" เป็น "เมืองพระประแดง" สืบมา
ใน พ..2458 รัชกาลที่ 6 ได้มีพระบรมราชโองการขยาย เขตกรุงเทพมหานครเสียใหม่ด้วยทรงเห็นว่ากรุงเทพมหานครมีความเจริญขยายออกไปมากแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแบ่งการบังคับบัญชาหัวเมืองใหม่ ยกเลิกมณฑลกรุงเทพฯ เดิมที่รวมท้องที่เมืองนนทบุรี เมืองมีนบุรี เมืองพระประแดงเมืองสมุทรปราการ แล้วกำหนดเขตเสียใหม่และให้ยกเมืองธัญบุรี เมืองปทุมธานี ไปสมทบเป็นหัวเมืองขึ้นกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.. 2458 เป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.. 2549 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองขึ้นเป็นจังหวัด เมืองสมุทรปราการก็กลายเป็นจังหวัดสมุทรปราการ และเมืองพระประแดงก็เป็นจังหวัดพระประแดงต่างหาก จังหวัดสมุทรปราการในตอนนั้นมี 4 อำเภอ คือเมือง, บางเหี้ย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางบ่อ), บางพลี และเกาะสีชัง (ลดฐานะลงมาเป็นกิ่งอำเภอในภายหลัง เพราะพลเมืองน้อย) และจังหวัดพระประแดง มี 3 อำเภอ คือ เมืองราษฎร์บูรณะ และพระโขนง
ต่อมาในรัชกาลที่ 7 อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจึงยุบจังหวัดพระประแดงลงมาเป็นอำเภอหนึ่งให้ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะไปขึ้นกับจังหวัด ธนบุรี และอำเภอพระโขนงไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร
ในปี พ.. 2485 ได้ออกพระราชบัญญัติยุบจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดอื่น ๆ อีก 4 จังหวัดไปรวมเป็นจังหวัดพระนครธนบุรี แต่ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น กรมปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการ ในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดารงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมืองระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ"การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
"การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกันโดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัดรองไปอีกเป็น อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวง กรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญาความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อนเพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชนซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย"
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล" นั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทาความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ การจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ทรงพระราชดาริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้างและกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่งยากที่จะจัดระเบียบการปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดาริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่กับในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลาดับดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรก ได้วางแผนงาน จัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายปี เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้วจึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรีมณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จานวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายับ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑลมณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรสาคร
ตราประจำจังหวัด


รูปสำเภาจีนในแม่น้ำท่าจีน
คำขวัญประจำจังหวัด
มืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาตร์
สมุทรสาครเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
สมุทรสาครเดิมชื่อบ้านท่าจีนเป็นชุมนุมชนใหญ่ อยู่บริเวณอ่าวไทย มีทำเลที่เหมาะสมในการพาณิชย์มาก มีเรือสำเภาค้าขายจากประเทศจีนมาจอดเทียบท่าที่นี่ ขนถ่ายซื้อขายสินค้ากันจนเป็นที่รู้จักกันทั่ว ใครอยากจะค้าขายกับเรือสำเภาจีนก็ต้องมาที่นี่ มีชื่อเรียกกันติดปากมาแต่เดิมว่า "ท่าจีน" แต่ยังมิได้มีฐานะเป็นเมืองคงเป็นหมู่บ้านชุมชนแห่งหนึ่งเท่านั้น เมื่อครั้งสังฆราช ปาลเลกัวส์ เดินทางไปเยี่ยมพวกคริสตังชาวจีน ที่กระจัดกระจายอยู่ทางทิศตะวันออกได้กล่าวถึงท่าจีนว่า ".....เป็นเมืองสวยงามมีพลเมืองประมาณ 50,000 คน ส่วนมากเป็นชาวประมง และพ่อค้า ที่ตั้งจังหวัดอยู่ห่างทะเล 2 ลี้ เป็นทำเลเหมาะในการประมงและการพาณิชย์จึงมีสำเภาจีนมาติดต่อค้าขายอยู่เสมอ"
ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครองราชย์ พ.. 2091 - .. 2111) แห่งกรุงศรีอยุธยาหลังสงครามเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พ.. 2092 ได้ยกฐานะบ้านท่าจีนเป็นเมือง "สาครบุรี" ตามแผนการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ที่อยู่กระจัดกระจายตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ยามเมื่อเกิดศึกสงคราม ดังปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ ฉบับพิมพ์ พ.. 2507 หน้า 60 ว่า "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชตรัสว่า ไพร่บ้านพลเมือง ตรี จัตวา ปากไต้เข้าพระนครครั้งนี้น้อย หนีออกอยู่ป่าดงห้วยเขาต้อนไม่ได้เป็นอันมาก ให้เอาบ้านท่าจีนตั้งเป็น สาครบุรี" และข้อความในพงศาวดาร ไทยรบพม่าว่า ".......เพื่อจะให้สะดวกแก่การเรียกหาผู้คนเวลาเกิดศึกสงคราม จึงให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่อีก 3 เมือง คือ ยกบ้านตลาดขวัญเป็นเมืองนนทบุรี เมือง 1 ยกบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรีเมือง 1 แบ่งเอาเขตเมืองราชบุรีกับเมืองสุพรรณบุรีมารวมกัน ตั้งเป็นเมืองนครไชยศรีขึ้นอีกเมือง 1"
หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลเล่ม 3 ว่า "หลังจากสงครามกับเขมร (.. 2099)........สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยังให้ตรวจบัญชีสามะโนครัวราษฎร ได้จำนวนชายฉกรรจ์ในมณฑลราชธานีถึงแสนเศษ แล้วจัดระเบียบการระดมพลให้สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน ในการนี้ให้ตั้งเมืองชั้นในเพิ่มขึ้นหลายเมือง คือ ตั้งบ้านท่าจีนขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี เมือง 1......"
สรุปความตรงกันว่า บ้านท่าจีนได้ยกขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพื่อสะดวกแก่การเรียกหาผู้คนเวลาเกิดศึกสงคราม และสะดวกแก่การปกครอง
ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ยกเมืองสาครบุรีขึ้นกับกรมท่า ดังปรากฏในประชุมพงศาวดารว่า ".......แบ่งหัวเมือง ขึ้นกลาโหม มหาดไทย กรมท่า ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์........ยังคงเมืองขึ้นกรมท่าอีก 8 เมือง คือ เมืองนนทบุรี 1 เมืองสมุทรปราการ 1 เมืองสาครบุรี 1......."
ในรัชกาลที่ 2 พ.. 2352 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เป็นแม่ทัพยกไปปราบพม่าที่เมืองถลาง และเมืองชุมพร ในการเดินทัพทางเรือ ผ่านธนบุรี ท่าจีน แม่กลองบ้านแหลม และเพชรบุรี นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ได้ตามเสด็จคราวนี้ด้วย และแต่งโคลงนิราศนริทร์ มีความตอนที่กล่าวถึง สมุทรสาคร ว่า
มหาชัยชัยฤกษ์น้อง             นาฏลง โรงฤๅ
รักร่วมพุทธมนต์สงฆ์                      เสกซ้อม
เสียดเศียรแม่ทัดมง-                      คลคู่ เรียมเอย
ชเยศชุมญาติห้อม                         มอบให้สองสม
ท่าจีนจีนจอดถ้า                  คอยถาม ใดฤๅ
จีนช่วยจำใจความ                         ข่าวร้อน
เยียวมิ่งแม่มาตาม                         เตือนเร่ง ราแม่
จงนุชรีบเรียมข้อน                         เคร่าถ้า จีนคอย
ในปี พ.. 2390 ปีมะแม พระยามหาเทพให้จมื่นทิพเสนา (เอี่ยม) ออกไปจับฝิ่นอ้ายจีนเผียว ซึ่งตั้งตนเป็นตั้วเหี่ยที่ลัดตรุด แขวงสาครบุรี มีการจับกุมหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ (14 มีนาคม พ.. 2390) พระยามหาเทพไปกับพระสวัสดิวารีพร้อมกับเกณฑ์กรมการเมืองสาครบุรี และชาวบ้านไปช่วย เกิดการต่อสู้กันขึ้น พระยามหาเทพได้รับบาดเจ็บ อ้ายจีนเผียวตั้งใจจะหนีเข้าอังกฤษ รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยาพระคลังคุมพวกตำรวจในพระยามหาเทพกับกองรามัญไปตั้งที่สาครบุรี และมีหนังสือถึงผู้รักษาเมืองสมุทรสงคราม ราชบุรี ให้ตีสกัดจีนเผียวลงมา ในที่สุดสามารถจับจีนเผียวตั้วเหี่ยได้ที่ราชบุรี
ครั้งต่อมาในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรี เป็นเมือง สมุทรสาคร ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ว่า "……เมืองขึ้นกรมท่าเรือเมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร แปลงเป็นเมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน เมืองสาครบุรีแปลงเป็นเมืองสมุทรสาคร เกาะกงให้ชื่อเมืองประจันตคีรีเขตต์รวม 3 เมือง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.. 2438 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมณฑลนครไชยศรี มีเมืองปกครอง 3 เมือง คือ นครชัยศรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร
เมืองสมุทรสาคร เดิมมีอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครอง รวม 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสาคร อำเภอบางโทรัด อำเภอกระทุมแบน ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.. 2446 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางโทรัด เป็นอำเภอ "บ้านบ่อ" ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอ เพราะอำเภอบางโทรัด ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านบ่อ
.. 2456 เปลี่ยนชื่อเมืองนครชัยศรี เป็น เมืองนครปฐม
ในปี พ.. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดสมุทรสาคร" มาจนทุกวันนี้
ต่อมาได้มีแจ้งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.. 2468 ว่า ได้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า อำเภอบ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาคร มณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านบ่อ แต่เดิมเป็นตำบลลับ เวลานี้การไปมาค้าขายของราษฎร ได้ไปประชุมกันอยู่ทางคลองดำเนินสะดวก ตำบลบ้านแพ้ว จึงเป็นตำบลที่สำคัญอย่างยิ่ง และทั้งตำบลบ้านบ่อกับตำบลที่ใกล้เคียง ราษฎรจะไปมาติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร สะดวก เพราะมีรถไฟไปมาได้ในวันเดียว อีกประการหนึ่งท้องถิ่นที่อำเภอสามพรานมาขึ้นได้อีกหลายตำบล สะดวกแก่การปกครองขึ้นอีก
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่ตำบลต่าง ๆ คือ แยกเอาตำบลดอนไผ่ 1 ตำบลบ้านแพ้ว 1 ตำบลเจ็ดริ้ว 1 ตำบลคลองตัน 1 จากอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมรวม 4 แห่ง แบ่งออกตำบลอาแพงของอำเภอเมืองสมุทรสาคร 1 ตำบล รวมกับตำบลโรงเข้และตำบลหลักสาม ของอำเภอบ้านบ่อ รวม 7 ตำบลด้วยกัน เป็นอำเภอหนึ่ง ตั้งที่ว่าการที่ตำบลบ้านแพ้ว เรียกว่าอำเภอบ้านแพ้วขึ้นจังหวัดสมุทรสาคร
ส่วนอำเภอบ้านบ่อเก่า ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านบ่อนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกับตำบลบางกระเจ้า 1 ตำบลบางโทรัด 1 ตำบลกาหลง 1 ตำบลนาโคก 1 เข้ากับตำบลบ้านบ่อเป็น 5 ตำบลด้วยกัน ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า "กิ่งอำเภอบ้านบ่อ" ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.. 2468 เป็นต้นไป จังหวัดสมุทรสาคร มีอำเภอและกิ่งอำเภอขึ้นอยู่ในปกครอง 3 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว และกิ่งอำเภอบ้านบ่อ ขึ้นกับอำเภอเมือง
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.. 2469 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรีได้ไปตรวจราชการที่กิ่งอำเภอบ้านบ่อ เห็นการงานแผนกมหาดไทย แผนกอัยการ มีน้อย ส่วนแผนกสรรพากรมีมาก เห็นว่าควรรวมการงานแผนกมหาดไทยและแผนกอัยการกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร มณฑลนครชัยศรีจึงได้คาสั่งที่ 173/895 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.. 2469 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้สั่งปลัดกิ่งอำเภอบ้านบ่อ และเสมียนพนักงานขนสรรพราชการทั้งปวงในแผนกมหาดไทย และแผนกอัยการมารวมทาการอยู่ที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ส่วนกิ่งอำเภอนั้น ให้มีเจ้าพนักงานสรรพากร 2 คน ตรวจเก็บภาษีอากรด่านและประจำที่ไปตามเดิม ตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งนี้เป็นต้นไป
ต่อมาสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ได้มีคาสั่งที่ 1578/19239 ลงวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2470 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครว่า เนื่องจากทางราชการได้แบ่งตำบลในท้องที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กับตำบลในท้องที่อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาคร กิ่งอำเภอบ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาครไปตั้งเป็นอำเภอบ้านแพ้วขึ้นในจังหวัดสมุทรสาครเสียแล้วนั้น กิ่งอำเภอบ้านบ่อคงเหลือเพียง 5 ตำบล ต่อมาราชการสาหรับกิ่งอำเภอบ้านบ่อน้อยลง ตลอดทั้งการไปมาระหว่างอำเภอเมืองสมุทรสาครกับกิ่งอำเภอบ้านบ่อสะดวกขึ้น มณฑลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีกิ่งอำเภอบ้านบ่ออีกต่อไป จึงได้ขออนุญาตยุบกิ่งอำเภอบ้านบ่อกับยกราชการและย้ายปลัดกิ่งอำเภอและเสมียนพนักงานไปรวมทาที่อำเภอเมืองสมุทรสาครเข้าไปยังกระทรวงมหาดไทย และได้รับท้องตราพระราชสีห์น้อย ที่ 400/14407 ลงวันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2470 อนุญาตให้ยุบกิ่งอำเภอนั้นแล้วและให้จัดการแก้ทำเนียบท้องที่เสียให้ถูกต้อง
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.. 2470 เป็นต้นไป จังหวัดสมุทรสาครมีอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครองรวม 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้วส่วนกิ่งอำเภอบ้านบ่อยุบไปขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร
ครั้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.. 2486 ทางราชการได้ยุบจังหวัดสมุทรสาครไปรวมกับจังหวัดธนบุรี อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว จึงต้องไปขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดธนบุรี และอำเภอเมืองสมุทรสาครจึงต้องเปลี่ยนชื่อ เป็น "อำเภอสมุทรสาคร"
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.. 2489 ทางราชการได้แยกการปกครองท้องที่ของจังหวัดสมุทรสาครเดิมออกจากจังหวัดธนบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นใหม่เรียกว่า จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว จึงได้มาขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอสมุทรสาครก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองสมุทรสาครตามเดิม
ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มาเพื่อเยี่ยมทุกข์สุขของราษฎรนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวจังหวัดสมุทรสาครปลาบปลื้มปีติเป็นอันมาก
ประชาชนนิยมเรียก จังหวัดสมุทรสาครว่า "มหาชัย" ตามชื่อคลองมหาชัย ซึ่งเป็นคลองที่ขุดในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อตัดความคดเคี้ยวของคลองโคกขาม แต่เดิมเริ่มต้นจากคลองด่าน วัดหัวหมู เขตเมืองธนบุรี จนถึงคลองโคกขาม เรียกว่า "คลองพระพุทธเจ้าหลวง" แต่ยังไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
"สมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (ขุนหลวงท้ายสระ) เสด็จพระราชดำเนินทรงเบ็ดที่ปากน้ำท่าจีน เมื่อถึงคลองมหาชัย เห็นคลองนั้นขุดไม่แล้วค้างอยู่ ครั้นทรงเบ็ดแล้วกลับคืนมาถึงพระนครจึงทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้พระราชสงครามเป็นนายกองให้กะเกณฑ์คนหัวเมืองปักษ์ใต้ 8 หัวเมือง …….ไปขุดคลองมหาชัย จึงให้ฝรั่งส่องกล้องดูให้ตรงปากคลอง ปักกรุยลงเป็นสำคัญทางไกล 340 เส้น ได้ขุดคลองลึก 6 ศอก กว้าง 7 ศอก ขุด 2 เดือนจึงแล้วเสร็จ ….คลองนั้นได้ชื่อว่า "คลองมหาชัย" ตราบเท่าทุกวันนี้" ต่อมาตัวเมืองเจริญเติบโตขึ้น ณ ริมฝั่งซ้ายของคลองมหาชัย ชื่อมหาชัยจึงกลายเป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียกอีกชื่อหนึ่ง
การจัดตั้งการสุขาภิบาลท่าฉลอม
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการปฏิรูประเบียบวิธีบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ได้ทรงมีพระราชประสงค์อันแรงกล้าที่จะจัดให้มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับพระบรมราชานุภาพของพระมหากษัตริย์ของประเทศเช่นที่อารยประเทศได้ถือปฏิบัติและทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศเพื่อช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญลุล่วงตามทัศนคติใหม่ของระบอบการปกครองในประเทศตะวันตก ในระยะแรกพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และกำนันเป็นผู้ได้รับเลือกมาจากประชาชนในท้องถิ่น แทนที่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้แต่งตั้งดังเช่นในสมัยก่อน
ครั้นเมื่อกระทรวงมหาดไทยนาพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.. 116 ออกใช้ ใน พ... ฉบับนี้ก็ได้มีบทบัญญัติกล่าวถึงการนคราภิบาลไว้ด้วย ใน ร.. 118 (.. 2442) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้มีการจัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลขึ้นในกรุงเทพฯ สิ่งเหล่านี้นับว่ามีอิทธิพลสืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีโอกาสไปดูกิจการต่าง ๆ ในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตามความเจริญของประเทศและลักษณะปกครองของไทยยังผิดกันกับประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่ว่า "…ประเทศอื่น ๆ ราษฎรเป็นผู้ขอให้ทำ เจ้าแผ่นดินจำใจทำในเมืองเรานี้เป็นแต่พระเจ้าแผ่นดินคิดเห็นว่าควรจะทำ เพราะจะเป็นการเจริญแก่บ้านเมืองและความเป็นสุขแก่ราษฎรทั่วไป จึงได้คิดทำ เป็นการผิดกันตรงกันข้าม…."
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในราชการและเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายสำหรับหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ก็ได้ทรงดำริที่จะดำเนินการตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา การสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ได้เริ่มงานมาหลายปีแต่การจัดตั้งการสุขาภิบาลหัวเมืองยังไม่สามารถจะทำได้ เพราะเสด็จในกรมทรงเห็นว่าประชาชนยังไม่พร้อมที่จะรับ พระองค์ทรงต้องการที่จะให้ประชาชนมีความเข้าใจและเห็นคุณประโยชน์ของการสุขาภิบาลนี้เสียก่อน การรอจังหวะที่ดีกินเวลาอีกหลายปี จนกระทั่งถึง ร.. 124 (.. 2448) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงเริ่มงานจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทรงเลือกเอาวิธีการสุขาภิบาลมาแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปรับปรุงท้องถิ่นในตำบลท่าฉลอม ซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเป็นที่สกปรกรกรุงรังจนไม่เป็นที่สบพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงได้มีหนังสือตราพระราชสีห์น้อย ที่ 20/3990 ลงวันที่ 2 สิงหาคม ร.. 124 ถึงพระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร มีความตอนหนึ่งว่า "ด้วยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ร.. 124 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกที่ประชุมเสนาบดี มีรับสั่งเล่าถึงที่ได้ไปประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัยที่ได้ทอดพระเนตรเห็นถนน และตลาดเมืองนครเขื่อนขันธ์โสโครกมาก รับสั่งว่าสกปรกเหมือนตลาดท่าจีน ฉันนั่งอยู่ที่ประชุมรู้สึกละอายใจมาก ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์จะสกปรกหรือสะอาดก็ไม่ใช่ธุระของเรา แต่ความสกปรกของตลาดท่าจีนซึ่งสกปรกจริงสาหรับเป็นที่ยกตัวอย่างเปรียบเทียบที่อื่นที่ไม่พอพระราชหฤทัยเช่นนี้ ก็เสมอกริ้วตลาดท่าจีนด้วยเหมือนกัน การเป็นเช่นนี้จึงรู้สึกร้อนใจมาก เห็นว่า ถ้าไม่คิดอ่านปัดกวาดจัดถนนในตลาดท่าจีนให้หายโสโครกแล้วจะเสียชื่อตั้งแต่ฉันตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองและกำนันผู้ใหญ่บ้านในตลาดท่าจีน ซึ่งเป็นคนดี ๆที่ฉันรู้จักอยู่แทบทุกคน ถ้าตลาดท่าจีนยังสกปรกอยู่อย่างนี้ แม้ปีนี้เสด็จอีกก็เห็นจะไม่เสด็จตลาดและจะให้กำนันผู้ใหญ่บ้านในที่นั้นเฝ้าก็เห็นไม่ได้ ฉันมีความร้อนใจอย่างนี้ จึงได้มีตราฉบับนี้มายังพระยาพิไชยสุนทร เมื่อได้รับตราฉบับนี้แล้วขอให้เรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ตลาดท่าจีนมาประชุมอ่านตราฉบับนี้ให้ฟังและปรึกษากันดูว่าจะควรทำอย่างไร อย่าให้พระเจ้าอยู่หัวทรงติเตียนได้"
เมื่อได้รับหนังสือตราพระราชสีห์น้อยฉบับนี้ ปรากฏว่าพระยาพิไชยสุนทรได้เรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลท่าฉลอมทั้งหมด เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องและช่วยกันคิดอ่านแก้ไขในการที่ถูกติเตียนเช่นนี้ ในที่สุดผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาครทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ชักชวนให้ประชาชนและพ่อค้าในตำบลท่าฉลอมร่วมมือช่วยกันสละเงินได้แก่การเรี่ยไร เพื่อนามาปรับปรุงตลาดท่าจีนให้สะอาด ได้เงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,472 บาท โดยได้นาเงินจำนวนที่ได้มาทำเป็นถนนปูอิฐขนาดกว้าง 2 วา ได้ยาวถึง 11 เส้น 14 วา อีกทั้งจ้างคนปัดกวาดเทขยะมูลฝอยทิ้งจนตลาดท่าจีนสะอาดสมความปรารถนา
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีความยินดีเป็นอันมาก พระองค์ทรงรายงานทูลเกล้าถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงทราบถึงความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวท้องถิ่นในตลาดท่าฉลอมในการสละเงินทองปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นและในขณะเดียวกันเสด็จในกรมก็ได้ทรงเห็นเป็นโอกาสอันงามที่จะเริ่มงานสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเป็นแห่งแรกเสียเลย เพราะสิ่งที่ดำเนินการไปนั้น ยังต้องมีการบำรุงและเสริมสร้างกันต่อไปอีก จึงทรงเสนอต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกันนั้นก็ขอพระบรมราชานุญาตแก้ไข "ภาษีโรงร้าน" เพื่อจัดสมทบเป็นรายได้แก่สุขาภิบาลที่ตั้งขึ้น หน้าที่โดยย่อ 3 ประการของสุขาภิบาลที่เสด็จในกรมทรงเสนอไว้แต่แรก คือ
(1) ซ่อมแซมรักษาถนนหนทาง
(2) จุดโคมไฟให้มีแสงสว่างในเวลาค่ำคืนเป็นระยะตลอดถนนในตำบลนั้น และ
(3) ให้จ้างลูกจ้างสำหรับกวาดขนขยะมูลฝอยของโสโครกต่าง ๆ ในตำบลนั้นไปทิ้งเสียที่อื่น
กระทรวงมหาดไทยได้ส่งพระยาจ่าแสนยบดี เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังไปประชุมปรึกษาหารือกับผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร กำนันผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้าและราษฎรในบ้านตลาดท่าฉลอมในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมและปรึกษาขอความคิดเห็นในการปรับปรุงภาษีโรงร้าน และการใช้จ่ายเงินเพื่อการสุขาภิบาล ปรากฏว่าได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องที่ในครั้งนั้นเป็นอย่างดี
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระราชประสงค์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในด้านการสุขาภิบาล พระองค์จึงเสด็จไปทอดพระเนตรและไปเป็นเกียรติอันปวงชนควรจะได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในการเปิดถนนที่ราษฎรตำบลท่าฉลอมออกเงินสร้างสำเร็จซึ่งมีชื่อว่า "ถนนถวาย" เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ร.. 124 นับว่าเป็นการเริ่มงานสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นแห่งแรกด้วย
คณะกรรมการสุขาภิบาลท่าฉลอมชุดแรกที่ได้ตั้งขึ้นประกอบด้วยสมาชิกดังนี้ คือ
(1) หลวงพัฒนการภักดี กำนันตำบลท่าฉลอม
(2) ขุนพิจารณ์นรกิจ            (3) ขุนพินิจนรภาร
(4) จีนพัก                         (5) จีนศุข
(6) จีนเน่า                         (7) จีนอู๊ด
(8) จีนโป๊ ผู้ใหญ่บ้าน
การบริหารงานสุขาภิบาลท่าฉลอมในระยะต่อมาเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี เพราะปรากฏว่าการเก็บภาษีโรงร้านในตลาดท่าฉลอมได้เก็บตลอดทุกบ้านเรือนทั้งที่ทาการค้าขายหรือมิได้ค้าขาย และไม่ว่าในบังคับใด ๆ ย่อมเสียให้โดยไม่เกี่ยงงอน การจ่ายเงินของคณะกรรมการสุขาภิบาลก็จ่ายโดยเขม็ดแขม่ ด้วยความรู้สึกเสียดายเงินและมีบัญชีโฆษณาให้คนทั้งหลายทราบเสมอทุกเดือนว่าเก็บเงินได้เท่าใดจ่ายใช้ไปเท่าใด คงเหลือเป็นเงินเท่าใด เป็นต้น สมพระเจตจำนงอันรอบคอบของสมเด็จเสนาบดีทุกประการ

เสด็จในกรมทรงอธิบายถึงการจัดตั้งการสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นตัวอย่างแก่ที่ประชุมว่าเป็นวิธีที่จัดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลนั้นเป็นผู้ใช้จ่ายเงินเอง ผู้ว่าราชการเมืองมีหน้าที่แต่เพียงแนะนาตรวจตราให้การเป็นไปตามพระราชประสงค์เท่านั้น พระองค์ได้ทรงแนะนำให้ข้าหลวงเทศาภิบาลไปจัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งการสุขาภิบาลขึ้นเป็นการทดลองในท้องที่ ๆ มีความจำเป็นและสมควรที่จะจัดก่อน แต่การจัดตั้งการสุขาภิบาลนี้เสด็จในกรมทรงดำริให้ "เกิดจากความนิยมของราษฎรก่อน คือให้ราษฎรนำน่า และรัฐบาลตามหลัง" ทั้งนี้ เพื่อให้การสำเร็จไปด้วยความชมชอบของประชากร


ประวัติศาสตร์จังหวัดสงคราม
ตราประจำจังหวัด


รูปกลองลอยน้ำ
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร 2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม
จังหวัด สมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลองในอดีตคือแขวงบางช้างของเมืองราชบุรี แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภอ  อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรี แขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตำบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสำคัญในช่วงเวลานั้น
           ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ. 2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเรื่องการเรียก สินไหมพินัยความ ได้ปรากฏชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกำหนดซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรม โกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศร์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ  
           จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลน ตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม แม่กลองนอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้างสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินีซึ่งทรงเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและ พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ มีพระนิวาสสถานดั้งเดิมอยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่ง อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยพระราชโอรสสองพระองค์แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาทรงหนีราชภัย มาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์ สุโขทัยมีการสืบทอดนาฏศิลป์ วรรณศิลป์  และการทำอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรม ราชินีที่แขวงบางช้างทรงรับถ่ายถอดการทำอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทำอาหาร ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์
จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลองในอดีตคือแขวงบางช้างของเมืองราชบุรี แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรี แขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตำบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสำคัญในช่วงเวลานั้น
ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ. 2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเรื่องการเรียก สินไหมพินัยความ ได้ปรากฏชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกำหนดซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรม โกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศร์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ (ปุถุชน บุดดาหวัง, 2543, หน้า 9)
จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลน ตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม แม่กลองนอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชและพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ มีพระนิวาสสถานดั้งเดิมอยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่ง อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยพระราชโอรสสองพระองค์แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาทรงหนีราชภัย มาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์ สุโขทัย มีการสืบทอดนาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทำอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรม ราชินีที่แขวงบางช้างทรงรับถ่ายถอดการทำอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทำอาหาร ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์

No comments:

Post a Comment