จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้น ม)

ประวัติศาสตร์จังหวัดมหาสารคาม
ตราประจำจังหวัด


รูปทุ่งนาและต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน
คำขวัญประจำจังหวัด
พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร

 สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระในปี พ.. 1800 ชนชาวไทยส่วนหนึ่งที่อพยพมาตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้าแตกได้อพยพลงมาทางใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เรียกตัวเองว่าลานช้าง หรือ ล้านช้างในระยะแรกที่อพยพเข้าสู่ดินแดนบริเวณนี้ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมเช่นเดียวกันจนถึงรัชสมัยของพระเจ้ารามคำแหง ได้ทรงขยายอาณาเขตเข้าครอบคลุมลานช้างด้วยจนถึงปี พ.. 1893 พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย ขณะเดียวกันทางกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองประเทศราชพากันกระด้างกระเดื่องในปี พ.. 1921 พระบรมราชา (ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพไปตีสุโขทัยไว้ในอำนาจได้
ชนชาติไทยในลานช้าง
ในระยะก่อนตั้งกรุงสุโขทัยมาจนถึงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้าได้ให้โอรสองค์ใหญ่ชื่อขุนลอมาครองเมืองเซ่า (หลวงพระบาง) และได้มีกษัตริย์สืบทอดมาอีก 22 พระองค์ จนถึงปี 1869 เจ้าฟ้างุ้มได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเซ่าเป็นเมืองลานช้าง แต่เนื่องจากระยะนั้นขอมยังมีอิทธิอยู่ในบริเวณนี้ ชาวไทยจึงได้รวมตัวกัน โดยสร้างสัมพันธ์ทางสายเลือด เพื่อต่อต้านอานาจขอม ในปี พ.. 2089 พระเจ้าโพธิสาร กษัตริย์ลานช้าง ได้รับราชสมบัติลานนา (เชียงใหม่) ให้แก่โอรส คือ พระไชยเชษฐา เพราะมีสิทธิทางฝ่ายมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ พ.. 2102 พระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ พระโอรสของพระองค์แย่งราชสมบัติกัน พระไชยเชษฐาจึงทิ้งเมืองเชียงใหม่และได้อันเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย และได้ยกกองทัพมาลานช้างบังคับให้น้องสละราชสมบัติลานช้างแล้วครอบครองราชสมบัติใช้พระนามว่าท้าวไชยเชษฐาธิราชส่วนทางเมืองเชียงใหม่เกิดความไม่สงบเพราะพระเจ้าบุเรงนองแผ่อำนาจขึ้นไปทางเมืองไทยใหญ่ แล้วมุ่งมาตีเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นเชียงใหม่มีพระเจ้าเมกุติเจ้าไทยใหญ่ เชื้อสายเจ้าเชียงใหม่ครองอยู่ พระเจ้าเมกุติยอมแพ้พม่าโดยไม่สู้รบเลยและสัญญาว่าจะส่งบรรณาการต่อบุเรงนองทุกปี พอทัพพม่าออกจากเชียงใหม่ พระไชยเชษฐาธิราชก็ยกทัพเข้าเชียงใหม่ขับไล่พระเจ้าเมกุติออกจากราชบัลลังก์ บุเรงนองได้ยกทัพย้อนกลับมาอีก ขับไล่ทหารของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชออกจากเชียงใหม่ และประกาศถอดพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชออกจากบัลลังก์ลานช้าง พระไชยเชษฐาได้รวบรวมผู้คนและชักชวนเจ้าผู้ครองนครแถบนั้นเข้าเป็นพันธมิตร แล้วยกทัพไปตีเชียงแสน บุเรงนองก็ตามไปโจมตีเมืองต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรพระไชยเชษฐาได้จนหมดสิ้น พระไชยเชษฐาจึงหนีกลับไปลานช้าง
.. 2103 พระไชยเชษฐาได้ทำไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปี 2106 ได้ย้ายราชธานีไปเวียงจันทน์ สร้างค่ายคูประตูหอรบสร้างวัดพระธาตุหลวงและวัดพระแก้วเปลี่ยนชื่อเมืองเซ่าหรือลานช้าง เป็นหลวงพระบางพระไชยเชษฐามีนโยบายเป็นมิตรกับคนไทยด้วยกัน และได้รักษาสัมพันธไมตรีอันดีเมื่อคราวที่พม่ามารบไทย พระไชยเชษฐาได้ยกทัพมาช่วย ทาให้พม่าเคียดแค้นจึงได้ยกทัพตีเมืองเวียงจันทน์ได้และพระไชยเชษฐาได้หายสาบสูญไป เหตุการณ์ระยะปี พ.. 2112 ถึง 2133 พม่าได้ปกครองดินแดนลานช้างและพม่ากาลังเสื่อมอำนาจลงเพราะสิ้นบุเรงนอง ประกอบกับได้ทำสงครามติดพันกับกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (21332148) จึงทาให้ลานช้างปลอดจากอิทธิพลพม่า
ในปี พ.. 2134 พระสงฆ์ของเวียงจันทน์ได้ขอให้พม่าส่งพระหน่อแก้วเชื้อพระวงศ์พระไชยเชษฐาธิราชคืนกลับมาเป็นกษัตริย์ เมื่อกลับถึงเวียงจันทน์พระหน่อแก้วได้ประกาศเอกราชจากพม่า แล้วจึงยกทัพไปตีเมืองหลวงพระบางได้ไว้ในอำนาจ และมีความสงบอยู่เกือบร้อยปี
อพยพจากลานช้างสู่อีสาน
เหตุที่ทาให้คนไทยลานช้างต้องอพยพลงใต้นั้น เนื่องจากพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเจ้ากรุงศรีสัตนาคณหุต (เวียงจันทน์) ถึงแก่พิราลัยเมื่อพุทธศักราช 2231 ซึ่งตรงกับรัช-สมัยของพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีพระราชโอรส 1 องค์นามว่า เจ้าองค์หล่อ ซึ่งมีชนมายุ 3 พรรษา และมีพระนางสุมังคละมเหสี กำลังทรงครรภ์อยู่ด้วย ขณะนั้นมีเสนาบดี ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อว่า พระยาเมืองแสน มีอำนาจมากกว่าคนอื่น ๆ ได้ราชาภิเษกให้แก่เจ้าองค์หล่อราชโอรสครองราชสมบัติ ต่อมาก็ยกตัวเองเป็นผู้สาเร็จราชการแผ่นดินแทน โดยอ้างว่าเจ้าองค์หล่อยังเยาว์นัก ประกาศว่าเมื่อเจ้าองค์หล่อเจริญวัยขึ้นจะถวายราชสมบัติ โดยสิทธิ์ขาดในภายหลัง ด้วยเลห์เหลี่ยมอันฉลาดแกมโกงของพระยาเมืองแสนๆ ก็ได้ครองบัลลังก์ โดยไม่มีการราชาภิเษกแต่อย่างใด ขับเจ้าองค์หล่อจากราชบัลลังก์อย่างเงียบ ๆ และคิดการจะรับเอามารดาของเจ้าองค์หล่อที่ทรงครรภ์มาเป็นภรรยาของตน แต่มารดาของเจ้าองค์หล่อทราบระแคะระคายจึงพาเจ้าองค์หล่อกับคนสนิทลอบหนีไปขออาศัยอยู่กับเจ้าครูโพนเสม็ด (สมเด็จเจ้าหัวครูโพนเสม็ดอยู่ในตาแหน่งเจ้าหัวครูยอดแก้ว "พระสังฆราช") ซึ่งเป็นที่เคารพและมีลูกศิษย์มาก เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่าถ้าให้นางอาศัยอยู่ด้วยก็เกรงความครหานินทาทั้งไม่เป็นการปลอดภัยจึงส่งไปไว้ที่ตำบลภูชะง้อหอคำและได้ประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่งนามว่าเจ้าหน่อกษัตริย์ที่นั้น
ฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมีผู้รักใคร่นับถือมาก เกรงว่าจะคิดการแย่งชิงเอาบ้านเมือง จึงคิดการกำจัด แต่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดรู้เสียก่อนจึงรวบรวมพวกพ้องเหล่าสานุศิษย์ประมาณ 3,000 คน เดินทางหลบไป เมื่อผ่านไปทางใดก็มีราษฎรอพยพตามไปด้วยจนเดินทางถึงแขวงเมืองบันทายเพชร์ ดินแดนเขมร ฝ่ายพระเจ้ากรุงกัมพูชาได้สั่งให้มีการสารวจสามะโนครัวและให้เรียกเก็บเงินจากชาวเวียงจันทน์ ครัวละ 2 ตำลึง เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่า เป็นการเดือนร้อนแก่เหล่าศิษยานุศิษย์ จึงอพยพออกจากดินแดนเขมรจนบรรลุถึงเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี การเดินทางออกจากเมืองเวียนจันทน์จนถึงนครกาละจาบากนาคบุรีศรีนี้ เจ้าหัวครูโพนเสม็ดต้องอาศัยเจ้าแก้วมงคล (บรรพบุรุษชาวมหาสารคาม) เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด รองแม่กอง ในการควบคุมดูแลบริวารของท่านมาตลอดทาง
ฝ่ายนางเภา นางแพง ซึ่งเป็นธิดาของผู้ครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเมื่อบิดาของนางถึงแก่พิราลัยแล้ว นางก็เป็นผู้บัญชาราชการบ้านเมืองต่อมา จนกระทั่งถึงปีที่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมาถึงเมือง นางทั้งสองทราบข่าวก็มีความเลื่อมใจ จึงพาแสนท้าวพญาเสนามาตย์ออกไปอาราธนาเจ้าหัวครูโพนเสด็ดเข้ามาในเมืองครั้งเวลาต่อมานางและประชาชนมีความเคารพนับถือเจ้าหัวครูโพนเสม็ดมากขึ้น และนางทั้งสองก็ชราลงมากจึงอาราธนาให้เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเป็นผู้ช่วยทานุบารุงฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
เมื่อเจ้าองค์หล่อได้เจริญวัยขึ้นหน่อยก็สามารถไปอยู่ที่ประเทศญวน ต่อมาได้เกลี้ยกล่อมสมัครพรรคพวกได้มากจึงยกกำลังมาล้อมเมืองเวียงจันทน์ เมื่อราว พ.. 2245 จับพระยาเมืองแสนประหารชีวิต เจ้าองค์หล่อได้ครองราชสมบัติต่อมา
ครั้น พ.. 2252 ปรากฏว่าชาวเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี บางพวกได้ซ่องสุมพรรคพวกก่อการกำเริบเป็นโจรผู้ร้ายเที่ยวปล้นสะดมในตาบลต่าง ๆ ทำให้ราษฎรผู้มีความสุจริตธรรมต้องเดือนร้อนทั่วไป เจ้าหัวครูโพนเสม็ดได้พยายามปราบปรามโดยการเที่ยวอบรมสั่งสอนในทางดีก็หาได้ผลไม่ ครั้นจะทำการบำราบปราบปรามโดยอำนาจอาชญาจักร์ก็เป็นการเสื่อมเสียทางพรหมจรรย์ ทั้งจะเป็นที่ครหานินทาของประชาชนทั้งหลาย จึงดำริหาวิธีที่จะระงับเหตุร้ายโดยละม่อมที่สุดก็เห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก เวลานี้ก็ทรงเจริญวัยขึ้นแล้ว และเป็นผู้ประกอบด้วยเกียรติยศเกียรติคุณอันดีงาน สมควรจะปกครองไพร่บ้านพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นได้ จึงจัดให้ท้าวพระยาเสนาบดีแลบ่าวไพร่ออกไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์กับพระมารดาเข้ามายังเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี แล้วเจ้าหัวครูโพนเสม็ดก็กระทาพิธียกเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินของนครกาละจำบากนาบุรีศรี และได้ถวายพระนามว่าพระเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรและได้เปลี่ยนนามเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเป็นเมืองนครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรีตั้งแต่นั้นมา เจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ได้จัดการปกครองแลปราบปรามยุคเข็ญสงบราบคาบลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วเป็นกาลังสำคัญในการปราบปรามยุคเข็ญนั้น
เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ก็เริ่มดำริหาเมืองขึ้น โดยให้มีการสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่หลายเมือง แล้วจัดให้บรรดาบุคคลที่มีปรีชาสามารถแลมีผู้รักใคร่นับถือออกไปเป็นเจ้าเมือง (เจ้าเมืองสมัยนั้นก็เสมือนกษัตริย์เมืองขึ้น เพราะการแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ ตลอดจนคำพูดที่ใช้ในสำนักของเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ใช้เป็นราชาศัพท์) ให้จารย์หวดไปสร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองโขงตั้งจารย์หวดเป็นเจ้าเมือง ให้ท้าวจันทร์ (นับว่าเป็นน้องจารย์แก้ว) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง
สร้างเมืองบรรพบุรุษของชาวอีสาน
ส่วนจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองทง (สุวรรณภูมิ) ให้จารย์แก้วเป็นเจ้าเมือง (ชื่อของจารย์แก้วในภายหลังก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมืองและนายอำเภอเมืองนี้ ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 6 เช่น พระยารัตนวงศา พระรัตนวงศาฯ หลวงรัตนาวงศา (เมืองนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเมืองสุวรรณภูมิแล้วยุบลงเป็นอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด ราว พ.. 2454)
ครั้น พ.. 2268 อาจารย์แก้วเจ้าเมืองทงก็ถึงแก่อนิจกรรม มีบุตรรวม 3 คน คือ (1) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน) (2) ท้าวมือดำดล หรือท้าวมืด (3) ท้าวสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ (ปรากฏในพงศาวดารว่าเหตุที่ชื่อท้าวมืดเพราะเวลาคลอดนั้นเป็นเวลาสุริยุปราคามืดมิดไปทั่วเมือง ที่ชื่อท้าวสุทนต์มณี เพราะเวลาตั้งครรภ์บิดาฝันว่าฟันของตนได้เกิดเป็นแก้วมณีขึ้น) เมื่อจารย์แก้วถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ก็ตั้งให้ท้าวมืดเป็นเจ้าเมือง ท้าวทนต์เป็นอุปฮาช รักษาบ้านเมือง ต่อไปในภายหลัง ท้าวมืดดำดลเจ้าเมืองถึงแก่กรรมลง ท้าวสุทนต์มณีน้องชายได้เป็นเจ้าเมืองแทน ท้าวสุทนต์ผู้นี้นับว่ายังเป็นผู้ยังไม่สิ้นเคราะห์พอขึ้นเป็นเจ้าเมืองไม่ทันไรก็ถูกอิจฉา โดยท้าวเชียง ท้าวสูนบุตรของท้าวมืดซึ่งเป็นหลานชาย อยากเป็นเจ้าเมืองเสียเอง จึงพากันลงไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ณ พระนครศรีอยุธยา ขอกำลังมาทำการขับไล่ท้าวสุทนต์ผู้อา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหม พระยากรมท่าออกไปจัดการกับท้าวเชียง ท้าวสูน โดยมีพระประสงค์จะให้ประนีประนอมกันแต่โดยทางดี
ฝ่ายท้าวสุทนต์เจ้าเมืองเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพกรุงยกมาก็ดำริเห็นว่า เราเป็นเมืองน้อยมีกำลังน้อยไม่สามารถต้านทานกำลังของกองทัพกรุงได้ ถ้าหากมีการต่อสู้กันขึ้นมา คงเป็นฝ่ายย่อยยับจึงอพยพครอบครัวออกไปอยู่ที่ทุ่งตะมุม (หรือขมุม หรือกระหมุม ที่นั่นได้เรียกว่าคงเมืองจอกมาจนทุกวันนี้) ในครั้งนั้นมีประชาชนที่จงรักภักดีติดตามท้าวทนต์ไปอยู่ที่ทุ่งตะมุมด้วยเป็นจำนวนมาก
ครั้นพระยาพรหม พระยากรมท่ามาถึงเมืองทงเมื่อทราบว่าท้าวทนต์ฯ ได้หนีไปแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้งท้าวเชียงเป็นเจ้าเมืองท้าวสูนเป็นอุปฮาช ได้โปรดพระราชทานตามที่ขอ แต่นั้นมาเมืองทง (ทุ่ง) ก็เป็นอันขาดจากความปกครองของเมืองนครจำปาศักดิ์ฯ ครั้นเรียบร้อยแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็ออกไปตั้งสำนักอยู่ที่ทุ่งสนามโนนกระเบา (ในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ)
สร้างบ้านร้อยเอ็ด
เมืองร้อยเอ็ดได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2318 (ก่อนเมืองมหาสารคาม 90 ปีบริบูรณ์) ปรากฏในพงศาวดารภาคอีสานของหอสมุดว่า สมัครพรรคพวกที่ไปขอขึ้นด้วยมากขึ้นทุกที ในที่สุดพระยาพรหม พระยากรมท่าเห็นว่าท้าวทนต์เป็นตระกูลสูงเก่าแก่ และมีความเฉลียวฉลาดประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมเป็นอันดีทั้งมีคนเคารพเลื่อมใสยอมตนเข้าเป็นพรรคพวกเป็นอันมาก สมควรจะเป็นเจ้าเมืองต่อไปอีกได้ จึงพร้อมด้วยเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ เจ้าหมื่นน้อย เจ้าธรรมสุนทรซึ่งเป็นญาติของท้าวสุทนต์ กับท้าวเชียง ท้าวสูน มาว่ากล่าวประนีประนอมให้คืนดีกันจนเป็นผลสำเร็จแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็มีใบบอกขอยกเอาดงกุ่มขึ้นเป็นเมือง ขอท้าวสุทนต์เป็นเจ้าเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุทนต์เป็นพระขัติยะวงศาให้ยกดงกุ่มเป็นเมืองร้อยเอ็ดในปี พ.. 2318 นั้นเอง (เหตุที่ให้นามว่า ขัติยะวงศา เพราะท้าวแก้วต้นตระกูลเป็นผู้สืบสายจากกษัตริย์เวียงจันทน์) ต่อจากนั้นพระขัติยะวงศา (สุทนต์) ได้เริ่มอำนวยการให้ราษฎรแผ้วป่าดงกุ่มสร้างเมืองใหม่ตามมีพระบรมราชโองการ ต่อจากนั้นก็มีการสร้างวัดวาอาราม ปรับปรุงบ้านเมืองในด้านการปกครองการศาสนาตลอดจนส่งเสริมการทามาหากินของราษฎรให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้น พ.. 2326 พระขัติยะวงศา (สุทนต์) ชราภาพลงมาก จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระนิคมจางวาง พระนิคมจางวาง (สุทนต์) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวศีลัง เป็นพระขันติยะวงศา เจ้าเมืองแทนบิดา ให้ท้าวภูเป็นอุปฮาช ท้าวอ่อนเป็นราชวงศ์ ต่อมาพระขัติยะวงศา (ศีลัง) มีความชอบในราชการสงครามจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาขัติยะวงศาพิสุทธาธิบดี และปี พ.. 2380 หลังจากปราบปรามกบฏเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์สงบราบคาบแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเห็นว่า สามพี่น้องมีความชอบในราชการเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาขัติยะวงศา (ศีลัง) ขึ้นเป็นพระยาชั้นพานทองและพระราชทานพานทองคำขนาดใหญ่ 1 ใบ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวภูเป็นพระรัตนวงศาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ให้ท้าวอ่อนเข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในพระบรมหาราชวัง เมื่องพระรัตนวงศา (ภู) ผู้นี้ถึงอนิจกรรมแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอ่อนมหาดเล็กออกมาเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิต่อไป
ตั้งเมืองมหาสารคามแยกออกจากร้อยเอ็ด
เมื่อพระยาขัติยะวงศาถึงแก่อนิจกรรมลง อุปฮาชสิงห์พร้อมด้วยท้าวจันทร์และราชวงศ์อินได้นาใบบอกไปขอศิลาหน้าเพลิง ณ กรุงเทพฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพิชัยสุริวงศ์เป็นผู้รักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดแทนบิดาหลังจากจัดการพระราชทานเพลิงศพบิดาเสร็จแล้ว อุปฮาชสิงห์ได้จัดให้มีการเล่นโปขึ้นที่หอนั่งในจวนของพระยาขัติยะวงศา และชักชวนให้พระพิชัยพี่ชายเล่นด้วย พอยามดึกสงัดพระพิชัยได้ถูกคนร้ายลอบแทงถูกสีข้างข้างซ้ายถึงแก่กรรม
ขณะนั้นพระรัตนวงศา (ภู) น้อยชายพระยาขัติยะวงศาได้มาทาการปลงศพพี่ชายที่เมืองร้อยเอ็ดด้วย ได้พร้อมกับกรมการเมืองทำการสืบหาตัวผู้ร้าย จับตัวเจ๊กจั๊นผู้ชึ่งเป็นผู้ร้ายได้ พระรัตนวงศา (ภู) สงสัยอุปฮาชสิงห์หลายชาย จึงจับตัวส่งไปกรุงเทพฯ พร้อมเจ๊กจั๊น ครั้นเดินทางใกล้ถึงเมืองนครราชสีมาอุปฮาชสิงห์ได้กินยาพิษถึงถึงแก่กรรมเสียก่อนยังมิได้มีการไต่สวนพิพากษาแต่อย่างใด คดีจึงเป็นอันระงับไป
ฝ่ายท้าวศรีวงศ์บุตรของอุปฮาชสิงห์ ซึ่งมีอายุ 11 ปี เมื่อบิดาถูกส่งไปกรุงเทพฯ ญาติหวาดหวั่นว่าจะได้รับภัยด้วย จึงส่งตัวท้าวศรีวงศ์ไปไว้ที่เมืองสุวรรณภูมิ และได้ถูกส่งตัวไปจนถึงเขตแขวงเมืองยโสธรนัยว่าไม่ได้ฝากฝังไว้กับใคร ชีวิตจึงต้องระเหเร่ร่อนได้รับความทรมานลาบากยากแค้น ถึงกับต้องอาศัยนอนตามถนนหนทางและศาลาวัดและเที่ยวขอทานประทังชีวิตไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ท้าวศรีวงศ์ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่เช่นนี้ 6 เดือนเศษ จึงได้พบกับสมภารทองสุก ซึ่งมีวัดใกล้เมืองยโสธร โดยพบขณะนอนหลับอยู่ใต้ธรรมาสน์บนศาลา จึงปลุกขึ้นมาสอบถามความเป็นมา เมื่อได้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนต้องหลบหนีมาสมภารทองสุกเกิดความสงสารจึงชักชวนให้อยู่ด้วยและได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่าท้าวกวดและทาการบรรพชาให้เป็นสามเณร ให้เล่าเรียนภาษาบาลี พระธรรมวินัย ภาษาไทย จนแตกฉาน ต่อมาได้อุปสมบทได้สองพรรษาก็ลาสิกขาบทออกไปทำราชการที่เมืองอุบลฯ ทำราชการมีความชอบจนได้รับแต่งตั้งเป็นที่ท้าวมหาชัย
ครั้น พ.. 2399 ท้าวมหาชัยได้รับจดหมายของพระขัติยะวงศา (จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดเรียกให้กลับไปรับราชการที่เมืองร้อยเอ็ด จึงได้กลับไปรับราชการอยู่กับญาติของตน
.. 2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากำแหงสงคราม (แก้ว สิงหเสนี) เจ้าเมืองนครราชสีมา (ภายหลังเป็นเจ้าพระยายมราช) เป็นข้าหลวงแม่กองสักออกไปสักเลขทางหัวเมืองตะวันออกตั้งอยู่ที่เมืองยโสธรคราวนี้กรมการเมืองร้อยเอ็ดได้นำตัวเลขไปสักที่เมืองยโสธรเป็นจำนวน 13,000 คนเศษ
พระขัติยะวงศา (จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดเห็นว่า พลเมืองของร้อยเอ็ดมีมากขึ้นประกอบกับท้าวมหาชัยเป็นผู้มีความชอบในราชการหลายอย่าง ทั้งชื่อสัตย์มั่นคง มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม สมควรเป็นเจ้าเมืองได้ ถ้าแยกออกไปตั้งเมืองหนึ่งก็จะเป็นการสมควร จึงปรึกษาหารือกับกรมการเมืองแล้วเห็นชอบให้ตั้งเมืองใหม่ พระขัติยะวงศาจึงให้ท้าวมหาชัย (กวด) กับอุปฮาชภูไปสำรวจที่ตั้งเมือง และได้เลือกที่ดินระหว่างห้วยคะคางและกุดนางใย เพราะเป็นโคกเนินสูงน้ำไม่ท่วมถึง หน้าแล้งก็ได้อาศัยน้ำห้วยคะคางและกุดนางใย หนองกระทุ่มเป็นที่ใช้สอย บริโภคของประชาชน เมืองได้ถูกสร้างขึ้นในปี 2408 เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วพระขัติยะวงศา ขอท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง ขอท้าวบัวทอง (พานทอง) เป็นอรรคฮาช (ทั้งสองคนเป็นหลานพระยาขัติยะวงศา) ขอท้าวไชยวงศา (ฮึง) บุตรพระยาขัติยะวงศา (ศีลัง) เป็นอรรควงศ์ ขอท้าวเถื่อนบุตรพระขัติยะวงศา (จันทร์) เป็นอรรคบุตร และให้ท้าวมหาชัย (กวด) กับพวกทั้งสามคนทำใบบอกลงไปทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 4 ที่กรุงเทพฯ
.. 2412 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองมหาสารคาม ซึ่งเกิดใหม่และเป็นเมืองขึ้นของเมืองร้อยเอ็ดให้ยกไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ฐานะของอรรคฮาช อรรควงศ์ อรรคบุตร ก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาชราชวงศ์ ราชบุตร พร้อมกันทันที และในปีนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต
.. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้มีตราถึงเมืองมหาสารคาม และหัวเมืองตะวันออกว่า ให้ยกเลิกธรรมเนียมตั้งข้าหลวงกองสักที่มาสักเลขตามหัวเมือง และขอให้ไพร่บ้านพลเมืองไปอยู่ในความปกครองของเมืองใดก็ได้ตามใจสมัคร และโปรดเกล้าฯ ให้ทำสำมะโนครัวตัวเลขส่งไปยังกรุงเทพฯ ในปีนี้พลเมืองของร้อยเอ็ดได้พากันอพยพมาขอขึ้นอยู่กับเมืองมหาสารคามอย่างมากมาย
ไทยรบกับฮ่อ
.. 2418 พวกฮ่อได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ของหลวงพระบางซึ่งเวลานั้นเป็นเมืองขึ้นของไทย และตระเตรียมกองทัพจะยกมาตีเมืองเวียงจันทน์ และหนองคายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เป็นแม่ทัพใหญ่ให้เกณฑ์กำลังทางหัวเมืองตะวันออกไปปราบฮ่อทางเมืองหนองคาย
พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ได้ส่งให้พระเจริญราชเดช (ท้าวมหาชัย กวด ภวภูตานนท์) เกณฑ์กาลังเมืองมหาสารคาม เมืองร้อยเอ็ด เป็นแม่ทัพหน้ายกไปสมทบทัพของพระพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์เจ้าเมืองอุบลราชธานี และพระยาชัยสุนทร (ทน) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ โดยให้ราชบุตร (เสือ) เมืองร้อยเอ็ดเป็นนายกองผู้ช่วยพระเจริญราชเดช (มหาชัยกวด) ทัพไทยได้ยกข้ามโขงไปโจมตีและเกิดตลุมบอนกันจนฮ่อแตกกระจาย ผลปรากฏว่าราชบุตรเสือถูกฮ่อยิงถูกมือขวาโลหิตไหล พวกพลจึงเข้าพยุงกลับมา ส่วนพระเจริญราชเดชได้ถูกกระสุนปืนของฮ่อที่ต้นขาซ้าย และแขนซ้าย ตกจากหลังม้าอาการสาหัสไพร่พลจึงเข้าพยุงขึ้นใส่บ่าจะพากลับที่พัก แต่พระเจริญราชเดชไม่ยอมกลับ โดยอ้างว่ากลับไปก็อายเขา เมื่อถึงที่ตายก็ขอให้ตายในที่รบ ฯลฯจึงสั่งให้ไพร่พลพยุงขึ้นบนหลังม้าแล้วพยายามขับขี่ต่อไปอีก ในวันต่อมากองทัพไทยได้ยกเข้าตีค่ายโพธานาเลา ได้ชัยชนะอีก พวกฮ่อได้แตกหนีไป ไทยจับได้พวกฮ่อและสาตราวุธมากมาย
เมื่อเสร็จการปราบฮ่อแล้ว พระยามหาอำมาตย์ ข้าหลวงใหญ่ภาคอีสานได้กลับไปจัดราชการอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด กองทัพอื่น ๆ ก็กลับไปยังบ้านเมืองตามเดิม ส่วนพระเจริญราชเดช ที่ถูกยิงและตกจากหลังม้านั้น มีอาการป่วยได้เข้าพักรักษาตัวอยู่ที่คุ้มเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ และต่อมาได้กลับมารักษาตัวที่เมืองมหาสารคามและได้ถึงแก่อนิจกรรมลงเมื่อ พ.. 2421 อุปฮาช (ฮึง) ผู้เป็นอาพร้อมด้วยกรมการเมืองปรึกษากันเห็นว่า ท้าวสุพรรณ บุตรพระเจริญราชเดชสมควรจะเป็นเจ้าเมืองต่อไปได้ จึงเขียนใบบอกให้ท้าวสุพรรณนาลงไปยังกรุงเทพฯ ขณะที่ท้าวสุพรรณเดินทางไปยังไม่ถึงกรุงเทพฯ ก็ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่กลางทาง ตำแหน่งเจ้าเมืองมหาสารคามจึงได้ว่าง ต่อมาถึง 2 ปี โดยมีอุปฮาช (ฮึง) รักษาการแทนอยู่
.. 2422 ขุนหลวงสุวรรณพันธนากร (คำภา) ขุนสุนทรภักดีสมมุติตนเองขึ้นเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปเที่ยวตามหัวเมืองตะวันออก อ้างว่าโปรดเกล้าฯ ให้มาชำระถ้อยความของราษฎรที่เกิดขึ้น แต่หนังสือที่ว่าเป็นท้องตรานั้นประทับเป็นรูปราชสีห์ถือเศวตฉัตรสองตัวเป็นเส้นลายทอง และถือหนังสือของขุนบรรเทาพินราชกรมมหาดไทยว่า ตนเป็นนายเวรของกรมพระบำราบปรปักษ์มาถึงอุปฮาช ราชวงศ์ราชบุตรเมืองมหาสารคามว่า ตนมาชาระคดีเรื่องขุนสุนทรและท้าวจันทร์ชมภู อุปฮาชฮึงและกรมการเมืองมหาสารคามมีความสงสัย เพราะเห็นว่ามีพิรุธแต่ครั้นจะกักตัวไว้ก็ไม่ปรากฏว่าทุจริต จึงได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีตราถึงหัวเมืองตะวันออกให้ทาการตรวจจับขุนแสวงฯ และขุนสุนทรภักดีส่งไปกรุงเทพฯ
.. 2422 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้อุปฮาชฮึงเป็นพระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม และในปีนี้ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ขึ้นในปกครองของเมืองสุวรรณภูมิแต่มาตั้งเมืองในเขตของเมืองมหาสารคาม
.. 2425 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนาเลาเป็นเมืองวาปีปทุมแต่บ้านนาเลาไม่เหมาะสมกับการตั้งเมือง จึงได้มาตั้งที่บ้านหนองแสง และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านวังทาหอขวางเป็นเมืองโกสุมพิสัย
.. 2432 อุปฮาชผู้รักษาเมืองสุวรรณภูมิ มีใบบอกกล่าวโทษเมืองมหาสารคามสุรินทร์ ศรีสะเกษ ว่าแย่งเอาเขตของตนไปตั้งเป็นเมือง เฉพาะเมืองมหาสารคาม ถูกหาว่าขอเอาบ้านนาเลาตั้งเป็นเมืองวาปีปทุม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงนครจาปาศักดิ์ ข้าหลวงอุบลฯ ทาการไต่ส่วนว่ากล่าวในเรื่องนี้ แต่เมืองเหล่านี้ได้ตั้งมานานแล้วรื้อถอนไม่ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เมืองวาปีปทุมเป็นเมืองขึ้นของเมืองมหาสารคามไปตามเดิม โดยมิได้โยกย้ายประการใด
การจัดแบ่งเขตปกครอง
.. 2433 โปรดเกล้าฯ แบ่งเขตปกครองหัวเมืองตะวันออกเป็น 4 ส่วน หรือ สี่กอง กองหนึ่ง ๆ มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้กำกับราชการ
1. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือมีเมืองใหญ่ 16 เมือง เมืองเล็กขึ้น 36 เมือง อยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองหนองคาย
2. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก มีเมืองใหญ่ 11 เมือง เมืองขึ้น 26 เมือง อยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์
3. หัวเมืองลาวฝ่ายกลางมีเมืองใหญ่ 3 เมือง เมืองขึ้น 16 เมือง อยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองนครราชสีมา
4. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองใหญ่ 12 เมือง เมืองขึ้น 29 เมือง ขึ้นอยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี (ภายหลังเรียกมณฑลอีสาน) เมืองมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และเมืองกาฬสินธุ์ ขึ้นอยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองอุบลฯ
.. 2435 โปรดเกล้าฯ ให้นายรองชิต (เลื่อง ณ นคร ) จมื่นศรีบริรักษ์ มาเป็นข้าหลวงกากับราชการเมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ดเป็นครั้งแรก ตั้งอยู่ที่เมืองมหาสารคาม
.. 2437 ทางการได้โอนเมืองชุมพลบุรีจากเมืองสุรินทร์มาขึ้นเมืองมหาสารคาม (.. 2443 ยุบเป็นอำเภอแล้วโอนกลับไปขึ้นเมืองสุรินทร์)
.. 2440 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้นเพื่อวางระเบียบแบบแผนการปกครองท้องที่ให้เรียบร้อยดียิ่งขึ้น แต่เวลานั้นมณฑลอีสานยังมิได้จัดการปกครองให้เป็นไปอย่างมณฑลอื่น
.. 2443 โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหัวเมืองมณฑลอีสานออกเป็นบริเวณ 5 บริเวณ คือ
1) บริเวณอุบล
2) บริเวณจำปาศักดิ์
3) บริเวณขุขันธ์
4) บริเวณสุรินทร์
5) บริเวณร้อยเอ็ด
บริเวณร้อยเอ็ดแบ่งเป็น 5 หัวเมือง คือ
1) เมืองร้อยเอ็ด
2) เมืองมหาสารคาม
3) เมืองกาฬสินธุ์ (ยุบลงเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดมหาสารคาม ปี 2474 แล้ว กลับตั้งเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์อีก เมื่อปี 2490)
4) เมืองกมลาไสย (ยุบลงเป็นอำเภอจนทุกวันนี้)
5) เมืองสุวรรณภูมิ (ยุบลงเป็นอำเภอจนทุกวันนี้)
ในปี พ.. 2440 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองอุปฮาช เป็น ปลัดเมือง ราชวงศ์ เป็น ยกกระบัตร ราชบุตร เป็น ผู้ช่วยราชการเมือง ชาเนตร เป็น เสมียนตราเมือง
ในปี พ.. 2443 เมืองมหาสารคาม ได้จัดการแบ่งเขตเมืองตั้งขึ้นเป็นอาเภอคือ (1) อำเภออุทัยสารคาม (2) อำเภอประจิมสารคาม ส่วนเมืองวาปีปทุม โกสุมพิสัย ก็คงให้เป็นเมืองขึ้นของเมืองมหาสารคามไปตามเดิม และได้ให้เปลี่ยนเป็นอาเภอในปีนี้ เช่นเดียวกัน
.. 2444 เมืองมหาสารคาม มีอาเภอขึ้นอยู่ในความปกครอง 4 อำเภอ คือ อุทัยสารคาม ประจิมสารคาม วาปีปทุมและโกสุมพิสัย ยุบเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ลงเป็นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านนาข่าไปตั้งที่ตำบลปะหลานแต่นั้นมา แล้วโอนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยจากเมืองสุวรรณภูมิมาให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของร้อยเอ็ดในปีนั้น
.. 2446 ยุบตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองโดยทั่วไป
.. 2451 ทางราชการได้สั่งให้เปลี่ยนคำที่เรียกว่าบริเวณเป็นเมืองตามเดิม และปี พ.. 2456 เปลี่ยนคำที่เรียกว่าที่ว่าการเมืองเป็นศาลากลางจังหวัดและเปลี่ยนคำว่าคุ้มหรือบ้านของเจ้าเมืองเรียกว่าจวนผู้ว่าราชการเมือง
.. 2454 ย้ายอำเภอประจิมสารคาม จากเมืองมหาสารคามไปตั้งทางทิศตะวันตก เมืองมหาสารคาม ไปติดตั้งกับหนองบรบือ เรียกใหม่ว่าอำเภอท่าขอนยาง และเปลี่ยนนามอำเภออุทัยสารคาม เรียกว่า อำเภอเมืองมหาสารคาม
.. 2459 เปลี่ยนค่าว่าผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและยกเลิกตำแหน่งปลัดมณฑลประจาจังหวัดปีนี้
.. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมณฑลร้อยเอ็ดขึ้น ตั้งศาลารัฐบาลที่เมืองร้อยเอ็ด (ที่ทาการมณฑลเรียกว่า ศาลากลางรัฐบาลมณฑล) โอนเมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคามจากมณฑลอีสาน (ซึ่งเปลี่ยนเป็นมณฑลอุบลราชธานี) มาขึ้นมณฑลร้อยเอ็ดซึ่งตั้งใหม่ และในปีนี้ได้จัดตั้งศาลยุติธรรมขึ้นในจังหวัดมหาสารคามเป็นครั้งแรก
โอนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาขึ้นในความปกครองของจังหวัดมหาสารคาม โอนอำเภอกันทรวิชัย (แล้วเปลี่ยนเป็นอำเภอโคกพระ) จากจังหวัดกาฬสินธุ์มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม ดังนั้น ในปี พ.. 2456 จังหวัดมหาสารคามจึงมี 6 อำเภอ คือ
1) อำเภอเมืองมหาสารคาม (เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอตลาด)
2) อำเภอเมืองวาปีปทุม
3) อำเภอโกสุมพิสัย
4) อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
5) อำเภอโคกพระ
6) อำเภอท่าขอนยาง (ถึง พ.. 2460 เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบรบือ)
.. 2457 ได้ก่อสร้างศาลากลางจังหวัด (ต่อมาได้ใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม เพราะได้มีการสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ เสร็จในปี 2467)
.. 2468 โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ดเป็นจังหวัด โอนจังหวัดทั้งสาม คือ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ไปขึ้นอยู่มณฑลนครราชสีมา
.. 2474 ทางราชการได้ยุบจังหวัดกาฬสินธุ์มารวมขึ้นในความปกครองของจังหวัดมหาสารคามอีก 5 อำเภอรวมเป็น 11 อำเภอ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร์ซึ่งมีพระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิอาคเณ เป็นหัวหน้า ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย มาเป็นประชาธิปไตย
วันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวสยาม และในเดือนนี้รัฐบาลได้สั่งให้จัดตั้งสาขาสมาคมคณะราษฎร์ ขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ จังหวัดมหาสารคามได้จัดตั้งขึ้นโดยใช้ชื่อว่าสาขาสมาคมคณะราษฎร์ประจำจังหวัดมหาสารคาม
กันยายน 2476 จังหวัดมหาสารคามได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตาบลขึ้นเป็นครั้งแรก
พฤศจิกายน 2476 จังหวัดมหาสารคามได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยวิธีให้ผู้แทนตำบลทั่งทั้งจังหวัดเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง (มีผู้แทนตำบล 11 อาเภอ รวมกัน 61 คน และได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2476

.. 2476 รัฐบาลได้เปลี่ยนคำที่เรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดภายหลังได้เปลี่ยนกลับไปใช้คำว่าผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งบัดนี้
ประวัติศาสตร์จังหวัดมุกดาหาร
ตราประจำจังหวัด


รูปปราสาทสองนางสถิต ประดิษฐานแก้วมุกดาหาร
คำขวัญประจำจังหวัด
หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

 เดิมดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เต็มไปด้วยป่าดงพงไพร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกคนป่าอันสืบเชื้อสายมาจากขอม เช่น พวกข่า ส่วย กระโซ่ เมืองสำคัญส่วนมากตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เช่น กรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองพวน (เชียงขวาง) ตลอดทั้งดินแดนสิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหก ซึ่งเป็นเผ่าไทยที่อพยพลงมาทางใต้ แต่แยกออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ เช่น อาณาจักรโยนก อาณาจักรเชียงแสน อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง เป็นต้น
จนถึง พ.. 2231 เมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) สวรรคต พระยาเมืองแสนได้ชิงเอาราชสมบัติขึ้นครองเวียงจันทน์ พระมเหสีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์องค์เดิมได้พาโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าองค์หล่อ และเจ้าองค์หน่อ (เจ้าหน่อกุมาร) อพยพหลบหนีตามลำน้ำโขงมาอาศัยอยู่กับ พระครูโพนเสม็ด เมื่อเจ้าองค์หล่อเจริญวัยขึ้น มีความโกรธแค้นพระยาเมืองแสนซึ่งชิงเอาราชสมบัติ จึงพาบ่าวไพรไปอยู่เมือง ญวน ซ่องสุมผู้คนคอยหาโอกาสแก้แค้นพระยาเมืองแสน ฝ่ายพระยาเมืองแสนผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุตเห็นว่าพระครูโพนเสม็ดมีผู้คนรักใคร่เกรงกลัวนับถือมาก หากปล่อยไว้อาจจะคิดแย่งชิงเอาบ้านเมือง จึงคิดจะกำจัดพระครูโพนเสม็ดเสีย เมื่อพระครูโพนเสม็ดรู้ระแคะระคายว่าพระยาเมืองแสนจะคิดทาร้ายจึงรวบรวม ผู้คนได้ 3 พันเศษ พาเจ้าหน่อกุมารพร้อมด้วยมารดา (พระมเหสีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์) อพยพลงมาตามลำน้ำโขง เมื่อเห็นว่าที่ใดทำเลดีอุดมสมบูรณ์ก็ให้ผู้คนที่ติดตามแยกย้ายกันตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นตามความสมัครใจในแถบถิ่นสองฝั่งแม่น้ำโขง จึงเกิดเป็นเมืองต่าง ๆ ขึ้นและแผ่ขยายต่อมาออกไปทั่วภาคอีสานในปัจจุบัน
ท่านพระครูโพนเสม็ด อพอพผู้คนลงมาตามลำน้ำโขง เมื่อถึงที่ใดก็มีคนเลื่อมใสศรัทธามากขึ้นตามลำดับ ท่านพระครูโพนเสม็ดได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมเมื่อ พ.. 2233 และได้แบ่งคนจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปฐากพระธาตุพนม แล้วได้อพยพต่อไปถึงนครจำบากนาคบุรีศรี (นครจำปาศักดิ์) จึงได้ยกเจ้าหน่อกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ ถวายพระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทชางกรูเปลี่ยนนามนครจำบากนาคบุรีศรี เป็นนครจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.. 2256
เมืองมุกดาหารได้ก่อกำเนิดขึ้นในยุคนี้ โดยได้อพยพลงมาทางใต้ตามลำดับ จากเมืองไร่เมืองปุงบ้านน้ำน้อยอ้อยหนู ลงมาตามลำน้ำโขงและตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ ณ บ้านหลวงโพนสิม (บริเวณธาตุอิงฮ้งแขวงสุวรรณเขตในปัจจุบัน) เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทชางกรู สถาปนานครจำปาศักดิ์ขึ้นในปี พ.. 2256 จึงได้ตั้งเจ้าเมืองขึ้นคือ
1) ตั้งเจ้าจันทร์สุริยวงษ์ เป็นเจ้าเมืองหลวงโพนสิม (ต่อมาได้อพยพมาตั้งเมืองมุกดาหาร)
2) ตั้งให้ท้าวสุด เป็นพระชัยเชษฐฯ เจ้าเมืองหางโค (เมืองเชียงแตง)
3) ตั้งให้เจ้าแก้วมงคล (จารย์แก้ว) เป็นเจ้าเมืองเมืองทง (ภายหลังเปลี่ยนนามเป็นเมืองสุวรรณภูมิ และต่อมาได้แยกเป็นเมืองร้อยเอ็ด สารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ฯลฯ
4) ตั้งให้ท้าวมั่น เป็นหลวงเอกอาษาเจ้าเมืองสาลวัน (ต่อมาแยกเป็นเมืองสาลวัน เมืองคำทองใหญ่ เมืองคำทองน้อย ซึ่งอยู่ในแขวงสาลวันและแขวงวาปีคาทองในประเทศลาวปัจจุบัน)
5) ตั้งให้อาจารย์โสม เป็นเจ้าเมืองอิ๊ดตะบือ (เมืองอัตบือ)
เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ได้มีบุตรหลานสืบสกุลเป็นเจ้าเมืองต่อ ๆ กันมา และได้แตกแยกออกเป็นเมืองต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
ฝ่ายเมืองหลวงโพนสิม เมื่อเจ้าจันทร์สุริยวงษ์ถึงแก่กรรมแล้ว เจ้ากินรีได้เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมาอีกจนถึง พ.. 2310 จึงได้อพยพข้ามโขงมาตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยมุก มูลเหตุที่เจ้ากินรีจะย้ายเมืองมาตั้งใหม่มีอยู่ว่า วันหนึ่งนายพรานจากบ้านหลวงโพนสิมได้ข้ามโขงมาล่าสัตว์ตรงปากห้วยบังมุก ได้พบต้นตาลต้นหนึ่งมี 7 ยอด และเห็นกองอิฐปรักพังอยู่บริเวณใต้ต้นตาล 7 ยอดนั้น จึงสันนิษฐานว่าคงเป็นบ้านเมืองในสมัยโบราณมาก่อนนายพรานจึงนาไปเล่าให้เจ้ากินรีฟัง เมื่อเจ้ากินรีมาตรวจดูเห็นว่าเป็นทำเลดีเหมาะสมที่จะตั้งบ้านตั้งเมือง จึงได้ชักชวนพรรคพวกมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยมุก
วันหนึ่งขณะที่เจ้ากินรีควบคุมบ่าวไพร่ในกลางป่าอยู่ใกล้ต้นตาล 7 ยอด เจ้ากินรีได้พบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปเหล็กอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เจ้ากินรีจึงให้สร้างวัดขึ้น ในบริเวณนั้นและตั้งชื่อว่า วัดศรีมุงคุณ (วัดศรีมงคล) เพื่อเป็นมงคลนามแก่ชาวเมืองและเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสององค์ เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปสององค์ไปไว้ในโบสถ์แล้ว วันรุ่งขึ้นอีกวันเมื่อพระภิกษุประจำวัดจะเข้าไปสักการะ ก็ปรากฏว่าไม่พบพระพุทธรูปเหล็ก (องค์เหล็ก) เมื่อค้นดูรอบ ๆ บริเวณวัด ปรากฏว่าพระพุทธรูปเหล็กกลับไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่เดิมแต่จมลงไปในดิน และวันต่อ ๆ มาก็ค่อย ๆ จมลงในดิน เหลือแต่ยอดพระโมฬี เจ้ากินรีจึงให้สร้างแท่นสักการะบูชาไว้ ณ ที่นั้นและถวายพระนามว่า พระหลุมเหล็กส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่คงประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดศรีมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเจ้ากินรีตั้งเมืองขึ้นใหม่ ตอนกลางคืนจะเห็นแก้วดวงหนึ่งสีสดใสลอยออกจากต้นตาล 7 ยอด แล้วลอยกลับมาที่ต้นตาลตอนเช้ามืดแทบทุกคืน เจ้ากินรีจึงเรียกนามแก้วศุภนิมิตรนั้นว่า แก้วมุกดาหาร เพราะอยู่ใกล้ห้วยบังมุก (บัง แปลว่า ลำห้วย) และตั้งนามเมืองว่า เมืองมุกดาหาร เมื่อเดือน 4 ปีกุน พ.. 2313 (มุกดาหาร หมายถึง แก้วไข่มุก) เป็นต้นมา และมีเจ้าปกครองสืลบต่อกันมาตามลาดับ รวม 8 คน คือ
เจ้ากินรี
เจ้ากินรี ได้เป็นเจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก ต่อมาเมื่อปี พ.. 2321 พระวอ พระตา เจ้าเมืองหนองบัวลาภู (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี) เกิดวิวาทกับเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้ให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพมาตามลำน้ำโขงเพื่อปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์และนครเวียงจันทน์ให้ขึ้นอยู่ในอาณาจักรธนบุรีบรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ตามลำน้ำโขงและเมืองมุกดาหารจึงรวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้นมา  
เจ้ากินรีได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาจันทร์ศรีสุราชอุปราชาพัณฑาตุราช มีบุตรธิดา รวม 7 คน คือ ท้าวกิ่ง ท้าวอุ่น ท้าวชู และธิดาอีก 4 คน
เจ้ากินรีได้แต่งตั้งกรมการเมืองขึ้น คือ
1. ท้าวกิ่ง เป็นอุปฮาด
2. ท้าวอุ่น เป็นราชวงษ์
3. ท้าวชู เป็นราชบุตร
เจ้ากินรีได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.. 2347
พระยาจันทร์สุริยวงษ์ (กิ่ง)
ท้าวกิ่งผู้เป็นบุตรเจ้ากินรีและเป็นอุปฮาดเมืองมุกดาหาร ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองในอันดับ 2 ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่ พระยาจันทร์สุริยวงษ์ (ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
พระยาจันทร์สุริยวงษ์ได้ขอพระราชทานแต่งตั้งกรมการเมืองมุกดาหารตามตำแหน่งคือ
1. ท้าวอุ่น เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาด
2. ท้าวชู เลื่อนขึ้นเป็นราชวงษ์
3. ท้าวแผ่น เป็นราชบุตร
พร้อมกับได้แต่งตั้งกรมการเมืองและท้าวเพี้ยชั้นผู้น้อยครบตามตำแหน่ง คือ เมืองแสน เมืองจันทร์ (ตำแหน่งฝ่ายทหาร) เมืองซ้าย เมืองขวา เมืองกลาง (ตำแหน่งฝ่ายมหาดไทย) ชาเนตร ชานนท์ ชาบัณฑิต (ตำแหน่งหน้าที่ในการร่างและอ่านหนังสือราชการ) เมืองมุก เมืองฮาม (ตำแหน่งควบคุมเรือนจำ) นาเหนือ นาใต้ (ตำแหน่งรวบรวมเสบียงอาหารใส่ยุ้งฉางไว้รับศึกสงคราม
พระยาจันทร์สุริยวงษ์ มีบุตรธิดา หลายคน คือ
ภรรยาคนที่ 1 ชื่อ เจ้านางยอดแก้ว มีบุตรธิดารวม 6 คน คือ ท้าวพรม ท้าวทัง ท้าวคา นางคิม นางเฮ้า นางรุน
ภรรยาคนที่ 2 ชื่อ เจ้านางประทุม (เจ้านครจำปาศักดิ์) มีบุตรธิดารวม 2 คน คือ นางอ่อน ท้าวจีน
ภรรยาคนที่ 3 ซึ่งเป็นชาวบ้านคำป่าหลาย มีบุตรธิดารวม 6 คน คือ ท้าวตู้ ท้าวไข่ ท้าวปาน ท้าวเม้า ท้าวปุ่น นางไอ่
ภรรยาคนที่ 4 ซึ่งเป็นชาวบ้านหนองหล่ม มีธิดาคนเดียว คือ นางอั้ว
ครั้นอยู่ต่อมาอุปฮาด (อุ่น) และราชวงษ์ (ชู) ได้ถึงแก่กรรม พระยาจันทร์สุริยวงษ์ จึงได้ขอพระราชทานสัญญาบัตรให้บุตร 3 คน ขึ้นเป็นกรมการเมือง คือ
1. ท้าวพรหม            เป็นอุปฮาด
2. ท้าวทัง                เป็นราชวงษ์
3. ท้าวคำ                เป็นราชบุตร
.. 2349 เจ้าอนุวงษ์ (เจ้าอนุรุทธกุมาร) แห่งนครเวียงจันทน์ เจ้าเมืองนครพนมและเจ้าเมืองมุกดาหาร ได้ร่วมกันบูรณะพระอุโบสถในวัดพระธาตุพนม
.. 2350 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ให้ท้าวขัตติยะวงษาร่วมมือกับเจ้าเมืองมุกดาหารสร้างวัดท่งเว้าขึ้นในเขต เมืองมุกดาหาร (วัดท่งเว้า ปัจจุบันเป็นวัดร้างตลิ่งพังจนพระพุทธรูปจมลงไปในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียกว่า เวินพระฯ อยู่ในแขวงสุวรรณเขตตอนใต้ตรงข้ามกับบ้านท่าใค้ อ.เมืองมุกดาหาร)
.. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ เป็นขบถต่อกรุงเทพพระมหานคร (สมัยรัชกาลที่ 3) โดยให้อุปราชติสสะแห่งนครเวียงจันทน์กรีธาทัพตีเมืองกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิ ให้เจ้านครจาปาศักดิ์ตีเมืองอุบล สุรินทร์ และสังขะ ให้ชานนท์ตีเมืองตามลำแม่น้ำโขง เช่น เมืองมุกดาหารและเขมราฐกวาดต้อนผู้คนไปเป็นจำนวนมาก แต่ถูกกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพปราบปรามจนสงบราบคาบ
.. 2383 พระยาจันทร์สุริยวงษ์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเดือนเจียง (เดือนอ้าย) แรม 5 ค่ำ
พระจันทร์สุริยวงษ์ (พรหม)
ท้าวพรหม อุปฮาดเมืองมุกดาหาร ซึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองได้เป็นเจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 3 ต่อมาตั้งแต่ พ.. 2383 ได้ขอพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งกรมการเมืองขึ้นใหม่ คือ
1. ท้าวคำ      เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาด
2. ท้าวสุราช   เป็นราชวงษ์
3. ท้าวจีน      เป็นราชบุตร (บุตรพระยาจันทร์ฯ เจ้าเมืองลาดับที่ 2 มารดาเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ พ.. 2388 เนื่องจากกองทัพญวนได้เข้ารุกรานดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอยู่เนือง ๆ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จึงได้เกณฑ์ทัพเมืองอุบล 4,300 คน ทัพเมือง เขมราฐ 1,700 คน ทัพเมืองมุกดาหาร 1,100 คน ทัพเมืองนครพนม 500 คน ทัพเมืองสกลนคร 1,300 คน ฯลฯ ยกไปตีเมืองพิน เมืองนอง เมืองวัง เมืองตะโปน (เซโปน) เมืองผาบัง เมืองเชียงฮ่ม กวาดต้อนผู้คนมาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น เช่น เมืองเรณูนคร เมืองหนองสูง เมืองกุฉินารายณ์ เมืองวาริชภูมิ ฯลฯ
เจ้าเมืองมุกดาหารได้ขอให้ท้าวสิงห์ เป็นพระไกรสรราชเจ้าเมืองหนองสูงขึ้นเมืองมุกดาหารส่วนท้าวสายเมืองนครพนมขอให้เป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองเรณูนคร
พระจันทร์สุริยวงษ์ (พรหม) มีบุตรธิดา คือ นายสะ ท้าวแท่ง ท้าวขว้าง นางคิม นางหล้า
พระยาจันทร์สุริยวงษ์ (พรหม) ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.. 2405
เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ดารงรัฐสีมามุกดาธิบดี (เจ้าหนู)
เมื่อเจ้าเมืองมุกดาหารถึงแก่อนิจกรรม ตำแหน่งเจ้าเมืองได้ว่างมา 3 ปี จนถึง พ.. 2407 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหนูซึ่งเป็นเจ้านคร เวียงจันทน์ เป็นราชนัดดา (หลานของเจ้าอนุวงศ์) เป็นพระโอรสของเจ้านันทเสน ซึ่งไปรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารและพระราชทานสัญญาบัตรให้เจ้าหนู เป็นเจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ดำรงรัฐสีมามุกดาธิบดี (เนื่องจากไม่ไว้ในลูกหลานเจ้าอนุ จึงไม่ยอมให้กลับไป ปกครองเวียงจันทน์เลยตั้งมาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหาร) ปรากฏว่ากรมการเมืองไม่พอใจที่เจ้าหนูเป็นเจ้าเวียงจันทน์มาปกครองเมืองมุกดาหาร จึงเกิดมีการทะเลาะเบาะแว้งบาดหมางกันอยู่เสมอ เจ้าจันทรเทพฯ (เจ้าหนู) จึงขอพระราชทานสัญญาบัตรให้
1. ท้าวจีน เลื่อนขึ้น เป็นอุปฮาด (ท้าวจีนเป็นบุตรเจ้าเมืองมุกดาหารลำดับที่ 2)
2. เจ้าวีรบุตร (บุตรเจ้าหนู) เป็นราชวงษ์
3. ท้าวแท่ง เป็นราชบุตร (ท้าวแท่งเป็นบุตรเจ้าเมืองมุกดาหาร ลำดับที่ 3)
ส่วนท้าวคำฮุปฮาดคนเดิม ซึ่งชาวบ้านชาวเมืองคิดว่าจะได้เป็นเจ้าเมือง เจ้าหนูได้ขอ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น พระพฤติมนตรี ตำแหน่งที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร
.. 2409 เจ้าจันทร์เทพฯ (เจ้าหนู) ได้ขอยกบ้านแขวงบางทรายขึ้นเป็นเมืองพาลุกากรภูมิ (ปัจจุบันคือหมู่บ้านพาลุกา ต. บ้านหว้าน) ขึ้นเมืองมุกดาหาร (พาลุกา เป็นภาษาบาลีมาจาก คำว่า พาลุกะ แปลว่า ราย) และขอพระราชทานให้ท้าวทัด (บุตรท้าวทังราชวงษ์เมืองมุกดาหาร)
ฉะนั้นเมืองมุกดาหารจึงมีเมืองขึ้นในยุคนั้น คือ
1. เมืองหนองสูง พระไกรสรราช (สิงห์) เป็นเจ้าเมือง
2. เมืองพาลุกากรภูมิ พระอมรฤทธิธาดา (ทัด) เป็นเจ้าเมือง
ดินแดนของเมืองมุกดาหารในยุคนั้นกว้างขวาง อาณาเขตจดแดนญวนรวมถึงเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเซโปน (ตะโปน) และเมืองวังมล
.. 2409 เนื่องจากฝรั่งเศสได้ดินแดนญวนและเขมรกำลังจะรุกล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของกรุงสยามทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ประเทศลาว) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงเดชดัษกร หลวงอินทนอนันต์ ขุนวิสูตรและมิสเตอร์ โดยชักชวนชาวอังกฤษมาสำรวจทำแผนที่ตามลำน้ำโขงตั้งแต่เมืองหลวงพระบางถึงเมืองมุกดาหาร
เนื่องจากเจ้าจันทร์เทพฯ เป็นเจ้าเชื้อสายเวียงจันทน์และมีนิสัยชอบมากชู้หลายเมีย จึงเกิดความแตกแยกในเมืองมุกดาหาร ครั้งหนึ่งเจ้าจันทร์เทพนั่งคานหาม (เสลี่ยง) เข้าไปนมัสการพระธาตุพนม เกิดวิวาทกับเจ้าอาวาส (พระครูพรหมา) วัดพระธาตุพนมอย่างรุนแรง
.. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) สวรรคตเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ 5) ขึ้นครองราชย์เจ้าจันทร์เทพจึงถูกกล่าวโทษ โดยพระพฤติมนตรี ที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหารอุปฮาดราชบุตรถวายฎีกาไปที่กรุงเทพฯ ให้ท้าวสีหาบุตร ท้าวสุริโยมหาราช เพี้ยเมืองแสน เพี้ยเมืองกลาง และท้าวอุทธา ถือใบบอก (คำกราบบังคมทูล) ลงไปกรุงเทพฯ เมื่อวันแรม 2 ค่า เดือน 9
เจ้าจันทร์เทพฯ ถูกถอดออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองและถึงแก่พิราลัยขณะเดินทางกลับพระนคร
เจ้าจันทร์เทพฯ มีบุตรและธิดาคือ เจ้านางบุญมี เจ้านางจำเริญ เจ้าวีรบุตรพระพฤติมนตรี (คำ)
พระพฤติมนตรี เป็นบุตรพระยาจันทร์สุริยวงษ์ (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร เคยเป็นราชบุตร ราชวงษ์ และอุปฮาดเมืองมุกดาหารตามลำดับ เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารแล้วพระพฤติมนตรี ก็ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่พระจันทร์สุริยวงษ์ตามทำเนียบนามและได้ขอพระราชทานสัญญาบัตรให้
1. ท้างแท่ง              เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาด (บุตรเจ้าเมืองในลำดับที่ 3)
2. ท้าวบุญเฮ้า          เป็นราชวงษ์
3. ท้าวเล                 เป็นราชบุตร (บุตรท้าวสุวอ)
.. 2417 โปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงใหญ่มาจัดราชการอยู่ที่เมืองอุบล อาณาเขตและอานาจของข้าหลวงใหญ่ควบคุมถึงนครจำปาศักดิ์และเมืองมุกดาหาร
.. 2418 เกิดศึกฮ่อทางเมืองหนองคายและเวียงจันทน์จึงให้เกณฑ์กองทัพเมืองมุกดาหารไปในการปราบปรามศึกฮ่อซึ่งมีเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเป็นแม่ทัพ
.. 2422 พระธิเบศวงศา (ดวง) เจ้าเมืองกุฉินารายณ์ ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์เกิดวิวาทบาดหมางกับพระไชยสุนทร (หนู) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เมืองกุฉินารายณ์ถวายฎีกาขอร้องไม่ยอมขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป จึงมีพระบรมราชโองการดารัสสั่งเหนือเกล้าฯ มาจากกรุงเทพฯ ให้เมืองกุฉินารายณ์ขึ้นเมืองมุกดาหาร อีกเมืองหนึ่ง
พระพฤติมนตรี (คำ) เจ้าเมืองมีบุตรธิดาคือ ท้าวสุริยวงษ์ (เสือ) นางโถน นางถ่วนคำ ท้าวโอด ท้าวจันทร์ นางขาว พระพฤติมนตรีเจ้าเมืองได้ถึงแก่อนิจกรรมใน พ.. 2422
พระจันทร์สุริยวงษ์ (บุญเฮ้า)
เมื่อพระพฤติมนตรี เจ้าเมืองถึงแก่อนิจกรรมนั้น ท้าวแท่ง อุปฮาดก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน ท้าวบุญเฮ้า ราชวงษ์ จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระจันทร์สุริยวงษ์เจ้าเมืองสืบแทนต่อมา ท่านเป็นบุตรของพระราชกิจภักดี (บัว) ผู้ช่วยราชการเมืองมุกดาหารและเป็นบุตรเขยของท้าวแท่ง (อุปฮาด) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นเจ้าเมืองเมื่อวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ ร.. 98 (.. 2422) ได้ขอพระราชทานสัญญาบัตรตั้งกรมการเมือง คือ
1. ท้าวเล (ราชบุตร)            เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาด
2. ท้าวสุริยวงษ์ (เสือ)          บุตรเจ้าเมือง (คา) เป็นราชวงษ์
3. ท้าวสุวรรณสาร (เมฆ)      บุตรอุปฮาด (แท่ง) เป็นราชบุตร
.. 2422 พระไกรสรราช (สิงห์) เจ้าเมืองหนองสูงขึ้นเมืองมุกดาหารถึงแก่กรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาด (ลุน) เป็นพระไกรสรราช เจ้าเมืองหนองสูงสืบแทนต่อมา
.. 2425 ทัพญวนได้รุกรานดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งเหนือเกล้า ให้เมืองมุกดาหารแต่งกองราชตระเวณรักษาด่านทางเหนือตั้งแต่เซบั้งไฟ ทางใต้ถึงท่าซะคุคะ ทางตะวันออกจดด้านตึงยะเหลา เขาหลวงแดนญวน และให้เมืองท่าอุเทนรักษาด่านตั้งแต่เซบั้งไฟถึงแม่น้าปากซัน ฯลฯ
.. 2426 พระธิเบศวงศา (ดวง) เจ้าเมืองกุฉินารายณ์ ขึ้นเมืองมุกดาหารถึงแก่กรรม เจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนใหม่ขอยกเมืองกุฉินารายณ์กลับไปขึ้นเมืองกาฬสินธุ์อย่างเดิม (เมืองกุฉินารายณ์ขึ้นเมืองมุกดาหาร 4 ปี)
.. 2429 พระอมรฤทธิ์ธาดา (ทัด) เจ้าเมืองพาลุกากรภูมิถึงแก่กรรม จึงขอพระราชทานสัญญาบัตรให้ราชวงษ์ (กุ) เป็น พระอมรฤทธิ์ธาดา เจ้าเมืองพาลุกาภูมิ ขึ้นเมืองมุกดาหาร
.. 2430 ฮ่อมารุกรานเมืองหลวงพระบางและเมืองหนองคายอีกครั้งหนึ่ง ท้าวสุวรรณสาร (เมฆ) ราชบุตรเมืองมุกดาหาร (ภายหลังเป็นพระยาศศิวงศ์ประวัติ) เป็นนายกองคุมพลเมืองมุกดาหาร พร้อมด้วยท้าวไชยกุมาร (แป้น) กรมการเมืองมุกดาหาร และเพี้ยอินทฤๅไชย (ต้นตระกูล สวัสดิวงศชัย) กรมวังเมืองมุกดาหารได้นำกำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพของพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น ศรีเพ็ญ) และกองทัพใหญ่ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่
พระจันทร์สุริยวงษ์ (บุญเฮ้า) มีบุตรธิดาคือ พระวรบุตร นางโง่น นางเป็น ท้าวเทพ นางไข่คำ นางหล้า ท้าวที นางพิม นางอุดทา นางพา ท้าวหนูขาว พระจันทร์ (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองได้ถึงแก่อนิจกรรมใน พ.. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งหีบศิลาหน้าเพลิงจากกรุงเทพฯ มาพระราชทานเพลิงศพ
พระยาศศิวงศ์ประวัติ (เมฆ)
เมื่อเจ้าเมืองมุกดาหารถึงแก่กรรม บรรดาอุปฮาด ราชวงษ์ถึงแก่กรรมเสียก่อนแล้ว คงเหลือแต่ท้าวสุวรรณสาร (เมฆ) ราชบุตรรักษาราชการแทนอยู่ 2 ปี ท้าวสุวรรณสาร (เมฆ) เป็นบุตรอุปฮาด (แท่ง) ท่านจึงได้นำต้นไม้เงินสองต้นสูงต้นละสองศอก ต้นไม้ทองสองต้นสูงต้นละสองศอกและเครื่องราชบรรณาการลงไปทูลเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพมหานครพร้อมด้วยท้าวเผือก ท้าวแสง ท้าวมาตสุริยวงษ์ และท้าวสุริโย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวรรณสาร (เมฆ) ราชบุตรเมืองมุกดาหารเป็นพระจันทร์เทพสุริวงษ์เจ้าเมืองมุกดาหาร พระราชทานคณโฑทองคำ พานหมากถมเครื่องในทองคำ เสื้อเข็มทบดอกก้านแย่ง ผ้าม่วงจีนและเครื่องยศบรรดาศักดิ์ตามประเพณีท่านได้อัญเชิญสัญญาบัตรตราตั้งถึงเมืองมุกดาหารเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.. 2434
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรมการเมือง คือ
1. ท้าวสุริยวงศ์ (เสริม)                   เป็นอุปฮาด (บุตรอุปฮาดแท่ง)
2. ท้าวแสง (บุตรเจ้าเมือง)             เป็นราชวงษ์
3. ท้าวไชยกุมาร (แป้น)                 เป็นราชบุตร
4. พระราชากิจภักดี (คำ)                เป็นผู้ช่วยราชการ
.. 2434 ได้มีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลขึ้นในภาคอีสาน เมืองมุกดาหารขึ้นอยู่กับมณฑลลาวพวน ซึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน (มีอำนาจเป็นที่สองของพระเจ้าแผ่นดินในภาคนี้) ประทับอยู่ ณ เมืองหนองคาย มณฑลพวนบังคับบัญชาหัวเมืองต่อไปนี้คือ เมืองหนองคาย เมืองหล่มศักดิ์ เมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี เมืองหนองหาร เมืองสกลนคร เมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร เมืองกมุทาไสย เมืองโพนพิสัย เมืองเชียงขวาง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน เมืองบริคัณฑนิคม (เมืองคำเกิดคำม่วน เมืองเชียงขวาง เมืองบริคัณฑนิคม ต่อมาอยู่ในอาณานิคมฝรั่งเศส)
ส่วนมณฑลอื่น ๆ ก็มี มณฑลลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบล) มณฑลลาวฝ่ายตะวันออก (นครจำปาศักดิ์) มณฑลลาวกลาง (นครราชสีมา) เป็นต้น
อนึ่ง เนื่องจากในสมัยพระจันทร์เทพฯ (เจ้าหนู) เป็นเจ้าเมืองมุกดาหาร ได้ตกลงกับ เจ้าเมืองอุบลคือเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ขอยกเมืองสองคอนดอนดงซึ่งเคยขึ้นเมืองอุบลมาขึ้นเมืองมุกดาหาร (เมือง สองคอนดอนดงปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว) เมื่อมีการจัดการปกครองแบบมณฑลขึ้น ทางเมืองอุบลจึงขอให้เมืองสองคอนดอนดงกลับไปขึ้นเมืองอุบลอีกในปี พ.. 2433
.. 2436 (.. 112) ไทยเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส อาณาเขตเมืองมุกดาหารจึงเหลืออยู่เฉพาะทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เนื่องจากทางราชการไม่ไว้ใจในราชการชายแดน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากาแหงสงคราม (จัน อินทรกำแหง) มาเป็นข้าหลวงกำกับ ราชการชายแดนด้านเมืองมุกดาหาร พระยากำแหงสงครามปฏิบัติราชการอยู่ที่ชายแดนเมืองมุกดาหารรวม 3 ปี จึงเดินทางกลับ เมื่อ พ.. 2438 ขณะนั่งเรือกลับไปเมืองหนองคาย ตามลำน้ำโขงถูกฝรั่งเศสที่บ้านท่าแห่ (สุวรรณเขต) จับกุมในข้อหาว่านำทหารไทยรุกล้าชายแดน พระยากำแหงฯ ถูกควบคุมตัวอยู่ที่บ้านท่าแห่หลายเดือนพร้อมด้วยลูกน้องที่ติดตามคือ หลวงชานาญ (นายเคลือบ ทิพานนท์) ขุน ปัจจานึกพินาศ (นุ้ย เทียมสุริยา) นายตุนและนายเหมาะ
พระยาศศิวงษ์ประวัติเจ้าเมืองมุกดาหาร ได้คุมกำลังเมืองมุกดาหารไปรับราชการชายแดน เมื่อฝรั่งเศสได้รุกล้ำดินแดนของพระราชอาณาจักรสยาม ได้มีการปะทะกันที่แก่งเจ๊กและอีกหลายแห่ง กองทหารไทยจากกรุงเทพฯ ซึ่งมี พ..แย้ม ภมรมนตรี (บิดา พล..ประยูร ภมรมนตรี) เป็น ผู้บังคับบัญชา ไม่ยอมจำนนและไม่ยอมถอนทหารกลับ แม้ทางกรุงเทพฯ จะยอมเซ็นสัญญายกดินแดนลาวทั้งหมดให้ฝรั่งเศสก็ตาม ทหารฝรั่งเศสปลดอาวุธและจับ พ..แย้ม ภมรมนตรี ส่งข้ามฟากมาขึ้นที่เมืองมุกดาหาร
.. 2442 ให้เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ และย้ายกองบัญชาการ มณฑลฝ่ายเหนือ จากเมืองหนองคายมาตั้งที่บ้านหมากแข้ง
ในปีเดียวกัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัฒนา (..ชายวัฒนา รองทรง พระองค์เจ้าหลานเธอในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์) ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่มณฑลฝ่ายเหนือแทน (ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการ) จึงทรงปรับปรุงการปกครองมณฑลฝ่ายเหนือ โดยให้เมืองต่าง ๆ รวมกันเป็นบริเวณ คือ เมืองมุกดาหาร เมืองท่าอุเทน เมืองนครพนม เมืองเรณูนคร รวมกันเรียกว่าบริเวณธาตุพนม ให้แต่ละเมืองมี ผู้ว่าราชการเมืองปกครองยุบตำแหน่งเจ้าเมืองส่วนข้าหลวงมาประจำเมือง และให้ข้าหลวงประจำเมือง ผู้ว่าราชการเมือง ขึ้นกับข้าหลวงประจำบริเวณตั้งที่ทำการบริเวณที่เมืองนครพนม ตำแหน่งข้าหลวงจึงเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาราชการของผู้ว่าราชการเมือง การลงนามในหนังสือราชการจึงต้องลงนามทั้งสองคน คือทั้งข้าหลวงประจาเมืองและผู้ว่าราชการเมือง บริเวณอื่น ๆ ในมณฑลฝ่ายเหนือมีบริเวณสกลนคร บริเวณน้าเพือง เมืองเลย บริเวณภาชีขอนแก่น บริเวณหมากแข้ง (อุดรธานี)
ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองมุกดาหารคนแรก คือขุนพิทักษ์ธุรกิจ (จ๋วน) และ ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำบริเวณธาตุพนม คือพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์)
เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองใหม่ เจ้าเมืองมุกดาหาร คือ พระจันทรเทพสุริยวงษา (เมฆ) จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการเนื่องจากมีอายุมาก จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระจันทรเทพฯ เจ้าเมืองเป็น พระยาศศิวงษ์ประวัติ จางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงษ์ (แสง) บุตรพระยาศศิวงษ์ฯ เป็นพระจันทรเทพสุริยวงษา ผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร
พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 ปีมะเส็ง พ.. 2388 ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 72 ปี (.. 2460)
พระจันทรเทพสุริยวงษา (แสง)
ราชวงษ์ (แสง) บุตรพระยาศศิวงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร ขึ้นกับบริเวณธาตุพนม ตั้งแต่ พ.. 2442
.. 2443 ให้เปลี่ยนนามมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร เลิกบริเวณต่าง ๆ ให้แต่ละเมืองขึ้นกับมณฑลอุดร เมืองมุกดาหารจึงขึ้นกับมณฑลอุดร (จัดการปกครองแบบบริเวณปีเดียว)
อนึ่ง ยังได้มีการยกเลิกตำแหน่งอุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตรในมณฑลอุดรด้วย โดยให้มี ตำแหน่งปลัดเมือง มหาดไทยเมือง ยกบัตรเมือง แทนเช่นมณฑลอื่นของกรุงสยามจึงแต่งตั้งให้
1. อุปฮาด (เสริม)                เป็นพระดำรงมุกดาหาร         ตำแหน่งปลัดเมือง
2. ราชบุตร (แป้น)               เป็นพระวิจารณ์อธิกรณ์         ตำแหน่งศาลเมือง
3. ท้าวสุก                         เป็นหลวงวิจารณ์อักขรา        ตำแหน่งมหาดไทยเมือง
4. ท้าวเคน                        เป็นหลวงบุรินทร์มุกดารักษ์    ตำแหน่งนครบาลเมือง
5.ท้าวแสง                         เป็นหลวงธนาการณกิจ         ตำแหน่งคลังเมือง
6. ท้าวหนู                         เป็นหลวงสมัครนครมุก         ตำแหน่งโยธาเมือง
ส่วนเมืองขึ้นเมืองมุกดาหาร คือเมืองหนองสูง และเมืองพาลุกากรภูมิ ก็ได้แต่งตั้งกรมการเมือง คือ
เมืองหนองสูง           หลวงอานาจณรงค์ (บุศร์) เป็นผู้รักษาเมือง
หลวงทรงฤทธิรอน (เสือ) เป็นปลัดเมือง
ขุนอมรศักดาเดช (พรหม) เป็นคลังเมือง
เมืองพาลุกากรภูมิ     หลวงเทวาสาแดงเดช (หล้า) เป็นผู้รักษาเมือง
หลวงอมรเรศรักษา (พัด) เป็นปลัดเมือง
หลวงอมรานุรักษ์ (หอม) เป็นคลังเมือง
.. 2443 ได้มีการพระราชทานเหรียญปราบฮ่อแก่ผู้ที่ไปในราชการสงครามครั้งปราบฮ่อเมื่อ พ.. 2430 ข้าราชการเมืองมุกดาหารซึ่งได้รับเหรียญปราบฮ่อ คือ
1. พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ)         จางวางเมืองมุกดาหาร
2. พระดำรงมุกดาหาร (เสริม)          ปลัดเมือง
3. พระวิจารณ์อธิกรณ์ (แป้น)           ยกบัตรเมือง
4. หลวงพิทักษ์เทพสถาน             กรมวังเมืองมุกดาหาร (ตำแหน่งกรมวัง คือ ตำแหน่งในจวนเจ้าเมือง)
5. เพี้ยอินทฤๅไชย                        กรมการเมืองมุกดาหาร (ต้นสกุลสวัสดิวงศ์ชัย)
.. 2444 พระอนุชาติวุฒาธิคุณ (แพ ณ หนองคาย) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองมุกดาหาร แทนขุนพิทักษ์ธุรกิจ ในปีนี้ฝรั่งเศสซึ่งได้เมืองลาวเป้นเมืองขึ้น ได้มาตั้งเมืองที่บ้านท่าแห่ขึ้น ตั้งนามเมืองว่า "เมืองสุวรรณเขต" (เมืองสุวรรณเขต) ผู้ที่เป็นเจ้าเมืองสุวรรณเขต คนแรกที่ฝรั่งเศสแต่งตั้งขึ้นคือ "ท้าวฮ่อม" (ญาหลวงฮ่อม) ซึ่งเป็นบุตรหลานสืบสกุลไปจากเจ้าเมืองมุกดาหารและเมืองพาลุกากรภูมิ (ดูลำดับเครือญาติมุกดาหาร)
.. 2445 พระดำรงมุกดาหาร (เสริม) ปลัดเมือง และพระวิจารณ์อธิกรณ์ (แป้น) ยกบัตรเมืองมุกดาหาร ถึงแก่กรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งหีบศิลาหน้าเพลิงจากกรุงเทพฯ มาพระราชทานเพลิงศพ
.. 2449 พระจันทรเทพสุริยวงษา (แสง) ผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนพฤษภาคม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จตรวจราชการถึงเมืองมุกดาหาร ในเดือนมกราคม เดือนมีนาคม เป็นเดือนสิ้นปี
สมัยเป็นอำเภอมุกดาหาร
ได้มีการปรับปรุงการปกครองในมณฑลอุดรเป็นจังหวัดและอำเภอใน พ.. 2450 เมืองมุกดาหารถูกยุบลงเป็นอำเภอมุกดาหาร เมืองหนองสูงย้ายไปตั้งอยู่ที่บ้านนาแก เมืองพาลุกากรภูมิยุบลงเป็นตำบลบ้านหว้าน เมืองเรณูนครยุบลงเป็นตำบลเรณูนคร ตั้งอำเภอธาตุพนมขึ้นแทน ขึ้นจังหวัดนครพนม
เปิดที่ทำการอำเภอมุกดาหาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2450 ผู้มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอมุกดาหารคนแรก คือ หลวงทรงสราวุธ (เจิม วิเศษรัตน์) ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นพระบริหาราชอาณาเขต (เมื่อย้ายไปเป็นปลัดหนองคาย) ต่อมาภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสมุทรศักดารักษ์ (เมื่อย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม) ท่านได้กลับมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม อีกครั้งสุดท้าย
เมื่อมีการตั้งจังหวัดและอำเภอขึ้นแล้ว ได้มีการตั้งกรมการพิเศษจังหวัดนครพนมขึ้นผู้ที่เป็นกรมการพิเศษส่วนมากเป็นเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการเมืองเก่า ๆ คือ
1. พระยาศศิวงษ์ (เมฆ ประวัติ)                  เมืองมุกดาหาร
2. พระพินิจพนมการ (ทองคำ)                   เมืองนครพนม
3. พระพิทักษ์พนมนคร (โก๊ะ)                    เมืองนครพนม
4. พระศรีวรราช (แก้ว)                            เมืองท่าอุเทน
5. พระอารัญอาษา (ปาน)                         เมืองกุสุมาลย์
6. พระพินิจพจนกรณ์ (ทอนแก้ว)
7. หลวงพิทักษ์ประชาชน (ตูม)
8. หลวงสรรพกิจบริหาร (คำวัง)

ต่อมาปี พ.. 2525 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.. 2525 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษเล่ม 99 ตอนที่ 121 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2525 ยกฐานอำเภอมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2525 เป็นต้นไป โดยให้แยกอำเภอมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย กิ่งอำเภอดงหลวง และกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ ออกจากการปกครองของจังหวัดนครพนม รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมุกดาหาร
ประวัติศาสตร์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตราประจำจังหวัด


รูปช้างเล่นน้ำ
คำขวัญประจำจังหวัด
หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง

สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง คงมีแต่ชาวไทยใหญ่จากชายแดนพม่าเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินบ้างเป็นบางฤดู ความสำคัญในสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่าที่เดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ต่อมาในปี พ.. 2374 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประสงค์จะได้ช้างป่ามาฝึกใช้งานจึงบัญชาให้เจ้าแก้วเมืองมาควบคุมไพร่พล หมอครวญพร้อมด้วยกาลังช้างต่อ ออกเดินทางไปสารวจและคล้องช้างป่าทางด้านดินแดนแถบนี้ เจ้าแก้วเมืองมาเดินทางรอนแรมจากเชียงใหม่ มาถึงที่แห่งหนึ่งทางทิศใต้ริมฝั่งน้ำปาย เห็นว่าทำเลดีและเหมาะสม เพราะเป็นที่ราบมีน้ำท่าบริบูรณ์ ทั้งยังเป็นป่าโปร่ง มีหมูป่าลงกินโป่งชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้ จึงหยุดพักไพร่พลอยู่ ณ ที่แห่งนี้ แล้วทำการรวบรวมชาวไทยใหญ่ที่กระจัดกระจายกันอยู่ให้มาตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง และตั้งชื่อว่า "บ้านโป่งหมู" ซึ่งปัจจุบันได้เพี้ยนเป็น "บ้านปางหมู" ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้งให้ "พระกาหม่อง" เป็นหัวหน้าบ้านปกครองดูแล เมื่อเจ้าแก้วเมืองมา ได้จัดตั้งหมู่บ้านโป่งหมูเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปทางใต้เพื่อคล้องช้างป่า จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่งไม่ไกลจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนในปัจจุบันนัก ได้พบรอยเท้าช้างป่ามากมาย จึงหยุดพักพลอยู่ ณ ที่นั้นทำการคล้องช้างป่าได้หลายเชือก เมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว ก็ได้ตั้งคอกฝึกสอนช้างป่าในลำห้วยนั้น และได้มอบให้ "แสนโกม" บุตรชายพะกาหม่อง ไปชักชวนผู้คนมาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและชื่อว่า "แม่ร่องสอน" ซึ่งปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"
การจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพเป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย อาณาจักรลานนาไทยจึงสิ้นสภาพของการเป็นประเทศราช พ้นจากการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ คือ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ฯลฯ และก็สูญสิ้นความเป็นอาณาจักรลงด้วยเช่นกัน เว้นแต่ยังคงมีเจ้าผู้ครองนครมีฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้า" เช่นเดียวกับในตอนที่เข้ารวมอยู่ในอำนาจของไทยใหม่ ๆ ต่างกันแต่เพียงในสมัยที่จัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้วทางราชการได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นสมุหเทศาภิบาล และโดยเฉพาะมณฑลพายัพ เปลี่ยนเป็น อุปราช มาดำเนินการ ปกครอง และแต่งตั้งเจ้าเมืองมาปฏิบัติราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร (ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าหลวง) ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.. 2437 เป็นต้นมา สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งมีเกียรติ และมีเจ้าผู้ครองนครอยู่ทุกจังหวัดในมณฑลพายัพ ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้าผู้ครองนครมา สิ้นสุดลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศ เมื่อ พ.. 2475 และยุบเลิกเจ้าผู้ครองนครเสียทั้งหมด ไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ในเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นถึงแก่พิราลัยลง
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.. 2476 มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริการราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัด และ กรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัด และอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย
เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องมาจาก
1. การคมนาคมสื่อสารสะดวก และรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนสามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยมณฑล ซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑล เมื่อจังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดนี้
1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหาร แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1) จังหวัด
1) อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

No comments:

Post a Comment