จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ล)

ประวัติศาสตร์จังหวัดลพบุรี
ตราประจำจังหวัด


รูปพระนารายณ์สี่กร ประทับยืนหน้าพระปรางค์สามยอด
คำขวัญประจำจังหวัด
วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์
ลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ดินแดนซึ่งเป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานคือโครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับทาด้วยดินเผา หิน สัมฤทธิ์ เหล็ก ทองแดง กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และแก้วของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสาโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม หลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าวส่วนใหญ่พบอยู่ตามเนินดิน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ไม่ไกลจากภูเขา และมีทางน้ำไหลผ่านเฉพาะส่วนน้อยเท่านั้นที่พบอยู่ตามถ้าในภูเขา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีผู้ให้คาจากัดความว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์อักษร ขึ้นใช้ ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แล้วจึงเรียกว่าเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ได้รับการศึกษาว่ามีอายุเก่าแก่ก่อน 10,000 ปีมาแล้ว จนถึงราว พ.. 1000 ซึ่งเป็นสมัยที่อายุตัวอักษรแบบเก่าสุดได้ค้นพบในดินแดนนี้
การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเท่าที่เป็นมา ได้แบ่งออกเป็นยุคตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ กล่าวคือ
ยุคหินเก่า เป็นยุคเก่าสุด มนุษย์ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ
ยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักใช้ขวานหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น
ยุคหินใหม่ มีเครื่องมือทำด้วยหินที่ได้รับการขัดฝนเป็นอย่างดี
ยุคโลหะ มีเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ เหล็ก และทองแดง
ปัจจุบัน การศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อลักษณะการดำรงชีพของมนุษย์ในสมัยนั้น จึงได้มีการแบ่งยุคออกเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม (Non-Agricultural Society) และสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) ผลการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอาจจะสรุปในขั้นต้นนี้ได้ว่า ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ดั้งเดิมยุคหินเก่าและยุคหินกลางเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม ส่วนมนุษย์ยุคหินใหม่และยุคโลหะจัดเป็นพวกสังคมเกษตรกรรมรู้จักเพาะปลูก ทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า
หลักฐานมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรี ที่พบเก่าสุดได้แก่ขวานหินกะเทาะที่ศาสตราจารย์ ฟริทซ์ สารสิน นักโบราณคดีชาวสวิส ได้สำรวจพบจากถ้ำกระดา (กระดาน) ตำบลเขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ เมื่อ พ.. 2475 สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องมือมนุษย์ยุคหินกลาง หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคต่อมาคือยุคหินใหม่ได้ค้นพบเครื่องมือขวานหินขัดของมนุษย์ยุคหินใหม่มากมายกระจัดกระจายเกือบทุกอำเภอในจังหวัดลพบุรี และได้รับการขุดค้นแล้วนั้นคือที่ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกสาโรง ใน พ.. 2509 และ พ.. 2510 ที่สำคัญก็คือพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินใหม่พร้อมเครื่องใช้และพบว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในแหล่งดังกล่าวรู้จักใช้ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่พบที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาญจนบุรี
การขุดค้นอีกครั้งหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งสาหรับเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรีก็คือการค้นพบหลักฐาน มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ พบกระจัดกระจายมากมาย ที่ได้รับการขุดค้นและกำหนดอายุได้นั้นคือการขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะในศูนย์การทหารปืนใหญ่ โดยกรมศิลปากรใน พ.. 2507 - 2508 กำหนดอายุจากเศษเครื่องปั้นดินเผาได้ 700 ปี ก่อน ค.. 166 มนุษย์พวกนี้รู้จักทอผ้าใช้มีเครื่องประดับกาย เช่น แหวน กำไล ลูกปัด ทาด้วยสัมฤทธิ์ แก้วและหินมีเทคโลโลยีสูงในเรื่องการโลหะกรรม
หากกำหนดโดยลักษณะการดารงชีพจะพบว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่เขตจังหวัดลพบุรีจะมีทั้งเป็นพวกสังคมสมัยก่อนเกษตรกรรม คือ ยุคหินกลางและสังคมสมัยเกษตรกรรม คือยุคหินใหม่และยุคโลหะ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยสาหรับจังหวัดลพบุรีที่ได้ค้นพบหลักฐานของการอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
ลพบุรีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 18)
เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 - 18 มีไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ 19 เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ 19 ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว 8 ศตวรรษ
ในระยะ 8 ศตวรรษของสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งการศึกษาออกได้เป็นคาบต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลทางด้านภาษา ศิลปกรรม ตานาน และจดหมายเหตุจีนได้ ดังนี้
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 มีหลักฐานไม่มากนักที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องเมืองลพบุรีในระยะพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 กล่าวคือ พงศาวดารเหนือกล่าวถึงพระยากาฬวรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.. 1002 ปีที่พระองค์ครองราชย์ใช้เวลาสร้าง 19 ปี แต่เรื่องดังกล่าวคงจะต้องหาหลักฐานอื่นมาสอบเทียบ เพราะพงศาวดารเหนือเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ห่างจากเหตุการณ์ที่เป็นจริงหลายศตวรรษ รวมทั้งข้อความในพงศาวดารส่วนใหญ่ค่อนข้างสับสน ทั้งศักราชก็คลาดเคลื่อนอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีตำนานและภาษาบาลีเหนือเขียนขึ้นราว 500 ปีเศษมาแล้ว เนื้อเรื่องไม่สับสน ศักราชเชื่อถือได้และถูกนำมาใช้อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางคือตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงฤษีวาสุเทพได้สร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ใน พ.. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี (.. 1260) ได้ส่งทูตล่องไปตามแม่น้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้มาปกครองกษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดาให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน
หลักฐานที่มีอายุในศตวรรษดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเมืองลพบุรีอีกคือการค้นพบศิลาจารึกที่สำคัญ 3 หลัก คือ
1. จารึกหลักที่ 18 จารึกบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) เป็นจารึกเนื่องในพุทธศาสนาภาษามอญโบราณ ลักษณะของเสาแปดเหลี่ยมเป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบหลังคุปตะของอินเดีย ศาสตราจาย์ยอร์ซ เซเดส์ นักปราชญ์ทางด้านความรู้เกี่ยวกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือ 14
2. จารึกหลักที่ 16 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต กล่าวถึงนายกอารุซวะ เป็นอธิบดีแก่ชาวเมืองตังคุร และเป็นโอรสของพระราชาแห่งศามพูกะ ได้สร้างรูปพระมุนีองค์นี้เมืองตังคุรและเมืองศามพูกะนี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่าอยู่ที่แห่งใด แต่คงอยู่ในที่ราบภาคกลางของประเทศไทยเพราะลักษณะพระพุทธรูปที่พบเป็นศิลปะแบบที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย
3. จารึกภาษาบาลีบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่เมืองโบราณซับจาปา อำเภอชัยบาดาล มี ข้อความคัดลอกจากคัมภีร์พุทธสาสนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13
สำหรับศิลปกรรมที่พบในจังหวัดลพบุรีที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15 นั้น เป็นศิลปกรรมทางด้านพุทธศาสนาที่เก่าสุดแบบหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งคงได้รับอิทธิพลศิลปกรรมอินเดียแบบคุปตะและแบบหลังคุปตะ (ศิลปะอินเดียวภาคกลางและภาคตะวันตก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 - 13) ชื่อเรียกศิลปกรรมแบบดังกล่าวได้เรียกว่าศิลปะแบบทวารวดี บัดนี้มีผู้เสนอให้เรียกว่า ศิลปะมอญแบบภาคกลางประเทศไทย เพราะชาวมอญเป็นผู้กำเนิดเอกลักษณ์ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้น ชนิดของศิลปกรรม ได้แก่ พระพุทธรูป พระธรรมจักรกวางหมอบ เศียรอสูร หรือเทวดา และปติมากรรมตกแต่งสถูป เท่าที่พบแกะสลักจากหินปูนและทาด้วยปูนปั้น
จึงสรุปด้วยว่าเมื่อเข้าสู่สมัยทางประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 ลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับอำนาจและขอเชื้อสายไปปกครอง สังคมเดิมแบบก่อนประวัติศาสตร์คือสังคมเผ่าได้เปลี่ยนเป็นสังคมเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง มีภาษาที่ใช้คือภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษามอญโบราณ ประชาชนนับถือพุทธศาสนา
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18
ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 หลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองลพบุรีมีมากขึ้นถ้าได้เปรียบเทียบกับใน 5 ศตวรรษแรก หลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ จารึกซึ่งค้นพบทั้งในประเทศไทย กัมพูชาประชาธิปไตย และหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน
สำหรับหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานพบในเมืองลพบุรี ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 มีความสำคัญช่วยสนับสนุนหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น
จากหลักฐานต่าง ๆ ที่ปรากฏอาจจะกล่าวได้ว่า ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16 -18 ลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรกัมพูชาเป็นครั้งคราว รวมทั้งได้ยอมรับเอาศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชาซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพระนคร กล่าวคือ
ได้ค้นพบศิลาจารึกภาษาขอมที่เมืองลพบุรีที่สำคัญคือ จารึกหลักที่ 19 พบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) ระบุศักราช 944 ตรงกับ พ.. 1565 มีข้อความกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ พ.. 1555 - 1593) มีประกาศให้บรรดานักบวชอุทิศกุศลแห่งการบาเพ็ญตะบะของตนถวายแด่ พระองค์ และออกพระราชกำหนดเพื่อป้องกันมิให้นักบวชเหล่านั้นถูกรบกวนภายในอาวาสของตน
นอกจากนั้นพบจารึกหลักที่ 21 ที่ศาลเจ้าลพบุรี ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นจารึกภาษาเขมร จารึกขึ้นเพื่อให้ทราบถึงสิ่งของต่าง ๆ ที่อุทิศถวายแด่เทวรูปพระนารายณ์ในโอกาสที่มีการทาพิธีฉลองเทวรูป จารึกหลักนี้ออกชื่อเมืองโลวคือเมืองละโว้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าที่เมืองละโว้มีผู้นับถือไวษณพนิกายของศาสนาฮินดูด้วย
การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว จดหมายเหตุจีนระบุว่า พ.. 1658 และ พ.. 1698 ละโว้ส่งทูตไปจีน ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ให้ข้อสังเกตว่า พ.. 1658 ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวแรก พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งอาณาจักรกัมพูชา (ครองราชย์ราว พ.. 1656 - ราว 1693) เพิ่งครองราชย์ได้เพียง 2 ปี คงจะเป็นสมัยที่พระองค์ยังไม่มีอำนาจมั่นคงนัก ลพบุรีจึงเป็นนครอิสระส่งทูตไปจีนได้ และใน พ.. 1698 ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวหลังพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สวรรคตแล้ว การส่งทูตไปเมืองจีนอาจจะเป็นความพยายามของละโว้ที่จะตัดความสัมพันธ์ฐานเป็นประเทศราชของอาณาจักรกัมพูชา
เรื่องที่ละโว้ส่งทูตไปจีนนี้ได้รับการขยายความให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น เมื่อค้นพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองที่จังหวัดนครสวรรค์ มีศักราชตรงกับ พ.. 1710 ระบุเรื่องราวราชวงศ์ศรีธรรมา โศกราช ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มกล่าวกันว่า เป็นราชวงศ์อิสระในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลงความเห็นว่าคงเป็นราชวงศ์ปกครองเมืองลพบุรี จึงได้มีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชนั้นเองที่เป็นผู้พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรกัมพูชา
หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองลพบุรีอีกคือ ปรากฏภาพสลักนูนต่ำทหารละโว้บนผนังระเบียงปราสาทนครวัตซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้า สุริยวรมันที่ 2 คู่กันกับภาพทหารสยาม โดยทหารละโว้มีนายทัพเป็นแม่ทัพขอม แสดงถึงอำนาจของอาณาจักรกัมพูชาที่มีเหนืออาณาจักรละโว้ในขณะนั้น จารึกปราสาทพระขรรค์ พ.. 1734 ตรงกับ รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.. 1724 - ราว 1762) กล่าวถึงเมืองลโวทยะปุระซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน 23 เมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้พระราชทานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็น พระพุทธรูปฉลองพระองค์ไปประดิษฐาน นอกจากนั้นในจดหมายเหตุจีนของ เจา ซู กัว แต่งขึ้นใน พ.. 1768 กล่าวว่า ละโว้เป็นประเทศราชประเทศหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา
อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองละโว้และประเทศราชอื่น ๆ ลดน้อยลงหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่า ในคริสศตวรรษที่ 13 (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 กลางพุทธศตวรรษที่ 19) กัมพูชาเริ่มประสบความลำบากเนื่องจากได้ขยายเขตออกไปมากเกินไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีภาระหนักในศตวรรษที่ 12 (กลางพุทธศตวรรษที่ 17 กลางพุทธศตวรรษที่ 18) เพราะประชาชนถูกกษัตริย์ยิ่งใหญ่ 2 พระองค์ ซึ่งเป็นทั้งนักรบและนัก ก่อสร้างเกณฑ์ไปใช้ กอปรกับได้ถูกพวกจับปารุกรานเมื่อ ค.. 1177 (.. 1720) กัมพูชาจึงอ่อนแอลงจนถึงกับเข้าสู่ยุคไม่มีขื่อไม่มีแป เมืองขึ้นและประเทศราชของกัมพูชาสามารถแข็งเมืองใน พ.. 1839 โจว ตา กวน ทูตจีนได้ไปเยือนอาณาจักรกัมพูชาและได้เขียนหนังสือบทความเกี่ยวกับประเพณีของอาณาจักรกัมพูชา มีข้อความหลายแห่งกล่าวถึงบทบาทของชาวสยามที่มีต่ออาณาจักรกัมพูชา ทั้งทางด้านการทาสงครามศาสนาและเศรษฐกิจ
หลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ปรางค์แขกเป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมได้รับการกำหนดอายุว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ต่อจากนั้นได้ค้นพบเศียรพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเทวรูป ศิลปะขอมแบบต่าง ๆ ที่เมืองลพบุรี มีอายุไล่เลี่ยกันมาคือ แบบบาปวน (อายุราว พ.. 1553 - 1623) แบบนครวัต (อายุราว พ.. 1643 - 1715) และแบบบายน (อายุราว พ.. 1720 - 1773) พระปรางค์สามยอดศาสนสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรีมีแบบและผังเป็นสถาปัตยกรรมขอมแบบบายน
ศิลปกรรมแบบต่าง ๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ามีการนับถือพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับศาสนาพราหมณ์ และที่สำคัญคือขอมคงนาพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาฝังรากให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในที่ราบภาคกลางประเทศไทยจึงได้ค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่เป็นศิลปกรรมแบบขอม
ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ 19 - .. 1893
ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอภายในอาณาจักรกัมพูชาทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าละโว้ได้ต่อสู้เพื่อเป็นเอกราชตั้งแต่เมื่อใด ถ้าได้เปรียบเทียบกับสุโขทัยซึ่งมีหลักฐานว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางท่าวได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมสมาดโขลญลำพงขุนนางขอมออกไปจากอาณาจักรได้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ความอ่อนแอภายในของอาณาจักรกัมพูชาเอง จึงอาจจะกล่าวได้ว่าละโว้คงหลุดพ้นจากอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรขอมในศตวรรษเดียวกับสุโขทัย
เมื่ออิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาหมดไป เกิดรัฐต่าง ๆ ที่มีบทบาทของตัวเองขึ้นทั่วไปในภาคเหนือและภาคกลางประเทศไทย ที่สำคัญคือรัฐพะเยา รัฐเชียงใหม่ รัฐสุโขทัย รัฐละโว้ รัฐต่าง ๆ เหล่านี้มีรูปการปกครองแบบนครรัฐ มีอาณาเขตในการปกครองไม่กว้างขวางมากนักและมีหลักฐานว่าได้เป็นไมตรีกันในระยะแรก ๆ เช่น ตำนานทางภาคเหนือกล่าวถึงการร่วมปรึกษาหารือกันในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ระหว่างผู้ปกครอง รัฐพะเยา รัฐสุโขทัย และรัฐเชียงใหม่ ในพงศาวดารโยนกกล่าวถึงพระยางาเมืองและพระร่วงเคยไปเรียนในสานักพระสุกทันตฤษี ณ กรุงละโว้ เป็นต้น
ลพบุรีในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นรัฐอิสระเช่นเดียวกับเชียงใหม่และสุโขทัย ทั้งนี้มีหลักฐานที่สำคัญคือในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 กล่าวถึงอาณาเขตสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง (ครองราชย์ราว พ.. 1822 - ราว 1842) ทางทิศใต้ว่ามีเมืองคณฑี (อยู่ใกล้กำแพงเพชร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรีหรืออ่างทอง) เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช จะเห็นได้ว่าเว้นกล่าวถึงเมืองลพบุรีเมืองใหญ่ซึ่งอยู่ทางใต้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีการทาสัญญาเป็นมิตรกันระหว่างสุโขทัยกับลพบุรี เช่นเดียวกับสุโขทัยได้ทากับเมืองน่านใน พ.. 1830 นอกจากนี้ในจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงละโว้ส่งทูตไปจีนใน พ.. 1832 และ พ.. 1842 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระของรัฐลพบุรีในต้นพุทธศตวรรษที่ 19
ราชวงศ์หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้ปกครองเมืองลพบุรี ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ยังขาดหลักฐานที่หนักแน่นเพื่อไขความกระจ่างแจ้งอยู่มาก นอกจากในตำนานภาคเหนือกล่าวถึงพระรามาธิบดีผู้เป็นใหญ่ ในแคว้นกัมโพชและอโยชณปุระกับเรื่องพระรามาธิบดีกษัตริย์อโยชณปุระเสด็จมาจากกัมโพชทรงยึดเมืองชัยนาท เป็นที่ยอมรับกันว่าพระรามาธิบดีในตำนานภาคเหนือหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นที่อยุธยาใน พ.. 1893 แคว้นกัมโพช หมายถึงลพบุรีและอโยชณปุระหมายถึงอยุธยา จะเห็นได้ว่าตำนานภาคเหนือกล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เมืองลพบุรี และเมืองอยุธยา และทราบต่อมาว่าเมื่อสมเด็จพระรามา ธิบดีที่ 1 ครองอยุธยาแล้ว ได้โปรดให้พระราชบุตรคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองลพบุรี อาจจะเป็นได้ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองเมืองลพบุรีมาก่อนแล้วจึงได้เสด็จย้ายไปครองเมืองอยุธยาและจึงให้พระราเมศวรครองเมืองลพบุรีแทน เรื่องดังกล่าวอาจจะสัมพันธ์กับข้อสังเกตของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ทว่าอุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยาตั้งแต่แรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรต่างกับ อุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์สุโขทัย สำหรับกษัตริย์สุโขทัยโปรดให้ค้าขายได้โดยเสรีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมภาษีเก็บพอประมาณ การเกณฑ์คนก็เป็นไปตามส่วนกาลังที่มีและไม่ใช้แรงคนชรา มรดกก็ยอมให้ตกทอดไปยังทายาทได้เต็มที่ ไม่มีการชักประโยชน์ไว้สำหรับกษัตริย์ แต่สำหรับกษัตริย์อยุธยาเป็นเทพเจ้าบนพิภพเช่นเดียวกับที่กัมพูชาหรือมิฉะนั้นอย่างน้อยก็เป็นเสมือนพระพุทธองค์ที่ยัง พระชนม์ชีพอยู่ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จึงสรุปไว้ว่าราชวงศ์สยามวงศ์ใหม่ (ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1) รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตมาทั้งหมดน่าจะเป็นได้ว่าเพราะระบอบกษัตริย์ของสยามใหม่นี้ได้เกิดขึ้นในแวดวงที่ได้รับอารยธรรมเขมร เมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตอย่างเต็มที่นั้นควรจะเป็นที่เมืองลพบุรี
การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองลพบุรีไปอยุธยานั้นคงเกี่ยวเนื่องกับความ เหมาะสมของอยุธยาในทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ กล่าวคืออยุธยาตั้งอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าออกไปจนถึงเมือง นอกจากนั้นทำเลที่ตั้งอยุธยาอยู่ในจุดที่สามารถควบคุมเมืองใหญ่ใกล้เคียง เช่น เมืองสุพรรณบุรี เพชรบุรีได้ง่าย
เมื่อมีการสถาปนาอยุธยาใน พ.. 1893 แล้ว เมืองลพบุรีมีฐานะกลายเป็นเมืองลูกหลวงที่อุปราชปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งรัชทายาทขึ้นปกครอง
จากการศึกษาเรื่องศิลปกรรมในเมืองลพบุรีทั้งทางด้านประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายน และได้วิวัฒนาการจนมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า ศิลปะแบบลพบุรีที่เห็นได้ชัดเจนคือปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 และคงเป็นต้นเค้าของบรรดาพระปรางค์ ทั้งหลายในประเทศไทยในศตวรรษต่อมา
ลพบุรีในสมัยอยุธยา (ระหว่าง พ.. 1893 - 2310)
เมืองสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง คนไทยทางใต้ก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมเป็นประเทศราช และ พระเจ้าอู่ทองก็สร้างพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.. 1893 และทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ลพบุรีจึงกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่คอยป้องกันพวกขอมทางตะวันออก และพวกสุโขทัยทางเหนือในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ก็ได้โปรดให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงและใช้เป็นเครื่องถ่วงดุลย์อำนาจทางการเมืองกับสุพรรณบุรีซึ่งขุนหลวงพะงั่ว พี่ของพระมเหสีไปครองอยู่
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ 1 (.. 1921) อาณาจักรอยุธยาได้ขยายตัวออกไปกว้างขวางและรวมเอาสุโขทัยเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เขมรอ่อนกำลังลงและได้ยกทัพไปตีเขมรถึงนครธมซึ่งเป็นราชธานีเขมร และเมื่อสมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่าส่งพระราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี และในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปรับปรุงการปกครอง โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวงทั้ง 4 ด้านของราชธานีออก ลพบุรีจึงกลายเป็น หัวเมืองที่อยู่ในเขตราชธานีแต่นั้นมา
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 2 รองจากพระนครศรีอยุธยา สถานที่สร้างพระราชวังนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชาภาพทรงสันนิษฐานว่า คงสร้างในที่ที่เป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราเมศวร สาเหตุที่สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่งก็เนื่องจากในปี พ.. 2207 ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการค้ากับฮอลันดา พระองค์จึงหาทางป้องกันเหตุการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งทรงเห็นว่าลพบุรีมีชัยภูมิเหมาะแก่การป้องกันตนเอง และลพบุรีมีแม่น้ำไหลผ่านแต่ไม่ลึกพอที่เรือขนาดใหญ่จะผ่านเข้าไปได้ สามารถติดต่อกับราชธานีสะดวก ซึ่งทำให้พระองค์สร้างลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ พระองค์ทรงแปรพระราชฐานมาประทับที่เมืองลพบุรีเป็นเวลายาวนาน ในแต่ละปีเสด็จประทับยังพระนครศรีอยุธยาเพียงระยะเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น และได้พระราชทานวังที่เมืองลพบุรีเป็นที่ว่าราชการ รวมทั้งต้อนรับแขกต่างประเทศที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอีกด้วย
ตอนปลายสมัยของสมเด็จพระนารายณ์เมืองลพบุรีเกิดความวุ่นวายขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของพวกขุนนางต่างชาติ ทำให้พระเพทราชาได้เข้ายึดอำนาจทางการปกครอง ในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตไปท่ามกลางเหตุการณ์วุ่นวายในขณะนั้น เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองลพบุรีจึงมีความสำคัญลดลงไม่มีความสำคัญทางการเมืองจนสิ้นสมัยอยุธยา
ลพบุรีสมัยรัตนโกสินทร์
ลพบุรีขาดความสำคัญลงมากตั้งแต่สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนกระทั่งถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ ซึ่งไทยเราได้ติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น และชาติตะวันตกในยุคนั้นได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมรุกรานบ้านเมืองทางตะวันออก ใช้กาลังกับประเทศต่าง ๆ พระองค์ก็ได้ตระหนักถึงอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงโปรดให้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง โดยปฏิสังขรณ์พระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์ที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมีสภาพดีขึ้นดังเดิม และโปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็นที่ประทับ และได้พระราชทานนามพระราชวังที่เมืองลพบุรีนี้ว่าพระนารายณ์ราชนิเวศน์
จะเห็นได้ว่าจังหวัดลพบุรี มีความสำคัญติดต่อกันมานานนับพันปี คือตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์และดำรงความเป็นเมืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง
ตราประจำจังหวัด


รูปไก่ ยืนอยู่ในประตูมณฑปวัดพระธาตุลำปางหลวง
คำขวัญประจำจังหวัด
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างให้ลือโลก
จังหวัดลำาปาง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,300 ปี มีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานต่าง ๆ รวม11 ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า กุกกุฏนครแปลว่าเมืองไก่
ดังนั้น ตราประจำจังหวัดลำปาง คือ ไก่ขาวจังหวัดลำาปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.1223 จากหนังสือพงศาวดารโยนกกล่าวว่า สุพรหมฤๅษี”  สร้างเมืองเพื่อให้ เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวี ครองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ให้ชื่อเมืองว่า นครเขลางค์ต่อมาเปลี่ยนเป็น นครอัมภางค์และเปลี่ยนชื่อเป็น นครลำปาง
ในภายหลังในสมัยโยนกเชียงแสน นครลำปางเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม เคยเป็นเมืองประเทศราชของพม่าและเมืองเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าทิพย์ช้างสามารถขับไล่พวกพม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็น พระยาสุวลือไชยสงครามขึ้นครองนครลำปาง ในปี พ.ศ.2279
ในปี พ.ศ.2307เจ้าแก้วฟ้าพระโอรสของเจ้าทิพย์ช้างได้ขึ้นครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน รวมทั้ง ณ เชียงใหม่ ในเวลาต่อมาและมี เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตเป็นผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
จังหวัดลำปางได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัด ในปี พ.ศ.2435 (สมัยรัชกาลที่ 5) โดยขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพสมัยหนึ่ง (พ.ศ.2443) ต่อมาแยกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ในปี พ.ศ.2458 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ลำปางจึงมีฐานะเป็น จังหวัดลำาปางตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476
จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีความเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1,300 ปี ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย (พระนางจามเทวี) เป็นต้นมา คือ ราวพุทธศตวรรษที่  13 ชื่อของเมืองเขลางค์อันเป็นเมืองในยุคแรก ๆ และเมืองนครลำปางปรากฏอยใู่นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง ทั้งจากตำนานศิลาจารึกพงศาวดารและจากคำที่นิยมเรียกกันโดยทั่ัวไปอย่างแพร่หลาย ไดแ ก่ตำนานจามเทวี ชนิกาลบาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพิ้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเจ้าเจ็ดตน พงศาวดารโยนก
คำว่า '"ละกอน" หรือ "ละคร" (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในตำนานและภาษาพูดโดยทั่ัวไป แมแ้ ต่จังหวัดใกล้เคียงเช่น แพร่ น่านเชียงราย ลำพูน เชียงใหม่ มักจะเรียกชาวลำปางว่า "จาวละกอน" ซึ่งหมายถึง ชาวนคร
คำว่าละกอนมีชื่อทางภาษาบาลีว่า เรียกว่า "เขลางค์ "เช่นเดียวกับละพูรหรือลำพูน ซึ่งทางภาษาบาลีเรียกว่า "หริภุญชัย"และเรียกลำปางว่า "ลัมภกัปปะ" ดังนั้นเมืองละกอน จึงหมายถึง บริเวณอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์ คือเมืองโบราณรูปหอยสังข์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่ังตะวันตกของแม่น้ำวัง อยู่ใูนตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
ส่วนคำว่า "ลำปาง" เป็นชื่อที่ปรากฎหลักฐานอย่างชัดแจ้งในตำนานพระธาตุลำปางหลวงซึ่ง มีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า "ลัมภกัปปนคร" ตั้งอยู่บริเวณลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศใต้ตามแม่น้ำวังประมาณ 16 กิโลเมตร อันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน ตัวเมืองลัมภกัปปนครมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่
ลักษณะของเมือง ศึกษาดูจากภาพถ่ายทางอากาศและการเดินสำรวจทางภาคพื้นดิน พบว่ามีคันคูล้อมรอบ 3 ชั้น (แต่ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้น) นอกจากนี้ีพบเศษกระเบื้อง ภาชนะดินเผา เศียรพระพุทธรูปดินเผาสมัยหริภุญชัยและสถูปแบบสมัยหริภุญชัย สันนิษบานว่าเมืองลัมภกัปปะนี้ีน่าจะเป็นเมืองกัลปนาสงฆ์ (เมืองทางศาสนา) มากกว่าจะเป็นเมืองทางอาณาจักรที่มีอำนาจทางการปกครองบ้า้นเมืองอย่างเป็นระเบียบแบบแผน
ตามตำนาน วัดพระธาตุลำปางหลาง (ฉบับสาขาสมาคม เพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรมประจำจังหวัดลำปาง) ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเมืองลำปางไว้ว่่า "พระพุทธเจ้า้ได้เสด็จด้วยลำดับบ้านใหญ่เมืองน้อยทั้งหลาย พระพุทธเจ้าไปรอดบ้านอันหนึ่ง ชื่อ ลัมพการีวัน พระพุทธเจ้านั่งอยู่เูหนือดอยม่อนน้อย สูงสะหน่อย ยังมีลัวะ ชื่ออ้ายคอน มันหันพระพุทธเจ้า้ เอาน้ำเผิ้งใส่กระบอกไม้ป้้างมาหื้อ ทานแก่พระพุทธเจ้า้ กับหมากพ้า้ว 4 ลูก พระพุทธเจ้า้ ยื่นบอกน้ำเผิ้งหื้อแก่มหาอานนท์ถอกตกปากบาตร พระพุทธเจ้า้ ฉันแล้ว ชัดบอกไม้ไปตกหนเหนือ แล้วพระพุทธเจ้า้ ทำนายว่า สถานที่นี้จักเป็นเมืองอันหนึ่ง ชื่อ  "ลัมภางค์" ดังนั้น นามเมืองลำปาง จึงหมายถึงชื่อของเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน
จังหวัด ลำปางเดิมชื่อ "เมืองนครลำปาง" จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ศิลาจารึก เลขทะเบียน ลป.1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชรเมื่อ พ..2019 และศิลาจารึกเลขทะเบียน ลป.2 จารึกเจ้าหาญสีทัต ได้จารึกชื่อเมืองนี้ว่า "ลคอร" ส่วนตำนานชินกาลมารีปกรณ์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเชียงแสน ตลอดจนพงศาวดารของทางฝ่ายเหนือ ก็ล้วนแล้ว แต่เรียกชื่อว่า เมืองนครลำปาง แม้แต่เอกสารทางราชการสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็เรียกเจ้าเมืองว่า พระยานครลำปาง นอกจากนี้จารึกประตูพระอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร ก็ยังมีข้อความตอนหนึ่ง จารึกว่า เมืองนครลำปาง แต่เมื่อมีการปฏิรูปบ้านเมืองจากมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ี 19 พฤษภาคม พ.. 2459 ปรากฏว่า ชื่อของเมืองนครลำปาง ได้กลายมาเป็นจังหวัดลำปาง มาจนกระทั่งทุกวันนี้
ประวัติความเป็นมาของเมืองนครลำปาง
เรื่อราวของเมืองนครลำปางในยุคแรก ๆ หรือยุคเมืองเขลางค์นั้น ส่วนใหญ่ทราบหลักฐานในตำนานชินกาลบาลีปกรณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติการสร้างเขลางค์ ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ี 13 ว่า ในราว พ..1200 พระสุเทวฤษี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ดอยสุเทพได้เ้ชิญชวนให้พระสุกทันตฤษีแห่งละโว้มาช่วยกันสร้างเมืองนครหริภุญชัย เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงไปทูลขอผู้ปกครองจากพระเจ้านพราชกษัตริย์แห่งละโว้้ (ลพบุรี) ซึ่งได้ประทานพระนางจามเทวี ราชธิดาให้มาเป็นผู้ปกครอง พร้อมกับนำพระภิกษุสงฆ์ผู้รอบรูในพระไตรปิฎก พรามณ์โหรา นักปราชญ์ราชบัณฑิต แพทย์ ช่างฝีมือ เศรษฐี คหบดีอย่างละ 500 คนมาด้วย ขณะนั้น พระนางทรงครรภ์ เมื่อมาถึงได้ราว 3 เดือน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด ผู้พี่ทรงพระนามว่า "เจ้ามหันตยศกุมาร" ส่วนผู้น้องทรงพระนามว่า "เจ้า้อนันตยศกุมาร" เมื่อ พระโอรสทั้ง  2 ทรงเจริญวัยขึ้น ประกอบกับพระนางชราภาพมากแล้ว จึงได้ทำพิธีราชาภิเษกให้ เจ้า้ มหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนเจ้าอนันตยศกุมารทรงดำรงตำแหน่งอุปราช

ตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีได้ราชาภิเษกให้เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ฝ่ ายเจ้าอนันตยศกุมารก็ปรารถนาอยากไปครองเมืองแห่งใหม่  จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมารดาได้ทรงทราบ พระนางทรงแนะนำให้ไปหาฤษีวาสุเทพ เพื่อขอให้สร้า้งเมืองถวาย แต่ฤษีวาสุเทพได้แนะนำให้ไปหาพรานเขลางค์ซึ่งอยู่ที่ภููเขาบรรพต ดังนั้น พระเจ้าอนันตยศจึงพาข้าราชบริพารเสด็จออกจากหริภุญชัยไปยังเขลางค์บรรพต ครั้นเมื่อพบพรานเขลางค์แล้ว ก็ทรงขอให้นำไปพบพระสุพรหมฤษีบนดอยงามหรือภูเขาสองยอดแล้วขออาราธนาช่วยสร้างบ้านเมืองให้้พระสุพรหมฤษีจึงขึ้นไปยังเขลางค์บรรพตเพื่อมองหาชัยภูมิสร้างเมือง เมื่อมองไปทางยังทิศะวันตกของแม่น้ำวังกนที ก็เห็นสถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงได้สร้างเมืองขึ้นที่นั่ัน โดยกำหนดให้กว้างยาวด้านละ 500 วาแล้ว เอาศิลาบาตรก้อนหนึ่งมาตั้งเป็นหลักเมือง เรียกว่า "ผาบ่อง" เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามตามชื่อของนายพระหมผู้นำทางและมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างเมืองว่า "เขลางค์นคร" และยังมีชื่อ เรียกในตำนานกุกุตนครว่า "ศิรินครชัย" อีกนามหนึ่ง

ภายหลังสร้างเมืองแล้วเสร็จพระเจ้าอนันตยศได้ทรงราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้าอินทรเกิงการ" พระองค์ครองเมืองเขลางค์อยู่ไูด้ไม่นาน ก็ทรงมีความรำลึกถึงมารดา จึงได้ทูลเชิญเสด็จพระนางจามเทวี พร้อมทั้งสมณชีพราหมณ์ มายังเมืองเขลางค์นคร ทรงสร้า้งเมืองให้พระราชมารดาประทับอยู่เูบื้องปัจฉิมทิศแห่งเขลางค์นคร ให้ชื่อว่า "อาลัมพางค์นคร"

เรื่อราวเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองเขลางค์นคร
เมื่อสำรวจผังเมืองจากภาพถ่ายทางอากาศและการสำรวจภาคพื้นดิน รวมทั้งการศึกษาเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมืองเขลางค์พบว่า ผังเมืองอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์แบ่งออกเป็น 3 ยุคได้แก่
ยุคแรกยุคสมัยจามเทวี
ตั้งอยู่ใูนเขตตำบลเวียงเหนือ สร้างขึ้นราว พ.. 1223 โดยพระสุพรหมฤษีสร้างถวายพระเจ้า้ อนันตยศกุมารหรืออินทรเกิงการ โอรสของพระนางจามเทวี เป็นเมืองคู่แูฝดของเมืองหริภุญชัย ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปหอยสังข์ (สมุทรสังขปัตตสัณฐาน) กำแพงเมืองชั้นบนเป็นอิฐชั้นล่างเป็นคันดิน 3 ชั้นสันนิษฐานว่ากำแพงอิฐที่สร้างบนกำแพงดิน เป็นการต่อเติมในสมัยหลัง มีความยาววัดโดยรอบ 4,400 เมตร สร้างในพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ มีประตูเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ ประตูม้า้ ประตูผาป่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกดและประตูตาล
ปูชนียสถานที่สำำคัญได้แก่ วัดพระแก้วดอนเตา้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ระหว่าง พ.ศ. 1979 - 2011 นอกจากนี้ ยังมีโบราณสถานสำคัญอีกหลายแห่งได้แ้ก่ วัดอุโมงค์ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่ วัดป่าพร้าว อยู่ทางด้านเหนือ วัดพันเชิง วัดกู้ขาว หรือเสตกุฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิกขีปฏิมากร ในสมัยพระนางจามเทวี วัดกู่แดง วัดกู่คำ อยู่ทางทิศตะวันตก ในปัจจุบันนี้ีบริเวณวัดพันเชิงและวัดกู่แูดง ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพของโบราณอยู่อีกต่อไป ระหว่างวัดกู่ขาวมายังเมืองเขลางค์มีแนวถนนโบราณ ทอดเข้าสู่ตัวเมืองทางประตูตาล สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ขณะมาประทับอยู่ใูนเขลางค์นคร แนวถนนโบราณนี้ียังใชเ้ป็นคันกั้นน้ำป่าเพื่อทดน้ำเข้า้ สู่คูเมือง และแบ่งเข้าไปใช้ในตัวเมืองด้วย ระดับคูน้ำจะสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ เมืองในยุคนี้ีมีการเก็บน้ำไว้ในคอรอบทิศ โดยให้มีระดับสูงกว่าแม่น้ำำสายใหญ่ที่ไหลผ่านบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นแบบเฉพาะเมืองรูปหอยสังข์ยุคนี้เท่านัน
เมืองเขลางค์เป็นเมืองคู่แูฝดกับเมืองหริภุญชัย มีชื่อในตำนานว่า เมืองละกอน หรือลคร  ภายหลังจากสมัยพระเจ้าอนันตยศแล้ว สภาพของเมืองฝาแฝดกับหริภุญชัยก็หมดไป  สันนิษฐานว่า เขลางค์นครมีเจ้าผู้ครองต่อมาอีกประมาณ 500 ปี แต่ไม่ปรากฏพระนามในหลักฐานหรือเอกสารใด ๆ จนกระทั่ังถึง พ.. 1755 ได้ปรากฏชื่อของเจ้านายเมืองเขลางค์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า เจ้าไทยอำมาตย์แห่งเขลางค์ ได้แย่งชิงอำนาจจากพระยาพิณไทย เจ้าเมืองลำพูนแล้วสถาปนาพระองค์ปกครองหริภุญชัยสืบต่อกันมาถึง 10 รัชกาล จนกระทั่ังถึงสมัยพระยายีบา ก็สูญเสียอำนาจให้แก่พระยามังราย ใน พ.. 1844
ยุคที่สองสม้ยล้านนาไทย
เมืองเขลางค์ยุคที่ 2 เป็นเมืองที่ส้รางขึ้นในสมัยลานนาไทย มีเนื้ือที่ประมาณ 180 ไร่  กำแพงยาว 1,100 เมตร ตั้งอยู่ใู่ นตำบลเวียงเหนือ อยู่ถัดจากเมืองเขลางค์ยุคแรกลงมาทางใต้้ เป็นเมืองที่ก่่อกำแพงด้วยอิฐ ประตูเมืองที่มีชื่อปรากฏคือ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนาอันเป็นประตูที่อยู่ร่วมกับประตูนกกต ตอนท่อนหัวสังข์ของตัวเมืองเก่าและประตูป่อง ที่ประตูป่องยังคงมีซากหอรบรุ่นสมัยเจ้าคำโสมครองเมืองลำปาง  ซึ่งได้ใช้เ้ป็นปราการต่อสูกั้บพม่าครั้งสำคัญ  ในปี พ.. 2330 พม่าล้อมเมืองอยู่เูป็นเวลานาน จนกระทั่ังกองทัพทางกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยขับไล่พม่าแตกพ่ายไป
โบราณสถานสำคัญในเมืองเขลางค์ยุคที่ 2 ได้แก่วัดปลายนา ซึ่งเป็นวัดร้างและวัดเชียงภูมิ หรือวัดปงสนุกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อลิ้นก่านที่ดำน้ำชิงเมืองแข่งกับเจ้าฟ้าหลวง ชายแก้ว (บิดาของเจา้ 7 ตน) แต่เจ้าลิ่นก่านแพจึ้งถูกพม่าประหารชีวิต สันนิษฐานว่าพระเจ้าลิ้นก่านคงจะเป็นเจ้าสกุลล้านนาไทยองค์สุดท้ายที่อยู่ใูนเมืองเขลางค์  เมืองเขลางค์สมัยล้านนาไทย ได้รวมเอาเมืองเขลางค์ยุคแรก (เมืองรูปหอยสังข์) กับเมืองเขลางค์ยุคใหม่เข้า้ ดวยกันตั้งอยู่เูขตฝั่ังตะวันตกของแม่น้ำำวัง ซึ่งเรียกกันอย่างแพร่หลายในตำนานต่าง ๆ ของทางเหนือว่า "เมืองละกอน"
ความสำคัญของเมืองละกอนในสมัยราชวงศ์เม็งราย
(..1839 - 2101) เมื่อพระเจ้าเม็งรายสร้า้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ในปี พ..1839 แล้ว ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาครอบครองลำพูนและเมืองลคร (เขลางค์) กล่าวคือใน พ.. 1844 พระเจ้าเม็งรายโปรดให้ขุนคราม โอรสยกกองทัพไปตีเมืองลำพูน พระยายีบาสูไม่ได้ จึงอพยพหนีมาพึ่ง พระยาเบิกพระอนุชาที่เมืองลคร (เขลางค์) กองทัพของพระเจ้าเม็งรายซึ่งมีขุนครามเป็นแม่ทัพ ได้ยกติดตามมาประทะกับกองทัพของพระยาเบิกที่ริมน้ำแม่ตาล ปรากฏว่าพระยาเบิกเสียชีวิตในการสู้รบ ส่วนพระยายีบาเจ้าเมืองลำพูน ได้พาครอบครัวหนีไปพึ่งเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก ) ประทับอยู่ที่นั้ันจนสิ้นพระชนม์ จึงสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองเขลางค์ยุคแรก ส่วนเรื่องราวในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ภายหลังจากที่พระเจ้าเม็งรายไดรั้บชัยชนะต่อพระยาเบิกแล้ว ได้แต่งตั้ง ชาวมิลักขะเป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าเมืองคนใหม่พยายามชักชวนชาวเมืองเขลางค์สร้างเมืองใหม่ ซึ่งกลายเป็นเมืองเขลางค์ยุค 2 หลังจากนั้นก็มีเจ้าผู้ครองนครซึ่งมียศเป็นหมืน ปกครองสืบต่อกันมา เป็นเวลานาน จนกระทั่งสิ้นราชวงศ์เม็งราย พม่าก็แผ่อิทธิพลเข้ามาแทนที่ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง
เมืองนครลำปางเป็นหัวเมืองสำคัญของล้านนาไทยมาจนกระทั่ังถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าแห่งหงสาวดีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองล้านนาไทยใน พ.ศ. 2101 ซึ่งสัญลักษณ์แห่งอำนาจของบุเรงนองยังปรากฏอยู่ทั่วไป ได้แก่ไม้แกะสลักรูปหงส์ประจำวัดต่าง ๆ (หมายถึงหงสาวดี) นับตั้งแต่นั้นมา นครลำปางตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลานานร่วม ๆ 200 ปีเศษ (พ.ศ.2101 - 2317) และบางครั้งก็อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาบ้าง เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น
ลำปางเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในล้านนา เป็นจุดศูนย์รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนาอันโดดเด่น สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนารวมไปถึงนครลำปางได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานนับสองร้อยปี ดังนั้นสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองลำปางจึงได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าเห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ช่วงสมัยพม่าปกครองอาณาจักรล้านนารวมไปถึงเมืองลำปางไม่ได้สร้างคุณประโยชน์ แก่บ้านเมือง มิหนำซ้ำยังกระทำการย่ำยีข่มเหงชาวบ้านจนทำให้ชาวเมืองเกลียดชังไปทั่ว จนกระทั่งได้เกิดวีรบุรุษผู้กล้าแห่งบ้านปกยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) นามว่า เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ท่านได้รวบรวมชาวเมืองขับไล่พม่าพ้นเมืองลำปางได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ชาวเมืองจึงพากันสถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง มีพระนามว่า พญาสุวฤๅไชยสงคราม เวลานั้นเมืองลำปางเป็นเมืองเดียวในล้านนาที่ปราศจากอำนาจปกครองจากพม่า
กาลเวลาต่อมาลูกหลานของท่านได้กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าจากแผ่นดินล้านนา และได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำพูน น่าน และต้นตระกูลของท่านมีนามปรากฏในพงศาวดารว่าราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบอบมณฑล เมืองลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ (เมืองเชียงใหม่) และต่อมาแยกออกไปเป็นมณฑลมหาราษฎร์ 
ประวัติศาสตร์จังหวัดลำพูน
ตราประจำจังหวัด


รูปพระบรมธาตุหริภุญไชย
คำขวัญประจำจังหวัด
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย

1. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ลำพูน เดิมชื่อ หริภุญชัย เดิมเป็นถิ่นฐานของเมงคบุตร (คือพวกชนเผ่าสกุลมอญในสุวรรณภูมิ ภาคเหนืออันเป็นสาขาหนึ่งของชนเผ่ามอญ เขมร จากมหาอาณาจักรพนม) พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปจะบังเกิดนครหริภุญชัยขึ้น และเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วพระบรมสารีริกธาตุจึงปรากฏขึ้นมาเอง
เมืองหริภุญชัย เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำปิง และแม่น้ำกวง ความมุ่งหมายการสร้าง เพื่อเป็นแหล่งขยายอารยธรรมของอาณาจักรที่รุ่งเรืองของละโว้ไปทางทิศเหนือ ไปสู่ชนที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณแถบนั้น
2. สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำพูนเป็นเมืองเล็กที่มิได้ตั้งขึ้นเพื่อขยายอิทธิพลทางอาณาจักร จึงถูกรังแกจากชุมชนที่ใหญ่กว่าตลอดมา ทำให้อาณาจักรลานนาไทยที่อยู่ตรงกลางเปลี่ยนมือการปกครองหลายครั้ง และตกอยู่ในอำนาจของพม่าและมอญเป็นเวลานานถึง 200 ปี (พ.ศ. 2101-2317) พระเมืองแก้ว ราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 13 ได้รื้อกำแพงเมืองหริภุญชัยเดิม และสร้างใหม่ให้แคบลงซึ่งรวมอยู่ในอาณาจักรนครพิงค์ ต่อมา พ.ศ. 2272-2275 พม่าคุกคาม แคว้นลานนา เจ้ามหายศเมืองลำพูน ได้ยกกองทัพไปรบกับชาวลำปาง แพ้นายทิพย์ช้าง พรานป่าชาวบ้าน ปงยางคก (ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และเชื้อเจ็ดตน) ได้กู้ลำปางพ้นจากอำนาจพม่า หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2304 โปมะยุง่วน ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ (ขณะนั้นขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา) ได้แล้วเข้าครองเชียงใหม่ แต่พระยาลำพูนไม่ยอมขึ้นกับพม่าหนีมาอยู่เมืองพิชัย ในเวลาต่อมาปี พ.ศ. 2306 พม่ายกทัพมาตีลำพูนแตก เจ้าเมืองไชยส้องสุมผู้คนเข้าแย่งตีเมืองคืน แต่มีกำลังน้อยกว่า จึงพ่ายแพ้ถูกฆ่าตาย ปี พ.ศ. 2308 ชาวเมืองลำพูนรวมกำลังเป็นกบฎเข้ารบกับโปมะยุง่วนที่เชียงใหม่ โปมะยุง่วนหนีกลับเมืองอังวะพม่าส่งอะแซหวุ่นกี้มาปราบลำพูนราบคาบในปี พ.ศ. 2309
3. สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสว่า ตราบใดที่พม่ายังมีอำนาจครอบงำแผ่นดินลานนาไทยอยู่ การป้องกันประเทศให้เป็นเอกราชย่อมกระทำได้ยาก จึงตกลงพระทัยยกกองทัพขึ้นมาทำศึกชิงนครพิงค์จากพม่าถึง 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2314 แต่ไม่สำเร็จ ครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2317 ทรงได้รับความร่วมมือจากพญาจ่าบ้านกับเจ้ากาวิละยึดได้นครเชียงใหม่และหัวเมืองอื่นๆ เช่น แพร่ ลำปาง ลำพูน และน่าน โดยให้เจ้าศรีบุญมา อนุชาองค์น้อยเป็นอุปราชของเจ้าบุรีรัตน์ (อนุชาของเจ้ากาวิละ) อพยพชาวลำปาง เชียงใหม่ และเมืองยอง (ชาวเวียงยองที่อยู่เขตตำบลเวียงยองในปัจจุบัน) มาอยู่ลำพูน 1,000 ครอบครัว
4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
อาณาจักรลานนาไทยซึ่งมีลำพูนรวมอยู่ด้วยได้พ้นจากอำนาจของพม่าโดยสิ้นเชิง เมื่อ พ.ศ. 2345 โดยกองทัพไทยทำการขับไล่พม่าออกจากหัวเมืองต่างๆ ในลานนาไทย ถึงกระนั้นลำพูนและหัวเมืองลานนาไทยก็ยังคงตกเป็นประเทศราชของกรุงเทพฯ มาทำนองเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมา พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งพระยาราชวงศ์คำฝั้น เป็นพระยาลำพูนไชย นับเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์แรกของลำพูน ซึ่งจะจัดลำดับได้ดังนี้
1. เจ้าคำฝั้น พ.ศ. 2357 ถึง พ.ศ. 2358 ครองเมืองได้ 1 ปี
2. เจ้าบุญมา พ.ศ. 2358 ถึง พ.ศ. 2370 ครองเมืองได้ 12 ปี
3. เจ้าน้อยอินทร์ (อิ่น) พ.ศ. 2370 ถึง พ.ศ. 2381 ครองเมืองได้ 9 ปี
4. เจ้าน้อยคำตัน พ.ศ. 2381 ถึง พ.ศ. 2384 ครองเมืองได้ 3 ปี
5. เจ้าน้อยธรรมลังกา พ.ศ. 2384 ถึง พ.ศ. 2386 ครองเมืองได้ 2 ปี
6. เจ้าน้อยไชยลังการ พ.ศ. 2386 ถึง พ.ศ. 2414 ครองเมืองได้ 28 ปี
7. เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ (เจ้าดาวเรือง) ตั้งแต่ พ.ศ. 2414 ถึง พ.ศ. 2431  ครองเมืองได้ 17 ปี
8. เจ้าเหมพินทุไพจิตร (เจ้าคำหยาด) ตั้งแต่ พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2438 ครองเมืองได้ 7 ปี
9. เจ้าอินทยงยศโชติ (เจ้าน้อยอินทยงยศ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2438 ถึง พ.ศ. 2454 ครองเมืองได้    16 ปี
10.พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 ถึง พ.ศ. 2486 ครองเมืองได้ 32 ปี
5. การจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่างๆ ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพ เป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย อาณาจักรลานนาไทยจึงสิ้นสภาพของการเป็นประเทศราช พ้นจากการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการคือ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ฯลฯ แล้วก็สูญสิ้นความเป็นอาณาจักรลงด้วยเหมือนกัน เว้นแต่ยังคงมีเจ้าผู้ครองนคร มีฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้า" เช่นเดียวกับในตอนที่เข้ารวมอยู่ในอำนาจของไทยใหม่ ๆ ผิดกันแต่เพียงในสมัยที่จัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้วทางราชการได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสมุหเทศาภิบาลและโดยเฉพาะมณฑลพายัพเปลี่ยนเป็นอุปราช) มาดำเนินการปกครองและแต่งตั้งเจ้าเมืองเข้าปฏิบัติราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร (ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าหลวง) ทั้งนี้ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2440 เป็นต้นมา สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนั้น ถือว่าเป็นตำแหน่งมีเกียรติ และมีเจ้าผู้ครองนครขึ้นทุก ๆ จังหวัดในมณฑลพายัพ ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่มีเจ้าผู้ครองนครๆ มาสิ้นสุดลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศเมื่อ พ.ศ. 2475 ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเสียทั้งหมดไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ในเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นพิราลัยลง
6. การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2476 มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัด และอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑล รายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑล เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด ดังนี้
1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1) จังหวัด
2) อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ประวัติศาสตร์จังหวัดเลย
ตราประจำจังหวัด


รูปพระธาตุศรีสองรัก เบื้องหลังเป็นทิวเขา
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเลยเพิ่งจะมีปรากฏแน่ชัดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองเลยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2396 ส่วนประวัติความเป็นมาของจังหวัดก่อนหน้านี้เป็นเพียงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในระดับหมู่บ้านและการสร้างบ้านแปลงเมืองซึ่งเป็นเมืองโบราณในท้องที่จังหวัดเลยปัจ จุบัน อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและเมืองเหล่านี้ก็เป็นหลักฐานที่ได้จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา โดยอาจได้รับการบันทึกไว้ในรูปของสมุดข่อยคัมภีร์ใบลาน รวมทั้งพงศาวดาร ซึ่งย่อมจะมีสาระรายละเอียดที่ไม่ตรงกันนัก เพราะเป็นการบันทึกจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วคน ตลอดทั้งหลักฐานประเภทจารึก เช่น ศิลาจารึก จารึกที่ฐานพระเจดีย์ เป็นต้น ก็มักเป็นจารึกที่จัดทำขึ้นใหม่แทนของเก่าที่สูญหายไป
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน เคยเป็นที่อยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่ม มี ละว้า มอญ ขอม เป็นต้น ต่อมาจึงมีหลักฐานเกี่ยวกับการอพยพของชนเผ่าไทยเข้ามายังดินแดนนี้ ชนเผ่าพื้นเมืองและชนเผ่าไทยได้ตั้งถิ่นฐานจนก่อตั้งเป็นอาณาจักรใหญ่กระจายอยู่ทั่วทุกทิศ เช่น อาณาจักรโยนก อาณาจักรทวาราวดี และอาณาจักรอิสานปุระเป็นต้น
กลุ่มชนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในท้องที่ที่เป็นจังหวัดเลยจนสร้างบ้านแปลงเมืองได้เป็นกลุ่มแรกนั้นเชื่อกันว่า เป็นชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก
อาณาจักรโยนกเป็นอาณาจักรใหญ่ครอบครองดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย ตลอดไปจนถึงดินแดนแคว้นตังเกี๋ยของประเทศจีนและรัฐฉานของพม่า มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 1218 ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรนี้ทรงพระนามว่า พญาสิงหนวัติ เป็นเจ้าชายอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน อพยพผู้คนลงมาสร้างอาณาจักรโยนก
กษัตริย์ในราชวงศ์พระเจ้าสิงหนวัติปกครองโยนกนครสืบมาจนถึงสมัยพระองค์พังคราช พวกขอมดำซึ่งมีอำนาจอยู่ทางใต้ของอาณาจักรโยนกตีได้โยนกนคร พระองค์พังคราชต้องอพยพผู้คนไปตั้งเมืองใหม่ที่เวียงสีทวง 19 ปี พรหมกุมารราชโอรสจึงปราบปรามขอมดำขับไล่ออกไปจากอาณาจักรแล้วอัญเชิญพระองค์พังคราชกลับมาปกครองโยนกนครใหม่ ส่วนพรหมกุมารหรือพระเจ้าพรหมตามที่ขนานนามในภายหลังได้สร้างเมืองชัยปราการที่ริมแม่นํ้าฝาง ทำให้อาณาจักรโยนกเชียงแสนมีอำนาจยิ่งขึ้น
พระเจ้าพรหมครองเมืองชัยปราการจนสวรรคตแล้ว พระองค์ชัยศิริราชโอรสครองราชย์สืบต่อมา ในสมัยนี้พระเจ้าอนุรุทมหาราช กษัตริย์พม่ามีอำนาจยิ่งใหญ่ตีได้อาณาจักรโยนกและเมืองชัยปราการไว้ในอำนาจ พระองค์ชัยศิริก็อพยพผู้คนลงใต้อันเป็นดินแดนของพวกมอญและขอม เมื่อ พ.ศ. 1547
การตั้งเมืองด่านซ้าย
เมื่ออาณาจักรโยนกล่มสลายแล้ว ชาวโยนกเชียงแสนที่รักอิสระต่างพากันอพยพไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ บางพวกอพยพไปรวมกำลังกับพระองค์ชัยศิริ บางพวกก็อพยพไปหาที่อยู่อาศัยทางแคว้นพางคำ พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้นำผู้คนอพยพมุ่งลงไปทางทิศตะวันออก เมื่อเข้าสู่ดินแดนลานช้างแล้วจึงบ่ายหน้าลงไปทางทิศใต้ (สันนิษฐานว่าจะนำผู้คนอพยพผ่านไปตามหมู่บ้านห้วยไฮ ห้วยลึก นากอก บ้านเมืองฮำและเมืองบ่อแตน ปัจจุบันอยู่ในแขวงไชยบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) แล้วนำไพร่พลข้ามลำนํ้าเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำนํ้าหมัน จนถึงบริเวณที่ราบจึงได้พากันหยุดพัก ส่วนพ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวาซึ่งยังมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย) และพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำนํ้าหมันไปทางฝั่งซ้ายสร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าจะอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยในปัจจุบัน) แล้วต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำนํ้าไปสร้างบ้านหนองคูซึ่งอยู่ทางทิศใต้ เมื่อมีกำลังคนมากขึ้นจึงคิดที่จะขยับขยายไปหาถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ ครั้นได้นำเอานามหมู่บ้านด่านซ้ายมาขนานนามให้หมู่บ้านหนองคูเสียใหม่เป็นเมืองด่านซ้ายแล้วจึงนำไพร่พลอพยพไปเมืองบางยาง (เชื่อว่าอยู่ในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก) ส่วนพ่อขุนผาเมืองขณะที่พ่อขุนบางกลางหาวเลื่อนขึ้นไปตั้งหมู่บ้านหนองคู พ่อขุนผาเมืองก็ได้นำผู้คนอพยพออกจากบ้านด่านขวาข้ามภูนํ้ารินไปตั้งเมืองโปงถํ้าและอพยพต่อไปตั้งเมืองภูครั่ง (โปงถํ้าสันนิษฐานว่าเป็นถํ้าเขียะในปัจจุบัน เป็นถํ้าเล็ก ๆ อยู่ข้างถนนสายเลย-ด่านซ้าย ห่างจากหมู่บ้านโคกงามไปทางด่านซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตร และบริเวณที่หยุดพักไพร่พลตั้งเมืองเป็นการชั่วคราวคงจะเป็นที่เนินด้านขวาของทางหลวงสายโคกงาม-ด่านซ้าย อยู่ในความควบคุมของแขวงการทางด่านซ้าย ต่อมาได้อพยพไปสร้างเมืองบนภูครั่งซึ่งเป็นที่ราบอยู่บนยอดเขาภูครั่ง ภูครั่งเป็นภูเขาลูกใหญ่มีพื้นที่ราบอันกว้างใหญ่อยู่บนยอดเขา อยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอภูเรือ และอยู่ทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้านหนองบัว ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อนึ่งคำว่าเขียะนั้นหมายถึงจั๊กจั่นชนิดหนึ่งแต่ตัวเป็นสีเขียว) ครั้นพ่อขุนบางกลางหาวได้พาผู้คนอพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางแล้ว พ่อขุนผาเมืองจึงได้อพยพผู้คนติดตามไปจนไปตั้งหลักแหล่งได้ที่เมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นผู้ปกครองเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมืองเป็นผู้ปกครองเมืองราด ขณะเมื่อพ่อขุนบางกลางหาวปกครองเมืองบางยาง ก็ได้ตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกตามราชธานีสมัยโบราณด้วย
การตั้งเมืองเซไล
ชาวไทยที่มีผู้นำสืบเชื้อสายมาจากเจ้าผู้ครองอาณาจักรโยนกอีกกลุ่มหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตลานนาไทยต่อแดนลานช้าง คนไทยกลุ่มนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ สืบเชื้อสายต่อมาหลายชั่วอายุคน จนถึงสมัยที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท ปกครองอาณาจักรสุโขทัย เนื่องจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพญาลิไท ใน พ..1890 นั้น มิได้เป็นไปอย่างราบรื่น ดังปรากฏในจารึกวัดป่ามะม่วง (หลักที่ 4) ว่าเมื่อพญาเลอไทสวรรคตแล้ว พญาลิไท ซึ่งเป็นอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ต้องยกทัพมาล้อมเมืองสุโขทัย และเอาขวานประหารศัตรูทั้งหลายแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติกรุงสุโขทัย ในระยะแรกครองราชย์ พญาลิไทต้องปราบปรามพวกพ้องของผู้คิดชิงอำนาจ พร้อมกับการทำนุบำรุงบ้านเมือง ชาวไทยกลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนอยู่เขตชายแดนอาณาจักรลาน-นาต่อแดนลานช้าง จึงเกรงว่าพญาลิไทอาจจะทรงคิดกอบกู้พระราชอำนาจ ยกทัพมาปราบปรามหัวเมืองทางด้านนี้ และมีความเห็นว่าหมู่บ้านของตนเป็นทางผ่านและอยู่ใกล้แดนลานช้าง ทั้งตนเองก็ได้ผูกสัมพันธไมตรีมีความสนิทสนมรักใคร่เป็นสหายต่อกันกับเจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางจึงคิดที่จะขจัดปัญหายุ่งยากซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นทั้งสองฝ่ายให้หมดสิ้นไป จึงนำผู้คนอพยพออกเดินทางผ่านเข้าไปในแดนลานช้างของพระสหายซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก แล้วจึงมุ่งหน้าเดินลงไปทางทิศใต้ เมื่อข้ามลำแม่นํ้าใหญ่ (แม่นํ้าเหือง) ได้แล้วก็วกลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ครั้นไปถึงริมแม่นํ้าสายใหญ่เห็นมีชัยภูมิเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐาน จึงได้พาผู้คนหยุดพักสร้างบ้านตั้งเมืองขึ้นโดยให้ชื่อว่าเมืองเซไล” (คำว่าเซในภาษาท้องถิ่นสมัยนั้น ใช้เรียกแม่นํ้าขนาดย่อม หรือลำห้วยขนาดใหญ่ ซึ่งไปตรงกับคำว่าแควในภาษาของภาคกลาง ส่วนคำว่าไล ไหล หรือเลอวอันเป็นสำเนียงเสียงพูดของผู้คนในสมัยนั้น สันนิษฐานว่า คงจะหมายถึงลักษณะของนํ้าที่กำลังไหล หรือชำระล้างสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นคำว่าเซไลก็คงจะหมายถึงนํ้าที่กำลังไหลเชี่ยวหรือชะสิ่งต่าง ๆ นั่นเอง
ผู้นำในการอพยพจนสร้างเมืองเซไลครั้งนั้น แม้จะมีฐานะเป็นเพียงนายบ้านผู้ปกครองหมู่บ้านแต่ก็คงจะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สิงหนวัติเช่นกัน เพราะในยุคนั้นมีคำเรียกขานผู้นำว่าเจ้าฟ้าร่มขาวคำว่าเจ้าฟ้าแสดงฐานะความเป็นเจ้าผู้ครองนครร่มขาวก็คือ ร่มหรือสัปทนที่ทำด้วยผ้าขาว ซึ่งใช้กางกั้นเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของผู้มียศศักดิ์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การอพยพลงไปจนตั้งเมืองเซไลโดยเจ้าฟ้าร่มขาวนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นนายบ้าน ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าฟ้าร่มขาว เป็นผู้นำในการอพยพ ทั้งนี้ จากหลักฐานการสร้างวัดกู่ ซึ่งเป็นวัดดั้งเดิมสร้างขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหอโฮงการ และอยู่ริมฝั่งเซไล (ปัจจุบันยังพอมีซากอิฐหลงเหลือไว้ให้พบเห็น) สำหรับชื่อเมืองว่าเซไลนั้น คงจะเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ที่ได้มาพบอยู่สองฟากฝั่งเซไลและชื่อแม่นํ้าแห่งนี้ก็ไม่มีมาก่อน นอกจากคำว่าเซไลซึ่งเกิดมาจากคำอุทานที่ผู้คนอพยพทั้งหลายได้มาพบเห็นในการเดินทางมาแสนไกลแล้วได้มาหยุดพักลงอาบกิน ทำให้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทั้งหลายที่มีมาเหือดหายไปจนหมดสิ้น ต่างเลยพากันถือเอาคำอุทานมาเป็นชื่อของเมืองและของแม่นํ้าถือเป็นศิริมงคลแก่พวกของตนแต่นั้นเป็นต้นมา
เมืองเซไลที่ได้สร้างขึ้นในสมัยนั้นไม่มีกำแพง ป้อมปราการ หรือปราสาทราชมณเฑียรแต่อย่างใดคงมีแต่หอโฮงการซึ่งเป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ใช้เป็นทั้งที่พักและที่ว่าการเมืองของเจ้าผู้ครองเมืองเท่านั้น (หอโฮงที่ได้ก่อสร้างในสมัยนั้น ถึงจะไม่มีซากปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานแต่ก็สันนิษฐานว่าคงจะอยู่ในบริเวณหอหลวง อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านทรายขาวในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากวัดกู่คำ และพระธาตุกุดเรือคำไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามลำนํ้าเลย 200 เมตรเศษ ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย) สำหรับบ้านเรือนของราษฎรให้ปลูกสร้างเรียงรายขึ้นไปทางทิศเหนือ จนไปจดชายเขตหนองนํ้าเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ต่อมาเจ้าเมืองได้นำชาวเมืองสร้างวัดขึ้นทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหอโฮงการเมื่อปีพุทธศักราช 1900 ให้ชื่อว่าวัดกู่” (วัดกู่ซึ่งได้สร้างขึ้นในสมัยโบราณนั้นปัจจุบันยังพอมีซากอิฐเหลืออยู่ริมฝั่งแม่นํ้าเลย บางส่วนอยู่ในบริเวณหอหลวงของชาวบ้านทรายขาว) ระหว่างที่นำผู้คนบุกเบิกสร้างบ้านเมืองใหม่ริมฝั่งเซไล เจ้าเมืองคนแรกของเมืองเซไลก็ได้ไปมาหาสู่เจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางพระสหายอยู่ไม่ขาด หลังจากสร้างวัดกู่เสร็จเรียบร้อยลงไปได้หลายปี นายบ้านจึงมีบุตรชายซึ่งเกิดจากภรรยาผู้มีเชื้อสายเดียวกันหนึ่งคน ระหว่างนั้นเจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางก็ได้ลงมาเยี่ยม ครั้นได้มารู้ว่านายบ้านได้บุตรชายทั้งเกิดในวันเวลาเดียวกันกับบุตรชายของตน ซึ่งเกิดจากมเหสีเอกก็ยินดีเป็นยิ่งนัก จึงให้ผูกสัมพันธ์กันไว้เช่นตนทั้งสอง นายบ้านได้เฝ้ารักษาเลี้ยงดูบุตรชายมิว่าจะไปมาในที่ใด ๆ นายบ้านผู้เป็นบิดาก็ให้ผู้คนคอยติดตามไปกางร่ม (สัปทน) สีขาวกันแดดบังฝนจนเป็นสมญาเรียกกันในหมู่ชาวเมืองเซไลว่า "เจ้าฟ้าร่มขาว" ครั้นเจ้าฟ้าร่มขาวเติบใหญ่จนถึงวัยบวชเรียน บิดาก็ถึงแก่มรณกรรมด้วยโรคชราทั้งตรากตรำทำงานหนักมากเกินไป เจ้าฟ้าร่มขาวบุตรชายก็ได้ขึ้นครองเมืองเซไลแทนบิดาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (ประมาณพ..1935)
ครั้นเจ้าฟ้าร่มขาวได้ขึ้นครองเมืองเซไล ได้นำชาวเมืองเซไลพัฒนาบ้านเมืองด้วยการขุดลอกหนองนํ้าเล็กทางชายเมืองด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และนำดินส่วนใหญ่มาถมยกระดับที่ลุ่มทางด้านทิศใต้ใกล้ฝั่งนํ้าให้เป็นสันคันคูกั้นนํ้าไว้ใช้ในฤดูแล้ง เมื่อการขุดลอกขยายหนองนํ้าเล็ก ๆ ออกไปจนกว้างขวางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชาวเมืองไปหาพันธุ์บัวหลวงมาลงปลูกเอาไว้ แล้วขนานนามว่า "สระบัวหลวง" มาจนกระทั่งทุกวันนี้หลังจากนั้นก็ได้พิจารณาเห็นว่า "วัดกู่" ที่บิดาสร้างเอาไว้ใกล้หอโฮงการด้านริมฝั่งเซไล ได้ถูกนํ้าเซาะกัดเข้ามาจนจะถึงตัวพระอุโบสถ มิวันใดวันหนึ่งคงต้องพังทลายลงไปตามกระแสเซไล พอดีในระหว่างนั้นเจ้าฟ้าร่มขาวได้บุตรชาย ซึ่งกำเนิดจากนางเทวี หนึ่งคนในขณะที่อายุล่วงเลยวัยกลางคนไปแล้ว เลยให้ชื่อว่า "ท้าวหล้านํ้า" เจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางก็ได้ลงมาเยี่ยมและต่อจากนั้นมาอีกไม่นาน เจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางได้ทิวงคตในระยะที่เมืองเซไลได้ก่อสร้างวัดขึ้นบนสันคันคูด้านทิศใต้ของสระบัวหลวง ก็ได้มีเหตุแปลกประหลาดเกิดขึ้นคือ มีเรือทองคำปราศจากฝีพายเป็นพาหนะนำอัฐิเจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางมาถึงเมืองเซไล แล้วเรือได้พุ่งเข้าฝั่งเพื่อจอดแต่ความแรงหัวเรือได้พุ่งเข้าหาตลิ่งไปโผล่ขึ้นบนฝั่งทางด้านหน้าวัดใหม่ที่กำลังสร้าง เจ้าฟ้าร่มขาวเกรงชาวเมืองจะมาทำลายเลยให้ก่อสถูปครอบหัวเรือทองคำเอาไว้ ส่วนอัฐิของเจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางพระสหายก็ให้นำไปเก็บไว้ในหอโฮงการ รวมไว้กับอัฐิบิดาของตน เมื่อการก่อสร้างวัดและสถูปเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้ขนานนามวัดว่า "วัดกู่คำ" และขนานนามพระสถูปซึ่งสร้างครอบหัวเรือทองคำว่า "พระธาตุกุดเรือคำ" ซึ่งสร้างเสร็จราว พ..2000 แต่ตามหลักฐานซึ่งได้จารึกเอาไว้ที่วัดกู่คำว่าสร้างเมื่อ พ..1900 นั้น
สันนิษฐานว่า เจ้าฟ้าร่มขาวประสงค์ให้ชาวเมืองทั้งหลายได้รำลึกถึงคุณความดีของบิดา ซึ่งนำพาผู้คนอพยพลงมาบุกเบิกสร้างบ้านเมือง จนได้ตั้งเมืองเซไลและสร้างวัดกู่ขึ้นไว้เป็นวัดแรก เมื่อปี พ..1900 ถึงวัดกู่จะพังทลายลงไปในกระแสแม่นํ้าเลยตามกาลเวลา และเจ้าฟ้าร่มขาวก็ได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ โดยเจตนาจะนำชื่อวัดเก่ามาตั้งเป็นชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งพอดีกับเจ้าชีวิตเมืองหลวงพระบางทิวงคต ด้วยความรักกันอย่างแน่นแฟ้น ถึงจะมีแต่เพียงกระดูกหรือเถ้าถ่านก็ยังมาถึงกัน เจ้าฟ้าร่มขาวก็จึงนำเอาชื่อของทั้งสองมารวมเข้าด้วยกันแล้วตั้งเป็นชื่อวัดว่า "วัดกู่คำ" แต่นำเอา พ..1900 ซึ่งเป็นปีที่ตั้งวัดกูของบิดามาจารึกเอาไว้เป็นอนุสรณ์ ส่วนคำจารึกซึ่งติดไว้ที่ป้ายพระธาตุกุดเรือคำ ซึ่งได้มีการบูรณะปั้นด้วยปูนพอกสถูปองค์เดิมขึ้นใหม่จนผิดรูปผิดร่างเดิมไปด้วยฝีมือของหลวงพ่อเนียม ชาวบ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ซึ่งได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกู่คำ ราวปี พ..2519 ต่อมาได้ถึงแก่มรณภาพที่วัดบ้านเกิด หลวงพ่อเนียมได้ทำการบูรณะด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีความมั่นคงและสวยงาม จึงได้มีการเสริมรูปร่างขององค์พระสถูปให้แปลกตาออกไป ในคำจารึกที่แผ่นป้ายบอกไว้ว่า "สร้างเมื่อ พ..1200" นั้น เป็นการจารึกผิดพลาดอย่างแน่นอน พระธาตุกุดเรือคำน่าจะสร้างราว พ..2000 มากกว่า
บันทึกในสมุดข่อยที่นายหำ อุทธตรี หรือ "พ่อตู้แพทย์" แห่งบ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พบในขณะบรรพชา เมื่อ พ..2471 ที่วัดกู่คำ บ้านทรายขาว กล่าวถึงการปกครองเมืองเซไลโดยแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1 เจ้าฟ้าร่มขาว มีภรรยาชื่อนางเทวี เชื้อสายเดียวกัน มีบุตรชายหนึ่งคนชื่อ "ท้าวหล้านํ้า" มีเหตุการณ์ที่สำคัญคือ
1.1 ขุดลอกหนองนํ้า นำบัวลงปลูกให้ชื่อว่า "สระบัวหลวง"
1.2 สร้างพระธาตุกุดเรือคำ
ยุคที่ 2 ท้าวหล้านํ้า มีภรรยาเป็นชาวเมืองเซไล ชื่อ นางหล้า และมีบุตรชาย หญิง 2 คน ชื่อ "ท้าวศิลา และนางชฎา" เล่ากันว่า นางหล้าเป็นลูกของนางสีดาซึ่งเกิดมาจากนางสีดา ได้ไปดื่มนํ้าในรอยเท้าช้างชื่อมโนศิลา และรอยเท้ากวาง นางสีดาให้กำเนิดบุตรีฝาแฝดผู้พี่ชื่อนางหล้า ผู้น้องชื่อนางลุน และผู้น้องได้มาเสียชีวิตลงในคราวเดินเสี่ยงทางไต่งวงงาของพญาช้าง เลยเหลือแต่นางหล้าซึ่งเป็นลูกของช้าง และต่อมานางหล้าก็คือนางผมหอมซึ่งมีนิวาสถานอยู่ที่ภูหอ สัญลักษณ์กิ่งอำเภอภูหลวง ในปัจจุบันนี้ ในสมัยของท้าวหล้านํ้าได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
2.1 สร้างวัดเทิง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างมีเหลือซากอิฐและหุ่นพระประธานอยู่ข้างที่ทำการประปาบาดาลบ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย)
2.2 เมืองเซไล มีชื่อเรียกเป็นสร้อยต่อว่า "เซไลไซ้ข่าว" ทั้งนี้เนื่องจากคล้ายเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองลม (หล่มสักเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์) ซึ่งจะต้องสืบข่าวคราวหรือส่งข่าวไปยังเมืองลม
ยุคที่ 3 ท้าวศิลา มีภรรยาชื่อนางสุขุม มีเชื้อสายเป็นชาวเมืองหลวงพระบาง มีลูกชายหนึ่งคนชื่อ "ท้าวสายเดือน" มีเหตุการณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
3.1 สร้างวัดทุ่ง หรือในปัจจุบันนี้เรียก "ทุ่งนาคันทง" แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่หลักฐานอันสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่พอจะมีเหลือไว้ให้ได้เห็นคือต้นโพธิ์ อยู่ในบริเวณสวนกล้วยของเอกชนลึกเข้าไปทางซ้ายของทางหลวงจังหวัด สายวังสะพุง-ทรายขาว ประมาณ 15 เมตร และอยู่ห่างจากหมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ประมาณ 500 เมตร
3.2 ในยุคนี้เมืองเซไลมีสร้อยเรียกต่อไปใหม่ "เซไลส่วยขาว" เนื่องจากชาวเมืองเซไลแต่ละครัวเรือนจะต้องส่งส่วยด้วยผ้าขาวเรือนละ 1 วา (ประมาณ 2 เมตร) ส่วนการส่งส่วยผ้าขาวจะได้ส่งไปทางกรุงศรีอยุธยาหรือเมืองหลวงพระบางยังไม่มีหลักฐานระบุให้แน่ชัด
ยุคที่ 4 ท้าวสายเดือน มีภรรยาเชื้อสายเดียวกันกับมารดาชื่อ นางบัวเซีย มีบุตรชายหนึ่งคนชื่อ "ท้าวเดือนสุข" และมีเหตุการณ์ที่สำคัญคือ
4.1 สร้างวัดตาล (ปัจจุบันคือวัดโพธิ์เย็นซึ่งอยู่ด้านหลังวัดกู่คำ ห่างประมาณ 200 เมตร)
4.2 ชาวเมืองเซไลยังต้องส่งส่วยผ้าขาวอยู่เป็นประจำ
ยุคที่ 5 ท้าวเตือนสุขมีภรรยาเชื้อสายเดียวกันกับมารดาชื่อ นางบัวลม (ไม่ปรากฏว่ามีบุตร) มีเหตุการณ์ที่สำคัญคือ
5.1 ท้าวเตือนสุขได้ครองเมืองเซไลด้วยความสงบร่มเย็นมาจนอายุล่วงเลยวัยกลางคน เมืองเซไลก็เกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพงฝนฟ้าไม่ตกชาวเมืองไม่ได้ทำนามาหลายปี ทั้งมีโรคระบาดเกิดขึ้นโดยทั่วไป ชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พากันไปเรียนท้าวเตือนสุขให้พิจารณาหาทางแก้ไข ท้าวเตือนสุขได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเมืองเซไลได้มาถึงกาลเวลาดับสิ้น จึงได้เกิดเหตุอาเพศขึ้นมาเช่นนี้จึงได้พาผู้คนอพยพออกจากเมืองเซไลเพื่อแสวงหาที่อยู่ใหม่ โดยได้พากันเดินทางลงไปตามลำแม่เซไล ครั้นไปถึงบริเวณที่ราบแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล เห็นมีชัยภูมิเหมาะสมในการตั้งบ้านเรือนประกอบกับท้องนํ้าของลำห้วยก็อุดมไปด้วยสารแร่ทองคำ จึงให้ผู้คนที่อพยพมาตั้งหลักฐานสร้างบ้านเรือนขึ้นอยู่อาศัย เสร็จแล้วได้ขนานนามหมู่บ้านใหม่ตามสภาพที่ตนได้พาผู้คนมาอยู่อาศัยว่า "บ้านแห่" ส่วนลำห้วยก็ให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" (คำว่า "แห่" ภาษาและสำเนียงเสียงพูดของชาวอีสานนั้น บางคำที่ใช้พยัญชนะ "" นำ จะเป็นตัว "" คำว่า "แห่" จึงเป็น "แฮ่" ด้วย ซึ่งมีความหมายเดียวกัน แต่นายแพทย์อุเทือง ทิพรส นายแพทย์สาธารณสุขคนแรกของจังหวัดเลย ได้เขียนไว้ในเรื่องบ้าน "แฮ่" ว่า เนื่องจากในท้องนํ้าหมานมีสารแร่ทองคำ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านของพวกตนว่า "บ้านแฮ่" ทั้งนี้เพราะตัว "" ของชาวอีสานนั้นคือตัว "" นั่นเอง ซึ่งก็ถูกด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ในการตั้งชื่อลงทะเบียนหมู่บ้าน ผู้จัดทำฟังสำเนียงชาวอีสานไม่เข้าใจ "บ้านแห่" จึงกลายเป็น "บ้านแฮ่" มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "หมาน" ความหมายในภาษาอีสานนั้นหมายถึงความมีโชคดีเป็นต้น)
5.2 ครั้นพาผู้คนสร้างบ้านตั้งถิ่นฐานได้มั่นคงพอสมควร ท้าวเตือนสุขจึงนำชาวบ้านสร้างวัด เสร็จแล้วขนานนามวัดที่สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นศิริมงคลแก่หมู่บ้านของตนว่า "วัดศรีภูมิ" (สร้างปีพุทธ-ศักราช 2220) เมื่อได้พากันสร้างวัดเสร็จแล้ว ต่อมาราว 2 ปี จึงได้พากันหล่อพระประธานด้วยโลหะขึ้นอีกองค์หนึ่งด้วยฝีมือช่างจากทางเหนือ (ซึ่งจะเห็นได้จากฝีมือช่างสกุลลานนากับลานช้างผสมกัน โดยถือเอาแบบเชียงแสนยุคปลายสังฆาฏิยาวพระพักตร์กลมค่อนข้างแป้นและสั้น เปลวรัศมียอดพระเศียรยาว พระวรกายไม่สง่าดังพระพุทธรูปแบบเชียงแสนทั่วไป และโลหะที่ใช้หล่อคงจะไม่พอ ดังจะเห็นได้จากสีของโลหะที่องค์พระจากฐานถึงพระศอจะเป็นนาก ซึ่งเป็นการหล่อชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งต่างหาก ส่วนพระพักตร์และพระรัศมีนั้น สีของนากจะอ่อนไปจึงเป็นสีค่อนข้างเหลืองมองด้วยตาเปล่าเห็นได้เด่นชัด ซึ่งก็เป็นการหล่อที่แปลก แต่ก็เป็นวัตถุโบราณที่มีคุณค่าสูงสุดชิ้นหนึ่งของชาวเมืองเลยที่ได้มีการสร้างขึ้นมาเมื่อปีพุทธสักราช 2222 เป็นของคู่บ้านคู่เมืองมีชื่อเรียกกันมาจนทุกวันนี้ว่า "พระพุทธรูปมิ่งเมือง" ซึ่งประดิษฐานอยู่บนกุฏิเจ้าอาวาสวัดศรีภูมิ จะนำออกมาให้ประชาชนได้สรงนํ้าเฉพาะวันสงกรานต์เท่านั้น อนึ่งสำหรับพระประธานซึ่งปั้นด้วยปูนในพระอุโบสถเดิมพอกปูนขาวผสมยางบงและหนังเน่า คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน และได้มาบูรณะขึ้นใหม่ในคราวรื้อพระอุโบสถ เพื่อสร้างใหม่ รูปพระพักตร์ตลอดจนทรวดทรงช่างได้ถือเอาแบบพระพุทธรูปมิ่งเมืองมาเป็นหลัก เลยทำให้ผู้พบเห็นพระพุทธรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดศรีภูมิปัจจุบันนี้ว่า เอาแบบมาจากพระพุทธรูปมิ่งเมือง)
5.3 หลังจากชาวเมืองเซไลได้อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านแฮ่ ก็มีชาวเมืองเซไลบางส่วนที่ยังรักในถิ่นฐานเดิม จึงได้พากันอพยพกลับไปเมือเซไลส่วยขาว ครั้นได้พากันบูรณะที่อยู่อาศัยให้ดีแล้วเห็นว่าเมืองเซไลได้หมดสภาพความเป็นเมือง ทั้งได้เลิกยกเลิกส่งส่วยผ้าขาวไปเป็นเวลานาน จึงได้พากันขนานนามให้หมู่บ้านของตนเสียใหม่ในถิ่นเดิมว่า "บ้านทรายขาว" แล้วพากันอยู่กินด้วยปกติสุขมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติของจังหวัดเลยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการสงครามมากเท่าใด คงมีเหตุการณ์ที่น่าจะกล่าวถึงอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เมื่อพ..2091 ปีแรกที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าผู้ครองกรุงหงสาวดี ได้ยกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ยกกองทัพออกรบกับพม่า เพื่อป้องกันพระนครและได้ชนช้างกับพระเจ้าแปร แม่ทัพหน้าของพม่า จนต้องเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระมเหสีเพราะถูกพระเจ้าแปรฟันสิ้นพระชนม์ซบกับคอช้าง การรบครั้งนั้นพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ และเมื่อกลับไปถึงกรุงหงสาวดีแล้วไม่นานก็สวรรคต พระเจ้าบุเรงนองขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงหงสาวดีแทน บุเรงนองเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการสงคราม จึงได้หาสาเหตุมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก โดยแต่งพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกของไทย ฝ่ายไทยไม่ยอมให้ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุยกกองทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยาและตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยได้หลายหัวเมือง รวมทั้งเมืองพิษณุโลกด้วยนอกจากยกกองทัพมารุกรานไทยแล้ว พม่ายังได้ยกกองทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ฝ่ายกรุงศรีสัตนาคนหุตสู้พม่าไม่ได้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชต้องพากองทัพหนีไปอยู่ในป่า ทัพพม่าเข้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้จึงเก็บทรัพย์สินและกวาดต้อนประชาชน รวมทั้งมเหสีและสนมกำนัลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไปเมืองพม่า เมื่อพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงได้พาทหารกลับเข้ามาอยู่กรุงศรีสัตนาคนหุต และได้แต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับทูลขอพระเทพกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยผู้เป็นวีรกษัตริย์ไปเป็นมเหสี เพื่อเห็นแก่ความเป็นไมตรีของสองพระนครที่จะให้มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน และจะได้เป็นกำลังในการต่อสู้ข้าศึก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ตกลงรับยินดีเป็นไมตรีกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชตามที่ทูลขอมา แต่เป็นที่น่าเสียดายขณะที่พระเทพกษัตริย์เดินทางไปกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น ได้ถูกกองทัพพม่าเข้าแย่งชิงและกวาดต้อนไปกรุงหงสาวดีเสียก่อนที่จะไปถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตเพื่อเป็นสักขีพยานและแสดงออกซึ่งไมตรีจิตมิตรภาพ ระหว่างกษัตริย์ทั้งสองพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งขึ้น เมื่อปี พ..2103 ในบริเวณที่ลำนํ้าอู้ไหลมาบรรจบกับลำนํ้าหมัน ซึ่งอยู่ใกล้ที่ตั้งเมืองด่านซ้าย ไว้เป็นอนุสรณ์โดยได้โปรดให้อำมาตย์ราชครู และพระราชาคณะเป็นตัวแทนของสองพระนครมาดำเนินการสร้าง แต่ก่อนที่จะสร้างพระธาตุศรีสองรัก ผู้แทนทั้งสองพระนครได้มีการทำพิธีตั้งสัตยาธิษฐานว่า ทั้งสองพระนครจะรักใคร่กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ดุจเป็นราชอาณาจักรเดียวกันตลอดไปชั่วกัปกัลป์ (โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในประวัติพระธาตุศรีสองรัก)
สมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยกรุงธนบุรีไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในท้องที่จังหวัดเลย สำหรับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้ เพราะสมัยนั้นประเทศที่มีอำนาจทางตะวันตกกำลังล่าเมืองขึ้น เพื่อให้เป็นอาณานิคมของตนเหตุการณ์ที่สำคัญที่ปรากฏขึ้นมีดังนี้
เหตุการณ์สงคราม
การอพยพหนีภัยทางการเมือง ในพ..2436 (..112) ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงให้แก่ฝรั่งเศสไปทั้งหมด เมืองเชียงคานซึ่งตั้ง อยู่บนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงดังกล่าวมาแล้ว ก็ต้องตกไปเป็นของฝรั่งเศสด้วย ปรากฏว่า ชาวเมืองเชียงคานไม่พอใจและด้วยความรักอิสรเสรี รักความเป็นไทย จึงพร้อมใจกันอพยพข้ามมาตั้งเมืองที่ฝั่งขวาแม่นํ้าโขงเยื้องกับเมืองเดิมไปทางเหนือเล็กน้อย เมืองที่ตั้งใหม่เรียกว่า เมืองใหม่เชียงคาน คือที่ตั้งอำเภอเชียงคานปัจจุบัน ราษฎรที่อพยพข้ามมาครั้งนั้นไม่มีผู้ใดเกลี้ยกล่อมหรือบังคับ ทุกคนข้ามมายังดินแดนที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยด้วยความเต็มใจ ไม่พอใจที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติ ประมาณว่าผู้คนอพยพมาครั้งนั้นประมาณ 4 ใน 5 ของเมืองเชียงคานเดิม ต่อมาฝรั่งเศสได้เปลี่ยนชื่อเมืองเชียงคานเดิมเป็น เมืองสานะคามจนทุกวันนี้ การอพยพหนีภัยการเมืองของชาวเมืองเชียงคานยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการอพยพข้ามฝั่งโขงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดเลย หรือพอจะกล่าวได้ว่าชาวเมืองเชียงคาน เป็นกลุ่มชนที่อพยพหนีภัยการเมืองรุ่นแรกของจังหวัดก็พอจะได้ หัวหน้าผู้อพยพครั้งนั้นได้แก่ พระอนุพินาศเจ้าเมืองเชียงคานนั่นเอง
ศึกบ้านนาอ้อ ..2440 เมื่อฝรั่งได้ครอบครองดินแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง ในพ..2436 แล้ว แม้จะได้ครอบครองเมืองสานะคาม (เชียงคาน) แล้วก็คงได้แต่เมืองที่เกือบร้าง เพราะผู้คนอพยพเข้าสู่พระราชอาณาจักรไทยข้ามฝั่งโขงมาตั้งเมืองเชียงคานขึ้นใหม่ที่ฝั่งตรงข้ามดังกล่าวแล้ว ฝรั่งเศสก็หาทางที่จะยึดดินแดนไทยอีก คือ เมืองเชียงคานที่ตั้งขึ้นใหม่ ถึงกับข้ามแม่นํ้าโขงมาขู่เข็ญเจ้าเมืองเชียงคานใหม่ โดยหลอกว่าทางบางกอกได้ยกเมืองเชียงคานให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว เจ้าเมืองเชียงคานได้ออกอุบายให้ฝรั่งเศสไปยึดเมืองเลยให้ได้เสียก่อน เมื่อได้เมืองเลยแล้ว เมืองเชียงคานก็ไม่มีปัญหาอะไร ทั้งนี้ เพราะเจ้าเมืองเชียงคานทราบดีว่าทางเมืองเลยมีกองทหารเตรียมมาแต่สมัย ร..112 แล้ว ซึ่งฝรั่งเศสก็คงพ่ายแพ้แล้วจะได้หาทางซํ้าเติมทีหลังและได้ส่งข่าวให้ทางเมืองเลยทราบล่วงหน้า ฝรั่งเศสหลงกลได้ยกกำลังพลโดยมีฝรั่งเศสหนึ่งนายเป็นหัวหน้าและมีลูกน้องเป็นลาวเพียงไม่กี่คน ยึดบ้านนาอ้อ ยุยงให้ชาวบ้านแข็งเมืองต่อรัฐบาลไทย โดยสัญญาว่าจะปลดปล่อยบ้านนาอ้อให้เป็นเมืองนครหงส์ มีเจ้าเมืองกรมการเมืองเช่นเดียวกับเมืองเลย ซึ่งจะแต่งตั้งจากผู้ร่วมมือทั้งสิ้น ก็ปรากฏว่ามีชาวบ้านหลงเชื่ออยู่ไม่กี่คน สุดท้ายกองทหารจากเมืองเลยเข้าปราบปรามไม่กี่วันฝรั่งเศสก็แตกพ่ายหนีไปทางเวียงจันทน์ ประเทศลาว (เวลานี้ยังมีซากสนามเพลาะของทหารไทยอยู่ที่บ้านโพน ห่างจากบ้านนาอ้อราว 2 กิโลเมตร)
ศึกด่านซ้ายและท่าลี่ ฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจเดินทัพเข้ายึดอำเภอด่านซ้ายในปี พ..2446 และได้นำศิลาจารึกตำนานพระธาตุศรีสองรักล่องแม่นํ้าโขง หวังว่าจะนำไปยังนครเวียงจันทน์ แต่เรือที่บรรทุกศิลาจารึกล่มที่แก่งฬ้า เขตอำเภอปากชม จังหวัดเลย ศิลาจารึกจมนํ้าหายไป (แต่ภายหลังทราบว่าในปีที่แล้งที่สุดนํ้าในแม่นํ้าโขงแห้งขอดมาก มีผู้ไปพบศิลาจารึกนี้ที่แม่นํ้าโขง และฝรั่งเศสได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ยังไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริง) ขณะนั้น พระมหาเถระชาวอำเภอด่านซ้ายผู้หนึ่งชื่อพระคูลุนแห่งวัดบ้านหนามแท่ง ตำบลด่านซ้าย พร้อมพระแก้วอาสา (กองแสง) เจ้าเมืองด่านซ้ายและเพียศรีวิเศษ ได้ขอคัดลอกไว้ก่อนที่ฝรั่งเศสจะนำไปเวียงจันทน์ แล้วเขียนลงในศิลาจารึกมีข้อความอย่างเดียวกันเวลานี้ก็ยังเก็บรักษาไว้ที่บริเวณวัดธาตุศรีสองรัก ฉะนั้น ศิลาจารึกที่เห็นอยู่ทุกวันนี้จึงเป็นศิลาจารึกฉบับคัดลอก ต่อมาในปีพ..2449 ฝรั่งเศสได้คืนเมืองด่านซ้ายให้ โดยแลกกับดินแดนเขมรที่เป็นของไทยบางส่วน ในระยะที่ฝรั่งเศสครอบครองเมืองด่านซ้าย 3 ปีเศษนั้น ไทยได้อพยพอำเภอไปตั้งที่บ้านนาขามป้อม ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย เสร็จเรื่องแล้วจึงกลับคืนไปตั้งอำเภอที่เดิม
ในระยะเวลาใกล้ ๆ กับที่ฝรั่งเศสยึดอำเภอด่านซ้ายนั้น กำลังทหารฝรั่งเศสตั้งอยู่ที่บ้านหาดแดงแม่นํ้าเหือง ได้ยกพลจะยึดอำเภอท่าลี่ เพราะเห็นว่าเคยเข้ายึดอำเภอด่านซ้ายสำเร็จอย่างง่ายดายมาแล้ว แต่คราวนี้ฝ่ายไทยหลอกล่อให้ฝรั่งเศสเดินทัพมาอย่างสะดวก พอจวนถึงที่ตั้งอำเภอก็ถูกหน่วยกล้าตายของชาวอำเภอท่าลี่ ซุ่มโจมตีถึงตะลุมบอน (ที่ตั้งโรงเรียนบ้านท่าลี่) ฝรั่งเศสประสบกับความพ่ายแพ้และนับแต่นั้นมาไม่ปรากฏฝรั่งเศสได้ข้ามแม่นํ้าเหืองมาก่อกวนอีกเลย
ผีบุญที่บ้านหนองหมากแก้ว
เมื่อปี พ..2467 ได้เกิดมีผีบุญขึ้นมาคณะหนึ่ง จำนวน 4 คน อ้างว่า คณะของตนได้รับบัญชาจากสวรรค์ให้ลงมาบำบัดทุกข์บำรุงบำรุงสุขแก่มวลมนุษย์ซึ่งยากไร้และเต็มไปด้วยกิเลส ได้กำหนดสถานที่อันบริสุทธิ์ไว้ดำเนินการเพื่อแสดงอภินิหารประกอบพิธีกรรม อบรมสั่งสอนผู้คนที่วัดบ้านหนองหมากแก้วในหมู่บ้านหนองหมากแก้ว (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ตำบลปวนพุ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย) บุคคลในคณะของผีบุญ 4 คน ต่างมีหน้าที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. นายบุญมา จัตุรัส อุปสมบทได้หลายพรรษาเดินทางมาจากจังหวัดชัยภูมิ ได้ขนานนามของตนเองเป็น พระประเสริฐ มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะ มีหน้าที่ทำนํ้ามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ใส่ตุ่มไว้ให้ผู้คนได้ดื่มกินและอาบเป็นการสะเดาะเคราะห์ แล้วทำพิธีปลุกเสกลงเลขยันต์ในตะกรุด ซึ่งใช้ตะกั่วลูกแหมาตีแผ่ออกเป็นแผ่นบาง ๆ เสร็จแล้วมัวนออกแจกจ่ายให้ผู้คนร้อยเชือกผูกสะเอวติดตัวไว้ เป็นเครื่องรางของขลังชั้นยอดของพระประเสริฐในทางคงกระพันชาตรีป้องกันผีร้าย
2. ทิดเถิก บุคคลผู้คงแก่เรียนชาวบ้านหนองหมากแก้ว ได้ขนานนามตนเองเป็น เจ้าฝ่าตีนแดงมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้า มีหน้าที่ทำผ้าประเจียดกันภัยอันทรงประสิทธิภาพเป็นมหาอุตม์แม้ปืนผาหน้าไม้ตลอดจนมีดพร้ากะท้าขวานก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรแก่ผู้ที่มีผ้าประเจียดอันทรงฤทธิ์ของเจ้าฝ่าตีนแดงได้ วิธีทำผ้าประเจียด ไม่ว่าบุคคลใดที่มีความประสงค์ก็ให้บุคคลเหล่านั้นไปจัดหาผ้าฝ้ายสีขาวขนาดกว้างยาว ด้านละหนึ่งศอกของตนมาหนึ่งผืน เมื่อมาพร้อมหน้ากันครั้นได้เวลาสานุศิษย์ก็ให้ผู้ประสงค์รอคอยอยู่ข้างล่างศาลาแล้วเรียกขึ้นไปทีละคน ผู้ที่ขึ้นไปแต่ละคนจะต้องคลานเข้าไปหาเจ้าฝ่าตีนแดงและห้ามมองหน้า เมื่อคลานเข้าไปถึงที่ที่เจ้าฝ่าตีนแดงนั่งอยู่จึงคลี่ผ้าขาวที่จะมาทำผ้าประเจียดปูออกแล้วพนมหมอบก้มหน้านิ่งจนกว่าเจ้าฝ่าตีนแดงจะทำผ้าประเจียดเสร็จ ฝ่ายเจ้าฝ่าตีนแดงเมื่อเห็นผู้ที่ประสงค์อยากได้ผ้าประเจียดได้กระทำตามกฎซึ่งตนวางไว้ด้วยความเคารพก็ลุกขึ้นยกเท้าขวาหรือซ้ายยํ่าลงไปในบม (บมคือภาชนะที่ทำด้วยไม้ มีลักษณะทรงกลมแบนและลึกคล้ายถาดซึ่งชาวอีสานใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกดีแล้ว เพื่อให้ไอนํ้าออกก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ในกระติบ) ที่มีขมิ้นกับปูนตำผสมกันไว้อย่างดี แล้วจึงยกเท้าข้างที่ยํ่าลงไปในบมเหยียบผ้าขาวก็จะปรากฏรอยเท้าของเจ้าฝ่าตีนแดงอย่างชัดเจนเป็นอันเสร็จพิธีทำผ้าประเจียดนำไปใช้ได้ทันที แต่ถ้าหากเหยียบผ้าขาวแล้วปรากฏรอยไม่ชัดเจน หรือไม่สบอารมณ์ของเจ้าฝ่าตีนแดง ผู้ที่ต้องการก็ต้องไปหาผ้าขาวมาทำใหม่จนกว่าจะได้ผ้าประเจียดชั้นดีไปไว้ใช้ต่อไป ครั้นได้ผ้าประเจียดไปแล้วจะต้องนำไปเก็บบูชาเอาไว้บนหิ้งพระ หรือเมื่อออกเดินทางจะต้องพับชายผูกคอไปเป็นเครื่องรางของขลังประจำตัวทุกครั้งจะลืมไม่ได้เป็นอันขาด
3. นายสายทอง อินทองไชยศรี ขนานนามตนเองเป็น เจ้าหน่อเลไลย์ อ้างว่า ได้รับบัญชาจากสวรรค์ให้มาปราบยุคเข็ญโดยเฉพาะ มีวาจาสิทธิ์สามารถที่จะสาปผู้ละเมิดกฎสวรรค์ให้เป็นไปตามโทษานุโทษที่ตนพิจารณาเห็นตามสมควรได้ทันที ครั้งนั้นได้เกิดมีการขโมยเกิดขึ้นในหมู่บ้านหนองหมากแก้ว แล้วจับขโมยได้ ชาวบ้านจึงควบคุมตัวไปให้เจ้าหน่อเลไลย์เป็นผู้ตัดสิน ผลของการตัดสินปรากฏว่า ขโมยได้ละเมิดกฎของสวรรค์ในข้อบังเบียดเครื่องยังชีพของมวลมนุษย์อย่างสุดที่จะอภัยให้ได้ โทษที่ขโมยพึงได้รับในครั้งนี้ก็คือ ต้องถูกสาปให้ธรณีสูบลงไปทั้งเป็น ครั้นได้พิพากษาโทษให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้เห็นทั่วไปแล้ว พิธีสาปก็เริ่มขึ้นโดยเจ้าหน่อเลไลย์มีบัญชาให้สานุศิษย์ขุดหลุมขนาดพอฝังศพได้ในสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ ครั้นแล้วให้ไปนำตัวขโมยซึ่งได้ผูกมัดข้อมือเอาไว้อย่างแน่นหนา พาไปยืนที่ปากหลุม แล้วเจ้าหน่อเลไลย์ก็เริ่มอ่านโองการอัญเชิญเทวทูตให้ลงมาจากสรวง-สวรรค์ มาเป็นสักขีพยานในการที่ตนได้ดำเนินการสาปให้ขโมยต้องถูกธรณีสูบลงไปทั้งเป็นตามโทษานุโทษ พอเจ้าหน่อเลไลย์กล่าวคำสาปสิ้นสุดลงก็บัญชาให้สานุศิษย์ผลักขโมยลงไปในหลุม พร้อมกับช่วยกันรีบขุดคุ้ยโกยดินลงกลบฝังขโมยที่ต้องคำสาปให้ธรณีสูบลงไปทั้งเป็น ท่ามกลางความตกตะลึงพรึงเพริดสยดสยองของผู้คนที่ไปร่วมชมพิธีกรรมเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคณะผีบุญคล้อยหลังลับไป บรรดาญาติพี่น้องของขโมยก็รีบพากันขุดคุ้ยโกยดินนำขโมยที่ถูกฝังทั้งเป็นอาการร่อแร่ปางตายขึ้นมาปฐมพยาบาล แล้วรีบพากันอพยพหลบหนีบัญชาจากสวรรค์ของคณะผีบุญไปในคืนนั้นทันที และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นผลให้ไม่มีการลักขโมยใด ๆ เกิดขึ้นในหมู่บ้านหนองหมากแก้วต่อไปอีกเลย ทั้งนี้ ด้วยทุกคนได้ประจักษ์แก่ตาในประกาศิตจากสวรรค์ของเจ้าหน่อเลไลย์เป็นอย่างยิ่ง
4. นายก้อนทอง พลซา ชาวบ้านวังสะพุงซึ่งเป็นบุคคลที่ 4 ขณะนั้นรับราชการในหน้าที่สารวัตร อำเภอวังสะพุง ได้ไปพบเห็นพิธีการต่าง ๆ ของคณะผีบุญจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จนถึงกับได้ขออนุญาตลาบวชจากทางราชการมีกำหนด 10 วัน ในระหว่างที่ทางราชการได้อนุญาตให้ลาบวชได้ นายก้อนทอง ฯ ได้ถือโอกาสหลบไปสมทบกับคณะผีบุญที่บ้านหนองหมากแก้ว แล้วก็รีบทำความเพียรแต่ยังไม่ทันจะได้รับความสำเร็จจนถึงขั้นได้รับการขนานนาม ก็มาถูกทางบ้านเมืองเข้าทำการปราบปรามและจับตัวได้เสียก่อน
คณะผีบุญซึ่งถือว่าตนเป็นผู้วิเศษได้กำหนดพิธีกรรมให้ชาวบ้านปฏิบัติ โดยถือเอาศาลาการเปรียญวัดบ้านหนองหมากแก้วเป็นศูนย์กลางทุกวันในเวลาเช้าและเย็น ชาวบ้านทุกคนจะต้องมาร่วมเข้าพิธีสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำขาดไม่ได้ และในเวลากลางคืนทุกคืน บรรดาสาว ๆ หรือภรรยาของผู้ใดก็ตามที่มีใบหน้าและรูปร่างสวยงาม จะต้องอาบนํ้าแต่งตัวให้สะอาดสดสวย แล้วนำพวงมาลัยดอกไม้สดและนํ้าหอมผลัดกันเข้าไปมอบให้คณะผีบุญ ต่อจากนั้นก็จะเริ่มพิธีฟ้อนรำบวงสรวงเวียนพรมนํ้าอบนํ้าหอมไปรอบๆ ตัวของผีบุญ หากผีบุญเกิดพึงพอใจอิสตรีนางใดในวงฟ้อนบวงสรวง ก็จะใช้พวงมาลัยดอกไม้สดเกี่ยวปลายไม้แล้วยื่นไปคล้องคอเอาไว้ เป็นเครื่องหมายให้ทุกคนได้ทราบว่า อิสตรีนางนั้นได้รับโปรดปรานจากผีบุญเป็นพิเศษ และนับเป็นวาสนาเป็นอย่างยิ่งที่ในคืนนั้นจะต้องเข้าเวรปรนนิบัติ ปรากฏว่าบรรดาสาวและไม่สาวต่างแย่งกันปรนนิบัติผีบุญเหล่านี้เป็นพิเศษทุกคืน คณะผีบุญชุดนี้ได้บัญญัติกฎข้อบังคับเอาไว้ 3 ประการ ที่ชาวบ้านจะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะหลงลืมไม่ได้นั้น มีดังต่อไปนี้
1. จะต้องสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำทุกเช้าเย็น ขาดไม่ได้
2. จะต้องฟ้อนรำบวงสรวงคณะผู้มีบุญเป็นประจำทุกคืน ขาดไม่ได้
3. จะต้องหมั่นทำบุญให้ทานอยู่เป็นนิจ และจะต้องรำลึกถึงพระคุณของบิดา-มารดาอยู่เสมอทั้งนี้ในการเรียกพ่อแม่ดังที่เคยเรียกกันมาเฉย ๆ นั้นเป็นการไม่เคารพ จะต้องพากันเรียกเสียใหม่ว่า คุณพ่อคุณแม่ ด้วยพิธีกรรมที่คณะผีบุญได้นำชาวบ้านปฏิบัติต่อเนื่องกันมามิได้ขาด ครั้นนานวันเข้า กิตติศัพท์ก็ได้เลื่องลือไปไกล ทำให้มีผู้คนสนใจหลั่งไหลเข้าไปอย่างมากมาย บ้างที่สนใจเครื่องรางของขลัง ก็ต้องตระเตรียมสิ่งของเข้าไปจัดทำเอง อาทิเช่นต้องการตะกรุดก็ต้องหาตะกั่วลูกแหไปหลอมแล้วตีแผ่ออกให้พระประเสริฐทำตะกรุด ที่ป่วยเจ็บได้ไข้ก็ไปอาบนํ้ามนต์สะเดาะเคราะห์ ที่ต้องการผ้าประเจียดก็ต้องหาผ้าฝ้ายสีขาวไปให้เจ้าฝ่าตีนแดง ครั้นคณะผีบุญได้พบผู้คนมากหน้าหลายตาและเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น เลยเกิดความเคลิบเคลิ้มหลงตนลืมตัว หนักเข้าเลยพากันริอ่านหันไปทางการบ้านการเมือง ฝันเฟื่องที่จะเป็นเจ้าเข้าครองแผ่นดิน โดยประกาศอย่างอหังการว่า จะยกกำลังเข้าตีเอาเมืองเลยได้แล้วจึงจะยกกำลังเลยไปตีเอาเมืองเวียงจันทน์ เพื่อตั้งตนเป็นเอกราช เมื่อได้ประกาศเจตนารมณ์แล้วก็เรียกอาสาสมัครมาทำการคัดเลือก ด้วยมีความเชื่อมั่นว่าตนได้รับบัญชามาจากสวรรค์ ไม่ต้องมีผู้คนมากก็สามารถที่จะกระทำการใหญ่ได้ เมื่อเลือกผู้คนรวมได้ 23 คน พร้อมด้วยปืนแก๊บ 1 กระบอก ปืนคาบศิลา 2 กระบอก พร้อมด้วยหอกดาบแหลนหลาวครบครัน ครั้นได้ฤกษ์พิชัยสงคราม คณะผีบุญก็ยกพลจำนวน 23 คน ออกเดินทางจากบ้านหนองหมากแก้วแล้วมุ่งหน้าขึ้นสู่ทิศเหนืออ้อมผ่านหมู่บ้านนาหลักแล้วไปตั้งมั่นอยู่ริมลำห้วยทางด้านทิศเหนือของอำเภอวังสะพุง (บริเวณหมู่บ้านห้วยอีเลิศ ห่างจากที่ตั้งอำเภอวังสะพุง ประมาณ 3 กม.)
ระหว่างนั้น หลวงพิศาลสารกิจ นายอำเภอวังสะพุงได้ติดตามความเคลื่อนไหวของคณะผีบุญโดยส่งนายบุญเลิศ เหตุเกตุ สารวัตรศึกษา (อดีตกำนันตำบลวังสะพุง ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่) ออกไปสอดแนมพฤติการณ์ดูความเหิมเกริมของคณะผีบุญอย่างใกล้ชิดแทบจะเอาชีวิตไม่รอดก็หลายครั้ง แล้วให้ทำรายงานเข้ามายังอำเภอทุกระยะ หลวงพิศาลสารกิจได้ทำรายงานความเคลื่อนไหวของคณะผีบุญเข้าจังหวัดทุกระยะ ซึ่งในขณะนั้นกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำอยู่ในตัวจังหวัดเลยมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้คนที่เข้าไปกราบไหว้คณะผีบุญ ดังนั้น ทางจังหวัดเลยจึงได้ทำรายงานไปยังกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี พร้อมกันนั้นก็ได้รายงานขอกำลังไปยังฝ่ายทหารที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคมอีกด้วย ถ้าหากว่ากำลังทางฝ่ายตำรวจที่อุดรมีไม่เพียงพอ ขณะนัน พ...พระปราบภัยพาล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานีในสมัยนั้น ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรีบรุดมาจากจังหวัดอุดรธานีเข้าสมทบกับกำลังของจังหวัดเลย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของอำเภอวังสะพุง รีบวางแผนปราบปรามโดยด่วน ครั้นได้ทราบกำลังของคณะผีบุญพร้อมด้วยอาวุธจากนายบุญเลิศ เหตุเกตุ เป็นที่แน่นอนแล้ว กองกำลังตำรวจจากอุดรร่วมกับจังหวัดเลยและเจ้าหน้าที่อำเภอวังสะพุงก็เคลื่อนเข้าโอบล้อมคณะผีบุญทุกทิศทุกทาง ได้มีการปะทะกันเพียงเล็กน้อย คณะผีบุญก็แตกกระจัดกระจายจับผีบุญได้ทั้งคณะ แล้วควบคุมตัวขึ้นส่งฟ้องศาลฐานก่อการจลาจลสอบถามได้ความว่า พวกเขาทั้ง 4 คนที่ตั้งตนเป็นผีบุญ เกิดความเคลิบเคลิ้มหลงใหลในนิยายพื้นเมืองของชาวอีสานเรื่อง สังข์ศิลปชัย และจำปาสี่ต้น จนหลงตนลืมตัวไป ส่วนความรู้สึกที่แท้จริงนั้น ยังมีความรักในถิ่นฐานหาได้มีความคิดเป็นกบฏต่อแผ่นดินกำเนิดก็หาไม่ คณะตุลาการได้รับฟังเรื่องราวจากผู้ที่ได้ตั้งตนเป็นผีบุญทั้ง 4 คน ได้เกิดความเห็นใจ จึงพิพากษาให้จำคุกผีบุญทั้ง 4 คน คนละ 3 ปี ส่วนบริวารให้ปล่อยตัวไป
การตั้งเมืองเลย
เมื่อ พ..2396 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าผู้คนในแขวงนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ก่อน สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาท้ายนํ้าออกมาสำรวจเขตแขวงต่าง ๆ แล้วได้พิจารณาเห็นว่า หมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยนํ้าหมานและอยู่ใกล้กับแม่นํ้าเลย มีภูมิประเทศที่เหมาะสมแก่การสร้างป้อมด้วย เพราะมีภูเขาล้อมรอบและพลเมืองหนาแน่น พอจะตั้งเป็นเมืองได้ จึงนำความขึ้นถวายบังคมทูลเพื่อทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมือง เรียกชื่อตามนามของแม่นํ้าเลยว่า "เมืองเลย"
ต่อมา พ..2440 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร..116 ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากเดิมมาเป็นแบบเทศาภิบาล โดยแบ่งเป็นมณฑลเมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เมืองเลยจึงแบ่งการปกครองอีกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งตัวเมืองเรียกชื่อว่า "อำเภอกุดป่อง" ต่อมาใน พ..2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น "บริเวณลำนํ้าเลย" ใน พ..2449-2450 ได้เปลี่ยนชื่อบริเวณลำนํ้าเลย เป็นบริเวณลำนํ้าเหือง และใน พ..2450 จึงได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม 2450 ยกเลิกบริเวณลำนํ้าเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลยด้วย
สำหรับอำเภอกุดป่อง ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวเมืองเลยนั้น เรียกตามตำบลซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอในครั้งนั้น เหตุที่เรียกตำบลแห่งนี้ว่า "กุดป่อง" ก็เนื่องจากมีหนองนํ้าอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองเลย ปัจจุบันนี้เกิดจากการเปลี่ยนทางเดินของแม่นํ้าเลย มีลักษณะเป็นลำห้วยมีรูปโค้งเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก มีปากนํ้าแยกออกจากลำแม่นํ้าเลยทั้งสองด้าน มีนํ้าขังอยู่ตลอดปี ตรงกลางเป็นเกาะมีเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเมืองเลย ศาลาเทศบาลเมืองเลย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเลย
การจัดรูปการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การจัดรูปการปกครองก่อนจัดระบบมณฑลเทศาภิบาล
ใช้วิธีซึ่งเรียกในกฎหมายเก่าว่า "กินเมือง" อันเป็นแบบเดิม คำว่า "กินเมือง" มาถึงชั้นหลังเรียกเปลี่ยนเป็น "ว่าราชการเมือง" ส่วนคำว่า "กินเมือง" ก็ยังใช้กันในคำพูดอยู่บ้าง วิธีการปกครองที่เรียกว่า "กินเมือง" นั้น หลักเดิมมาคงถือว่าผู้เป็นเจ้าเมืองต้องทิ้งกิจธุระของตนมาประจำทำการปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภยันตราย ราษฎรก็ต้องตอบแทนคุณเจ้าเมืองด้วยการออกแรงช่วยทำงานให้บ้าง หรือแบ่งสิ่งของซึ่งทำมาหาได้ เช่น ข้าวปลาอาหาร เป็นต้น อันมีเหลือใช้มอบให้เจ้าเมืองคนละเล็กละน้อย ทำให้เจ้าเมืองดำรงตนอยู่ได้โดยรัฐบาลในราชธานีไม่ต้องรับภาระ จึงให้ค่าธรรมเนียมในการต่าง ๆ แทนตัวเงินสำหรับใช้สอย กรมการซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองก็ได้รับผลประโยชน์ทำนองเดียวกันเป็นแต่ลดลงตามศักดิ์ ต่อมาบ้านเมืองเปลี่ยนแปลง ทำให้การเลี้ยงชีพต้องอาศัยเงินตรามากขึ้น ผลประโยชน์ที่เจ้าเมืองกรมการได้รับอย่างโบราณไม่พอเลี้ยงชีพ จึงมีการหาผลประโยชน์เพิ่มพูนอย่างอื่น เช่น ทำไร่นา ค้าขาย เป็นต้น
การเป็นเจ้าเมืองก็มักจะมีการสืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลที่เคยเป็นเจ้าเมือง หรือเคยรับราชการงานเมืองมาแล้ว เช่น อาจเป็นบุตรชายเจ้าเมืองหรือถ้าไม่มีบุตรชายก็อาจให้บุตรเขยผู้ซึ่งเห็นว่ามีความรู้ความสามารถพอปกครองบ้านเมืองได้ ทำหน้าที่เจ้าเมืองแทน การแต่งตั้งเจ้าเมืองสำหรับเมืองเอก คงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส่วนเมืองเล็ก ๆ กรมการเมืองคงมีใบบอกหัวเมืองเอก และด้วยความเห็นชอบของเจ้าเมืองเอก สำหรับที่ทำการเจ้าเมืองก็เอาบ้านเรือนเป็นที่ว่าราชการด้วย บ้านเจ้าเมืองนิยมเรียกว่า "จวน" และมีศาลาโถงปลูกไว้หน้าบ้านหลังหนึ่งเรียกว่า " ศาลากลาง" สำหรับประชุมปรึกษาราชการ เป็นศาลาสำหรับชำระความหรือตัดสินความ ทั้งจวนและศาลากลางนี้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวรวมทั้งที่ดินก็เป็นของส่วนตัวด้วย เมื่อสิ้นสมัย เจ้าเมืองคนหนึ่งอาจเป็นด้วยเจ้าเมืองถึงแก่อนิจกรรมหรือเปลี่ยนเจ้าเมือง "จวน" เจ้าเมืองและศาลากลางเดิมก็ตกเป็นมรดกแก่ลูกหลาน ใครได้เป็นเจ้าเมืองคนใหม่ถ้ามิได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้าเมืองเก่า ก็ต้องหาที่สร้างจวนและศาลากลางใหม่ตามลำดับที่จะสร้างได้ บางทีก็สร้างห่างไกลจากที่เดิม แม้จนต่างตำบลก็มี จวนเจ้าเมืองไปอยู่ที่ไหนก็ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ใหม่ ตามสมัยของเจ้าเมืองคนนั้น ส่วนกรมการนั้นเพราะมักเป็นคหบดีในเมืองนั้น ซึ่งเมื่อตั้งบ้านเรือนอยู่ไหนก็คงอยู่ที่นั่น เป็นแต่เวลามีการงานจะต้องทำตามหน้าที่ จวนเจ้าเมืองอยู่ไหนก็ไปฟังคำสั่งที่นั่น บางคนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลก็มี โดยถือหลักเห็นเป็นผู้เหมาะสมที่จะรักษาสันติสุขของท้องถิ่นนั้นเป็นสำคัญ และมุ่งให้ประชาชน "อยู่เย็นเป็นสุข" ปราศจากภัยต่าง ๆ เช่นโจรผู้ร้าย ปราบปรามนักการพนัน การเสพของมึนเมาเป็นสำคัญ มิได้พัฒนาด้านต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าเหมือนในการดำเนินการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การบริหารงานปกครองสำหรับเมืองเล็กมิได้เป็นประเทศราช เช่น จังหวัดเลย คงมีการปกครองท้องถิ่นเป็นของตนเอง ในแต่ละเมืองจะมีเจ้าเมืองปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่สืบตระกูลกันเรื่อยมาดังกล่าวข้างต้น อำนาจการปกครองมีอย่างเต็มที่ตั้งแต่ระดับสูงสุดถึงระดับตํ่าสุด และเนื่องจากเขตจังหวัดเลยอยู่ใกล้ชิดกับลาวมาก การจัดการปกครองบ้านเมืองบางอย่างคงได้รับอิทธิพลลาวอยู่มาก การบริหารบ้านเมืองได้แบ่งทำเนียบข้าราชการออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ตำแหน่งอาชญาสี่ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาสูงสุดของเมือง มี 4 ตำแหน่ง คือ เจ้าเมือง เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในกิจการบ้านเมืองทั้งปวง
อุปฮาด ทำการแทนเจ้าเมืองในกรณีเจ้าเมืองไม่อยู่หรือไม่สามารถว่าราชการ ได้ และช่วยราชการทั่วไป
ราชวงศ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับอรรถคดี ตัดสินชำระความ และการปกครอง
ราชบุตร มีหน้าที่ควบคุมเก็บรักษาผลประโยชน์ของเมือง
(เกี่ยวกับตำแหน่งรองเจ้าเมือง คืออุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตรนี้ มีหลักฐานพอสืบได้จากคนเฒ่าคนแก่ ปรากฏให้ทราบว่าการปกครองสมัยก่อน จัดระบอบมณฑลเทศาภิบาล เช่น ในสมัยพระแก้วอาสา (กองแสง) ปกครองเมืองด่านซ้ายก็ดี และพระยาศรีอัครฮาด (ทองดี) ปกครองเมืองเชียงคานก็ดี มีตำแหน่งรองเจ้าเมืองดังกล่าว คือ อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร อยู่ด้วย)
2. ตำแหน่งผู้ช่วยอาชญาสี่ ได้แก่ตำแหน่งท้าวสุริยะ ท้าวสุริโย ท้าวโพธิสาร และท้าวสุทธิสารมีหน้าที่ในการพิจารณาคดีพิพากษาและการปกครองแผนกต่าง ๆ ของเมือง
3. ตำแหน่งขื่อบ้านขางเมือง มีทั้งหมด 17 ตำแหน่ง เช่น เมืองแสน กำกับฝ่ายทหารเมืองจันทน์ กำกับฝ่ายพลเรือน เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง มีหน้าที่ดูแลการพัสดุต่าง ๆ เช่น การปฏิสังขรณ์จัดและกำกับการสักเลก เป็นต้น
4. ตำแหน่งเพียหรือเพี้ย เป็นองครักษ์เจ้าเมือง เป็นพนักงานติดตามเจ้าเมือง
เป็นต้น
5. ตำแหน่งประจาหมู่บ้าน มี 4 ตำแหน่ง ได้แก่ท้าวฝ้าย ตาแสง นายบ้าน และจ่าเมืองเทียบได้กับตำแหน่งทางปกครองในปัจจุบันคือ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสารวัตรหมู่บ้านตามลำดับ
สำหรับตำแหน่งขื่อบ้านขางเมือง 17 ตำแหน่ง ดูชื่อแล้วคล้ายกับตำแหน่งข้าเฝ้า เมื่อมีวิญญาณเจ้าเข้าทรงเกี่ยวกับศาลเทพารักษ์ หรืออาฮักหลักเมืองของเมืองด่านซ้ายมาก ตำแหน่งข้าเฝ้าดังกล่าว มีถึง 19 ตำแหน่ง โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง ข้าเฝ้าฝ่ายเจ้าเมืองจัง คือ "เจ้ากวน" (ผู้ชายซึ่งมีหน้าที่ให้วิญญาณเจ้าเข้าทรง) มี 10 คน ได้แก่ แสนด่าน แสนหอม แสนฮอง แสนหนูรินทร์ แสนศรีสองฮัก แสนตางใจ แสนกลาง แสนศรีฮักษา แสนศรีสมบัติ และแสนกำกับ ข้าเฝ้าฝ่ายเจ้าเมืองกลาง คือ "นางเทียม" (ผู้หญิงซึ่งมีหน้าที่ให้วิญญาณเจ้าเข้าทรง) มี 9 คน ได้แก่ แสนเขื่อน แสนคำบุญยอ แสนจันทน์ แสนแก้วอุ่นเมือง แสนบัวโฮม แสนกลางโฮง แสนสุข เมืองแสน และเมืองจันทน์ ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้อาจเป็นตำแหน่งผู้มีหน้าที่ต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการบ้านเมืองในสมัยโบราณก็ได้ แต่ไม่ทราบว่าผู้ใดมีหน้าที่อะไรแน่ชัด ที่พอทราบก็มีแสนด่าน และแสนเขื่อน เป็นหัวหน้าของแสนแต่ละฝ่ายเท่านั้น แม้ในทุกวันนี้การเข้าทรงก็ดี ตำแหน่งเจ้ากวนนางเทียม และแสนต่าง ๆ ก็ดีที่อำเภอด่านซ้าย ก็ยังคงมีอยู่เช่นสมัยก่อน
ในแต่ละเมืองจะมีอำนาจเต็มที่ในการปกครอง การศาลและการเก็บส่วยสาอากร เช่น ในด้านการศาล คงให้มีการชำระความกันเอง โดยเจ้าเมืองและกรมการเมืองทำหน้าที่ลูกขุนพิจารณาคดี ส่วนการเก็บภาษีอากรก็คงให้อยู่ในอำนาจของแต่ละเมือง สำหรับเมืองซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเมืองเล็กจะขึ้นตรงต่อเมืองเอก หรือเมืองใหญ่อีกต่อหนึ่ง การส่วยสาอากรก็ต้องส่งต่อเมืองเอกทุกปี และเจ้าเมืองตลอดข้าราชการมีการทำพิธีรับพระราช่ทานนํ้าพิพัฒน์สัตยาปีละ 2 ครั้ง หรือปีละครั้งเป็นอย่างน้อย
การจัดรูปการปกครองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล
ลักษณะการเทศาภิบาล เป็นการปกครองซึ่งเปลี่ยนแปลงให้มีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วย ตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลในพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดำเนินการในส่วนภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความ ร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงแบ่งส่วนการปกครองแว่นแคว้นออกโดยลำดับชั้น เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัด เป็นแผนกพนักงาน ทำนองการแบ่งงานของกระทรวงในราชการ อันเป็นวิถีนำมาซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวดเร็วและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระงับทุกข์บำรุงสุขด้วยความเที่ยงธรรมแก่อาณาประชาชนและได้มีการแก้ไขลักษณะปกครอง ให้เป็นไปตามพระราช-บัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร..116 นั่นคือ ให้ตั้งทำเนียบข้าราชการเสียใหม่ ยกเลิกตำแหน่งทางการปกครอง คือ อาชญาสี่ ได้แก่ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ในตอนแรกคงใช้แบบเดิมอยู่ ต่อมาจึงค่อยยุบเลิกหมดใน พ..2450 โดยให้เรียกใหม่เป็น ผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมืองตามลำดับแทน ตำแหน่งอื่น ๆ ก็ได้ปรับปรุงให้เหมาะสมด้วย สำหรับส่วนราชการตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลแบ่งออกดังต่อไปนี้
มณฑล คือรวมเขตจังหวัดตั้งแต่สองจังหวัดขึ้นไป มากบ้างน้อยบ้าง สุดแต่ให้ความสะดวกในการปกครอง ตรวจตราบัญชาการของสมุหเทศาภิบาล จัดเป็นมณฑลหนึ่ง มีข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้บัญชาการเป็นประธานข้าราชการมณฑลหนึ่ง นอกจากตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล ยังมีข้าหลวงรอง เป็นเจ้าหน้าที่แผนกการต่าง ๆ ของมณฑล และมีข้าราชการเจ้าพนักงานสำหรับช่วยปฏิบัติราช-การตามสมควรแก่หน้าที่ สมุหเทศาภิบาลมีอำนาจหน้าที่ปกครองบัญชาการและตรวจตราภาวะการณ์ทั้งปวง และราชการในมณฑล ซึ่งมีบทบัญญัติของรัฐบาลมอบให้เป็นหน้าที่ของเทศาภิบาล รับข้อเสนอและสั่งราชการแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด อันเป็นผลสำเร็จเร็วกว่าที่จังหวัดจะบอกเข้ามายังกระทรวง และคอยฟังคำสั่งจากกรุงเทพ ฯ ดังแต่ก่อน นับเป็นผลดีแก่ทางราชการและประชาชน
จังหวัด แต่ก่อนเรียกว่า "เมือง" รวมเขตอำเภอ (เมือง) ตั้งแต่สองอำเภอ (เมือง) ขึ้นไป ถึงหลายอำเภอ (เมือง) ก็มี จัดเป็นจังหวัดหนึ่ง รองถัดจากมณฑลลงมาให้มีอาณาเขตพอควรแก่ความเจริญและความสะดวกในการตรวจตราปกครองจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีข้าราชการผู้ใหญ่ เป็นตำแหน่งผู้ว่า-ราชการเมือง เรียกว่า "ข้าหลวงประจำจังหวัด" และต่อมาเรียกว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัด" เป็นหัวหน้าและมีกรมการจังหวัดคณะหนึ่งช่วยบริหารราชการ
อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เป็นส่วนรองถัดจากจังหวัดลงมาโดยลำดับชั้นทั้งท้องที่และเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปกครองใกล้ชิดกับประชาราษฎร ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอหนึ่งมีนายอำเภอเป็นหัวหน้า กิ่งอำเภอมีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ตำบลและหมู่บ้านมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าปกครองดูแลตามลำดับ
การตั้งมณฑลเทศาภิบาล
มณฑลที่ตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ..2435 คือก่อน พ..2437 มี 6 มณฑล ได้แก่มณฑลลาวเฉียง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอุดร (เมืองเลยขึ้นอยู่ในเขตมณฑลนี้) มณฑลลาวกาว ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน มณฑลเขมร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลบูรพา มณฑลลาวกลาง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลนครราชสีมา และมณฑลภูเก็ต มณฑลที่ตั้งครั้งแรกนี้ยังมิได้จัดเป็นลักษณะเทศาภิบาล
..2437 ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ 4 มณฑล คือมณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีน มณฑลราชบุรี และมณฑลนครราชสีมา
..2438 ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นใหม่ 3 มณฑล และแก้ไขให้เป็นลักษณะเทศาภิบาล 1 มณฑล รวม 4 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และมณฑลภูเก็ต
..2439 ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นใหม่ 2 มณฑล และแก้ไขให้เป็นลักษณะเทศาภิบาล 1 มณฑล รวม 3 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร และมณฑลบูรพา
..2440 ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นใหม่ 1 มณฑล คือ มณฑลไทรบุรี
..2442 ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นใหม่ 1 มณฑล คือ มณฑลเพชรบูรณ์
..2443 ได้แก้ไขการปกครองมณฑลที่มีอยู่ก่อน พ..2436 ให้เป็นลักษณะเทศาภิบาล 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอีสาน (เคยเรียกว่ามณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ) และมณฑลอุดร (แบ่งเมืองออกเป็นบริเวณซึ่งมีบริเวณนํ้าเหืองตั้งบริเวณที่เมืองเลย รวมอยู่ด้วย)
..2449 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์
..2449 ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลจันทบุรี และมณฑลปัตตานี
..2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
..2451 จำนวนมณฑลลดลง 1 มณฑล เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ
..2455 แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
..2458 จัดตั้งมณฑลขึ้นอีก 1 มณฑล คือ มณฑลมหาราษฎร์
ในรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนมณฑลกรุงเทฯ เป็นกรุงเทพมหานคร (มณฑลกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้ตั้งขึ้นเมื่อ พ..2438)
มณฑลทั้งหมดในราชอาณาจักรครั้งนั้น มีทั้งสิ้น 21 มณฑลด้วยกัน
เมื่อได้มีการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแล้ว ต่อมาก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการปกครองให้เป็นลักษณะเทศาภิบาลขึ้นดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การปกครองดำเนินไปอย่างมีระเบียบและเกิดคุณประโยชน์แก่ประชาชนและบ้านเมืองมากขึ้น การปกครองจึงใช้แบบเก่าของไทยเป็นหลัก คือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และวิธีการแบบใหม่ควบคู่ไปด้วย ได้ออกประกาศตักเตือนให้ราษฎรปฏิบัติตามแบบอย่างทางราชการ โดยให้ถือเป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
. ประกาศให้ราษฎรเสียเงินค่าราชการประจำปี
. ประกาศให้ราษฎรเมื่อมีคดีขึ้น ให้ฟ้องร้องต่อศาลที่ตั้งขึ้นในแต่ละท้องที่ เช่น ศาลหมู่บ้าน ศาลอำเภอ ศาลเมือง และศาลข้าหลวง เป็นต้น
. ประกาศให้ราษฎรเข้ารับราชการทหาร
. ประกาศให้ราษฎรเลิกเล่นการพนันเลิกสูบฝิ่นและเลิกหลงเชื่อในสิ่งที่ผิด เช่น เลิกสักตามร่างกาย เป็นต้น
. ประกาศให้ราษฎรใช้หัวแม่มือแตะเอกสารแทนการเขียนรูปร่าง ๆ ลงท้ายเอกสารเช่นแต่ก่อน

แต่เนื่องจากความเคยชินของราษฎรที่ปฏิบัติตามประเพณีที่เชื่อถือกันมาแต่เดิม จึงยังไม่เห็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและประเทศชาติ เพราะขาดสิ่งที่จะให้ราษฎรเปลี่ยนความคิด คือการให้การศึกษาแก่ราษฎร ประกาศดังกล่าวจึงไม่ค่อยได้ผลนัก
นอกจากนี้ยังประกาศเตือนให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมาย หรือตามความต้องการของทางราชการอื่น ๆ มีการปรับปรุงการศึกษา โดยให้ผู้ชายมีอายุพอสมควร ได้บวชเรียนได้จัดให้ราษฎรเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่ทางราชการจัดขึ้น จัดตั้งศาลให้แน่นอน การเก็บภาษีให้รัดกุมไม่รั่วไหล จัดเส้นทางคมนาคม ได้แก่ ถนนทางเกวียนและสะพานให้สะดวก ตลอดจนการสื่อสาร เป็นต้น
การปกครองตามเมืองต่าง ๆ นอกจากมีผู้ว่าราชการเมืองแล้ว ยังมีข้าหลวงกำกับอีกด้วย ข้าหลวงที่ได้รับแต่งตั้งได้มอบหน้าที่ให้ไปจัดการเก็บภาษีอากรสุรา ภาษีต่าง ๆ และพิจารณาตัดสินแก้ปัญหาเรื่องเขตเมือง มีการยกฐานะการครองชีพของราษฎร โดยส่งเสริมการทำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การเก็บภาษีอากร เมื่อเก็บได้นอกจากนำเข้ารัฐแล้ว ยังแบ่งผลประโยชน์ให้ผู้ว่าราชการเมือง และข้าหลวง ตลอดจนกรมการอีกด้วย
ต่อมาทางราชการได้พิจารณาปรับปรุงในด้านต่าง ๆ เช่น การเก็บผลประโยชน์การทหาร การศาล การคมนาคมสื่อสาร และการศึกษา เป็นต้น ซึ่งช่วยให้การปรับปรุงการปกครองในส่วนโครงสร้างได้ผลดียิ่งขึ้น อันเป็นการปรับปรุงขั้นพื้นฐานเป็นผลให้ราษฎรได้เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ได้รับความสะดวก ความยุติธรรม ความสงบสุขมากขึ้นตามลำดับ
แผนภูมิการบริหารการปกครองหลังจากประกาศใช้ พ...
ลักษณะปกครองท้องที่ ร..116

ลำดับการบังคับบัญชา
ชื่อตำแหน่งก่อนใช้
..
ลักษณะปกครองท้องที่ รศ.116
ชื่อตำแหน่งภายหลังใช้ พ..
ลักษณะปกครองท้องที่ รศ. 116
กระทรวงมหาดไทย
มณฑล
เมือง
อำเภอ
ตำบล
หมู่บ้าน
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ข้าหลวงต่างพระองค์
เจ้าเมือง
ท้าวฝ่าย
ตาแสง
พ่อบ้านหรือนายบ้าน
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ข้าหลวงต่างพระองค์
ผู้ว่าราชการเมือง
นายอำเภอ
กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน
นายอำเภอเป็นผู้บริหาร โดยมีคณะกรมการอำเภอเป็นที่ปรึกษา และในเขตอำเภอหนึ่ง ๆ ยังแบ่งเขตปกครองออกเป็นตำบลและหมู่บ้านโดยมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าปกครองตามลำดับ
นอกจากนี้ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ยังกำหนดให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานให้กับท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นเจริญก้าวหน้าและเป็นการฝึกประชาชนให้เข้าใจหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วย โดยแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 4 รูป คือ
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. เทศบาล
3. สุขาภิบาล
4. องค์การบริหารส่วนตำบล

ปัจจุบันจังหวัดเลย แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 72 ตำบล และ 622 หมู่บ้าน และมีการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 1 แห่ง และสุขาภิบาล 6 แห่ง

No comments:

Post a Comment