จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ ของไทย (ขึ้นต้นด้วย หน,อ)

ประวัติศาสตร์จังหวัดหนองคาย
ตราประจำจังหวัด


รูปกอไผ่ริมหนองน้ำ
คำขวัญประจำจังหวัด

วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว

 สมัยกรุงธนบุรี
ปี พ.. 2314 ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี พระวอ (พระวรราชภักดี) อุปราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต และพระตา เสนาบดี เกิดขัดใจกันกับพระเจ้าศิริบุญสาร กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ ในครั้งนั้น พระวอพระตาเป็นนายกองอยู่บ้านหินโงม จึงรวบรวมไพร่พลไปสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองบัวลำภู(จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน) ใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองนครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน" (ในพระราชวิจารณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี เรียกว่า เมืองจำปา นครขวางกาบแก้วบัวบาน)
พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมาปราบแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาพระวอพระตาเกรงจะถูกรุกรานอีก จึงไปขออ่อนน้อมต่อพม่าเพื่อขอกำลังมาโจมตีเวียงจันทน์ เมื่อทางเวียงจันทน์ทราบเรื่องก็ส่งทูตไปขออ่อนน้อมต่อพม่าบ้าง แล้วยกกองทัพเข้าตีเมืองหนองบัวลำภูแตก พระตาตายในที่รบ พระวอจึงอพยพหนีไปตั้งมั่นอยู่ที่ตำบลหนองมดแดง (อยู่ในเขตอุบลราชธานีในปัจจุบัน) แล้วแต่งเครื่องบรรณาการไปขอเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินยอมรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย
ปี พ.. 2318 (.. 1776) พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมาโจมตีพระวอที่ดอนมดแดง กองทัพเวียงจันทน์ได้จับตัวพระวอฆ่าตาย พรรคพวกของพระวอจึงถือสาส์นไปยังเมืองนครราชสีมาเพื่อขอกำลังพระเจ้าตากสินไปช่วย พระเจ้าตากสินโปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพยกไปตีเวียงจันทน์ กองทัพไทยยกไปทางนครจำปาศักดิ์ แต่กองทัพเวียงจันทน์ถอยกลับไปแล้วเจ้าไชยกุมาร ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ยอมอ่อนข้อแต่โดยดี จากนั้นกองทัพไทยได้ยกไปตีเวียงจันทน์ล้อมอยู่นานถึงสี่เดือนจึงตีเมืองเวียงจันทน์ได้ และการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งนั้น ทางหลวงพระบางได้ยกทัพมาช่วยไทยตีเมืองเวียงจันทน์ด้วย เมื่อไทยยึดได้เวียงจันทน์ หลวงพระบางก็ยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นต่อไทยกองทัพไทยได้กวาดต้อนผู้คนชาวลาวและทรัพย์สิน พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์ และพระบางจากหลวงพระบางลงมากรุงเทพฯ (ภายหลังได้คืนพระบางให้หลวงพระบางตามเดิม เพราะเชื่อมั่นว่าถ้าพระบางและพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในเมืองเดียวกัน เมืองนั้นจะเกิดวิบัติขึ้น)
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ปี พ.. 2338 (.. 1895) ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าศิริบุญสาร ได้กลับมาที่เวียงจันทน์ ได้จับพระยาสุโภซึ่งรั้งเมืองเวียงจันทน์ฆ่าเสีย แล้วตั้งมั่นอยู่ในเวียงจันทน์ต่อมาเจ้านันทเสนได้ครองเวียงจันทน์ แต่อ่อนแอจึงถูกถอดออกจากราชสมบัติ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวงศ์ เป็นกษัตริย์แทน เมื่อสิ้นเจ้าอินทวงศ์แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอนุวงศ์อุปราชเป็นกษัตริย์ครองเวียงจันทน์แทน
เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ
ในสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าอนุวงศ์ยังคงแสดงความจงรักภักดีดังเดิม เช่นเมื่อคราวเกิดกบฏโดยพวกข่าก่อความวุ่นวายขึ้นที่เมืองจำปาศักดิ์ ใน พ.. 2362 เรียกว่า "กบฏไอ้สาเขียดโง้ง" เจ้าอนุวงศ์รับอาสาไปปราบจนได้ชัยชนะ แล้วขอให้เจ้าราชบุตร (โย้) ไปเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ รัชกาลที่ 2 ก็ทรงอนุญาต
ครั้นรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.. 2367 ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับ
เวียงจันทน์ก็ค่อยห่างเหินไปในรัชกาลที่ 3
.. 2368 เจ้าอนุวงศ์มาถวายบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ 2 แล้วกราบทูลขอละครผู้หญิงในวังไปแสดงที่เวียงจันทน์ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ทรงอนุญาตตามที่ขอ เจ้าอนุวงศ์ก็ไม่พอใจ นอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาต พาชาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีกลับบ้านเมืองเดิม ก็ไม่ทรงโปรดอนุญาต เป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์รู้สึกอัปยศอดสูและขัดเคืองเป็นอย่างยิ่ง
ขณะนั้น เป็นเวลาที่ญวนกำลังแย่งอำนาจเข้าครอบครองเขมร และคิดจะยึดเอาหัวเมืองลาวไว้ในอำนาจของตนด้วย จึงส่งคนมาเกลี้ยกล่อมเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงได้โอกาสหันไปฝักใฝ่กับญวน โดยหวังให้ญวนหนุนหลังตน และเป็นระยะเวลาที่ไทยขัดใจกับอังกฤษเรื่องเมืองไทรบุรี ครั้นเจ้าอนุวงศ์สืบทราบว่าไทยมีผู้ชำนาญศึกเหลือน้อยลง เหลือแต่เจ้านายรุ่นหนุ่ม ๆอ่อนอาวุโส เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งแข็งเมืองและเป็นกบฏขึ้น
.. 2369 เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ยกกองทัพผ่านหัวเมืองรายทางมาจนถึงนครราชสีมาทางกรุงเทพฯ ได้โปรดให้พระยาราชสุภาวดี (ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา "สิ่งห์สิงหเสนี") เป็นแม่ทัพมาปราบ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ยกทัพมาจากเมืองยโสธร และพระยาเอียงสา มาช่วยเป็นกำลังสำคัญ ในที่สุดสามารถจับตัวเจ้าอนุวงศ์ลงไปกรุงเทพฯ สำเร็จ และได้พระราชทานบำเหน็จทุกถ้วนหน้า แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมาเลือกทำเลที่จะสร้างเมือง 4 เมือง คือ
1. เมืองพานพร้าว อยู่ตรงข้ามกับเวียงจันทน์ (ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่)
2. เมืองเวียงคุก
3. เมืองปะโค
4. บ้านไผ่ (บ้านบึงค่าย)
.. 2370 ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ได้เลือกเอาบ้านไผ่สร้างขึ้นเป็นเมืองหนองคายโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เป็นพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรก และให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นตรงต่อเมืองหนองคาย
.. 2434 ภายหลังกบฏฮ่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นสมุหเทศาภิบาลประจำมณฑลลาวพวนตั้งที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองหนองคาย (ต่อมาเป็นมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลอุดร)
.. 2436 (เหตุการณ์ ร.. 112) ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขงให้แกฝรั่งเศสและระบุในสัญญาว่า "ห้ามมิให้ไทยตั้งหรือนำกองทัพทหารอยู่ในเขต 25 กิโลเมตร จากชายแดน" กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมจึงได้ย้ายที่ทำการมณฑลไปอยู่บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง และตั้งเป็นมณฑลอุดรมาจนถึงรัชกาลที่ 6
ในปี พ.. 2443 ได้มีการแก้ไขการปกครองมณฑลที่มีอยู่ก่อน พ.. 2436 ให้เป็นลักษณะเทศาภิบาลขึ้น รวมหัวเมืองเข้าเป็นบริเวณมีฐานะเท่าจังหวัดเดี๋ยวนี้ มณฑลอุดรได้รวมหัวเมืองเป็นบริเวณ 5 บริเวณ คือ
1. บริเวณหมากแข้ง ตั้งที่ทำการที่บ้านหมากแข้ง คือ จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน
2. บริเวณธาตุพนม ตั้งที่ทำการที่เมืองนครพนม
3. บริเวณนํ้าเหือง ตั้งที่ทำการที่เมืองเลย
4. บริเวณพาชี ตั้งที่ทำการที่เมืองขอนแก่น
5. บริเวณสกลนคร ตั้งที่ทำการที่เมืองสกลนคร
ส่วนเมืองหนองคายซึ่งเคยเป็นที่ตั้งบัญชาการมณฑลอุดรมาแต่ก่อนนั้นไม่มีรายชื่อ บริเวณซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.. 2443 แต่การปฏิบัติราชการของเมืองนั้นก็ยังคงดำเนินมาในฐานะเสมือนเมืองหรือบริเวณหนึ่ง ดังนั้นในวันที่ 1 เมษายน พ.. 2458 จึงโปรดให้ประกาศตั้งเมืองหนองคายขึ้นเป็นเมือง โดยมีข้าหลวงคนแรกชื่อว่าพระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์)
.. 2457 ในรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น โดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองนคร (เจ้าเมือง) ทั่วประเทศ พ.. 2459 เปลี่ยนคำเรียกชื่อ "เมือง" มาเป็น "จังหวัด" มีข้าหลวงปกครอง (ต่อมาเรียก "ผู้ว่าราชการจังหวัด")
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงหมาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบอบการปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบอบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีดั้งเดิมของไทย คือระบบกินเมืองให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบากหัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกันโดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ "การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า  "การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือจังหวัดรองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็วแก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล" นั้น คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้น แยกกันอยู่ 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรก ที่ได้วางแผนงาน จัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรีมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมลายูตะวันตกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปี พ.. 2442 ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยองและตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรังปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้นและการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1) จังหวัด
2) อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ประวัติศาสตร์จังหวัดหนองบัวลำภู
ตราประจำจังหวัด


รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาล เบื้องหลังเป็นหนองบัวลำภู
คำขวัญประจำจังหวัด

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว
เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ - สมัยทวารวดี- สมัยขอมหรือเขมร
จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง
ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้ค้นพบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมา ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเถอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรรคูหา
ประมาณ พ.ศ. 1500 - พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอมหรือเขมร พบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เป็นศิปละขอมหรือเขมร เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ และอักษารขอมโบราณที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา
สมัยสุโขทัย
พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1961 ในสมัยสุโขทัย เป็นสมัยอาณาจักรล้านช้างก่อกำเนิดในภาคอีสาน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้างุ้มฟ้าและพระเจ้าสามแสน พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลและเป็นเขตอาณาจักรล้านช้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจนไปถึงแอ่งโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาสู่แอ่งสกลนครจนไปถึงบริเวณพระธาตุพนม เลยลงไปถึงแดนเขมรจนปัจจุบันเรียกว่า อีสานใต้ (จากพงศาวดารล้านช้าง) พื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภูจึงได้รับอิทธิพลล้านช้างซึ่งแพร่หลายในขณะนั้นในบริเวณแอ่งสกลนคร และรับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) เป็นศาสนาประจำถิ่นตามผู้ปกครองอาณาจักร
สมัยอยุธยา
ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์) ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางเและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง และยกฐานะเป็นเมือง "เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน" มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า "หนองบัวลุ่มภู" ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง
ปี พ.ศ. 2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าหงสาวดี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกับกรุงเวียงจันทน์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปในระหว่างการรบปราบญวน เวียงจันทน์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติจึงได้ถือโอกาสเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับแรมที่บริเวณหนองบัว เนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีได้รับข่าวจึงอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรเดินทางกลับเพื่อรักษาพระองค์
ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลังพร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ "เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน"ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกเทศราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด้านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง
สมัยธนบุรี
ประมาณ พ.ศ. 2310 ตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอพระตาที่เมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"(ชื่อจังหวัดหนองบัวลำภูในสมัยนั้น) ทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั่น(น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากพม่ามาช่วยรบ จึงสามารถตีเมืองแตกได้ พระตาถูกข้าศึกฆ่าในสนามรบ ส่วนพระวออพยพไพร่พลไปขอพึงบารมีเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาได้แยกมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี
ปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น "เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์
ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง "หนองบัวลุ่มภู" ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขัง
ปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวกาว" เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวพวน" และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า "ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว" หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง "พระวิชดยดมกมุทเขต" มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์" และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมือง
ปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กมภวาปี กมุทะาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้ง
ปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น "เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน"ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง
ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น "อำเภอหนองบัวลำภู" และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ
1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 2491
2. กิ่งอำเภอศรีบุญเรื่อง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
3. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
ปี พ.ศ. 2536 ประกาศแต่งตั้งเป็น "จังหวัดหนองบัวลำภู" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536

          จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดที่ 75 ของประเทศ มีอายุจากความเป็นเมืองครั้งแรกถึง 450 ปี มีอายุจากความเป็นชุมชนมากกว่า 2,500 ปี จากการก่อตั้งจังหวัดจากวันที่ 1 ธันวาคม 2536 มาจนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2556 รวมอายุ 19 ปี จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและสวยงาม ทั้งภูเขา ผืนน้ำและผืนป่าที่คงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองอุ่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ และเป็นดินแดนแห่งธรรมที่สลบสุขอย่างแท้จริง ดังยุทธศาสตร์จังหวัดที่ว่า หนองบัวลำภูเมืองน่าอยู่ เคียงคู่รู้ค่าธรรมชาติ ประชาชนฉลาดทำกิน ในดินแดนสันติสุข จากความที่เป็นเมืองโบราณและมีประวัติศาสตร์ที่สำคัญ และมีความสอดคล้องกับสภาพวิถีชุมชน         
          ตราประจำจังหวัดหนองบัวลำภู คือ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ธงประจำจังหวัด คือ ผืนธงสีขาว ซึ่งหมายถึงแผ่นดินธรรม ชื่อจังหวัดหมายถึง ศิลปหัตถกรรมทอผ้า ชายผ้าที่ปูเป็นปมหมายถึง ความสามัคคีและผูกพัน มีสีประจำจังหวัดคือ ต้นไม้ประจำจังหวัดคือ ต้นพะยูง ซึ่งหมายถึง ความเป็นปึกแผ่นความมั่นคง สีประจำจังหวัด คือ สีขาวและสีชมพู สีขาวหมายถึง แผ่นดินธรรม สีชมพู หมายถึง ความรู้รักสามัคคี ดอกไม้ประจำจังหวัดคือ ดอกบัวหลวง ซึ่งหมายถึง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานในอดีตปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู คำขวัญ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยและกุดคอเมย ที่อำเภอโนนสัง ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ พร้อมกับภาชนะเครื่องปั้นดินเผา อายุประมาณ 2,500 ปี      
          ประมาณ พ.ศ. 1100 พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมาหินทราย ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวกที่อำเภอสุวรรณคูหา       

          ประมาณ ปี พ.ศ. 1500 พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอม พบโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง และอักษรขอมที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา      
          พ.ศ. 1896 1961 อยู่ในสมัยสุโขทัย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มและพระเจ้าสามแสนไทย พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมไทย-ลาว(ล้านช้าง) ครอบคลุมภาคอีสานจึงที่ราบโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาในแอ่งสกลนครจนถึงบริเวณพระธาตุพนม (ที่มา..จากพงศาวดารล้านช้าง)    
          ประมาณปี พ.ศ.2106 พระไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้นำผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยในเขตพื้นที่ของจังหวัดหนองบัวลำภู ดังหลักฐานที่ปรากฎในหลักศิลาจารึกและสร้างพระพุทธรูปไว้ที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พล มาบูรณะสร้างบ้านแปงเมืองหนองบัวลุ่มภู ขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำช้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยที่ขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราช ได้สร้าง พระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง และยกฐานะเป็นเมือง จำปานครกาบแก้วบัวบานมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เมืองหนองบัวลุ่มภู       
          ปี พ.ศ.2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกรุงเวียงจันทร์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาได้หายสาบสูญในระหว่างการรบปราบญวน เวียงจันทร์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ จึงถือโอกาสเข้าตีเวียงจันทร์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับพักแรมที่บริเวณหนองบัว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ จึงเสด็จนำกองทัพไทยกลับสู่กรุงศรีอยุธยา โดยที่ยังไม่สู้รบ          ประมาณปี พ.ศ.2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา พระวอ ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น พระวรราชภักดี และพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกันกับพระเจ้าสิริบุญสารผู้เป็นโอรส อพยพหนีข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา บูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ จำปานครกาบแก้วบัวบานและตั้งชื่อเมืองใหม่ชื่อว่า นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน   
          ประมาณ ปีพ.ศ.2310 ซึ่งตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทร์ ยกกองทัพมาตีพระวอและพระตา ที่เมือง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั้น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากกองทัพพม่ามาช่วย จึงสามารถตีเมืองแตกได้ เจ้าพระตาถูกข้าศึกฆ่าตายในสนามรบ ส่วนพระวออพยพผู้คนไปขอพึ่งบารมีเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาได้แยกมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบัน คือ จังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี ช่วงนี้เมือง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานกลายเป็นเมืองร้าง     
          ปี พ.ศ.2321 พระเจ้าศริบุญสารยกกองทัพมารุกรานพระวอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ยกกองทัพมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ ได้นำ พระแก้วมรกต ซึ่งพระไชยเชษฐานำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับคืนมาสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรี ไดัรับบำเหน็จความชอบเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมืองเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และ เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน                                                
ปี พ.ศ.2196 พ.ศ.2371 ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์ แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฏ ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมา ทางกรุงเทพฯ ส่งกองทัพมาปราบ เจ้าอนุวงษ์ได้ถอยทัพกลับมาตั้งรับที่หนองบัวลุ่มภูต่อสู้รบกันเป็นสามารถ และติดตามขับไล่ตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่นครเวียงจันทน์ แล้วได้นำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ ด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจึงเสียชีวิตในกรงขัง

          ปี พ.ศ.2433 สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าให้จัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้ เมืองหนองบัวลำภูได้ขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย         
          ปี พ.ศ.2434 โปรดเกล้าฯ ให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า ข้าหลวงเมืองลาวกาว เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองหนองคาย เรียกว่า ข้าหลวงเมืองลาวพวน และ กรมหลวงประสิทธิ์ประสงค์ ประทับ ณ เมืองหลวงพระบาง เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพุงขาว หนองบัวลุ่มภูขึ้นสังกัดกับหัวเมืองลาวพวน ซึ่งมีเมืองหนองคายเป็นศูนย์ กลาง พระปทุมเทวาภิบาล เป็นเจ้าเมือง และได้แต่งตั้ง พระวิชโยดมกมุทเขต มาครองเมือง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองใหม่ว่า เมืองกมุทธาสัยและเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมือง        
          ปี พ.ศ.2437 สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาค เป็นมณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยนข้าหลวงใหญ่ เป็นสมุหเทศาภิบาล ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย    
          ปี พ.ศ.2443 รัชกาลที่ 5 เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมเมืองต่างๆ ในมณฑลอุดรเป็น 5 บริเวณ คือ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัย ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้ง ประกอบด้วย 7 เมือง คือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทธาสัย โพนพิสัย และเมืองรัตนวาปี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บริเวณบ้านหมากแข้ง 
          ปี พ.ศ.2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองกมุทธาสัย มาเป็น เมืองหนองบัวลำภู ขึ้นอยู่กับบริเวณหมากแข้ง   
          ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่างๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า เมืองอุดรธานี ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู โดยมี พระวิจารณ์กมุทธกิจ เป็นนายอำเภอคนแรก ประกอบด้วย 4 กิ่งอำเภอ คือ    
          1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2491
          2. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508       
          3. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508 
          4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2508      
          ปี พ.ศ.2536 ประกาศแต่งตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภูเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2536 ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอโนนสัง อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง            จังหวัดหนองบัวลำภู มีชื่อทั้งหมด 7 ชื่อคือ  

          ชื่อที่ 1. ชื่อเมืองจำปานครกาบแก้วบัวบาน ตั้งชื่อโดย พระไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์)ประมาณปี พ.ศ.2106 นับมาถึงวันนี้ มีอายุ 450 ปี      
          ชื่อที่ 2. ชื่อเมืองหนองบัวลุ่มภู เป็นชื่อที่เรียกอีกชื่อหนึ่งของเมือง จำปานครกาบแก้วบัวบ้าน นับมาถึงวันนี้ มีอายุ 450 ปี   
          ชื่อที่ 3. ชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ก่อตั้งเมืองโดย พระวอ หรือ พระวรราชภักดี และพระตา ประมาณปี พ.ศ.2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา นับมาถึงวันนี้ มีอายุ 254 ปี           
          ชื่อที่ 4. ชื่อเมืองกมุทธาสัย ก่อตั้งชื่อในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าให้จัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ ได้แต่งตั้ง พระวิชโยดมกมุทเขต มาครองเมือง นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเมืองเอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองใหม่ว่า เมืองกมุทธาสัยและเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมือง ปี พ.ศ.2433 นับมาถึงวันนี้ มีอายุ 124 ปี 
          ชื่อที่ 5. ชื่อเมืองหนองบัวลำภู ก่อตั้งในรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองกมุทธาสัย มาเป็น เมืองหนองบัวลำภู ปี พ.ศ.2449 นับมาถึงวันนี้ มีอายุ 107 ปี         
          ชื่อที่ 6. ชื่ออำเภอหนองบัวลำภู รัชกายที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้กระทรวงมหาดไทย
รวมเมืองต่าง ๆ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู โดยมี พระวิจารณ์กมุทธกิจ เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2450 นับมาถึงวันนี้ มีอายุ 106 ปี  
          ชื่อที่ 7. จังหวัดหนองบัวลำภู ประกาศแต่งตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภูเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 นับมาถึงวันที่ 31  ธันวาคม  2557 มีอายุ 21 ปี

ประวัติศาสตร์จังหวัดอ่างทอง

ตราประจำจังหวัด


รูปรวงข้าวในอ่างน้ำสีทอง
คำขวัญประจำจังหวัด

พระสมเด็จเกษไชไย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน 


สมัยกรุงศรีอยุธยา
เนื่องจากอ่างทองเป็นเขตติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา จึงมีเรื่องราวที่กล่าวถึงท้องที่ในอ่างทองหลายตอนด้วยกัน แต่สมัยอยุธยาตอนต้นนั้นยังไม่ปรากฏชื่อเมืองนี้ เข้าใจว่าจะเป็นเพียงชายเขตแขวงพระนครเท่านั้น แม้กระทั่งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีชื่อเมืองในท้องที่ของอ่างทองเลย หนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า เมื่อคราวพม่ายกทัพมาประชิดพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้น ได้มีการเกณฑ์ทัพเพื่อรักษาพระนครจากเมืองใกล้เคียง โดยกล่าวชื่อเมืองใกล้เคียงพระนครหลายเมือง  เช่น เมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองชัยนาท เมืองลพบุรี เมืองนครนายก เป็นต้น ไม่เคยกล่าวถึงเมืองอ่างทองหรือชื่อเมืองวิเศษชัยชาญอันเป็นชื่อเก่าของเมืองอ่างทองเลย เพียงแต่กล่าวไว้ตอนที่พม่ายกทัพเข้ามาว่า “…พม่าก็ยกตามเข้ามาทาง       ลำ สามโก้ ป่าโมก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแถวบางโผงเผง เข้ามาชานพระนครทางทุ่งลุมพลีข้างด้านเหนือลำสามโก้ปัจจุบันเป็นชื่อตำบลอยู่ในอำเภอสามโก้ ป่าโมกก็เป็นชื่อตำบลอยู่ในอำเภอป่าโมกเช่นกัน ส่วนบางโผงเผงนั้นอยู่ในท้องที่อำเภอป่าโมก พระราชพงศาวดารมิได้กล่าวว่าตำบลทั้งสามขึ้นกับเมืองใด สันนิษฐานว่าแต่ก่อนอาจจะรวมอยู่ในแขวงพระนครหลวง ยังไม่ยกฐานะเป็นเมือง เพราะอยู่ใกล้พระนครหลวงมาก
ราว พ.. 2122 ในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา ท้องที่ของอ่างทองก็ถูกกล่าวไว้ในพงศาวดารอีกตอนหนึ่งว่า ในปีนั้นเกิดกบฏญาณพิเชียรเป็นจลาจลในจังหวัดแขวงหลวง และญาณพิเชียรนั้นเรียนคุณโกหก กระทำการอัมพิปริตสำแดงแก่ชาวชนบทประเทศนั้น และซ่องสุมเอาเป็นพวกได้มาก ญาณพิเชียรก็ซ่องคนในตำบลบ้านยี่ล้น ขุนศรีมงคลแขวงส่งข่าวกบฏนั้นเข้ามาถวายถึงสมเด็จพระบรมบพิตร พระพุทธเจ้าหลวง ก็มีพระราชโองการ ตรัสใช้เจ้าพระยาจักรีให้ยกพลทหารออกไปจับญาณพิเชียรซึ่งเป็นกบฏ เจ้าพระยาจักรีและขุนหมื่นทั้งหลายยกออกไปตั้งทัพในตำบลบ้านมหาดไทยตำบลที่ถูกกล่าวถึงมี 2 ตำบลคือ ตำบลบ้านยี่ล้น ปัจจุบันเป็นตำบลยี่ล้น ขึ้นกับอำเภอวิเศษชัยชาญ และตำบลบ้านมหาดไทยปัจจุบันเป็นตำบลมหาดไทย ขึ้นกับอำเภอเมืองอ่างทอง มีเขตติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญ ซึ่งสมัยนั้นก็ยังไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นแขวงเมืองใด เป็นแต่กล่าวว่า “…ญาณพิเชียรเป็นจลาจลในจังหวัดแขวงหลวง…”  จึงสันนิษฐานว่าท้องที่อ่างทองในขณะนั้นคงจะเป็นอาณาเขตที่ขึ้นกับพระนครหลวง
ต่อมาราว พ.. 2127 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาเช่นกัน พระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงชื่อเมืองวิเศษชัยชาญเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกกองทัพไปรบกับพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณ ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งปรากฏดังนี้ “…ครั้นถึงเดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถก็เสด็จโดยกระบวนเรือจากกรุงศรีอยุธยาไปทำพิธีเหยียบชิงชัยภูมิ ฟันไม้ข่มนามที่ตำบลลุมพลี แล้วเสด็จไปประทับที่แขวงเมืองวิเศษชัยชาญอันเป็นที่ประชุมพล…” เมืองวิเศษชัยชาญก็คือเมืองอ่างทองเก่านั้นเอง ส่วนจะยกฐานะขึ้นเป็นเมืองวิเศษชัยชาญเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดาร เข้าใจว่าจะต้องเป็นช่วงเวลาระยะ พ.. 2122-2127 (น่าจะเป็นปี พ.. 2127 หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรกลับจากประกาศอิสรภาพแล้ว พระมหาธรรมราชามอบหมายการป้องกันพระนครให้สมเด็จพระนเรศวร และยังได้อพยพครัวเรือนจากเมืองพิษณุโลกเข้ามาในพระนคร และได้ตั้งเมืองวิเศษชัยชาญขึ้นเพื่อเป็นจุดรวมกำลังเสบียงอาหาร และเป็นเมืองหน้าด่านของพระนคร)
นับแต่เริ่มปรากฏชื่อเมืองวิเศษชัยชาญในพระราชพงศาวดารแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองวิเศษชัยชาญและท้องที่อ่างทองที่ขึ้นกับแขวงวิเศษชัยชาญในสมัยนั้น ก็ถูกกล่าวในพระราชพงศาวดารบ่อยครั้ง เช่น ป่าโมก ชะไว สระเกษ บางแก้ว เอกราช ฯลฯ ซึ่งจะกล่าวโดยลำดับไปดังนี้
.. 2127 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับคราวที่รบกับพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรีนั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่ากองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกลงมาก็เสด็จยกกองทัพหลวงไปกับสมเด็จพระเอกา-ทศรถ ไปตั้งทัพหลวงอยู่ที่บ้านชะไว แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ปัจจุบันบ้านชะไวเป็นตำบลชะไว ขึ้นกับอำเภอไชโย
.. 2128 พระเจ้าเชียงใหม่ยกกองทัพมาแก้แค้น ยกทัพมาตั้งอยู่ที่บ้านสระเกษในแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกทัพไปถึงตำบลป่าโมก ก็พบกับกองทัพพม่าซึ่งลงมาเที่ยวรังแกราษฎรทางเมืองวิเศษชัยชาญ จึงได้เข้าโจมตีจนทัพพม่าล่าถอยไป พระเจ้าเชียงใหม่จึงจัดกองทัพยกลงมาอีก สมเด็จพระนเรศวรจึงดำรัสสั่งให้พระราชมนูคุมกองทัพขึ้นไปลาดตระเวนดูก่อน กองทัพพระราชมนูไปปะทะกับพม่าที่บ้านบางแก้ว สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปถึงบ้านแห จึงมีดำรัสให้ข้าหลวงขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ทำเป็นล่าทัพกลับถอยลงมา แล้วพระองค์กับพระอนุชาก็รุกไล่ตีทัพพม่าแตกพ่ายทั้งทัพหน้าและทัพหลวง จนถึงค่ายที่ตั้งทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกษ ทัพของพระเจ้าเชียงใหม่จึงแตกกระจัดกระจายไป ปัจจุบันนี้บ้านสระเกษ เปลี่ยนเป็นตำบลไชยภูมิ ขึ้นอยู่กับอำเภอไชโย สำหรับบ้านบางแก้วและบ้านแห ก็เป็นตำบลในอำเภอเมืองอ่างทอง
.. 2130 ท้องที่อำเภอป่าโมกก็เป็นสนามรบในคราวที่พระเจ้ากรุงหงสาวดีล้อมกรุงศรีอยุธยา คราวนี้ทัพไทยเอาปืนใหญ่ลงในเรือสำเภาขึ้นไประดมยิงค่ายหลวงพระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าหง  -สาวดีทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องรีบถอยทัพหลวงกลับขึ้นไปตั้งอยู่ที่ป่าโมก สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอ- กาทศรถเสด็จโดยขบวนทัพเรือ ตีตามกองทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีไปจนถึงป่าโมกจนพม่าเลิกทัพกลับไป
.. 2135 คราวสมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกทัพจากกรุงศรอยุธยาไปตั้งอยู่ที่ทุ่งป่าโมก แล้วเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรีผ่านบ้านสามโก้ ไปกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ที่ตำบลกะพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี จนมีชัยชนะในครั้งนั้น
.. 2147 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกทัพไปตีเมืองอังวะ ก็เสด็จพักพลที่ป่าโมกอีก ตามพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า “…ก็มีพระราชโองการตรัสให้แต่งตำหนักในตำบลป่าโมก ครั้นเสร็จก็เสด็จด้วยพระชลวิมานโดยทางชลมารค เสด็จเข้าพักพลในตำหนักป่าโมกนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็เสด็จกลับพยุหยาตรา จากตำบล    ป่าโมกเสด็จโดยชลมารคขึ้นเหยียบชัยภูมิในตำบลเอกราช ให้ขุนแผนสะท้านฟันไม้ข่มนามโดยการพิธีพิชัยสงคราม…” (ปัจจุบันนี้ตำบลเอกราชเป็นตำบลหนึ่งขึ้นกับอำเภอป่าโมก และมีเขตติดต่อกับตำบลป่าโมก) สำหรับการสงครามครั้งนี้เป็นครั้งหลังสุดของสมเด็จพระนเรศวร เพราะพระองค์ได้สวรรคตเสียที่เมืองหาง หรือเมืองห้างหลวง ยังมิทันเสด็จถึงเมืองอังวะ สมเด็จพระเอกาทศรถได้เชิญพระบรมศพกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา
ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พระเจ้าเสือได้เสด็จปลอมพระองค์ไปกับมหาดเล็กเที่ยวในงานฉลองพระอาราม และได้ทรงชกมวยกับนักมวยได้ชัยชนะถึง 2 คน ที่ที่เสด็จไปคือบ้านประจันตชนบทแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ดังข้อความในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า        “…ขณะนั้นข้าราชการผู้มีชื่อคนหนึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้าว่า ณ บ้านประจันตชนบท แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ เพลาพรุ่งนี้ชาวบ้านจะทำการฉลองพระอาราม มีมหรสพงานใหญ่…” และอีกตอนหนึ่งว่า “…ครั้งรุ่งขึ้นจึงเสด็จพระชลพาหนะแวดล้อมไปด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงไปตามลำดับชลมารค ถึงตำบลบ้านตลาดกรวดจึงหยุดประทับเรือพระที่นั่งเสด็จขึ้นบกในที่นั้น…” ปัจจุบันตำบลบ้านตลาดกรวดก็คือ ตำบลตลาดกรวด อำเภอเมืองอ่างทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนบ้านประจันตชนบท แขวงเมืองวิเศษชัยชาญนั้น ก็คือหมู่บ้านชนบทที่อยู่นอกพระนครหลวงนั่นเอง มีผู้ให้ความเห็นว่าวัดที่เป็นพระอารามซึ่งมีการมหรสพในสมัยนั้นอาจจะเป็นวัดโพธิ์ถนน หรือวัดถนนก็ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นวัดร้างอยู่ในตำบลตลาดกรวดนั่นเอง
ในแผ่นดินของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ปี พ.. 2269 พระเจ้า   ท้ายสระได้เสด็จไปควบคุมการชะลอพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดป่าโมก ตำบลป่าโมก เพราะเหตุว่าน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้าไปถึงพระวิหาร ถ้าไม่ย้ายที่แล้วอาจพังลงน้ำก็ได้ เมื่อชะลอพระพุทธไสยาสน์เสร็จแล้ว พระเจ้าท้ายสระได้ทรงสร้างพระวิหาร  อุโบสถ พระเจดีย์ หอไตร โดยปฏิสังขรณ์พร้อมกับสร้างขึ้นใหม่ด้วย
ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าบรมโกศ) ก่อนที่พระเจ้าบรมโกศจะได้ครองราชสมบัตินั้น พระเจ้าท้ายสระได้มอบราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระเจ้าบรมโกศไม่เต็มพระทัยให้ราชสมบัติแก่เจ้าฟ้าอภัย เมื่อพระเจ้าท้ายสระสวรรคต พระเจ้าบรมโกศกับเจ้าฟ้าอภัยจึงรบกันกลางพระนคร เจ้าฟ้าอภัยแพ้จึงหนีไปกับเจ้าฟ้าปรเมศร์ โดยลงเรือพระที่นั่งไปทางป่าโมก ครั้นถึงบ้านเลน จึงเสด็จขึ้นเรือหนีไปทางบกจนถึงบ้านเอกราช ผลสุดท้ายถูกจับที่บ้านเอกราชและถูกประหารชีวิตทั้ง 2 พระองค์ และขณะที่เสวยราชสมบัติอยู่ในเวลาต่อมายังได้เคยเสด็จไปฉลองวัดป่าโมก และขึ้นไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์ พระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี และวัดขุนอินทประมูล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองด้วย
ต่อมาราว พ.. 2287 สมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้มีพระราชดำรัสให้นิมนต์พระอาจารย์วัดพันทาบ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ให้เข้านั่งสมาธิช่วยห้ามฝนตก สำหรับวัดพันทาบนั้นในปัจจุบันนี้ยังสำรวจไม่พบว่าอยู่ ณ ที่ใด ได้ดูจากรายชื่อวัดในหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่มที่ 22 ภาคพิเศษก็ไม่มีชื่อวัดนี้ และดูจากบัญชีวัดร้างในจังหวัดอ่างทองจากหนังสือทำเนียบวัดในราชอาณาจักรไทยฉบับกรมการศาสนา พ.. 2486 ก็ไม่มีชื่อวัดนี้เช่นกัน อาจจะตกสำรวจหรืออาจจะเปลี่ยนชื่อวัดเสียแล้วก็ได้
ในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ เจ้าฟ้าอุทุมพร หรือ กรมขุนพรพินิต หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าขุนหลวงหาวัด ซึ่งเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ได้เสด็จออกทรงผนวช ณ วัดโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด และทรงสร้างตึกประทับร้อนเรียกว่า ตึกคำหยาดขึ้นด้วย ปัจจุบันวัดโพธิ์ทองและตึกคำหยาด ก็ยังมีอยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง
และในแผ่นดินของสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์นี้เอง กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า ก่อนที่จะเสียกรุงแก่พม่านั้น พม่าได้ยกทัพมาตั้งค่าย ณ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญด้วย ซ้ำพม่ายังเที่ยวค้นทรัพย์จับผู้คนของเมืองวิเศษชัยชาญอีก และตอนนั้นเองที่เกิดมีวีรบุรุษที่เป็นคนในท้องที่ของอ่างทองหลายคน เช่น นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ทั้ง 4 คนนี้เป็นชาวบ้านสีบัวทอง (ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าบ้านสีบัวทองนั้นขึ้นกับแขวงเมืองสิงห์ แต่ปัจจุบันนี้ บ้านสีทองเป็นตำบลหนึ่งขึ้นกับอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) และมีนายดอก ชาวบ้านกลับ นายทองแก้ว ชาวบ้านโพธิทะเล ทั้งสองคนเป็นชาวเมืองวิเศษชัยชาญได้ร่วมกับชายฉกรรจ์กว่า 400 คน ตั้งค่ายบางระจันขึ้นเพื่อต่อสู้พม่า และมีหัวหน้าอีก 5 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ โดยมีพระอาจารย์ธรรมโชติมาอยู่เป็นกำลังใจและให้การคุ้มครองด้วย การต่อสู้กับพม่าในครั้งนั้นได้ต่อสู้กันถึง    8 ครั้ง เนื่องจากกำลังของทางฝ่ายไทยน้อยกว่า ค่ายบางระจันจึงแตก และสนามรบที่ต่อสู้กันส่วนใหญ่ก็คือท้องที่อำเภอแสวงหาในปัจจุบันนั่นเอง วีรกรรมของคนไทย ครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือและเป็นสิ่งเตือนใจคนรุ่นหลังอยู่เสมอว่าคนไทยนั้นกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เมื่อถึงคราวคับขันไม่เอาตัวรอด ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อชาติพลี ดังนั้นชื่อเสียงและเกียรติคุณของบุคคลดังกล่าวจึงได้ถูกจดจำและกล่าวขวัญกันอยู่เสมอ และคนรุ่นหลังได้สร้างอนุสาวรีย์ผู้กล้าหาญดังกล่าวเป็นสิ่งเตือนใจไว้ในค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และอนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว วีรชนของเมืองวิเศษชัยชาญไว้ที่หน้าโรงเรียนวัดวิเศษชัยชาญ อำเภอวิเศษชัยชาญในปัจจุบัน

สมัยกรุงธนบุรี
เข้าใจว่า ในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรีนี้เอง ที่ได้มีการย้ายเมืองวิเศษไชยชาญมาตั้งใหม่ที่ ตำบลบ้านแห ตรงวัดไชยสงคราม (วัดกะเชา) ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองในปัจจุบันนี้ และการย้ายเมืองครั้งนั้นก็เปลี่ยนชื่อจากเมืองวิเศษไชยชาญมาตั้งชื่อใหม่ว่า "เมืองอ่างทอง" สาเหตุที่ย้ายเข้าใจว่า เมืองวิเศษไชยชาญเดิมนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ในขณะนั้น แม่น้ำน้อยคงตื้นเขิน ฤดูแล้งเรือเดินไม่ได้ จึงย้ายมาตั้งที่ริมฝั่้งแม่น้ำเจ้าพระยา
อย่างไรก็ตาม หลักฐานในพระราชพงศาวดารก็ไม่ได้กล่าวไว้เลยว่า การย้ายเมืองวิเศษ ชัยชาญมาตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่อใหม่นั้นเมื่อใดตอนไหน แต่ในสมัยกรุงธนบุรีนี้ก็มีข้อความเกี่ยวกับเมืองวิศษชัยชาญอยู่ตอนหนึ่งในราว พ.. 2317 เมื่อคราวรบพม่าที่บางแก้ว เมืองราชบุรี คือ ก่อนสิ้น     รัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี 8 ปี พระยาอินทรวิชิต เจ้าเมืองวิเศษชัยชาญ ได้คุมกองทัพไปช่วยพระยา   ยมราชรบกับพม่าที่แขวงเมืองราชบุรี มีผู้ให้ความเห็นว่าการย้ายเมืองครั้งนั้นน่าจะเกี่ยวข้องด้วยในระหว่างระยะเวลาที่กล่าวนั้น และเพื่อความสะดวกสบายในการส่งกำลังรบจากพระนครขึ้นไปยังเมืองฝ่ายเหนือการใช้เรือลำเลียงทางแม่น้ำน้อยอาจขลุกขลักในฤดูแล้งความสะดวกสู้ทางแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ จึงได้ย้ายเมืองเสีย แต่ถ้าหากไม่ใช่ย้ายตอนปลายสมัยกรุงธนบุรีก็คงจะย้ายตอนต้นสมัยกรุงรัตน-โกสินทร์ คือช่วงระยะเวลาจาก พ.. 2317 (ซึ่งได้กล่าวถึงเมืองวิเศษชัยชาญเป็นครั้งสุดท้ายในพระราชพงศาวดาร) จนถึง พ.. 2356 ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะตอนนี้พระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงการทำทำนบกั้นน้ำที่เมืองอ่างทอง (เป็นการกล่าวชื่อเมืองอ่างทองครั้งแรกในตอนนี้) และก็ยังมีผู้รู้สันนิษฐานกันอีกว่า การย้ายเมืองนั้นอาจจะย้ายคราวเดียวกับเมืองสิงห์บุรีก็ได้
สำหรับการตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองอ่างทองโดยเปลี่ยนชื่อจากเมืองวิเศษชัยชาญนั้น พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร  เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อเมือง ไว้ว่า
ข้อที่จังหวัดนี้เดิมชื่อเมืองอ่างทองนั้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าน่าจะมาจากชื่อบางทองคำด้วยมีคำโคลงนิราศตอนนี้ว่า
ลุถึงบางน้ำชื่อ             คำทอง
น้ำป่วนบึงเป็นฟอง                        กว่างกว้าง
แลลาญรำจวนสยอง                      พึงพิศ
เร่งรีบพายพลกว้าง                        แม่น้ำ ฟองสินธุ์
(นิราศนี้แต่งตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าว่าด้วยตามเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครสวรรค์)
อนึ่ง ทางที่แยกแม่น้ำสายหลังศาลากลางนั้น ราษฎรก็ยังเรียกว่าปากแม่น้ำประคำทอง ส่วนในเข้าไปเรียกแม่น้ำสายทองจนทุกวันนี้ แต่ว่าน้ำตื้นเขินใช้การไม่ได้แล้ว
อีกกระแสหนึ่ง ตามคำบอกเล่าของผู้รู้บางท่านเล่าว่า ที่ตั้งชื่อว่าเมืองอ่างทองนั้น เพราะเป็นเมืองอยู่ในที่ลุ่ม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ สมัยโบราณถือกันว่าดินแดนใดก็ดี ถ้าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารก็เปรียบเหมือนขุมทรัพย์ ถือกันว่าเป็นเมืองเงินเมืองทอง ดังนั้นชื่อจังหวัดอ่างทองก็คืออ่างที่เต็มไปด้วยทองนั่นเอง นับว่ามีเหตุมีผลน่าฟังอยู่

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยนี้ มีเรื่องเกี่ยวข้องกับเมืองอ่างทองหลายตอนด้วยกัน กล่าวคือ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.. 2356 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช เป็นแม่กองเกณฑ์คนเมืองนครราชสีมา ตลอดจนเมืองเวียงจันทน์ และหัวเมืองฝ่ายตะวันออกนอกเหนือนครราชสีมาออกไป เข้ามาระดมกันทำทำนบกั้นลำน้ำที่เมืองอ่างทองเพื่อจะให้สายน้ำไหลเข้าทางคลองบางแก้วซึ่งตื้นเขินขึ้น ให้กลับใช้เรือเดินได้ตลอดปีดังแต่ก่อน แต่ทำนบต้องพังทลายลงเพราะทานกำลังน้ำไม่ไหว เมื่อทำไม่สำเร็จจึงได้ย้ายตัวเมืองอีกครั้งหนึ่งจากตำบลบ้านแห ที่วัดไชยมงคล ไปตั้งที่ตำบลบางแก้ว ใต้ปากคลองบางแก้วฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงทุกวันนี้ คลองบางแก้วที่กล่าวถึงนี้เป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่เหนือศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ กล่าวกันว่าเดิมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อขุดคลองหน้าเมืองอ่างทองที่กลายเป็นแม่น้ำในขณะนี้ขึ้นในรัชกาลสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระไปบรรจบลำแม่น้ำน้อยทางทิศตะวันออกของวัดป่าโมก อำเภอป่าโมก เนื่องจากป้องกันน้ำเซาะองค์พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกเป็นมูลเดิมแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาตอนนี้ตื้นเขินกลายสภาพเป็นคลองบางแก้วไป
เรื่องปิดลำน้ำและคลองบางแก้วนี้ มีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ1 พระองค์ท่านทรงอธิบายไว้ดังนี้
เนื้อความที่กล่าวในพระราชพงศาวดารตรงนี้ผู้ที่ไม่ได้ทราบเรื่องทางน้ำในประเทศนี้แต่โบราณมา แม้จะไปดูที่คลองบางแก้วในเวลานี้น่าจะประหลาดใจว่า ทำไมจึงเกณฑ์คนเข้ามาทำทำนบปิดลำแม่น้ำเจ้าพระยาในครั้งนั้น อันความจริงที่เป็นมาแต่เดิมนั้น ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ลงมาทางหน้าเมืองอ่างทองทุกวันนี้ ลำน้ำเข้าทางบางแก้ว มาทางคลองเมืองกรุงเก่าลงมาทางวัดพุทไธสวรรย์มาออกตรงป้อมเพชร แม่น้ำตอนใต้คลองบางแก้วเดิมเป็นคลองขุดมาต่อลำแม่น้ำน้อย แต่สายน้ำมาเดินเสียทางคลองขุดนี้ กัดแผ่นดินกว้างลึกออกไปเป็นลำแม่น้ำ ทางบางแก้วจึงตื้นเขินขึ้นทุกที จนใช้เรือไม่ได้ในฤดูแล้งด้วย เหตุนี้จึงไปทำนบปิดทางใหม่ซึ่งน้ำกัดประสงค์จะให้สายน้ำกลับไปเดินทางบางแก้วซึ่งเป็นลำแม่น้ำเดิม แต่ทำนบที่ทำเมื่อปีระกา เบญจศกนั้นทานน้ำไม่อยู่ ถึงฤดูน้ำเหนือหลากทำนบก็พังไม่ได้ประโยชน์ดังคาด สายน้ำลำแม่น้ำเจ้าพระยาจึงลงทางเมืองอ่างทองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
เฉพาะที่ตำบลบางแก้วตอนเหนือศาลากลางจังหวัดขึ้นไปเล็กน้อยตรงที่ทำทำนบนั้นยังมีหมู่บ้าน ๆ หนึ่งเรียกว่า บ้านรอจนทุกวันนี้ ผู้รู้กล่าวกันว่าน้ำเบญจสุทธคงคาในแม่น้ำสำคัญทั้ง 5 ในราชอาณาจักรไทย ซึ่งแต่งเป็นน้ำสรงพระมรุธาภิเษกสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเป็นพระราชประเพณีมาแต่โบราณนั้น น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งตักที่ ตำบลบางแก้วก็เป็นน้ำเบญจสุทธคงคาในแม่น้ำสำคัญทั้ง 5 ในราชอาณาจักรไทยด้วยแห่งหนึ่ง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร ก็ได้สร้างพระโตขึ้นที่วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย และได้รับการปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมา พระที่สร้างนั้นมีชื่อเสียงมากเรียกว่า หลวงพ่อโต หรือพระมหาพุทธพิมพ์
ในรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชอัธยาศัยโปรดฯ ในการเสด็จประพาส และได้เคบเสด็จเมืองอ่างทองและท้องที่ของอ่างทองหลายแห่ง ดังนี้
.. 2421 เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ได้เสด็จวัดไชโย อำเภอไชโย วัดขุน- อินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง และวัดป่าโมก อำเภอป่าโมก
.. 2444 คราวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ได้เสด็จเมืองอ่างทอง ซึ่งมีข้อความตามพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า “…จนถึงพรหมแดนเมืองอ่างทอง พระวิเศษชัยชาญ ผู้ว่าราชการเมือง นำดอกไม้ธูปเทียนมาต้อนรับ เปลี่ยนลงเรือมาด้วยจนถึงพลับพลาเหนือเมืองเลี้ยวหนึ่งประมาณบ่าย 4 โมง ได้ขึ้นไปยังโรงพิธีซึ่งมีพระสงฆ์ ข้าราชการ และราษฎรคอยพร้อมอยู่ในที่นั้น ผู้ว่าราชการเมืองอ่านคำต้อนรับฉันได้มอบพระแสงราชาวุธเสร็จแล้ว…” วันรุ่งขึ้นเสด็จถึงวัดไชโย และต่อไปยังเมืองสิงห์บุรี ตอนเสด็จกลับก็ผ่านเมืองอ่างทองได้มนัสการพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกด้วย
.. 2449 ในการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ได้นมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก รุ่งขึ้นเสด็จเมืองอ่างทอง และเสด็จต่อไปถึงวัดไชโยในวันเดียวกัน
.. 2451 คราวเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ได้เสด็จไปอำเภอวิเศษชัยชาญ ตึกคำหยาดและวัดขุนอินทประมูลด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.. 2459 ได้เสด็จประพาสลำแม่น้ำน้อยและลำแม่น้ำใหญ่ คราวนี้พระองค์ผ่านปลายเขตอำเภอป่าโมก ประทับร้อนที่วัดท่าสุวรรณ (วัดวิเศษชัยชาญในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ใต้ที่ว่าการอำเภอวิเศษชัยชาญเดิมแล้วเสร็จขึ้นไปประทับแรมที่พลับพลาหน้าวัดเกาะ หน้าที่ว่าการอำเภอโพธิ์ทอง (เดิม) รุ่งขึ้น เสด็จประพาสบ้านโพธิ์ทอง แล้วเสด็จกลับประทับแรมพลับพลาหน้าวัดเกาะอีกจากนั้นได้เสด็จต่อไปยังสิงห์บุรีและชัยนาท เที่ยวกลับได้เสด็จล่องทางแม่น้ำเจ้าพระยาทรงประทับร้อนวัดไชโยแล้วเสด็จมาประทับแรมพลับพลาหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
สำหรับการจัดระเบียบการปกครองนั้น ในราว พ.. 2439 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองอ่างทองได้ขึ้นอยู่ในปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลอยุธยา ซึ่งมีเมืองต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับมณฑลอยุธยาถึง 8 เมืองด้วยกัน ขณะนั้นเมืองอ่างทองแบ่งการปกครองเป็นอำเภอมี 4 อำเภอด้วยกันคือ อำเภอเมือง อำเภอไชโย อำเภอไผ่จำศีล และอำเภอโพธิ์ทอง (ส่วนอำเภอป่าโมกนั้น ยังไม่จัดเป็นอำเภอแต่รวมอยู่กับอำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอไผ่จำศีลนั้นก็คืออำเภอวิเศษชัยชาญนั่นเอง) ต่อมาปี พ.. 2445 ได้ตั้งอำเภอป่าโมกขึ้นโดยแยกไปจากอำเภอเมืองอ่างทอง และปี พ.. 2451 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศีล เ็นอำเภอวิเศษชัยชาญ ตามชื่อแขวงเมืองวิเศษชัยชาญเดิม
ต่อมา พ.. 2476 ได้มีการยุบเลิกมณฑล เมืองอ่างทองก็เปลี่ยนเป็นจังหวัดอ่างทอง ไม่ขึ้นกับมณฑลอยุธยาอีกต่อไป
.. 2491 ประกาศตั้งกิ่งอำเภอแสวงหา และยกฐานะเป็นอำเภอแสวงหา เมื่อปี พ.. 2499
.. 2505 ประกาศตั้งกิ่งอำเภอสามโก้ และยกฐานะเป็นอำเภอสามโก้ เมื่อปี พ.. 2508
ดังนั้นจังหวัดอ่างทองจึงมีอำเภอ 7 อำเภอตั้งแต่ปี พ.. 2508 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
หวน พินธุพันธุ์ ได้เขียนไว้ในหนังสืออ่างทองของเราตอนหนึ่งว่า เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือว่า ชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และรวมไปถึงวัดในจังหวัดอ่างทองปัจจุบันนี้ หลายชื่อมีคำว่า ชัยหรือ ไชยอยู่ด้วย ก็แสดงว่าท้องที่นั้น ๆ จะต้องมีความหมายเกี่ยวกับชัยชนะจากการสงครามอย่างแน่นอนเพราะท้องที่ของอ่างทองเคยเป็นสนามรบในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีบ่อยครั้งที่สุด ผู้ที่ตั้งชื่อขึ้นมาจะต้องเอาความหมายจากชัยชนะอย่างไม่มีปัญหา ชื่อที่มีคำว่า ชัยหรือ ไชยอยู่ด้วยนั้น เป็นอำเภออยู่ 2 ชื่อ คือ อำเภอไชโย และอำเภอวิเศษชัยชาญ เป็นตำบล 3 ชื่อ คือ ตำบลไชโย ตำบลไชยภูมิ และตำบลชัยฤทธิ์ ซึ่งทั้ง 3 ตำบลนี้อยู่ในท้องที่อำเภอไชโยทั้งสิ้น และยังมีวัดอยู่อีก 3 วัด คือ วัดไชยสงคราม วัดไชยมงคล วัดสนามชัย ทั้ง 3 วัดนี้อยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองอ่างทอง นอกจากนี้ยังมีตำบลหนึ่งชื่อตำบลตรีณรงค์ ขึ้นกับอำเภอไชโยมีความหมายเกี่ยวกับสงครามเช่นกัน
นอกจากนี้แล้ว ชื่อตำบล หมู่บ้าน ในจังหวัดอ่างทอง ยังไปปรากฏอยู่ในหนังสือวรรณคดีมีชื่อของเมืองไทยเล่มหนึ่ง นั้นคือ เสภาขุนช้างขุนแผน ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในตอนที่ 43 ของบทเสภาซึ่งตอนท้ายสุดกล่าวถึงจระเข้เถรกวาด ตามตำนานเสภาว่าเป็นบทแต่งแทรกในรัชกาลที่ 3 ผู้แต่งคือครูแจ้งได้แต่งเกี่ยวกับเรื่องเถรกวาดคิดจะแก้แค้นพลายชุมพล ที่กรุงศรีอยุธยา จึงได้แปลงร่างเป็นแร้งบินจากเชียงใหม่มาถึงอ่างทองแล้วแปลงร่างเป็นจระเข้เที่ยวจับคนตามตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ ในท้องที่ไชโย อ่างทอง และป่าโมก ดังบทเสภา ดังนี้

โผลงตรงลงเหนือเมืองอ่างทอง

พอเยื้องคลองบางแมวเป็นแนวป่า
แร้งหายกลายรูปเป็นหลวงตา
ลงนั่งนิ่งภาวนาร้อยแปดที
เสกไม้เท้าต่อหางที่กลางตัว
แล้วเอาบาตรสวมหัวเข้าเร็วรี่
เผ่นโผนโจนผางกลางนที
ก็กลายเป็นกุมภีล์มหึมา
เขี้ยวขาวยาวออกนอกปากโง้ง
ฟาดโผงร้องเพียงเสียงฟ้าผ่า
โตใหญ่ตัวยาวสักเก้าวา
ขึ้นวิ่งร่าหลังน้ำด้วยลำพอง
ท่านผู้ฟังถ้วนหน้าอย่าสงสัย
เดิมจะได้ตั้งย่านเป็นบ้านช่อง
เพราะเถรกวาดแปลงกายร้ายคะนอง
จึงเรียกบ้านจระเข้ร้องแต่นั้นมา
เดี๋ยวนี้มีหลักแหล่งแขวงอ่างทอง
บ้านช่องปึกแผ่นยังแน่นหนา
ตั้งนามตามนิทานเพราะขรัวตา
จึงได้ปรากฏตำบลจนทุกวัน
ในปัจจุบันบ้านจระเข้ร้องเป็นตำบลจรเข้ร้อง ขึ้นกับอำเภอไชโยและเป็นตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไชโยด้วย
อีกตอนหนึ่งของเสภามีว่า
พ้นบ้านตลาดกรวดรวดเร็วมา
ควายช้างขวางหน้าเข้าไม่ได้
ฟาดฟันกัดตายก่ายกันไป
เลยไล่ล่องน้ำร่ำลงมา
ครู่หนึ่งถึงหน้าเมืองอ่างทอง
โบกหางครางร้องคะนองร่า
พอชาวบ้านลงตะพานมาล้างปลา
เข้าคาบคร่าลงน้ำแล้วดำทวน
บ้านตลาดกรวดนั้นปัจจุบันเป็นตำบลตลาดกรวดขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองอ่างทองอีกตอนหนึ่งของเสภากล่าวว่า
ถึงบ้านแหแร่ร้องก้องกระหึม
รางควานพึมพูดกันสนั่นอื้อ
ครั้นมาถึงหัวย่านบ้านสะตือ
ก็มุดน้ำดำทื่ออยู่ใต้น้ำ
ในปัจจุบันนี้ บ้านแหเป็นตำบลบ้านแห อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองอ่างทอง และบ้านสะตือเป็นหมู่บ้านในอำเภอเมืองอ่างทอง เสภาตอนต่อมาก็กล่าวถึงท้องที่ของอ่างทองอีก เช่น

เที่ยวท่องล่องโร่มาโพธิสระ

ปะหลวงตาบิณฑบาตฟาดดังผึง
ขบกัดสะบัดเถรขึ้นเลนตึง
บนตลิ่งวิ่งอึงทั้งหญิงชาย
เรือแพใหญ่น้อยถอยเข้าคลอง
ไม่อาจล่องลอยน้ำระส่ำระสาย
พ่วงกันพันพัวด้วยกลัวตาย
จระเข้ร้ายถึงย่านบ้านระกำ
ปัจจุบันบ้านโพธิสระคือตำบลโพสะ อยู่ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง ส่วนบ้านระกำเป็นหมู่บ้านอยู่ในอำเภอป่าโมก
อีกตอนหนึ่งของเสภากล่าวว่า
มาถึงบางเทวาท้ายป่าโมก
จระเข้โบกหางหันเข้าแฝงฝั่ง
ที่นั่นน้ำลึกนักตระพักพัง
เข้าเฟือยฟังแยบคายอยู่ท้ายวัด
วัดที่กล่าวถึงเข้าใจว่าจะเป็นวัดป่าโมก ซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา หน้าวัดน้ำลึกและตลิ่งพังอยู่เสมอ เพราะน้ำไหลพุ่งเข้าหาตลิ่งอยู่ตลอดเวลา
สันนิษฐานว่าผู้แต่งเสภาขุนช้างขุนแผนตอนนี้คงจะคุ้นเคยกับสภาพเมืองอ่างทอง อาจจะเป็นคนแถบนี้หรือเคยเดินทางผ่านบ่อย ๆ ก็เป็นได้
ได้กล่าวแล้วว่า เนื่องจากอ่างทองเป็นเมืองที่อยู่ใกล้พระนครหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมีเรื่องราวที่เกี่ยวพันอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการศึกษาสงครามป้องกันพระนคร พระเจ้าแผ่นดินของไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จอ่างทองเพื่อทรงประกอบพระราชภารกิจต่าง ๆ แม้ว่าปัจจุบันจะได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่กรุงเทพมหานครแล้วก็ตาม จังหวัดอ่างทองก็ยังถือว่าเป็นจังหวัดที่อยู่ไกลจากเมืองหลวงนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ในราชวงศ์จักรีก็ได้เคยเสด็จอ่างทองเช่นกัน โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ได้เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตจังหวัดอ่างทอง และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชภารกิจ ทั้งทางราชการและส่วนพระองค์ในวาระต่าง ๆ บ่อยครั้ง อาทิ เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ที่วัดศีลขันธาราม อำเภอโพธิ์ทอง วัดเขียน อำเภอวิเศษชัยชาญ วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง เสด็จนมัสการหลวงพ่อโต วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย เสด็จเยี่ยมสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้าวัดสระแก้ว อำเภอป่าโมก ฯลฯ เป็นเหตุให้ข้าราชการ พ่อค้า ประชา-ชนในจังหวัดอ่างทองปลาบปลื้มใจและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ระบบการปกครองส่วนภูมิภาคของเมืองไทยก่อนหน้าที่จะวิวัฒนาการในรูปของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคมาหลายยุคหลายสมัยหลายขั้นตอนด้วยกัน นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยซึ่งจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองทั้งหลายออกเป็นเมืองราชธานี เมืองลูกหลวง (หรือเมืองหน้าด่านรอบราชธานีทั้ง 4 ด้าน) เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก) และเมืองประเทศราช โดยเมืองแต่ละประเภทจะมีลักษณะความสัมพันธ์และระดับความใกล้ชิดกับเมืองแม่หรือราชธานีมากน้อยลดหลั่นกันไปตามระยะทางจากเมืองหลวง ตลอดจนความคล้ายคลึงทางภาษาและวัฒนธรรมอย่างในกรณีของเมืองประเทศราชเป็นต้น ครั้นถึงต้นสมัยกรุงศรี อยุธยาเป็นราชธานีในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ก็ยังมิได้ทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ  เท่าใดนัก การปกครองอาณาเขตก็ใช้ทำนองเดียวกันกับครั้งสมัยกรุงสุโขทัย โดยแบ่งเป็นราชธานีมีเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง 4 ทิศ เรียกว่า เมืองป้อมปราการ นอกจากนั้นก็เป็นหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช เช่นเดียวกับสมัยกรุงสุโขทัย การจัดระเบียบการ   ปกครองหัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาเป็นดังที่กล่าวมานี้จนกระทั่งถึงปี พ.. 1991 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปรับปรุงหลายประการด้วยกัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองที่สำคัญในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ การแยกการทหาร และการพลเรือนออกจากกัน ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า ทรงตั้งตำแหน่งเสนาบดีเอาทหารเป็นกลาโหม เอาพลเรือนเป็นสมุหนายกงานจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งถือว่าเป็นงานฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบเหนือจตุสดมภ์อีกชั้นหนึ่ง เทียบได้กับอัครมหาเสนาบดี ส่วนการงานที่เกี่ยวกับการทหารหรือการป้องกันประเทศ เช่น กรมม้า กรมช้าง และกรมทหารราบก็มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ การจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองในสมัยนี้ มีลักษณะของการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ ราชธานีเพิ่มมากขึ้น โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงวางหลักการปกครองหัวเมืองให้เป็นแบบเดียวกันกับราชธานี คือ ทรงให้ใช้วิธีการปกครองฝ่ายพลเรือนที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามหัวเมืองด้วย ส่วนฝ่ายทหารนั้น มีอำนาจครอบคลุมกิจการทหารทั่วราชอาณาจักรอยู่แล้ว ในด้านการปรับปรุงหัวเมืองที่อยู่รายรอบ อันได้แก่ บรรดาหัวเมืองชั้นในแต่เดิม นอกจากนั้นไปก็เป็นเมืองพระยามหานคร ซึ่งกำหนดเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี โดยลำดับกันตามความสำคัญของเมือง ผู้    ปกครองเมืองจะได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามแต่จะทรงเห็นสมควร ส่วนเมืองประเทศราชนั้นยังคงให้เจ้านายชนชาตินั้นปกครองตามจารีตประเพณี กรุงศรีอยุธยามิได้ควบคุมการบริหารโดยตรง เป็นแต่ว่าต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ และถ้าผู้ใดจะเป็นเจ้าเมืองจะต้องทูลขอให้พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงแต่งตั้ง
การจัดระเบียบการปกครองราชธานีและหัวเมืองในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนี้ เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้ทรงแบ่งหัวเมืองออกเป็น 2 ภาค คือ หัวเมืองทางภาคเหนือ มอบให้สมุหนายกว่าการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ส่วนหัวเมืองทางภาคใต้มอบให้สมุหกลา-โหมดูแลทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเช่นกัน เว้นแต่หัวเมืองที่อยู่ตามปากอ่าวมอบให้อยู่ในหน้าที่ของกรมคลัง เพราะเกี่ยวกับการค้าขายต่างประเทศ
วิธีจัดการปกครองส่วนภูมิภาคปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ใช้กันต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี (.. 2310-2325) และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.. 2325 จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในส่วนที่สำคัญแต่อย่างใด เว้นแต่ในปี พ.. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงแบ่งหัวเมืองเสียให้เป็น 3 ประเภท คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นกลาง และหัวเมืองชั้นนอก ตามระยะทางใกล้ไกลจากกรุงเทพฯ หัวเมืองแต่ละประเภทในแต่ละภาคยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลของสมุหนายก  สมุหกลาโหม และเสนาบดีคลังเช่นเดิม

การปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ ประเทศไทยมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวต่างประเทศทางตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย และอิทธิพลในการแสวงหาเมืองขึ้นของชาติตะวันตกก็กำลังแพร่มาถึงชาวเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งได้ขยายอำนาจคุกคามเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทยอย่างรุนแรง เหตุการณ์ในระยะนั้นเป็นพลังผลักดันให้เกิดความคิดที่จะแก้ไขปรับปรุงการปกครองประเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานหัวเมืองและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติให้เพียงพอที่จะต้านทานการคุกคามของมหาอำนาจชาติตะวันตกได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงทรงเริ่มปรับปรุงระบบการปกครองประเทศให้ทันสมัย พระองค์ทรงดำริว่า จะนิ่งอยู่โดดเดี่ยวเช่นที่เป็นมาแล้วแต่โบราณหาได้ไม่เพราะเป็นสมัยของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้ายุคใหม่ จะต้องเผชิญกับชาวต่างประเทศที่เขาเจริญแล้วที่อาณานิคมอยู่ใกล้ชิดติดกับประเทศไทย และเขากำลังแสดงและจัดการปกครองอาณานิคมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ฉะนั้นประเทศไทยจะต้องเร่งรีบลงมือจัดการทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมกับกาลสมัย จึงจะรักษาเอกราชไว้ได้โดยเหตุนี้ต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการยกเลิกระเบียบการปกครองแต่เดิม และประกาศตั้งกระทรวงแบบใหม่ขึ้น 12 กระทรวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.. 2435 โดยจัดสรรอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน อาทิเช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น บรรดาหัวเมืองที่แบ่งเป็นฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ก็ให้อยู่ในบังคับบัญชาตราพระราชสีห์ของกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 22 ธันวาคม ร.. 113 (.. 2437)
เมื่องานปกครองหัวเมืองที่เคยแยกไปอยู่ในอำนาจของกระทรวงกลาโหมก็ดี กระทรวงการต่างประเทศหรือกรมท่าก็ดี ไปขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว กระทรวงมหาดไทยจึงมีฐานะเป็นศูนย์กลางบัญชีการงานปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยไปโดยปริยาย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยครั้งแรกที่เสด็จไปตรวจราชการหัวเมืองได้ทรงพบข้อขัดข้องหลายประการในการปกครองหัวเมือง ประการแรก คือ มีหัวเมืองมากเกินไป แม้แต่หัวเมืองชั้นในก็หลายสิบเมือง ทางคมนาคมกับกรุงเทพฯ จะไปถึงก็ล่าช้า เช่นจะไปเมืองพิษณุโลกต้องเดินทางไปกว่า 10 วันจึงจะถึง หัวเมืองก็อยู่หลายทิศทาง จะจัดการอันใดก็พ้นวิสัยที่เสนาบดีจะออกไปจัดหือตรวจการได้เอง ได้แต่มีห้องตราสั่งข้อบังคับและแบบแผนส่งออกไปในแผ่นกระดาษให้เจ้าเมืองจัดการ เจ้าเมืองก็มีหลายสิบคนด้วยกันจะเข้าใจคำสั่งต่างกันอย่างไร และใครจะทำการซึ่งสั่งไปนั้นอย่างไรก็ยากที่จะรู้ ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ กับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงดำริจัดตั้งระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น
การจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองแบบมณฑลเทศาภิบาลนี้เป็นการจัดตั้งหน่วย      ราชบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยอย่างแท้จริง เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงขอนำคำจำกัดความของ เทศาภิบาลซึ่งพระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย มากล่าวไว้ ณ ที่นี้
“…การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดำเนินการในส่วนภูมิภาคของประเทศ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาล ซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากรเพื่อให้เขาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติฯ จึงแบ่งเขตการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับกันดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวง กรม ในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญาความประพฤติดีให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน…"
การปกครองหัวเมืองในสมัยก่อนใช้ระบบเทศาภิบาลนั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมือง หรือประเทศราช ยิ่งไกลจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระมากขึ้นเท่านั้น หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัว-เมืองใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่นที่ไกลออกไปมักจะมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงพยายามที่จะจัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยจัดตั้งระบบเทศาภิบาลซึ่งเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ  แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดการปกครองกันเองเช่นแต่ก่อน อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและริดรอนอำนาจเจ้าเมืองตามระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง  และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมหัว-เมืองให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นตลอดจนเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเสนาบดี จึงได้รวมหัวเมืองเข้าเป็นแบบมณฑล ๆ ละ 5 เมืองหรือ 6 เมือง ในขนาดท้องที่ที่ผู้บังคับบัญชาการมณฑลอาจจะจัดการและตรวจตราได้เองตลอดอาณาเขตเรียกว่า มณฑลเทศาภิบาลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา  หัวเมืองทั้งปวงในเขตมณฑลของตน
การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้รัฐบาลมิได้ดำเนินการในทีเดียวทั้งประเทศ แต่ได้จัดตั้งเป็นระยะ ๆ ไป โดยเริ่มขึ้นในปี พ.. 2437 ภายหลังการปฏิรูปการบริหารส่วนกลาง ทั้งนี้ถือลำน้ำซึ่งเป็นทางคมนาคมหลักในสมัยนั้นเป็นเครื่องกำหนดเขตมณฑล มณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นในคราวแรกมี 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีน และมณฑลนครราชสีมา ต่อมาเมื่อมีการโอนหัวเมือง      ทั้งหมดซึ่งเคยอยู่ในกระทรวงกลาโหมมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองฝ่ายใต้จัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง จากนั้นมาในปี พ.. 2438 ถึง 2458 ก็ได้มีการจัดตั้งยุบเลิกและเปลี่ยนเขตการปกครองมณฑลเทศาภิบาลอยู่ตลอดเวลาตามความเหมาะสม
จังหวัดอ่างทองนั้นถูกรวมอยู่ในมณฑลเทศาภิบาลกรุงเก่าซึ่งจัดขึ้นในปี พ.. 2438 โดยรวมกรุงศรีอยุธยา เมืองอ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี พรหมบุรี และอินทบุรีเข้าด้วยกัน โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ (พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ ต้นราชสกุล วัฒนวงศ์) ทรงเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรกของมณฑลนี้ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยาและยุบเลิกไปภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475

การจัดรูปการปกครองของมณฑลเทศาภิบาล
ดังที่กล่าวมาแล้วว่ามณฑลเทศาภิบาลมีลักษณะเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด โดยมีอาณาเขตรวมหลาย ๆ  เมืองเข้าด้วยกันมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสม ในมณฑลเทศาภิบาลแต่ละมณฑลมีข้าราชการคณะหนึ่งประกอบด้วยข้าหลวงเทศาภิบาล ข้าหลวงมหาดไทย ข้าหลวงยุติธรรม ข้าหลวงคลัง เลขานุการข้าหลวงเทศาภิบาล และแพทย์ประจำมณฑล ข้าราชการบริหารมณฑลจำนวนนี้เรียกว่า กองมณฑลเจ้าหน้าที่ 6 ตำแหน่งดังกล่าวนี้เป็นเจ้าหน้าที่ที่กระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีขึ้นสำหรับบริหารงานมณฑล ๆ ละ 1 กอง เป็นข้าราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทยทั้งสิ้น กระทรวงคลังข้าราชการในตำแหน่งยุติธรรมและการคลังของมณฑล จึงเปลี่ยนไปสังกัดกระทรวง ทบวง กรมตามสายงานของตน
ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบปกครองมณฑลมีอำนาจสูงสุดในมณฑลเหนือ    ข้าราชการพนักงานทั้งปวง มีฐานะเป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงมอบความไว้วางพระราชหฤทัยโดยคัดเลือกจากขุนนางผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ออกไปปฏิบัติราชการมณฑลละ 1 คน หน่วยปกครองมณฑลเทศาภิบาลนี้ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางเชื่อมโยงรัฐบาลกลางกับหน่วยราชการส่วนภูมิภาคหน่วยอื่น ๆ เข้าด้วยกัน ข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลมีอำนาจที่ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งการได้เอง ยกเว้นเรื่องสำคัญซึ่งจะต้องขอความเห็นมายังกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นอันมาก มณฑลเทศาภิบาลนับว่าเป็นวิธีการ    ปกครองที่ทำให้รัฐบาลสามารถดึงเอาหัวเมืองต่าง ๆ เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ อย่างแท้จริงผู้ว่าราชการเมืองของแต่ละเมืองในมณฑลต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของข้าหลวงเทศาภิบาลอีกชั้นหนึ่ง โดยมิได้ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยโดยตรง ต่อมากระทรวงมหาดไทยยังได้เพิ่มตำแหน่งข้าราชการมณฑลขึ้นอีก เพื่อแบ่งเบาภาระข้าหลวงเทศาภิบาลเช่น ตำแหน่งปลัดมณฑล มีอำนาจหน้าที่รองจากข้าหลวงเทศาภิบาล เสมียนตรามณฑลเป็นเจ้าพนักงานการเงินรักษาพัสดุและดูแลรักษาการปฏิบัติราชการมณฑล และมหาดเล็กรายงานมีหน้าที่ออกตรวจราชการตามเมืองและอำเภอต่าง ๆ ตลอดมณฑล เป็นต้น

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
วิวัฒนาการของการจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนปลีกย่อยเป็นครั้งคราวอาทิเช่น ข้าหลวงเทศาภิบาล บางครั้งก็เรียกว่า สมุห-เทศาภิบาล มณฑลบางแห่งก็ถูกยุบเลิก บางแห่งก็ถูกจัดตั้งเป็นเขตการปกครองพิเศษ เช่น มณฑลกรุงเทพฯ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ และมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งรวมบริเวณ 7 หัวเมืองอิสลามปักษ์ใต้เข้าไว้ ฯลฯ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับกาลสมัยและความจำเป็นในทางปกครองหลายประการด้วยกัน อาทิเช่น การประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2457 แทนพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.. 116 และมีการรวมมณฑลหลายมณฑลเข้าเป็นภาค และมีอุปราชเป็นหัวเมืองปกครองภาค ในปี พ.. 2458 ทำให้ภาคเป็นหน่วยการ  ปกครองใหญ่เหนือมณฑลขึ้นไปอีก ตลอดจนให้เปลี่ยนชื่อที่ใช้เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำจากมณฑล จาก เมืองเป็น "จังหวัดโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.. 2459
วันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475 คณะราษฎร์ประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ และพลเรือนทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จากผลของการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบการปกครองหรือการบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ โดยมีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 ซึ่งแบ่งหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคเป็น จังหวัด และอำเภอ โดยมิได้บัญญัติให้มีมณฑล ตามนัยดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการยกเลิกมณฑลไปโดยปริยาย แต่ได้จัดแบ่ง ภาคขึ้นใหม่และให้มีข้าหลวงตรวจการสำหรับทำหน้าที่ตรวจ ควบคุม แนะนำ ชี้แจง ข้อราชการแก่หน่วยราชการส่วนภูมิภาคเท่านั้น โดยมิได้มีหน้าที่บริหารราชการทั่วไปเหมือนอย่างมณฑลเทศาภิบาล ดังนั้นจังหวัดกับส่วนกลางจึงสามารถติดต่อกันได้โดยตรงมิต้องผ่านภาคแต่อย่างใด
ในปี พ.. 2495 รัฐบาลก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2495 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ปี พ.. 2476 เสีย และจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นภาค จังหวัดและอำเภอ โดยให้มีผู้ว่าราชการภาคคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาราชการบริหารส่วนภูมิภาคภายในเขต มีอำนาจหน้าที่คล้ายคลึงสมุหเทศาภิบาลในสมัยก่อน ครั้นต่อมาก็ได้มีการยกเลิกภาคอีกโดยสิ้นเชิงตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2499 เหลือแต่เพียงหน่วยการปกครองจังหวัด และอำเภอ ตามเดิม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2495 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.. 2499 ได้ใช้มาอีกเป็นเวลานาน จนกระทั่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.. 2515 ซึ่งให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.. 1515 เป็นต้นไป ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 จึงเป็นกฎหมายในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคมาจนถึงทุกวันนี้
พิจารณาตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ประกอบกับพระราชบัญญัติลักษณะ    ปกครองท้องที่ พ.. 1457 แล้ว หน่วยการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทยจะแบ่งออกได้ ดังนี้
1. จังหวัด
2. อำเภอ (และกิ่งอำเภอ)
3. ตำบล
4. หมู่บ้าน
จังหวัดเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด แต่ละจังหวัดแบ่งเขตการ      ปกครองหรือการบริหารราชการออกเป็นอำเภอ อำเภอแบ่งออกเป็นกิ่งอำเภอถ้ามีความจำเป็นในการ  ปกครองแต่ตามปกติอำเภอแบ่งออกเป็นตำบลเลยทีเดียว และตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
จังหวัดตั้งโดยพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ในการบริหารราชการของจังหวัดหนึ่ง ๆ นั้น มีผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดา      ข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ ผู้ว่าราช-การจังหวัดมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัดเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ และมีคณะกรมการจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
อำเภอจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา ในอำเภอหนึ่งให้มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา มีปลัดอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ส่งมาประจำ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการปฏิบัติราชการแผ่นดิน ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 มิได้กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งประจำอยู่ในอำเภอเป็นกรมการอำเภอเหมือนในระดับจังหวัด ดังนั้นนายอำเภอจึงมีอิสระในการที่จะใช้ดุลพินิจตัดสินปัญหาเรื่องราวต่าง ๆ แต่ขณะเดียวกันก็จะต้องรับผิดชอบในผลดีผลเสียอันเกิดจาการกระทำของตนเป็นเงาตามตัวด้วย
จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเดิมเป็นเมืองอ่างทองอยู่ในมณฑลเทศาภิบาลกรุงเก่า และต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นทางการจากเมืองอ่างทองมาเป็นจังหวัดอ่างทอง โดยประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.. 2459 ในสมัยรัชกาลที่ 6
ประวัตศาสตร์จังหวัดอำนาจเจริญ

ตราประจำจังหวัด



รูปพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด
พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม


ยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง ที่มีอยู่ในเขตจังหวัด เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา แหล่งโบราณคดีโนนเมือง บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน แหล่งโบราณคดีโนนยาง บ้านดอนเมย ตำบลดอนเมย อำเภอเมือง ฯ และแหล่งโบราณคดีโนนงิ้ว บ่านชาด ตำบลเค็งใหญ่ อำเภอหัวตะพาน เป็นต้น ได้พบขวานสำริด เครื่องประดับที่ทำด้วยสำริด ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายกับโบราณวัตถุที่พบในวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ที่เป็นบริเวณแหล่งโบราณคดี มีลักษณะเป็นเนินดินรูปร่างกลมบ้าง รีบ้าง พร้อมทั้งมีคันดินล้อมรอบเนินดิน ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของชุมชนโบราณ
เมื่อพิจารณาพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี และโบราณวัตถุ ที่ขุดพบในเขตจังหวัด แสดงว่าเคยมีมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งถิ่นฐานอยู่เมื่อ 3,000 - 10,000 ปี มาแล้ว โดยมีหลักฐานภาพเขียนสีบนหน้าผา เป็นข้อสันนิษฐาน กล่าวคือ ภาพเขียนสีบนหน้าผาของภูผาแต้ม ในอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งอยู่ติดชายเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะร่วมสมัยกับภาพเขียนสีที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล ฯ มีตำนานพื้นบ้านบางเรื่อง เช่น ผาแดง นางไอ่ และตำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงชุมชนนาคว่า เคยมีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานของไทย
ยุคประวัติศาสตร์
มีบางท่านกล่าวว่าเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ชาวอินเดียได้เดินทางด้วยเรือเพื่อมาค้าขายในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทะเลมาทางเกาะชวา เข้าสู่ประเทศไทยสองสายคือ ทางหนึ่งเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา ผ่านเข้าเขตเมืองนครสวรรค์ ผ่านอาณาจักรศรีนาศะ สู่ภาคอีสานด้านที่ราบสูงโคราช แล้วกระจายสู่ลุ่มน้ำมูล - ชี อีกสายหนึ่งเข้ามาทางจังหวัดปราจีนบุรี ผ่านอำเภอกบินทรบุรี ข้ามช่องเขาเข้าสู่ภาคอีสาน ทางอำเภอปักธงชัย สู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง การเข้ามาของชาวอินเดีย ในครั้งนั้นได้นำเอาวัฒนธรรมแบบทวารวดี ที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และวัฒนธรรมเจนละ หรือขอม ก่อนเมืองพระนคร ที่สัมพันธ์กับคติความเชื่อแบบฮินดู และพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ในลุ่มน้ำมูล น้ำชี และน้ำโขง ต่อมาวัฒนธรรมดังกล่าวได้แพร่เข้าสู่เขตจังหวัดอำนาจเจริญทางแม่น้ำโขง แม่น้ำมูลตอนล่าง และแม่น้ำชีตอนล่าง แล้วกระจายไปตามลำเซบก และลำเซบาย ดังนั้นคนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อนได้แก่ พวกข่า กวย และส่วย จึงเป็นกลุ่มชนแรก ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ที่รับเอาวัฒนธรรมแบบทวารวดี และเจนละ ไว้ จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชนในสมัยทวารวดี ซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 15 ได้แก่ พระพุทธรูปปางประทานอภัย สมัยทวาวรดี พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา ใบเสมาหินทรายสลักรูปหม้อน้ำ และธรรมจักร สมัยทวารวดี พบที่แหล่งโบราณคดีดงเฒ่าเก่า บ้านนาหมอม้า อำเภอเมือง ฯ อิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดี มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา โบราณวัตถุที่พบในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ เช่น พระพุทธรูป และใบเสมาหินทราย สมัยทวารวดี ล้วนสร้างขึ้นมาตามคติทางพระพุทธศาสนา นอกจากกลุ่มชนในสมัยทวารวดี จะเคยตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดอำนาจเจริญแล้ว กลุ่มชนในสมัยวัฒนธรรมเจนละ หรือขอม ก่อนเมืองพระนคร ก็เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 15
สมัยวัฒนธรรมไทย - ลาว ถึงปัจจุบัน
อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดี และเจนละสิ้นสุดลงเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึง พ.ศ. 2254 - 2263 จึงปรากฏหลักฐานกลุ่มชนไทย - ลาว อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีอยู่สามกลุ่มด้วยกันคือ
กลุ่มแรก มาจากกรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์ พร้อมกับพระครูโพนเสม็ด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2233 ลงมาตามลำแม่น้ำโขงจนถึงเมืองนครจัมปาศักดิ์ มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านทรายมูล และบ้านดอนหนองเมือง ต่อมากลายเป็นบ้านพระเหลา และเมืองพนานิคม หรืออำเภอพนา ในปัจจุบัน
กลุ่มที่สอง กลุ่มนี้อพยพหนีภัยสงครามของกลุ่มเจ้าพระวอ (พ.ศ. 2313 - 2319) จากเมืองหนองบัวลำภู ผ่านมาทางบ้านสิงห์ท่า หรือเมืองยโสธร สู่นครจำปาศักดิ์ แล้วกลับมาบ้านดอนมดแดง ซึ่งปัจจุบันคือ จังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มที่สาม อพยพเข้ามาเนื่องจากกบฎเจ้าอนุวงศ์ และการเกลี้ยกล่อมตามนโยบายให้คนพื้นเมืองปกครอง คนพื้นเมือง ตามแนวความคิดของ พระสุนทรราชวงศา (บุต) เจ้าเมืองยโสธร กลุ่มดังกล่าวได้แก่ ชาวลาว ชาวไทโย่ย ชาวไทแสก ชาวไทญอ และชาวผู้ไท ซึ่งอยู่ติดกับแดนญวน ซึ่งเรียกว่า หัวเมืองพวน ได้อพยพจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้ามาตั้งบ้านเรือนทั่วภาคอีสานของไทย
การตั้งเมืองอำนาจเจริญ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านค้อใหญ่ ขึ้นเป็นเมืองอำนาจเจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2401 ให้ท้าวจันทบุรบ (เสือ) เป็น พระอมรอำนาจ เจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองเขมราฐธานี ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เมื่อบ้านค้อใหญ่ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองอำนาจเจริญ มีเหตุการณ์ทางด้านการเมือง การปกครอง เกี่ยวข้องดังนี้ พ.ศ. 2410 เมืองอำนาจเจริญขอขึ้นกับเมืองอุบล ฯ พระอมรอำนาจมีใบบอกมายังกรุงเทพ ฯ ขอให้เมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองอุบล ฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ตามที่ขอ
พ.ศ. 2422 ตั้งเมืองชานุมานมณฑล และเมืองพนานิคม
พ.ศ. 2430 - 2431 เมืองอำนาจเจริญต้องส่งส่วย 2 ปี เป็นเงิน 23 ชั่ง 14 ตำลึง และ 27 ชั่ง 15 ตำลึง ตามลำดับ
พ.ศ. 2433 เมืองอำนาจเจริญขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2434 เมืองอำนาจเจริญขึ้นกับหัวเมืองลาวกาว เนื่องจากช่วงเวลานั้นฝรั่งเศสได้ญวน และเขมรไว้ในครอบครอง อังกฤษได้พม่าไว้ในครอบครอง และได้จัดระเบียบการปกครองให้เหมาะสม ทำให้ราษฎรไทยที่อยู่ตามชายแดนที่ติดกับญวน เขมร และพม่า เกิดความสับสนเพราะระเบียบการปกครองไม่เหมือนกัน ทางกรุงเทพ ฯ จึงได้จัดระเบียบการบริหารหัวเมืองให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยรวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกันเรียกว่า หัวเมืองลาวกาว โดยรวมหัวเมืองเอก เมืองจำปาศักดิ์ และหัวเมืองเอกเมืองอุบล ฯ เข้าด้วยกัน
พ.ศ. 2437 ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล ได้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ รศ.116 ขึ้นโดยให้รวมกลุ่มจังหวัดชั้นนอกเข้าเป็นมณฑล แบ่งบริเวณมณฑลออกเป็นห้าส่วนคือ มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
พ.ศ. 2443 เปลี่ยนฐานะเมืองอำนาจเจริญเป็นอำเภออำนาจเจริญ นายอำเภอคนแรกคือหลวงธรรมโลภาศพัฒนเดช (ทอง)
พ.ศ. 2452 อำเภออำนาจเจริญย้ายไปขึ้นกับเมืองยโสธร
พ.ศ. 2453 เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ทางราชการมีนโยบายไม่ให้จำหน่ายข้าวออกจากพื้นที่
พ.ศ. 2454 ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่าราชการ รศ.120 ให้เก็บคนละ 3.50 บาท
พ.ศ. 2455 ย้ายอำเภออำนาจเจริญไปขึ้นกับจังหวัดอุบล ฯ
พ.ศ. 2458 ย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ไปตั้งที่บ้านบุ่ง ติดกับลำห้วยปลาแดก
พ.ศ. 2459 เปลี่ยนชื่อเมืองที่เป็นศูนย์กลางที่มีอำเภอมารวมขึ้นด้วยว่าจังหวัด
พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็นอำเภอบุ่ง
พ.ศ. 2464 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาครั้งที่ 1 ในเขตตำบลบุ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอบุ่ง
พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่ออำเภอบุ่งเป็นอำเภออำนาจเจริญ และย้ายตัวอำเภอมาตั้งอยู่บริเวณสระหนองเม็ก
พ.ศ. 2510 แยกตำบลออกเป็นสี่ตำบลคือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลคำพระ ตำบลเค็งใหญ่ และตำบลหนองแก้ว เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอหัวตะพาน และยกฐานะเป็นอำเภอหัวตะพาน เมื่อปี พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2518 แยกตำบลออกเป็นห้าตำบลคือตำบลเสนางคนิคม ตำบลไร่สีสุก ตำบลนาเวียง ตำบลโพนทอง และตำบลหนองไฮ เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอเสนางคนิคม และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2519 เสนอพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญครั้งที่หนึ่ง แต่ตกไปเพราะมีการปฏิรูปการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2522 เสนอพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญครั้งที่สอง สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการแล้วให้ตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญก่อน
พ.ศ. 2523 ตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ กระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ
พ.ศ. 2525 รัฐสภาออกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ. 2525 และได้เปิดทำการ เมื่อปี พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2534 แยกตำบลออกหกตำบลคือตำบลอำนาจ ตำบลเปือย ตำบลดงมะยาง ตำบลดงบัง ตำบลแบด และตำบลไร่ขี เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอบันลืออำนาจ และยกฐานะเป็นอำเภอลืออำนาจ เมื่อปี พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2536 แยกตำบลที่เป็นรอยต่อสามอำเภอออกเป็นหกตำบล เพื่อตั้งเป็นอำเภอปทุมราชวงศา ตามนามเจ้าเมืองอุบล ฯ คนแรก
27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ
เมื่อปี พ.ศ. 2357 เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 ได้มีใบบอกลงไปกราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขอพระราชทานตั้งบ้านโคกก่งดงพะเนียง เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกก่งดงพะเนียงเป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี ตามที่พระพรหมวรราชสิริยวงศากราบทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดก่ำ บุตรชายคนโตของพระวอจากเมืองอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้รับสถาปนาเป็นพระเทพวงศา (ก่ำ) (2357-2369)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ได้ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี ขอให้พระเทพวงศา (ก่ำ) เข้าเป็นพวกด้วย แต่พระเทพวงศาไม่ยอมจึงถูกประหารชีวิต พระเทพวงศา (ก่ำ) มีบุตร 4 คน บุตรชายคนหนึ่งคือพระเทพวงศา (บุญจันทร์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์และท้าวบุญชัย ต่อมาท้าวบุญสิงห์ได้เป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี มียศเป็นพระเทพวงศา (บุญสิงห์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวเสือและท้าวพ่วย ต่อมาท้าวพ่วยได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวขัตติยะ และเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานีลำดับที่ 5 ตำแหน่งพระเทพวงศา (พ่วย) ส่วนท้าวเสือได้รับยศเป็นท้าวจันทบุฮมหรือจันทบรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2401 ได้กราบบังคมทูลยกฐานะบ้านค้อใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอลืออำนาจ) ขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมือง ให้ชื่อว่า เมืองอำนาจเจริญ เมื่อ พ.ศ. 2401 และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวจันทบรม (เสือ) เป็นเจ้าเมือง มียศเป็นพระอมรอำนาจ (สายสกุลอมรสิน) ดังปรากฏตราสารตั้งเจ้าเมืองอำนาจเจริญ
เมืองอำนาจเจริญจึงได้รับการสถาปนาเป็นเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยขึ้นการบังคับบัญชาของเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี โดยมีท้าวจันทบุรม (เสือ) มีพระอมรอำนาจ ซึ่งเป็นบุตรชายของพระเทพวงศา (ท้าวบุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี และเป็นหลานเจ้าพระวอ เจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นเจ้าเมืองอำนาจเจริญคนแรก นับว่าเมืองอำนาจเจริญเป็นเชื้อสายของเจ้าพระวอพระตาโดยตรง
ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองให้เข้าสู่ระบบการบริหารราชการแผ่นดินแบบยุโรปตามแบบสากล เป็นเทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. 2429-2454 โดยยกเลิกการปกครองแบบเดิมที่ให้มีเจ้าเมือง พระอุปราช ราชวงศ์ และราชบุตร ที่เรียกว่า อาญาสี่
นับแต่ปี พ.ศ. 2429-2454 ได้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า คือ ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่สืบสกุลในการเป็นเจ้าเมืองนั้นเสีย จัดให้ข้าราชการจากราชสำนักในกรุงเทพมหานครมาปกครอง เปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้ปกครองจากเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองแทน และปรับปรุงการปกครองหัวเมืองมณฑลอีสาน จึงยุบเมืองเล็กเมืองน้อยรวมเป็นเมืองใหญ่ ยุบเมืองเป็นอำเภอ เช่น เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองยศ (ยโสธร) เมืองฟ้าหยาด (มหาชนะชัย) เมืองลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) เมืองขุหลุ (ตระการพืชผล) เมืองอำนาจเจริญ ไปขึ้นการปกครองกับเมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อำเภออำนาจเจริญ จึงได้แต่งตั้งนายอำเภอปกครอง
นายอำเภอคนแรก คือ รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ) พ.ศ. 2454-2459 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2459 ย้ายตัวอำเภอจากที่เดิม (บ้านค้อ บ้านอำนาจ อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ ตำบลบุ่งซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน ตามคำแนะนำของพระยาสุนทรพิพิธ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขามณฑลอีสาน ได้เดินทางมาตรวจราชการโดยใช้เกวียนเป็นพาหนะ มีความเห็นว่าหากย้ายอำเภอมาตั้งใหม่ที่บ้านบุ่งซึ่งเป็นชุมชนและชุมทางสี่แยกระหว่างเมืองอุบลราชธานีกับมุกดาหาร และเมืองเขมราฐกับเมืองยศ (ยโสธร) โดยคาดว่าจะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคต โดยใช้ชื่อว่า อำเภอบุ่ง [เสนอแนะย้ายพร้อมกับอำเภอเดชอุดม ย้ายจากเมืองขุขันธ์ (ในเขตจังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน) มาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี] และยุบเมืองอำนาจเจริญเดิมเป็นตำบลชื่อว่าตำบลอำนาจ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "เมืองอำนาจน้อย" อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอบุ่งเป็น "อำเภออำนาจเจริญ" ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุบลราชธานี
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พุทธศักราช 2536 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ตรงกับวันพุธ แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ให้แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันอำเภอลืออำนาจ) รวม 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ออกจากการปกครองจังหวัดอุบลราชธานีรวมกันขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ชื่อว่า จังหวัดอำนาจเจริญ และยกฐานะอำเภออำนาจเจริญเป็น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 4-5-6 เล่ม 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536)

No comments:

Post a Comment