จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ต,น-ต่อ)



ประวัติศาสตร์จังหวัดตาก
ตราประจำจังหวัด


รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้าง
คำขวัญประจำจังหวัด
ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
ตากเป็นเมืองที่สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองเดิมตั้งอยู่บนดอยเล็ก ๆ ลูกหนึ่ง อยู่เหนือที่ว่าการอำเภอบ้านตากในปัจจุบันนี้ไปประมาณ 4 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงไปทางทิศตะวันตก 400 เมตร ที่หมู่บ้านท่าพระธาตุ ตำบลเกาะตะเภา  อำเภอบ้านตาก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า เดิมเป็นเมืองที่พวกมอญมาสร้างขึ้นไว้ เพราะอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงและอยู่ตรงปากน้ำวังทางไปเมืองนครลำปางออกลำน้ำปิง เป็นเส้นทางสำคัญในทางคมนาคมในสมัยนั้น แต่เนื่องจากยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจโดยละเอียด และกรมศิลปากรก็ยังไม่เคยทำการขุดค้น จึงไม่ปรากฏร่องรอยในทางโบราณคดีอันจะแสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองของมอญแต่อย่างใด
แต่มีข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า ถ้าเมืองตากเป็นเมืองที่พวกมอญมาสร้างไว้จริง ก็เป็นเรื่องก่อนสมัยกรุงสุโขทัย เพราะปรากฏว่าในปี พ.. 1800 มอญก็มิได้ครอบครองเมืองนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าเมื่อพ่อขุนบางกลางท่าวและพ่อขุนผาเมืองยึดอำนาจจากขอมและประกาศตั้งกรุงสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ เมืองต่าง ๆ ที่มีคนไทยเป็นเจ้าเมืองก็ยอมรวมกับอาณาจักรสุโขทัยทั้งหมด และโดยเฉพาะเมืองตากนี้ปรากฏว่า ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยแต่โดยดีตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นเมืองที่มีชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ไทยปกครองอยู่ เห็นจะไม่ยินยอมร่วมมือกันโดยง่ายดายเช่นนั้น
นอกจากนี้ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงความสำคัญของเมืองตากว่า เดิมเคยเป็นเมืองราชธานีของแคว้นเหนือมาก่อน ต่อมาในสมัยพระยากาฬวรรณดิส ได้ย้ายจากเมืองตากไปครองเมืองละโว้แทน เมืองตากจาถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง ต่อมาเมื่อพระนางจามเทวี เสด็จขึ้นไปครองเมืองหริภุญไชย (ปัจจุบันเขียน หริภุญชัย) ในราว พ.. 1200 พระนางได้บูรณะเมืองตากขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงน่าที่จะช่วยยืนยันว่าเมืองตากเป็นเมืองที่มีมาก่อนสมัยกรุงสุโขทัยได้อีกทางหนึ่ง

สมัยกรุงสุโขทัย
หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ เมื่อ พ.. 1800 จากนั้น ในราว พ.. 1805 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองตากขึ้น ครั้งหนึ่งคือ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (อยู่ในอำเภอแม่สอดปัจจุบัน) ยกทัพมาตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพมาช่วยป้องกันเมืองตากและได้ปะทะกันที่เชิงดอย นอกเมืองตากออกไปประมาณสักกิโลเมตรเศษ แต่เนื่องจากภูมิประเทศของเมืองตากเป็นป่าเขาโดยมาก การซุ่มซ่อนพลจึงกระทำได้อย่างสะดวกสบาย ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคาแหงว่า เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ต้อนพลเข้าไปทางซ้ายเพื่อหวังจะโอบล้อมกองทัพของขุนสามชน แต่ขุนสามชนคงรู้ทีจึงขับพลเลี่ยงเข้ามาทางขวาเข้าโอบล้อมกองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสียก่อน ไพร่พลในกองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่นึกว่าเหตุการณ์จะกลับตรงกันข้ามเช่นนั้น ก็เสียกำลังใจถอยร่นลงมา ขณะนั้นราชโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ได้ติดตามมาด้วยเห็นว่าถ้าขืนปล่อยให้ไพร่พลในกองทัพถอยร่นลงมาเรื่อยเช่นนั้น ผลสุดท้ายต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน จึงทรงขับช้างต้อนพลให้เข้าต่อตีกองทัพของขุนสามชนอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงไสช้างบุกเข้าไปจนถึงตัวขุนสามชน ซึ่งกำลังต้อนพลรุกไล่กองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เข้ามา พ่อขุนรามคำแหงทรงปะทะช้างกับขุนสามชนจนได้กระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้ก็พ่ายหนีไป เมืองตากจึงรอดพ้นจากการรุกรานของ ขุนสามชน และตลอดสมัยของกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏในศิลาจารึกหรือจดหมายใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองตากนี้อีกเลย
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการชนช้างคราวนี้ จึงได้มีการสร้างพระเจดีย์แบบสุโขทัย ซึ่งเรียกว่า พระปรางค์ขึ้น สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าก่อสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย ขนาดพระปรางค์สูงตลอดยอดประมาณ 10 วา แต่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง

สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เกี่ยวกับเมืองตาก จนกระทั่งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ปรากฏว่า ทางประเทศพม่ามีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์องค์นี้ทรงมีอุปนิสัยกล้าหาญ พอพระราชหฤทัยในการทำศึกสงคราม และได้คู่คิดการสงครามพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ทรงพระนามว่าบุเรงนอง ทั้งสองพระองค์นี้ทรงคิดตระเตรียมกำลังที่จะทำสงครามแผ่อาณาจักรให้กว้างขวาง ทรงยกกองทัพไปปราบปรามได้รามัญประเทศและไทยใหญ่ไว้ในอำนาจทั้งสิ้น ครั้นทรงทราบข่าวว่าเกิดจลาจลในกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากการผลัดแผ่นดินใหม่ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ทรงเห็นเป็นทีว่าจะตีเอากรุงศรีอยุธยามาไว้เป็นเมืองขึ้นอีกประเทศหนึ่งได้โดยง่าย จึงโปรดให้กะเกณฑ์กองทัพมาตั้งประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ แล้วเสด็จเป็นจอมทัพยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ หมายจะตีเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น แต่เมื่อยกกองทัพมาถึงชานพระนครแล้ว ก็ไม่สามารถจะตีหักเข้าไปได้ ครั้นได้ข่าวว่ามีกองทัพไทยยกลงมาจากหัวเมือง ฝ่ายเหนือจะมาตีกระหนาบก็ตกพระทัยจะเลิกทัพกลับไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นทางที่ยกเข้ามาแต่เดิมนั้น ก็ทรงเห็นว่าหัวเมืองรายทางที่ผ่านมานั้นยับเยินหมด จะหาเสบียงอาหารเลี้ยงกองทัพได้ยากจึงโปรดให้ยกทัพขึ้นไปทางข้างเหนือ เดินทัพไปออกทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก เพราะทรงเห็นว่ากองทัพของพระองค์มีกำลังมากกว่ากองทัพไทยหลายเท่า คงจะตีหักออกไปได้โดยไม่ยากลำบากเท่าใดนัก แต่กองทัพพม่าก็ถูกกองทัพของพระราเมศวร ราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระมหาธรรมราชาราชบุตรเขยติดตามตีไปทั้งสองทางและฆ่าฟันรี้พลพม่าล้มตายเป็นอันมาก แต่ผลสุดท้ายพม่าวางกลอุบายล้อมจับได้ทั้งพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องยอมหย่าทัพ เอาช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปอันเป็นช้างชนะงา ถวายตอบแทนพระเจ้าหงสาวดีแลกเอาพระมหาธรรมราชากับพระราเมศวรกลับมา และปล่อยให้กองทัพของพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ยกกลับไปได้โดยสะดวก
ก่อนที่จะกล่าวถึงเหตุการณ์ต่อไป จะขอกล่าวถึงทางคมนาคมที่ติดต่อกันในระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย ซึ่งมีมาแต่ในสมัยโบราณเสียก่อน เพื่อจะได้เข้าใจภูมิประเทศของจังหวัดตากดีขึ้น คือแต่เดิมมีทางคมนาคมสำหรับไปมา ในระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าอยู่ 2 ทาง โดยมีทางมาร่วมกันที่เมืองเมาะตะมะ ผู้ที่สัญจรไปมาหรือแม้แต่กองทัพก็ต้องเดินตามทางคมนาคมทั้งสองนี้ มิฉะนั้นจะเดินทางไม่สะดวกเพราะต้องข้ามเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นเขาเขื่อนกั้นขวางหน้าอยู่ทางคมนาคมทั้งสองทางนี้ คือสายเหนือออกจากเมืองเมาะตะมะขึ้นไปทางแม่น้ำจนถึงบ้านตะพู (เมืองแกรง) แล้ว เดินบกมาข้ามแม่น้ำกลีบ แม่น้ำเม้ย (คือแม่น้ำเมย ที่กั้นแดนประเทศไทยกับประเทศพม่า ที่อำเภอแม่สอดทุกวันนี้) แม่น้ำแม่สอด ผ่านเข้ามาทางด่านแม่ละเมา มาลงท่า แม่น้ำปิง ตรงบ้านระแหง (ที่ตั้งเมืองตากปัจจุบัน) ทางสายนี้เป็นทางคมนาคมกับหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยตลอดขึ้นไปจนถึงเมืองเชียงใหม่ ส่วนทางสายใต้นั้นออกจากเมืองเมาะตะมะไปตามแม่น้ำอัตรัน (เมืองเชียงกราน) จนถึงเมืองสมิแล้วเดินบกมาข้ามแม่น้ำสะกลิกและแม่น้ำแม่กษัตริย์ ข้ามภูเขาเข้าแดนไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มาลงลำน้ำแควน้อยที่สามสบ แล้วใช้เรือล่องลงมาทางไทรโยคจนออกแม่น้ำแควใหญ่ที่ลิ้นช้างได้ทางหนึ่ง ถ้าจะเดินบกก็เดินแต่สามสบมาทางเมืองไทรโยคเก่า แล้วตัดข้ามมาลงลำน้ำแควใหญ่ที่เมืองศรีสวัสดิ์ หรือที่ท่ากระดานด่านกรามช้างแล้วเดินเลียบลำน้ำแควใหญ่ลงมาจนถึงเมืองกาญจนบุรีเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในทุ่งหญ้าใกล้เขาชนไก่จากเมืองกาญจนบุรีเก่าลงมาเป็นที่ราบจะได้เกวียนเดินทางบกหรือใช้เรือล่องตามลำน้ำลงมาก็สะดวกทั้งสองทาง กองทัพพม่าที่ยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาหรือกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยกผ่านเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์นี้แทบทุกคราว
การสงครามได้ว่างเว้นมาเป็นระยะเวลา 15 ปี ประเทศพม่าได้เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินใหม่ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ซึ่งยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.. 2091 นั้นพอกลับไปถึงเมืองหงสาวดีได้ไม่นานเท่าใด ก็เกิดสติฟั่นเฟือนไม่สามารถจะว่าราชการบ้านเมืองได้ บุเรงนองซึ่งเป็นพระมหาอุปราชต้องสำเร็จราชการแทน ในที่สุดพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้ ถูกขุนนางเชื้อชาติมอญคนหนึ่งชื่อ สมิงสอดวุต ทูลลวงให้ไปจับช้างเผือกในป่าใกล้พระนคร แล้วช่วยกันจับพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้ปลงพระชนม์เสีย บุเรงนองซึ่งเป็นพระมหาอุปราชอยู่จึงทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระเจ้าหงสาวดี เมื่อ พ.. 2096 และเมื่อเสวยราชสมบัติแล้วไม่นาน พระเจ้ากรุงบุเรงนองก็เริ่มทำสงครามแผ่อาณาจักรเรื่อยมาเป็นเวลา 10 ปี จนได้ประเทศน้อยใหญ่ที่มีอาณาเขตติดกับประเทศพม่าไว้ในอำนาจทั้งสิ้นแล้วพระเจ้าบุเรงนองก็ทรงดำริที่จะยาตรากองทัพอันเกรียงไกรของพระองค์เข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา
ก่อนที่จะยกกองทัพเข้ามา พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองก็หาเหตุอันจะเป็นการจุดชนวนสงครามขึ้นก่อน ด้วยการส่งพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ 2 เชือก การที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมีพระราโชบายเช่นนี้ก็เพื่อจะหยั่งพระทัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิดูว่าจะยอมเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงหงสาวดีโดยตรงโดยไม่ต้องรบ หรือว่าจะรบลองดูกาลังกันดูก่อนเพราะถ้าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงพระราชทานช้างเผือกไปให้ ก็หมายความว่าทรงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์โดยดี ถ้าไม่พระราชทานก็หมายถึงว่าจะต้องเตรียมรบมีทางเลือกแต่เพียงสองทางเท่านั้น ซึ่งผลที่สุดสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ทรงเลือกเอาข้างการรบเพื่อรักษาพระเกียรติของพระองค์และของประเทศชาติไว้ แล้วสงครามก็เกิดขึ้นจริง ๆ ในปี พ.. 2106 นั้น
การสงครามคราวนี้ถึงแม้ว่าเมืองตากจะไม่เป็นสนามรบโดยตรงก็ตาม แต่ก็ได้รับความเดือดร้อนด้วยเนื่องจากเมืองตากอยู่ในเส้นทางที่จะผ่านมาจากเมืองเชียงใหม่ เพราะฉะนั้นกองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งในเวลานั้นเป็นฝ่ายพม่าได้คุมกองเรือลำเลียงเสบียงอาหารลงมาบรรจบกับทัพหลวงที่เมืองตาก แล้วก็ลาดตระเวนหาเสบียงอาหารในเขตเมืองตากเพื่อสะสมไว้สำหรับเลี้ยงไพร่พลในกองทัพหลวงต่อไป
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงยกกองทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แล้วเข้าตีหัวเมืองทางต่าง ๆ เหนือเรื่อยลงมา และได้รบกับเมืองใหญ่ ๆ หลายเมือง เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏว่าเมืองตากได้สู้รบกับกองทัพของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ทั้งนี้คงจะเนื่องจากเมืองตากเก่าตั้งอยู่เหนือด่านแม่ละเมาขึ้นไปมาก กองทัพพม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาจึงไม่จำเป็นที่จะอ้อมขึ้นไปตีเมืองตากซึ่งอยู่ห่างออกไปตั้ง 30 กิโลเมตรอีก คงเดินทัพตัดตรงเข้ามายังบ้านป่ามะม่วง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับบ้านระแหง แล้วเดินทัพไปทางทิศตะวันออกเข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองพิษณุโลกทางหนึ่ง อีกทัพหนึ่งแยกลงไปทางใต้เข้าเมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ เมื่อตีได้หัวเมืองใหญ่ ๆ เหล่านี้แล้วก็รวบรวมกำลังกันยกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป
เนื่องจากศึกพม่าในคราวนี้เป็นเหตุให้ไทยคิดเห็นว่า ตัวเมืองตากเก่าตั้งอยู่ลึกเข้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาก กองทัพพม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาก็เดินทัพเข้ามาได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องเสียกำลังลี้พลเพื่อเข้าตีเมืองตากแต่สักคนเดียว จึงได้ย้ายตัวเมืองลงมาตั้งในที่ซึ่งพม่าเดินทัพผ่าน คือที่บ้านป่ามะม่วง การย้ายเมืองตากมาตั้งที่บ้านป่ามะม่วงนี้ เข้าใจว่ายังไม่ทันย้ายในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะในแผ่นดินนี้ปรากฏในหนังสือพงศาวดารว่ามัวเตรียมการแต่เรื่องป้องกันข้าศึกที่ยกเข้ามาทางใต้เท่านั้น เช่น รื้อกำแพงเมืองเขื่อนขันธ์กันพระนครทั้ง 4 ทิศออกหมด เพื่อไม่ให้ข้าศึกเข้าอาศัยในเมื่อตีเมืองเหล่านั้นได้ และตั้งเมืองบางเมืองขึ้นใหม่ เช่นเมืองนครไชยศรีกับเมืองนนทบุรี ซึ่งเป็นเมืองใกล้พระนครเพื่อจะได้เป็นที่ระดมกำลังสำหรับเรียกคนเข้ารักษาพระนครและจัดหาเสบียงอาหารได้ง่าย
การย้ายเมืองตากมาอยู่ที่บ้านป่ามะม่วงนี้ คงจะย้ายมาในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา ภายหลังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพแล้วเป็นแน่ เพราะปรากฏว่าหลังจากนั้น ไทยเราเตรียมรับศึกพม่าอย่างเต็มที่ เนื่องจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตระหนักพระราชหฤทัยดีแล้วว่า ถึงอย่างไรก็ดีก็จะต้องรบรับขับเคี่ยวกับกองทัพพม่าเป็นการใหญ่และก็เป็นจริงสมดั่งพระราชดำริเพราะในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา และในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ปรากฏว่าไทยกับพม่าได้รบกันเป็นมหาสงครามถึง 7 ครั้ง
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่ที่บ้านป่ามะม่วง มิใช่จะเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับป้องกันกองทัพพม่า ที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพใช้เป็นที่ชุมนุมพล ในเวลาที่จะยกไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงอานุภาพมาก เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งทรงได้เมืองเชียงใหม่มารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรทั้ง 3 พระองค์นี้ ก็มีปรากฏอยู่ที่เมืองตากนี้ด้วย
หลังจากแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประเทศไทยก็เว้นว่างจากการทำสงครามขับเคี่ยวพม่ามาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งประมาณว่าไม่ต่ำกว่า 150 ปี ในระยะเวลานี้ชาวเมืองตากก็อยู่กันอย่างสงบสุข จนกระทั่งถึง พ.. 2308 เงาแห่งการสงครามจึงได้เริ่มฉายแสงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การสงครามคราวนี้ทำให้ชาวเมืองตากต้องพลอยเดือนร้อนกันไปแทบทุกครัวเรือน เพราะกองทัพพม่าซึ่งยกมาทางเมืองเชียงใหม่ได้เข้าตีเมืองตากด้วยสงครามคราวนี้น่าจะยกย่องเทิดทูนชาวเมืองตากที่ได้รวมแรงร่วมใจกันต่อสู้กองทัพพม่าแต่เมืองเดียว หัวเมืองเหนืออื่น ๆ แม้จะเป็นเมืองที่ใหญ่กว่า และมีพลเมืองมากกว่าเมืองตากมาก เช่น เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ก็หามีเมืองใดต่อสู้กองทัพพม่าแต่อย่างใดไม่ คงปล่อยให้กองทัพพม่าเดินเข้ายึดตัวเมืองได้อย่างสบาย
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวเรื่องราวที่กองทัพพม่าเข้าตีประเทศไทยครั้งนั้นไว้ ในเรื่องไทยรบกับพม่าดังนี้
"ในพงศาวดารพม่าว่า กองทัพที่ยกมาครั้งนี้มีข้ออาณัติอย่าง 1 คือถ้าที่ไหนต่อสู้พม่าตีได้ก็เก็บริบทรัพย์สมบัติและจับผู้คนทั้งเด็กผู้ใหญ่ชายหญิงเอาไปเป็นเชลยสงครามไปเมืองพม่า บ้านเรือนทรัพย์สมบัติพม่าไม่ต้องการก็ให้เผาผลาญทำลายเสียสิ้น ถ้าที่ไหนผู้คนอ่อนน้อมยอมเข้าเป็นพวกพม่า  ก็ให้ทำสัตย์แล้วไม่ทำร้าย เป็นแต่กะเกณฑ์เอาสิ่งของที่พม่าต้องการ เช่น เสบียงอาหารและพาหนะเป็นต้นและเรียกเอาคนมาใช้การงานต่าง ๆ เหมือนอย่างเป็นบ่าวของพม่า"
ดังได้กล่าวมาในตอนต้นแล้ว การสงครามคราวนี้ ปรากฏว่าหัวเมืองรายทาง ๆ เหนือของประเทศไทยไม่มีเมืองใดต่อสู้กองทัพพม่าเลย คงมีแต่เมืองตากแต่เพียงเมืองเดียวเท่านั้น ที่ได้สู้รบกับกองทัพพม่า และเนื่องจากพม่าได้ตั้งกฎเกณฑ์ไว้เช่นนี้แล้วจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าชะตากรรมของเมืองตากจะเป็นอย่างไรต่อไป ทำให้นึกวาดภาพได้ว่า ในขณะที่พม่าเข้าเมืองได้ บ้านเรือนและทรัพย์สมบัติของชาวเมืองตากตลอดจนผู้คนพลเมืองจะเป็นประการใดบ้าง ย่อมเป็นการแน่นอนเหลือเกินที่จะกล่าวได้ว่า ชาวเมืองตากจะต้องถูกฆ่าฟันล้มตายไปไม่น้อยและบ้านเรือนตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ ของชาวเมืองก็จะต้องถูกทำลายหรือเผาผลาญไปอย่างไม่มีชิ้นดียิ่งกว่านี้พวกที่รอดตายถ้าหนีเข้าป่าเข้าดงไปไม่ทัน ก็จะถูกพม่าจับไปเป็นเชลย ส่งไปเป็นข้าเป็นทาสยังประเทศพม่าต่อไปด้วยเหตุนี้ เมืองตากจึงกลายเป็นเมืองร้างอย่างสิ้นเชิง และคงอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี

สมัยกรุงธนบุรี
ดังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้วว่า กองทัพพม่าได้ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา โจมตีและทำลายเมืองตากจนกลายเป็นเมืองร้างไปประมาณ 5 ปี จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี) กษัตริย์องค์แรกและองค์เดียวในสมัยนี้ได้ทรงจัดการปกครองหัวเมืองเหนือทั้งปวง ภายหลังจากได้ตีเมืองพิษณุโลกและเมืองฝางได้ใน พ.. 2313 แล้ว ได้ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองไปครองเมืองเหนือใหม่หมดทุกเมืองรวมทั้งเมืองตากด้วย
เมื่อเจ้าเมืองใหม่มาครองเมืองตากแล้ว คงจะพยายามเสริมแต่งค่ายคูและหอรบของเมืองตากให้มั่นคงยิ่งขึ้น แล้วพยายามเกลี้ยกล่อมราษฎรให้เข้ามาตั้งทำมาหากินตามถิ่นที่อยู่ของตนเหมือนอย่างเดิม ในขณะนั้นเข้าใจว่าพลเมืองของเมืองตากคงจะเหลืออยู่ไม่มากนักประมาณว่าคงจะไม่ถึง 1,000 คน เพราะเมืองกำแพงเพชรเองซึ่งเป็นเมืองชั้นโทและเป็นที่มิได้สู้รบกับกองทัพพม่าไม่ได้รับความเสียหายเท่าใดนัก ก็ยังเหลือพลเมืองเพียง 3,000 คน เท่านั้น
เมืองตากมีเวลาว่างจากการทำศึกสงครามเพียง 4 ปีเท่านั้น พอถึง พ.. 2317 ก็ต้องเป็นที่ชุมนุมพลของกองทัพไทย เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะทรงยกไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง และในเวลาติด ๆ กันนี้ก็เกิดรบกับกองทัพทหารพม่า ซึ่งติดตามครัวมอญเข้ามาทางด่านแม่ละเมาอีก แต่การรบคราวนี้เป็นการรบย่อยกับทหารพม่าที่ติดตามครัวมอญเข้ามานั้นเมืองตากจึงไม่ได้รับความเสียหายอย่างใด เรื่องราวที่เกี่ยวกับการสงครามในคราวนี้ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้โดยละเอียดในเรื่องไทย รบพม่าดังนี้.-
"สงครามคราวนี้เกิดติดต่อจอแจกับที่ไทยไปตีเมืองเชียงใหม่ซึ่งกล่าวมาในตอนก่อนมูลเหตุเกิดแต่เรื่องมอญเป็นกบฏขึ้นในเมืองพม่าดังได้บรรยายมาแล้ว พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้ ยกกองทัพลงมาจากเมืองอังวะ 35,000 พวกมอญกบฏซึ่งขึ้นไปล้อมเมืองร่างกุ้งสู้พม่าไม่ได้ก็ถอยหนี อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพพม่าติดตามลงมา พวกมอญกบฏ จึงอพยพครอบครัวพากันออกจากเมืองมอญจะหนีมาอยู่ในเมืองไทย อะแซหวุ่นกี้ให้กองทัพยกตามมาจับครอบครัวมอญที่หนีนั้น พม่าจึงมาเกิดรบขึ้นกับไทย ครัวมอญที่หนีพม่าเข้าเมืองไทยครั้งนี้ มีหลายพวกและมาหลายทางด้วยกันครัวพวกสมิงสุหร่ายกลั่นเข้ามาทางด่านเมืองตากก่อน สมิงสุหร่ายกลั่นตัวนายได้เฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เมืองตากก่อนเสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ทูลให้ทรงทราบ ว่าพวกมอญจะพากันเข้ามาอยู่ในเมืองไทยมาก พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงคาดการว่าพม่าเห็นจะยกกองทัพตามครัวมอญเข้ามา จึงตรัสสั่งให้พระยากำแหงวิชิตคุมพล 2,000 ตั้งคอยรับครัวมอญอยู่ที่บ้านระแหง แขวงเมืองต่างทาง 1 และให้พระยายมราช (แขก) คุมกำลังไปตั้งขัดตาทัพอยู่ที่ท่าดินแดงในลำน้ำไทรโยคคอยรับครัวมอญที่จะเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์อีกทาง 1 แล้วจึงเสด็จยกกองทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วยประมาณการว่า คงจะตีเมืองเชียงใหม่ได้ทันกลับลงมาต่อสู้พม่าที่ยกเข้ามาทางข้างใต้
ด้วยเหตุนี้พอตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว 7 วัน พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกกองทัพหลวงกลับลงมา มาถึงนครลำปางก็ได้ทราบว่ามีกองทัพพม่ายกล่วงด่านแม่ละเมาเข้ามาในแดนเมืองตาก จึงรีบเสด็จกลับลงมา พอถึงท่าเมืองตากเมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำก็พอกองทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมานั้น มาใกล้จวนจะถึงเมืองตาก ทำนองในเวลานั้น รีบเสด็จลงมาโดยลำลองมีแต่กองทัพสำหรับรักษาพระองค์ กองอื่นยังตามมาไม่ถึงจึงตรัสสั่งให้หลวงมหาเทพ กับจมื่นไวยวรนาถคุมทหาร 2,000 คน ยกไปตีกองทัพพม่ายกไปก็ได้รบในวันนั้นเอง แต่พอค่ำพม่าก็ถอยหนีกลับไป ขณะนั้นกระบวนเรือพระที่นั่งคอยรับเสด็จอยู่ที่ค่ายหลวงบ้านระแหง ใต้เมืองตากลงมาระยะทางที่เดินวัน 1 ด้วยเดิมกำหนดว่าจะเสด็จกลับทางบกจนถึงบ้านระแหง หาได้คาดว่าจะต้องมารบพุ่งกับข้าศึกที่เมืองตากไม่ครั้นทรงทราบว่าหลวงมหาเทพกับจมื่นไวยวรนาถ ตีพม่าถอยหนีกลับไปทำนองพระเจ้ากรุง ธนบุรี จะทรงดำริว่าพม่าที่ถอยหนีไปเป็นแต่กองหน้ากองหลังยังจะตามมาอีกจะวางใจไม่ได้ ถ้าไม่รีบตีให้แตกไปให้หมด ช้าไปพม่าจะรวมกำลังกันยกกลับเข้ามาเป็นกองใหญ่จึงมีรับสั่งให้กองทัพบกสวนทางพม่าลงมาแล้วเสด็จทรงเรือของจมื่นจงกรมวัง รีบล่องลงมาบ้านระแหงในเวลา 2 ยามค่ำวันนั้น เรือที่ทรงมาโดนตอล่มลง ต้องว่ายน้ำขึ้นหากทรงพระดำเนินมาจนถึงค่ายหลวงที่บ้านระแหง มีรับสั่งให้ พระยากำแหงวิชิต รีบยกกองทัพออกไปก้าวสกัดตัดหลัง กองทัพพม่าที่ยกตามเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ให้ถอยหนีไปให้สิ้นเชิงพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับรอฟังอยู่ที่บ้านระแหง 7 วัน และในระหว่างนั้นที่กรุงธนบุรีมีใบบอกขึ้นไปว่า มีครัวมอญเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เป็นอันมาก ก็เข้าพระทัยว่าคงมีกองทัพพม่ายกติดตามครัวมอญเข้ามาทางนั้นอีก พอได้ทรงทราบว่ากองทัพพระยากำแหงวิชิตตีพม่าที่เข้ามาทางด่านแม่ละเมาถอยหนีกลับไปหมดแล้ว ก็เสด็จยกกองทัพหลวงโดยทางชลมารค ลงมาจากบ้านระแหงเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ รีบมาทั้งกลางวันและกลางคืน 5 วันก็ถึงกรุงธนบุรี"
รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือใน พ.. 2318 เมืองตากก็ถูกศึกใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คือเมื่อคราวอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ ได้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แต่เจ้าเมืองตากเห็นว่ากำลังไพร่พลของเมืองตากน้อยไม่สามารถจะต่อสู้กับกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ได้ ก็พาครัวราษฎรอพยพหลบหนีออกจากเมืองไป กองทัพพม่าจึงยกจากเมืองตากไปทางบ้านด่านลานหอย ตรงไปยังเมืองสุโขทัย และเมื่อคราวที่อะแซหวุ่นกี้ถอยทัพ ก็ถอยผ่านเมืองตากตามไปตามทางเดิม คือทางด่านแม่ละเมาอีกเหมือนกัน ในการสงครามคราวนี้เมืองตากคงจะไม่เสียหายมากมายเท่าใดนัก เพราะไม่ได้สู้รบกับกองทัพพม่า แต่หัวเมืองใหญ่ ๆ ของไทย เช่นเมืองพิษณุโลกและเมืองสุโขทัยนั้นเสียหายมาก

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในปี พ.. 2325 สมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กองทัพของพม่าจึงเข้าตีประเทศไทยเป็นการใหญ่โดยพระเจ้าปะดุงกษัตริย์พม่า ทรงโปรดให้จัดกองทัพแบ่งออก 9 ทัพด้วยกัน และให้กองทัพเหล่านี้ยกเข้าตีเมืองไทยทุกทิศทุกทาง ทั้งทางเหนือทางตะวันตกและทางใต้ กองทัพที่ 9 ของพระเจ้าปะดุงอันมีจอข่องนรทาเป็นแม่ทัพ ได้ยกเข้ามาทางด้านแม่ละเมา เมื่อเข้าตีเมืองตากได้แล้ว ก็ยกข้ามฟากมาตั้งอยู่ที่บ้านระแหง เพื่อรอฟังผลการรบของกองทัพอื่น ๆ ต่อไป แต่เนื่องจากจอข่องนรทาได้ทราบข่าวว่ากองทัพพม่าอีกกองหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากพิงถูกกองทัพไทยตีแตกกลับไปแล้ว และบางทีได้ทราบว่ากองทัพหลวงซึ่งพระเจ้าปะดุง ทรงเป็นจอมพลยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ถอยกลับไปแล้วด้วยเฉพาะ ฉะนั้นเมื่อได้ทราบข่าวว่ากองทัพไทยยกตามขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพชร จึงไม่รอต่อสู้รีบถอยหนีกลับไปด่านแม่ละเมา
หลังจากสงครามคราวนี้ ก็ไม่มีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นกับเมืองตากอีก ชาวเมืองตากที่อพยพหลบหนีข้าศึกเข้าป่าเข้าดงไปก็ค่อย ๆ กลับเข้ามาหากินอยู่ในเมืองตากต่อไปตามเดิมอีก จนกระทั่งถึง รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชดำริเห็นว่าตัวเมืองเดิมเอาแม่น้ำไว้ข้างหลัง ในเวลาถอยทัพย่อมได้รับความลำบากเนื่องจาก แม่น้ำน้ำกว้างใหญ่ขวางกั้นอยู่ สู้ย้ายเมืองข้ามฟากมาตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งไม่ได้ เพราะการที่ย้ายมาตั้งฟากนี้จะทำให้มีแม่น้ำขวางหน้าเป็นเสมือนคูเมืองขนาดใหญ่ ทำให้ข้าศึกเข้าตีลำบาก ทั้งการที่จะส่งกองทัพไปช่วย หรือถอยทัพหนีข้าศึกก็จะทำได้สะดวก เพราะฉะนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดให้ย้ายตัวเมืองตากจากที่เดิม มาตั้งใหม่ที่บ้านระแหง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเมืองตาก ที่บ้านป่ามะม่วง ตัวเมืองที่ย้ายมาใหม่นี้ตั้งอยู่ตำบลนี้เรื่อยมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
จากประวัติความเป็นมาของจังหวัดตากและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว พอที่จะมองได้ว่าจังหวัดตากในสมัยโบราณนับว่าเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขาย การคมนาคมทางเรือ ระหว่างคนไทยกับมอญ และต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยังใช้เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเชียงใหม่ นครสวรรค์ และกรุงเทพฯ เพราะในครั้งนั้นยังไม่มีทางรถไฟ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ลักษณะการทั้งบ้านเรือนของราษฎรในจังหวัดตากเป็นไปตามความยาวของแม่น้ำ ห่างจากฝั่งออกไปไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่ แต่อย่างไรก็ตามจังหวัดตากในสมัยก่อนก็ยังนับว่าเป็นเมืองที่บริบูรณ์และครึกครื้นเมืองหนึ่ง สินค้าต่างเมืองมารวมกันหลายทาง คือ มาจากเมืองเชียงใหม่บ้าง เมืองมะละแหม่งบ้าง ขึ้นไปจากกรุงเทพฯ บ้าง ชาวพื้นเมืองในจังหวัดส่วนมากมีเชื้อสายลาวมากกว่าไทย
ความสำคัญของจังหวัดตากอีกประการหนึ่งคือ เป็นเมืองหน้าด่านที่พม่าจะใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ ตัวอย่างเช่น พระเจ้าบุเรงนองของพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาแขวงเมืองตาก ทำสงครามกับไทยในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น จังหวัดตากยังเป็นเมืองที่ชุมนุมทัพเมื่อคราวที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ดังได้ทรงสร้างพระเจดีย์ปรากฏไว้เป็นอนุสรณ์ตราบจนทุกวันนี้

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบการปกครองและบริหารราชการขึ้นใหม่ อันเป็นการปูพื้นฐานในรูปการจัดระเบียบการปกครองสมัยใหม่ โดยมีนโยบายรวมหัวเมืองต่าง ๆ ให้เข้าเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่ง อันเดียวอย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคง คือเปลี่ยนจากแบบราชาธิราชมาเป็นแบบราชอาณาจักร ดังนั้น เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2435 พระองค์จึงได้ประกาศจัดตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง มีการแบ่งการงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้แน่นอนลงไป และแต่ละกระทรวงให้มีเสนาบดีเป็น หัวหน้ารับผิดชอบกระทรวงทั้ง 12 กระทรวงที่จัดตั้งขึ้น คือ
1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหัวเมือง
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ฝ่ายทหารและการป้องกันประเทศ
3. กระทรวงนครบาลมีหน้าที่เกี่ยวกับการตำรวจ และรักษาความสงบเรียบร้อยในพระนคร
4. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บภาษีอากร รับจ่าย เก็บ รักษาเงินของแผ่นดินโนวโรรส
6. กระทรวงเกษตรพาณิชย์การ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร และการค้าขาย ป่าไม้ แร่
7. กระทรวงวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง และกรมซึ่งใกล้เคียงกับราชการในพระองค์
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับชำระความ อรรถคดี ทั้งแพ่งและอาญา
9. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง การไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ และการช่างทั้งหลาย
10. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา โรงเรียนและการบังคับบัญชา พระสงฆ์
11. กระทรวงมุรธาธร มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนด กฎหมายและหนังสือราชการทั้งปวง
12. กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทหารบก ทหารเรือ
แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และในการประชุมเสนาบดีของแต่ละกระทรวงเพื่อหารือข้อราชการนั้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานในที่ประชุมกระทรวงต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นนี้ แต่ละกระทรวงมีกรมกอง ในสังกัดของตนมากน้อยตามความเหมาะสม และได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อมาทุกรัชกาล ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมตามเหตุการณ์ของบ้านเมืองและตามกาลสมัย
สำหรับการปกครองหัวเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นได้เป็นไปในทำนองเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เปลี่ยนเรียก ชื่อเสียใหม่ คือ มีการแบ่งการปกครองออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และในรัชสมัยของพระองค์นี้ การปกครองหัวเมืองในรูปการแบ่งอำนาจในการปกครองหัวเมืองได้ปรากฏเป็นรูปร่างเด่นชัดขึ้น เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่เมื่อ พ.. 2440 ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2453 แทน ซึ่งได้ถือเป็นหลักมาจนกระทั่งทุกวันนี้ จะมีการแก้ไขบ้างก็เพียงบางมาตราเพื่อความเหมาะสมในการปกครองเท่านั้นและได้เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองเรียกเป็น การปกครองท้องที่ตามชื่อพระราชบัญญัติ
อนึ่ง ตั้งแต่รัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เรื่อยมาจนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้ทรงดำริจัดตั้งมณฑลและภาคขึ้นโดยรวมหลาย ๆ จังหวัดขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้โอนมาขึ้นอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ พ.. ๒๔๖๙ และในปี พ.. ๒๔๕๘ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการจัดตั้งภาคขึ้นหลาย ๆ มณฑลรวมกันเป็นภาคและมีอยู่ 4 ภาค คือ ภาคพายัพ ภาคปักษ์ใต้ ภาค
อีสาน และภาคตะวันตก มีอุปราชซึ่งเป็นพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ปกครองขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ แต่การจัดรูปการปกครองโดยมีภาคนี้ ได้นำมาใช้เพียง 10 ปี เท่านั้น และได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2468 คงเหลือแต่มณฑล และให้มณฑลต่าง ๆ นี้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยในปี 2469 ดังที่กล่าวมาแล้ว สำหรับจำนวนมณฑลนี้มิได้มีจำนวนแน่นอน คงเพิ่มลดกันตลอดมาเพื่อความสะดวกเหมาะสมในการปกครอง จนในที่สุดใน พ.. 2474 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองคงเหลือเพียง 10 มณฑล และได้ยกเลิกไปหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
อนึ่ง เมื่อ พ.. 2438 ได้มีการรวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า จังหวัดตากในสมัยนั้นจัดเป็นหัวเมืองที่ขึ้นกับมณฑลนครสวรรค์เรื่อยมา จนกระทั่งได้มีการยกเลิกไป

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ระบอบการ ปกครองได้เปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือปรมัตตาญาสิทธิราชย์ซึ่งหมายความว่า การปกครองโดยมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจทั้ง 3 ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ โดยทางสภาผู้แทนราษฎร ทางคณะรัฐมนตรีและทางศาลตามลำดับ
ปัจจุบันนี้การจัดระเบียบการบริหารงานทางการปกครองของประเทศ ได้แบ่งลักษณะการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และส่วนราชการอื่นที่เทียบเท่า
2. ส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการปกครองในการแบ่งอำนาจในการปกครอง
3. ส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และสภาตำบล และการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ตามกฎหมายที่ว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปการกระจายอำนาจในทางปกครอง
องค์การปกครองท้องถิ่นทุกรูปได้ถูกจัดตั้งโดยอาศัยอำนาจกฎหมาย และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้ และมีสภาพเป็นนิติบุคคล เว้นแต่ในรูปสภาตำบล ได้จัดตั้งขึ้นโดยคำสั่งของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
ประวัติศาสตร์จังหวัดนครนายก
ตราประจำจังหวัด

รูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง
คำขวัญประจำจังหวัด
นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง
ภูเขางาม น้ำตกสวย
รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
จังหวัดนครนายก จะสร้างขึ้นในสมัยใดนั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่จากการที่กรมศิลปากรได้มาทำการขุดค้นตัวเมืองเก่าที่ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก เมื่อปี พ.. 2517 และจากการรื้อค้นหลักฐานที่มีพอจะสรุปประวัติความเป็นมาได้ว่า จังหวัดนครนายกเป็นเมืองเก่าแก่กว่า 950 ปีมาแล้ว มีปรากฏขึ้นในสมัยทวารวดี แต่จะมีชื่อเมืองอย่างไรนั้นไม่ปรากฏ จากสภาพเมืองเก่าที่ตำบลดงละคร (เมืองลับแล) เป็นตัวเมืองที่ตั้งอยู่บนที่สูง มีลักษณะเป็นเกาะกลางทุ่ง สภาพตัวเมืองเป็นรูปทรงกลม ซึ่งเป็นลักษณะตัวเมืองสมัยทวารวดี ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมมีอำนาจได้แผ่อาณาจักรออกไปตลอดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีนครธมเป็นราชธานีขอมได้ตั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นเมืองลูกหลวง มีหน้าที่ปกครองอาณาจักรขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองนครนายกจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมชั่วระยะเวลาหนึ่ง ประมาณปี พ.. 1600 อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงแต่นครนายกก็ยังคงรวมอยู่ในดินแดนของอาณาจักรขอมแถบชายแดน จนเมื่อไทยเริ่มมีอำนาจ และตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

สมัยกรุงศรีอยุธยา
มีหลักฐานว่า นครนายกเป็นเมืองหน้าด่าน หรือ เมืองปราการ ตั้งแต่ สมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นต้นมา
หน้าที่ของเมืองหน้าด่าน คือ เป็นเมืองที่รายล้อมราชธานี เป็นที่สะสมเสบียงอาหารและกำลังผู้คนไว้สำหรับป้องกันเมืองหลวง เมืองเหล่านี้อยู่ห่างจากเมืองหลวงโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปมาจากเมืองหน้าด่านถึงราชธานีประมาณ 2 วัน
ในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทำการปรับปรุงการปกครอง คือ ยกเลิกเมืองหน้าด่านขยายอำนาจราชธานีออกไปจัดตั้งหัวเมืองชั้นใน ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และนครนายก กำหนดให้หัวเมืองชั้นในเหล่านี้เป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ว่าราชการเมืองเรียกว่า "ผู้รั้ง" พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งออกไปปกครอง เพราะฉะนั้นหัวเมืองชั้นในจึงอยู่ในการดูแลของราชธานีอย่างใกล้ชิด
นครนายกจึงมีฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา ตั้งแต่นั้นมาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงธนบุรี
ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้แก่พม่า ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน พ.. 2310 เป็นครั้งที่ 2 นั้น ในขณะที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ พระยาตาก ได้ช่วยทำการรบศึกอยู่ในเมือง ครั้งหนึ่งพระยาตากเห็นพม่ารุกหนักเข้ามา ก็สั่งให้ยิงปืนใหญ่สกัดกั้นไว้โดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาตก่อนตามกฎที่วางไว้ จึงถูก พระเจ้าเอกทัศน์ สั่งภาคทัณฑ์คาดโทษ พระยาตากตัดสินใจนำทหารประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปเมื่อปี พ.. 2309 และยกทัพออกมาทางตะวันออกมาทางด้านวัดพิชัย มีพลประมาณ 1,000 กว่าคน พร้อมทั้งข้าราชการกรุงเก่า บางพวกที่ร่วมหนีออกมาด้วยกับพระยาตาก
จากพงศาวดารกรุงธนบุรีได้กล่าวว่า พระยาตากยกทัพมาทางสระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี กองทัพพระยาตากยกไปต้องปะทะกับพม่าที่มีกำลังเหนือกว่าหลายเท่า แต่ก็ได้ประสบชัยชนะตลอดมา ระหว่างทางได้ทำการเกลี้ยกล่อม คนไทยให้เข้าด้วยตลอดทางจนถึงชลบุรี พระยาตากใช้นโยบายเกลี้ยกล่อมให้ยอมอ่อนน้อมเสียก่อน ถ้าไม่ยอมถึง 3 ครั้ง จึงจะจัดการอย่างเด็ดขาด
พระยาตากมุ่งไปทางระยองและจันทบุรี พระยาจันทบุรี ได้รับปากว่าจะเข้าด้วย แต่ขอให้พระยาตากรอไปก่อน ผลสุดท้ายพระยาตากต้องตัดสินใจโจมตีเมืองจันทบุรี เพราะ เมืองจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญทั้งในด้านทหารและด้านเศรษฐกิจ ในการที่จะสนับสนุนให้การขับไล่พม่าไปจากประเทศเป็นผลสำเร็จ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 นครนายกเป็นหัวเมือง ชั้นจัตวา โดยเป็นหน่วยปกครองที่อยู่ไม่ไกลเมืองหลวงนัก สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองใหม่เรียกว่า การปกครองมณฑลเทศาภิบาลเมืองนครนายกจัดอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ซึ่งจัดตั้งเมื่อ พ.. 2437 ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ คือ

1. ปราจีนบุรี
5. พนัสนิคม

2. ฉะเชิงเทรา
6. ชลบุรี

3. นครนายก
7. บางละมุง

4. พนมสารคาม

.. 2445 รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าเข้าครอง และให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขึ้นแทน เมืองนครนายก จึงได้มีผู้ว่าราชการเมืองคนแรก คือ พระพิบูลย์สงคราม (จอน) ศาลากลางจังหวัดแห่งแรกตั้งขึ้น ณ บริเวณริมฝั่งขวา แม่น้านครนายก (บริเวณหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน) จนถึง พ.. 2486 ทางราชการได้ยุบจังหวัดนครนายกให้ไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี หลังจากนั้นประมาณ 4 ปี คือใน พ.. 2489 จึงได้ตั้งจังหวัดนครนายกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ใน พ.. 2519 มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชุมนุมชนคับแคบขยายออกไปอีกไม่ได้ จึงได้ย้ายไปสร้างศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่ บริเวณริมถนนสุวรรณศรห่างจากเขตเทศบาลประมาณ 2 กิโลเมตร และได้เปิดทำการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2520 จนถึงปัจจุบัน

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชา มีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ ที่เจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามาร่วมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จและเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ "การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ มีความว่า
"การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดาเนินงานในส่วนภูมิภาคเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาล ซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย จึงแบ่งเขตการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็น อำเภอ และ หมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองงานของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถความประพฤติให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย และรวดเร็วแก่ราชการและกิจธุระของประชาชนซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย"
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขต ชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล" นั้น คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง  ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้างกระทรวงกลาโหมบ้างและกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร  ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชา หัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียวกัน
 จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวน หรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว หรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้วจึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี
.. 2442 ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม .. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดินมีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้

1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่ในคณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด                                                           2. อำเภอ

จังหวัดนั้นได้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครปฐม
ตราประจำจังหวัด

รูปพระปฐมเจดีย์ ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ
คำขวัญประจำจังหวัด
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
ถ้าจะกล่าวถึงเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในประเทศไทย และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ สมัยอดีต นครปฐมนับว่าเป็นเมืองที่สมกับคำกล่าวนี้ ทั้งนี้เนื่องจากการสำรวจดูโบราณสถานที่ยังเหลือเป็นพยานอยู่ เช่นพระปฐมเจดีย์องค์เดิม ธรรมจักรกับกวาง อาสนบูชา สถูป จารึกพระธรรมภาษามคธ คาถา เย ธมฺมา ซึ่งทำตามคตินิยมแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชก่อนมีพระพุทธรูปสิ่งเหล่านี้มีพบแต่ที่นครปฐมแห่งเดียวเท่านั้น
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองนครปฐมเป็นเมืองดั้งเดิม อาจกล่าวเป็นสมัย ๆ ดังนี้

สมัยสุวรรณภูมิ
สุวรรณภูมิถ้าแปลตามศัพท์ หมายถึงแผ่นดินทอง หรือดินแดนทอง ซึ่งหมายถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ แผ่นดินตรงบริเวณที่เมืองนครปฐมตั้งอยู่นี้ เดิมเป็นที่ราบต่ำและเคยเป็นทะเลมาแล้ว ต่อมาพื้นน้ำค่อย ๆ ลดลง เพราะพื้นดินเกิดตื้นเขินขึ้น เพราะแม่น้ำได้พัดพาเอาดินตะกอนและสิ่งต่าง ๆ มาทับถมอยู่เป็นเวลาช้านาน อาณาบริเวณนี้จึงเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน นครปฐมในอดีตจึงเป็นเมืองที่อยู่ริมทะเลและเจริญรุ่งเรืองมาก ในสมัยพุทธกาล นครปฐมเปรียบเสมือนแผ่นดินทอง ชาวต่างประเทศได้แก่ชาวอินเดียได้ทำการติดต่อค้าขายเป็นประจำโดยทางเรืออยู่เรื่อย ๆ ชาวพื้นเมืองแถบนี้คงจะเป็นชนชาติที่ยังไม่มีศาสนาเป็นของตนเอง และมีวัฒนธรรมต่ำกว่าชาวอินเดีย ชาวอินเดียจึงได้นำศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนภาษาหนังสือมาสอนให้แก่ชาวพื้นเมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ หนังสือที่ใช้ก็เป็นอักษรคฤนถ์และ เทวนาครี นอกจากนี้ยังสอนวิชาปั้นพระพุทธรูป เทวรูปต่าง ๆ พิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวพื้นเมืองก็ได้รับและถ่ายทอดกันมาจนทุกวันนี้
มีหลักฐานหลายประการ อาทิตำนานการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากชมพูทวีปเข้ามาสู่แหลมอินโดจีนบอกให้ทราบได้ว่า ชาวอินเดียสมัยพุทธกาลรู้จักสุวรรณภูมิแล้ว นักปราชญ์ทั้งหลายยังไม่สามารถยุติกันได้ว่า สุวรรณภูมิที่ว่านี้ อยู่ตรงส่วนไหนหรืออยู่บริเวณใดของแหลมอินโดจีน มีความเชื่อกันมากพอสมควรว่า น่าจะอยู่ในประเทศไทย ตอนลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำหรับราชธานี หรือเมืองหลวงของสุวรรณภูมิจะอยู่ ณ ที่ใดแน่ นอกนั้นยังถกเถียงกันอยู่ การค้นพบองค์พระปฐมเจดีย์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น่าเชื่อว่าในราวพุทธศตวรรษที่ 3 รัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งสมณทูต 2 องค์ คือ พระโสณะ และพระอุตตระ มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ โดยสร้างเจดีย์ คือ องค์พระปฐมเจดีย์ไว้เป็นหลักฐานให้ปรากฏว่าพระพุทธศาสนาได้เริ่มขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้แล้ว ซึ่งถ้าเช่นนั้น บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์สำคัญนี้ก็ควรจะเป็นราชธานียิ่งใหญ่ มีผู้คนหรือเป็นชุมชนหนาแน่น มีค่าพอที่จะประกาศพระศาสนา และสร้างองค์เจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ได้ ซึ่งชวนให้เชื่อว่า ณ ดินแดนแห่งนี้ คือ ราชธานีหรือเมืองหลวงแห่งแคว้นสุวรรณภูมิและจากยุคสุวรรณภูมิได้วิวัฒนามาสู่ยุคทวารวดี ในชั้นหลัง โดยกระจัดกระจายกันอยู่หลายเมือง ดังจะได้กล่าวต่อไป

สมัยทวารวดี
อาณาจักรทวารวดี มีแหล่งชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แหล่งชุมชนของทวารวดีในภาคกลางที่สำรวจพบมีถึง 15 แห่ง ทิศเหนือสุดจดจังหวัดพิจิตร ทิศใต้จดจังหวัดเพชรบุรี เมืองที่กระจายห่างออกไปทางตอนเหนือ เช่น เมืองหริภุญชัย ในภาคเหนือ และเมืองฟ้าแดดสูงยาง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีเมืองนครปฐมเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญ
หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋นและหลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง) .. 1150 ได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า) และเมืองอิศานปุระ (เขมร) ชื่อโตโลปอตี้ (ทวารวดี) และอาณาจักรนี้ก็เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูปที่สร้างตามแบบฝีมือช่างครั้งราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (.. 860-1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม และเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์
นครปฐมเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.. 300 เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษ 11-16) ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือเป็นพยานปรากฏอยู่อย่างเช่น วัดพระประโทณเจดีย์ วัดพระเมรุ วัดพระงาม และวัดดอนยายหอม เป็นต้น โบราณสถานที่ค้นพบล้วนฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดับร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้นชาวต่างประเทศก็มี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าชาวทวารวดีมีการติดต่อกับประเทศอื่น เช่นประเทศจีน ศิลปะต่าง ๆ ขณะนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ เคยทำเงินตราขึ้นใช้เอง เช่น เงินตราสมัยนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งนอกจากเป็นรูปสังข์และปราสาทยังมีตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) ฯลฯ จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีมีจริง และมีพระมหากษัตริย์ปกครองแน่นอน ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส ได้อ่านจารึกที่เงินตราแล้วแปลได้ความว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี
นครปฐมมีอำนาจสูงสุดประมาณ 200 ปี แล้วค่อยเสื่อมลง พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาสตีเมืองของอาณาจักรทวารวดีทีละเมืองสองเมืองจน พ.. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลงเป็นธรรมดาหลังจากที่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด และตกอยู่ในอำนาจขอม พวกขอม คงจะกวาดต้อน ผู้คนไปเป็นเชลย นำไปใช้เป็นกำลังทำงานต่าง ๆ คนไทยยังมีตามหัวเมืองโบราณในแคว้นสุวรรณภูมิหลายเมือง เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี แต่ยังไม่มีอำนาจในการปกครองแต่อย่างใด ครั้นเมื่อ พ.. 1800 ซึ่งเป็นเวลาที่ไทยยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้ นครปฐมก็กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว จึงไม่ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สาเหตุที่เป็นเมืองร้าง เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลองซึ่งแต่เดิมเคยไหลผ่านนครปฐมเปลี่ยนทิศทางเดินใหม่ ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมากจนทำให้นครปฐมเป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะแก่การทำไร่นา ผู้คนจึงถอยร่นไปอยู่ริมแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้เมืองนครปฐมจึงเสื่อมลง

สมัยอยุธยา
นครปฐมเป็นเมืองร้างเรื่อยมา จนกระทั่งสมัยอยุธยา จึงได้มีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับการจดบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชัดแจ้งขึ้น ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นครปฐมมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน มีลำดับชั้นของเมืองเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงอำนาจการปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย มีผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในเรียกว่า "ผู้รั้ง" จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิใน พ.. 2091 ทรงตั้งพระนามเมืองนครปฐมใหม่ โดยเรียกชุมชนที่ตำบลท่านา ริมแม่น้ำท่าจีนว่า เมืองนครชัยศรี และรวมเนื้อที่ของแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรีเข้าด้วยกัน ให้มีฐานะเป็นเมืองตรีชั้นใน การที่เลือกชุมชนตำบลท่านาริมแม่น้ำท่าจีน และตั้งเป็นเมืองนครชัยศรีขึ้นมาใหม่เนื่องจากบริเวณพระปฐมเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางของนครปฐมเดิม คงจะไม่มีผู้คนอาศัยอยู่มากและกลายเป็นที่รกร้าง และขาดน้ำ จึงเป็นการยากที่จะปฏิสังขรณ์ให้เมืองนครปฐมเป็นที่ตั้งเมืองใหม่ได้อีก การตั้งเมืองนครชัยศรีในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จากประวัติศาสตร์อยุธยากล่าวว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงจัดตั้งเมืองนครชัยศรีหลังจากเสร็จสงครามกับพม่าคราวสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สิ้นพระชนม์บนหลังช้างซึ่งตรงกับ พ.. 2091
ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่า ศักราช 910 (คือจุลศักราช) วอกศก (.. 2091) เป็นปีที่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง
ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 บันทึกไว้ว่า "ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงนั้นเป็นพระเจดีย์วิหารเสร็จแล้ว ให้นามวัด สบสวรรค์ แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าไพร่บ้านพลเมืองตรีจัตวาปากใต้เข้าพระนครครั้งนี้น้อย หนีออกอยู่ป่าดงห้วยเขาต้อนไม่ได้เป็นอันมาก ให้เอาบ้านท่าจีนตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็นเมืองนนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี...."
ตามพงศาวดารบันทึกตรงกับ พ.. 2086 (ศักราช 905 ปีเถาะเบญจศก) แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงเรื่องศึกหงสาวดีครั้งที่ 1 (คราวเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย) ไว้ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 1 พร้อมพระอธิบายของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าพม่ายกเข้ามาเมื่อปีวอก จ.. ๙๑๐ ครั้งเดียว ที่หนังสือพระราชทานพงศาวดารผิดตรงนี้เป็นด้วยหลงปีที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์ว่าเป็นปีฉลู จ.. 891 (.. 2072) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเหตุผลว่า ได้ตรวจสอบจากจดหมายเหตุเดิมซึ่งรวบรวมมาตรวจเมื่อแต่งหนังสือพระราชพงศาวดารบางฉบับ คงกล่าวเพียงว่า ในปีที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์นั้น พระเจ้าหงสาวดียกกองทัพเข้ามาบางฉบับลงไว้แต่ศักราชว่า พระเจ้าหงสาวดียกกองทัพเข้ามาเมื่อปีวอก จ.. 910 ซึ่งเป็นความจริงทั้งสองฝ่าย แต่ผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารลงศักราช ปีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์เร็วไป 19 ปี จึงเข้าใจไปว่าศึกหงสาวดีเป็น 2 ครั้ง เมื่อหาเรื่องราวการรบไม่ได้ จึงลงไว้ในพระราชพงศาวดารว่า ครั้งแรกพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาพอเห็น พระนครแล้วก็กลับไป ไม่ได้รบพุ่งอันใดกันในครั้งนั้น ไปรบกันต่อเมื่อยกเข้ามาครั้งที่ 2 เรื่องตรงนี้สอบในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐและพงศาวดารพม่าได้ความยุติต้องกันว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์ เมื่อปีวอก จ.. 910 (.. 2091) เสวยราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้ก็ยกกองทัพเข้ามา มาครั้งเดียว และได้รบกันจนเสียพระสุริโยทัยในคราวนี้เอง

สมัยรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ได้เสด็จฯ ธุดงค์มาพบพระปฐมเจดีย์ พระองค์โปรดให้สืบดูทางฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีพระเจดีย์องค์ใดใหญ่โตกว่าที่พระปฐมเจดีย์ จึงกราบทูลให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ และขอให้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ไว้เชิดชูพระเกียรติยศ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงสนพระทัยครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์แล้ว และจนถึง พ.. 2396 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระเจดีย์ครอบสถูปองค์เดิมไว้ (เป็นแบบทรงระฆังคว่ำ องค์เดิมเป็นพระปรางค์ เหมือนพระประโทณที่วัดพระประโทณในปัจจุบัน – ผู้จัดทำ) และบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์เสียใหม่ มีความสูง 3 เส้น 1 คืบ 6 นิ้ว หรือประมาณ 120.45 เมตร พร้อมกับการขุดคลองเจดีย์บูชา และคลองมหาสวัสดิ์เพื่อการคมนาคม
อีก 2 ปีต่อมา คือ พ.. 2398 โปรดเกล้าฯ ให้นครปฐม (นครชัยศรี) ซึ่งขึ้นอยู่กับ กรมมหาดไทยมาก่อน มาขึ้นอยู่กับกรมท่าเรื่อยมาจนปลายรัชสมัยของพระองค์ เมืองนครปฐมจึงได้กลายมาเป็นหัวเมืองชั้นจัตวาขึ้นอยู่กับสมุหนายก
ครั้น พ.. 2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ ทรงดำริว่าควรรวมการปกครองบังคับบัญชาแห่งเมืองทั้งปวง ให้ขึ้นอยู่กับสมุหนายก โดยปรับปรุงเขตการปกครองเดิมเข้าเป็นมณฑลใหม่ และในปี พ.. 2438 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครชัยศรีขึ้น ประกอบด้วย 3 เมืองด้วยกัน คือ เมืองนครชัยศรี สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี โดยมีเทศาภิบาลปกครองบังคับบัญชา ผู้ว่าราชการเมืองอีกชั้นหนึ่ง และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2441 ทรงย้ายเมืองนครชัยศรี และให้ที่ว่าการมณฑลไปตั้งทำการที่ระเบียงพระปฐมเจดีย์เป็นการชั่วคราวก่อน เนื่องจากว่าที่ตั้งที่ทำการมณฑลมิได้ประจำอยู่ที่ระเบียงพระปฐมเจดีย์ตลอดเวลา เมืองนครชัยศรีเดิมซึ่งตั้งมาแต่สมัยอยุธยาจึงลดความสำคัญลง
ในปี พ.. 2443 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่อง "ปาฐกถาเรื่องสงวนของโบราณ" ฉบับพิมพ์ พ.. 2473 ความตอนหนึ่งว่า
"เมื่อเริ่มสร้างรถไฟสายใต้ใน พ.. 2443 เวลานั้นท้องที่รอบพระปฐมเจดีย์ยังเป็นป่าเปลี่ยวอยู่โดยมาก ในป่าเหล่านั้นมีซากพระเจดีย์โบราณขนาดใหญ่ ๆ ซึ่งสร้างทันสมัยพระปฐมเจดีย์อยู่หลายองค์ พวกรับเหมาทำทางรถไฟไปรื้อเอาอิฐพระเจดีย์เก่ามาถมเป็นอับเฉากลางรางรถไฟ ได้อิฐพอถมตั้งแต่สถานีบางกอกน้อยไปตลอดระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อย้ายที่ว่าการมณฑลจากริมแม่น้ำขึ้นไม่ต่ำ ณ ตำบลพระปฐมเจดีย์สิรื้อกันเสียหมดแล้ว ก็ได้แต่เก็บศิลาเครื่องประดับพระเจดีย์เก่าเหล่านั้นมารวบรวมรักษาไว้ ยังปรากฏอยู่รอบพระระเบียงพระปฐมเจดีย์บัดนี้"
อีกปีหนึ่งต่อมา คือ พ.. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้วางผังเมือง อาคารสถานที่และย้ายเมืองนครชัยศรีไปอยู่ที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ (ฉบับที่กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ฉบับพิมพ์ พ.. 2506 ระบุว่าย้าย พ.. 2444 ตรงกับวันที่ 11 เมษายน ร.. 120) จึงมีราษฎรอพยพไปอยู่กันหนาแน่นขึ้น ในการวางผังเมือง ได้โปรดให้ตัดถนนหนทางเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายสาย เช่น ถนนหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ ตรงไปผ่าหน้าพระประโทณเจดีย์ และพระราชทานชื่อว่าถนนเทศา ถนนรอบองค์พระปฐมเจดีย์ โดยพระราชทานชื่อถนนด้านนอกว่า ถนนหน้าพระ ทางเหนือชื่อถนนซ้ายพระ ทางใต้ชื่อถนนขวาพระ ทางตะวันตกชื่อถนนหลังพระ ฯลฯ เป็นต้น และ ต่อมาปี พ.. 2461 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลองเจดีย์บูชาขึ้นสะพานหนึ่งทรงพระราชทานนามว่า สะพานเจริญศรัทธา สำหรับชื่อจังหวัด "นครปฐม" นั้น ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 6 นี้ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.. 2456 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองนครชัยศรีเป็นเมืองนครปฐม แต่ยังคงเรียกว่า มณฑลนครชัยศรีอยู่ตามเดิม จนถึง พ.. 2475 ได้มีประกาศยกเลิกมณฑลนครชัยศรีและโอนให้การปกครองจังหวัดในมณฑล นครชัยศรีไปรวมกับมณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรีมีชื่อเป็นมณฑลอยู่รวมทั้งสิ้น 38 ปี และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2476 จังหวัดนครปฐมซึ่งเคยขึ้นกับมณฑลราชบุรีก็แยกมาเป็นเขตการปกครองส่วนภูมิภาคอิสระเป็นจังหวัดนครปฐมเรื่อยมาจนถึง ทุกวันนี้

No comments:

Post a Comment