จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ส)

ประวัติศาสตร์จังหวัดสระแก้ว

ตราประจำจังหวัด


รูปพระพุทธรูปปางสรงสรีระ ประทับยืนบนดอกบัว ด้านหลังเป็นภาพพระอาทิตย์ยามรุ่ง ตอนกลางเป็นภาพปราสาทเขาน้อยสีชมพู
คำขวัญประจำจังหวัด
ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร

จังหวัดสระแก้วแม้ว่าจะเป็นจังหวัดตั้งใหม่เมื่อ 1 ธันวาคม 2536 แต่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดสระแก้ว มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเป็นมาของท้องถิ่น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 โดยเฉพาะแถบอรัญประเทศ ตาพระยา กิ่งอำเภอโคกสูง อาณาเขตดังกล่าวได้พบจารึกสัมพันธ์ กับกษัตริย์องค์สำคัญในสมัยของเจนละคือพระเจ้าจิตรเสน (มเหนทรวรมัน) และพระเจ้าอีสานวรมัน (ผู้เป็นบุตรมเหนทรวรมัน) บรรดาจารึกที่เป็นโบราณวัตถุ ได้แก่
1. จารึกช่องสระแจง ที่อำเภอตาพระยา มีอายุระหว่าง พ.. 1159-1178
2. จารึกเขาน้อย ที่อำเภออรัญประเทศ มีอายุใน พ.. 1180
3. จารึกเขารัง ที่อำเภออรัญประเทศ มีอายุใน พ.. 1182  และ                                   4. จารึกที่บ้านกุดแต้ที่อำเภออรัญประเทศ ก็มีอายุไล่เลี่ยกับจารึกที่ได้กล่าวมาแล้ว
อนึ่ง โบราณวัตถุสถาน เช่น ปราสาทเขาน้อยสีชมพู ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ
สมโบร์ไพรคุด และไพรกะเมง จึงทำให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าในช่วงทรศตวรรษที่ 11-12 "ชาวกัมพู" ได้ขยายตัวจากอีสานประเทศทางใต้ และรับวัฒนธรรมความเจริญจากชุมชนทางใต้เปิดตัวออกสู่อารย-ธรรมอินเดีย แบบฮินดู ใช้ภาษาสันสกฤต และนับถือพระวิษณุ (ภาษาแขกฮินดู เป็นภาษาที่สืบเนื่องจากภาษาสันสกฤต เริ่มมีภาษานี้ประมาณ พ.. 1-100 ใช้มาประมาณ 200 ปี ก็แปลงเป็นภาษา "บาลี")
ในสมัยของเจนละบก เจนละน้ำ ซึ่งมีความเจริญเติบโตระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 ก็ได้เกิดอาณาจักรหนึ่งขึ้นมาควบคู่กับเจนละน้ำ คือ อาณาจักรทวารวดี วัฒนธรรมทางทวารวดีได้ขยายออกไปยังภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของศิลป ในด้านแถบตะวันออกวัฒนธรรมทวารวดีได้ขยายผ่านเมืองดงละคร จังหวัดนครนายก เมืองพระรถ (พนัสนิคม) จังหวัดชลบุรี เมืองศรีมโหสถ (โคกปีบและศรีมหาโพธิ์) จังหวัดปราจีนบุรี และมุ่งเข้าสู่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สังคมของทวารวดีมีความหลากหลายทั้งในด้านประชากรเพราะมีประชากรเป็นชนชาติผสม ประกอบด้วย มอญ ไต สยาม เป็นหลัก นอกเหนือจากจีน อินเดีย มีอาชีพพื้นฐานทางเกษตรกรรม ใช้วัวไถนา และมีพุทธศาสนา ที่เป็นพลังในการทะลุทะลวงความหลากหลายที่มีอยู่ในขณะนั้น
ในห้วงพุทธศตวรรษที่ 12 อยู่ในห้วงที่มีการผสมกลมกลืนระหว่างอาณาจักรเจนละน้ำกับ ทวารวดีในเขตพื้นที่ของจังหวัดสระแก้ว ก็ได้พบแหล่งชุมชนโบราณ ดังนี้
1. อำเภออรัญประเทศ ได้พบคูคันดินล้อมรอบ 6 แห่ง ที่ตาบลท่าข้าม เมืองไผ่ หันทราย
2. อำเภอตาพระยา ได้พบคูคันดินล้อมรอบ 3 แห่ง ที่ตำบลตาพระยา และปราสาทเขาโล้น
3. กิ่งอำเภอโคกสูง ได้พบคูคันดิน 1 แห่ง และปราสาทสด๊กก๊อกธม
4. อำเภอเมืองสระแก้ว ได้พบสระน้ำ และคูคันดิน 4 แห่งที่ตำบลท่าเกษม
5. อำเภอวัฒนานคร ได้พบสระน้าคูคันดิน 3 แห่ง ที่ตำบลท่าเกวียน
แหล่งชุมชนดังกล่าว ตามประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังของจีนระบุว่า ในพุทธศตวรรษที่ 12 เจนละได้แตกออกเป็น 2 ส่วน คือ เจนละบก และเจนละน้ำ พื้นที่สาคัญของเจนละน้ำได้กลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรขอมเมืองนคร (นครวัด นครธม) ในเขมรค่ำ และสามารถติดต่อกับเมืองต่าง ๆ ทางช่องเขาพนมดงเร็ก และบริเวณสระน้ำ บาราย ที่เกิดขึ้นตามเขตอำเภอของจังหวัดสระแก้ว ดังที่ ได้กล่าวมาแล้ว
สรุป
พื้นที่เป็นจังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน ถ้าศึกษาจากตำนานพื้นเมือง ศิลาจารึก จดหมายเหตุของจีน (พุทธศตวรรษที่ 8 ตรงกับสมัยสามก๊ก) ว่าดินแดนแถบนี้ในช่วงแรก ๆ จะอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของรัฐฟูนาน เมื่องรัฐฟูนานสลายไป ก็กลายเป็นอาณาจักรเจนละ เจนละบก เจนละน้ำ และอาณาจักรของชาวกัมพูชา แคว้นต่าง ๆ อาณาจักรทวารวดี ขยายอิทธิพลเข้ามาโดยเฉพาะพุทธศาสนา ซึ่งได้นำอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมแบบมอญเข้ามา ซึ่งสำนักพิมพ์เมืองโบราณสรุปว่า "ทวารวดีก็คือรากฐานของการเป็นสยามประเทศนั่นเอง"
ชื่อจังหวัดสระแก้ว มี่ทีมาจากชื่อสระน้ำโบราณในพื้นที่อำเภอสระแก้ว ซึ่งมีอยู่ 2 สระ ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.. 2323 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปตีประเทศกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพ ที่บริเวณสระแก้วทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอย ได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธ์

สระแก้วเดิมมีฐานะเป็นตำบล ซึ่งสมัยก่อนราชการได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้า-ออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนถึงปี พ.. 2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า "กิ่งอำเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของอาเภอกบินทร์บุรีโดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า "อำเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรีและต่อมาเมื่อ 1 ธันวาคม 2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสระแก้วขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 เป็นผลให้จังหวัดสระแก้วได้เปิดทาการในวันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศ


ประวัติศาสตร์จังหวัดสระบุรี

ตราประจำจังหวัด

รูปมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี
คำขวัญประจำจังหวัด
พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว
หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม
เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง
สระบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เมืองสระบุรีตั้งขึ้นประมาณ พ.. 2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วปีเศษ (ครองราชย์ระหว่าง พ.. 20912111)
มูลเหตุตั้งเมืองสระบุรี
ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะนั้น แบ่งการปกครองออกเป็นอย่างนี้
1. หัวเมืองชั้นในและชานเมือง เรียกว่า มณฑลราชธานี ได้แก่ เมืองที่ตั้งอยู่ใกล้พระนคร ที่ปรากฏนามสำคัญคราวนั้น มี เมืองชลบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรีและเมืองชัยนาท เป็นต้น
2. หัวเมืองชานเมือง ได้แก่ เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครนายก เป็นต้น
3. หัวเมืองฝ่ายเหนือ มีเมืองนครสวรรค์ เมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลก เป็นต้น
4. หัวเมืองด้านตะวันออก มีเมืองนครราชสีมา เมืองเพชรบูรณ์ และเมืองจันทบุรี ตลอดจนเมืองปราจีนบุรี เป็นต้น
5. หัวเมืองด้านตะวันตก มีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เป็นต้น
6. หัวเมืองปักษ์ใต้ มีเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
การสำรวจสามะโนครัวชายฉกรรจ์ หรือที่เรียกว่าสักเลขสมัยโน้น ได้แก่ การออกสำรวจชายหนุ่มรุ่นฉกรรจ์เข้ารับราชการทหารนั่นเอง สมัยนั้นผู้คนอยู่ส่วนเมืองใด ก็ให้สังกัดหัวเมืองนั้น ๆ ยังไม่ได้เรียกเข้ามาร่วมกันกับมณฑลราชธานีแต่อย่างใด
เนื่องจากมีความลักลั่นไม่เป็นระเบียบในการเกณฑ์ไพร่พลเช่นนี้ พอเกิดศึกสงครามมาประชิดติดพระนคร จึงไม่สามารถเรียกระดมพลได้เต็มที่ เนื่องจากเมืองไทยว่างเว้นศึกสงครามมาระยะหนึ่ง พอมีพม่าข้าศึกมา (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้แห่งหงสาวดี) ยกทัพมาไทยเราก็พ่ายถึงกับต้องสูญเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัยอัครมเหสี ถูกพระเจ้าแปรแม่ทัพพม่าฟันสิ้นพระชนม์บนคอช้าง คราวที่ไสช้างออกไปกั้นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิมิให้เป็นอันตรายในสนามรบ (ทุ่งลุมพี ชานพระนครศรีอยุธยา ด้านทิศเหนือ)
ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงโปรดฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีก 3 เมือง เพื่อให้สะดวกรวดเร็วและได้ผลทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองคราวเกิดศึกสงคราม คือ
1. ยกบ้านตลาดขวัญ ขึ้นเป็น เมืองนนทบุรี
2. ยกบ้านท่าจีน ขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี (จังหวัดสมุทรสาคร)
3. แบ่งเอาเขตเมืองราชบุรี กับเขาเมืองสุพรรณบุรี มารวมกันตั้งขึ้นเป็น เมืองนครชัยศรี (อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม)
ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่า เมืองเดิมที่ตั้งอยู่ชานพระนครเคยมีอยู่เดิมแล้ว เช่น เมืองสุพรรณบุรี เมืองอินท์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี และเมืองลพบุรี เมื่อตั้งเมืองเพิ่มเข้ามาอีก จึงสามารถจะติดต่อกันได้แต่ละหัวเมืองภายในหนึ่งวันเท่านั้น นี้เป็นมูลเหตุตั้งเมืองขยายออกไปรอบพระนครหลวง เพื่อรวบรวมไพร่พลไว้ต่อสู้ข้าศึก
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า เมืองสระบุรี เมืองฉะเชิงเทรา คงจะถูกตั้งขึ้นด้วยกันคราวนั้นเป็นแน่แท้ จากพระราชพงศาวดารที่ปรากฏตอนหนึ่งว่า
ไพร่บ้านเมืองตรีจัตวา ปากใต้ฝ่ายเหนือ เข้าพระนครครั้งนี้น้อยนัก หนีออกอยู่ป่าห้วยเขา ต้อนไม่ได้เป็นอันมาก ให้เอาบ้านท่าจีน ตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญ ตั้งเป็นเมืองนนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี แล้วปรึกษาว่า กำแพงลพบุรี (เมืองนครนายก เมืองสุพรรณบุรี) 3 เมืองนี้ควรจะล้างเสียหรือจะเอาไว้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระรามเมศวร พระมหินทราธิราช กับมุขมนตรีพร้อมกันปรึกษากราบทูลว่า จะให้ไปรับทัพหัวเมืองนั้น ถ้ารับได้ก็จะเป็นคุณ ถ้ารับมิได้ข้าศึก สังกัดสมสกรรจ์พันจะอาศัยให้รื้อกำแพงเสียดีกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม แล้วให้ตั้งพิจารณาเลขลาเครื่อง 200,000 เศษ
อนึ่งเมืองสระบุรีนั้น ที่ตั้งตัวเมืองคราวแรก คงจะไม่ได้กำหนดเขตแดนไว้แน่นอนและยังไม่ปรากฏว่าเคยได้ตั้งผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองอย่างเป็นทางการ แต่อย่างใดไว้คงจะแบ่งเอาบางส่วนจากแขวงเมืองลพบุรี แขวงเมืองนครราชสีมา และแขวงเมืองนครนายก ตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ในคราวเดียวกันนั้น ทั้งนี้เพราะเขตที่กันขึ้นเป็นเมืองสระบุรี เป็นเขตที่คลุมบางส่วนของลำแม่น้ำป่าสัก สะดวกต่อการเดินทัพขึ้นไปทางภาคตะวันออก - ตะวันออกเฉียงเหนือ และยังเคยเป็นเส้นทางที่พวกขอมสมัยโบราณเคยใช้เดินทางมาก่อนแล้วด้วย
เส้นทางคมนาคมพวกขอมผ่านเมืองสระบุรีสมัยโบราณ (ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา) ในหนังสือเรื่องเที่ยวตามทางรถไฟพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายแยกเรื่องความเป็นมาของสระบุรีไว้แต่ละยุคสมัย ดังนี้
สมัยกรุงละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาถึงสมัยอโยธยา
ท้องที่อันเป็นเขตจังหวัดสระบุรี แต่โบราณครั้งเมื่อพวกขอมยังเป็นใหญ่ในประเทศนี้ อยู่ในทางหลวงสายหนึ่ง ซึ่งพวกขอมไปมาติดต่อกับราชธานีที่นครหลวง (ซึ่งเรียกในภาษาขอมว่า นครธม) ยังมีเทวสถานซึ่งพวกขอมสร้างเป็นปรางค์หินไว้ตามที่ได้ตั้งเมืองปรากฏอยู่เป็นระยะมา คือในเขตจังหวัดปราจีนบุรี มีที่อำเภอวัฒนานครแห่ง 1 ที่ดงศรีมหาโพธิ์แห่ง 1 ต่อมาถึงเขตจังหวัดนครนายก มีที่ดงละครแห่ง 1 แล้วมามีที่บางโขมด ทางขึ้นพระพุทธบาทอีกแห่ง 1 ต่อไปก็ถึงลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลละโว้ ที่พวกขอมมาตั้งปกครอง แต่ที่ใกล้ลำน้ำป่าสักซึ่งตั้งจังหวัดสระบุรี หาปรากฏสิ่งสำคัญครั้งขอมอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ เพราะฉะนั้นเมืองสระบุรีเห็นจะเป็นเมืองตั้งขึ้นต่อเมื่อไทยได้ประเทศนี้จากขอมแล้ว ข้อนี้สมด้วยเค้าเงื่อนในพงศาวดาร ด้วยชื่อเมืองสระบุรีปรากฏในเรื่องพงศาวดารเป็นครั้งแรก เมื่อรัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช…”
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพมาล้อมพระนครศรีอยุธยา พระไชยเชษฐาเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกกองทัพเมืองเวียงจันท์ลงมาช่วยไทย เดินกองทัพเลียบลำน้ำป่าสักลงมา พระเจ้าหงสาวดีให้พระมหาอุปราชคุมกองทัพไปซุ่มดักทางอยู่ที่เมืองสระบุรีตีกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตแตกกลับไป ดังนี้เป็นอันได้ความว่า เมืองสระบุรีตั้งมาก่อน พ.. 2112 แต่จะตั้งเมื่อใดข้อนี้ได้แต่สันนิษฐานตามเค้าเงื่อนที่มีอยู่ คือเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชบิดาของสมเด็จพระมหินทราธิราชนั้น พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.. 2091 ในสมัยนั้นมีเมืองป้อมปราการเป็นเขื่อนขัณฑ์กันราชธานีอยู่ทั้ง 4 ทิศ คือเมืองสุพรรณบุรีอยู่ทางทิศตะวันตก เมืองลพบุรีอยู่ทางทิศเหนือ เมืองนครนายกอยู่ทางทิศตะวันออก และเมืองพระประแดงอยู่ทางทิศใต้ กองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ข้างทิศตะวันตก กองทัพไทยจึงไปตั้งต่อสู้อยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีรับข้าศึกไม่อยู่ต้องถอยเข้ามาเอาพระนครศรีอยุธยาเป็นที่มั่น จึงได้ชัยชนะ เป็นเหตุให้เห็นว่าเป็นเมืองที่ตั้งเป็นเขื่อนขัณฑ์กันพระนครนั้น หาเป็นประโยชน์ดังที่คาดมาแต่ก่อนไม่ ที่สร้างป้อมปราการไว้ ถ้าข้าศึกเอาเป็นที่มั่นสาหรับทาการสงครามแรมปี ตีพระนคร ก็จะกลับเป็นประโยชน์แก่ข้าศึก จึงให้รื้อป้อมปราการเมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี และเมืองนครนายกเสียทั้ง 3 เมือง คงไว้แต่ที่เมืองพระประแดง ซึ่งรักษาทางปากน้า อีกประการ 1 เห็นว่า ที่รวบรวมผู้คนในเวลาเกณฑ์ทัพยังมีน้อยแห่งนัก จึงได้ตั้งตัวเมืองเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายเมือง สาหรับเป็นที่รวบรวมผู้คนเพื่อจะได้เรียกระดมมารักษาพระนครได้ทันท่วงที ในเวลาการสงครามมีมาอีก เมืองที่ตั้งใหม่ครั้งนั้นระบุชื่อไว้ในหนังสือพระราชพงศาวดาร แต่ทางทิศใต้กับทางทิศตะวันตก คือ เมืองนนทบุรี 1 เมือง สาครบุรี 1 (สมุทรสาคร) เมือง 1 และเมืองนครไชยศรีเมือง 1 แต่ทางทิศอื่นหาได้กล่าวไม่ เมืองสระบุรี (และเมืองฉะเชิงเทรา) เห็นจะตั้งขึ้นในครั้งนี้นั่นเอง คือตั้งเมื่อราว พ.. 2092 ก่อนปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารเพียง 20 ปี เหล่าเมืองที่ตั้งครั้งนั้นเป็นแต่สาหรับรวบรวมผู้คนดังกล่าวมา จึงกำหนดแต่เขตแดนมิได้สร้างบริเวณเมือง ผู้รั้งตั้งจวน อยู่ที่ไหนก็ชื่อว่าเมืองอยู่ตรงนั้น ไม่เหมือนเมืองที่ตั้งมาแต่ก่อน เช่น เมืองราชบุรี และเมืองเพชรบุรี เป็นต้น เมืองตั้งสำหรับรวบรวมคนเช่นว่ามานี้ มีอีกหลายเมือง พึ่งมาตั้งบริเวณเมืองประจำที่ทั่วกันต่อเมื่อรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ดังกล่าวมานี้ เป็นประวัติความเป็นมาของเมืองสระบุรีโดยมีเค้าเงื่อนพอเชื่อถือได้ไม่น้อยเลย
นามเจ้าเมืองสระบุรีที่ปรากฏในพงศาวดาร
ตำแหน่งบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองสระบุรี ปรากฏเด่นชัดในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อปี พ.. 2125 ก่อนที่พระองค์จะเสด็จยกทัพไทยไปตีเมืองเขมร แต่ไม่ทราบนามจริง คงทราบแต่ว่ามีบรรดาศักดิ์เป็นพระสระบุรีเท่านั้น ซึ่งเทียบเท่ากับเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระเช่นกัน ส่วนเจ้าเมืองนครนายกกับเจ้าเมืองปราจีนบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา
เจ้าเมืองสระบุรีสมัยสมเด็จพระนเรศวรนั้น น่าจะยังเป็นคนไทยภาคกลางอยู่ มีหน้าที่คุมรักษาฉางข้าวไว้ให้กองทัพหลวง ครั้งยกไปตีเขมรคราวนั้น คงจะเป็นเพราะให้ชาวเมืองสระบุรี สมัยนั้นทำไร่ทำนาเก็บเกี่ยวข้าวไว้สำหรับทางราชการงานสงครามเมื่อต้องการ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
จวบกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งเจ้าเมืองสระบุรี ก็ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระอยู่ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เจ้าเมืองสระบุรีมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุราราชวงศ์ตามพระราชพงศาวดารว่าเป็นชนเผ่าลาวพุงดา ซึ่งถูกเกณฑ์อพยพมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพขึ้นไปตีนครเวียงจันทน์ (สมัยกรุงธนบุรี) แล้วมาตั้งรกราก ณ แขวงเมืองสระบุรี พ.. 2324 แต่พระยาสุราราชวงศ์ เจ้าเมืองสระบุรีคนนี้ถูกเมืองขวาเชียงใต้ แม่ทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ยกทัพลงมาต้อนครัวชาวสระบุรีขึ้นไปเมื่อ พ.. 2369 คาดว่าคงจะเสียชีวิตคราวคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) สู้กับไพร่พลลาวเวียงจันทน์ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ เมืองพิมาย นครราชสีมา
ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ระยะนั้นการปกครองหัวเมืองยังไม่เข้ารูปลักษณะการปกครองอย่างสมัยนี้ เจ้าเมืองสระบุรี ท่านผู้นี้คงจะเป็นลาวพุงดาเชื้อสายจากนครเวียงจันทน์ด้วย ทางการมีการแต่งชื่อเจ้าเมือง และกรมการเมืองใหม่กันอีก คือ เมืองลพบุรี เดิมนามว่า พระนครพราหมณ์ ตั้งใหม่เป็นพระยาสุจริตรักษาลพบุรานุรักพิทักษ์ทวีชาติภูมิ ตำแหน่งเจ้าเมือง ส่วนปลัดเมืองเดิมนามว่า ขุนบุรีราชรักษา ตั้งใหม่เป็นพระนครพราหมณ์ เมืองพระพุทธบาท (แก้วประศักเมืองปรันตปะ) เดิมนามว่า ขุนอนันตคีรี ตั้งใหม่เป็นหลวงสัจจภัณฑคิรี ศรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสีนพคูหาพนมโขลน เมืองสระบุรี เดิมนามว่า ขุนสรบุรีปลัด ตั้งใหม่เป็น พระสยามลาวบดีปลัด ตำแหน่งเจ้าเมือง
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลางโดยมีกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจาท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่า เป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการใน ท้องที่ต่าง ๆ เป็นการรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบ และเปลี่ยนระบบการปกครอง ประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้รวมอำนาจการปกครองเข้ามาอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลมิให้อำนาจการบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ..2435 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของการเทศาภิบาลซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดาเนินงานในส่วนภูมิภาค เป็นสื่อกลางระหว่างประชากรของประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลซึ่งอยู่ในราชธานี ให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ด้วย จึงแบ่งเขตการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวง กรม ในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้ สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจาทางานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย และรวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็นระบบการปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าการปกครองส่วนภูมิภาคส่วนมณฑลเทศาภิบาลนั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเอง เช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทาความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลที่ข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑล ดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเป็นมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลาดับดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือมณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี พ.. 2442 ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
เมืองสระบุรี จึงพอทราบได้ว่า ที่ตั้งตัวเมืองดั้งเดิม ตั้งอยู่บริเวณบึงหนองโง้ง ใกล้วัดจันทบุรี ตำบลศาลารีลาว ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ในปี พ.. 2433
ต่อมา เมื่อเปลี่ยนแปลงตัวเจ้าเมืองคนใหม่ ก็ย้ายที่ทาการเจ้าเมืองต่อไปอยู่ที่บ้านไผ่ล้อมน้อย ตามบ้านเรือนที่เจ้าเมืองสร้างอยู่อาศัย แต่ก็คงยังอยู่ในเขตอำเภอเสาไห้นั่นเอง ศาลากลางเมืองสระบุรียังคงอยู่ตรงนั้นเรื่อยมาตราบเท่าสิ้นเจ้าเมืองที่ทางมณฑลกรุงเก่าส่งมาปกครอง เพราะเมืองสระบุรีสมัยนั้น สมัยแบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมืองสระบุรีขึ้นอยู่กับมณฑลกรุงเก่า คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบัน
เจ้าเมืองคนใหม่ที่ทางมณฑลแต่งตั้งมาปกครองเมืองสระบุรีระหว่างที่ศาลากลางเมืองอยู่บ้านไผ่ล้อมน้อยนั้น คือ พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ดิศ) มาเป็นเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.. 2441 ถึง 2452
ท่านเจ้าคุณพิชัยฯ เป็นเจ้าเมืองสระบุรีไม่นานนัก ก็พอดีในปี พ.. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นมาถึงเมืองสระบุรี ท่านเจ้าคุณพิชัยเห็นว่าตัวเมืองเดิมที่เสาไห้นั้น อยู่ห่างไกลจากทางรถไฟ ภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันสมัยนั้น ยากแก่การขยายเมืองในอนาคต จึงได้ดำเนินการสร้างศาลากลางขึ้นใหม่ ณ บริเวณตำบลปากเพรียว การก่อสร้างได้ดำเนินการเรื่อยมาและสำเร็จสามารถโยกย้ายข้าราชการขึ้นทางานบนศาลากลางได้ ก็เข้าถึงเจ้าเมืองสระบุรีคนที่ 3 คือ พระยาบุรีสราธิการ (เป้า จารุเสถียร) บิดาของ จอมพลประภาส จารุเสถียร (ปี พ.. 2456-2457)
ศาลากลางหลังเก่าได้รับใช้ประชาชนเมืองสระบุรีมาจวบกระทั่งปี พ.. 2509 ทางการจึงใช้งบประมาณมาสร้างศาลากลางหลังใหม่ (ปัจจุบันนี้) ในสมัยของนายประพจน์ เรขะรุจิ ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (.. 2509-2513)
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1. การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้แต่ละจังหวัดมีอำนาจเท่าเทียมกันนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการจังหวัด นั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ในฐานะของคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น


ประวัติศาสตร์จังหวัดสิงห์บุรี
ตราประจำจังหวัด
 รูปอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันในวงกลม ขอบวงกลมเป็นแถบสีธงชาติ
คำขวัญประจำจังหวัด
ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง 

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้..." ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด ค้นพบโดยพระเจ้าแสนภูมิ
สมัยทวารวดี
พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี
เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอยกำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ
แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง 5 เมตร
สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้นได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
สมัยอยุธยา
ปรากฏเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง และทรงตั้งเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้ว เมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองหน้าด่านรายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา
ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็นเมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไปสืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกันก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา
ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพะสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพะสิมถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี)
พ.ศ. 2308 สมัยพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้กับพม่าที่บ้านบางระจันเมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฏชื่อ คือ
1.    พระอาจารย์ธรรมโชติ
2.    นายแท่น
3.    นายโชติ
4.    นายอิน
5.    นายเมือง
6.    นายทองแก้ว
7.    นายดอก
8.    นายจันหนวดเขี้ยว
9.    นายทองแสงใหญ่
10. นายทองเหม็น
11. ขุนสรรค์
12. พันเรือง
โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วีรชนบ้านบางระจัน)
สมัยธนบุรี
เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครกรุงธนบุรี
สมัยรัตนโกสินทร์
มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรีเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภออินทร์บุรีและอำเภอพรหมบุรีขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็น "อำเภอสิงห์" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน
ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์จังหวัดสุโขทัย

ตราประจำจังหวัด
  
 รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่น มนังคศิลาอาสน์
คำขวัญประจำจังหวัด
 มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
จากการศึกษาร่องรอยทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ ศิลาจารึก และตานานพงศาวดารท้องถิ่นหลายฉบับ ทำให้เข้าใจว่า ระยะก่อนปี พ.. 1671 นั้น ปรากฏว่าอำนาจของอาณาจักรเขมร รุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณปี พ.. 1600 เป็นต้นมา จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) อาณาจักรเขมรมีการปกครองแบบราชาธิปไตย กษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวาร โดยเมืองบริวารจะต้องส่งส่วยเป็นเครื่องราชบรรณาการให้แก่นครหลวง ขณะเดียวกับบางท้องถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตนเอง กลุ่มชนมีขนาดไม่ใหญ่โต ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับรับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ ปกครอง ไม่มีความซับซ้อนในการปกครองเพราะประชาชนยังมีน้อย บริเวณที่มีความสำคัญในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง คือ
1. บริเวณเมืองศรีเทพ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ซึ่งมีซากโบราณสถานเป็นปรางค์ที่สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ รวมทั้งเทวรูปศิลาหลายองค์ ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นศิลปกรรมแบบเขมร
2. บริเวณเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ซึ่งปรากฏมีโบราณสถานเป็นศิลปกรรมแบบเขมร ได้แก่ พระปรางค์วัดจุฬามณี ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลง
3. บริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นโบราณสถานที่เป็นศิลปกรรมแบบเขมร คือ พระปรางค์วัดเจ้าจันทร์ พระปรางค์ 3 องค์วัดพระพายหลวง ศาลตาผาแดงและฐาน พระปรางค์วัดศรีสวาย เมืองเก่าสุโขทัย เป็นต้น
สุโขทัยในฐานะที่เป็นแคว้นทางการปกครองอย่างเป็นเอกเทศ ได้ปรากฏรูปร่างขึ้นมาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อวีรบุรุษไทย 2 คน คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง สหายทั้ง 2 ท่าน ได้ร่วมมือกันยึดเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยคืนมาจากข้าศึกที่ชื่อว่าขอมสบาดโขลญลำพง
เมืองสุโขทัยเดิม พญาศรีนาวนำถม เป็นเจ้าเมืองครองอยู่ แต่ครั้นเมื่อพญาศรีนาวนำถมถึงแก่กรรมลง ได้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้น โดยต้องตกอยู่ในอำนาจปกครองของขอมสบาดโขลญลำพง ดังนั้นพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นโอรส จึงได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวยึดอำนาจคืน สาหรับพ่อขุนผาเมืองนั้นนอกจากเป็นโอรสของเจ้าเมืองสุโขทัยเก่า และเป็นเจ้าเมืองราดแล้ว ยังดารงฐานะเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมรและได้รับมอบนามเกียรติยศ คือศรีอินทราบดินทราทิตย์กับพระขรรค์ชัยศรีจากกษัตริย์เขมรด้วย
เมื่อทั้งสองยึดเมืองศรีสัชนาลัยกับสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองจึงได้มอบเมืองสุโขทัยให้สหายตนครอบครอง พร้อมทั้งนามเกียรติยศตนให้แก่สหาย ส่วนตัวเองกลับไปครองเมืองราดเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงได้เป็นที่รู้จักกันภายหลังในนามว่าศรีอินทราบดินทราทิตย์หรือศรีอินทราทิตย์” 

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครอบครองสุโขทัยเป็นศูนย์กลางมีอำนาจอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำปิงตอนล่าง ทรงมีโอรสที่ปรากฏนามอยู่สองพระองค์ คือ พ่อขุนบานเมืองผู้พี่และพ่อขุนรามราชผู้น้อง
ในขณะนั้นบ้านเมืองยังอยู่ในความไม่สงบ ยังมีผู้นำของกลุ่มชนอิสระอยู่อีกหลายกลุ่มที่คิดจะตั้งตัวเป็นใหญ่ ดังนั้น ในการรวบรวมกลุ่มชนต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันจึงต้องมีการทำสงครามต่อสู้กัน ดังเช่นครั้งหนึ่งเมื่อพ่อขุนรามราช อายุได้ 19 ปี ประมาณปี พ.. 1800 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตปกครองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครั้งนั้นพ่อขุนรามราชได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบด้วย และสามารถชนช้างชนะขุนสามชนได้ พ่อขุนศรอินทราทิตย์จึงให้นาม พ่อขุนรามราชว่าพระรามคำแหง
เมื่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่อยู่ในช่วงระยะสั้นๆ ไม่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ในปี พ.. 1822 พ่อขุนรามคำแหง จึงได้ครองราชย์ต่อมาและได้ทรงเป็นมหาราชย์พระองค์แรกของชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าในรัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วง ราชอาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง
ทิศเหนือ อาณาเขตถึงเมืองหลวงพระบาง โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองปัว
ทิศใต้ อาณาเขตถึงฝั่งทะเลสุดเขตมาลายู โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ เมืองคนที เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันออก อาณาเขตถึงเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงคำ โดยมีเมืองสระหลวง เมืองสองแคว เมืองลุมบาจาย และเมืองสคา
ทิศตะวันตก อาณาเขตถึงเมืองฉอดและเมืองหงสาวดี
ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บ้านเมืองอยู่อย่างสงบ มีความร่มเย็นเป็นสุขดังที่ปรากฏในศิลาจารึกว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าวการพาณิชย์เจริญก้าวหน้า พระองค์ได้ทรงวางระเบียบปกครองบ้านเมือง ทั้งยังประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.. 1826 กับทั้งทรงดูแลการเพิ่มผลผลิตของประชากรเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาณาจักร
พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พญาเลอไท ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ในขณะที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชครองราชสมบัติอยู่ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตในราว พ.. 1842 เมืองต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย ได้แตกแยกกันออกเป็นอิสระ ทาให้เสถียรภาพของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะที่คับขัน กษัตริย์ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พญาไสสงคราม การที่เมืองต่าง ๆ พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ รวมทั้งเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวงพยายามแยกตัวออกไป แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่เกิดความยุ่งยากในราชวงศ์ก็ขึ้นอยู่กับการปกครองเป็นสำคัญ เพราะการปกครองในสมัยนั้นเป็นแบบนครรัฐ คือแต่ละเมืองก็มีผู้ปกครองนครเป็นอิสระ เข้ามารวมกันได้ก็เพราะศรัทธากษัตริย์องค์เดียวกันเท่านั้น
หลังจากรัชกาลของพญาไสสงครามแล้ว พญาเลอไทได้ครองราชสมบัติต่อมาราว พ.. 1866 ซึ่งน่าจะต้องดำเนินนโยบายในการพยายามรวบรวมอาณาจักรเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 18 ปี ที่พระองค์ครองราชสมบัติอยู่นั้นไม่มีรายละเอียดปรากฏอยู่มากนัก พระองค์สวรรคตราวปี พ.. 1884
ต่อมารัชกาลพญาเลอไท มีกษัทตริย์ที่ออกพระนามในศิลาจารึกพระองค์หนึ่งคือ พญางัวนำถม ในฐานะพระอนุชาแต่เป็นโอรสของพ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองเมืองสุโขทัยและได้โปรดให้พญา ลิไท ผู้เป็นโอรสของพญาเลอไทไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะอุปราชครองเมืองลูกหลวง เมื่อ พญางัวนำถมสวรรคตในราว พ.. 1890 เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในราชสำนักกรุงสุโขทัยที่ไม่ชอบตามขนบธรรมเนียม บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ แสดงตัวอย่างเปิดเผยถึงการดำรงอยู่อย่างอิสระ ไม่ยอมขึ้นกับส่วนกลาง พญาลิไทจึงลอบเสด็จยกทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยใช้กำลังเข้ายึดเมืองไว้ได้ แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์กรุงสุโขทัย ทรงพระนามว่าศรีสุริพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชเมื่อครอง กรุงสุโขทัยแล้วทรงปราบปรามเจ้าเมืองต่าง ๆ ภายในแคว้น แล้วแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไว้วาง พระราชหฤทัย ไปปกครองรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ กรุงสุโขทัย บ้านเมืองจึงอยู่ด้วยความสงบเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
ตามศิลาจารึกหลักสามที่พบที่วัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย ได้กล่าวถึงชื่อนี้ว่า น่าจะเป็นกษัตริย์ที่คั่นระหว่างพ่อขุนรามคาแหงมหาราช กับ พญาเลอไท
ความพยายามของพระมหาธรรมราชชาลิไท ภายหลังขึ้นครองราชสมบัติแล้ว คือ ความ มุ่งหวังที่จะรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกกันออกไปให้กลับเข้ามารวมในอาณาจักรเดียวกันอีกและมีความหวังว่าจะให้มีอาณาเขตใหญ่โตเท่ากับสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราชจนถึงกับเสด็จไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่และกระทากิจทางศาสนา ซึ่งขณะเดียวกันก็แสดงให้เมืองต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปเห็นว่า พระองค์มีแสนยานุภาพและมีพระราชอำนาจเต็มในกิจการต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ เช่นในปี พ.. 1902 พระองค์เสด็จยกทัพไปตีเมืองแพร่ กวาดต้อนครัวเรือนมาเป็นข้าพระที่วัดป่าแดง ศรีสัชนาลัย และในปีนั้นก็ได้ประดิษฐ์รอยพระพุทธบาทจาลองที่เขาสุมนกูฎ เมืองสุโขทัย
ในฐานะผู้ครอบครองแคว้นสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงพยายามดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ เป็นทั้งนักปราชญ์ผู้สนพระทัยในทางศาสนาโดยให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ ที่พระองค์ต้องการเป็นพันธมิตรด้วย เช่น เมืองน่าน หลวงพระบาง และกรุงศรีอยุธยา แต่ขณะเดียวกันก็ได้แสดงบทบาทของการเป็นนักรบที่พยายามขยายอำนาจของแคว้นสุโขทัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในสมัยของพระองค์ นอกจากจะได้ยกทัพไปตีเมืองแพร่ทางทิศเหนือแล้ว ทางทิศตะวันออก ได้พยายามขยายขอบเขตออกไปถึงเมืองลุ่มแม่น้ำป่าสัก จากบทบาทการเป็นนักรบของพระองค์ที่ขยายพระราชอำนาจไปยังเมือง ลุ่มน้ำป่าสักนี้เอง ทาให้กระทบกระทั่งกับกรุงศรีอยุธยา ที่มีความเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองแถบนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จึงเสด็จลอบยกทัพมายึดเมืองสองแควไว้ได้ และได้โปรดให้ขุนหลวงพ่องั่ว พระเชษฐาของพระมเหสี ซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรี มาปกครองเมืองสองแคว ทาให้พระมหาธรรมราชาลิไท ต้องถวายบรรณาการเป็นอันมาก ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงทรงมอบเมืองสองแควคืืน และโปรดให้ขุนหลวงพ่องั่วไปครองเมืองสุพรรณบุรีดังเดิม
นการคืนเมืองสองแควนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงตั้งเงื่อนไขว่าพระมหาธรรมราชา ลิไท ต้องเสด็จไปประทับที่เมืองสองแคว จึงเป็นเหตุให้แคว้นสุโขทัยที่เริ่มจะรวมตัวกันได้ต้องสั่นคลอน เมื่อพระมหาธรรมราชาลิไทเสด็จไปประทับอยู่เมืองสองแควได้โปรดให้พระอนุชาปกครองเมืองสุโขทัยแทน
ในปี พ.. 1912 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สวรรตค สมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อพระมหาธรรมราชาลิไททรงทราบ จึงคาดสถานการณ์ว่า ทางกรุงศรีอยุธยาคงต้องมีเหตุไม่เรียบร้อยขึ้นแน่ พระองค์จึงรวบรวมพลจากเมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุโขทัยที่เจ้าเมืองยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์ เสด็จยกพลมายังกรุงสุโขทัย การเสด็จกลับคืนสุโขทัยในครั้งนี้ หลังจากที่ต้องทรงประทับอยู่ที่สองแควถึง 7 ปี จึงเป็นการเตรียมการที่จะใช้ตำแหน่งของเจ้าเมืองสุโขทัยอันเป็นบัลลังก์ที่บรรพบุรุษของพระองค์ได้สั่งสมอำนาจไว้นั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการระดมกำลังก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยให้มีฐานะมั่นคงสืบไป พระองค์ทรงเริ่มบทบาทโดยการเป็นพันธมิตรกับแคว้นล้านนาซึ่งขณะนั้นมีเจ้ากือนา เป็นกษัตริย์ปกครอง โดยพระองค์ได้ส่งตระสุมนะเถระเป็นสมณะทูตขึ้นไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เมืองเชียงใหม่
ในปี พ.. 1913 ขุนหลวงพ่องั่วซึ่งขึ้นครองเมืองสุพรรณบุรี ได้เห็นความเคลื่อนไหวของพระมหาธรรมราชาลิไทที่กรุงสุโขทัย พระองค์จึงเข้ายึดอำนาจกรุงศรีอยุธยาด้วยความยินยอมของสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งได้ทรงกลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม ขุนหลวงพ่องั่วเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1"
พระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จสวรรคตเมื่อปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอยู่ในระหว่าง พ.. 1913-1916 หลังจากนั้นอาณาจักรสุโขทัยเกิดความแตกแยก เนื่องจากขาดผู้นำอาณาจักรที่เป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้องครองเมืองต่าง ๆ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงเสด็จขึ้นมายึดอาณาจักรสุโขทัยได้ทั้งหมด หากแต่ยังโปรดให้เชื้อพระวงศ์ทางสุโขทัยปกครองตนเอง โดยขึ้นตรงกับอาณาจักรอยุธยา คือ พระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งในสมัยของพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างอาณาจักรเชียงใหม่กับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งต่างก็แสดงความเคลื่อนไหวในการที่จะผนวกเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยตลอดเวลา ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว) พระองค์ทรงเกรงว่าอาณาจักรสุโขทัยจะมีไมตรีกับอาณาจักรเชียงใหม่ เพราะหากทั้งสองอาณาจักรร่วมมือกันแล้วจะทำให้อาณาจักรอยุธยาอยู่ในฐานะลาบาก จึงทรงยกทัพมาปราบปรามหัวเมืองชายแดนที่ติดต่อกับอาณาเขตของสุโขทัย และหาเหตุเข้าโจมตีเมือง ในอาณาจักรสุโขทัยด้วย ตามพงศาวดารอยุธยากล่าวว่า
.. 1914 สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) มีชัยชนะต่อหัวเมืองเหนือทั้งปวง
.. 1915 อยุธยายกทัพไปตีเมืองนครพังคา และเมืองแสงเชรา
.. 1916 อยุธยายกทัพไปตีเมืองชากังราว พญาไสแก้ว กับ พญาคำแหง สู้รบป้องกันเมืองจนพญาไสแก้วเสียชีวิตในที่รบ พญาคำแหงถอยทัพกลับเข้าเมืองได้
.. 1918 อยุธยายกทัพไปตีเมืองพิษณุโลก ขุนสามแก้ว เจ้าเมืองพิษณุโลกถูกจับได้ ทัพอยุธยาได้เมืองและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองพิษณุโลกกลับมามาก
.. 1919 อยุธยายกกองทัพไปตีเมืองชากังราว ครั้งที่สอง คราวนี้กองทัพพญาผากองเจ้าเมืองน่านมาช่วยรบร่วมกับพญาคำแหงด้วย แต่ก็ไม่สามารถสู้กองทัพอยุธยาได้ พญาผากองยกกองทัพหนีไป กองทัพอยุธยาตามจับตัวแม่ทัพนายกองได้มาก
.. 1921 อยุธยายกกองทัพไปตีเมืองชากังราว เป็นครั้งที่ 3 พระมหาธรรมราชา ยกกองทัพออกมาป้องกันเมืองด้วยพระองค์เอง แต่ก็ต้องยอมพ่ายแพ้แก่กองทัพอยุธยาจนถึงกับต้องยอมถวายบังคมอ่อนน้อมต่ออาณาจักรอยุธยา
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 2 ยอมถวายบังคมต่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งอยุธยาแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัยยิ่งลดน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้เพราะถูกอาณาจักรอยุธยาจำกัดอำนาจลง กับรวมทั้งการที่กษัตริย์สุโขทัยย้ายที่ประทับอยู่ที่เมืองสองแควด้วย
พระมหาธรรมราชาที่ 2 สวรรคตราว พ.. 1942 และพญาไสลือไทขึ้นครองราชสมบัติ ต่อมาทรงพระนามว่า "พระมหาธรรมราชาที่ 3" อาจกล่าวได้ว่าภายหลังที่ทางอาณาจักรอยุธยาตัดกำลังหัวเมืองต่าง ๆ ของสุโขทัยลงแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองของอาณาจักรสุโขทัยก็ทรุดลงและยากที่จะแก้ไขให้มั่นคงขึ้นได้ เนื่องจากอาณาจักรอยุธยาสามารถขยายตัวออกไปได้อย่างกว้างขวาง แต่ถึงกระนั้น พระมหาธรรมราชาที่ 3 ก็ได้ทรงกู้เสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัย โดยได้ยกกองทัพออกไปปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ให้อยู่ในอำนาจแม้จะไม่ได้มากเท่ากับครั้งพญาลิไทก็ตาม แต่พระองค์ก็ได้ทำสงครามหลายครั้งรวมทั้งเคยยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.. 1945 ด้วย ซึ่งแม้จะไม่ได้ผลทางชัยชนะเลยก็ตาม แต่เป็นการแสดงถึงความพยายามในการสร้างอาณาจักรให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นกว่าการเป็นรัฐกันชนขนาดเล็กที่อาจถูกผนวกเข้าไปอยู่กับดินแดนของอาณาจักรหนึ่งได้
พญาไสลือไท ทรงมีพระราชโอรสสองพระองค์ คือ พญาบาล และพญาราม หลังจากที่พญาไสลือไทเสด็จสวรรคต ในปี พ.. 1962 ก็เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (พระอินทราชาธิราช) กษัตริย์อยุธยาต้องยกทัพมาปราบจลาจลโดยยกทัพไปถึงพระบาง (นครสวรรค์) พญาบาล และพญาราม ต้องออกมากราบบังคมต่อสมเด็จพระนครินทราชาธิราช สมเด็จพระนครินทราชาธิราชจึงโปรดให้สถาปนาพญาบาลครองเมืองพิษณุโลก ทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช และพญาราม โปรดเกล้าให้ครองเมืองสุโขทัย
พระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลครองราชสมบัติอยู่ 19 ปี จึงเสด็จสวรรคตในปี พ.. 1981 การสวรรคตของพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาล (พระมหาธรรมราชาที่ 4) นักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคอาณาจักรสุโขทัยด้วย
เมื่อพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาล สวรรคต สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จึงโปรดให้สถาปนาพระราเมศวรราชโอรส ซึ่งประสูตรจากเจ้าหญิงสุโขทัยพระองค์หนึ่ง ซึ่งขณะนั้นมี พระชนมายุเพียง 7 พรรษา เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองสองแคว ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่าเป็นพระราชโอรสที่มีเชื้อสายทางเจ้านายฝ่ายสุโขทัย คงจะเข้ากับทางราชวงศ์สุโขทัยได้ดีและเท่ากับเป็นการผนวกดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยในตัวไปด้วย
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เสด็จสวรรคตเมื่อปี 1991 พระราเมศวรอุปราช จึงเสด็จจากเมืองสองแควไปครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่วนที่เมืองสองแควโปรดให้พระยุษธิฐิระ โอรสของพญารามเป็นเจ้าเมือง แต่ก็ทรงรวมอำนาจจากการบริหารราชการแผ่นดินเข้าสู่ส่วนกลางที่กรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพระยุษธิฐิระ ไม่พอใจอย่างมากที่เป็นเพียงเจ้าเมืองสองแคว จึงหันไปผูกมิตรกับพระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อระหว่างอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรเชียงใหม่ ตลอดรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มหัวเมืองเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเสด็จขึ้นครองเมืองสองแคว และโปรดให้พระอินทราชาครองกรุงศรีอยุธยาแทนพระองค์ ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในอาณาจักรสุโขทัยเดิมเสียใหม่ คือ
1. เมืองที่อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นเอก คือ เมืองสองแคว
2. เมืองที่อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นโท คือ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองชากังราว และเมืองเพชรบูรณ์
3. เมืองที่อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ เมืองพิชัย เมืองสระหลวง และเมืองพระบาง
จะเห็นได้ว่าในบรรดาหัวเมืองในอาณาจักรสุโขทัยเดิม เมืองสองแควนับว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด ขณะเดียวกันเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นโทได้ลดความสำคัญลง
เมืองสุโขทัยคงมีประชาชนอาศัยอยู่สืบมา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา แต่อยู่ในฐานะที่ต้องส่งส่วยอากรและผลผลิตให้แก่อยุธยาบ้าง เก็บผลประโยชน์ให้พม่าบ้าง ตามเหตุการณ์ของสงคราม จวบจนกระทั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.. 2127 พระองค์ได้โปรดให้กวาดต้อนคนจากหัวเมืองเหนือลงไปไว้เมืองอยุธยาทั้งหมด เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีกาลังน้อย และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้พม่าใช้กำลังจากหัวเมืองเหนือเป็นฐานในการสนับสนุนส่งกำลังบำรุง ทำให้สุโขทัยต้องกลายเป็นเมืองอ่อนกาลังลง
การที่สุโขทัยอ่อนกำลังลงเช่นนี้ เป็นผลให้บรรดาสิ่งก่อสร้าง ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม คูเมือง กาแพงเมือง และระบบชลประทานต่าง ๆ ถูกภัยธรรมชาติทาลายให้เสียหาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นว่าศิลปโบราณวัตถุทางศาสนา เช่น เทวรูป และพุทธรูปที่งดงามถูกทอดทิ้ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายประติมากรรมล้ำค่าเหล่านั้น ไปประดิษฐานตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ศิลปกรรมของเมืองสุโขทัยส่วนหนึ่ง จึงเก็บรักษาอยู่ในกรุงเทพมหานครสืบมาจนกระทั่งบัดนี้ สิ่งที่เหลือเป็นอนุสรณ์ของความยิ่งใหญ่ของเมืองในอดีตมีเพียงแต่ซากของสถาปัตยกรรมที่ปรักหักพังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
สภาพการปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็นระยะที่สำคัญ ดังนี้.-
ระยะที่ 1 ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย (ก่อนปี พ.. 1761)
ในระยะก่อนปี พ.. 1761 อำนาจของอาณาจักรเขมรรุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เขมรมีการปกครองแบบราชาธิปไตย กษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวาร โดยเมืองบริวารจะส่งส่วยเป็นบรรณาการให้แก่พระนครหลวง ขณะเดียวกันบางท้องถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตัวเองแบบนครรัฐ กลุ่มชนคงไม่ใหญ่โต ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ปกครอง บริเวณที่มีความสำคัญได้แก่ เมืองศรีเทพ บริเวณวัดจุฬามณี และบริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย
ระยะที่ 2 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนต้น (.. 17611921)
การปกครองในยุคนี้วางรากฐานลงแบบการปกครองครัวเรือน จุดเริ่มต้นเริ่มที่พ่อครัวทำหน้าที่ปกครอง ครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันเป็นเรือนหัวหน้าก็คือพ่อเรือนหลาย ๆ เรือนรวมกันเป็นหมู่บ้าน มีหัวหน้าเรียกว่าพ่อบ้านหลาย ๆ หมู่บ้านรวมกันเรียกว่าเมืองหัวหน้าคือพ่อเมืองและพ่อขุน คือ ผู้ปกครองประเทศ หรือผู้ปกครองทุกเมืองนั่นเอง
แม้ว่าอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดจะรวมอยู่ที่พ่อขุนเพียงคนเดียว แต่ด้วยการจาลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง พ่อขุนจึงปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร คือ ถือตนเป็นพ่อของราษฎร พ่อขุนเกือบทุกพระองค์ใช้อำนาจในลักษณะให้ความเมตตาและเสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร
อาณาเขตของสุโขทัย ในแผ่นดินสุโขทัยกว้างขวางใหญ่โตมาก
ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "… มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออกรอด สระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคาเท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตกรอด เมืองฉอด เมืองหงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพร่ เมืองมาน เมืองพลัว พ้นฝั่งของ เมืองชวา…" นักประวัติศาสตร์ทั่วไปเชื่อว่า สุโขทัย เป็นราชธานีแห่งแรกของชาวไทยในแหลมอินโดจีนตอนกลาง และลักษณะการปกครองหัวเมืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ล้อมรอบธานี ทั้ง 4 ด้าน คือ ศรีสัชนาลัย (ด้านหน้า) สองแคว (ด้านตะวันออก) สระหลวง (ด้านใต้) และซากังราว (ด้านตะวันตก) การปกครองหัวเมืองชั้นในนั้นขึ้นอยู่กับสุโขทัยโดยตรง
2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานคร ที่มีผู้ดูแลโดยตรงแต่ขึ้นอยู่กับสุโขทัยในรูปลักษณะของการสวามิภักดิ์ในฐานะเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองออก หัวเมืองชั้นนอกมี แพรก อู่ทอง ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์ และศรีเทพ
3. เมืองประเทศราช ได้แก่เมืองที่เป็นชาวต่างภาษา มีกษัตริย์ปกครองขึ้นกับสุโขทัย ในฐานะประเทศราช มี นครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน เซ่า เวียงจันทน์และเวียงคำ
ระยะที่ 3 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนปลาย (.. 19211981)
ในปี พ.. 1921 ซึ่งตรงกับสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ของอาณาจักรสุโขทัย ได้ยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองของอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบที่เมืองชากังราวที่พระมหาธรรมราชาออกถวายบังคมต่อพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา การเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นครั้งนี้ที่สำคัญคือ การที่อยุธยาพยายามทำลายศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย คือ แบ่งแยกอาณาจักรสุโขทัยเป็น 2 ส่วนคือ.-
1. บริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ให้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสองแคว ให้กษัตริย์ของสุโขทัยปกครองต่อไป และอยู่ในอำนาจของอยุธยาในฐานะประเทศราช
2. บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ให้มีศูนย์กลางที่เมืองชากังราว และขึ้นตรงต่ออยุธยา
ขณะเดียวกันอยุธยาก็พยายามผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาและประสบความสำเร็จในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) สำหรับลักษณะการปกครองที่ปรากฏในระยะนี้ เป็นแบบผสมระหว่างสุโขทัย และรับอิทธิพลการปกครองแบบราชาธิปไตยของอยุธยาเข้าไปใช้ด้วย ในระยะนี้นับว่าเมืองสองแควมีความสำคัญที่สุดขณะเดียวกันเมืองสุโขทัยเก่าก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญลง
ระยะที่ 4 ยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (.. 19812437)
ในยุคนี้ แนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งพวกเขมรเป็น ผู้นำมาโดยถือว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ หรือเป็นพระเจ้าบนมนุษย์โลก ลักษณะการ ปกครองจึงเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือเจ้าปกครองข้า
ในสมัยพระบรมรามาธิบดีที่ 1 ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางแบบจตุสดมภ์ตามแบบของขอม มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลังและขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการมีหน้าที่ดังนี้.-
1. เมือง รับผิดชอบด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และปราบปรามโจรผู้ร้าย
2. วัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสานัก และตัดสินคดีความต่าง ๆ
3. คลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับด้านคลัง การค้าและภาษีอากรประเภทต่าง ๆ
4. นา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการเกษตร
สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองต่าง ๆ ในระยะแรกพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลียนแบบการปกครองของสุโขทัย คือ มีหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช แต่ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทำการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ให้มีลักษณะการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวงมากขึ้น โดยขยายอาณาเขตให้หัวเมืองชั้นในกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม หัวเมืองชั้นนอกกำหนดเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ ตามขนาดและความสำคัญของเมือง โดยทางส่วนกลางจะส่งขุนนาง หรือพระราชวงศ์ไปทำการปกครองแต่สำหรับเมืองประเทศราชยังปล่อยให้มีอิสระในการปกครองเช่นเดิม นอกจากนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงปรับปรุงระบบบริหารขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือน บริหาร กิจการเกี่ยวกับ เมือง วัง คลัง และนา และมีสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหารและการป้องกันประเทศ แต่ภายหลังในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราว พ.. 2234 ทั้งสมุหนายกและสมุหกลาโหม ต้องทางานทั้งด้านทหารและพลเรือนพร้อมกัน โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายก ปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (.. 19812437) ฐานะของเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัย เดิมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและความสำคัญของเมือง คือ.-
1. หัวเมืองชั้นเอก ได้แก่ เมืองสองแคว
2. หัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองสวรรคโลก (ในสมัยสุโขทัยเรียกว่าเมืองศรีสัชนาลัย”) เมืองสุโขทัย เมืองชากังราว และเมืองเพชรบูรณ์
3. หัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ เมืองพิชัย เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์)
ระยะที่ 5 ยุคการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (.. 24372476)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยได้ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม รวมทั้งจตุสดมภ์ด้วย ได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดี เป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง
หลังจากจัดหน่วยบริหารส่วนกลางโดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็จัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำ ท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ ปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้นการปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่ง ที่ส่วนกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไป บริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ โดยได้แบ่งการปกครองประเทศ เป็นขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับไป คือ เป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง ถัดจากมณฑล คือ เมือง (สมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าจังหวัด) มีเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นผู้ปกครอง เมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ มีนายอำเภอ เป็นผู้ปกครอง ทั้งสามส่วนนี้ปกครองโดยข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย อำเภอนั้นแบ่งออกเป็นตำบล มีกำนัน ซึ่งเป็นผู้ที่ผู้ใหญ่บ้านเลือกเป็นผู้ปกครอง ตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้ปกครอง
ใน ปี พ.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา
มณฑลพิษณุโลก (เมืองที่อยู่ในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองพิจิตร เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก) และทรงโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งเคยขึ้นกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2493 ได้รวมหัวเมือง มณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมาลายูตะวันออก เป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่ 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี (มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด)
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
ระยะที่ 6 ยุคปัจจุบัน (หลัง พ.. 2475)
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกเนื่องจาก
1. การคมนาคม สื่อสาร สะดวกรวดเร็วกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช่จ่ายในการปกครองประเทศ
3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑล รายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อานาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน อีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนไปจากเดิมดังนี้.-
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ในฐานะของกรมการจังหวัด ซึ่งเดิมเป็นผู้มีอานาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายมาเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น จังหวัด และอำเภอ
กล่าวโดยสรุป การปกครองส่วนภูมิภาคในปัจจุบันอาศัยกฎหมาย 2 ฉบับเป็นแม่บทคือ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2457 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งกำหนดรูปแบบของหน่วยบริหารขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

No comments:

Post a Comment