จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ ของไทย (ขึ้นต้น ส. ต่อ)


ประวัติศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี

ตราประจำจังหวัด


รูปการทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชมังกะยอชวา ที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อ พ.ศ. 2135
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
อาจแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือ การแบ่งอายุของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยึดเอาวัตถุที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก
ในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีโดยบังเอิญ และโดยจงใจของผู้ลักลอบขุดค้นแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่าในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งที่อยู่ของคนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ตอนกลางประมาณ 3,800 ปี ถึง 2,700 ปีลงมาจนถึงยุคโลหะ ตั้งแต่สมัยสำริดและยุคเหล็ก สังคมของมนุษย์พวกนี้เป็นสังคมเกษตรกรรม รู้จักการเพาะปลูก รู้จักทาภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า บริเวณที่พบโบราณวัตถุมักจะเป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ริมน้ำ และอยู่ไม่ห่างไกลจากภูเขามากนัก น่าเสียดายที่ยังไม่เคยมีการขุดค้นทางด้านก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุพรรณบุรี หากได้มีการขุดค้นทางด้านนี้แล้วก็จะได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ดีผู้ที่สนใจเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรีจะศึกษาได้จากโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่จัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
อู่ทอง เป็นต้นว่าขวานหินขัด สมัยหินใหม่ พบที่บริเวณเมืองอู่ทองซึ่งมีอายุประมาณ 3,800 ปี ถึง 2,700 ปี
สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์
หรือสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์
อาณาจักรฟูนัน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6-10)
จากการค้นพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เป็นต้นว่า ลูกปัด เครื่องประดับทำด้วยทองหรือดีบุก ที่ประทับตราหรือตราขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เหรียญเงินศรีวัตสะ เศษเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ที่เมือง
อู่ทองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัตถุที่ค้นพบที่เมืองออกแก้วซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองท่าของอาณาจักรฟูนัน ในแหลมโคชินไชนา ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามภาคใต้มาก วัตถุเหล่านี้ไม่เคยพบในที่อื่นในแหลมอินโดจีน และเชื่อกันว่าเป็นวัตถุของอาณาจักรฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ 6-พุทธศตวรรษที่ 10) โดยเฉพาะ  นอกจากนี้ยังได้ค้นพบประติมากรรม ศิลปอินเดียสมัยอมราวดี  ปัจจุบันวัตถุส่วนหนึ่ง จัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (ประมาณพุทธศวรรษที่ 9-พุทธศตวรรษที่ 10) ที่เมืองอู่ทองอีกด้วย เป็นต้นว่า ชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร 3 องค์ ชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูปปางนาคปรก ดินเผา รูปกินรีสวมศิราภรณ์ปูนปั้น ชิ้นส่วนหินจาหลักลวดลายและที่เจิมกระแจะจันทน์หิน ซึ่งสืบต่อจนถึงสมัยทวารวดี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาศัยโบราณวัตถุดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุให้ศาสตราจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์เสนอความเห็นว่า เมืองอู่ทองตั้งมาก่อนอาณาจักรทวารวดี และอาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน หรือเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นอาณาจักรที่สำคัญที่สุดในเอเซียอาคเนย์ อาณาจักรนี้ในขณะที่เจริญสูงสุดได้ครอบคลุมไปจนถึงประเทศสาธารณรัฐสังคมเวียตนามภาคใต้ เมื่ออาณาจักรฟูนันหมดอำนาจลงแล้ว เมืองอู่ทองจึงได้กลายเป็นเมืองสำคัญขึ้นในอาณาจักรทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 11-12
สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์รู้จักใช้ตัวหนังสือ
สมัยทวารวดี (พศว.ที่ 11 หรือ 12 ถึง 16)
อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรประวัติศาสตร์สมัยแรกในประเทศไทย อาณาจักรนี้ตามความเห็นของศาสตราจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์ ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีในภาคเอเซียอาคเนย์ ซึ่งกรม
ศิลปากรได้เชิญเข้ามาสำรวจโบราณคดีในประเทศไทย เมื่อ พ.. 2507 ได้ลงความเห็นว่า เมืองอู่ทองอาจเป็นราชธานีของอาณาจักรทวารวดีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง การค้นพบแผ่นทองแดงของพระเจ้าหรรษาวรมันที่บริเวณหน้าโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัยในเมืองอู่ทอง ซึ่งมีจารึกใช้ตัวอักษรอยู่ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ก็อาจหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรกที่เราทราบพระนามกันสาหรับอาณาจักรทวารวดี อาศัยเหตุนี้ทำให้ศาสตราจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์ มีความเห็นต่อไปอีกว่า เมืองอู่ทองจึงเป็นเมืองสาคัญในอาณาจักรทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 11-12 นอกจากนั้นศาสตรจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์ ได้กล่าวว่า ศิลปสมัยทวารวดีได้ขยายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก ทางหนึ่งไปยังอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี โดยผ่านทางดงละครและดงศรีมหาโพธิ์ อีกทางหนึ่งไปยังที่ราบสูงโคราช โดยผ่านทางจังหวัดสระบุรี และไปแยกออกเป็นหลายสายที่แม่น้ำมูลไปยังจังหวัดมหาสารคาม ทางทิศเหนือไปยังจังหวัดลำพูน (อาณาจักรหริภุญไชย) โดยผ่านทางจังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ และตาก ทางใต้มีทางลงไปยังแหลมทองโดยผ่านทางจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ทางเหล่านี้มาบรรจบกันแถบบริเวณเมืองอู่ทอง การที่ทราบได้เช่นนี้ก็โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุสถานศิลปสมัยทวารวดีที่ค้นพบตามสายทางเดินเหล่านั้น
เมืองอู่ทอง อยู่ในเขตอาเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 140° 22' เหนือ และเส้นแวงที่ 990° 53' 30" ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปรีค่อนข้างกลมขนาด 900 x 1.750 เมตร ภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียงได้พบโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดีเป็นอันมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้แหล่งชุมชนสมัยทวารวดีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดสุพรรณบุรีที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 140° 51' เหนือ และเส้นแวงที่ 1000° 13' ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมนขนาด 510X560 เมตร  
สมัยอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 17-20)
ภายหลังจากที่เมืองอู่ทองกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากกระแสน้าในแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดินและเกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งเมืองใหม่ในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรีปัจจุบัน คือ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 140° 28' เหนือ เส้นแวงที่ 1000° 17' ตะวันออก จากภาพถ่ายทางอากาศปรากฏว่า เป็นเมืองขนาด 1000X 3600 เมตร มีอาณาเขตของตัวเมืองคลุมทั้งสองฟากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีสภาพเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำท่าจีนอยู่กลางเมืองไหลผ่านจากเหนือลงใต้คูเมืองด้านตะวันออกเริ่มแต่บริเวณหมู่บ้านตาหมันขนานกับแม่น้ำท่าจีนผ่านบ้านน้อยมาหมดลงใกล้กับโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ส่วนทางตะวันตก คูเมืองผ่านกลางตัวเมืองสุพรรณบุรี สมัยอยุธยาเมืองนี้เข้าใจว่าเป็น เมืองพันธุมบุรี ตามที่ปรากฏชื่อในหนังสือไตรภูมิของเก่า ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ค้นพบซากโบราณสถานขนาดเล็กสมัยทวารวดีตอนปลาย พระพุทธรูปขนาดใหญ่ทาด้วยหิน 2 องค์ ที่วัดราชเดชะ (ร้าง) และพระบาทพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดพิหารแดง
ต่อมาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน ในบริเวณเมืองสุพรรณบุรีเก่าให้เจริญขึ้น จึงได้มีการตัดถนนผ่านเข้าไปในบริเวณซากโบราณสถานต่าง ๆ และมีการรื้ออิฐจากโบราณสถานต่าง ๆ เอาไปใช้ในการสร้างบ้านเมืองและสถานที่ทางราชการทั้ง 2 ฝั่ง ที่ตั้งตัวจังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบันรวมทั้งได้มีการรื้ออิฐจากโบราณสถานต่าง ๆ จากวัดร้างหารายได้หลายครั้งหลายหนไปขายตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (.. 2488-.. 2500) เป็นเหตุให้หลักฐานทางโบราณคดีในสมัยอู่ทอง ในบริเวณตัวเมืองสุพรรณบุรีเก่าและบริเวณใกล้เคียงหมดสภาพไปเป็นอันมาก โบราณสถานที่เหลือรอดจากการกระทำดังกล่าวมีอยู่เพียงประมาณ 5% เท่านั้น  เช่น
1. เจดีย์ในวัดพระอินทร์ (ร้าง) 1 องค์
2. เจดีย์ในวัดเถลไถล (ร้าง) 1 องค์
3. เจดีย์ในวัดพระรูป 1 องค์ และพระพุทธไสยาสน์ 1 องค์
4. ฐานเจดีย์หลังอุโบสถวัดพระรูป 1 องค์
5. พระปรางค์ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 1 องค์
6. เจดีย์ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 2 องค์
7. เจดีย์ในวัดพริก (ร้าง) 1 องค์
8. พระป่าเลไลยก์ 1 องค์
9.เจดีย์ในวัดมรกต (ร้าง) 1 องค์
10.เจดีย์ในวัดสนามชัย (ร้าง) 1 องค์
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์สมัยอู่ทอง ยังมีอีกองค์หนึ่งที่วัดเขาดิน ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20)
จากจารึกตอนท้ายในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (.. 1822-1841) ซึ่งคงสลักขึ้นหลัง พ.. 1835 ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับชัยชนะของพระองค์ได้ว่าอาจปราบฝูงข้าศึก มีเมืองกว้างขวางหลายเมือง รวมทั้งเมืองสุพรรณภูมิด้วย เมืองนี้คงเป็นเมืองสุพรรณบุรีเก่า ที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 140° 28' เหนือ และเส้นแวงที่ 1000° 17' ตะวันออก ที่ได้กล่าวมาแล้วและคงเป็นเมืองเดียวกับสุพรรณภูมิในจารึกหลักที่ 48 วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นจารึกบนแผ่นทอง อักษรไทย ภาษาไทย มีศักราชระบุแน่ชัดว่าจะอยู่ในพ.. 1951 ในรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราช จารึกหลักนี้กล่าวถึงเจ้าเมืองขุนเพชญสารว่าได้เคยทาบุญอุทิศบ้านเรือนถวายวัดในเมืองศรีสุพรรณภูมิ และเมืองศรีอโยธยา เพราะระยะเวลาระหว่างจารึกหลักที่ 1 ตอนที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิกับ พ.. 1951 นั้น ห่างกันเพียงประมาณ 100 ปีเท่านั้น ประกอบทั้งโบราณวัตถุสถานในเขตเมืองสุพรรณภูมิหรือเมืองสุพรรณบุรีเก่าก็มีถึงสมัยสุโขทัยด้วย
เมืองนี้ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้โปรดให้รื้อกำแพงเมืองลงเมื่อ พ.. 2086 เพื่อไม่ให้พม่าข้าศึกใช้เป็นที่มั่นถ้าเสียเมืองสุพรรณบุรีเก่าให้แก่ข้าศึก
เมืองสุพรรณบุรีได้ตั้งอยู่ ณ ที่นี้ตลอดสมัยอยุธยาและได้ปรับปรุงเมืองให้มีขนาดเหมาะสมกับฐานะเมืองที่ถูกลดฐานะจากเมืองลูกหลวงมาเป็นหัวเมืองชั้นใน ในการปรับปรุงครั้งนี้ได้ทิ้งบริเวณเมืองทางฟากตะวันตกของแม่น้าท่าจีน มาอยู่แค่ฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝั่งเดียวเท่านั้น เข้าใจว่าเมืองแห่งนี้คงสร้างขึ้นระหว่างรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กับสมเด็จพระชัยราชาธิราช (ระหว่าง พ.. 1991-2089)  
สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18-19)
จากศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ในบริเวณเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (.. 1724-1760) ทำให้ทราบว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่งมีชื่อตามศิลาจารึกว่า "สวรรณปุระ" ซึ่งน่าจะอยู่ที่บริเวณดอนทางพระ หรือเนินทางพระ ตำบลบ้านสระ
อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะได้พบซากโบราณสถาน เมื่อ พ.. 2522 มีดินอัด อิฐ และศิลาแลงเป็นรากฐาน น่าเสียดายที่โบราณสถานแห่งนี้ถูกทำลายอย่างยับเยิน ก่อนที่หน่วยศิลปากรที่ 2 และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2522 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2522 จึงไม่สามารถพบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมได้อย่างเด่นชัด ถึงกระนั้นก็ดี
การขุดแต่งที่ดอนทางพระได้พบปฏิมากรรมต่าง ๆ มีทั้งทำด้วยศิลา และปูนปั้นที่สวยงาม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาทางศิลปประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นอันมาก เช่น หน้าภาพรูปอสูรซึ่งเหมือนกับที่ประดับอยู่ที่ฐานปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี หน้าภาพเศียรเทวดาปูนปั้น ประติมากรรมบางชิ้นก็น่าสนใจ และยังไม่มีผู้ใดทราบว่าเป็นรูปอะไร เช่น รูปครุฑยุดช้าง 2 เชือก รูปบุคคลที่มีลิ้นจุกปาก และจากการที่ได้พบปฏิมากรรมรูปกลีบขนุนปรางค์ เนื่องในการขุดแต่งจึงสันนิษฐานได้ว่า ซากโบราณสถานที่เนินทางพระหรือดอนทางพระ คงเป็นรูปปรางค์ที่สร้างตามศิลปเขมร แบบบายน หรือสมัยลพบุรี
อนึ่งก่อนหน้าที่จะมีการขุดแต่งดอนทางพระดังกล่าวแล้วข้างต้น ที่โบราณสถานดอนทางพระ ก็เคยมีผู้พบโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นต้นว่า พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพิมพ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปสมัยลพบุรี ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูปปางนาคปรก นั้นเป็นศิลปแบบเดียวกับที่พบที่วัดปู่บัว ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
นอกจากศิลปโบราณวัตถุศิลปสมัยลพบุรี มักจะพบอยู่ทั่วไปทุกอำเภอ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ยกเว้นอำเภอด่านช้างเพียงอำเภอเดียว บริเวณที่พบมากกว่าที่อื่นอยู่ในท้องที่ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
สมัยอยุธยา
ตอนต้นสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดให้ตั้งขุนหลวงพะงั่วพี่พระมเหสีขึ้นเป็นพระบรมราชา ให้อยู่ครองเมืองสุพรรณบุรีเดิมในฐานะเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหน้าด่าน ด้านตะวันตก ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากในการศึกสงคราม จึงมักจะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเชื้อพระองค์ไปเป็นเจ้าเมือง เป็นที่น่าสังเกตว่าในสมัยนั้นมี "เจ้า" ครองเมืองหน้าด่านเพียง 2 องค์ เท่านั้น คือ พระราเมศวรพระราชโอรสครองเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือและขุนหลวงพะงั่วพี่พระมเหสีครองเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศตะวันตก หน้าด่านอีก 2 เมือง คือ เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศใต้ และเมืองนครนายกซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศตะวันออก ไม่มี "เจ้า" ไปเป็นเจ้าเมือง
เมืองสุพรรณบุรีในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) นั้น มีกำลังทหารเข้มแข็งมาก มิได้ทำหน้าที่แต่เพียงเมืองหน้าด่านอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเกิดกรณี "ขอมแปรพักตร์" สมเด็จ
พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดให้พระราเมศวรพระราชโอรสยกกองทัพไปตีเมืองเขมร แต่ฝ่ายเขมรรู้ตัวก่อน ทัพหน้าของพระราเมศวรยังไม่ทันตั้งค่าย พญาอุปราช ราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินเขมรก็ยกทัพโจมตีทัพหน้าแตก มาปะทะทัพหลวง และเสียพระศรีสวัสดิ์ในที่รบ เมื่อความทราบถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกทัพไปช่วยหลาน และสามารถตีนครธมได้สำเร็จ พร้อมทั้งกวาดต้อนชาวเขมรเข้ามากรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ถึงเก้าหมื่นคน ส่วนปีที่ตีนครธมได้ ขณะนี้ยังไม่เป็นข้อยุติว่าเป็นปีใด อาจเป็นพ.. 1895 หรือ พ.. 1912 ปลายรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ในช่วงเวลาต่อมาเมืองสุพรรณบุรีกับเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงด้วยกันต่างก็แข่งขันกันเองและไม่วางใจซึ่งกันและกันดังจะเห็นได้จากตอนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สวรรคต สมเด็จพระราเมศวรพระราชโอรสได้ครองราชสมบัติต่อมา แต่ครองได้เพียง 1 ปี ขุนหลวง
พะงั่วก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี เข้ากรุงศรีอยุธยาสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ครองกรุงศรีอยุธยา พระราเมศวรต้องเสด็จกลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าทองลันพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ขึ้นครองราชสมบัติต่อในพ.. 1931 ได้เพียง 7 วัน พระราเมศวรก็ยกทัพจากเมืองลพบุรีมาจับสมเด็จพระเจ้าทองลัน สำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์บัลลังก์เป็นครั้งที่ 2
การช่วงชิงอำนาจระหว่างเมืองสุพรรณบุรีกับเมืองลพบุรี ยังคงกระทำสืบเนื่องต่อมาอีก เมื่อสมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสของสมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติแล้วไม่นานนักพระนครอินทร์เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ก็ยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาและถอดสมเด็จพระรามราชาธิราชออกจากราชบัลลังก์แล้วสถาปนาพระองค์เองเป็นสมเด็จพระนครินทราธิราช (.. 1952- .. 1967) และทรงโปรดให้เจ้าอ้ายพระยามาครองเมืองสุพรรณบุรีในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราช สวรรคต เจ้าอ้ายพระยา พระราชโอรสผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีกับเจ้ายี่พระยา พระราชโอรสผู้ครองเมืองแพรก (เมืองสรรค์) ต่างก็แย่งชิงราชสมบัติ และชนช้างต่อสู้กันที่เชิงสะพานป่าถ่าน และถึงกับสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างทั้งสองพระองค์ เจ้าสามพระยาพระราชโอรสผู้ครองเมืองชัยนาทจึงขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ในรัชกาลนี้ได้เลิกประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสไปครองเมืองลูกหลวง 2 แห่ง หรือหลายแห่ง เพราะเป็นจุดอ่อนเป็นผลเสียหายมากกว่าผลดี จึงทรงตั้งพระราเมศวร พระราชโอรสเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 สวรรคต ในปี พ.. 1991 จึงได้ครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (.. 1991-..2031) ทรงเลิกเมืองลูกหลวง และใช้ระบบขุนนางแทน เมืองสุพรรณบุรีจึงมีแต่ผู้รั้งซึ่งไม่มีอำนาจเด็ดขาดแบบการปกครองเมือง แต่หากต้องปรึกษากับกรมการเมือง ซึ่งประกอบด้วยจ่าเมืองแพ่ง และศุภมาตรา ผู้รั้ง และกรมการเมืองจะได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าแผ่นดินไปปกครองเมืองในความควบคุมของราชธานีอย่างใกล้ชิด
ต่อมาเมื่อ พ.. 2086 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งพม่า ได้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีประเทศไทย ด่านแรกที่ตั้งรับกองทัพพม่า คือ เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งมีพระสุนทรสงครามเป็นเจ้าเมือง กองทัพทั้ง 2 ฝ่าย ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถแต่เนื่องจากกำลังกองทัพไทยน้อยกว่า จึงทิ้งเมืองสุพรรณบุรีแตกถอยร่นเข้ามากรุงศรีอยุธยากองทัพพม่าก็ยกติดตามตีเข้ามาจนถึงชานกรุงศรีอยุธยา การศึกครั้งนี้กองทัพพม่าไม่สามารถตีหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ต้องถอยทัพกลับไป ผลของการสงครามครั้งนี้เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชดำริเห็นว่าเมืองสุพรรณบุรี แม้จะมีป้อมคูประตูหอรบมั่นคงสักปานใดก็ตาม แต่เมื่อมีศึกใหญ่ยกมาติดเมืองก็ไม่สามารถจะรับไว้อยู่ และเมื่อข้าศึกตีได้แล้วกลับจะใช้เป็นที่มั่นอีกด้วย จึงโปรดให้รื้อป้อมกำแพงเมืองเสียซีกหนึ่ง เมื่อ พ.. 2086 เพื่อว่าข้าศึกตีเมืองได้แล้วจะไม่ได้มีโอกาสอาศัยใช้เป็นที่มั่นอยู่ในเมืองได้อีก และในปีเดียวกันนี้โปรดให้แบ่งท้องที่เมืองราชบุรี และเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี
ต่อมา พ.. 2092 พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า ได้ยกกองทัพใหญ่ลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเตรียมป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเต็มที่ แต่กรุงศรีอยุธยามีกาลังน้อยกว่ากองทัพพม่า เหลือกำลังจะป้องกันพระนครจึงยอมเป็นไมตรีและส่งตัวผู้รับประกันพระนคร คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ให้แก่พม่าพร้อมกับช้างพลายเผือก อีก 4 เชือก
ต่อมาเมื่อ พ.. 2127 รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระนเรศวร พระราชโอรสได้ทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมขึ้นพม่า เป็นเหตุให้พระเจ้านันทบุเรงพิโรธ โปรดให้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยเดินทัพมาทางด่านเจดีย์ 3 องค์ ทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือของพม่า ปะทะกับกองทัพไทยที่เมืองสุพรรณบุรี และพม่าได้ถูกทัพเรือไทยภายใตับังคับบัญชาของเจ้าพระยาจักรี ตีแตกกลับไป
ต่อมากองทัพพม่า ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์ 3 องค์ ผ่านเมืองกาญจนบุรี เข้าตีกรุงศรีอยุธยา ทางสุพรรณบุรีอีก 2 คราว คือ พ.. 2133 และ พ.. 2135 การรบทั้ง 2 ครั้ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นแม่ทัพเนื่องจากทรงชำนาญภูมิประเทศ และยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง จึงทรงกำหนดพื้นที่ตำบลตะพังกรุ เมืองสุพรรณบุรีเป็นสนามรบทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรก พ.. 2133 ปีแรกรบกันในท้องที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวคือเมื่อพระมหาอุปราชายกกองทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาแล้ว ก็เดินทัพผ่านแดนป่าสูงที่เต็มไปด้วยเทือกเขาใหญ่ของเมืองกาญจนบุรี เลียบลงมา
ตามแนวลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่ เมื่อพ้นแดนป่าสูงก็จะถึงพื้นที่สนามรบดอนตะพังกรุตอนใต้ที่บริเวณบ้านทวน แล้วตั้งค่ายใหญ่ประชุมทัพปิดปากทางเข้าแดนป่าสูง ซึ่งเป็นการรักษาเส้นทางสำคัญในการเดินทัพของฝ่ายพม่าไว้แล้วจึงจะเดินทัพตามพื้นที่ดอนขึ้นสู่ทิศเหนือผ่านบ้านจระเข้สามพัน บ้านโข้ง เพื่อไปข้ามลำน้ำที่แม่น้ำท่าคอยเข้าสู่พื้นที่ดอนฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นส่วนเหนือของแดนลุ่มพลี เมืองสุพรรณบุรี แล้วจึงจะเข้าตีเมืองสุพรรณบุรี หรือไปป่าโมกก็จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้สะดวกทั้ง 2 แห่ง ถ้าข้ามลำน้ำต่ำลงมากว่านั้นจะเดินทัพไม่ได้ เพราะจะติดพื้นที่หล่มเลนลุ่มพลีตลอดไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา
ขณะที่กองทัพพระมหาอุปราชา เดินทัพมาตามเส้นทางเดิมที่เคยยกทัพมาครั้งก่อน ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงจัดเจนภูมิประเทศอยู่แล้วก็ทรงนำกองกำลังทหารจัดซุ่มอยู่ในป่าทึบบริเวณเชิงเทือกเขาพระยาแมน ตอนเหนือบ้านจระเข้สามพัน ตลอดแนวขุนเขาซึ่งพื้นที่เป็นคอคอดของสนามรบ มีเทือกเขาใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตก มีลำน้ำจระเข้สามพันอยู่ทางทิศตะวันออก สภาพภูมิศาสตร์บีบกระหนาบพื้นที่ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพให้เป็นช่องแคบอยู่ระหว่างกลางพระองค์ทรงพระราชดำริที่จะบุกตีกองทัพพม่า ขณะผ่านช่องแคบให้ถอยร่นไปแตกทัพที่ริมแม่น้ำจระเข้สามพันให้จงได้ ขณะที่กองทัพพม่าผ่านเข้าช่องแคบเข้ามาด้วยความประมาท เพราะไม่เคยต้องกลยุทธในสนามรบบริเวณนี้มาแต่ก่อน จึงถูกกองกำลังทหารไทยโจมตีถึงกับแตกพ่ายยับเยินที่ริมลำน้ำจระเข้สามพันหมดทุกทัพ การรบครั้งนี้ถึงขั้นตะลุมบอน เกือบจับองค์พระมหาอุปราชาได้ พระยาพสิม พระยาพุกาม แม่ทัพพม่าได้แก้ไขเอาพระมหาอุปราชาหนีรอดไปได้ พระยาพุกามตายในที่รบพร้อมกับไพร่พลเป็นจานวนมาก ทหารไทยจับตัวพระยาพสิมได้ พร้อมทั้งยึดได้ช้างม้าและเครื่องศาตราวุธเป็นอันมาก พระมหาอุปราชาและทหารพม่ารอดตายได้แตกพ่ายหนีกลับไป นอกราชอาณาจักรด้วยความเกรงกลัวในพระบรมราชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ต่อมาพระมหาอุปราชา ยกกองทัพเข้ามาตีประเทศไทยอีก เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.. 2135 ครั้งนี้ได้ยกกองทัพมาตั้งค่ายใหญ่ประชุมทัพปิดปากทางเข้าแดนป่าสูงที่บริเวณบ้านทวนตอนใต้ของสนามรบ เช่นเดียวกับครั้งก่อนแต่เนื่องจากพระมหาอุปราชายังเข็ดขยาดช่องแคบที่เป็นคอคอดของสนามรบดอนตระพังกรุอยู่ เพราะเคยได้รับบทเรียนที่มีค่าอย่างสูงถึงกับเสียชีวิตทหารทั้งกองทัพมาแล้ว จึงได้ให้กำลังส่วนใหญ่ยกล่วงหน้าขึ้นไปสารวจช่องแคบ และพื้นที่ของสนามรบจากตอนใต้ขึ้นสู่ตอนเหนือ ทหารพม่าสำรวจพื้นที่ขึ้นไปและตั้งทัพหน้าอยู่ถึงบ้านโข้ง สืบทราบว่ากองทัพไทยมีกำลังน้อยกว่าได้ยกมาขัตตาทัพอยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์ พระมหาอุปราชาจึงยกกองทัพหลวงขึ้นสู่พื้นที่ด้านเหนือของสนามรบ เพื่อจะข้ามลำน้ำท่าคอย แล้วนำกำลังส่วนใหญ่ที่มีจำนวนมากกว่าเข้าซุ่มตีกองทัพไทยให้แตกแล้วหวังจะบุกตามตีให้ถึงกรุงศรีอยุธยา
ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า ช่องแคบคอคอดของสนามรบดอนตระพังกรุนั้น กองทัพพม่ารู้เท่าทันในยุทธวิธีแล้ว จึงวางแผนออกตั้งค่ายหลวงประชุมทัพอยู่ที่บริเวณตระพังน้ำหนองสาหร่ายทางตอนเหนือของสนาม เพื่อปิดทางเข้าออกแดนลุ่มพลีของกรุงศรีอยุธยาไว้ โดยจัดกองทัพซุ่มอยู่ในป่าทึบเหนือบริเวณแม่น้ำท่าคอยคอยท่ารอจังหวะให้กองทัพพระมหาอุปราชายกข้ามลำน้ำมาเมื่อใด จึงจะบุกเข้าโจมตีกองทัพพม่าให้ถอยร่นลงไป แตกทัพที่ริมแม่น้ำอีกครั้งหนึ่งให้จงได้ แต่พระยาศรีไสยณรงค์ไปทำกลแตกเสียที่บ้านดอนระฆัง โดยนำกองสอดแนมเข้าโจมตีทัพหน้าของพม่าอย่างอาจหาญเป็นเหตุให้พม่าไหวตัวเสียก่อน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงเปลี่ยนแผนใหม่ แต่เนื่องจากเวลากระชั้นชิดท่ามกลางป่ารกทึบเช่นนั้น ทำให้ทหารทุกกองทัพไม่สามารถปฏิบัติการรบได้โดยพร้อมเพรียงกันเพื่อแก้ปัญหา พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยกระทำยุทธหัตถีทันทีในขณะที่กองทัพพระมหาอุปราชาไล่ติดตามทหารพระยาศรีไสยณรงค์เข้ามาใกล้บริเวณหนองสาหร่ายและพระองค์ทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชา ขาดสะพายแล่ง ทิวงคตบนคอช้างพระที่นั่งและกองทัพไทยส่วนหนึ่งได้รุกไล่ตามตีกองทัพพม่าลงไปจนสิ้นเขตพื้นที่สนามรบดอนตระพังกรุ และเข้าตีค่ายใหญ่ทางตอนใต้ของสนามรบแตกยับเยินไปทหารพม่าตายถึงประมาณ 20,000 คน ที่บาดเจ็บหนีกลับไปเป็นอันมาก ทหารไทยจับทหารพม่าได้เป็นอันมากและยึดได้ช้าง ม้า ตลอดจนเครื่องศาสตราวุธเป็นอันมาก ตั้งแต่นั้นมาพม่าก็เข็ดขยาดไม่กล้ายกกองทัพเข้ามาตีประเทศไทยเป็นเวลานานถึง 165 ปี
ต่อมาถึงรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ ก่อนจะเสียกรุงไม่นานนัก ได้เกิดสงครามกับพม่าที่บริเวณเมืองสุพรรณบุรีอีกครั้งหนึ่ง สงครามครั้งนี้กองทัพไทยพ่ายแพ้ยับเยินเจ้าพระยาราชเสนาแม่ทัพถูกทหารพม่าไล่ติดตามและพุ่งด้วยหอกขัดถึงอนิจกรรม บนหลังช้าง พระยายมราช ก็ถูกหอกขัดของทหารพม่าบาดเจ็บหลายแห่ง แต่หนีเอาตัวรอดกลับไปได้ ส่วนกองทัพไทยก็แตกพ่ายหนีกองทัพพม่าอย่างไม่เป็นขบวน
สมัยธนบุรี (.. 2311-2324)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่กรุงธนบรีแล้ว ก็ได้ทำสงครามกับพม่าอีกหลายครั้ง แต่เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิมประมาณ 70 กิโลเมตร และเมืองสุพรรณบุรีก็อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครศรีอยุธยาประมาณ 80 กิโลเมตร พม่าซึ่งเดินทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องยกกองทัพย้อนขึ้นไปตีเมืองสุพรรณบุรีซึ่งอยู่เหนือกรุงธนบุรีขึ้นไปอีกประมาณ 150 เมตร ถ้าพม่าจะตีเมืองหลวงของไทยก็คงจะต้องยกกองทัพตัดตรงเข้าเมืองหลวงเลยทีเดียว หรือถ้าจะยกกองทัพเข้ามาทางใต้ ก็คงตัดตรงจากเมืองราชบุรี ผ่านเมืองสมุทรสงครามเข้ามา เมืองสุพรรณจึงไม่อยู่ในเขตสนามรบในสมัยธนบุรีปรากฏว่ามีการรบกันประปรายในเขตเมืองสุพรรณบุรีเพียงครั้งเดียวเมื่อ พ.. 2319 คือในคราวที่พม่ายกกองทัพมาทางเหนือ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2319 เพื่อขับไล่กองทัพพม่าซึ่งกำลังรบติดพันอยู่กับกองทัพไทยที่เมืองนครสวรรค์ ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทัพไปถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าทราบข่าวก็ตกใจละทิ้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์หลบไปทางเมืองอุทัยธานีและเดินทัพเข้ามาทางเมืองสรรค์บุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพติดตามตีกองทัพพม่าจนถึงทุ่งบ้านเดิมบางนางบวช เมืองสุพรรณบุรี และกองทัพทั้ง 2 ฝ่าย ได้ต่อสู้กันเป็นสามารถที่ทุ่งนั้น ผลการรบครั้งนั้นกองทัพพม่าถูกตีแตกอย่างพ่ายยับเยินกระเจิดกระเจิงไป ต่อจากนั้นก็ไม่มีการรบกับพม่าในเขตเมืองสุพรรณบุรี อีกเลย
สมัยรัตนโกสินทร์ (.. 2325 - ปัจจุบัน)
ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจว่าเมืองสุพรรณบุรีได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำท่าจีน จะย้ายมาแต่ พ.. ใด ไม่สามารถหาหลักฐานได้แน่นอน เมืองที่ย้ายมาตั้งใหม่ในที่ตั้งปัจจุบันที่ไม่ได้ทำเป็นเมืองป้อม กล่าวคือ ไม่มีค่าย คู หอรบ เหมือนอย่างเมืองเก่า
เมื่อ พ.. 2368 เจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์ลงมาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วยในการพระบรมศพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้คนลงมามาก จึงทรงพระราชดำริแล้วให้ขอแรงไพร่พลที่มาด้วยให้มาตัดต้นตาลที่เมืองสุพรรณบุรี ลากเข็นลงมาไม่กำหนดจำนวนจะไปใช้ที่เมืองสมุทรปราการเพื่อทำป้อมปืนใหญ่ เจ้าอนุได้ให้ราชวงศ์คุมคนมาดำเนินการ
ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏว่าเมืองที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้ยังคงเป็นป่าเปลี่ยวอยู่โดยมาก สุนทรภู่ได้เดินทางเรือผ่านมาเมื่อ พ.. 2379 แล้วได้เขียนในโครงการนิราศสุพรรณของท่านว่า
ตวันเยนเห็นหาดหน้า                              ถ้ามี   
เมืองสุพรรณบุรีย                                             รกร้าง
ศาลตั้งฝั่งนที                                                  ที่หาด ลาดแฮ  
          โรงเล่าเข้าต้มค้าง                                           ของคุ้งหุงสุราฯ
(133)
ผู่รั้งตั้งรั้วรอบ                                         ขอบราย
เปนหมู่ดูงัวควาย                                              ไขว่บ้าน
สาวสาวเหล่านุ่งลาย                                         แล้วหม่อม มอมเอย
จ้ำม่ำล่ำสันสอ้าน                                             อาบน้ำปล้ำปลาฯ (134)
กรมการบ้านตั้งตลอด                              ตลิ่งเตียร
ต่างต่อล้อเลื่อนเกียร                                         เก็บไว้
เรือริมหาดดาษเดียร                                         รดะปัก หลักแฮ
ของเหล่าเชาสวนใต้                                         แต่งตั้งนั่งซาย ฯ (135)
ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโพ้น                               พิสดาร
มีวัดพระรูปบูราณ                                             ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาร                                              สงสู่ อยู่เอย
หย่อมย้านบ้านขุนช้าง                                       ชิดข้างสวนบันลัง ฯ (136)

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและได้ทรงจัดราชการบริหารส่วนกลางโดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและต่อมาได้โปรดฯ ให้ควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว ต่อมาก็ได้จัดตั้งราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น ได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองที่สำคัญยิ่งในการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลส่วนกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบกินเมืองซึ่งเป็นประเพณีปกครองดั้งเดิมให้หมดไป
การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมาและได้จัดตั้งตามลาดับ ดังนี้ คือ
.. 2437 จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 4 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และมณฑลราชบุรี
.. 2438 จัดตั้งมณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และมณฑลภูเก็ต
.. 2439 จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 จัดตั้งมณฑลไทรบุรีและมณฑลเพชรบูรณ์
.. 2443 เปลี่ยนแปลงสภาพมณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ซึ่งเป็นมณฑลเก่าก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพื่อการประหยัด
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี
.. 2450 จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 ประเทศไทยจำต้องยอมยกมณฑลไทยบุรี ให้แก่ ประเทศ อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินประเทศอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2455 แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
สำหรับเมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองอยู่ในเขตมณฑลนครชัยศรี ซึ่งมณฑลนี้ประกอบไปด้วยเมืองนครชัยศรี ,เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 ได้จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดไม่เป็นนิติบุคคล มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด และได้ยุบเลิกมณฑล เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น
ต่อมา พ.. 2495 ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้ฐานะของจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ
1. ฐานะเป็นนิติบุคคล
2. อำนาจบริหารในจังหวัด แต่เดิมตกอยู่แก่คณะกรรมการจังหวัดซึ่งเป็นคณะบุคคลเปลี่ยนแปลงมาอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดเพียงคนเดียว
3. เปลี่ยนแปลงฐานะคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งเดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดเป็นคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ

สำหรับจังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น 

ประวัติศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ตราประจำจังหวัด


รูปพระบรมธาตุไชยา
คำขวัญประจำจังหวัด

เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ

สุราษฎร์ธานีเป็นนามซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อ พ.. 2458 เนื่องจากการเรียกชื่อเมืองก่อนหน้านั้นยังซํ้าซ้อนและสับสนกันอยู่ ประกอบกับพระองค์ได้ทรงพิจารณาว่าประชาชนทั่วไปในเมืองนี้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย และทรงทราบจากผู้ปกครองเมืองว่า ประชาชนในเมืองนี้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเคารพและยึดมั่นในพระพุทธศาสนา จึงได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองเดิม จากเมืองไชยา มาเป็นเมือง สุราษฎร์ธานี
ก่อนที่จะกล่าวถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรจะทราบประวัติความเป็นมาของจังหวัดในอดีตเสียก่อนว่ามีประวัติความเป็นมาในแต่ละสมัยอย่างไร
สุราษฎร์ธานีในสมัยศรีวิชัย
ดินแดนส่วนที่เป็นด้ามขวานของไทย จนถึงแหลมมลายู ก่อนที่จะมาเป็นดินแดนภาคใต้ของไทยและประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐมาเลเซียทุกวันนี้ ในอดีตเคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญ รุ่งเรืองมาก่อน มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อ ๆ กันมาหลายยุคหลายสมัย บางครั้งก็เจริญรุ่งเรืองสูงสุด บางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรอื่น ๆ เช่น ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรฟูนัน จนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่ออาณาจักรฟูนันซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 812 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ทางอิสานเสื่อมอำนาจลง บรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยทางภาคใต้ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรฟูนัน จึงได้ตั้งเมืองอิสระขึ้น ในระยะนี้กล่าวถึงชื่อประเทศใหม่ ๆ ในแหลมมลายู เช่น ประเทศครหิ ตั้งเมืองหลวงอยู่อ่าวบ้านดอน ตอนที่เป็นไชยาทุกวันนี้ อีกประเทศหนึ่งชื่อตามพรลิงค์หรือ ตามพรลิงเคศวร ตั้งเมืองหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อมากษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์องค์หนึ่งมีอานุภาพมาก ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาถึงและรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยเหล่านี้เข้าไว้เป็นอาณาจักรหนึ่ง แผ่อาณาเขตขึ้นมาเกือบครึ่งค่อนแหลมมลายู คือ ตั้งแต่เขตเมืองไชยาลงไปมีชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยนี้ เล่ากันว่า สืบเชื้อสายมาจากปฐมกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีประวัติพิสดารตามที่ราชฑูตจีนที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับฟูนัน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 89 เขียนเล่าในจดหมายเหตุว่า แต่เดิมกษัตริย์ที่ปกครองฟูนัน เป็นผู้หญิง ทรงพระนามว่า พระนางหลิวเหยหรือ พระนางใบสน ต่อมามีชายคนหนึ่งชื่อโกณฑัญญะ มาจากดินแดนแห่งหนึ่งอาจจะเป็นอินเดีย แหลมมลายู หรือหมู่เกาะทางใต้ เกิดฝันไปว่าเทวดาประทานธนูให้และสั่งให้ลงเรือสำเภาออกทะเลไป จะได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ยังดินแดนแห่งหนึ่ง รุ่งเช้าโกณฑัญญะ ตื่นขึ้นจึงตรงไปยังเทวาลัย ก็ได้พบธนูสมดังความฝัน จึงลงเรือสำเภาจากอินเดียแล่นเรือเรื่อยมาจนถึงอาณาจักรฟูนัน พระนางใบสนทราบข่าวก็นำเรือและกำลังอาวุธออกมาต้านทานไม่ให้โกณฑัญญะและพรรคพวกที่ติด-ตามมาขึ้นจากเรือ โกณฑัญญะยิงธนูศักดิ์สิทธิ์ ไปตรึงเรือของพระนางใบสน ผู้คนชาวฟูนันล้มตายลงเป็นอันมาก พระนางใบสนจึงยอมอ่อนน้อมและยอมอภิเษกสมรสด้วย โกณฑัญญะตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรฟูนัน
ดอกเตอร์ควอริตย์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้เขียนเรื่องราวของกษัตริย์ไศเลนทร์ไว้ว่า เมื่อราว พ.. 1273 - 1740 หลังจากที่อินเดียเกิดยุคเข็ญเป็นจลาจลอย่างหนักแล้ว ราชวงศ์ปาละ ได้เป็นใหญ่ในแคว้นเบงกอล บ้านเมืองจึงได้สงบเป็นปกติดังเดิม พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์นี้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน อิทธิพลของแคว้นนี้ได้แพร่หลายไปทางตอนใต้ของอินเดียรวมทั้งแคว้นไมสอร์ ซึ่งมีกษัตริย์ราชวงศ์ดังคะ ที่เป็นเชื้อสายของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละปกครองอยู่ด้วย แต่บ้านเมืองในแคว้นไมสอร์ขณะนั้น ไม่ค่อยเป็นปกตินัก จึงมีเจ้านายในราชวงศ์นี้พร้อมด้วยอนุชาสี่องค์ลงเรือข้ามนํ้าทะเลขึ้นบกที่เมืองตะกั่วป่า แล้วเดินทางเข้ามาแย่งเอาเมือง ครหิหรือเมืองไชยาไว้ แล้วตั้งตนเป็นอิสระ ได้แผ่อาณาเขตออกไปจนตลอดแหลมมลายู และตั้งเป็นอาณาจักรศรีวิชัย
เรื่องการตั้งอาณาจักรศรีวิชัยและศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย ในวงการประวัติศาสตร์ไม่อาจยุติได้ว่ามีรายละเอียดอย่างไร หรือตั้งอยู่ที่ใดแน่ แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำให้ทราบว่า ดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทยลงไปจนถึงอินโดนีเซียได้รับอิทธิพลแบบศรีวิชัยแทบทั้งสิ้น
ถึงแม้เรื่องราวความเป็นมาของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่ได้แก่ การครองอาณาจักรศรีวิชัยต่อมาจะไม่ค่อยตรงกันโดยตลอดก็ตาม แต่ก็ยังจับเค้าได้ว่า ผู้ที่ได้มาเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้มาจากอินเดียอย่างแน่นอน และเป็นผู้หนึ่งที่ได้นำอารยธรรมของอินเดียมาเผยแพร่ยังดินแดน แหลมทอง
ข้อสรุปนี้ผูกมัดเกินไป เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่แน่นอนพอจะทำให้ทราบได้ว่าผู้ที่เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้มาจากอินเดียโดยตรง ในฐานะพ่อค้าหรือพราหมณ์ แล้วเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง หรือทางวัฒนธรรมซึ่งจะพัฒนาต่อมาในดินแดนแถบนี้
อาณาจักรศรีวิชัย มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น ในจดหมายเหตุหลวงจีนอี้จิง ซึ่งเดินทางมาศึกษาพระธรรมในอินเดีย ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ได้เขียนไว้ว่าระหว่างเดินทางยังได้แวะที่เกาะสมุยตราและว่าในเกาะนี้มีประเทศชื่อ ชีหลีทุดชี เป็นประเทศที่มีอารยธรรมสูง นับถือพุทธศาสนา-นิกายฝ่ายใต้นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่ากรุงศรีวิชัยไปมาหาสู่ติดต่อกับอินเดีย มีเรือบรรทุกสินค้าไปจำหน่ายยังเมืองท่าต่าง ๆ ในอินเดีย
อาณาจักรศรีวิชัยนี้เป็นตลาดใหญ่ย่านกลางของสินค้าเครื่องเทศในสมัยนั้น มีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าไปขายยังเมืองโอมาน ประเทศอาหรับด้วย พ่อค้าชาวอาหรับจึงรู้จักกรุงศรีวิชัยและได้จดหมายเหตุไว้ แต่เรียกกรุงศรีวิชัยว่า กรุงซามะดะ มีข้อความปรากฏในหนังสือเรื่องแหลมอินโดจีนสมัยโบราณของพระยาอนุมานราชธนเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงของกรุงศรีวิชัยในจดหมายเหตุชาวอาหรับอยู่ตอนหนึ่งว่ารายได้แผ่นดินของพระเจ้าไศเลนทร์ส่วนหนึ่ง ได้จากค่าอาชญาบัตรไก่ชน ไก่ตัวใดชนะ ไก่นั้นตกเป็นสิทธิของมหาราช เจ้าของจะต้องนำทองคำไปถวาย สิ่งหนึ่งที่พ่อค้าอาหรับเหล่านี้เห็นควรกล่าวคือ ในเวลาเช้าทุกวัน มหาราชเสด็จประทับในพระราชมณเฑียรซึ่งหันหน้าสู่สระใหญ่ ขณะนั้น มหาดเล็กนำอิฐทองคำเข้ามาถวายแผ่นหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสให้ข้าราชการโยนอิฐทองคำลงไปในสระทันที สระนี้นํ้าขึ้นลงเพราะมีคลองหรือลำธารน้อย ๆ เชื่อมถึงสระกับทะเล เวลานํ้าขึ้นก็ท่วมกองอิฐ-ทองคำซึ่งโยนสะสมไว้ทุกวัน เวลานํ้าลดก็มองเห็นอิฐทองคำเหล่านั้นโผล่ขึ้นเหนือนํ้า เมื่อต้องแสงแดดส่องแลเหลืองอร่าม มหาราชตรัสว่าจงดูพลังของเราการโยนอิฐลงในสระนั้นเป็นประเพณีที่มหาราชแห่งกรุงซามะดะทุกองค์ประพฤติสืบกันมา ถ้ามหาราชองค์ใดสิ้นพระชนม์ลง มหาราชองค์ที่สืบราช-สมบัติต่อก็เก็บรวบรวมอิฐทองคำเหล่านั้นไปหลอม แล้วทรงแจกจ่ายให้ปันแก่พระญาติวงศ์และข้าราช-การ เหลือนอกนั้นประทานแก่คนยากจน จำนวนแผ่นอิฐทองคำของมหาราชองค์หนึ่ง ๆ ที่โยนสะสมไว้ในสระเมื่อถึงเวลาสิ้นพระชนม์ก็เก็บรวบรวมและจดจำนวนลงบัญชีไว้ถูกต้อง ถ้าองค์ใดเมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้วปรากฏว่ามีแผ่นอิฐทองคำที่สะสมไว้เป็นจำนวนมากที่สุดก็นิยมยกย่องมหาราชองค์นั้นอย่างสูงเพราะถือว่าได้เสวยราชย์มานานปี จำนวนอิฐทองคำจึงมีมาก
แม้อาณาจักรศรีวิชัยจะเจริญมากดังได้กล่าวมาแล้วและมีอายุมากนานถึง 600 ปี แต่ก็ไม่สามารถชี้ได้ชัดลงไปว่า เมืองหลวงหรือราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ใดแน่ ต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีเข้าช่วย จนกว่าจะเป็นที่ยอมรับกันแน่นอน ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ได้มีผู้สันนิษฐานกันหลายอย่างว่าจะอยู่ที่ใดแน่ เช่น ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ สันนิษฐานว่าอาณาจักรศรีวิชัยนั้นมีราชธานีอยู่ที่เกาะสุมาตรา ตั้งอยู่ทางทิศระวันตกของเมืองปาเล็มบังปัจจุบันนี้ และเมื่อมีอำนาจมากขึ้นจึงได้แผ่อาณาเขตขึ้นมาครอบครองตลอดแหลมมลายูจนถึงดินแดนเมืองไชยา ส่วนนักโบราณคดีชาวอินเดียคนหนึ่งชื่อ มาชุมทาร์ เห็นว่าราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ควรอยู่ที่ปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา เพราะในเกาะสุมาตราไม่ปรากฏซากบ้านเมืองสมกับเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรศรีวิชัยอันใหญ่โตแต่อย่างใดเลย ที่ถูกควรจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งในแหลมมลายูมากกว่า
ดร. ควอริตย์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ เห็นว่าการหาหลักฐานจากหนังสืออย่างเดียวไม่พอ จึงได้ลงทุนสำรวจค้นคว้าด้วยตนเอง โดยเดินทางตัดข้ามแหลมมลายูจากตะกั่วป่ามาบ้านดอน ตามแบบที่ชาวอินเดียใช้เป็นเส้นทางเดิน ในที่สุดก็ลงความเห็นว่าราชธานีของราชวงศ์ ไศเลนทร์ ซึ่งครอบครองอาณาจักรศรีวิชัยควรจะเป็นที่เมืองไชยา เพราะปรากฏว่ามีเมืองโบราณหลายแห่งรอบ ๆ เมืองไชยา และยังพบโบราณวัตถุโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ เป็นจำนวนมากในเมืองไชยาอีกด้วย แม้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง- ราชานุภาพก็ทรงเขียนเกี่ยวกับเรื่องเมืองไชยา ความตอนหนึ่งว่า
เมืองไชยาเป็นเมืองใหญ่มาก ใหญ่กว่าเมืองไหน ๆ ในแหลมมลายู เพราะมีแม่นํ้าหลวง (ตาปี) ไหลมาออกที่นั่น สืบตามลำนํ้าขึ้นไปถึงคีรีรัฐนิคมมีทางข้ามไปลงแม่นํ้าตะกั่วป่า ลงทางตะกั่วป่าได้อย่างสบาย ทางสายนี้เป็นทางที่พวกอินเดียลงมา เมื่อพิจารณาเทียบกับเมืองนครฯ แล้วจะเห็นได้ว่านครฯ มีหาดทรายแก้วยาวเพียงแห่งเดียว ทางตะวันออกก็เป็นชายเพือยจนจดทะเล ทางตะวันตกก็เป็นที่ลุ่มแม่นํ้าก็เป็นแม่นํ้าน้อย ที่ทำกินเพียงแต่พอมี ฉะนั้น จะถือเป็นเมืองใหญ่โตไม่ได้ด้วยเหตุนี้ จึงรับรองได้ด้วยวิชาโบราณคดีว่า เมืองนครศรีธรรมราชนั้นไม่มีอะไรนอกจากพระมหาธาตุซึ่งเป็นชิ้นหลัก ตำนานเมืองนครฯ ปรากฏว่าพวกแขกพงศาวดารลังกามาเขียนในนครฯ ก็มี เชื่อได้ยาก พระมหาธาตุที่นครฯ นั้นก็เป็นของที่มีกำหนดสร้างแน่นอนค้นได้ ส่วนที่ไชยานั้นมีมาก มหาธาตุก็มี วัดแก้วก็มี วัดเวียงก็มี ได้เคยค้นเมืองไชยาลํ้าไปถึงเมืองชุมพร ท่าแซะ ฯลฯ ไม่พบเมืองเก่า เมืองเก่าคงมีเพียงเมืองไชยาเมืองเดียว เมืองโบราณเดิมเห็นจะอยู่ที่เมืองไชยาแน่นอนไม่มีที่สงสัย ส่วนที่นครฯ นั้นเป็นเมืองที่เกิดขึ้นสมัยที่ไชยาเจริญ แต่เกิดภายหลังจารึกที่พบทั้งหมดอาจอยู่ที่ไชยา
ปัจจุบัน ไชยาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีพระธาตุไชยาอยู่ในวัดพระ-บรมธาตุไชยาราชวรวิหาร นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ในสมัยศรีวิชัยเป็นอันมากที่ขุดค้นพบที่ไชยาในบริเวณใกล้เคียงมีวัดเก่า ๆ เช่นเจดีย์วัดหลวงซึ่งยังมีฐานเจดีย์สมัยศรีวิชัยปรากฏอยู่ เข้าใจว่าอาจจะเป็นซากปราสาทอิฐที่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยสร้าง ดังที่กล่าวไว้ในศิลาจารึก เจดีย์วัดแก้ว เป็นเจดีย์สมัยศรีวิชัยที่ยังดีอยู่มาก และวัดเวียง ซึ่งเป็นที่พบจารึกกรุงศรีวิชัย พ.. 1318 กล่าวถึงพระเจ้าราชาธิราชองค์หนึ่งด้วย พระนามศรีวิชเยศวรภุมดี ศรีวิชเยนทรราชาศรีวิชัยนฤปติ ตอนต้นยกย่องว่า พระองค์มีคุณธรรมอันประเสริฐ พระพรหมบรรดาลให้พระองค์มาบังเกิดในโลก เพราะพระพรหมทราบประสงค์ที่จะทำให้พระธรรมมั่นคงในอนาคต พระองค์สร้างประสาทหินอันงามราวกับเพชรสามประสาทเป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์ปัทมะปราณี พระผู้ผจญพระยามารและพระโพธิสัตว์วัชรปาณี ส่วนด้านหลังจารึกว่าองค์พระศรีวิชเยศวรภุมดีที่กล่าวถึงในด้านหน้านั้นเป็นพระเจ้าราชาธิราชทรงพระนามวิษณุและศรีมหาราช ทรงเป็นมหาราชแห่งไศเลนทร์วงศ์
ยิ่งกว่านั้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณรอบอ่าวบ้านดอนนอกจากเมืองไชยายังมีร่องรอยของเมืองเก่าอีกหลายแห่ง เช่น เมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองท่าทอง เมืองพุนพิน และเมืองเวียงสระ ชวนให้สันนิษฐานว่าเมืองไชยาจะต้องเป็นเมืองหลวง หรือราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัย
สุราษธร์ธานีในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงตรงกับสมัยที่กรุงสุโขทัยกำลังเจริญรุ่งเรือง และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู เมืองไชยาซึ่งเป็นเมืองในอาณาจักรศรีวิชัย จึงตกอยู่ใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย
ในสมัยอยุธยา มีเมืองสำคัญทางใต้คือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยาเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีเมืองเล็ก ๆ ขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช คือ เมืองคีรีรัฐนิคม เมืองท่าทอง
ครั้งเมื่อปี พ.. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้อิสรภาพแล้วจึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยา หลวงสิทธิ์ ปลัดผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทราบข่าวเสียกรุงศรีอยุธยาจึงตั้งตนเป็นอิสระ เป็นเจ้าครองเมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้หลวงนายศักดิ์เป็นแม่ทัพไปปราบ เดินทัพผ่านเมืองปะทิว เมืองชุมพร เจ้าเมืองชุมพรคุมสมัครพรรคพวกเข้าสมทบกรุงธนบุรี เดินทัพถึงเมืองไชยา หลวงปลัดเมืองไชยารวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าสมทบด้วย หลวงนายศักดิ์เห็นปลัดเมืองไชยาเป็นผู้มีความสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาแต่งตั้งเป็นพระยาวิชิตภักดีสงคราม (พระยาคอปล้อง) เป็นราชทินนามเมืองไชยาสืบมา ทัพหลวงนายศักดิ์เดินทางข้ามแม่นํ้าตาปีที่ท่าข้าม (อำเภอพุนพิน) หลวงศักดิ์ตั้งรับทัพเมืองนครศรีธรรมราช ที่จะผ่านทางบ้านท่าหมาก อำเภอบ้านนาสาร ทัพหลวงนายศักดิ์ถูกตีล่าถอยกลับไป แล้วไปตั้งทัพรวมไพร่พลเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองไชยา เมื่อไพร่พลหายเหนื่อยแล้วหลวงนายศักดิ์ได้ส่งกำลังข้ามแม่นํ้าตาปีอีก แต่ถูกทัพเมืองนครศรีธรรมราชตีพ่ายกลับมาอีก เป็นอันว่าทัพหลวงนายศักดิ์ไม่สามารถจะเอาชนะทัพหลวงนายสิทธิ์ได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงต้องยกทัพหลวงโดยทางชลมารคออกแทนเอง โดยทรง-พลหลวงมาขึ้นที่ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา แล้วเสด็จไปสรงนํ้าละลอตโขลนทวารที่สระนํ้าคงคาไชยา ทัพเมืองนครศรีธรรมราชจึงได้สงบราบคาบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
พอถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยานคร (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้มาสร้างอู่ต่อเรือพระที่นั่ง และเรือรบถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ที่บ้านดอนนี้ แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านดอนนี้มีความสามารถขนาดต่อเรือรบได้ นับว่ามีฝีมือยอดเยี่ยมมากในสมัยนั้น
ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองนครศรีธรรมราชอ่อนแอลงเพราะสิ้นบุญเจ้าพระยานคร (น้อย) ขณะนั้นบ้านดอนมีความเจริญรุ่งเรืองมาก และมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน โดยการย้ายสำนักราชการเมืองมาทั้งหมด แล้วพระราชทานเมืองใหม่ที่มาตั้งที่บ้านดอนว่า เมือง- กาญจนดิษฐ์ และยกฐานะเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ในเวลาต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) และเมืองคีรีรัฐนิคมเข้ามาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า เมืองไชยา ให้รวมเมืองไชยา เมืองชุมพร และเมืองหลังสวน ขึ้นเป็นมณฑลหนึ่งเรียกว่า มณฑลชุมพร ตั้งศาลา-กลางอยู่ที่ชุมพร ต่อมาได้ย้ายศาลากลางมณฑลมาตั้งที่บ้านดอน ในบริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไชยา ยกฐานะเมืองท่าทองเป็นอำเภอ เอาชื่อเมืองกาญจนดิษฐ์ให้เป็นอำเภอ ขนานนามว่าเมืองไชยา ยกฐานะอำเภอกาญจนดิษฐ์ ลดฐานะเมืองไชยาเดิมเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอเมืองไชยา และได้แบ่งเขตการปกครองซอยลงไปอีก ท้องที่ใดมีคนมากเป็นชุมชนหนาแน่นพอสมควรหรือท้องที่กว้างขวางเกินไปไม่สะดวกแก่การปกครอง ก็แบ่งแยกไปตั้งเป็นอำเภอและกิ่งอำเภอขึ้นใหม่อีกหลายอำเภอ ต่อมาได้มีระบบการปกครองกำหนดออกมาอีกว่า อำเภออันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนั้น ให้เรียกว่าอำเภอเมือง อำเภอเมืองไชยาจึงถูกตัดคำว่าเมืองออกเสีย คงเรียกแต่อำเภอไชยาเฉย ๆ มาจนทุกวันนี้ ในเวลาเดียวกันกับอำเภอบ้านดอนก็กลายเป็นอำเภอเมืองบ้านดอน ซึ่งเป็นอำเภอที่ตั้งศาลากลางจังหวัด และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองบ้านดอน เป็นอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ตามชื่อจังหวัดที่ได้รับพระราชทาน
ก่อนที่บ้านดอนจะได้กลายเป็นอาเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมาดังนี้
ดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่เรียกว่าอ่าวบ้านดอนในทุกวันนี้ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานไว้ว่า มีผู้คนชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่กันมาแต่หนึ่งพันสี่ร้อยปีก่อนแล้ว ซึ่งก็คงตกประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 นั่นเอง ครั้งกระนั้นมีชาวอินเดียแล่นเรือมาถึงเมืองตะกั่วป่า แล้วเดินทางเลาะเสียบลำนํ้าตะกั่วป่าไปสู่เชิงเขาหลวง ข้ามเขาเดินเลียบริมแม่นํ้าหลวงเรื่อยมาจนถึงปากอ่าวบ้านดอน ชาวอินเดียเป็นผู้มีวิชาความรู้เหนือชนพื้นเมือง จึงได้แพร่วัฒนธรรมของตนไว้ในดินแดนเหล่านี้ สมัยนั้นเป็นเวลาแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งนักโบราณคดียังถกเถียงกันไม่เป็นที่ยุติว่า นครหลวงแห่งอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ในสุมาตราหรือที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กันแน่
รอบอ่าวบ้านดอนมีเมืองสำคัญ ๆ อันเป็นที่มาของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบันอยู่หลายเมือง คือ เมืองไชยา ตั้งอยู่ ณ ริมนํ้าท่าทองอุแท อยู่ในบริเวณอำเภอกาญจนดิษฐ์ ปัจจุบัน และเมืองคีรีรัฐนิคมตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่นํ้าพุมดวง เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตอำเภอคีรีรัฐนิคมนั่งเอง
เมืองทั้งสามนี้คือเมืองเก่าแก่ อันเป็นต้นกำเนิดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือบ้านดอนวันนี้
ในหนังสือรวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช ของกรมศิลปากร ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.. 2509 มีข้อความตอนหนึ่งในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวไว้ว่า
เมื่อพระพนมวังแลนางสะเดียงทอง และศรีราชาออกมาสร้างเมืองนครดอนพระนั้น และพระพนมวัง แลนางสะเดียงทองก็มาตั้งบ้านอยู่จงสระ อยู่นอกเมืองดอนพระ สร้างป่าเป็นนา สร้างนาทุ่งเขน สร้างนาท่าทอง สร้างนาไชยคราม สร้างนากะนอม สร้างนาสะเพียง อีกตอนหนึ่งกล่าวถึงเมืองท่าทองไว้ว่า พญาศรีธรรมาโศกราชก็ทูลกรุณาว่า เมืองท่าทองใต้หล้าฟ้าเขียวนี้ ยากเงินทอง ข้าพเจ้า-พระบาทอยู่หัวขอนำเงินเล็กปิดตรานะโมประจำแต่ไปเมื่อหน้า
ข้อความในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชเกี่ยวกับเมืองท่าทองนี้ไม่มีศักราชระบุไว้แน่นอน เมืองท่าทองนี้จะตั้งมาแต่ครั้งไหน แต่มีข้อความที่ชวนให้สืบสาวความเก่าแก่ของเมืองท่าทองได้ เมื่อตำนานนี้พูดถึงเงินนะโม อันเป็นตราที่ใช้ในสมัยโบราณก่อนหน้าที่จะเกิดกรุงศรีอยุธยาคือก่อน พ.. 1893 ในสมัยอยุธยาได้นำเงินพดด้วงเลียนแบบเงินตรานะโมที่เคยใช้กันมาก่อน ดังนั้น เมื่อเมือง ท่าทองเกิดข้าวยากหมากแพง ยากเงินยากทอง เจ้าเมืองจึงนำเงินตรานะโมมาใช้ที่ท่าทอง เป็นอันสันนิษฐานได้ตามหลักโบราณคดีว่า เมืองท่าทองจะต้องเป็นเมืองมาแล้วในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัย มีหลักฐานทางโบราณวัตถุเก่าแก่อยู่หลายแห่ง เช่น ที่วัดคูหา วัดเสมาและวัดม่วงงาม เป็นต้น
เมืองท่าทองเดิมทีเดียวตั้งอยู่ที่บ้านสะท้อน มีเรื่องเก่าเป็นทำนองตำนานว่า สมัยเมื่อหลายปีมาแล้ว ริมคลองแห่งนี้มีต้นสะท้อนอยู่เป็นดง ต่อมานายมากชาวเมืองนครศรีธรรมราช อพยพผู้คนมาตั้งทำกินที่นี่จนมีฐานะรํ่ารวย จึงเปลี่ยนชื่อบ้านสะท้อนเป็นบ้านท่าทอง โดยมีพระวิสูตรสงครามราชภักดี เป็นเจ้าเมือง ครั้นต่อมาในปี พ.. 2328 อันตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราช ปรากฏว่า พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมาตีหัวเมืองภาคใต้ตั้งแต่เมืองชุมพร หลังสวน ไชยา ลงมาจนถึงเมืองท่าทอง นครศรีธรรมราช หัวเมืองเหล่านี้ถูกพม่ายึดอยู่ระยะหนึ่ง สมเด็จพระบรมราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงนำกองทัพจากกรุงเทพฯ ไปขับไล่พม่าออกไปจนหมดสิ้น
แต่จากการทำสงครามครั้งนี้ เมืองท่าทองถูกทำลายมากเกินกว่าที่จะบูรณะให้ดีดังเดิมได้ ดังนั้น หลังสงครามนี้แล้ว ผู้รั้งเมืองท่าทองอันมีนามว่านายสม จึงได้ย้ายเมืองท่าทองจากบ้านสะท้อนมาที่บ้านกะแดะ (อันเป็นที่ตั้งอำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน) ยังคงเรียกว่าเมืองท่าทองตามเดิม นายสม ผู้ตั้งเมืองนั้นได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงวิเศษ ครองเมืองท่าทองอยู่ที่ริมคลองกะแดะ ไม่นานก็พิจารณาย้ายเมืองมาตั้งริมคลองมะขามเตี้ย (เขตอำเภอเมืองปัจจุบัน) เมื่อประมาณ พ.. 2336 หลวงวิเศษได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตร ครองเมืองท่าทองจนถึงปี พ.. 2375 ก็ถึงแก่กรรม บุตรชาย พระวิสูตรได้ครองเมืองแทน มีบรรดาศักดิ์เป็นพระพิทักษ์สุนทร
ในระหว่างที่เมืองท่าทองมาตั้งอยู่ริมแม่นํ้ามะขามเตี้ยนี่เอง ชุมชนแห่งใหม่ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ณ บริเวณที่ดอนริมแม่นํ้าหลวง สถานที่แห่งนี้เจ้าพระยานครได้ส่งคนมาต่อเรือกำปั่นเดินทะเล เพราะหาไม่ได้ง่ายจากริมแม่นํ้าหลวง เนื่องจากบริเวณเป็นที่ดอนนี่เอง ชาวบ้านก็เลย เรียกกันว่า บ้านดอน ส่วนทางด้านเมืองท่าทองนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ส่งบุตรชายชื่อพุ่ม มาเป็นเจ้าเมือง พอถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) ถึงแก่อสัญญกรรมแล้ววันที่ 29 กรกฎาคม พ.. 2458 วันนั้นนับเป็นวันสำคัญของชาวเมืองไชยา ดังจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 บันทึกไว้ว่า
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.. 2458 วันนี้มีกระแสพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้ประกาศพระราชปรารภเรื่องที่บ้านดอนซึ่งตั้งเป็นเมืองไชยาใหม่ แลตั้งที่ว่าการมณฑลชุมพรอยู่นั้น ประชาชนก็คงเรียกว่าบ้านดอนอยู่ตามเดิมและเมืองไชยาเก่าซึ่งเปลี่ยนเรียกว่า อำเภอพุมเรียง แต่ราษฎรก็คงเรียกชื่อเดิม เมืองไชยา เป็นไชยาเก่า ไชยาใหม่ สับสนกันไม่เป็นที่ยุติลงในราชการ จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่บ้านดอนใหม่ว่า เมือง สุราษฎร์ธานี เปลี่ยนนามอำเภอพุมเรียง เรียกว่า อำเภอเมืองไชยา เพราะเป็นชื่อเก่า……”
ในวันเดียวกันนี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนนามแม่นํ้าหลวงเป็นแม่นํ้าตาปี
การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองไชยาที่บ้านดอนเป็น สุราษฎร์ธานี ก็เพราะทรงสังเกตเห็นว่า ชาวเมืองนี้เป็นคนดีสุภาพเรียบร้อย และการที่ทรงเปลี่ยนชื่อแม่นํ้าหลวงเป็นตาปีนั้น เล่ากันว่า พระองค์ทรงนำแบบมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นแม่นํ้าสายหนึ่งตั้งต้นจากขุนเขาสัตตปุระ ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียทางอ่าวแคมเบย์ ชื่อแม่นํ้าตาปติ ทางฝั่งซ้ายก่อนที่แม่นํ้าตาปติจะออกปากอ่าวนี้ มีเมือง ๆ หนึ่งชื่อเมืองสุรัฏร์ ตั้งอยู่ ด้วยเหตุนี้เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นสุราษฎร์ธานี (สุรัฏร์) จึงทรงเปลี่ยนแม่นํ้าหลวงเป็นตาปีด้วย 

ประวัติศาสตร์จังหวัดสุรินทร์

ตราประจำจังหวัด


รูปพระอินทร์ ประทับบนแท่นศีรษะช้างเอราวัณ หน้าปราสาทหินศรีขรภูมิ
คำขวัญประจำจังหวัด
สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

1. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
สภาพและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานเอกสารอันแน่นอน เพียงแต่ได้มีการจดบันทึกไว้เพียงสังเขป ซึ่งส่วนมากได้มาจากคาบอกเล่าของผู้มีอายุและเล่าต่อ ๆ กันมา จึงเอาความแน่นอนไม่ได้ แต่จากการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ซึ่งเป็นภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอันเป็นเขตปกครองเรียกว่าอาณาจักรฟูนัน (อาณาจักรฟูนัน จดหมายเหตุจีนเรียกประเทศเขมรโบราณว่า ฟูนัน ภาคกลางและภาคอีสานของไทย ก็เป็นอาณาจักรฟูนัน ชนชาติในประเทศเขมรก็เรียกว่าชาวฟูนัน ซึ่งเป็นพวกตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ ละว้า ที่สืบเชื้อสายมาเป็นเขมรโบราณ พ.. 1093 แคว้นเจนละบกเมืองขึ้นก่อกบฏ เจ้าจิตรเสน ชิงเอากรุงโตมู (ศมภู) ได้เป็นกษัตริย์มีพระนามว่า พระเจ้ามเหนทวรมัน เรียกชื่อประเทศใหม่ว่า เจนละ พ.. 1209 - 1345 อาณาจักรเจนละเกิดแตกกันเป็นสองประเทศ ทางแผ่นดินสูงตอนเหนือ ได้แก่ ภาคอีสาน และประเทศลาว เรียกว่า เจนละบก ทางแผ่นดินต่าตอนใต้ ได้แก่ ประเทศเขมร จรดชายทะเล เรียกว่า เจนละน้า คล้ายกับคาที่ชาวสุรินทร์พูดว่า แขมร์กรอม แขมร์เลอร์ (เขมรต่ำ-เขมรสูง) คาว่า กรอม แปลว่า ต่ำ ใต้ ล่าง และเรียกชาวเขมรที่อยู่ในประเทศเขมรว่า แขมร์กรอม มาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักการกลายของเสียงกรอมก็คงเป็นคาเดียวกับขอม ก็คือ เขมร สรุปว่า ภาคอีสานเคยเรียกว่าอาณาจักรเจนละบก เป็นอาณาจักรเขมรโบราณบางหัวเมืองคงรวมกับอาณาจักรเขมรตลอดสมัยกรุงสุโขทัย เช่น ในวงมณฑลอุดร นครราชสีมา จันทบุรี จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ไทยได้รบเขมรตีได้นครหลวง (นครธม) เขมรเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่ พ.. 1895 ได้ขยายอาณาเขตไปทางตะวันออกได้ดินแดนนครราชสีมา และจันทบุรีไว้เป็นราชอาณาจักรเข้าใจว่าเมืองสุรินทร์และหัวเมืองแถบนี้รวมอยู่ในเขตราชอาณาเขตมาตั้งแต่ครั้งนั้น (จากหนังสือเรื่องแหลมอินโดจีน สมัยโบราณของเสฐียรโกเศศ ไทยในแหลมทองของ พ..หลวงรณสิทธิพิชัย ประวัติศาสตร์ไทยกับเขมร ของสิริ เปรมจิตต์ หลักไทยของขุนวิจิตรมาตรา สยามกับสุวรรณภูมิ ของหลวงวิจิตรวาทการ แบบเรียนประวัติศาสตร์สยาม ของหลวงชุณห์กสิกรและคณะ)
          เมื่อนับย้อนถอยหลังเป็นระยะเวลาประมาณ 2,000 ปี สมัยที่ละว้ามีอานาจปกครองอาณาจักรฟูนันนั้น คงจะได้สร้างเมืองสุรินทร์ขึ้นและต่อมาเมื่อประมาณ พ.. 1100 พวกละว้าเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจินละ หรืออิศานปุระ ส่วนพวกละว้าก็ถอยร่นไปทางทิศเหนือ ปล่อยให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่าลงเป็นจานวนมาก จังหวัดสุรินทร์ก็คงจะทิ้งไว้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นป่าดงอยู่ เมื่อขอมแผ่อิทธิพลและมีอำนาจครอบครองดินแดนเดิมของละว้าแล้ว ขอมได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ภาค โดยตั้งเมืองศูนย์กลางการปกครองบังคับบัญชาขึ้น 3 เมือง คือ เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) และเมืองสกลนคร แต่ละเมืองมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชเท่าเทียมกันและปกครองบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนครวัด อันเป็นราชธานีของขอม ซึ่งอยู่ในดินแดนเขมร
สมัยที่ขอมมีอานาจนั้น เมืองสุรินทร์อาจเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่อยู่ในเส้นทางการไปมาของขอมระหว่างเขาพระวิหาร เขาพนมรุ้ง กับนครวัด นครธม ก็ได้ จึงปรากฏว่าได้มีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก คานวณอายุประมาณ 1,100 ปีเศษ เรียงรายอยู่ท้องที่อำเภอต่าง ๆ ตามชายแดนในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีปราสาทอยู่ริมเขาพนมดองแหรก หรือดงรัก เรียกว่าช่องตาเมือน มีปราสาทตาเมือนโต๊จ (ปราสาทตาเมือนเล็ก) ปราสาทตาเมือนธม (ปราสาทตาเมือนใหญ่) มีวิหาร ระเบียงคด สระน้ำเรียงรายอยู่รอบ ๆ บริเวณปราสาท นอกจากปราสาทเหล่านี้ก็มีปราสาทอื่น ๆ อีกประมาณ 25 แห่ง อยู่ตามท้องที่อำเภอต่าง ๆ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าขอมสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักพล และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาระหว่างเดินทางจากนครวัด นครธม ข้ามเทือกเขาพนมดองแหรก หรือดงรัก มาสู่เมืองศูนย์กลางการปกครองทั้ง 3 เมืองดังกล่าวมาแล้ว และขอมคงยึดถือเอาเมืองสุรินทร์เป็นเมืองหน้าด่านใหญ่ เพราะขอมมีราชธานีอยู่ทางด้านใต้ของเทือกเขาใหญ่ คือ เขาพนมดองแหรก หรือดงรัก เมืองสุรินทร์คงเป็นที่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่านใหญ่ เมื่อข้ามเทือกเขามาสู่ที่ราบทางทิศเหนือเพื่อไปยังเมืองศูนย์กลาง คือเมืองละโว้ เมืองพิมาย และเมืองสกลนคร เพราะเมืองสุรินทร์นั้นมีกาแพงเดินและคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น เหมาะสมที่จะสร้างค่ายคูประตูหอรบเพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีเมืองหน้าด่านรอง ๆ ลงไปอีก เช่น บ้านเมืองลิ่ง (อยู่ในเขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) บ้านประปืด อยู่ในเขตตำบลเขวาสินรินทร์ บ้านแสลงพัน เขตตำบลแกใหญ่ บ้านสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ ในปัจจุบันทั้ง 4 แห่งนี้ปรากฏร่องรอยเช่นซากกาแพงเมืองเก่าให้เห็นอยู่ ส่วนที่ยังมีสภาพสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น คือ บ้านประปืด ตำบลเขวาสินรินทร์ ซึ่งมีกำแพงดินและคูเมือง 2 ชั้น ให้เห็นอยู่จนปัจจุบัน
จากเมืองสุรินทร์ไปยังเมืองหน้าด่านเล็ก ๆ เหล่านี้แต่ก่อนเคยมีถนนดินพูนสูงประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตร ทอดออกจากกาแพงเมืองสุรินทร์ไปยังเมืองหน้าด่านเล็กดังกล่าวแล้วทุกแห่ง แต่ปัจจุบันสภาพถนนเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว
2. สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยก็เริ่มมีอานาจและเข้าครอบครองดินแดนเหล่านี้ และได้มีการอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุรินทร์ และในสมัยที่ขอมหมดอานาจลงนั้น จังหวัดสุรินทร์คงมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นาน เสมือนหนึ่งเป็นดินแดนหลงสำรวจ เพราะแม้แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นหรือตอนกลาง ก็มิได้มีการบันทึกกล่าวถึงเมืองสุรินทร์แต่อย่างใด เพิ่งจะได้มีการรู้จักเมืองสุรินทร์ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาในระยะเริ่มแรกของการตั้งเมือง ซึ่งปรากฏตามหลักฐานพงศาวดารเมืองสุรินทร์ ดังต่อไปนี้
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่าส่วย” “กวยหรือกุยที่อาศัยในแถบเมืองอัตปือแสนแป (แสนแป) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.. 2436 หรือ ร.. 112) พวกเหล่านี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ตลอดทั้งการจับสัตว์ป่านานาชนิด ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา เมื่อ พ.. 2260 โดยแยกกันหลายพวกด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา และมาตั้งหลักฐาน ดังนี้
พวกที่ 1 มาตั้งหลักฐานที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้าชื่อเชียงปุม
พวกที่ 2 มาตั้งหลักฐานที่บ้านกุดหวาย หรือเมืองเตา (อำเภอรัตนบุรีปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อเชียงสีหรือตากะอาม
พวกที่ 3 มาตั้งหลักฐานที่บ้านเมืองลิ่ง (เขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อเชียงสง
พวกที่ 4 มาตั้งหลักฐานที่บ้านโคกลำดวน (เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้าชื่อตากะจะและเชียงขัน
พวกที่ 5 มาตั้งหลักฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือโคกอัจจะ (เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) หัวหน้าชื่อเชียงฆะ
พวกที่ 6 มาตั้งหลักฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิปัจจุบัน) หัวหน้าชื่อเชียงไชย
ลุ พ.. 2302 ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ครองกรุงศรีอยุธยาราชธานี ช้างเผือกแตกโรงออกจากเมืองหลวงเข้าป่าไปทางทิศตะวันออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามารินทร์ โปรดให้สองพี่น้องเป็นหัวหน้ากับไพร่พล 30 นายออกติดตาม เมื่อสองพี่น้องกับไพร่พลติดตามมาถึงเมืองพิมายทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ในดงริมเขามีพวกส่วยซึ่งชำนาญในการจับช้างและเลี้ยงช้างอยู่ หากไปสืบหาจากพวกส่วยเหล่านี้คงจะทราบเรื่อง สองพี่น้องกับไพร่พลจึงได้ติดตามไปพบเชียงสี หรือตากะอามที่บ้านกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรีปัจจุบัน) เชียงสีจึงได้พาสองพี่น้องกับไพร่พลไปหาเชียงสงที่บ้านเมืองลิ่ง ไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที ไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท ไปหาตากะจะและเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน และไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง
เชียงฆะได้เล่าบอกกับสองพี่น้องว่า ได้เคยเห็นช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาทั้งสองข้าง ได้พาโขลงช้างป่ามาลงเล่นน้ำที่หนองโชกตอนบ่าย ๆ ทุกวัน เมื่อได้ทราบเช่นนั้นสองพี่น้องจึงได้พาหัวหน้าหมู่บ้านเหล่านั้นไปขึ้นต้นไม้ริมหนองโชกคอยดู ครั้นถึงตอนบ่ายก็เห็นโขลงช้างป่าประมาณ 50 - 60 เชือก เดินห้อมล้อมช้างเผือกออกจากชายป่าลงเล่นน้าในหนอง สมจริงดังที่เชียงฆะบอกกล่าว สองพี่น้องจึงใช้พิธีกรรมทางคชศาสตร์จับช้างเผือกได้แล้ว สองพี่น้องกับไพร่พลโดยมีหัวหน้าบ้านป่าดง คือ เชียงปุม เชียงสี หรือตะกะอาม เชียงฆะ เชียงไชย ตากะจะ และเชียงขัน ได้ร่วมเดินทางไปส่งด้วย สองพี่น้องได้กราบทูลถึงการที่เชียงปุมกับพวกได้ช่วยเหลือติดตามช้างเผือกได้คืนมาและนามาส่งถึงกรุงศรีอยุธยาด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
1. เชียงปุม               หัวหน้าหมู่บ้านเมืองที                             เป็นหลวงสุรินทรภักดี
2. ตากะจะ               หัวหน้าหมู่บ้านโคกลำดวน              เป็นหลวงแก้วสุวรรณ
3. เชียงขัน               อยู่รวมกันกับตากะจะ                     เป็นหลวงปราบ
4. เชียงฆะ               หัวหน้าหมู่บ้านอัจจะปะนึง               เป็นหลวงเพชร
5. เชียงสี                 หัวหน้าหมู่บ้านกุดหวาย                 เป็นหลวงศรีนครเตา
6. เชียงไชย             หัวหน้าหมู่บ้านกุดปะไท                 เป็นขุนไชยสุริยงศ์
พร้อมทั้งพระราชทานตราตั้งและโปรดเกล้าฯ ให้ปกครองหมู่บ้านเดิมขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
หลวงสุรินทรภักดีกับพวก ได้พากันเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและได้ปกครองหมู่บ้านเดิมตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตลอดมา
.. 2306 หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตย้ายจากหมู่บ้านเมืองทีไปตั้งอยู่ที่บ้านคูปะทาย หรือบ้านปะทายสมันต์ เพราะบ้านเมืองทีเป็นหมู่บ้านเล็กไม่เหมาะสม ส่วนบ้านคูปะทายหรือประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน) เป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี ประกอบทั้งเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการอยู่อาศัย มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ก็ได้ทรงอนุญาตให้ย้ายได้ หลวงสุรินทรภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูปะทาย ส่วนญาติพี่น้องชื่อ เชียงปืด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะดา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม
ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ร่วมกับญาติดังกล่าวพากันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูปะทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนาสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรต) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้าผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นาของไปทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
1. หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูปะทายเป็นเมืองปะทายสมันต์ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางเป็นเจ้าเมืองปกครอง
2. หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็น พระสังฆบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็นเมืองสังฆะให้พระสังฆบุรีศรีนครอัจจะเป็นเจ้าเมืองปกครอง
3. หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือตากะอาม) เป็นพระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวายเป็นเมืองรัตนบุรีให้พระศรีนครเตาเป็นเจ้าเมืองปกครอง
4. หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลาดวน ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็นเมืองขุขันธ์ให้พระไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมืองปกครอง
การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหมดก็เดินทางกลับและปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขตลอดมา
3. สมัยกรุงธนบุรี (.. 2310 - .. 2325)
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
.. 2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกขึ้นไปทางเมืองพิมาย แม่ทัพสั่งให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กาลังเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ เมืองรัตนบุรี เพื่อให้เป็นกองทัพบกยกทัพไปล้อมตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงจันทน์ยอมแพ้ยอมขึ้นแก่กรุงไทย ต่อมาได้ไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์ไม่ยอมต่อสู้เพราะมีกำลังทหารอ่อนแอ จึงยอมขึ้นต่อกรุงไทย กองทัพไทยจึงยกทัพกลับกรุงธนบุรี
.. 2324 เมืองเขมรเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพไปปราบปรามการจลาจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กาลังของเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงด้วย การไปปราบปรามครั้งนี้กองทัพไทยเคลื่อนขบวนไปตีเมืองเสียมราฐ เมืองกำพงสวาย เมืองบรรทายเพชร เมืองบรรทายมาศ เมืองรูงตาแรย์ (ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ขอขึ้นเป็นข้าขอบขันฑสีมา เสร็จแล้วก็ยกทัพกลับกรุงธนบุรี บ้านเมืองที่ตีได้ก็กวาดต้อนพลเมืองมาบ้าง บางพวกก็อพยพมาเอง ในโอกาสนี้ได้มีลาวบราย เขมร ทางแขวงเมืองเสียมราฐ สะโตง กำพงสวาย บรรทายเพชร อพยพมาทางเมืองสุรินทร์ ออกญาแอกและนารอง พาบ่าวไพร่ขึ้นมาอยู่ที่บ้านนางรอง ออกญารินทร์เสน่หาจางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางสาวดาม มาตไว บุตรีเจ้าเมืองบรรทายเพชร และพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐได้พากันมาอยู่เมืองปะทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) เป็นจำนวนมาก บ้างก็แยกไปอยู่เมืองสังฆะ ไปอยู่บ้านกำพงสวาย (แขวงอำเภอท่าตูม) บ้าง ในโอกาสนี้เอง พระสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เจ้าเมืองปะทายสมันต์ จึงจัดพิธีแต่งงานนางสาวดาม มาตไว บุตรีเจ้าเมืองบรรทายเพชรกับหลานชายชื่อสุ่น” (นายสุ่นเป็นบุตรของนายตี ซึ่งเป็นบุตรชายคนแรกของพระสุรินทรภักดี (เชียงปุม)) เมื่อชาวเขมรทราบว่า นางสาวดาม มาตไว ได้เป็นหลานสะใภ้ของพระสุรินทรภักดีก็พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากขึ้น ดังนี้ชาวบ้านคูปะทายหรือบ้านปะทายสมันต์ ซึ่งเป็นส่วยจึงปะปนกับเขมร และเพราะเหตุที่เขมรรุ่งเรืองมาก่อนความเป็นอยู่จึงผันแปรไปทางเขมร
เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทน์และเมืองเขมรแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้ปูนบำเหน็จให้แก่เจ้าเมืองประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ โดยเลื่อนบรรศักดิ์ให้เป็นพระยาทั้ง 3 เมือง
4. สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (.. 2325 - .. 2352)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.. 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
.. 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ในการเปลี่ยนชื่อเมืองปะทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองพิมายแบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ                 จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ามูลถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก            จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก              ถึงลำห้วยตะโคงหรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองชั้น และห้วยราช (ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนได้อยู่ในความปกครองของไทย เช่น บ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับอำเภอสังขะ)
เมื่อ พ.. 2337 พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อ นายตี (แต็ย) และนายมี (แม็ย) เป็นหญิง 2 คน ชื่อ นางน้อย นางเงิน เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้นายตี (แต็ย) บุตรชายคนโตเป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป
ในปี พ.. 2342 มีตราโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวงเมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงพอได้ข่าวว่ากองทัพถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพกลับและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็น พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
.. 2350 ทรงพระราชดาริว่าเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เลยทีเดียว มีอำนาจชาระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน
.. 2351 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ หลวงวิเศษราชา (มี หรือแม็ย) ผู้เป็นน้องชายเป็น พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
5. สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (.. 2352 - .. 2394)
.. 2354 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เป็น พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อ
6. สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (.. 2367 - .. 2394)
ลำดับนั้น ตั้งแต่เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์อยู่ในอำนาจอนุเวียงจันทน์กับเจ้าโย่ บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกาลังผู้คนมากขึ้น ก็มีใจกำเริบคิดขบถต่อกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.. 2369 เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจาปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กาลังยกเป็นกองทัพมาตรีเมืองขุขันธ์แตก จับพระยาไกรภักดีศรีนครลาดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้ฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ ได้มีการป้องกันรักษาเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และได้เกณฑ์กาลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม
.. 2372 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
.. 2372 ครั้งนั้นหัวเมืองทางฝ่ายตะวันออกยังไม่เรียบร้อยดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ครั้งที่เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ออกไปจัดตั้งราชการทำสำมะโนครัว และตั้งกองสักอยู่ ณ กุดไผท (ซึ่งเป็นท้องที่อำเภอศีขรภูมิปัจจุบันนี้)
ในปี พ.. 2394 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
7. สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (.. 2395 - .. 2411)
.. 2395 ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระพิไชยราชวงษา (ม่วง) ผู้ช่วยเป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อมา (พระพิไชยราชวงษา (ม่วง) เป็นบุตรของพระยาสุรินทรภักดีฯ (สุ่น))
.. 2411 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตาแหน่งพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ ให้หลวงนรินทรราชวงศา (นาก) บุตรพระยาสุรินทรฯ (สุ่น) เป็นพระไชยณรงค์ภักดี (ปลัด) ให้พระมหาดไทย (จันทร์) บุตรนายสอน หลานพระยาสุรินทรฯ (สุ่น) เป็นพระพิชัยนครบวรวุฒิ (ยกกระบัตร) รักษาราชการเมืองสุรินทร์
8. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (.. 2411 - .. 2453)
.. 2412 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผทหรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คามี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์ บุตรพระปลัดคนเก่าเป็นปลัด ขอหลวงศรีสุราช ผู้หลานเป็น ยกกระบัตรเมืองสังฆะ
ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีมะเส็งนั้น (.. 2412) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีตราพระราชสีห์ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมืองขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรฯ เห็นว่าพระยาสังฆะฯ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะฯ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระปลัด (นาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น
.. 2415 ฝ่ายพระยาสังฆะฯ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลาพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ
.. 2416 ทางเมืองสุรพินทนิคม พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรมในปีนี้ พระยาสุรินทรฯ (ม่วง) เห็นว่า หลวงพิทักษ์สุนทร บุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตาแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคม หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรม แต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมว่างตลอดมา
.. 2424 ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้าฯ ให้หลวงสัสดี (สิน) เป็นพระวิไชยเจ้าเมืองจงกัลแล้ว พระวิไชยรับราชการได้ 7 ปีก็ถึงแก่กรรม ครั้นมาปีนี้ เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพฯ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็นพระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรฯ ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระพิไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์
.. 2425 ระหว่างปีนี้ คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมากข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรฯ จึงได้มีใบบอกขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์) (ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมือง และโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวเพชรเป็นที่ปลัดให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรฯ (ม่วง) คนหนึ่งเป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์เป็นเจ้าเมืองสุรพินทนิคมแทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตาแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง
.. 2429 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสารวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากรในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่าทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์แตก การประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพฯ นั้นโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคายซึ่งเป็นจุดชุมพล สาหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ ได้มีคาสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ 2 ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์
เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าวัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน
.. 2432 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ นายเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี ถึง พ.. 2433 ก็ถึงแก่กรรม พระยา สุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมืองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง
.. 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว
ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
.. 2435 กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ ซึ่งย้ายมาแทนพระมหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) น้องชายพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง)
ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลางมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาดทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง
.. 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งเป็นราชอาณาจักรของไทย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในฐานะผู้สาเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ ศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกาลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ (บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังมิได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่งในช่วงระยะนี้ เสด็จในกรมฯ ผู้สาเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน และในปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สับเปลี่ยนข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลอีสาน โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ มาดำรงตำแหน่งแทนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ในวาระที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เดินทางกลับกรุงเทพฯ ผ่านเมืองสุรินทร์ ได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) บุตรนายสอน ซึ่งเป็นบุตรพระยาสุรินทรฯ (ตี) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพฯ แล้ว จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) เป็นพระยา สุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ ดารงตาแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา
ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกากับราชการโดยลาดับ กล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาประจำอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษ สับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลหาญมาดารงตาแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้น กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งแทนในประมาณปี พ.. 2438
พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีจุลศักราช 1257 หรือ ร.. 114 ตรงกับปี พ.. 2438 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ โปรดให้พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) สันนิษฐานว่าเป็นบุตรของนายพรหม (นายพรหมเป็นบุตรของพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ 3) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อ ร.. 126 หรือ พ.. 2450 และเมื่อถึงแก่กรรมแล้วจึงไดรับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสาน จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรของพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ 8 เป็นผู้รั้งตาแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.. 2451 และในต้นปี พ.. 2451 นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง เป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับการแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจาจังหวัดสุรินทร์ในปี พ.. 2451 คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
นับแต่ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองสุรินทร์ มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองสืบเชื้อสายต่อมา ได้มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองปกครองโดยลาดับ ดังนี้
1. พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) .. 2303 - 2337
2. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) .. 23372351
3. พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) .. 2351 - 2354
4. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (สุ่น) .. 2354 - 2394
5. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) .. 2395 - 2432
6. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (เยียบ) .. 2432 - 2433
7. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) .. 2433 - 2434
8. พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาค) .. 2435 - 2436
9. พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) .. 2436 - 2438
10. พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (บุญจันทร์) .. 2438 - 2450
11. พระประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) .. 2450 - 2451
รายนามข้าหลวงกำกับราชการ
1. หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) .. 2435 - 2436
2. หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) .. 2436 - 2437
3. จมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) .. 2437 - 2438
4. หลวงวิชิตชลหาญ พ.. 2438 - 2438
5. หลวงสาทรสรรพกิจ (อู๊ต) .. 2438 - 2450

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจาท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือว่าเป็นระบบการปกครองอันสาคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนามาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและเปลี่ยนระบบการปกครอง จากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมืองให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่นหัวเมืองหรือประเทศราช ยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้จัดให้มีอำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2458 จึงสาเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของการเทศาภิบาลซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
การเทศาภิบาลคือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการ อันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจาแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือจังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทางานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชนซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาลนั้น หมายความรวมว่าเป็นระบบการปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าการปกครองส่วนภูมิภาคส่วนมณฑลเทศาภิบาลนั้น คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิมอันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทาความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมเจ้าท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่าควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จานวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2454 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1. การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อานาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้นและการที่ยุบมณฑล เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ในฐานะของคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอานาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไปขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ
          จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

No comments:

Post a Comment