จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ย,ร)

ประวัติศาสตร์จังหวัดยะลา
ตราประจำจังหวัด
รูปคนงานทำเหมืองดีบุก
คำขวัญประจำจังหวัด
ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน


 สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา-สมัยธนบุรี
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาในปัจจุบันนี้ แต่เดิมจะเป็นท้องที่บริเวณหนึ่งในเมืองปัตตานียังไม่ได้แยกออกมาเป็นเมือง ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงเรื่องราวเบื้องต้นที่เกี่ยวกับเมืองปัตตานี
เมืองปัตตานีมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยตลอดจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น โดย นายโทเม ปิเรส (TOME PIRES) ชาวโปรตุเกสผู้เข้ามาอยู่ในมะละกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 21 ได้บันทึกว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (.. 1913-1931) พระองค์ทรงได้ธิดาของมุขมนตรีแห่งปัตตานีคนหนึ่งเป็นพระสนม  ในฐานะเมืองประเทศราช ปัตตานีมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายทุก 3 ปี ซึ่งในข้อนี้ ลาลูแบร์ (LA LOUBERE) อัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งมากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (.. 2199-2231) ได้ยืนยันว่าปัตตานีต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองอย่างละต้น เข้ามาถวายพระมหากษัตริย์ไทยทุกสามปี ปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของไทยเรื่อยมาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.. 2310 ปัตตานีจึงตั้งตนเป็นอิสระ
ในสมัยธนบุรี (.. 2310-2325) ปัตตานีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อไประยะหนึ่ง จนถึงปลายสมัยธนบุรีซึ่งเกิดความวุ่นวายภายใน ปัตตานีจึงเป็นอิสระอีก
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (.. 2325-2352) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองปัตตานี โดยให้เมืองสงขลาเป็นผู้ควบคุมดูแลเมืองปัตตานี (แต่เดิมเมืองปัตตานีอยู่ในความดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช) นอกจากนี้ได้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง คือ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา รามัน ระแงะ และหนองจิก จึงนับว่าเมืองยะลาได้แยกมาตั้งเป็นเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ใน พ.. 23342
เมืองยะลาเมื่อแยกออกจากเมืองปัตตานีแล้วมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองหนองจิก
ทิศใต้ ตั้งแต่เขาปะวาหะมะ ไปทางทิศตะวันออก ถึงเขาปะฆะหลอ สะเตาะเหนือ บ้านจินแหร จนถึงคลองท่าสาป จดบ้านบันนังสตา  

ทิศตะวันออก ติดต่อกับเมืองยะหริ่ง ตั้งแต่หมู่บ้านโหละเปาะยาหมิง มีสายน้ำยาวไปจดคลองท่าสาป
ทิศตะวันตก ติดต่อเมืองไทรบุรี มีคลองบ้านบาโงย แขวงเมืองเทพา เป็นเขตขึ้นไปจนถึงบ้านยินงต่อไปจนถึงบ้านเหมาะเหลาะ
ส่วนเจ้าเมืองที่ปกครองเมืองยะลานั้น ปรากฏหลักฐานว่าก่อน พ.. 2360 มีต่วนยะลา เป็นพระยายะลา โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านยะลา ซึ่งนับว่าเป็นสถานที่ตั้งตัวเมืองยะลาครั้งแรก ต่อมาพระยายะลา (ต่วนยะลา) ถึงแก่กรรม พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ซึ่งว่าราชการเมืองสงขลา ให้ต่วนบางกอก ซึ่งเป็นบุตรพระยายะลา รักษาราชการเมืองยะลา แล้วนาความขึ้นไปกราบบังคมทูลให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงทราบ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามความประสงค์ของพระยาสงขลา และพระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลาเชิญออกไปตั้งให้ต่วนบางกอกเป็นพระยายะลา ตั้งแต่ปี พ.. 2360 โดยยังคงว่าราชการอยู่บ้านเจ้าเมืองคนเก่า ไม่ได้ย้ายเมืองไป ที่อื่น
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยายะลา (ต่วนบางกอก) ร่วมกับพระยาปัตตานี (ต่วนสุหลง) พี่ พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ) น้อง และพระยาระแงะ (หนิเดะ) คิดกันเป็นกบฎ โดยตีบ้านพระยายะหริ่ง (พ่าย) แล้วเข้าตีเมืองจะนะ เมืองเทพา พระยาสงขลามีใบบอกเข้ามากรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพออกไปสมทบช่วยเมืองสงขลา ครั้งกองทัพพระยาเพชรบุรีออกไปถึงเมืองสงขลาก็รวบรวมกาลังสมทบกับกองทัพพระยาสงขลายกออกไปตีตั้งแต่เมือง จะนะ เมืองเทพา ตลอดจนถึงเมืองระแงะ จับพระยาปัตตานี พระยายะลา พระยาหนองจิก ได้ที่ตำบลบ้านโต๊ะเดะ ในเขตแขวงเมืองระแงะ ส่วนพระยาระแงะหนีไปได้ ในระหว่างนั้นพระยาสงขลาได้ให้หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) ซึ่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่งไปรักษาราชการเมืองยะลา หลวงสวัสดิ์ภักดีก็ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลวังตระ แขวงเมืองยะลา
เมื่อหลวงสวัสดิ์ภักดี ไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่งแล้ว พระยาสงขลาก็ได้นำตัวนายเมือง ซึ่งเป็นบุตรพระยายะหริ่ง (พ่าย) เข้ากรุงเทพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้งให้นายเมืองเป็นพระยายะลา โดยได้รับพระราชทานนามบรรดาศักดิ์ว่า พระยาณรงค์ฤทธี ศรีประเทศวิเศษวังษา (เมือง) ซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองยะลาตั้งแต่ พ.. 2390 โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท่าสาป ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (.. 2394-2411) ต่วนบาตูปุเต้ เป็นพระยายะลา
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ต่วนกะจิ บุตรพระยายะลา (ต่วนบาตูปุเต้) เป็นเจ้าเมืองยะลา ปรากฏหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีใบบอกจากเจ้าเมืองยะลาเพื่อแจ้งรายการเก็บภาษีขาเข้ามายังกรุงเทพฯ ในช่วงปี พ.. 2429-2432 โดยพระยายะลาได้จัดให้เถ้าแก่แฮและหันเฉียง เป็นผู้เก็บเงินภาษีขาเข้าที่บ้านท่าสาปในอัตราร้อยชักสาม ซึ่งปรากฏว่า มีลูกค้าทั้งไทย จีน บรรทุกสินค้ามาขายที่ท่าสาปอย่างคับคั่ง สาหรับสินค้าที่มีการซื้อขายและเก็บภาษี ได้แก่ ไม้ขีดไฟ ผ้าขาว ผ้าลาย ผ้าดำ ธูปจีน เกลือ ด้ายสีต่าง ๆ (สีดำ ขาว เหลือง) น้ำมันมะพร้าว ยาแดง กุ้งแห้ง น้ำตาล กรวด น้ำตาลโตนด กะทะเหล็ก ปลาเค็ม ข้าว จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณบ้านท่าสาปเป็นที่ตั้งของเมืองยะลา ซึ่งมีความเจริญและเป็นย่านการค้าของเมืองยะลาในสมัย รัชกาลที่ 5
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้มีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค โดยดาเนินการปกครองแบบเทศาภิบาล สำหรับบริเวณ 7 หัวเมือง ก็ได้ประกาศข้อบังคับสาหรับ ปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง ร.. 120 กำหนดให้บริษัท 7 หัวเมือง (ประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามันห์) มีพระยาเมือง เป็นผู้รักษาราชการบ้านเมือง แต่ละเมืองต่างมีหน่วยบริหารราชการของตนเอง แต่จะมีข้าหลวงใหญ่ประจาบริเวณเป็นผู้ควบคุมการดาเนินงานทั่วไป โดยอยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
ในแต่ละเมืองจะมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.. 2444 พระยาศักดิ์เสนี (หนา บุนนาค) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำบริเวณได้แบ่งแต่ละเมืองเป็นอำเภอต่าง ๆ
1. เมืองปัตตานี แบ่งเป็น 2 อำเภอ คือ อ.กลางเมืองกับ อ.ยะรัง
2. เมืองรามัน แบ่งเป็น 2 อำเภอ คือ อ.กลางเมืองกับ อ.เบตง
3. เมืองหนองจิก แบ่งเป็น 2 อำเภอ คือ อ.กลางเมืองกับ อ.เมืองเก่า
4. เมืองสายบุรี แบ่งเป็น 3 อำเภอ คือ อ.กลางเมือง, .ยิงอ และ อ.บางนรา
5. เมืองระแงะ แบ่งเป็น 3 อำเภอ คือ อ.กลางเมือง, .โต๊ะโมะ และ อ.สุไหงปาดี
6. เมืองยะหริ่ง แบ่งเป็น 3 อำเภอ คือ อ.กลางเมือง, .ปะนาเระ และ อ.ระเกาะ
7. เมืองยะลา แบ่งเป็น 3 อำเภอ คือ อ.กลางเมือง, .ยะหา และ อ.กะลาพอ
แต่ต่อมาใน พ.. 2450 ได้แบ่งเมืองยะลาออกเป็น 2 อำเภอ คือ อ.เมืองและ อ. ยะหา
ต่อมาในวันที่ 27 กรกฏาคม พ.. 2447 ได้ประกาศตั้งหัวเมืองทั้ง 7 เป็นมณฑลปัตตานี โดยยุบเมืองเล็ก ๆ ลงเหลือ 4 เมือง คือ
1) รวมเมืองหนองจิก ยะหริ่ง ปัตตานี ขึ้นเป็นเมืองปัตตานี
2) รวมเมืองรามัน ยะลา ขึ้นเป็นเมืองยะลา
3) เมืองสายบุรียังคงเป็นเมืองสายบุรี (ภายหลังยุบเป็นตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี)
4) เมืองระแงะยังคงเป็นเมืองระแงะ (ภายหลังรวมตั้งเป็นจังหวัดนราธิวาส)
โดยมีพระยาศักดิ์เสนีเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานว่าในปี พ.. 2450 พระยาศักดิ์เสนีได้ตรวจราชการมณฑลปัตตานี ซึ่งรวมถึงการตรวจราชการเมืองยะลาด้วย และจาก รายงานการตรวจราชการทาให้ทราบถึงสภาพของเมืองยะลาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งในด้านการปกครองเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

ในปลายปี พ.. 2475 ได้ประกาศยุบเลิกมณฑลปัตตานี ทั้งนี้ เพราะการคมนาคมสะดวกขึ้นการดูแลปกครองบังคับบัญชาทำได้รัดกุมยิ่งขึ้น และเพื่อประหยัดรายจ่ายเงินแผ่นดิน และต่อมาได้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ มีข้าหลวงประจาจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร จังหวัดยะลาก็เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยสืบต่อมาจนทุกวันนี้
ประวัติศาสตร์จังหวัดยโสธร
ตราประจำจังหวัด


รูปพระธาตุอานนท์พระ ธาตุคู่บ้านคู่เมืองในวัดมหาธาตุ มีสิงห์ขนาบสองข้าง มาจากชื่อ ที่ตั้งเมืองเมื่อแรกสร้าง คือบ้านสิงห์ท่า เหนือรูปดอกบัวบาน หมายถึงแยกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี รัศมีบนยอดแปดแฉก หมายถึงแปดอำเภอของจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยโสธรเป็นเมืองเก่าแก่พอ ๆ กับเมืองอุบลราชธานี กล่าวคือหลังจากท้าวทิดพรหม ท้าวคำผง ขอพระราชทานตั้งบ้านดอนมดแดงขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานีแล้ว บริวารอีกส่วนหนึ่งได้อพยพลงมาตามลำน้ำชี ถึงบริเวณป่าใหญ่ที่เรียกว่า "ดงผีสิงห์" หรือ "ดงโต่งโต้น" เห็นว่าเป็นที่มีทำเลดีเพราะอยู่ใกล้ลำน้ำชี ประกอบกับมีวัดร้างและมีรูปสิงห์ จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์วัด และตั้งหมู่บ้านขึ้น เรียกชื่อว่า "บ้านสิงห์ท่า"
ในปีจุลศักราช 1179 (.. 2357) เจ้าพระยาวิไชยราชขัตติยวงศา ขอพระราชทานตั้งบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นเมือง พระราชทานนามว่า "เมืองยศสุนทร" หรือยโสธร มีเจ้าเมืองปกครองมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด และอำเภอ เมืองยศสุนทรจึงถูกลดฐานะมาเป็นอำเภอ ชื่ออำเภอยโสธร ตามชื่อที่ชาวเมืองนิยมเรียกกันมา ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่นั้นมา จนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2515 จึงได้มีการแยกออกจากจังหวัดอุบลราชธานีและตั้งขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515
ปัจจุบัน จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอค้อวัง อำเภอทรายมูล และไทยเจริญ มีประชากรประมาณ 540,383 คน (พ.ศ. 2556) พื้นที่ 4,161.664 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 578 กิโลเมตร
ชาวยโสธรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เป็นผู้ยึดมั่นในจารีตประเพณี ชอบทำบุญให้ทาน ซื่อสัตย์สุจริต มีสัมมาคารวะ และมีอุปนิสัยใจคอโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สิ่งที่เชิดหน้าชูตาของชาวยโสธร คือ รักความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมีสถิติสูงสุดของประเทศ เป็นเมืองที่อนุรักษ์ประเพณี "แห่บั้งไฟ" ซึ่งมีชื่อเสียงไปถึงต่างประเทศ เป็นแหล่งผลิตหมอนขิด ปลูกแตงโมหวาน ผลิตข้าวจ้าวมะลิส่งไปขายทั่วประเทศ จนได้รับสมญาว่า "เมืองประชาธิปไตย บั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ" นอกจากนี้ยังมีคำเล่าลือเป็นคำจำกัดความที่แสดงถึงจุดเด่นเป็นการเฉพาะของแต่ละอำเภอทั้ง 9 อำเภอ ของจังหวัด อันไพเราะ สอดคล้องและสมจริง อีกว่า "คนงามมหา คนก้าวหน้ากุดชุม คนสุขุมค้อวัง คนดังลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) คนสนุกเมืองยศ (เมืองยโสธร) คนทรหดเลิงนกทา คนมีค่าทรายมูล และคนคูณป่าติ้ว"
สถานที่ท่องเที่ยวที่ให้ความรู้ ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้แก่
พระธาตุอานนท์ เป็นพระธาตุบรรจุอัฐิและอังคารของพระอานนท์ ซึ่งชาวยโสธรถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่บริเวณวัดมหาธาตุ อำเภอเมืองยโสธร
พระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ เป็นเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวศตวรรษที่ 19-20 จากตำนานที่เล่าลือสืบกันมาว่า นายบุญมาซึ่งเป็นชาวนา ทำนาอยู่กลางทุ่งตั้งแต่เช้าจนสาย ถึงเวลาที่แม่ต้องเอาข้าวเที่ยงมาส่งก็ยังไม่มา นายบุญมาหิวจนตาลาย เมื่อแม่เอาข้าวมาส่งเห็นก่องข้าวเล็กกลัวจะกินไม่อิ่ม ด้วยความโมโหจึงได้ทำร้ายแม่จนตาย แต่เมื่อกินข้าวอิ่มปรากฏว่าข้าวยังเหลือ จึงสำนึกได้และได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อย เพื่อล้างบาป ตั้งอยู่ที่บ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร
วนอุทยานภูหมู เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงาม อยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา ติดต่อกับเขตอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
สวนสาธารณพญาแถน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ อยู่ริมลำห้วยทวนมีทิวทัศน์ และธรรมชาติที่สวยงาม ร่มรื่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองยโสธร
บ้านศรีฐาน เป็นแหล่งผลิตหมอนขิดที่มีชื่อเสียง ส่งไปจาหน่ายแทบทุกจังหวัด
บ้านนาสะไมย์ เป็นแหล่งผลิตกระติบข้าวเหนียว ทากันทุกหลังคาเรือนส่งไปจาหน่ายในตัวเมืองจังหวัดยโสธร และจังหวัดใกล้เคียง
ขนบธรรมเนียมประเพณีงานบุญ
จากการขุดค้นพบใบเสมาหินที่บ้านตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ของคณะสำรวจโบราณคดี กรมศิลปากร มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนชาวจังหวัดยโสธร มีวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่และดั้งเดิม ตามแบบฉบับของชาวอีสานอย่างแท้จริง ซึ่งได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจาก บรรพบุรุษนับเป็นเวลากว่าพันปีแม้ว่าในสภาพของสังคมยุคปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณีอันเก่าแก่นี้ ในบางท้องที่จะเลือนหายไป แต่ชาวจังหวัดยโสธรส่วนใหญ่ยังคงยึดถือและปฏิบัติอย่างสืบเนื่องต่อกันมาหลายชั่วอายุคน การยึดมั่นในการประกอบคุณงามความดีของชาวเมืองยโสธรนี้ จะพบได้ทุกหนแห่งและฤดูกาล และกระทำกันมิได้ขาดทุกเดือน แสดงให้เห็นถึงว่าชาวจังหวัดยโสธร เป็นผู้ที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีความสามัคคี เสียสละซื่อสัตย์ ชอบสนุกสนานและทำบุญทำทาน ประเพณีงานบุญ ที่ประชาชนชาวจังหวัดยโสธร ถือปฏิบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยไม่เปลี่ยนแปลงคืองานบุญ 12 เดือน ดังต่อไปนี้
บุญเดือนอ้าย ทำบุญคูณลาน ข้าวเม่า ข้าวหลาม จะทำกันหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จใหม่ เป็นการฉลองลานนวดข้าว
บุญเดือนยี่ ทำบุญฉลองกองข้าว บุญคุ้มข้าวใหญ่ ทำหลังจากนวดข้าวเสร็จกองไว้ที่ลานข้าว เพื่อฉลองกองข้าวที่อุดมสมบูรณ์
บุญเดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ บางบ้านเรียกว่า " บุญคุ้ม " แต่ละคุ้มจะกำหนดวันบุญเลี้ยงพระกลางบ้าน ตอนเย็นก็จัดเตรียมข้าวปลา อาหารไว้รับเลี้ยงพี่น้องและเพื่อนฝูงที่มาเยี่ยมพบปะสังสรรค์ร้องรำทำเพลง บางคุ้มก็เรี่ยไรเงินถวายวัดต่าง ๆ หรือบางคุ้มก็จัดมหรสพตอนกลางคืน เป็นที่สนุกสนานครึกครื้นยิ่ง
บุญเดือนสี่ ทำบุญมหาชาติหรือบุญพระเวส จัดทำทุกวัดตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีการเทศน์มหาชาติ โดยนิมนต์พระจากหมู่บ้านใกล้เคียงมาเทศน์ตามกัณฑ์ที่นิมนต์ไว้
บุญเดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ บางที่เรียกว่า "บุญเนา" สรงน้ำพระ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ บ้างก็รวมกลุ่มสาดน้ำตามคุ้มต่าง ๆ บางกลุ่มก็จัดข้าวปลาสุราอาหารไปรับประทานกันตามชายทุ่ง ชายป่า หรือบริเวณหาดทรายริมแม่น้ำ ร้องรำทำเพลง ลงเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน
บุญเดือนหก ทำบุญบั้งไฟ เป็นงานบุญประเพณีอันเก่าแก่ของชาวอีสาน มีมาแต่โบราณกาล เป็นพิธีสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุจุฬามณีบนดาวดึงส์พิภพ และถือว่าเป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้มีฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวนาจะได้ลงมือทำนาทำไร่ พอถึงเดือนนี้ของทุกปี ในท้องถิ่นจะจัดงานบุญบั้งไฟต่อเนื่องกันมา ถือเป็นประเพณีอันสำคัญของหมู่บ้าน โดยเฉพาะการจัดงานที่จังหวัดถือว่าเป็นการจัดงานบุญบั้งไฟระดับชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในทุก ๆ ปี จะมีนักท่องเที่ยวจากทุกภาคของประเทศตลอดจนชาวต่างประเทศมาร่วมชมงานนี้เป็นจำนวนมาก
บุญเดือนเจ็ด ทำบุญบวชนาค ชาวจังหวัดยโสธรนิยมให้บุตรหลานของตนอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย อันเป็นหลักปฏิบัติตนให้เป็นคนดี และเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาและผู้มีพระคุณ ในปีหนึ่ง ๆ จะมีการบวชนาคตามหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
บุญเดือนแปด ทำบุญปุริมพรรษาชาวบ้านในทุกคุ้ม และทุกหมู่บ้านจะจัดทำเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน น้ำมัน ยารักษาโรค และจตุปัจจัยอื่น ๆ เพื่อนำไปถวายพระตามวัดต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
บุญเดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน ในวันแรม 15 ค่ำ เพื่อบุญอุทิศให้แก่ญาติพี่น้องที่ ล่วงลับไปแล้วในวันนี้ ทุกบ้านเรือนจะจัดทำข้าวต้มมัด ขนม เพื่อใส่บาตรพระในตอนเช้า
บุญเดือนสิบ ทำบุญข้าวกระยาสาตร เป็นการประกอบบุญกุศลเป็นทานมัยบุญกิริยาวัตถุ คือบุญที่สำเร็จขึ้นด้วยการทานอย่างหนึ่ง ทุกบ้านเรือนจะจัดทำข้าวต้มมัด ขนม ใส่บาตรพระ จัดอาหารทาบุญเลี้ยงพระที่วัด ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
บุญเดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษาในวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะจัดหาอาหารคาวหวานเพื่อไปทำบุญร่วมกัน ตกกลางคืนทำดอกไม้ธูปเทียนหากวัดหมู่บ้านใดที่อยู่ริมน้ำก็มีการลอยกระทงหรือปล่อยเรือไฟเพื่อเป็นพุทธบูชา
บุญเดือนสิบสอง ทำบุญมหากฐิน และบุญแข่งเรือ ทุกวัดในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีพระภิกษุ จำพรรษาอยู่ ชาวบ้านจะทำกฐินทอดถวายทุกปีมิได้ขาด และเนื่องจากยโสธรตั้งอยู่ริมแม่น้ำชีมีประเพณีที่จัดทำเป็นประจำทุกปี เมื่อคราวออกพรรษาแล้วด้วยการแข่งเรือยาวของแต่ละคุ้มและ เชิญเรือยาวจังหวัดข้างเคียง มาร่วมแข่งขัน
ประวัติศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ด
ตราประจำจังหวัด


รูปศาลหลักเมือง บนเกาะกลางบึงพลาญชัย เบื้องหลังเป็นรูปพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยมีกรอบวงกลมเป็นรูปรวงข้าวล้อมรอบ
คำขวัญประจำจังหวัด
สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ
 สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ตามตำนานเล่ากันมาว่า บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมเป็นเมืองใหญ่ชื่อว่า เมืองสาเกตนคร (อาณาจักรกุลุนทะนคร) เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาล มีเมืองขึ้นถึงสิบเอ็ดเมือง (ในสมัยโบราณนิยมเขียนสิบเอ็ด เป็น 101 คือ สิบกับหนึ่ง) มีทางเข้าสู่เมืองถึงสิบเอ็ดประตู มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่าพระเจ้ากุลุนทะ มีเชื้อสายสืบสันติวงศ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองสาเกตนครหรืออาณาจักรกุลุนทะนคร นอกจากจะมีประตูและเส้นทางเข้าสู่เมืองถึงสิบเอ็ดทางแล้ว ยังมี รหัส ควบคุมความปลอดภัยความมั่นคงของบ้านเมืองอย่างเข้มแข็ง เช่น มีวัดตามรายทางเข้าเมือง และมีปี่ซาววา (ซาว เป็นภาษาอีสานหมายความว่า 20) สามารถส่งสัญญาณเข้าสู่ตัวเมืองบอกข่าวสาร แจ้งเหตุร้ายดีที่จะมาถึงเมืองสาเกตนครให้ทราบล่วงหน้าได้เป็นอย่างดีเมืองสาเกตนครหรืออาณาจักรกุลุนทะนครจึงเป็นอาณาจักรที่จัดระบบการปกครองและรัฐประศาสนศาสตร์แตกต่างไปจากอาณาจักรอื่น ๆ
สมัยพระเจ้าสุริยวงศาไชยเชษฐาธรรมิกราช เมืองขึ้นกับเมืองสาเกตนครทั้งสิบเอ็ดเมืองคือ
(1) เมืองเชียงเหียน             (บ้านเชียงเหียน อำเภอเมืองมหาสารคาม)
(2) เมืองฟ้าแดด                 (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์)
(3) เมืองสีแก้ว                   (บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
(4) เมืองเปือย                    (บ้านเมืองเปือย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
(5) เมืองทอง                     (บ้านเมืองทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
(6) เมืองหงษ์                              (บ้านเมืองหงษ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน)
(7) เมืองบัว                       (บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย)
(8) เมืองคอง                     (อยู่บริเวณ อำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ)
(9) เมืองเชียงขวง               (บ้านจาน อำเภอธวัชบุรี)
(10) เมืองเชียงดี                (บ้านโนนหัว อำเภอธวัชบุรี)
(11) เมืองไพ                     (บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ)
และในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาไชยเชษฐาธรรมิกราช อาณาจักรกุลุนทะนครก็ถึงคราวเสื่อม เมืองขึ้นต่างๆ ทั้งสิบเอ็ดหัวเมืองจึงกระด้างกระเดื่อง ทาตัวกบฏกับเมืองสาเกตนคร ต่างยกทัพมารบราฆ่าฟันกัน ผู้คนล้มตายกันเป็นจานวนมาก ในที่สุดก็จับพระเจ้าสุริยวงศาไชยเชษฐาธรรมิกราชสำเร็จโทษ ราษฎรที่เหลือรอดตายก็อพยพทิ้งฐานไปทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานใหม่
แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เดิมเป็นดินแดนที่เรียกว่าอาณาจักรสุวรรณภูมิ แบ่งแยกอำนาจการปกครองเป็น 3 อาณาเขต คือ
1. อาณาเขตทวารวดี อยู่ตอนกลาง มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี
2. อาณาเขตยาง หรือโยนก อยู่เหนือ มีเมืองเงินยางเป็นราชธานี
3. อาณาเขตโคตรบูร ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งฝั่งซ้ายของแม่น้าโขง มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี
ในสมัยนั้นชนชาติเขมรหรือขอมเป็นชนชาติที่เจริญรุ่งเรืองกว่าชนชาติอื่นใดในภูมิภาคนี้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากชาวอินเดีย ต่อมาขอมก็มีอำนาจครอบครองอาณาจักรนี้เหนือชนชาติอื่นและได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่อาณาเขตต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในอาณาเขตโคตรบูรก็เป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจ หลักฐานที่ยังปรากฏได้แก่
ที่อำเภอพนมไพรยังปรากฏมีซากแสดงภูมิฐานที่ตั้งเมือง เป็นรูปสระรอบ ๆ แสดงว่าเป็นคูเมือง ใกล้สระด้านในเป็นรูปเนินดินสูงแสดงว่าเป็นกำแพงเมือง ตอนกลางมีสระโชติ (สระขี้ลิง) รอบ ๆ สระเป็นเนินสูง ลักษณะเป็นเมืองเก่า และมีแผ่นหินทำเป็นรูปเสมาจมในพื้นดินกว่าสิบแผ่น ซึ่งแสดงว่าเป็นศิลปะการสร้างของขอม จึงสันนิษฐานว่าพวกขอมเป็นผู้สร้างเมืองนี้ไว้และยังไม่เสร็จเรียบร้อย แต่ต่อมาเข้าใจว่าอพยพไปอยู่ที่อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกสงคราม หรือโรคระบาด
กู่กำสิงห์ ในท้องที่อำเภอเกษตรวิสัย มีลักษณะเป็นปรางค์กู่ที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง รูป สี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 40 เมตร สูง 8 เมตร มีประตูเข้าออกทั้งสี่ด้าน ภายในมีศิลาแลงวางทับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดกว้างด้านละ 9 เมตร สูง 2 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกสร้างเป็นบันไดด้วยศิลาแลง มีหินแกะสลักเป็นรูปสิงโต ขนาดใหญ่นั่งตรงเชิงบันได จานวน 2 ตัว ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด แต่รูปลักษณะของโบราณสถานนี้เข้าใจว่าสร้างในสมัยเดียวกับปราสาทหินพิมาย
อีกแห่งหนึ่ง คือ กู่คันธนาม ในท้องที่กิ่งอำเภอโพนทราย สร้างด้วยศิลาแลงวางซ้อนกันเป็นรูปลักษณะเหมือนกับปราสาทหินพิมายแต่มีขนาดเล็กกว่าปราสาทหินพิมายมากข้างในมีพระเทวรูปที่สร้างในสมัยขอม
จากหลักฐานซากโบราณสถานเหล่านี้พอจะเป็นเหตุอนุมานได้ว่า อาณาเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน เป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับขอมสร้างปราสาทหินพิมาย และอาณาบริเวณนี้คงเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น และได้เสื่อมลงตามที่ชนชาติขอมเสื่อมอำนาจลง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ราว พ.. 2246 ตรงกับจุลศักราช 1075 ปีมะเส็ง เบญจศก พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้ครองนครจาปาศักดิ์ ซึ่งสืบสายมาจากชาวไทยกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ให้จารย์แก้ว (จารย์ มาจากคำว่า อาจารย์  เป็นคำเรียกคนที่เคยบวชเรียนเป็นมหาเปรียญแล้วสึกออกมา เป็นผู้ทรงความรู้ด้านต่าง ๆ  ต้องทำพิธี จึงจะเป็นจารย์ได้) คุมไพร่พลสามพันคนเศษ มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านเมืองทุ่ง (ท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ) เรียกว่า เมืองทุ่งหรือเมืองทง ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์ จารย์แก้วปกครองเมืองทุ่งอยู่ได้นานสิบหกปีก็ถึงแก่กรรม จารย์แก้วมีบุตรสองคนคือท้าวมืดกับท้าวทน พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงทรงแต่งตั้งท้าวมืดเป็นเจ้าเมืองทุ่ง และท้าวทนเป็นอุปราช เมื่อท้าวมืดถึงแก่กรรม ท้าวทนจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแทนพี่ชาย ท้าวมืดมีบุตรสองคนคือ ท้าวเชียงและท้าวสูน ทั้งสองคนไม่พอใจที่ไม่ได้เป็นเจ้าเมืองสืบแทนบิดา จึงได้คบคิดกับกรมการเมืองที่เป็นสมัครพรรคพวกของตน เพื่อนาความขึ้นกราบบังคมทูลขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระที่นั่งสุริยามรินทร์หรือเจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยาและได้นาทองคำแท่งจำนวนมากไปถวายในคราวเข้าเฝ้า พร้อมกับทูลขอกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปช่วยรบกับท้าวทน สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหมกับพระยากรมท่าเป็นแม่ทัพเดินทางมาพร้อมกับท้าวเชียงและท้าวสูน เมื่อเดินทางใกล้ถึงเมืองทุ่ง ท้าวทนทราบข่าว จึงพาครอบครัวและไพร่พลอพยพไปอยู่ ณ บ้านกุดจอก เมื่อพระยาพรหมและพระยากรมท่าเข้าเมืองแล้ว ได้ติดตามไปนำตัวท้าวทนมาว่ากล่าวตักเตือนให้คืนดีกันกับท้าวเชียงและท้าวสูนผู้เป็นหลาน ท้าวเชียงกับท้าวสูนก็ได้ครองเมืองทุ่งและเมืองทุ่งจึงขาดจากการปกครองของนครจำปาศักดิ์ มาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่บัดนั้น
สมัยกรุงธนบุรี
ในปี พ.. 2319 รัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ท้าวเชียงและท้าวสูนเห็นว่าเมืองทุ่งมีชัยภูมิไม่เหมาะ เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเซ (ลำน้ำเสียว) ถูกน้ำเซาะตลิ่งพังทุกปี จึงได้ย้ายไปตั้งเมืองใหม่ที่ ดงท้าวสารและเรียกชื่อใหม่ว่า "เมืองสุวรรณภูมิ" ท้าวเชียงได้สร้างวัดขึ้นสองวัด คือวัดกลางและวัดใต้ สร้างวิหารกว้างห้าวา ยาวแปดวา สูงหกวา สร้างพระพุทธรูปด้วยอิฐและปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างสี่ศอกคืบ สูงแปดศอกคืบ เหมือนกันทั้งสองวัด
ปี พ.. 2318 ท้าวทนซึ่งอพยพครอบครัวและไพร่พลไปอยู่ที่บ้านกุดจอก ได้ปรึกษาหารือกับพระยาพรหมและพระยากรมท่าขออนุญาตทั้งบ้านกุ่มร้างซึ่งเป็นเมืองร้างขึ้นเป็นเมือง พระยาพรหมและพระยากรมท่าเห็นว่าท้าวทนมีสมัครพรรคพวกมาก จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง จึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรี ขอพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองขึ้นที่บ้านกุ่มร้างและให้ชื่อว่า "เมืองร้อยเอ็ด" ตามนามเดิมและให้ท้าวทนเป็นพระขัติยะวงษาเจ้าเมืองคนแรก การสร้างเมืองร้อยเอ็ดขึ้นก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเขตเมืองสุวรรณภูมิกับเมืองร้อยเอ็ด ดังปรากฏในพงศาวดารว่า "ตั้งแต่ปากลำน้ำพาชี ตกลำน้ำมูล ขึ้นมาตามลำน้ำพาชีถึงปากห้วยดางเดียขึ้นไปทุ่งลาดไถ ไปบ้านข้อเหล็ก บ้านแก่งทรายหิน ตั้งแต่ถ้าเต่าเหวฮวดดวงสวนอ้อย บึงกุย ศาลาอีเก้ง ภูเมง หนองม่วงคลุ้ม กุ่มปัก ศาลาหักมูลแดง ประจบปากลำน้ำพาชีตกลำน้ำมูลนี้ เป็นเขตเมืองสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ลำน้ำยางตกลำน้ำพาชีขึ้นไป ภูดอกซ้อน หินทอด ยอดยาง ดู่สามต้น อ้นสามขวาย สนามหมาดหญ้า ผ้าขาวพันนา ฝายพระยานาค ภูเมง มาประจบหนองแก้ว ศาลาอีเก้ง มาบึงกุยนี้ เป็นอาณาเขตเมืองร้อยเอ็ด"
ตามข้อความในพงศาวดารที่ยกมา พอสรุปอาณาเขตเมืองสุวรรณภูมิและเมืองร้อยเอ็ดได้ดังนี้
อาณาเขตเมืองสุวรรณภูมิ
ทิศเหนือ จดลาน้าชี ทุ่งลาดไถ บึงกุย (อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม)
ทิศใต้ จดลำน้ำมูล
ทิศตะวันออก จดลำน้ำมูล ลำน้ำชี
ทิศตะวันตก จดอำเภอภูเวียง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
อาณาเขตเมืองร้อยเอ็ด
ทิศเหนือ จดอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้ จดทุ่งลาดไถ ไปอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก จดลำน้ำยัง ภูพาน
ทิศตะวันตก จดอาเภอภูเวียง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดร้อยเอ็ดยุคปัจจุบันจึงตั้งเป็นเมืองขึ้นมาในสมัยกรุงธนบุรี อันสืบเนื่องมาจากเมืองสุวรรณภูมิ แต่ที่ตั้งเมืองร้อยเอ็ดเป็นเมืองร้างซึ่งคาดว่าคงเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองก่อนที่จะถูกทอดทิ้งให้เป็นเมืองร้างด้วยเหตุประการใดก็ตาม จากพงศาวดารแบ่งเขตเมืองสุวรรณภูมิและเมืองร้อยเอ็ด จะเห็นได้ว่าทั้งเมืองสุวรรณภูมิและเมืองร้อยเอ็ดมีอาณาเขตกว้างใหญ่ ซึ่งต่อมาภายหลังได้แบ่งแยกท้องที่ตั้งเมืองอื่น ๆ ขึ้น
สมัยรัตนโกสินทร์
เมืองสุวรรณภูมิและเมืองร้อยเอ็ดซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง ได้ถูกแบ่งท้องที่ตั้งเมืองอื่นหลายเมือง คือ เมืองสุวรรณภูมิถูกแบ่งท้องที่ตั้งเมืองชนบท เมืองพุทไธสง เมืองพยัคฆภูมิพิสัย เมืองร้อยเอ็ดได้ถูกแบ่งท้องที่ตั้งเมืองมหาสารคาม เมืองกาฬสินธุ์ จนกระทั่งปี พ.. 2451 ได้มีการปรับปรุงรูปการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด อำเภอ เมืองร้อยเอ็ดเปลี่ยนเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิลดฐานะเป็นอำเภอสุวรรณภูมิ อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดร้อยเอ็ดแต่นั้นมา
เมื่อครั้งเกิดกบฏฮ่อ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ธิบดีเป็นแม่ทัพเกณฑ์กาลังคนทางหัวเมืองภาคอีสาน ยกไปปราบฮ่อที่เมืองเวียงจันทร์และเมืองหนองคาย ขณะนั้นเมืองร้อยเอ็ดมีพระขัติยะวงษา (สาร) เป็นเจ้าเมือง และราชบุตร (เสือ) ได้รวบรวมไพร่พลสมทบกับกองทัพพระยามหาอำนาจธิบดีไปปราบฮ่อด้วย ระหว่างทำศึกปราบฮ่อนั้นราชบุตร (เสือ) ถูกยิงด้วยปืนที่มือขวาโลหิตไหล บ่าวไพร่พาหนีมาได้ ส่วนพระขัติยะวงษา (สาร) กลับหนีศึกคืนมาเมืองร้อยเอ็ด เมื่อเสร็จศึกปราบฮ่อแล้วพระยามหาอำมาตย์ธิบดีจึงควบคุมตัวพระขัติยะวงษา (สาร) แต่ได้หนีไปอยู่เมืองนครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมาจับได้และส่งไปยังพระมหาอำมาตย์ธิบดีที่เมืองหนองคาย แล้วพระยามหาอำมาตย์ธิบดีกลับมาจัดราชการที่เมืองร้อยเอ็ด โดยตั้งราชบุตร (เสือ) เป็นผู้รักษาราชการ เมืองร้อยเอ็ด ซึ่งภายหลังได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแทนพระขัติยะวงษา (สาร)
ในปี พ.. 2457 ทางราชการได้ย้ายกองพลทหารราบที่ 10 จากจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งกองพลทหารราบที่ 10 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีถนนสายหนึ่งชื่อถนนกองพล 10 ซึ่งเป็นถนนสู่กองพลดังกล่าว ต่อมาได้ย้ายกรมทหารราบที่ 20 จังหวัดอุดรธานีมารวมในกองพลทหารราบที่ 10 ภายหลังได้ยุบกองพลทหารราบที่ 10 เป็นกองพันทหารม้าที่ 5 และได้ยุบกองทัพทหารม้าที่ 5 ไปในที่สุด
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงนำวิทยาการแผนใหม่จากประเทศตะวันตกมาใช้ ทรงตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง มีการแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละกระทรวงให้แน่นอนและมีเสนาบดีรับผิดชอบบริหารงานของแต่ละกระทรวง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยในหัวเมือง หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงเริ่มการจัดตั้งมณฑลขึ้นในปี พ.. 2437 โดยรวมหลาย ๆ จังหวัดขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงหรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงนี้การปกครองหัวเมืองนั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมไปมาลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจกว้างขวาง แต่การจัดตั้งมณฑลนั้นข้าหลวงหรือข้าหลวงเทศาภิบาลขึ้นตรงต่อส่วนกลาง
ปี พ.. 2435 ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นโดยรวบรวมหัวเมืองเข้าด้วยกันมี 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว มณฑลเขมร มณฑลนครราชสีมาและมณฑลภูเก็ต ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑลลาวกาว
ปี พ.. 2437 ได้จัดระเบียบบริหารมณฑลแบบใหม่เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี และมณฑลราชบุรี ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากมณฑลแบบเก่าและต่อมาได้ตั้งมณฑลต่าง ๆ ขึ้นอีกคือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลไทรบุรี (ภายหลังยกให้อังกฤษ เมื่อปี 2450) มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร มณฑลอีสาน มณฑลปัตตานี มณฑลจันทบุรี และมณฑลมหาราช ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑลอีสาน
ปี พ.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลร้อยเอ็ดมี เมืองร้อยเอ็ด เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคาม
ปี พ.. 2465 ได้รวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร ขึ้นเป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน
ปี พ.. 2469 ยุบปกครองภาคอีสาน ให้จังหวัดในมณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล ไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา
ระบอบมณฑลเทศาภิบาลนี้ได้ยกเลิกไปหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.. 2475
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ และได้ยกเลิกระบอบมณฑลเทศาภิบาล ขณะนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดมี 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอจตุรพักตรพิมาน ต่อมาได้แบ่งพื้นที่เป็นอำเภอหนองพอก อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพธิ์ชัย กิ่งอำเภอโพนทราย และกิ่งอำเภอเมยวดี
ต่อมาเมื่อได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2495 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยก็เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนั้นและถือเป็นหลักหรือรากฐานของการแบ่งส่วนราชการไทยสมัยต่อ ๆ มา พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ได้ถูกปรับปรุงแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 ปี พ.. 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วน ภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
ประวัติศาสตร์จังหวัดระนอง
ตราประจำจังหวัด

 
รูปปราสาทตั้งอยู่บนภูเขา มีรูปเลข 5 ไทย ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า
คำขวัญประจำจังหวัด
คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดระนองสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาไม่มีหลักฐานปรากฏเข้าใจว่าสมัยนั้นจังหวัดระนองยังคงมีสภาพเป็นป่าดง รกร้างว่างเปล่าไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเจริญรุ่งเรืองทางส่วนใต้ของประเทศไทยในสมัยนั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา (ระหว่าง พ..1991 - 2072) ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองบ้านเมือง โดยยกเลิกการปกครองแบบที่มีเมืองลูกหลวง 4 ด้าน ราชธานีที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้มีการขยายขอบเขตการปกครองของเมืองหลวงให้กว้างออกไปโดยรอบ คือจัดเป็นแบบในวงราชธานีกับนอกวงราชธานี ในวงราชธานีนั้นถือเอาเมืองหลวงเป็นหลักและมีเมืองจัตวาขึ้นอยู่รายรอบหัวเมือง เมืองจัตวาเหล่านี้มีผู้รั้ง (เจ้าเมือง) กับกรมการเป็นพนักงานปกครองโดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีทั้งหลายในเมืองหลวงส่วนหัวเมืองที่อยู่นอกวงราชธานี หรือเมืองชายแดนหน้าด่านชายแดนนั้น จัดให้เป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดความสำคัญของเมืองนั้น ๆ ซึ่งต่อมาเรียกว่าหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นนอกเหล่านี้ต่างก็มีหัวเมืองเล็ก ๆ คั่นอยู่เช่นเดียวกับในวงราชธานี มากบ้างน้อยบ้างตามขนาดของอาณาเขตโดยกำหนดตามท้องที่สุดแต่จะให้พนักงานปกครองต่างเมืองเดินทางไปมาถึงกันได้ภายในวันหรือสองวัน เพื่อจะได้บอกข่าวช่วยเหลือกันเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภาวะสงคราม บรรดาหัวเมืองชั้นนอก เหล่านี้ พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์ หรือข้าราชการชั้นสูงศักดิ์เป็นผู้สำเร็จราชการเรียกว่าเจ้าเมือง หรือพระยามหานครตามแต่ฐานะของเมืองมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดต่างพระเนตรพระกรรณทุกประการ ในสมัยอยุธยานี้ เมืองระนองมีลักษณะเป็นหัวเมืองเล็กๆ ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีอาณาเขตติดทะเลฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก นอกจากเมืองระนองซึ่งเป็นเมืองชั้นเอก เมืองชุมพรแล้วยังมีเมืองตระ (อำเภอกระบุรี) เมืองปะทิว เมืองตะโก เมืองหลังสวนและเมืองมลิวัน (เดี๋ยวนี้อยู่ในสหภาพพม่า)สมัยกรุงธนบุรี
เมืองระนองสมัยกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏมีเหตุการณ์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด สันนิษฐานว่ายังเป็นหัวเมืองเล็กๆ ขึ้นตรงต่อเมืองชุมพรตลอดสมัยกรุงธนบุรีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองระนองมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ว่าเป็นเมืองหนึ่งที่พม่ายกทัพผ่านเข้ามาเพื่อไปตีเมืองชุมพรเท่านั้น นอกจากนี้ในอดีตนอกจากจะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ในป่าดงรกร้างหาเป็นภูมิฐานบ้านเมืองไม่ ภูมิประเทศยังเต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อนแทบจะหาที่ราบสำหรับการเกษตรไม่ได้ มิหนำซํ้าการเดินทางไปมาติดต่อต่างเมืองก็ลำบากยากเข็น ถ้าไม่ใช่การเดินทางทางเรือ อันต้องผ่านปากอ่าวเข้ามาทางด้านมหาสมุทรอินเดียแล้ว ก็ต้องขึ้นเขาลงห้วย บุกป่าฝ่าดงกันเท่านั้นเองแต่ไม่ว่าทางใดก็ต้องเสียเวลาเดินทางกันเป็นวันๆ ทั้งนั้นจนขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองสุดหล้าฟ้าเขียวเอาทีเดียว ผู้คนต่างกันจึงไม่ค่อยจะได้ถ่ายเทเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินในเมืองระนองพลเมืองระนองจึงมีอยู่น้อยนิดเรื่อยมาแต่ในท่ามกลางป่าเขาทุรกันดารนั้น ระนองได้สะสมทรัพยากรธรรมชาติไว้ใต้แผ่นดินเป็นเอนกอนันต์ นั่นคือวัตถุที่มีชื่อเรียกกันในสมัยโบราณว่า ตะกั่วดำ และในปัจจุบันเรียกว่า แร่ดีบุกนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้เองจึงมีราษฎรในเมืองชุมพรและเมืองหลังสวนได้อพยพเข้ามาหาเลี้ยงชีพด้วยการขุดแร่ดีบุกขายมาแต่โบราณฝ่ายรัฐบาลผ่อนผันให้ราษฎรมีความเป็นอยู่อย่างผาสุกโดยให้ส่งส่วยดีบุกแทนการรับราชการ โดยการผ่อนผันกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ให้มีเจ้าอากรภาษีรับผูกขาดอากรดีบุก คือจักบำรุงการขุดแร่ และมีอำนาจที่จะซื้อและเก็บส่วนดีบุกในแขวงเมืองตระตลอดมาจนถึงเมืองระนอง โดยยอมสัญญาส่งดีบุกแก่รัฐบาลปีละ 40 ภารา (คิดอัตราในเวลานี้ภาราหนึ่งหนัก 350 ชั่ง เป็นดีบุก 14,000 ชั่ง) ในการเก็บรวบรวมและจัดส่งส่วยอากรแร่ดีบุกให้แก่รัฐบาลนั้น ราษฎรได้ยกย่องให้นายนอง ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้นำที่ดีและเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้รวบรวมและส่งไป ด้วยคุณงามความดีของนายนองที่มีต่อลูกบ้านปกครองลูกบ้านด้วยดีเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการหารายได้ให้กับรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นโดยการส่งภาษีอากรแร่ดีบุกที่ขุดได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระนองเจ้าเมืองคนแรกสืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้ประมูลผูกขาดส่งภาษีอากรดีบุกขึ้นเรียกว่า นายอากร
ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 พ.. 2387 มีคนจีนชื่อคอซู้เจียง (ภายหลังได้เป็นที่ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีผู้เป็นต้นสกุล ณ ระนอง) เป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดที่เมืองจิวหูประเทศจีน ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยและตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองตะกั่วป่า ได้ยื่นเรื่องราวประมูลอากรดีบุก แขวงเมืองตระและระนอง และทำการประมูลได้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายคอซู้เจียงเป็นหลวงรัตนเศรษฐีตำแหน่งขุนนางนายอากร ในปี พ.. 2397 หลวงระนองเจ้าเมืองระนองถึงแก่กรรมทำให้เจ้าเมืองระนองว่างลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำริถึงความดีความชอบของหลวงรัตนเศรษฐีจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นพระรัตนเศรษฐีผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ถือศักดินา 800 ไร่ แต่เมืองระนองยังคงเป็นเมืองไม่มีชั้น อันดับ ยังคงขึ้นตรงต่อเมืองชุมพรต่อมา การปกครองตามหัวเมืองในสมัยนั้นยังใช้วิธีซึ่งเรียกในกฎหมายเก่าว่ากินเมืองอันเป็นแบบเดิมซึ่งดูเหมือนว่าจะใช้กันทุกประเทศในแถบทางตะวันออกนี้ ในเมืองจีนก็ยังเรียกว่ากันตามภาษาจีน แต่ในเมืองไทยมาถึงชั้นหลังได้เรียกเปลี่ยนเป็นว่าราชการเมืองถึงกระนั้นคำว่ากินเมืองก็ยังใช้กันในคำพูดและยังมีอยู่ในหนังสือเก่าเช่น กฎมณเฑียรบาล เป็นต้น วิธีปกครองที่ดีเรียกว่ากินเมืองนั้น หลักเดิมคงถือกันว่า ผู้เป็นเจ้าเมืองต้องทิ้งธุรกิจของตนมาประจำทำการปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากอันตราย ราษฎรก็ต้องคอยแทนคุณเจ้าเมืองด้วยการออกแรงช่วยทำการงานให้บ้าง หรือแบ่งสิ่งของซึ่งหามาได้ เช่น ข้าว ปลา อาหารที่เหลือให้เป็นของกำนัล ช่วยอุปการะมิให้
เจ้าเมืองต้องเป็นห่วงในการหาเลี้ยงชีพ จึงมีความสุขสบาย
ในสมัยนั้นอำนาจเหนือราษฎรตามหัวเมืองมีอยู่ 2 อย่างคือ อำนาจเจ้าเมืองกรมการและอำนาจเจ้าภาษีนายอากรในการเรียกเก็บภาษี หัวเมืองใหญ่ที่เจ้าเมืองเป็นบุคคลสำคัญ เจ้าภาษีนายอากรก็อ่อนน้อม เพราะต้องอาศัยตามอำนาจเจ้าเมือง จึงจะเร่งเรียกเก็บภาษีได้สะดวก สำหรับระนองขณะนั้น เดิมเจ้าเมืองระนองพระรัตนเศรษฐี เป็นพ่อค้า เป็นเจ้าภาษีนายอากรอยู่ก่อนเป็นเจ้าเมืองระนอง รู้ชำนาญการในท้องที่อยู่แล้ว ครั้งได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ก็เห็นว่าการที่จะปกครองทำนุบำรุงบ้านเมืองให้สะดวกเป็นประโยชน์แก่ราชการและส่วนตัวด้วยนั้น จำเป็นจะต้องรวมอำนาจ 2 อย่างเข้าด้วยกัน จึงได้ขอรับผูกขาดเก็บภาษีอากรเมืองระนองต่อไป
ภาษีอากรที่เก็บ ณ เมืองระนองในสมัยนั้นมี 5 อย่าง คือ ภาษีดีบุกที่ออกจากเมืองภาษี สินค้าขาเข้าเมือง 100 ชัก 3 ตามราคาอากรฝิ่น อากรสุรา และอากรบ่อนเบี้ย ทั้ง 5 อย่างนี้เรียกภาษีผลประโยชน์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า ลักษณะการที่ให้ผู้ว่าราชการเมืองรับ
ผูกขาดเก็บภาษีผลประโยชน์ดังว่านี้ ดูเหมือนจะจัดขึ้นที่เมืองระนองก่อนครั้งเห็นว่าเป็นประโยชน์ดีจึงขยายออกไปถึงเมืองใกล้เคียง คือ ตะกั่วป่า พังงา และภูเก็ต ลักษณะนี้ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นการให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน เพราะเจ้าเมืองจะต้องเก็บให้มากๆ เหลือส่งพระคลังเท่าใดก็เป็นกำไรแต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น หัวเมืองที่มีพลเมืองน้อย แต่ก็มีแร่ดีบุกมาก จำเป็นต้องหาคนมาเป็นแรงงานขุดดีบุก เจ้าเมืองจำเป็นต้องปกครอง เอาใจราษฎรมิให้ทิ้งกันไปอยู่ที่อื่น และยังต้องขวนขวายหาคนที่อื่นมาเข้ามาอยู่ในเมืองเพิ่มเติมด้วย ดังปรากฏในเอกสารนำเมืองตั้งพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ตอนหนึ่งว่า...เมืองระนองแต่ก่อนเป็นเมืองขึ้นเมืองชุมพร บ้านเมืองก็อยู่ในดงรกร้างหาเป็นภูมิฐานบ้านเมืองไม่พระรัตนเศรษฐีชักชวนเกลี้ยกล่อมไทยจีนให้มาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขบ้านเมืองบริบูรณ์มั่งคั่งขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
ครั้งต่อมาปรากฏว่า อังกฤษได้จัดการปกครองหัวเมืองซึ่งได้ไปจากพม่า เข้มงวดกวดขันมาชิดชายพระราชอาณาเขตทางทะเลตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระดำริว่าถ้าให้เมืองระนองและเมืองตระขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร จะรักษาราชการทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรดให้ยกเมืองระนองและเมืองตระขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ส่วนเมืองระนองนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่า-ราชการเมืองระนอง เมื่อปีจอ พ.. 2405 และในคราวที่พระราชทานสัญญาบัตร พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร นายคอซิมก๊อง (ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยารัตนเศรษฐีและพระยาดำรงสุจริตในรัชกาลที่ 5 ) ผู้เป็นบุตรให้เป็นหลวงศรีโลหภูมิตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนองด้วย
ต่อมาพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) มีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลฯ ว่า มีความแก่ชราลงมากแล้ว ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาไปเมืองจีน เพื่อไปบำเพ็ญการกุศลที่บ้านเดิมสักครั้งหนึ่งได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ไปได้ตามประสงค์ พอพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) กลับมา จากเมืองจีน ไม่ช้านักก็เกิดเหตุพวกจีนกุลีกำเริบ ครั้นเมื่อปราบปรามเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) แก่ชราจึงพระราชทาน สัญญาบัตรเลื่อนยศ พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีตำแหน่งจางวางผู้กำกับราชการเมืองระนอง และทรงตั้งพระศรีโลหภูมิพิทักษ์ (คอซิมก๊อง) ซึ่งเป็นบุตรคนใหญ่และเป็นตำแหน่ง ผู้ช่วยราชการเมืองระนองในเวลานั้น เป็นพระยารัตนเศรษฐี ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ ปีฉลู พ.. 2420 และการต้อนรับนั้น โดยความเต็มใจแข็งแรงจริงๆ จึงได้ผ่อนวันออกไปอีกวันหนึ่งเวลาเย็นได้ลงดูตามเนินนั้นโดยรอบ แล้วขึ้นเขาเล็กอีกเขาหนึ่งซึ่งอยู่หน้าท้องพระโรง
พระยาดำรงสุจริต (คอซู้เจียง) อยู่มาจนถึงปี มะเมีย พ.. 2425 จึงถึงอนิจกรรมเมื่ออายุได้ 86 ปี หลังจากพระยาดำรงสุจริต (คอซู้เจียง) ถึงอนิจกรรมแล้ว นายคอซิมบี้ (บุตรคนที่ 6 ) ซึ่งบิดาส่งให้ไปเล่าเรียนที่เมืองจีนนั้น สำเร็จการศึกษากลับมาแล้ว พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) ผู้พี่นำถวายตัวเป็นมหาดเล็ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง
ครั้งต่อมาเมื่อโปรดให้ พระยาอัษฎงคตทิศรักษา (ตันกิมเจ๋ง) เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาอนุกูลสยามกิจ ตำแหน่งกงสุลเยเนราลสยาม ที่เมืองสิงคโปร์ จึงพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนหลวงบริรักษ์โลหวิสัย (ตอซิมบี้) ขึ้นเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตระบุรี
ใน พ.. 2433 (..109) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบแหลมมลายูระยะทางที่เสด็จไปครั้งนั้น ทรงเรือสุริยมณฑล (ลำแรก) เป็นเรือพระที่นั่งไปจากกรุงเทพฯ แล้วทรงช้างพระที่นั่งเสด็จทางสถลมารคจากเมืองชุมพร ข้ามแหลมมลายูไปลงเรือที่เมืองกระบุรี เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศออกไปรอรับเสด็จอยู่ที่เมืองระนอง เสด็จตรวจหัวเมืองชายทะเลในพระราชอาณาเขตแล้วผ่านไปในเมืองมลายูของอังฤกษ ประทับที่เมืองเกาะหมาก เมืองสิงคโปร์ ขาเสด็จกลับเสด็จทอดพระเนตรหัวเมืองมลายูและหัวเมืองไทยทางปักษ์ใต้ตลอดมา ในคราวเสด็จเลียบมณฑลครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องระยะทางเป็นพระราชหัตถเลขาพระราชทานมาถึงเสนาบดีสภาซึ่งรักษาพระนคร ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานมาถึงเสนาบดีสภาซึ่งรักษาพระนคร ทรงพรรณนาและพระราชทานพระบรมราชาธิบายว่าด้วยเมืองระนองในสมัยเมื่อเสด็จไปครั้งนั้น จึงได้คัดพระราชนิพนธ์เฉพาะตอนว่าด้วยเรื่องเมืองระนองมาให้ทราบดังนี้พระราชนิพนธ์ว่าด้วยเมืองระนอง
วันที่ 22 เมษายน (..109 พ..2433) เวลา 4 โมงเช้า นำขึ้นลงเรือกระเชียงเรือไฟลากล่องมาตามลำนํ้าปากจั่น นํ้าขึ้นไหลเชี่ยวอย่างนํ้าทะเล ฝั่งสองข้างตอนบนเป็นเลน ตามฝั่งข้าง
อังกฤษ แลเห็นเทือกเขาสันแหลมมะลายูตลอดไม่ขาดสาย แต่ข้างฝ่ายเราเป็นเขาไม่สู้ใหญ่นัก ที่ริมฝั่งหน้าเทือกเขานั้นเป็นเนินสูงๆ ตํ่าๆ ไป โดยมากที่หว่างเนินก็ตกเป็นท้องทุ่งกว้างๆ มีหมู่บ้านเรือนคนแลเห็นต้นหมากต้นมะพร้าว ทั้งฝ่ายเราฝ่ายเขาก็อยู่ในข้างละห้าหกหมู่เหมือนกันแต่ตอนนี้เสียเปรียบ
อังกฤษที่ลงไปหน่อยหนึ่งถึงที่มีศาลชำระความ มีเรือนโรงใหญ่ๆ หลายหลัง ว่าเป็นที่ตั้งเมืองแต่ก่อน แต่ศาลนั้นสี่เหลี่ยมหลังเล็กๆ ปลูกอยู่กลางแจ้งไม่อัศจรรย์อันใดเลย โรงโปลิศที่ตะพานเหล็กวัดสะเกศโตกว่าลงมาประมาณชั่วโมงหนึ่งถึงโรงโปลิศตั้งอยู่บนหลังเนินตํ่าๆ ริมปากแม่นํ้าน้อย โรงโปลิศนี้เล็กเท่าๆ กันกับศาลนั้นเอง มีโปลิศถือปืนลงมารับ 11 คน เป็นพม่านุ่งผ้าโพกผ้า 6 คน เป็นแขกซิกสวมกางเกงอย่างทหาร 5 คน นายทหารพม่าแต่ไม่เห็นศัสตราวุธ นุ่งผ้าและสวมเสื้อทหาร ตั้งแต่เหนือโรงโปลิศขึ้นมาดูบ้านคนถี่กว่าคลองเท่าไรที่เกาะกงสักนิดหนึ่ง ต่อลงมาข้างล่างแล้วไม่มีผิดกับท่าโรงที่เกาะกงเลยพบวัดหนึ่งอยู่ที่ชายเขา เรียกว่าวัดขี้ไฟโบสถ์หลังคาจาก แต่ไม่อยู่ในนํ้าเหมือนเกาะกงลงมา 3 ชั่วโมงถึงตำบลนํ้าจืด ซึ่งเป็นเมืองพระอัษฎงค์ไปตั้งขึ้นใหม่ มีตะพานยาวขึ้นไปจดถนน เพราะที่นั้นเป็นที่ลุ่ม เวลานํ้าขึ้นปกติท่วมขึ้นไปมากๆ ตะพานแต่งใบไม้และธง มีซุ้มใบไม้ที่ต้นตะพาน มิสเตอร์เมริฟิลด์ แอสสิสตัน คอมมิสชันเนอที่มลิวัน ลงมาคอยรับอยู่ที่ตะพาน ทักทายปราศรัยแล้วขึ้นเสลี่ยงจะไป มิสเตอร์เมริฟิลด์จะขอเข้าแห่เสด็จด้วยกับทหารและโปลิศ เพราะเวลานั้นแต่งตัวเป็นทหาร ได้บอกให้เดินตามไปภายหลังกับพระอัษฎงค์ ถนนที่ขึ้นไปกว้างประมาณสัก 8 ศอก หรือ 10 ศอก ยาวประมาณ 10 เส้นเศษ ผ่านไปในที่ซึ่งตัดต้นไม้ลงไว้จะทำนาขึ้นไปถึงที่สุดถนนนี้ มีถนนขวางอีกสายหนึ่ง มีประตูใบไม้และร้านพระสงฆ์สวดชยันโต อยู่ที่สามแยกนั้น เลี้ยวขึ้นไปที่บ้านพระอัษฎงค์ ซึ่งเป็นเรือนขัดแตะถือปูนพื้นสองชั้นอย่างฝรั่ง ดูภายนอกเป็นตึกพอใช้ได้ แลดูจากบนเรือนนั้น เห็นที่ซึ่งปลูกสร้างขึ้นไว้และบ้านเรือนไร่นาราษฎรตลอด ตามแนวถนนขวางมีโรงโปลิศเป็นสามมุข ฝาขัดแตะถือปูนหลังหนึ่งห่างไปจากถนนใหญ่สัก 2 เส้น มีศาลชำระความเป็นศาลฯ กลางสามมุข เป็นตึกอยู่ริมถนนยังไม่แล้วเสร็จหลังหนึ่ง นอกนั้นก็เป็นโรงเรือนราษฎรหลายหลัง ความคิดพระอัษฎงค์ซึ่งยกเมืองลงมาตั้งที่นํ้าจืดนี้ เพื่อจะให้เรือใหญ่ขึ้นไปถึงได้การค้าขายจะได้ติด และระยะนี้คลองกว้าง ถ้าชักคนลงมาติดได้ที่นี่ การที่จะข้ามไปข้ามมากับฝั่งอังกฤษค่อยยากขึ้นหน่อยหนึ่ง หาไม่โจรผู้ร้ายหนีข้ามไปข้ามมาได้ง่ายนัก อีกประการหนึ่ง ที่แถบนี้มีทำเลที่ทำนากว้าง ถ้าตั้งติดเป็นบ้านเมืองก็จะเป็นที่ทำมาหากินได้มาก เดี๋ยวนี้ขัดอยู่อย่างเดียว แต่เรื่องคนไม่พอแก่ภูมิที่เท่านั้น ได้ถามมิสเตอร์เมริฟิลด์ถึงการโจรผู้ร้าย ก็ว่าเดี๋ยวนี้สงบเรียบร้อย การที่โจรผู้ร้ายสงบไปได้นี้ ก็ด้วยอาศัยกำลังมิสเตอร์ซิมบี้ เป็นธุรแข็งแรงมาก และว่าเมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ร้ายฆ่าคนตายในแดนอังกฤษ ได้ขอให้พระยาชุมพรช่วยพระยาชุมพรก็ช่วยจนได้ตัวผู้ร้ายแล้ว แต่ผู้ซึ่งไปตามผู้ร้ายนั้นต้องเสือกัดตายคนหนึ่ง มิสเตอร์เมริฟิลด์รับอาสาจะโดยเสด็จต่อไปอีก ได้บอกชอบใจและห้ามเสีย พระสงฆ์ซึ่งมาคอยชยันโตอยู่นี้ มีเจ้าอธิการวัดนาตลิ่งชัน ซึ่งพระอัษฎงค์ว่าเป็นหัวหน้ายี่หินศีร์ษะกระบือ ภายหลังมาสาบาลให้พระอัษฎงค์ว่าจะไม่ประพฤติเช่นนั้นต่อไป อธิการวัดขี้ไฟอีกองค์หนึ่ง พระอัษฎงค์ว่าเป็นคนดีรับว่าจะข้ามมาอยู่ที่นํ้าจืด
พระสงฆ์เมืองหลังสวนออกไปอยู่ 4 องค์ นอกนั้นเป็นพระมาแต่ฟากมลิวันอีก 17 ได้ถวายเงินตามสมควรแล้วลงเรือล่องมา ประมาณสัก 50 มินิตถึงปากคลองพระขยางข้างฝ่ายเราดูกว้างกว่าแม่นํ้าน้อย ลงไปอีกไม่ช้าก็ถึงคลองลำเลียง ซึ่งเป็นพรมแดนเมืองตระกับเมืองระนองดูปากช่องกว้างใหญ่ แต่เข้าไปข้างในเห็นท่าจะไม่โต แต่นี้ไปฝนตกมากบ้างน้อยบ้างตลอดทางไม่ใคร่จะได้ดูอันใดได้สองฟากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนกันสูงใหญ่ เวลาฝนตกมืดคลุ้มไปเป็นเมฆทับอยู่ครึ่งเขาค่อนเขาลำนํ้ากว้างออกๆ ทุกที แต่ไม่ใคร่เห็นมีบ้านผู้เรือนคน ลงมาจากนํ้าจืด 2 ชั่วโมงถ้วน ถึงเรืออุบลบุรทิศซึ่งขึ้นไปจอดคอยรับอยู่ที่ตรงปากคลองเขมาข้างฝั่งอังกฤษ ถึงเรือใหญ่ฝนจึงได้หาย เดิมคิดว่าจะไปไล่กระจงที่เกาะขวาง แต่เวลามาถึงบ่าย 5 โมงเสียแล้ว จึงได้ทอดนอนอยู่ที่ปากคลองเขมาคืนหนึ่ง
วันที่ 23 ออกเวลาโมงหนึ่งกับ 20 มินิต เป็นเวลานํ้าขึ้น ครู่หนึ่งถึงเกาะขวาง ที่เกาะขวางนี้พระยาระนองร้องอยู่ว่าแผนที่อังกฤษทำ คือแผนที่กัปตันแบกเป็นต้น หมายสีไม่ต้องกันกับหนังสือ สัญญาในหนังสือสัญญว่าเกาะทั้งสองฝั่ง ใกล้ฝั่งข้างไทยเป็นของไทย ใกล้ฝั่งอังกฤษเป็นของอังกฤษ เว้นไว้แต่เกาะขวางเป็นของไทย ส่วนเกาะในแผนที่นั้น เกาะสมุดที่อยู่ใกล้ฝั่งของอังกฤษเป็นเกาะย่อมจดชื่อว่าเกาะขวางทาสีเขียวให้เป็นของไทย ส่วนเกาะขวางซึ่งเป็นสามเกาะใหญ่ๆ อยู่ใกล้ฝั่งข้างไทยเกาะหนึ่งอยู่ใกล้เกือบจะศูนย์กลางค่อนข้างไทยสักหน่อยหนึ่งสองเกาะ ที่ชาวบ้านนี้ตลอดจนถึงนายโปสิศฝ่ายอังกฤษ ก็ยอมรับว่าเป็นเกาะขวางนั้นหมายแดงเป็นของอังกฤษได้มีใบบอกเข้าไปก็ตัดสินรวม ๆ ออกมาว่าที่หมายแดงเป็นของอังกฤษ ที่หมายเขียวเป็นของไทย แต่ลักษณะเกาะที่เป็นอยู่นั้นขัดอยู่กับหนังสือสัญญาเช่นนี้ขอให้ฉันดู ได้ตรวจดูก็เห็นเป็นหน้าสงสัยจริงอย่างเช่นเขาว่า จะเป็นด้วยแกล้งหรือด้วยแผนที่ผิดก็ได้ เรื่องนี้จะได้ชี้แจงด้วยแผนที่ในที่ประชุมต่อไป ได้ถามถึงการที่ได้ประโยชน์เสียประโยชน์ในที่เกาะไขว้กันเช่น อย่างไรบ้าง ก็ว่าเกาะเหล่านี้ไม่มีคนตั้งบ้านเรือนอยู่ประจำ แต่เป็นที่ชันมากทุกๆ เกาะ ถ้าเป็นเกาะข้างฝ่ายอังกฤษคนเราจะไปทำไม่ขอหนังสือต่อเขาก่อนเขาไม่ให้ไปทำ เป็นความลำบากแก่คนของเราที่จะไปทำมาหากินในที่นั้น ตั้งแต่เกาะขวางนี้ไปฝ่ายข้างเราเขาสูงมากเป็นเทือกใหญ่ ดูเหมือนอย่างเกาะช้าง เรียกว่าท่าครอบ ข้างฝ่ายอังกฤษดูแนวเขาใหญ่ปัดห่างออกไปเป็นแต่เขาย่อมๆ มีคนตั้งอยู่ริมนํ้าเทียวทำชันบ้างเป็นแห่งๆ ต่อท่าครอบลงไปมีลำคลองเรียกว่าละอุ่นขึ้นระนอง ในระยะนี้มีที่ตื้นอยู่สองตำบล นอกนั้นก็ลึกตลอดจนถึงปากอ่าวระนอง ฝั่งทั้งสองข้างนั้นไม่ได้มีที่ราบเลยจนสักแห่งหนึ่ง เป็นแต่เขาใหญ่เขาเล็กตลอดไปจนกระทั่งถึงปลายแหลม เวลาเช้า 4 โมงทอดสมอที่เกาะผี ปากอ่าวเมืองระนอง ที่นี้พระอัษฎงค์ทำเรือนตะเกียงเช่นที่บางปะอินตั้งไว้เสาหนึ่ง มีเรือสำเภาบรรทุกเข้ามาจากเมืองพม่าจอดอยู่ลำหนึ่ง เรือมุรธาวสิตยิงปืนสลุด รอผ่อนของขึ้นบกอยู่จนเที่ยงจึงได้ลงเรือกระเชียงเรือไฟลากข้ามไปดูแหลมเกาะสอง ซึ่งอังกฤษเรียกว่าวิกตอเรียปอยต์
อ้อมปลายแหลมออกไปดูข้างหน้านอกแล้วเลียบเข้าจนถึงคอแหลมหน้าใน ที่แหลมนี้เป็นเนินสูงดินแดง ๆ ไม่ใครมีต้นไม้คอแหลมทั้งหน้านอกหน้าในมีบ้านเรือนคนอยู่ หน้านอกไม่ได้เข้าไปใกล้ แต่หน้าในเห็นมีเรือนปั้นหยาฝาจากพื้นสองชั้น 3 หลัง มีโรงใหญ่เล็กประมาณ 20 หลัง มีต้นหมาก มะพร้าว แต่ที่แผ่นดินที่หมู่บ้านตั้งนั้นเป็นที่ตํ่าแอบคอแหลมอยู่หน่อยเดียว ที่บนหลังเนินปลายแหลมมีศาลชำระความแบบเดียวกับที่นาตลิ่งชัน ตั้งอยู่กลางแจ้งแดดร้อนเปรี้ยงมีเรือนปั้นหยาฝาจากอยู่หลังหนึ่งทรุดโทรมยับเยินทั้ง 2 หลัง คล้ายกันกับที่นาตลิ่งชัน การที่อังกฤษจัดรักษาในที่แถบนี้ไม่กวดขันแข็งแรงอันใดอยู่ข้างโกโรโกเตกว่าเราเสียอีกคนที่อยู่บนบกแลเห็นเป็นแขกเขาว่าเป็นมะลายูบ้าง จีนบ้างประมาณสัก 30 ครัวทั้งหน้านอกหน้าในหากินด้วยทำปลา เรืออ้อมมาหว่างเกาะเล็กของอังกฤษที่แอบฝั่งอยู่สองเกาะข้างปากอ่าวเมืองระนองที่ฝั่งขวามีโรงจีนตัดฟืน สำหรับส่งเรือเมล์ประมาณสัก 30 หลัง ฝั่งซ้ายเป็นที่ตลิ่งชายเนินสูง ตั้งโรงโปลิศอยู่ในที่นั้น เวลานํ้าขึ้นเรือขนาดองครักษ์ขึ้นไปได้ถึงท่า ตั้งแต่ทะเลเข้าไปสองไมล์เท่านั้น ตะพานที่ขึ้นยาวประมาณสองเส้นเศษมีแพลอยและศาลาปลายตะพาน ผูกใบไม้ปักธงตลอด เมื่อถึงต้นตะพานมีซุ้มใบไม้ซุ้มหนึ่ง พระยาระนองและกรมการไทยจีนรับอยู่สัก 5060 คน ขึ้นรถที่เขาจัดลงมารับ มีรถเจ้านายและข้าราชการหลายรถขึ้นไปตามหนทางซึ่งเป็นถนนถมศิลาแข็งเรียบดีอย่างยิ่ง แต่ถนนนี้แคบกว่าถนนข้างใน ๆ ประมาณสัก 3 วา สองข้างทางข้างตอนต้นเป็นป่าโกงกางขึ้น ขึ้นไปหน่อยหนึ่งก็ถึงเรือกสวนรายขึ้นไปทั้งสองข้าง ข้ามตะพานสามตะพาน เป็นตะพานเสาไม้ปูกระดานมีพนักทาสีขาว เข้าไปข้างในมีทุ่งนาแปลงหนึ่ง แลดูที่นี่แลเห็นเขาซึ่งเป็นพลับพลา แล้วก็เข้าในหมู่สวนหมู่ไร่ต่อไปอีกจนถึงต้นตลาดเก่าแลเลี้ยวแยกไปตามถนนทำใหม่ เป็นถนนกว้างสัก 8 วา ไปจนถึงถนนขึ้นเขามีโรงเรือนสองข้างทางแน่นหนาแต่ไม่มีตึกเลย ผู้คนครึกครื้นตามระยะทางที่มามีซุ้มแปลกกันถึง 6 ซุ้ม ซุ้มที่จะเข้าถนนตลาดเป็นอย่างจีน เก๋งซ้อนๆ กันมีเสามังกรพันเป็นงามกว่าทุกซุ้ม ทางที่ขึ้นเขาตัดอ้อมวงไป ท่าทางก็เหมือนกันกับที่คอนเวอนเมนต์เฮาส์สิงคโปร์ หรือที่บ้านใครๆ ต่างๆ ที่เขานี้เขาว่าสูงร้อยสิบฟิต แต่เป็นเนินลาดๆ มีที่กว้างใหญ่โตกว่าเขาสัตนาถมาก พลับพลาที่ทำนั้นก็ทำเสาไม้จริงเครื่องไม้จริงกรอบฝาและบานประตูใช้ไม้จริง แต่กรุใช้ไม้ระกำทั้งลำเข้าเป็นลายต่างๆ หลังคานั้นมุงไม้เกล็ดแล้วสองหลัง นอกนั้นมุงจากดาดสี ใช้สีนํ้าเงิน จะให้เหมือนกันกับหลังคาไม้ซึ่งทาสีไว้มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่ข้างในหลังหนึ่งยกเป็นห้องนอนสูงขึ้นไปหลังหนึ่ง
มีคอนเซอเวเตอรียาวไปจนหลังแปดเหลี่ยมอีกหลังหนึ่ง ที่หลังเล็กซึ่งเป็นที่นอน และที่หลังแปดเหลี่ยม และดูเห็นเมืองระนองทั่วทั้งเมือง หน้าต่างทุก ๆ ช่องเมื่อยืนดูตรงนั้นก็เหมือนหนึ่งดูปิกเชอแผ่นหนึ่ง แผ่นหนึ่ง ด้วยแลเห็นทุ่งนาออกไปจนกระทั่งถึงภูเขาซึ่งอยู่ใกล้ชิด ได้ยินเสียงชะนีร้องเนืองๆ สลับซับซ้อนกันไป ด้านหนึ่งก็เป็นได้อย่างหนึ่ง ด้านหนึ่งก็เป็นอย่างหนึ่ง ไม่เคยอยู่ที่ใดซึ่งตั้งอยู่ในที่แลเห็นเขาทุ่งป่า และบ้านเรือนคนงานเหมือนอย่างที่นี้เลย การตบแต่งประดับประดาและเครื่องที่จะใช้สอยพรักพร้อมบริบูรณ์อย่างปินังตามข้างทางและชายเนิน ก็มีเรือนเจ้านายและข้าราชการหลังโตๆ มีโรงบิลเลียดโรงทหารพรักพร้อมจะอยู่สักเท่าใดก็ได้ วางแผนที่ทางขึ้นทางลงข้างหน้าข้างในดีกว่าเขาสัตนาถมาก เสียแต่ต้นไม้บนเนินนั้นไม่มีต้นใหญ่ ที่เหลือไว้ก็เป็นต้นไม่สู้โต ต้นเล็กๆ ที่ตัดก็ยังเป็นตอสะพรั่งอยู่โดยรอบแต่ในบริเวณพลับพลาปลูกหญ้าขึ้นเขียวสดบริบูรณ์ดีทั่วทุกแห่ง พระยายุทธการโกศล มาคอยรับอยู่ที่เมืองระนองนี้ 5 วันมาแล้ว เดิมคิดว่าต้องมานอนที่เกาะเขมาเกินโปรแกรมวันหนึ่งจะย่นวันเมืองระนองเข้าอยู่แต่สองคืน แต่ครั้นเมื่อไปเห็นที่เขาทำไว้ให้อยู่ลงทุนรอนมากคล้ายเข้าหอพระปริคที่เพชรบุรีปลูกศาลาไว้ในหมู่ร่มไม้เป็นที่เงียบสงัด เวลากลางวันนี้ไม่ร้อนด้วยครึ้มฝน เวลากลางคืนหนาวปรอทถึง 750
วันที่ 24 เวลาเช้าไปดูที่ตลาดเก่ามีโรงปลูกชิดๆ กันทั้งสองฟากเกือบร้อยหลังแลเห็นเป็นจีนไปทั้งถนน ที่สุดถนนนี้ถึงบ้านเก่าของพระยารัตนเศรษฐี ซึ่งตั้งอยู่ที่หาดใกล้ฝั่งคลอง ต้นคลองนั้นเป็นที่ทำเหมืองแร่ดีบุก นํ้าล้างดินทรายซึ่งติดแร่ลงมาถมจนคลองนั้นตัน ดินกลับสูงขึ้นกว่าพื้นบ้าน
สายนํ้าก็ซึมเข้าไปในบ้านชื้นไปหมด ผนังใช้ก่อด้วยดินปนปูน ตึกรามพังทะลายไปบ้างก็มี ที่ยังอยู่ผนังชื้นทำให้เกิดป่วยไข้ จึงได้ย้ายไปตั้งบ้านใหม่ ที่ย้ายไปตั้งบ้านใหม่เสียนั้นเป็นดีมาก ทำให้เมืองกว้างออกไปอีกสามสี่เท่า ด้วยถนนตลาดเก่านี้ไปชนคลอง จะขยายต่อไปอีกไม่ได้อยู่แล้ว เวลาบ่ายไปดูบ่อนํ้าร้อน ระยะทางเจ็ดสิบเส้น มีถนนดีเรียบร้อย ได้เห็นทางซึ่งเขาทำชักสายนํ้ามาทำเหมืองดีบุก แย่งเอานํ้าในลำธารโตๆ เสียทั้งสิ้น จนลำธารนั้นแห้ง ไม่มีนํ้าเลย ที่บ่อนํ้าร้อนนี้ ดูเป็นที่ซึ่งสำหรับจะร้อนนั้นออกมาจากเขานํ้าตกรินๆ ออกมาจากศิลาขวางกับลำธารนํ้าเย็น ทำนบซึ่งกั้นเปิดนํ้าเย็นให้ไปตามรางสายนํ้าทำเหมืองข้ามมาบนที่ซึ่งเป็นนํ้าร้อน นํ้าฟากข้างนี้ก็ร้อน ฟากข้างโน้นก็ร้อน นํ้าเย็นไปกลาง นํ้าร้อนที่นี้ไม่มีกลิ่นกำมะถันหรือกลิ่นหินปูนเลย แต่ร้อนไม่เสมอกัน บ่อหนึ่งปรอท 1440 บ่อหนึ่งปรอท 1540 ถ้าไปอึกกระทึกใกล้เคียงเดือดและควันขึ้นแรงได้จริง
วันที่ 25 เวลาเช้าไปที่บ้านใหม่พระยาระนองผ่านหน้าโรงรางคือตราง ทำเป็นตึกหลังคาสังกะสีแบบคุกที่ปีนัง ดูเรียบร้อยใหญ่โตดีมากแต่ยังไม่แล้วเสร็จ บ้านพระยาระนองเองก่อกำแพงรอบสูงสักสิบศอก กว้างใหญ่เห็นจะสามเส้นสี่เส้น แต่ไม่หันหน้าออกถนนด้วย ซินแสว่าหันหน้าเข้าข้างเขาจึงจะดี ที่บนหลังประตูทำเป็นเรือนหลังโตๆ ขึ้นไปอยู่เป็นหอรบ กำแพงก็เว้นช่องปืนกรุแต่อิฐบางๆ ไว้ด้วยกลัวเจ๊กที่เคยลุกลามขึ้นครั้งก่อน เมื่อมีเหตุการณ์ก็จะได้กระทุ้งออกเป็นช่องปืน ที่กลางบ้านทำตึกหลังหนึ่งใหญ่โตมาก แต่ตัวไม่ได้ขึ้นอยู่ เป็นแต่ที่รับแขกและคนไปมาให้อาศัย ตัวเองอยู่เรือนจากเตี้ยๆ เบียดชิดกันแน่นไปทั้งครัวญาติพี่น้องรวมอยู่แห่งเดียวกันทั้งสิ้น มีโรงไว้สินค้าปลูกริมกำแพงยืดยาว ในบ้านนั้นก็ทำไร่ปลูกมันปีหนึ่ง ได้ถึงพันเหรียญ เป็นอย่างคนหากินแท้ ออกจากบ้านพระยาระนองไปสวน ซึ่งเป็นที่หากินด้วยทดลองพืชพรรณไม้ต่างๆ ด้วย ที่กว้างใหญ่ปลูกต้นจันทน์เทศและกาแฟ ส้มโอปัตเตเวีย มะพร้าว ดุกู และพริกไทยๆ นั้นได้ออกจำหน่ายปีหนึ่งถึงสิบหาบแล้ว เวลาบ่ายนี้ไม่ได้ไปแห่งใด ด้วยเป็นเวลาครึ้มฝนหน่อยหนึ่งก็ฝนตก
พระยาระนองขอให้ตั้งชื่อพลับพลานี้เป็นพระที่นั่ง ด้วยเขาจะรักษาไว้เป็นที่ถือนํ้าพระ-พิพัฒสัจจาและขอให้ตั้งชื่อถนนด้วย จึงได้ตั้งชื่อพระที่นั่งว่ารัตนรังสรรค์เพื่อจะให้แปลกลํ้าๆ พอมีชื่อผู้ทำเป็นที่ยินดี เขาที่เป็นที่ทำวังนี้ ให้ชื่อว่านิเวศนคีรีถนนตั้งแต่ท่าขึ้นมาจนสุดตลาดเก่าแปดสิบเส้นเศษ ให้ชื่อว่าถนนท่าเมืองถนนทำใหม่ตั้งแต่สามแยกตลาดเก่าไปตามหน้าบ้านใหม่พระยาระนองถึงตะพานยูง เป็นถนนใหญ่เกือบเท่าถนนสนามไชย ให้ชื่อว่าถนนเรืองราษฎร์ถนนตั้งแต่ตะพานยูงออกไปจนถึงที่ฮ่วงซุ้ยพระยาดำรงสุจริต สัก 70 เส้นเศษย่อมหน่วยหนึ่ง ให้ชื่อถนนชาติเฉลิมถนนตั้งแต่ถนนบ่อนํ้าร้อนถึงเหมืองในเมืองให้ชื่อถนนเพิ่มผลถนนทางไปบ่อนํ้าร้อน 70 เส้นเศษ ให้ชื่อถนนชลระอุถนนหน้าวังซึ่งเป็นถนนใหญ่ให้ชื่อถนนลุวังถนนออบรอบตลาดนัดต่อกับถนนลุวังกับถนนเรืองราษฎร์ เป็นถนนใหญ่แต่ระยะทางสั้นให้ชื่อถนนกำลังทรัพย์ถนนตั้งแต่ถนนเรืองราษฎร์มาถึงถนนชลระอุผ่านหน้าศาลชำระความซึ่งทำเป็นตึกสี่มุขขึ้นใหม่ยังไม่แล้ว ให้ชื่อถนนดับคดีถนนแยกจากถนนเรืองราษฎร์ลงไปทางริมคลองให้ชื่อถนนทวีสินค้ากับอีกถนนหนึ่งซึ่งพระยาระนองคิดจะทำออกไปถึงตำบลหินดาด ซึ่งเป็นทางโทรเลขขอชื่อไว้ก่อนจึงได้ให้ชื่อว่าถนนผาดาดถนนซึ่งเขาทำและได้ให้ชื่อทั้งปวงนี้ เป็นถนนที่น่าจะได้ชื่อจริง ๆ ใช้ถมด้วยศิลากรวดแร่แข็งกร่าง และวิธีทำท่อนํ้าของเขาเรียบร้อยทุกหนทุกแห่ง ฝนตกทันใดนั้น จะไปแห่งใดก็ไปไม่ได้
วันที่ 26 เวลาเช้าไปดูที่ฝังศพพระยาดำรงสุจริต ตามทางที่ไปเป็นนาเป็นสวนตลอด เมื่อจวนจะถึงที่ฝังศพเป็นสวนพระยาระนองทั้งสองฟาก ปลูกหมากมะพร้าวมะม่วงเป็นระยะท่องแถวงามนัก มะพร้าวปลูกขึ้นไปจนถึงไหล่เขา ที่หน้าที่ฝังศพปลูกต้นไม้ดอกต่างๆ เมื่ออยู่เมืองระนองเวลาคํ่าๆ มีบุหงาส่ง ที่ฝังศพนั้นมีป้ายศิลาสูงสักสี่ศอกเศษ จารึกเรื่องชาติประวัติของพระยาดำรงสุจริตทั้งภาษาไทย ภาษาจีน เป็นคำสรรเสริญตลอดจนบุตรหลาน ถัดเข้าไปมีเสาธงศิลาคู่หนึ่ง แพะคู่หนึ่ง เสือคู่หนึ่ง ม้าคู่หนึ่ง ขุนนางฝ่ายบุ๋นฝ่ายบู๊คู่หนึ่ง แล้วก่อเขื่อนศิลาปู ศิลาเป็นชั้นๆ ขึ้นไป 3 ขั้น จึงถึงลานที่ฝังศพมีพนักศิลาสลักเป็นรูปสัตว์ และต้นไม้เด่นๆ ที่กุฏินั้นก็ล้วนแล้วด้วยศิลาตลอดจนถึงที่ทำเป็นหลังเต่า ต่อขึ้นไปเป็นเนินพูนดินเป็นลอนๆ ขึ้นไป 3 ลอน ตามแบบที่ฝังศพจีนแต่แบบต้องอยู่ที่กลางแจ้ง ไม่มีร่มไม้เลย ลงทุนทำถึง 600 ชั่งเศษ ที่ฝังศพมารดาและญาติพี่น้องอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ต้องไว้ระยะห่าง ๆ ดูน่าจะเปลืองที่เต็มที
กลับจากที่ฝังศพไปดูทำเหมือง พึ่งจะเข้าใจชัดเจนในครั้งนี้ จะพรรณนาว่าทำอย่างไรให้ละเอียดก็ยืดยาวนัก ไม่มีเวลาเขียน เช้า 5 โมงเศษกลับมาลงเรือ ออกจากอ่าวระนองไปทอดที่เกาะพลูจืดซึ่งเป็นด่านต่อเขตต์แดน มีโรงโปลิศของเมืองระนองตั้งรักษาอยู่ที่นั้น แต่ที่แท้เกาะพลูจืดนี้ไม่เป็นปลายเขตต์แดนทีเดียว เกาะคันเกาะหาดทรายยาวเป็นที่ต่อ แต่สองเกาะนั้นไม่มีนํ้ากินจึงไปตั้งไม่ได้ เวลาที่ไปนี้เลียบไปใกล้เกาะวิกตอเรีย เกาะนี้มีที่ราบมาก มีลำคลอง คนออกไปตั้งทำปลาอยู่ที่นั้นก็มีเวลาบ่ายลงเรือไปรอบเกาะพลูจืด ให้คนขึ้นไล่เนื้อเพราะที่เกาะนี้เขาเคยได้เนื้อเสมอ และคนที่ด่านก็เข้ามาแจ้งความว่ามีแน่เพราะเข้ามากินกล้วยชาวด่านปลูก แต่จะเป็นด้วยคนมากหรือเกินไปอย่างไร เลยตกลงเป็นโห่เปล่า
เมื่ออยู่ที่เมืองระนอง พวกจีนในท้องตลาดมาหาเกือบจะหมดเมือง มีส้มหน่วยกล้วยใบตามแต่จะหาได้ จีนผู้หนึ่งเป็นมิวนิสเปอลกอมมิสชันเนอในเมืองระริด ทำภาษีรังนกและภาษีฝิ่นในเมืองตะนาวศรีและบิดาจีนอองหลายซึ่งเป็นล่ามเมืองตระ และเป็นน้องเขยพระยาระนองลงมาแต่เมืองระมิดมาหาด้วยการรับรองเลี้ยงดูของพระยาระนองแข็งแรงอย่างยิ่งพี่น้องลูกหลานกลมเกลียวกัน คิดอ่านจัดการแต่จะให้เป็นที่สบายทุกอย่างที่จะทำได้ การทำนุบำรุงรักษาบ้านเมือง เขาบำรุงจริงๆ รักษาจริงๆ โดยความฉลาดและความตั้งใจ ยากที่จะหาผู้รักษาเมืองผู้ใดให้เสมอเหมือนได้
คนไทยในเมืองระนองนี้ ผิดกันกับเมืองตระ คือไม่ได้เก็บเงินค่าราชการ หรือจะเรียกว่าค่าหลังคาเรือนอย่างเช่นเมืองตระ เลขสักข้อมือสมกรมการก็ไม่เหมือนเมืองหลังสวน ที่เมืองหลังสวนเก็บเงินข้าราชการแต่ตัวเลขที่สักข้อมือ คนขึ้นใหม่ไม่ได้เก็บ ที่เมืองตระไม่มีสมกรมการ แต่เก็บเงินทั่วหน้า เมืองระนองนี้ไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าแต่ก่อนมีก็คืนเสียแล้วไม่ได้เก็บเงินอันใด ชั่วแต่เกณฑ์มารักษาเมือง (หรือบ้านเจ้าเมือง) ในเวลาตรุษจีน คือตั้งแต่เดือน 3,4,5 สามเดือน ผลัดละสิบห้าวัน แต่ก็ยัง ไม่พอ ต้องไปเอาคนหลังสวนมาอีกห้าสิบคน เวลาคนมาอยู่ประจำการกินอาหารกงสี กับการจรเช่นทางโทรเลข ใช้เกณฑ์ ไม่ได้จ้างเหมือนเมืองตระ เขายื่นยอดสำมะโนครัวกรมการเมืองระนอง 24 ครัว อำเภอ 86 ครัว ไพร่ชายฉกรรจ์ 1,530 คน เด็ก 749 คน รวมชาย 2,279 คน หญิงฉกรรจ์ 1,109 คน เด็ก 616 คน รวมหญิง 1,725 คน รวม 4,004 คน รวมทั้งครัวกรมการอำเภอ 1,122 ครัว แขกเดิมหลวงขุนหมื่น 8 ครัว ไพร่ชายฉกรรจ์ 42 เด็ก 65 คน รวม 107 คน หญิงฉกรรจ์ 37 เด็ก 21 รวม 58 คน รวมชายหญิง 165 คน เป็นครัว 35 ครัว จีนมีบุตรภรรยา 300 จีน จีนจร 2,800 (เห็นจะเป็นเอสติเมต) รวม 3,100 รวมคนเดิมชาย 5,604 คน หญิง 1,783 คน รวม 7,385 คน คนใหม่มาแต่เมืองอื่นๆ คือ ไชยา 29 ครัว หลังสวน 90 ครัว ชุมพร 10 ครัว นคร 2 ครัว ตระ 2 ครัว ฝ่ายอังกฤษ 2 ครัว รวม 135 ครัว ชายฉกรรจ์ 185 คน เด็ก 126 คน รวม 411 คน หญิงฉกรรจ์ 157 คน เด็ก 91 คน รวม 266 คน รวมไทยมาใหม่ 577 คน แขกมาแต่เมืองถลาง 14 ครัว เมืองตะกั่วทุ่ง 17 ครัว รวม 31 ครัว เป็นชายฉกรรจ์ 43 เด็ก 30 คน รวม 73 คน หญิงฉกรรจ์ 35 เด็ก 37 รวม 72 รวมชายหญิง 145 คน รวมเก่าใหม่ชาย 5,988 คน หญิง 2,121 คน รวมทั้งสิ้น 8,109 คน
การทำนามีแต่ชั่วคนไทย ทำข้าวไร่ทั้งนั้น นาพื้นราบทำน้อย ที่เห็นอยู่เพียงสามแปลงก็เป็นนาเจ้าเมืองเสียแปลงหนึ่ง แต่ยังมีข้าวพอคนไทยกินได้มาก ไม่สู้จะต้องซื้อพม่านัก ส่วนจีนนั้นไม่ได้กินข้าวในเมืองเลย กินข้าวในเมืองพม่าทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นข้าวเมืองพม่าจึงเป็นสำคัญในแถบนี้ เรือเมล์ที่เดินอยู่ทุกวันนี้สองลำ คือเรือเซหัวของพระยาระนองลำหนึ่ง เรือเมอควีของอังกฤษลำหนึ่ง แต่เรือ เซหัวอยู่ข้างจะคล่องแคล่วกว่าเรือเมอควี เจ้าพนักงานอังกฤษกล่าวโทษเรือเมอควีอยู่ว่าเสียเปรียบ เซหัว การในเมืองระนองยังมีอยู่อีกซึ่งจะต้องแจ้งความต่อภายหลัง
วันที่ 27 เวลา 11 ทุ่ม ออกเรือเดินทางช่องระหว่างเกาะเสียงไหกับเกาะช้าง ที่ในแผนที่เขียนว่าแสดดัลไอล์แลนด์มาไม่มีคลื่นลมอันใดเป็นปกติ พระราชนิพนธ์เรื่องเมืองระนองมีปรากฏเพียงนี้
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาถึงเมืองตรัง ทรงพระราช-ดำริว่า เมืองตรังเป็นทำเลที่สำคัญ หากการปกครองยังไม่ดีบ้านเมืองจึงไม่มีความเจริญพระองค์ได้ทอด
พระเนตรเห็น พระอัษฎงคตทิศรักษา (คอซิมบี้) จัดการทำนุบำรุงเมืองตระบุรี จึงชอบพระราชหฤทัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนพระอัษฎงคตทิศรักษา (คอซิมบี้) ขึ้นเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง
ต่อมาถึงสมัยเมื่อจัดการปกครองหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลโปรดฯ ให้หัวเมืองมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยแต่กระทรวงเดียวทั้งหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายเหนือ ฝ่ายตะวันออก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เลื่อนขึ้นเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีตำแหน่งสมุห-เทศาภิบาลมณฑลชุมพรและ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อน พระบุรีรักษ์ โลหวิสัย (คออยู่หงี) บุตรคนใหญ่ของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง) ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง
พระยาดำรงสุจริต (คอซิมก๊อง) รับราชการในตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาล อยู่จนแก่ชรา กราบถวายบังคมลาออกจากราชการกลับไปอยู่เมืองระนอง จนถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ 6
ใน พ.. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเลียบหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก และที่เมืองระนองนี้พระยาดำรงสุจริต (คอซิมก๊อง) ได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้วพระยารัตนเศรษฐี (คออยู่หงี) บุตรพระยาดำรงสุจริต (คอซิมก๊อง) ก็ป่วยเป็นโรคอัมพาตทุพลภาพ ไม่สามารถรับราชการได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยารัตนเศรษฐี (คออยู่หงี) เป็นพระดำรงสุจริตมหิศรภักดี และโปรดให้พระระนองศรีสมุทรเขตต์ (คออยู่โงย) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก) เป็นผู้ว่าราชการเมืองระนองสืบต่อไป
ในรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกเสด็จทรงรถไฟออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 เมษายน ประทับแรมที่เมืองเพชรบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชุมพร แล้วทรงช้างพระที่นั่ง โดยเสด็จสถลมารคข้ามแหลมมลายูไปลงเรือพระที่นั่งที่ลำนํ้าปากจั่น และเสด็จถึงเมืองระนอง เมื่อวันที่ 17 เมษายน ซึ่งจากหลักฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ในเรื่องตำนานเมืองระนอง ถึงการเสด็จเมืองระนองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนี้เสด็จถึงเมืองระนอง
วันอังคารที่ 17 เมษายน เวลาบ่าย 1 โมง กระบวนเรือพระที่นั่งออกจากอ่าวปากคลองละอุ่นไปปากนํ้าระนองบ่าย 4 โมงถึงอ่าวระนอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องครึ่งยศเสือป่ากรมพรานหลวงรักษาพระองค์ เสด็จประทับเรือกลไฟเล็กศรีสุนทร เรือรบหลวงสุครีพครองเมืองยิงปืนถวายคำนับ เรือศรีสุนทรแล่นเข้าลำนํ้าระนอง พอผ่านตลาดจีนชาวประมงที่ปากนํ้าจุดประทัดดอกใหญ่ถวายคำนับเรือศรีสุนทรเข้าเทียบสะพานยาวหน้าเมือง นายพลโทพระยาสุรินทรราชานำเสด็จไป
ประทับปรำปลายสะพานพระสงฆ์สวดชยันโตถวายชัยมงคลข้าราชการสกุล ณ ระนองและกรมการ
พ่อค้า นายเหมืองเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเสือป่าและลูกเสือจังหวัดระนองจังหวัดตะกั่วป่าตั้งแถวรับเสด็จบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับรถม้าเป็นรถพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปตามถนนซึ่งมีราษฎรคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ทั้ง 2 ฟากทางผ่านซุ้มพ่อค้าฝรั่งพ่อค้าพม่าและพ่อค้าจีนตกแต่งรับเสด็จขึ้นเขานิเวศน์ประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์การพระราชทานพระแสงราชศัสตราที่จังหวัดระนอง
วันพุธที่ 18 เมษายน เวลาบ่ายเจ้าพนักงานได้ไปทอดพระราชบังลังก์และแต่งตั้งเครื่องราชูปโภคที่พลับพลาทองจตุรมุขมีปรำรอบตัวอันสร้างขึ้นที่สนามตรงจวนเจ้าเมืองเก่าหนทางห่างจากที่ประทับขึ้นไปประมาณ 10 เส้น เสือป่ากรมพรานหลวงรักษาพระองค์ พร้อมด้วยแตรวงธงประจำกอง 1 กองร้อยในบังคับนายหมวดเอกพระพำนักนัจนิกรได้เดินแถวไปตั้งเป็นกองเกียรติยศตรงหน้าพลับพลา มีหมวดทหารมหาดเล็กและตำรวจภูธรตั้งแถวอยู่สองข้าง สมาชิกเสือป่าจังหวัดระนองและตะกั่วป่า มีดอกไม้ธูปเทียนทูลเกล้าฯ ถวาย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในปรำเบื้องขวา
เวลาบ่าย 3 โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศเสือป่า เสด็จทรงรถพระที่นั่งไปยังพลับพลาทอง แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และเสือป่า ทหาร ตำรวจภูธรถวายวันทยาวุธเมื่อสุดเสียงแตรสรรเสริญพระบารมีแล้วนายพลโทพระยาสุรินทราชาสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ตอ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณาดังต่อไปนี้คาถวายชัยมงคล
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้ารับฉันทานุมัติของข้าทูลละอองธุลีพระบาทและประชาชนจังหวัดระนอง ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยในการ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระราชอุสาหะเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ตรอนแรมมาในทางกันดารทั้งทางบกและทางนํ้าจนบรรลุถึงจังหวัดระนองครั้งนี้ ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณพิเศษโดยเฉพาะ เพราะในพระพุทธศักราช 2452 เมื่อทรงดำรงพระราชอิสสริยยศสมเด็จพระยุพราชก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาครั้งหนึ่งแล้ว ข้าพระพุทธเจ้ายังคำนึงถึงพระเดชพระคุณอยู่มิได้ขาด แต่ถึงแม้มาตรว่าข้าพระพุทธเจ้ามีความปรารถนาที่จะได้ชมพระบารมีอีกสักปานใดก็เป็นอันพ้นวิสัยที่จะให้สมหวังในเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้ประการ 1 อีกประการ 1 เมื่อปีก่อนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและสร้างทางโทรเลขแต่จังหวัดชุมพรมาเชื่อมต่อกับจังหวัดระนอง ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังเร่งรีบทำอยู่ ณ บัดนี้ก็ควรนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนจังหวัดระนองโดยเฉพาะเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทครั้งนี้จึงทำให้ข้าพระพุทธเจ้าปิติยินดีเป็นพ้นที่จะพรรณนา ตั้งแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงรับพระราชภาระปกครองพระราชอาณาจักร พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงชักจูงประเทศสยามขึ้นสู่ความเจริญโดยรวดเร็วเพียงใดข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเห็นประจักษ์อยู่แล้ว เป็นต้นว่าทางพระราชไมตรีในระวางนานาประเทศก็รุ่งเรือง พระเกียรติยศพระเกียรติคุณขจรฟุ้งเฟื่องทั่วทิศานุทิศ จนพระราชาธิบดีแห่งประเทศอังกฤษซึ่งเป็นมหาประเทศในยุโรปได้ถวายยศนายพลเอกในกองทัพบกอังกฤษแด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และทรงรับดำรงยศนายพลเอกในกองทัพบกสยาม ทั้งนี้ควรนับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูงส่วนหนึ่ง
ส่วนการป้องกันพระบรมเดชานุภาพและพระราชอาณาจักร ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทก็ได้ทรงทำนุบำรุงกองทัพบก ทัพเรือ และกองอาสาสมัครเสือป่า ลูกเสือ ให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงทั้งทรงอุดหนุนราชนาวีสมาคมและสภากาชาด ซึ่งควรนับว่าเป็นกำลังและเป็นสง่าสำหรับบ้านเมืองสมควรแก่สมัยทั้งการไปมาค้าขายก็ได้ทรงทำนุบำรุงให้สะดวกเจริญขึ้นเป็นลำดับแม้มหาประเทศยุโรปได้ทำการสงครามขับเคี่ยวกันมาเกือบ 3 ปีแล้วการไปมาค้าขายเกิดขัดข้องมากบ้างน้อยบ้างทั่วไปทุกประเทศ การค้าขายในพระราชอาณาเขตต์ก็ดำเนินอยู่เรียบร้อยและเฉพาะในมณฑลภูเก็ตกลับมีผลประโยชน์ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนอีก คนต่างประเทศก็เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่เป็นนิจ เพราะแสวงหาอาชีพได้คล่องดี ความเจริญรุ่งเรืองทั้งหลายนอกจากนี้ยังมีอีกเหลือที่จะยกขึ้นพรรณนาเพราะได้อาศัยพระบุญญาภินิหารในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ประกอบกับพระปรีชาสามารถและพระราชวิริยะอุตสาหะในราชกิจทั้งปวง จึงเป็นผลลุล่วงเห็นประจักษ์ปานฉะนี้ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งซึ่งเป็นใหญ่ในสกลโลกจงอภิบาลรักษาพระองค์พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพระเจริญสุขทุกทิพาราตรีกาลพระชนมายุยั่งยืนนานปราศจากโรคาพาธ ศัตรูทั้งหลายจงพินาศพ่ายแพ้พระบุญญาภินิหาร ขอให้ทรงเกษมสำราญในพระหฤทัย จะทรงประกอบราชกิจใด ๆ จงเป็นผลสำเร็จสมดังพระบรมราชประสงค์ทุกประการ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
สิ้นคำถวายไชยมงคลแล้วมีพระราชดำรัสตอบดังนี้พระราชดารัสตอบ
เราได้ฟังคำของสมุหเทศาภิบาลกล่าวในนามของข้าราชการและอาณาประชาชนจังหวัดระนองนี้เรามีความปิติและจับใจเป็นอันมากที่ได้ทราบว่าท่านทั้งหลายรู้สึกตัวว่าเราได้พยายามและตั้งใจที่จะทำนุบำรุงพวกท่านทั้งหลายให้มีความสุขและความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับข้อนี้เป็นข้อที่เราปรารถนายิ่งกว่าอย่างอื่น ส่วนตัวเราที่จะมีความสุขความสำราญและรื่นรมอย่างหนึ่งอย่างใดก็โดยรู้สึกว่าได้กระทำการตามหน้าที่มากที่สุดที่จะทำได้ให้เป็นผลสำเร็จ เมื่อได้มาแลเห็นผลสำเร็จแม้ไม่เต็มที่เป็นแน่ส่วน 1 ก็นับว่าเป็นที่สบายใจ
ส่วนจังหวัดระนองนี้เราได้เคยมาแต่ครั้งก่อนตามที่สมุหเทศาภิบาลได้กล่าวแล้วและได้มารู้สึกว่าเป็นที่ซึ่งอาจเป็นเมืองเจริญได้แห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักรของเราแต่หากว่าลำบากในทางคมนาคม จึงทำให้ความเจริญนั้นดำเนินได้ช้ากว่าที่จะเป็นไปได้ เราจึงได้ให้จัดการสร้างถนนระหว่าง
จังหวัดชุมพรกับจังหวัดระนองเพื่อให้การคมนาคมดีขึ้น ครั้นเมื่อเราได้มาในคราวนี้อีกครั้งหนึ่งแล้วก็ได้เดินตามทางที่ตัดใหม่ ซึ่งถึงแม้ยังไม่แล้วสำเร็จดีก็อาจทำความสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก เมื่อทางไปมาจากจังหวัดชุมพรมาจังหวัดระนองสะดวกขึ้นได้ในทางบกแล้วการค้าขายและการติดต่อในทางทำนุบำรุงอาณาเขตต์ก็ทำได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ข้อนี้ทำให้เรารู้สึกยินดีและรู้สึกเหมือนตัวเราได้มาอยู่ใกล้กับพวกท่านทั้งหลายอีกส่วนหนึ่ง และยังหวังอยู่ว่าจะสามารถจัดการให้การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้นกว่าที่ทำได้ในเวลานี้
ในที่สุดนี้เราขอกล่าวว่าจังหวัดระนองเป็นที่ไปมายากเช่นนี้เราจึงมีความเสียใจที่จะมาเยี่ยมไม่ได้บ่อยๆ เท่าที่เราปรารถนาจะมา แต่ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงอยู่เสมอ จึงจะขอให้ของไว้เป็นที่ระลึกแทนคือพระแสงราชศัตราที่เป็นของเราใช้ไว้สำหรับท่านทั้งหลายจะได้รับไว้รักษาเพื่อเป็นเกียรติยศแก่เมืองนี้ เพื่อเป็นเครื่องแทนตัวเราผู้มาอยู่เองไม่ได้ ขอให้เข้าใจว่าพระแสงนี้เรามอบให้ไม่เฉพาะแต่แก่เจ้าเมืองเท่านั้น เรามอบให้ท่านทั้งหลายที่เป็นข้าราชการทุกคนต้องช่วยกันตั้งใจทำนุบำรุงรักษาพระแสงนี้ไม่ให้เสื่อมเสียเกียรติยศลงไปได้แม้แต่เล็กน้อย ถึงแม้อาณาประชาชนพลเมืองจงรู้สึกว่ามีหน้าที่เคารพและช่วยรักษาเหมือนกัน เพราะต้องรู้สึกว่าในส่วนผู้ที่มีหน้าที่ปกครองพระแสงย่อมเป็นเครื่องหมายพระราชอำนาจ ที่ท่านทั้งหลายรับแบ่งมาใช้ในทางสุจริตทางธรรมเพื่อนำความร่มเย็นแก่อาณาประชาชน ฝ่ายอาณาประชาชนก็จงรู้สึกว่าพระแสงนี้เป็นอำนาจปกครองเช่นนั้นเหมือนกัน และเมื่อรู้สึกว่ามีอำนาจปกครองอยู่ในที่นี้สมควรจะได้รับความร่มเย็นจากอำนาจนั้นแล้วก็ต้องนับถือเคารพต่ออำนาจนั้นว่าเป็นเครื่องป้องกันสรรพภัยดังนี้ ถ้าจะประพฤติให้ถูกต้อง ต้องตั้งตนอยู่ในศีลในธรรม ความสุจริต ซื่อตรง จงรักภักดีอยู่ในพระราชกำหนดกฎหมายและประพฤติตนให้เป็นพลเมืองดีโดย ทั่วกัน
ขอให้ผู้ว่าราชการรับพระแสงนี้ไปรักษาไว้แทนบรรดาข้าราชการและอาณาประชาชน
พลเมืองจังหวัดระนองเพื่อเป็นสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลแก่ท่านทั้งหลายทั่วกัน
จึงอำมาตย์ตรี พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดรับพระราชทานพระแสงราชศัสตราฝักทองคำจำหลักลายจากพระหัตถ์ขณะนั้นพระสงฆ์สวดชัยมงคล และข้าราชการจังหวัดและประชาชนถวายไชโยพร้อมกัน และพระระนองบุรีกราบบังคมทูลรับกระแสพระบรมราโชวาทเหนือเกล้าฯ เพื่อปฏิบัติตาม และรับพระแสงราชศัสตราอันเป็นเครื่องราชูปโภครักษาไว้ เพื่อเป็นเกียรติยศและเป็นสวัสดิมงคลแก่จังหวัดระนองสืบไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้วแก่พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์และพระยาสุรินทราชานำหีบบรรจุคำถวายชัยมงคลมีรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ และสมุดที่ระลึกในการเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ตขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และสมุดนั้นได้แจกข้าราชการทั่วไปด้วยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินจากพลับพลาทองพระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ทูลเกล้าฯ ถวายพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดระนอง ทรงรับพระราชทานให้เชิญตามเสด็จพระราชดำเนินเสด็จกลับสู่พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ โดยกระบวนรถม้าตามทางเดิม
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน เวลาบ่าย 4 โมง เสด็จทรงรถม้าประพาสบ้านเมืองผ่านสวนซึ่งเป็นที่ตั้งฮ่องซุ้ยที่ฝังศพผู้ใหญ่สกุล ณ ระนอง เมื่อผ่านทางเข้าไปที่ฝังศพพระยาดำรงสุจริต (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) ซึ่งถึงอนิจกรรมเมื่อพ.. 2455 มหาอำมาตย์ตรี พระยาดำรงสุจริต (คออยู่หงีณ ระนอง) บุตรผู้สืบตระกูลคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขมาศพให้นำไปพระราชทานที่ฮ่องซุ้ย แล้วทรงรถพระที่นั่งต่อไป ถึงฮ่องซุ้ยพระยารัษฎานุประดิษฐ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ซึ่งเดิมเป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ..2456 เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ฝังศพและพระราชทานเครื่องขมาศพโดยพระองค์เอง หลวงบริรักษ์โลหวิสัย (คออยู่จ๋าย ณ ระนอง ) บุตรผู้สืบตระกูลได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคมอย่างธรรมเนียมจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แสดงพระราชหฤทัยอาลัยในท่านพระรัษฎานุประดิษฐ ผู้ทรงคุ้นเคยและเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยและพระราชทานพระบรมราโชวาทให้หลวงบริรักษ์โลหวิสัยประพฤติตนให้สมควรเป็นผู้สืบตระกูลวงศ์และพระราชทานพร แล้วเสด็จประทับในปรำบนสนามหญ้าหน้าฮ่องซุ้ย ข้าราชการประจำจังหวัดระนองตั้งเครื่องพระสุธารส ถวายและเลี้ยงนํ้าชาข้าราชการทั่วไป พระประดิพัทธภูบาลได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายดินสอเงินมีห่วงห้อย และแจกดินสอเงินนั้นแก่ผู้ตามเสด็จเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินที่ฮ่องซุ้ย และหลวงบริรักษ์โลหวิสัยได้แจกบุหรี่ฝรั่งปลายโต ซึ่งเป็นบุหรี่ของชอบของพระยารัษฎานุประดิษฐผู้บิดาพอเป็นที่ระลึกแก่ผู้ตามเสด็จทั่วกัน เวลาจวนยํ่าคํ่าเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ที่ประทับ ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์
ครั้นเวลาคํ่าราษฎรชาติพม่าซึ่งมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในจังหวัดระนองมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และได้เตรียมฝึกหัดบุตรหลานชั้นดรุณีไว้ฟ้อนรำถวายตัว พวกดรุณีที่มาฟ้อนรำถวายประมาณ 20 คน แต่งตัวเสื้อผ้าแพรสีสวมมาลัยที่มวยผมที่เอวเสื้อมีโค้งเหมือนรูปแตรงอนทั้ง 2 ข้างมีสะไบคล้องคอครั้งแรกจับระบำและร้องเพลงพร้อมๆ กันได้ความว่าเป็นคำถวายชัยมงคลขอให้เทพเจ้าอภิบาลรักษาใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทรงพระเกษมสำราญแล้วจึงจับเรื่องละคร มีจำอวด ผู้ชายเข้าเล่นด้วย 2 คน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสมาเงินอักษรพระปรมาภิไธยย่อแก่เหล่าดรุณีที่ฟ้อนถวายตัว และพระราชทานแหนบสายนาฬิกาอักษรพระปรมาภิไธยย่อเงินลงยาแก่พม่าผู้เป็นล่ามแปลเรื่องละครถวายและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิมแก่พระยาดำรงสุจริต (คออยู่หงี ณ ระนอง) ด้วย
วันที่ 20 เมษายน เวลาเช้า 4 โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรถพระที่นั่งไปยังท่าจังหวัดระนอง กองเสือป่าและลูกเสือจังหวัดระนอง และตะกั่วป่าตั้งกองเกียรติยศส่งเสด็จและมหาอำมาตย์ตรีพระยาดำรงสุจริต พระประดิพัทธภูบาล หลวงพิชัยชิณเขตต์ หลวงบริรักษ์โลหวิสัยกับกรมการคฤหบดี ไทย จีน แขก พม่า ก็มาส่งเสด็จพร้อมกัน พระสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดระนองแก่ระนองบุรีศรีสมุทเขตต์แล้วเสด็จประทับเรือกลไฟศรีสุนทรล่องนํ้าระนอง เมื่อถึงตลาดปากนํ้าพวกจีนจุดประทัดดอกใหญ่ถวาย เวลาเสด็จขึ้นเรือหลวงถลาง เรือรบหลวงศรีสุครีพครองเมืองยิงปืน 21 นัด กระบวนตามเสด็จมีเรือ โตรัวของบริษัทอิสเตินชิบปิงซึ่งเดินเมลระหว่างปีนังภูเก็ตและระนองและเรือมัมบางซึ่งเป็นเรือหลวงสำหรับจังหวัดสตูลเพิ่มขึ้นอีก 2 ลำ นายพลโทพระยาสุรินทราชาสมุหเทศาภิบาล โดยเสด็จพระราชดำเนินในเรือพระที่นั่งเวลาเที่ยงเรือรบหลวงสุครีพครองเมืองนำกระบวนเรือพระที่นั่งออกจากอ่าวระนอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เมืองระนองในคราวเสด็จประพาสเลียบหัวเมืองชายทะเลตะวันตกและเสด็จฯ ประทับแรม ณ จังหวัดระนอง 1 ราตรี ในวันที่ 29 มกราคม 2471
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ จังหวัดระนองเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2502การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาครูปหนึ่งซึ่งรัฐบาลกลาง
จัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทยคือระบบกินเมืองให้หมดไป การปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 คือเมื่อ พ.. 2437 แต่เดิมการปกครองหัวเมืองนั้นอำนาจการปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยังไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยังมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมติดต่อไปมาหาสู่กันมีความลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีเฉพาะหัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่นๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกันโดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองอยู่ที่เจ้าเมืองระบบเทศาภิบาล เริ่มจัดตั้งแต่ พ.. 2437 จนถึง พ.. 2458 จึงสำเร็จ
พระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ได้ให้คำจำกัดความของการเทศาภิบาลไว้ว่าการเทศาภิบาลคือการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลางซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากรเพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้น อันดับดังนี้คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมืองคือจังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวง กรมในราชธานี และจัดสรรข้าราช-การที่มีความรู้สติปัญญาความประพฤติดีให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็วแก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกันแต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมาส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑลดังกล่าวนี้ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
. . 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑลคือมณฑลนคร ชัยศรี มณฑลนครสวรรค์และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
มณฑลภูเก็ต ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2438 นั้น ประกอบด้วย 6 เมือง คือ
1. เมืองภูเก็ต
2. เมืองกระบี่
3. เมืองตรัง
4. เมืองตะกั่วป่า
5. เมืองพังงา
6. เมืองระนอง
ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตคนแรก คือ พระยาทิพโกษา (โต โชติกเสถียร) ซึ่งเดิมเป็นข้าหลวงรักษาราชการหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกอยู่
ต่อมามณฑลภูเก็ตซึ่งเดิมขึ้นกับสมุหพระกลาโหม ได้โอนมาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ในปี 2438
ในปี พ.. 2452 ปลายสมัยรัชการที่ 5 ได้มีการประกาศแยกการปกครองจังหวัดสตูลออกจากมณฑลไทรบุรี ซึ่งรัฐบาลได้ทำสัญญาโอนให้ไปอยู่ในความปกครองของอังกฤษโดยให้โอน
เฉพาะจังหวัดสตูลไปไว้ในมณฑลภูเก็ต
ในสมัยราชกาลที่ 6 พ.. 2468 ได้มีการประกาศโอนการปกครองจังหวัดสตูลมาขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราชเพราะจังหวัดสตูลติดต่อกับมณฑลนครศรีธรรมราชซึ่งมีที่ตั้งบัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองสงขลาสะดวกกว่ามณฑลภูเก็ตการจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้นปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ
ประวัติศาสตร์จังหวัดระยอง
ตราประจำจังหวัด


รูปพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 5 บนเกาะเสม็ด
คำขวัญประจำจังหวัด
ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก

เมื่อมองดูแผนที่ประเทศซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายขวานโบราณ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของตัวขวานจะเป็นที่ตั้งของจังหวัดระยอง เมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างสองเมืองใหญ่คือ ชลบุรีและจันทบุรี ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานครไม่เกินสามชั่วโมงก็จะมาถึงเมืองระยอง เมืองที่มีมาแต่ครั้งโบราณมาแล้วประวัติการก่อตั้ง
ระยองเริ่มมีชื่อปรากฏในพงศาวดารเมื่อปี พ.. 2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนประวัติดั้งเดิมก่อนหน้านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่พอจะเชื่อถือได้ว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยของ ขอม คือ เมื่อประมาณ ปี พ.. 1500 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมมีอนุภาพครอบคลุมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเมืองนครธมเป็นราชธานี ขอมได้สร้างเมืองนครพนมเป็นเมืองหน้าด่านแรก เมืองพิมายเป็นเมืองอุปราชและได้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองสำคัญด้วย ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองนครธม เมืองหน้าด่านเมืองแรกที่ขอมสร้างก็คือ เมืองจันทบูรหรือจันทบุรีในปัจจุบันนี้
เมื่อขอมสร้างจันทบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อนาเอาอารยะธรรมของขอมเข้ามาสู่แคว้น ทวาราวดี ก็น่าจะอนุมานได้ว่าขอมเป็นผู้สร้างเมืองระยองนี้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่ได้ค้นพบ คือ ซากหินสลักรูปต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ที่บ้านดอน บ้านหนองเต่า ตำบลเชิงเนิน คูค่ายและซากศิลาแลงบ้านคลองยายล้า ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่ายซึ่งเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม ทำให้สันนิษฐานว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยของขอมอย่างแน่นอนที่ตั้ง
ที่ตั้งของเมืองปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง ส่วนที่ตั้งดั้งเดิมนั้นหนังสือ "ตำนานเมือง" ของราชบัณฑิตยสภากล่าวไว้ว่า ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าที่เดิมจะตั้งอยู่ในท้องที่ใด ได้ความเพียงว่าตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเก่า อำเภอบ้านค่าย ปัจจุบันมีซากหินหลักรูปต่าง ๆ ศิลาแลงปรากฏให้เห็นอยู่ ขณะนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองเท่าใดนัก ขึ้นอยู่กับตำบลตาขัน ตำบลบ้านค่าย ต่อมาชายฝั่งทะเลได้งอกออกไปเรื่อย ๆ จึงได้เลื่อนตัวเมืองตามลงไปตั้งอยู่ที่ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง ในปัจจุบัน
จาก "นิราศเมืองแกลง" ของสุนทรภู่ก็ได้กล่าวถึง "บ้านเก่า" ไว้ตอนหนึ่งว่า
"พอสิ้นดงตรงบากออกปากช่อง
ถึงระยองเหย้าเรือนดูไสว
แวะเข้าย่านบ้านเก่าค่อยเบาใจ
เขาจุดไต้ต้อนรับให้หลับนอน"
คำว่า "บ้านเก่า" นี้ คงจะหมายถึงหมู่บ้านเก่า ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองระยองในเวลานั้นนั่นเอง สุนทรภู่ได้แวะพักเอาแรงที่บ้านเก่า 2 คืนก่อน แล้วจึงออกเดินทางต่อไปยังบ้านนาตาขวัญ บ้านแลง ผ่านไปเรื่อยจนกระทั่งถึงบ้านกร่า อำเภอแกลง (ในสมัยนั้นเป็นเมืองแกลง) เพื่อไปพบกับบิดาซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่นั้นที่มาของคาว่า "ระยอง"
มีผู้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชื่อนี้เป็นหลายกระแส คือ
1. ตำบลท่าประดู่อันเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในขณะนี้ แต่เดิมเป็นที่อาศัยของพวกชอง ซึ่งตั้งรกรากอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมอยู่ในแถบระยอง จันทบุรี ชนเผ่านี้มีความชำนาญในป่าเขาลำเนาไพรและมีภาษาพูดของตนเอง เป็นชนพื้นเมืองที่นิยมใช้ลูกปัดสีต่าง ๆ และทองเหลืองเป็นเครื่องประดับ สืบเชื้อสายมาจากพวกขอม (นักชาติวงศ์วิทยาจัดให้อยู่ในพวกมอญเขมร) อันนี้ทำให้น่าคิดว่า คำว่า ระยอง ตะพง เพ แลง ชะเมา แกลง ซึ่งเป็นชื่อเมือง ตำบลและอำเภอ ซึ่งไม่มีคำแปลในพจนานุกรมไทย ก็น่าจะมาจากภาษาชองนี่เอง จากเรื่อง "อาณาจักรชอง ตอนหนึ่ง" ของแก่นประดู่กล่าวไว้ว่า "ผู้เฒ่าผู้แก่วัยหนึ่งศตวรรษ หลายต่อหลายคนต่างก็ยืนยันในคำพูด อยู่ในทำนองเดียวกันว่าระยองเป็นภาษาพูดคำหนึ่งของคนเผ่าชอง ซึ่งเดิมเรียกกันว่า "ราย็อง" (เวลาอ่านต้องอ่านออกเสียงตัว รา ให้ยาวหน่อย และออกเสียงตัว ย็อง ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้) คำ "ราย็อง" นี้ เล่ากันมาแปลว่า "เขตแดน" หมายถึงว่าเป็นดินแดนของพวกชองอยู่ แต่ภาษาพูดนี้เรียกเพี้ยนกันมาเรื่อย ๆ จึงกลายเป็น "ระยอง" ในที่สุด
2. อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าคำว่า "ระยอง" นี้ในภาษาชองน่าจะหมายถึง ไม้ประดู่ เพราะ ในบริเวณที่มีพวกชองตั้งรกรากอยู่นั้นอุดมไปด้วยไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ปัจจุบันหายากมากและราคาแพง เขตแดนแถบนี้จึงมีชื่อว่า ตำบลท่าประดู่ อันเป็นที่ตั้งของเมืองระยองเวลานี้
3. ผู้อ้างหลักฐานว่าแต่เดิมมีหญิงชราชื่อว่า "ยายยอง" เป็นผู้มาตั้งหลักฐานประกอบอาชีพทาไร่ในแถบนี้ก่อนผู้ใด จึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า "ไร่ยายยอง" ต่อมาภาษาพูดก็เพี้ยนไปจนกลายเป็นระยองในที่สุด
ชนเผ่าชองจะมาตั้งรกรากอยู่ทางดินแดนแถบระยองเมื่อไรไม่ปรากฏ แต่เล่ากันว่ามีมานานแล้ว เมื่อคราวที่สุนทรภู่เดินทางมาเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลงก็ยังมีพวกชองอยู่เป็นจำนวนมาก สุนทรภู่ได้เขียนถึงพวกชองไว้ในนิราศเมืองแกลงว่า
"ด้วยเดือนเก้าเข้าวสาเป็นหน้าฝน
จึงขัดสนสิ่งของต้องประสงค์
ครั้นแล้วลาฝ่าเท้าท่านบิตุรงค์
ไปบ้านพลงค้อตั้งริมฝั่งคลอง
ดูหนุ่มสาวชาวบ้านรำคาญจิต
ไม่น่าคิดเข้าในกลอนอักษรสนอง
ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง
ไม่เหมือนน้องนึกน่าน้าตากระเด็น"
กล่าวกันว่า แม้แต่ตระกูลทางบิดาของสุนทรภู่ก็เป็นเชื้อชอง ปัจจุบันไม่มีชนเผ่านี้อยู่ในระยอง เพราะไม่ชอบอยู่ในย่านตลาดหรือชุมนุมชน เมื่อความเจริญย่างเข้ามาก็อพยพทิ้งถิ่นไปเรื่อยๆ และยังมีเชื้อสายชาวชองปรากฏอยู่ที่บ้านคะเคียนทอง คลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีด้านประวัติศาสตร์
ขอย้อนกล่าวทางด้านประวัติศาสตร์บ้าง ประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงเมืองระยองในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ทรงคิดว่าไทยอ่อนแอ จึงถือโอกาสกรีฑาทัพบุกรุกเข้ามาในแดนไทยแถบหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ตามวิสัยที่เคยกระทำมาเป็นเนืองนิจ คือเมื่อไทยเข้มแข็ง เขมรก็มาสวามิภักดิ์ แต่เมื่อไทยอ่อนแอก็ถือโอกาสโจมตีทุกครั้งไป แต่ในครั้งนี้เขมรก็ไม่สามารถยึดครองหัวเมืองเหล่านี้ไว้ได้ จึงเพียงแต่กวาดต้อนผู้คนไปยังประเทศเขมร ซึ่งในบรรดาชาวเมืองที่ถูกกวาดต้อนไปในครั้งนั้นก็มีชาวระยองอยู่ด้วยไม่น้อย
ประวัติศาสตร์อีกตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่สอง พระยาวชิรปราการหรือพระยาตากแม่ทัพคนสำคัญแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกเกณฑ์ให้มารักษากรุงในระหว่างที่ถูกพม่าล้อมไว้ตั้งแต่ ปี พ.. 2306 - 2310 ได้พิจารณาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงจะต้องเสียทีแก่พม่าเป็นแน่แท้เพราะพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์ผู้ครองกรุงในเวลานั้นทรงอ่อนแอและไร้ความสามารถ ถ้าขืนสู้รบต่อไปก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด ฉะนั้น ในราวเดือนยี่ พ.. 2309 พระยาตากจึงรวบรวมพรรคพวกประมาณ 500 คน มีทั้งไทยและจีน รวมทั้งข้าราชการที่มีความเชื่อถือในฝีมือของพระยาตากอีกหลายคน อาทิ เช่น พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา หมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งหลัก ณ วัดพิชัย (อยู่ใต้สถานีรถไฟในปัจจุบัน) แล้วยกกองทัพมุ่งไปทางตะวันออก ได้ปะทะกับพม่า แต่สามารถตีฝ่าวงล้อมไปได้ พอไปถึงบ้านลำบัณฑิตเวลาสองยามเศษก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้กรุง ต่อจากนั้นก็มุ่งไปบ้านโพธิสามหาว (โพธิสาวหารหรือโพธิสังหารก็เรียก) และบ้านพรานนก ได้สู้รบกับพม่าไปตลอดทาง
เส้นทางเดินทัพของพระยาตากที่ปรากฏในพงศาวดารภาคที่ 65 เป็นดังนี้
ออกจากบ้านพรานบนไปบ้านบางคง หนองไม้ซุง ตามทางเมืองนครนายกไปบ้านนาเริ่ง ถึงเมืองปราจีนบุรี บ้านด่านขบและบ้านทองหลาง ตะพานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ ออกไป พัทยา นาจอมเทียน ไก่เตี้ย สัตหีบ หินโค่ง แวะหยุดพักไพร่พลที่บ้านน้ำเก่าซึ่งเข้าใจกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นเป็นบ้านเก่า ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย ซึ่งขณะนั้นผู้รั้งเมืองระยอง คือ พระยาระยอง (บุญเมืองหรือบุญเรือง) ได้ทราบข่าวว่าพระยาตากยกทัพมาก็เกิดความเกรงกลัว จึงพาคณะกรมการเมืองออกไปเชิญให้พระยาตากพาไพร่พลเข้ามาพักในเมือง พร้อมทั้งมอบธัญญาหารเกวียนหนึ่งให้พระยาตาก พระยาตากได้พาไพร่พลเข้ามาที่ท่าประดู่ และพักแรมอยู่ที่วัดลุ่ม (วัดลุ่มมหาชัยชุมพล) สองคืน จึงได้ทาการตั้งค่าย ขุดคูปักขวากล้อมบริเวณที่พักไว้โดยมิได้ประมาท
ในระหว่างเวลานั้น เป็นระยะที่กรุงศรีอยุธยายังมิได้เสียทีแก่พม่า ฉะนั้น การยกทัพมาของพระยาตาก ทำให้กรมการเมืองระยองคิดระแวงไปว่าพระยาตากจะคิดร้ายต่อบ้านเมืองจึงหลบหนีการสู้รบมา จึงได้นาเรื่องเข้าปรึกษาพระยาระยอง ซึ่งพระยาระยองก็ได้กล่าวห้ามปราม แต่กรมการเมืองไม่ยอมเชื่อ ครั้งเมื่อพระยาตากพักอยู่ที่วัดลุ่มได้สองวัน นายบุญรอด แขนอ่อน นายมาด นายบุญมา น้องเมียพระจันทบูร ได้เข้ามาถวายตัวทาราชการและได้นาความมาแจ้งว่าขุนรามหมื่นซ่อง นายทองอยู่นกเล็ก ขุนจ่าเมือง (ด้วง) หลวงแสนพลหาญ กรมการเมืองระยองได้คบคิดกับพวกทหารประมาณ 1,500 คน จะยกเข้ามาประทุษร้ายพระยาตาก ครั้นเมื่อทราบความเช่นนั้นพระยาตากจึงเรียกผู้รั้งเมือง คือ พระยาระยองมาซักถามความจริง แต่ผู้รั้งไม่ยอมรับ พระยาตากจึงสั่งให้ทหารคุมตัวผู้รั้งเมืองไว้และเตรียมการที่จะรับมือกับศัตรูต่อไป
พอพลบค่ำ พระยาตากจึงสั่งให้ทหารเตรียมการป้องกันไว้และดับไฟมืดทั้งค่าย ตกเวลาประมาณทุ่มเศษ พวกกรมการเมืองซึ่งไม่ทราบว่าพระยาตากรู้ตัวก็คุมทหาร 30 คน เข้าโจมตีค่ายทางด้านเหนือ คือทางด้านวัดเนิน มีขุนจ่าเมือง (ด้วง) เป็นหัวหน้า เมื่อขุนจ่าเมืองคุมพรรคพวกเข้ามาใกล้ค่ายประมาณ 5-6 วา พระยาตากก็สั่งให้ทหารระดมยิงปืนพร้อมกันขุนจ่าเมืองและทหารไม่ทันรู้ตัวจึงถูกอาวุธบาดเจ็บล้มตายไปตามๆ กัน พวกกรมการเมืองและทหารที่เหลืออยู่เกิดความกลัวจึงพากันล่าถอยไป พระยาตากก็ระดมไพร่พลไล่โจมตีและยึดเมืองระยองได้ในคืนนั้นเอง ยึดได้ทั้งศาสตราวุธและธัญญาหารเป็นจำนวนมาก บรรดาเหล่าทหารได้เห็นความสามารถและความฉลาดหลักแหลมของพระยาตาก จึงพากันยกย่องเรียกพระยาตากว่า "เจ้าตาก" แต่โดยที่ชื่อเดิมของพระยาชื่อว่า "สิน" จึงพากันเรียกว่า "เจ้าตากสิน" ฉะนั้น จะถือได้ว่าพระยาตากได้รับการยกย่องให้เป็น "เจ้า" ที่เมืองระยองนี่เองก็ไม่ผิดนัก เมื่อเจ้าตากยึดเมืองระยองได้แล้วก็โปรดให้พักไพร่พลอยู่ในเมือง 7-8 วัน เพื่อบำรุงขวัญทหารและจัดการเมืองให้เสร็จเรียบร้อย แล้วจึงเสด็จต่อไปยังเมืองจันทบุรีเพื่อยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการกอบกู้อิสรภาพของชาติคืนจากพม่าต่อไปการโอนเมืองแกลงมาขึ้นกับเมืองระยอง
อำเภอแกลงนั้นแต่เดิมเป็นเมืองเรียกกันว่า "เมืองแกลง" มีฐานะเป็นเมืองจัตวาคู่กับเมือง ขลุง ขึ้นอยู่กับเมืองจันทบูร (จันทบุรี) ด้วยเหตุที่เมืองจันทบุรีเป็นเมืองโบราณมีชื่อปรากฏในพงศาวดารมาแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าเมืองแกลงซึ่งเป็นเมืองขึ้นเมืองหนึ่ง ก็น่าจะมีมาช้านานแล้วเช่นกันที่ตั้งของเมือง
เดิมเมืองแกลงตั้งอยู่ที่บ้านแหลมสน ขณะนั้นมีกองทหารเรือตั้งอยู่ ต่อมาปี พ.. 2440 กองทหารเรือได้ยุบเลิกไปตั้งอยู่ที่อื่น ทางราชการจึงได้ย้ายตัวเมืองจากบ้านแหลมสนไปอยู่ที่บ้านหนองโพรงแหลมเมือง ตำบลปากน้ำประแสร์ แล้วจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านทางเกวียน ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดโพธิ์ทองปัจจุบัน ประมาณ 2 กม. เหตุที่ย้ายที่ตั้งเมืองบ่อย ๆ ก็คงเป็นไปตามแบบการปกครองโบราณ คือเมื่อใครได้เป็นเจ้าเมืองก็ย้ายที่ทาการไปไว้ที่บ้านของตน เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเรื่องเทศาภิบาลว่า
"ตามหัวเมืองในสมัยนั้นปลาดอย่างหนึ่งที่ไม่มีศาลารัฐบาลตั้งประจาสาหรับว่าราชการอย่างทุกวันนี้ เจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ไหนก็ว่าราชการบ้านเมืองที่บ้านของตนเหมือนอย่างเสนาบดีเจ้ากระทรวงในราชธานีว่าราชการที่บ้านตามประเพณีเดิม บ้านเจ้าเมืองผิดกับบ้านของคนอื่นเพียงที่เรียกว่า "จวน" เพราะมีศาลาโถงปลูกไว้นอกรั้วข้างบ้านหลังหนึ่งเรียกว่า "ศาลากลาง" เป็นที่สาหรับประชุมกรรมการเวลามีการงาน เช่น รับท้องตราหรือปรึกษาราชการ เป็นต้น เวลาไม่มีการงานก็ใช้ศาลากลางเป็นศาลาชาระความ เห็นได้ว่าศาลากลางก็เป็นเค้าเดียวกับศาลาลูกขุนในราชธานีนั่นเอง เจ้าเมืองตั้งสร้างจวนและศาลากลางด้วยทุนของตนเอง แม้แผ่นดินซึ่งจะสร้างจวนถ้ามิได้อยู่ในเมืองมีปราการ เช่น เมืองพิษณุโลกเป็นต้น เจ้าเมืองก็ต้องหาชื้อที่ดินเหมือนกับคนทั้งหลาย จวนกับศาลากลางจึงเป็นทรัพย์ส่วนตัวของเจ้าเมือง เมื่อสิ้นตัวเจ้าเมืองก็เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลาน ใครได้เป็นเจ้าเมืองคนใหม่ ถ้ามิได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้าเมืองคนเก่าก็ต้องหาที่สร้างจวนและศาลากลางขึ้นใหม่ตามกำลังที่จะสร้างได้ บางทีก็ย้ายไปสร้างห่างจากที่เดิมฟากแม่น้าหรือแม้จนต่างตำบลก็มีจวนเจ้าเมืองไปตั้งอยู่ที่ไหนก็ย้ายที่ว่าราชการไปอยู่ที่นั่นชั่วสมัยของเจ้าเมืองคนนั้น ตามหัวเมืองจึงไม่มีที่ว่าราชการเมืองตั้งประจำอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นนิจเหมือนอย่างทุกวัน"
เมืองแกลงคงจะมีศาลาสำหรับพิจารณาตัดสินคดีซึ่งเกิดขึ้นภายในเมือง ต่อมาราวปี พ.. 2450 ทางราชการได้สั่งยุบเมืองแกลงลงเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอแกลง" และย้ายจากบ้านทางเกวียนมาอยู่ในปัจจุบัน ศาลเมืองแกลงจึงพลอยถูกยุบลงด้วยนั่นคือ ทางราชการได้ยุบสภาพจากเมืองจัตวาลงมาตั้งเป็นอำเภอ มีหลวงแกลงแกล้วกล้า (ศรี บุญศิริ) เป็นนายอำเภอคนแรก จนถึงปี พ.. 2453 พระคาแหงพลล้าน (ชื่อ คชภูมิ) นายอำเภอคนที่สอง จึงได้ย้ายที่ตั้งอำเภอจากบ้านทางเกวียนมาตั้งอยู่ที่บ้านสามย่าน ตำบลทางเกวียนซึ่งมีสภาพเหมาะสมที่จะขยายตัวเมืองได้อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้การโอนเมืองแกลง
ในปี พ.. 2451 ได้โอนอำเภอแกลงไปขึ้นกับจังหวัดระยอง โดยมีแจ้งความของกระทรวงมหาดไทยลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 25 ลงวันที่ 28 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 127 หน้า 407 ว่า "ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าอำเภอแกลงขึ้นเมืองจันทบุรี ยากจะตรวจตราให้ทั่วถึงได้ ทรงพระราชดาริว่าควรจะโอนอำเภอแกลงไปขึ้นเมืองระยองเพราะเป็นท้องที่อยู่ใกล้ จะเป็นการสะดวกในการบังคับบัญชาและตรวจตรายิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอแกลงไปขึ้นกับเมืองระยองต่อไป"
(แจ้งความมา ณ วันที่ 24 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 127)
ด้วยเหตุนี้อำเภอแกลงจึงมาสังกัดกับจังหวัดระยองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

ประวัติศาสตร์จังหวัดราชบุรี
ตราประจำจังหวัด


คำขวัญประจำจังหวัด
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
จังหวัดราชบุรี มีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึงเมืองพระราชาเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่ อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุ จำนวนมากทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคย ดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและ ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เมืองราชบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ เป็นสมรภูมิการรบ หลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมา พ.. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาค โดยรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมือง ประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ แม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.. 2476 เมื่อได้มีการ ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์จังหวัดราชบุรีมีมายาวนานก่อนที่ประเทศไทยจะก่อกำเนิดขึ้นเป็นรัฐชาติ โดยเป็นดินแดนที่มีชื่อปรากฏในสมัยทวารดี ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีการกำหนดดินแดนที่แน่นอน กลุ่มคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณดังกล่าวจึงมีความผสมผสานวัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณีร่วมกันมาก
อย่างไรก็ตามแม้จังหวัดราชบุรีจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่ช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ ช่วงเวลาที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชบัญชาให้แม่ทัพนายกองของไทยตั้งรับศึกสงครามในช่วงที่มีกองทัพจากพม่ายกมาตีทัพไทยที่รู้จักในชื่อสงคราม 9 ทัพเหตุที่มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์จังหวัดราชบุรี เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในพื้นที่นี้มากขึ้น
สงครามเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามที่แสวงหาการได้มาซึ่งอำนาจในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ปกครองที่ต้องการกาลังคนในช่วงที่ถูกเรียกขานว่ายุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองจาต้องทำสงครามไม่ว่าจะเป็นสงครามที่ไปตีหัวเมืองล้านนาที่ทำให้รัชกาลที่ 1 ได้ไพร่พลในลักษณะกวาดต้อนแบบเทครัวจากหัวเมืองเหนือเป็นชาวยวนหรือโยนก”, สงครามกับอาณาจักรล้านช้างที่ทำให้ได้ชาวลาวเวียง และชาวโซ่ง, สงครามกับเมืองพระตะบองที่ทำให้ได้ชาวเขมร และสงครามกับพม่ารามัญที่ทำให้ได้ชาวมอญและชาวกะเหรี่ยง
การก่อตั้งเมืองจำเป็นต้องอาศัยไพร่พลมาด้วยพระเดชหรือสงครามทำให้อาณาจักรต่าง ๆ จำต้องยอมสวามิภักดิ์ไม่กล้าแข็งข้อกระด้างกระเดื่องด้วยความยาเกรงในฤทธานุภาพ และด้วยพระปรีชาญาณในล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ทรงนาไพร่พลจากการทาสงครามมาเป็นแรงงานในการสร้างเมืองซึ่งก็คือกรุงเทพมหานคร โดยมีเมืองราชบุรีเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในการจัดสรรกำลังพล
แม้ว่าสงครามเก้าทัพเป็นการถูกรุกล้าจากพม่ารามัญ ทว่าการวางแผนการรบอย่างดีของรัชกาลที่ 1 พร้อมด้วยการมีขุนศึกผู้สวามิภักดิ์อย่างกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท (วังหน้า) และกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ทำให้ข้อจำกัดในการมีไพร่พลน้อยหมดไป สิ่งนี้ยิ่งทำให้เห็นถึงการได้มาซึ่งอำนาจเบ็ดเสร็จของไทยเหนือกลุ่มชนกลุ่มต่างๆมากยิ่งขึ้น
การนาไพร่พลจากสงครามของรัชกาลที่ 1 มาจัดสรรที่เมืองราชบุรีน่าจะเป็นเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ ทรงเคยดารงพระยศเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีซึ่งเป็นตำแหน่งตัวแทนของพระราชาที่มาสอดส่องดูแลเมืองราชบุรี มาก่อนที่จะปราบดาภิเษกเป็นรัชกาลที่ 1 อีกทั้งทรงมีพระอัครมเหสีเป็นชาวเมืองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีอาณาเขตติดกับอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
เนื่องจากราชบุรีเป็นเมืองสำคัญที่ลาเลียงกาลังพลในการสร้างกรุงเทพมหานคร หรือกรุงรัตนโกสินทร์ ทาให้ฐานอำนาจของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมั่นคงมากยิ่งขึ้น เมืองต่างๆยอมอ่อนน้อมเพราะถูกตีแตกมาแล้วหลายระลอก
เมืองราชบุรีจึงเป็นเสมือนบ้านคุ้มเหง้า เงาคุ้มร่างที่ไพร่พลซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากสงครามแสวงหาที่พักพิงประกอบกับเป็นเมืองที่มีจุดเด่นเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเป็นเมืองที่มีดินดี ดินที่เกิดจากตะกอนทับถมกันย่อมมีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุเอื้ออำนวยต่อการทาการเกษตร, เลี้ยงสัตว์และปั้นโอ่งได้ดี พร้อมกับการมีแหล่งน้ำที่ดี มีทั้งห้วย หนอง บึง และแม่น้ำที่ไหลลงสู่ปากอ่าวไทยทำให้มีสัตว์น้ำที่เป็นอาหารปากอาหารท้องแก่ชนกลุ่มต่าง ๆ ควบคู่กับการมีป่าไม้ดี ย่อมทำให้มีไม้มากพอเพียงที่จะใช้ในการสร้างบ้านเรือน ด้วยเหตุนี้เมืองที่มีรากแก้วที่มั่นคงอย่างราชบุรีย่อมทำให้ผู้คนจากต่างถิ่นแสวงหาบ้านคุ้มเหง้า เงาคุ้มร่างด้วยเช่นกัน
อัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะหรือความโดดเด่นที่แสดงความเป็นตัวตนของกลุ่มชนกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรีมีดังนี้
มอญราชบุรี มีอัตลักษณ์ในเรื่องภาษาและวัฒนธรรม นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษามอญอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก หรือมอญ-เขมร ซึ่งมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ในส่วนของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมอญที่ยังคงดำรงอยู่ ได้แก่ วัฒนธรรมการแต่งกาย, วัฒนธรรมการละเล่นผีนางด้งและโยนลูกช่วงในเทศกาลแห่ปลา, วัฒนธรรมอาหาร โดยเฉพาะการกินข้าวแช่ในเทศกาลสงกรานต์ ในส่วนของอัตลักษณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง คือ การใช้ภาษามอญสื่อสารในชีวิตประจาวันลดน้อยลง และอัตลักษณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว คือ การสร้างบ้านมอญ ซึ่งในชุมชนมอญวัดม่วง อำเภอโพธาราม มีบ้านที่คล้ายคลึงกับบ้านทรงมอญแบบดั้งเดิมอยู่เพียงหลังเดียว
โซ่งราชบุรีมี อัตลักษณ์ทั้งในเรื่องภาษาและวัฒนธรรม นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาไทยโซ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กระไดโดยมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ในส่วนของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยโซ่งที่ยังคงดารงอยู่ ได้แก่ การเสนเรือนการราแคนในเทศกาลอิ่นก๊อนฟ้อนแคน, วัฒนธรรมอาหาร ไดแก่ แกงหน่อส้ม อัตลักษณ์ในส่วนที่กำลังมีการปรับเปลี่ยนไปในทางสูญสลาย ได้แก่ พิธีศพและพิธีแต่งงานแบบโซ่ง, การบันทึกปั๊บผีเฮือน และการร้องขับแบบกลอนในพิธีเสนเรือน อัตลักษณ์ไทยโซ่งที่ทางราชการไทยให้การส่งเสริม ได้แก่ การทอผ้าซิ่น, การปั้นเกล้า และชุมชนไทยโซ่งที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านไทยเข้มแข็งจากหน่วยงานราชการไทย คือชุมชนบ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปาก
ท่อ
กะเหรี่ยงราชบุรี มีอัตลักษณ์ทั้งในเรื่องภาษาและวัฒนธรรม นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษากะเหรี่ยงอยู่ในตระกูลไซโนทิเบตัน หรือ จีน-พม่า มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยอักษรกะเหรี่ยงได้รับอิทธิพลมาจากอักษรมอญและอักษรพม่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงที่ยังคงสืบเนื่องต่อมา คือ ประเพณีก่อพระทรายและเวียนเจดีย์ในช่วง
เทศกาลสงกรานต์, ประเพณีแห่ฉัตร,ไหว้ต้นไม้, สรงน้ำหลวงพ่อนวม-เหยียบหลังกะเหรี่ยง, ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง
นอกจากนี้ยังมีการแต่งกายแบบดั้งเดิมที่ยังคงดำรงอยู่ในช่วงงานเทศกาลควบคู่กับการฟื้นฟูผลิตภัณฑ์เม็ดเงินไน้ไถ้ไต่จี
นอกจากนี้หน่วยงานราชการไทยโดยเฉพาะเทศบาลอำเภอบ้านคายังได้จัดงานวันสับปะรดหวานที่รวบรวมผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรม ให้กับชนชาวกะเหรี่ยงขึ้นเป็นประจำทุกปี
เขมรราชบุรี เป็นกลุ่มชนที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่เกิดการสูญเสียอัตลักษณ์ของตนเองไปแล้วในช่วงเวลาปัจจุบัน เขมรเป็นกลุ่มชนเพียงกลุ่มเดียวในจังหวัดราชบุรีที่อยู่ในภาวะทิ้งอัตลักษณ์ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากการสร้างทัศนคติด้านลบของการเป็นชาติเขมร (ขอม) อีกทั้งคนเขมรขาดความศรัทธาในการสร้างความเข้มแข็งของชาติตน แม้ว่าอิทธิพลของชนชาตินี้จะเกิดก่อนชนชาติอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ดังปรากฏหลักฐานการสร้างพระปรางค์วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดราชบุรี ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
ยวนราชบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม นักภาษาศาสตร์จัดกลุ่มภาษายวนให้อยู่ในตระกูลภาษาไท-กระได ภาษายวนมีอัตลักษณ์ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนที่คล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นเหนือและมีการใช้รูปอักษรธรรมล้านนาในการบันทึกคัมภีร์ทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานของพระครูสิริคณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาหนอง ในส่วนของ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของยวนที่ยังคงดำรงอยู่ คือ ภาษาพูด ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวยวนยังคงพูดภาษายวนกับลูกหลานในชุมชน ทว่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมบางอย่าง ได้แก่ การทอซิ่นตีนจก กลับเริ่มสั่นคลอนในพื้นที่บ้านดอนแร่
อย่างไรก็ตาม ดร.อุดม สมพร ปราชญ์ชุมชนผู้สร้างจิปาถะภัณฑ์สถาน บ้านคูบัวและเป็นผู้รวบรวมรายชื่อผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทอซิ่นตีนจกในทุกพื้นที่จังหวัดราชบุรีเพื่อให้เกิดความเข็มแข็งทางวัฒนธรรมการทอซิ่นตีนจก อย่างไรก็ตามชาวยวนในพื้นที่บ้านรางบัว อำเภอจอมบึง ยังคงสานต่อการทอซิ่นตีนจกลวดลายดั้งเดิมอยู่ในปัจจุบัน
ไทยพื้นถิ่นราชบุรี มีอัตลักษณ์ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม นักภาษาศาสตร์จัดกลุ่มภาษาไทยพื้นถิ่นให้อยู่ในตระกูลภาษาไท-กระได อัตลักษณ์ทางภาษาพูดเป็นอัตลักษณ์ที่ยังคงดำรงอยู่ทั้งเด็กนักเรียนไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ยังคงดารงอยู่คือ ประเพณีการวิ่งวัวลาน ความน่าสนใจของชนกลุ่มนี้ คือ การเป็นชุมชนที่น่าจะเป็นแหล่งอารยธรรมไทยในยุคเริ่มแรก ประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว เนื่องจากมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์จานวน 48 โครงฝังรวมกับสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับจานวนมากที่เนินโคกพลับ
ลาวเวียงราชบุรี ที่มีความเข้มแข็งทางภาษาและวัฒนธรรม คือลาวเวียงบ้านเลือกและวัดโบสถ์ อำเภอโพธาราม เนื่องจากคนในชุมชนให้ความสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรม โดยเฉพาะพระครูโพธารามพิทักษ์และคุณรังสรรค์ เสลาหลักและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ TK Park มาร่วมกันสร้างหอวัฒนธรรมลาวเวียง และห้องสมุดชุมชนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม นักภาษาศาสตร์จัดกลุ่มภาษาจีนให้อยู่ในตระกูลภาษาไซโนทิเบตัน ซึ่งชาวจีนในจังหวัดราชบุรีมีจำนวนมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ อีกทั้งมีสมาคมและมูลนิธิจีนที่ดาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศพและการบริจาคในรูปแบบองค์กรการกุศลเพื่อช่วยเหลือสังคม ด้วยเหตุนี้เทศบาลราชบุรีจึงให้ความสำคัญในการจัดงานเทศกาลปีใหม่ (ตรุษจีน) ของชาวจีน สาหรับการสืบสานอัตลักษณ์ของชาวจีนที่ยังดาเนินอยู่คือการเรียนภาษาจีน มีโรงเรียนสอนภาษาจีนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา-ระดับอุดมศึกษา และมีการสืบสานศิลปะการแสดงเอ็งกอพะบู๊ นักสู้แห่งเขาเหลียงซาน”, การแสดงสิงโตโชว์ต่อตัวบนหอโชว์ปลายไม้ไผ่, การแสดงเชิดสิงโตเสาดอกเหมย กลางลำน้ำแม่กลอง และการแสดงวัฒนธรรมจีนราพัดในงานราชบุรี ไชน่าทาวน์
กลุ่มชนที่น่าจะเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมในยุคแรกเริ่ม คือ กลุ่มชนไทยพื้นถิ่นโพหักในช่วงอาณาจักรทวารวดี และกลุ่มชนเขมร (ขอม) ซึ่งอารยธรรมขอม นักวิชาการไทยยอมรับว่า อาณาจักรเจินละหรือเจนละของขอมเรืองอำนาจในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยไปจนถึงประเทศกัมพูชาก่อนที่จะเกิดการรวมอำนาจจนสร้างบ้านเมืองเป็นอาณาจักรสุโขทัย
ในช่วงต่อมาเมื่อผู้นาที่เป็นคนเชื้อชาติไทยได้รวมอำนาจและสร้างอาณาจักรสุโขทัยและรักษาอำนาจเรื่อยมาจนถึงอาณาจักรอยุธยากลุ่มคนที่น่าจะเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาสร้างความเจริญในพื้นที่จังหวัดราชบุรีกลุ่มต่อมา คือ คนจีน เกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์ผ่านการแต่งงานของกลุ่มชนทั้ง 3 กลุ่มในช่วงเวลาดังกล่าวจนถึงสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนกลาง กลุ่มชาติพันธุ์มอญเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดราชบุรีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ติดกับจังหวัดกาญจนบุรี ในลักษณะการถูกกวาดต้อนในการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่ารามัญ
เมื่อถึงช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย กลุ่มชนที่ถูกกวาดต้อนจากการทำสงครามโดยบุคคลที่รู้จักในชื่อหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 เป็นผู้บัญชาการรบ ทำให้กลุ่มชนที่เป็นชาวลาวเวียง ไทยวน กะเหรี่ยง เขมร (จากเมืองพระตะบอง) และไทยโซ่งเข้ามาในลักษณะเทครัวในพื้นที่จังหวัดราชบุรี สระบุรี และเพชรบุรี
ในส่วนของลำดับการสืบสานภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรีที่มีความเข้มแข็งทางภาษาและวัฒนธรรมนั้น ผู้วิจัยขอจัดลำดับให้กลุ่มชาติพันธุ์จีนและไทยพื้นถิ่นมีความเข้มแข็งทางภาษามากที่สุด รองลงมาคือไทยวน, มอญ, ลาวเวียง, ไทยโซ่ง และกะเหรี่ยง ในขณะที่ภาษาเขมรมีความเข้มแข็งน้อยสุดในจังหวัดราชบุรีเนื่องจากทั้งผู้เฒ่าผู้แก่จนถึงคนเขมรรุ่นใหม่ไม่สื่อสารด้วยภาษาเขมรอีกแล้ว
เมื่อพิจารณาความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนในจังหวัดราชบุรี โดยวิเคราะห์จากการคงอัตลักษณ์การแต่งกาย, การยังคงสืบสานประเพณีพิธีกรรม ผู้วิจัยพบว่าจีน, กะเหรี่ยง, ลาวเวียง (เฉพาะพื้นที่บ้านเลือก อำเภอโพธาราม) และไทยโซ่ง (เฉพาะพื้นที่บ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ ที่ติดกับพื้นที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี) จะมีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มชนไทยวนและมอญมีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมปานกลาง ทว่ากลุ่มชนไทยพื้นถิ่นและเขมรมีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมน้อยที่สุด
กลุ่มชนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะที่ไม่ปรากฏในท้องที่อื่น ๆ นอกจากในจังหวัดราชบุรี คือ กลุ่มคนกะเหรี่ยงและกลุ่มคนไทยวน เนื่องจากกลุ่มคนกะเหรี่ยงมีการสืบสานประเพณีชุมนุมเดือน 5 กับแรงศรัทธาหลวงพ่อนวมทำให้ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งจากเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ บ้านวังวน, บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน มาร่วมงานดังกล่าวเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาเกือบ 100 ปี ชาวกะเหรี่ยงบางคนก็มาคนเดียว ทว่ามีหลายคนที่พาครอบครัวมาด้วย ผู้ร่วมงานมีทั้งผู้สูงอายุ, เด็ก และวัยรุ่นหนุ่มสาว แต่ทุกคนที่มาไม่เคยมีใครได้พบหลวงพ่อนวมสักคน และคนที่มาก็มีจำนวนมากที่บวชเณรและชีพราหมณ์ประมาณ 700 คน บางคนก็บวชแก้บน บางคนก็บวชเพราะอยากบวช บางคนก็บวชให้บิดามารดา นอกจากนี้ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่บ้านโป่งกระทิงบนยังได้ฟื้นฟูผลิตภัณฑ์เม็ดเงินไน้ไถ้ไต่จีอีกด้วย
ในส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์ยวนราชบุรีมีอัตลักษณ์ในเรื่องลายผ้าซิ่นที่แตกต่างจกยวนในพื้นที่อื่น ๆ ความสวยงามของลวดลายและสีสันทำให้ผ้าซิ่นไทยวนในลักษณะตีนจกมีราคาที่แพงมาก บางผืนมีราคาสูงถึง 50,000 บาท

No comments:

Post a Comment