จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย พ,ภ)

ประวัติศาสตร์จังหวัดแพร่
ตราประจำจังหวัด

รูปพระธาตุช่อแฮบนหลังม้า
คำขวัญประจำจังหวัด
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

 เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง
เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใด ๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนาน พงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่น ๆ บ้างเพียงเล็กน้อย ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป
จากการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน
เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่าพลนครหรือเมืองพล
ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวงว่า
เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร อันมีในที่ใกล้กันกับลัมภกัปปะนคร (ลำปาง) นี่ ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร
ก็ปรารถนาจะใคร่ได้
ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.. 2470 - 1540 นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่าเมืองพลและได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็นแพร่ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่าแป้
เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
จุลศักราช 421-480 (.. 1654-1773) พงศาวดารโยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า
จุลศักราช 461 (.. 1654) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ 3 ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง
พอขุนเจื๋องอายุได้ 16 ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่าพละเทวะยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง แล้วขุนเจื๋องก็ไปคล้องช้าง ณ เมืองแพร่ พระยาแพร่คนชื่อ พรหมวงศ์ ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางแก้วกษัตรีย์ให้ขุนเจื๋อง
พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงความตอนนี้ว่า เมื่อตติยศักราช 421 ขุนเจียงประสูติ ครั้นอายุได้ 17 ปี ไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ พญาแพร่ชื่อ พรหมวังโส ยกลูกสาวชื่อ นางแก้วอิสัตรีให้ขุนเจียงพร้อมกับช้างอีก 50 เชือก
แทรกกล่าว จากพงศาวดารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช 421-461 (.. 1614-1654) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยา
อนึ่ง ในระหว่างจุลศักราช 462-480 (.. 1655-1773) เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย
มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัยนคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น
เมืองแพร่สมัยกรุงสุโขทัย (จุลศักราช 480-629  พ.. 1773-1922)
จุลศักราช ๔๘๐ พ.. ๑๗๗๓ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พ่อขุนบางกลางท่าวและขุนผาเมืองได้รวมกันลงเข้าด้วยกันยกเข้าตีกรุงสุโขทัย ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองหน้าด่านของขอม
จุลศักราช 507 .. 1800 ฝ่ายไทย คือ พ่อขุนบางกลางท่าวมีชัยชนะแก่พวกขอม พ่อขุนบางกลางท่าวประกาศตนเป็นอิสระ ยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีของเมืองไทย หัวเมืองต่าง ๆ ในเขตลานนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน จึงต่างเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นแก่ใคร
จุลศักราช 527 พ.. 1820 พ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่าง กว้างขวางดังปรากฏในศิลาจารึก กล่าวว่า
…. ตนนวนร ด ม แพล ม ม น ม น …. เมองพลาว ….)”
หอสมุดแห่งชาติถอดความได้ว่า
เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองน่าน เมืองพลัว
แทรกกล่าว เมื่อพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์เมืองแพลตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงสุโขทัย และเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองแพร่ คือ เมืองน่าน
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเมืองแพลที่ปรากฏในศิลาจารึกก็คือเมืองแพร่นั่นเอง
จุลศักราช 629 .. 1922  แผ่นดินสมัยพระเจ้าไสยลือไท สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาตีกรุงสุโขทัยและได้ชัยชนะ กรุงสุโขทัยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่จึงตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง
พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า
จุลศักราช 625  พ.. 1954 สมัยเจ้าศรีจันต๊ะครองเมืองน่านได้ 1 ปี ก็มีพระยาแพร่สองคนพี่น้อง คนพี่ชื่อพระยาเถร คนน้องชื่อพระยาอุ่นเมือง ยกกองทัพไปตีเมืองน่าน จับตัวเจ้าศรีจันต๊ะฆ่าเสียแล้วพระยาเถรก็ขึ้นครองเมืองน่านแทน
ฝ่ายอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะ ชื่อเจ้าหุง หนีไปพึ่งพระยาชะเลียงที่เมืองชะเลียง (ซึ่งขณะนั้นเมืองชะเลียงขึ้นต่อพระเจ้าไสยฤาไท แห่งกรุงสุโขทัย)
พระยาเถร ครองเมืองน่านได้ 6 เดือนกับ 9 วัน ก็ล้มป่วยเป็นไข้โลหิตออกจากรูขุมขนถึงแก่กรรม พระยาอุ่นเมืองผู้น้องจึงครองเมืองน่านแทน
พระยาอุ่นเมือง ครองเมืองน่านได้เพียง 1 ปี เจ้าหุงอนุชาของเจ้าศรีจันต๊ะก็คุมพลชาวชะเลียงยกมารบพุ่งชิงเอาเมืองคืน เจ้าหุงจับตัวพระยาอุ่นเมืองได้นำไปถวายพระยาใต้และถูกกักตัวไว้ที่เมืองชะเลียงเป็นเวลาถึง 10 ปี และถึงแก่กรรมที่นั่นด้วย
ตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า
ในสมัยพระเจ้าติโลกราช จุลศักราช 805 พ.. 1986 กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ยก กองทัพไปตีเมืองน่านและได้ชัยชนะ พญาอินต๊ะแก่น เจ้าเมืองน่านหนีไปเมืองชะเลียง
ขณะที่พระองค์กำลังตีเมืองน่านอยู่นั้น ได้แต่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้มารดายกไปตีเมืองแพร่ พระมหาเทวียกกองทัพไปถึงเมืองแพร่ก็ให้ทหารล้อมไว้
ฝ่ายท้าวแม่คุณ เจ้าเมืองแพร่ เห็นกำลังทหารของกองทัพเชียงใหม่เข้มแข็งกว่าจึงออกไปอ่อนน้อมต่อพระมหาเทวี และพระมหาเทวีก็ให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเดิม
พงศาวดารโยนก กล่าวถึงความตอนนี้และแตกต่างไปจากตำนานเมืองเหนือว่า
จุลศักราช 805 พ.. 1986 พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ทรงทราบว่าเจ้ามืองน่านได้กระทำเหตุหลอกลวงพระองค์ ดังนั้นก็ทรงพระพิโรธ จึงเสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองน่าน กองทัพยกออกจากเมืองเชียงใหม่ในวันขึ้น 13 คํ่า เดือนยี่ ปีกุน เบญจศก แล้วแบ่งกองทัพให้พระมหาเทวีผู้เป็นชนนียกไปตีเมืองแพร่อีกทัพหนึ่ง
กองทัพพระมหาเทวียกมาถึงเมืองแพร่ ก็แต่งทหารเข้าล้อมเมืองแพร่ไว้ มีหนังสือแจ้งเข้าไปให้เจ้าเมืองแพร่ออกมาถวายบังคม
ฝ่ายท้าวแม่คุณ ผู้ครองเมืองแพร่ก็แต่งพลรักษาเมืองมั่นไว้ไม่ออกไปถวายบังคมและไม่ออกต่อรบกองทัพเชียงใหม่จะหักเอาเมืองแพร่ก็มิได้ นายทัพนายกองทั้งหลายจึงคิดทำปืนปู่เจ้ายิงเข้าไปในเมืองแพร่ นัดแรกกระสุนต้องต้นตาลใหญ่ในเมืองแพร่หักเพียงคอ นัดที่สองถูกกลางต้นตาลหักโค่นลง ท้าวแม่คุณเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว จึงออกไปถวายบังคมต่อพระมหาเทวี พระมหาเทวีจึงให้ท้าวแม่คุณครองเมืองแพร่ดังเก่า แล้วเลิกทัพกลับเชียงใหม่
เมืองแพร่สมัยกรุงศรีอยุธยา (จุลศักราช 822 พ.. 2003)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยกทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาตีเมืองแพร่ทางเขาพึง หมื่นด้งนคร รักษาเมืองเชียงใหม่แทนพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเสด็จไปตีเมืองพง ยกกองทัพไปตั้งรับไว้
พอพระเจ้าติโลกราชทรงทราบข่าว จึงเสด็จยกทัพหลวงลงไปช่วยหมื่นด้งนคร สมเด็จ พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ จึงล่าถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
หนังสือสังคมศึกษา เขตการศึกษา 8 กล่าวถึงความตอนนี้ว่า
ปี พ.. 2003 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ราชโอรสพระนามว่าพระอินทราชาเป็น แม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองเชียงใหม่ ตีเมืองรายทางถึงลำปาง พระอินทราชาเข้าชนช้างกับแม่ทัพข้าศึกต้องปืนสิ้นพระชนม์ในที่รบ กองทัพพระอินทราชาและกองทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจำต้องยกกลับ ขณะนั้นเมืองแพร่อยู่ในอาณาเขตของเชียงใหม่
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระนพรัตนวัดพระเชตุพนกล่าวถึงตอนนี้ว่า ศักราช 809 ปีเถาะ นพศก พระยาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพระพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองเป็นสามารถเอามิได้ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชร เข้าปล้นเมืองถึงเจ็ดวันมิได้ สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถเจ้า และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพชรทันและสมเด็จพระอินท-ราชาตีทัพพระยาเกียรติแตก ทัพท่านมาปะทะทัพหมื่นนครได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร และข้าศึกลาวทั้งสี่เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งข้างเดียว ครั้งนั้นพระอินทราชาเจ้าต้องปืน ณ พระพักตร์ ทัพมหาราชนั้นเลิกทัพคืนไป
จุลศักราช 868 พ.. 2049
แผ่นดินสมัยพระเมืองแก้วครองเมืองเชียงใหม่ ท้าวเมืองคาข่าย นำบริวารหมู่จุมมาเป็นข้า พระเมืองแก้วจึงให้ไปกินเมืองแพร่ (กิน = ครอง)
จุลศักราช ๘๗๐ พ.. ๒๐๕๑ แม่ทัพกรุงใต้ (กรุงศรีอยุธยา) ชื่อพระยากลาโหมยกเอา รี้พลมารบเมืองแพร่ หมื่นจิตรเจ้าเมืองน่านยกทัพมาช่วยต่อสู้ด้วยจนได้ชัยชนะ
จุลศักราช ๘๗๒ พ.. ๒๐๕๓
แม่ทัพกรุงใต้ชื่อ ขราโห (เพี้ยนมาจากคำว่ากลาโหม”) ยกทัพมารบเมืองแพร่อีก หมื่นคำคาย เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ รบกันจนทัพเมืองใต้แตกพ่ายหนีกลับไป
ในปีเดียวกัน คือ จุลศักราช ๘๗๒ พ.. ๒๐๕๓
พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่สร้อยไปกินเมืองน่าน แทนท้าวเมืองคำข่าย (หมื่นสามล้าน)
ครั้นจุลศักราช 878 .. 2059 พระเมืองแก้วให้เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้าไปครองเมืองน่าน และทรงย้ายเจ้าเมืองน่านไปครองเมืองพะเยา
พระยาแพร่ยอดคำฟ้าครองเมืองน่าน (.. 2059, .. 2062, .. 2069) ต่อมายกทัพไปรบศึกที่เชียงใหม่ป่วยเป็นฝีเนื้อร้ายจนถึงแก่กรรม
จุลศักราช 985 .. 2066
ขณะที่พม่าเข้าครอบครองลานนาไทย เจ้าอุ่นเฮือนผู้ครองเมืองน่านได้รบกับพม่า สู้พม่า ไม่ได้หนีไปพึ่งเมืองชะเลียง
พอถึงจุลศักราช 986 พ.. 2067 เจ้าอุ่นเฮือนก็คุมพวกเข้าหักเอาเมืองน่าน ไล่ข้าศึกหนีจากเมืองน่านไปอยู่เมืองแพร่
จุลศักราช 907 พ.. 2088
เมืองเชียงใหม่เกิดจลาจล ทางกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาได้ยกกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่
พระนางจิระประภา ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวาย พระไชยราชาจึงยกกองทัพกลับ เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปด้วย
จุลศักราช 912 .. 2093
พระยาแพร่ เป็นที่พระยาสามล้านเชียงใหม่ได้ร่วมกันคบคิดจะเป็นใหญ่ในนครพิงค์กับ พระยาล้านช้าง พระยาหัวเวียงล้านช้างรวบรวมไพร่พลยกกำลังเข้าไปถึงนครพิงค์จักกระทำร้ายแก่เมือง ครั้นกระทำมิได้ก็ออกหนีไป
ฝ่ายเจ้าขุนทั้งหลายในนครพิงค์ต่างก็แต่งทหารออกรบ พระยาสามล้าน (พระยาแพร่) และพวกก็แตกพ่ายหนีไปเมืองแพร่
จุลศักราช 920 พ.. 2101
พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ทหารเมืองเชียงใหม่มีน้อยกว่าพม่า อีกทั้งกองทัพพระเจ้าบุเรงนองเข้มแข็งชาญศึกสงครามกว่าพม่าจึงได้ชัยชนะ เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าด้วย พม่าปกครองประเทศราชในอาณาจักรลานนาไทย อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ด้วยการให้ขุนนางของพม่าพร้อมด้วยทหารจำนวนหนึ่งอยู่เป็นข้าหลวงอยู่กำกับเมือง
จุลศักราช 931 พ.. 2111
อาณาจักรลานนาไทยถูกพม่าเกณฑ์ให้ยกกองทัพไปช่วยรบกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่ก็ยกกองทัพร่วมไปกับพม่าครั้งนี้ด้วย และในที่สุด จุลศักราช 932 พ.. 2112 กรุงศรีอยุธยาก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อาณาจักรลานนาไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าดังเดิม
จุลศักราช 983 พ.. 2163
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยามีกองทัพไม่ค่อยเข้มแข็งเกรียงไกร อาณาจักรลานนาจึงตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
จุลศักราช 997 พ.. 2176
พระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และจับกุมเอาตัว พระเจ้าเชียงใหม่ไปคุมขังไว้ที่เมืองหงสาวดี เมื่อจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว พระเจ้าสุทโธธรรมราชายกทัพไปปราบเมืองต่าง ๆ ในเขตลานนาไทยยึดเมืองทุกเมืองไว้ในอำนาจ เมืองแพร่จึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกครั้ง
จุลศักราช 1024 พ.. 2205
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นจอมทัพตีหัวเมืองรายทางตั้งแต่ลำปาง แพร่ ลำพูน จนถึงเมืองเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าพระยาโกษาเหล็กถมดินทำเป็นเชิงเทินตั้งปืนใหญ่ ยิงกราดเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ก็แตก
ฝ่ายกองทัพพม่ายกมาแต่เมืองอังวะเพื่อช่วยเหลือเมืองเชียงใหม่ (เพราะพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่) ก็ถูกทัพไทยซุ่มโจมตีกระหนาบแตกพ่ายยับเยินไป  ดังนั้น อาณาจักรลานนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา
แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเมืองแพร่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะใดที่กองทัพเมืองเชียงใหม่เข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับเชียงใหม่ หากขณะใดที่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา ระยะเวลาใดที่ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอหรือเกิดจลาจล เมืองแพร่ก็จะตั้งตนเป็นอิสระทันที
จุลศักราช 1103 พ.. 2284 พระเจ้าอังวะ กษัตริย์พม่าให้โปทัพพะการมังดีเป็นแม่ทัพยกกำลังหนึ่งหมื่นคนมาตีเมืองเทิน เมืองแพร่ เมืองน่าน กวาดต้อนผู้คนในเมืองดังกล่าวไปไว้ที่เมืองเชียงแสน
ในปีต่อมา จุลศักราช 1104 พ.. 2285
พระยาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ มีพระยายองเป็นต้น ต่างรวบรวมไพร่พล ยกเข้ารบพุ่งฆ่าฟันพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสน พม่าทราบข่าวจึงส่งกองทัพใหญ่ลงมาช่วย พระนครลำปางจึงกวาดต้อนผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองเทิง
ส่วนพระยายองและพระยาแพร่ ได้นำผู้คนของตนไปไว้ที่เมืองภูคา (อำเภอปัว จ.น่าน) แต่ก็ถูกพม่าตามตีแตกพ่ายจนต้องหนีเข้าไปในเมืองน่าน
จุลศักราช 1105 พ.. 2286 เจ้าเมืองแพร่ และเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยเจ้าเมืองฝ่ายลานนา มีพระยายองเป็นหัวหน้า ต่างรวมกำลังไพร่พลยกไปรบพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสนแล้วตั้งตนเป็นอิสระนครอีกครั้งหนึ่ง
จุลศักราช 1121 พ.. 2302
เจ้าชายแก้ว โอรสพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพช้าง) เจ้าเมืองละกอน (ลำปาง) พาครอบครัวญาติพี่น้องและบริวารหนีท้าวลิ้นก่านไปซ่องสุมผู้คนอยู่เมืองแพร่ แล้วยกกองทัพไปรบกับท้าวลิ้นก่านที่เมืองลำปางแต่สู้ไม่ได้จึงหนีไปพึ่งพม่า
จุลศักราช 1123 พ.. 2304
กองทัพพม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ ครั้นแล้วก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองลำปาง (เจ้าชายแก้วซึ่งหนีไปพีงพม่าเมื่อคราวก่อนร่วมมากับกองทัพพม่าด้วย) พม่ายึดเมืองลำปางได้ เจ้าชายแก้วจึงจับท้าวลิ้นก่านประหารชีวิตเสีย
กองทัพพม่ายกมายึดครองเมืองแพร่ เมืองน่าน และลานนาไทยเกือบทั้งหมด ครั้นปีต่อมาพม่าจำต้องยกกองทัพกลับเพราะเกิดจลาจลในเมืองอังวะ
จุลศักราช 1129 พ.. 2310 พวกชาวลานนาไทย ถูกพม่าข่มเหงรังแกเบียดเบียน บ่อยครั้งจึงคิดจะกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทราบข่าวได้นำกองทัพใหญ่ลงมาปราบ อาณาจักรลานนาไว้ได้ทั้งหมด หลังจากปราบปรามหัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว พระเจ้ามังระก็กรีฑาทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียอิสรภาพแก่พม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าอีกครั้งหนึ่ง จนถึงจุลศักราช พ.. 1131 พ.. 2312
เมืองแพร่สมัยกรุงธนบุรี
จุลศักราช 1131 .. 2312 พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเพียงปีเดียว สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้รวบรวมกำลังไพร่พล ต่อสู้กับพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา พิษณุโลก พิชัย สวรรคโลกจนข้าศึกแตกพ่ายหนีไป
จุลศักราช 1132 .. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเห็นว่าอาณาจักรลานนายังมีพม่ายึดครองอยู่มาก จึงโปรดให้ยกกองทัพขึ้นไปตีพม่าที่ครองเมืองเชียงใหม่ ขณะเดินทางเรือมาถึงเมืองพิชัยก็มีเจ้ามังชัย ผู้ปกครองเมืองแพร่พาขุนนางกรมการเมือง และไพร่พลเข้าเฝ้าถวายบังคมขอเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมา สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดแต่งตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วให้เข้าร่วมขบวนทัพ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่
พระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวถึงความตอนนี้ว่า
พระยาแพร่ ผู้ชื่อว่า มังไชย พม่าจับตัวไปครั้งทัพอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลกมากับกองทัพครั้งนี้ด้วย พระยาแพร่มีจิตคิดสวามิภักดิ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯ จึงคิดอ่านชักชวนพระยายองยกกองทัพไปตีเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงแสนสู้ไม่ได้จึงหนีไปหาพระยาเชียงราย พระยาแพร่ และพระยายอง ก็ยกทัพติดตามไปที่เชียงราย
พระยาเชียงรายเห็นว่า พระยาแพร่และพระยายองเป็นชนชาติเชื้อลาวด้วยกัน จึงจับตัว เจ้าเมืองเชียงแสนชื่อ อาปรกามณี เป็นชาวพม่าส่งให้พระยาแพร่และพระยายอง
พระราชพงศาวดารเมืองเหนือ กล่าวถึงความตอนนี้ว่า
จุลศักราช 1133 พ.. 2314 เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่, มังไชยะ เจ้าเมืองแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย
ปีกุน เอกศก จุลศักราช 1141 เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ได้แต่งกองทัพหลวง 300 คน ให้มาตรวจราชการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดไปจนถึงเมืองนครลำปาง
กองข้าหลวงดังกล่าวได้ทำโจรกรรมแย่งชิงทรัพย์สินของราษฎร ฉุดคร่าบุตรภรรยาของ ชาวบ้านไปทำอนาจารต่างๆ ราษฎรได้นำความเข้าร้องทุกข์ต่อพระยากาวิละ เจ้าเมืองนครลำปาง พระยากาวิละขัดใจก็ยกพวกไพร่พลออกไปขับไล่ฆ่าฟันข้าหลวงที่อยู่บ้านวังเกิง ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวจึงให้มีตราหาตัวพระยากาวิละลงไปกรุงเทพฯ แต่พระยากาวิละก็ขัดตราเสียหาไปไม่ พระยากาวิละคิดจะทำความชอบแก้โทษที่ทำผิดจึงยกกองทัพไปตีเมืองลอ เมืองเทิง กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมากแล้วจึงลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงธนบุรี แต่พระยากาวิละยังถูกลงโทษอีกนั่นเองคือทรงให้เฆี่ยน 100 ที แล้วให้จำคุกไว้
พระยากาวิละได้ร้องขออาสาไปตีเมืองเชียงแสนแก้โทษ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง พระกรุณาโปรดพระราชทานให้ถอดออกจากคุกและให้ไปทำราชการตามเดิม
พระยากาวิละไปถึงเมืองป่าช้าง จึงแต่งให้พระยาอุปราชคุมพลร้อยเศษไปเกลี้ยกล่อม
นาขวา เมืองเชียงแสน เพราะเวลานั้นกองทัพพม่าเลิกไปหมดแล้ว ให้นาขวารักษาเมืองไว้พร้อมด้วยทหารพม่าจำนวนหนึ่ง
นาขวาปลงใจด้วยกับพระยาอุปราช พระยากาวิละจึงได้ตัวพระยาแพร่ พระยาเถินคืนจากพม่า
จุลศักราช 1142 พ.. 2323 เดือน 6 ขึ้น 6 คํ่า พงศาวดารเมืองน่านฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่า พญาจ่าบ้าน พญาละกอน พญาแพร่ และชาวเมืองหลวงพระบางได้ร่วมกันคบคิดยกทัพไปพร้อมกันที่สมกก เพื่อไปตีเมืองเชียงแสน และในที่สุดก็ตีเมืองเชียงแสนได้เมื่อเดือน 7 ขึ้น 9 คํ่า วันจันทร์ยามเช้า
จุลศักราช 1144 พ.. 2325 พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลสำคัญของอาณาจักรลานนาไทย เช่น พระยา จ่าบ้าน เจ้ากาวิละทำการขับไล่ฆ่าฟันพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงใหม่จนพวกพม่าแตกพ่ายหนีไป หลังจากนั้นได้เข้าตีหัวเมืองอื่น ๆ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงราย แพร่ น่าน ขับไล่พม่าไปจนหมดสิ้น
เมืองแพร่และเมืองอื่นๆ ดังกล่าวจึงอยู่ใต้อำนาจของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกครั้งหนึ่ง
เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ระหว่างจุลศักราช 1147 - จุลศักราช 1229 (.. 2328 - .. 2410)
จุลศักราช 1147 พ.. 2328 พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนกล่าวว่ากษัตริย์พม่าแต่งให้กาละมังดีเป็นแม่ทัพมีกำลังหมื่นหนึ่ง ยกมาตีอาณาจักรลานนาแวะถึงเมืองเชียงแสนในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ คํ่าวันเสาร์ เข้ายึดเมืองเชียงแสนได้แล้วยกทัพเข้าตีเมืองเทิง ฝ่ายเมืองเชียงใหม่และละกอนลำปาง ต่างพร้อมใจกันรวบรวมไพร่พลต่อสู้กับพม่าและ ป้องกันเมืองเอาไว้ได้
ฝ่ายพญาแพร่ พญาน่าน เห็นว่ากองทัพพม่าใหญ่หลวงนักเกรงจะสู้ไม่ได้ จึงบ่สู้บ่รบ ยอมอ่อนน้อมเป็นข้าของพม่าแต่โดยดี แม่ทัพพม่าคือ กาละมังดี จึงให้พญาแพร่ พญาน่าน ยกกองทัพไปแวดล้อมเมืองละกอนไว้ เมื่อพม่าไม่สามารถตีเอาเมืองใดได้ จึงล่าถอยทัพกลับไป
จุลศักราช 1148 .. 2329 เดือน 5 เพ็ญ พญาแพร่พร้อมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ คิดกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า จึงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน มวยหวาน ซึ่งปกครองเมืองเชียงแสนหนีพ่ายไปเชียงราย
พญาเชียงรายจับตัวได้ส่งไปยังเมืองละกอนลำปาง พญาละกอนส่งตัวมวยหวานไปยังกรุงเทพฯ
ฝ่ายพญาละกอน เมื่อส่งมวยหวานไปกรุงเทพฯ แล้ว ก็ยกกองทัพไปเมืองเชียงแสนจับตัว พญาแพร่ใส่คา จองจำส่งตัวลงกรุงเทพฯ
จุลศักราช 1168 พ.. 2328 พม่าส่งกองทัพมาตีหัวเมืองอาณาจักรลานนา แต่เวลานั้นทางเมืองเชียงใหม่ยังร้างอยู่ไม่มีใครปกครอง จึงเลยลงไปตีเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางคือพระยา กาวิละได้ต่อสู้ต้านทานทัพพม่า สามารถรักษาเมืองไว้ได้ พม่าจึงแต่งกองทัพให้ล้อมเมืองไว้ก่อน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบข่าวศึก จึงโปรดให้กรมหลวงเจษฎายกกองทัพขึ้นมาช่วย
ฝ่ายพระยากาวิละ รู้ว่ากองทัพในกรุงขึ้นมาช่วยก็มีกำลังห้าวหาญยกกองทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากเมือง ได้สู้รบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายไป
เมื่อกองทัพพม่าถูกไล่ออกจากอาณาจักรลานนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้โปรดพระราชทานบำเหน็จให้แก่เจ้านายฝ่ายเหนือโดยให้พระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางขึ้นไปครองเมืองเชียงใหม่
ส่วนพระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ พระองค์ทรงเห็นว่าถ้าจะให้ไปครองเมืองแพร่ก็ยังไม่ไว้วางพระราชหฤทัย เพราะพระยามังชัยเคยอยู่กับพม่ามานาน จึงโปรดให้ไปช่วยราชการอยู่ที่เมืองลำปางก่อน
จุลศักราช 1171 .. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงโปรดให้ เจ้าเมืองฝ่ายเหนือยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระยามังชัย เจ้าเมืองแพร่ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองลำปางได้ร่วมไปกับกองทัพด้วย พระยามังชัยได้แสดงความห้าวหาญชาญศึกอาสาเป็นนายกองหน้าเข้าตีเมืองเชียงตุง และสามารถตีเมืองเชียงตุงจนได้ชัยชนะ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นความดีและความสามารถจึงโปรดให้กลับไปครองเมืองแพร่ดังเดิม
หลังจากรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองแพร่ไม่มีกล่าวถึงจนกระทั่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมืองแพร่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ระหว่างจุลศักราช 1253 - จุลศักราช 1296 (.. 2434 - .. 2477)
จุลศักราช 1253 .. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศ เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลลดอำนาจเจ้าผู้ครองเมืองให้น้อยลงกว่าเดิม
เมืองแพร่ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลพิษณุโลก มาเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกในปี พ.. 2450
หนังสือการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ พ.. 2436 - .. 2476 กล่าวถึงตอนนี้ว่า
เมืองแพร่จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลหลังจากพระยาทรงสุรเดช ได้ไปตรวจ ราชการในเมืองแพร่เมื่อ พ.. 2437 กล่าวคือ
เมื่อพระยาทรงสุรเดชไปถึงเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชยเจ้าเมืองแพร่ได้ให้การต้อนรับพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างดี พร้อมกับแสดงความจำนงให้พระยาทรงสุรเดชทราบว่าต้องการให้จัด ราชการ 6 ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่ให้เหมือนกับแบบแผนราชการเมืองเชียงใหม่ เหตุที่พระพิริยวิไชยเสนอเช่นนั้นก็ประสงค์จะขอพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็นเจ้า
พระยาทรงสุรเดชเห็นว่างานราชการทั้งหมดของเมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพระยา
พิริยวิไชยทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อให้การปกครองของเมืองแพร่เรียบร้อย จึงให้ทำการทดลองจัดราชการ 6 ตำแหน่งขึ้นในเมืองแพร่
พระยาทรงสุรเดชได้มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ ทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน
แทรกกล่าว มีข้อน่าสังเกตว่า
ประวัติศาสตร์เมืองเหนือของ ตรี อมาตยกุล กล่าวว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรกปี พ.. 2440
ส่วนปริญญานิพนธ์ของสรัสวดี ประยูรเสถียร ข้างต้นนี้กล่าวว่า พระยาทรงสุรเดชได้ มอบหมายให้ นายราชาภักดิ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระยาพิริยวิไชย จัดการ ราชการงานในเมืองแพร่ร่วมกัน
จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่า นายราชาภักดิ์ หรือพระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ คนแรกกันแน่
กบฏเงี้ยวเมืองแพร่
จุลศักราช 1264 พ.. 2445
ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่อยู่นั้น ปรากฏว่ามีพวกเงี้ยวหรือไทยใหญ่ได้คบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.. 2445 เวลาประมาณ 7 นาฬิกา พวกไทยใหญ่นำโดย พะกาหม่องและสะลาโปไชย หัวหน้าพวกโจรเงี้ยวนำกองโจรประมาณ 40-50 คน บุกเข้าเมืองแพร่ทางด้านประตูชัย จู่โจมสถานีตำรวจเป็นจุดแรก
ขณะนั้นสถานีตำรวจเมืองแพร่มีประมาณ 12 คน จึงไม่สามารถต้านทานได้ กองโจรเงี้ยวเข้ายึดอาวุธตำรวจแล้วพากันเข้าโจมตีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โจรเงี้ยวได้ตัดสายโทรเลขและทำลายอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อตัดปัญหาการสื่อสาร ครั้นแล้วก็มุ่งหน้าสู่บ้านพักข้าหลวงประจำเมืองแพร่ แต่ก่อนที่กองโจรเงี้ยวจะไปถึงบ้านพักข้าหลวงนั้น พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ได้พา ครอบครัวพร้อมด้วยคุณหญิงเยื้อน ภริยาหลบหนีออกจากบ้านพักไปก่อนแล้ว
พวกโจรเงี้ยวไปถึงบ้านพักไม่พบพระยาไชยบูรณ์จึงบุกเข้าปล้นทรัพย์สินภายในบ้านพักข้าหลวง และสังหารคนใช้ที่หลงเหลืออยู่จนหมดสิ้น
จากนั้นจึงยกกำลังเข้ายึดที่ทาการเค้าสนามหลวง ทำลายคลังหลวงและกวาดเงินสดไปทั้งหมด 6,910 บาท 37 อัฐ
หลังจากนั้นพวกโจรเงี้ยวก็มุ่งตรงไปยังเรือนจำเพื่อปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระพร้อมกับ แจกจ่ายอาวุธให้แก่นักโทษเหล่านั้น ทำให้พวกกองโจรเงี้ยวได้กำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีกจนภายหลังมีกำลังถึง 300 คน
ในระหว่างที่กองโจรเงี้ยวเข้าโจมตีสถานที่ราชการต่างๆ อยู่นั้น ราษฎรเมืองแพร่ตื่นตกใจกันมาก บางส่วนได้อพยพหลบออกไปอยู่นอกเมืองทันที กองโจรเงี้ยวจึงประกาศให้ราษฎรอยู่ในความสงบ เพราะพวกตนจะไม่ทำร้ายชาวเมืองจะฆ่าเฉพาะคนไทยภาคกลางที่มาปกครองเมืองแพร่เท่านั้น ราษฎรจึงค่อยคลายความตกใจลง และบางส่วนได้เข้าร่วมกับพวกกองโจรเงี้ยวก็มี ทำให้กองโจรเงี้ยวทำงานคล่องตัวและมีกำลังเข้มแข็งขึ้น
ขณะเดียวกันพระยาไชยบูรณ์ซึ่งพาภริยา คือ คุณหญิงเยื้อนหลบหนีออกจากบ้านพักตรงไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ หวังขอพึ่งกำลังเจ้าเมืองแพร่หรือเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ พระยาพิริยวิไชย
เมื่อไปถึงคุ้มเจ้าหลวง เจ้าหลวงเมืองแพร่กล่าวว่าจะช่วยอย่างไรกัน ปืนก็ไม่มี ฉันก็จะหนีเหมือนกัน
พระยาไชยบูรณ์ตัดสินใจพาภริยาและหญิงรับใช้หนีออกจากเมืองแพร่ไปทางบ้านมหาโพธิ์เพื่อหวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นมาปราบ
ส่วนเจ้าเมืองแพร่นั้นหาได้หลบหนีไปตามคำอ้างไม่ ยังคงอยู่ในคุ้มตามเดิม
ตอนสายของวันที่ 25 กรกฎาคม เมื่อกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้แล้ว พะกาหม่องและสะลาโปไชยก็ไปที่คุ้มเจ้าหลวง เพื่อเชิญให้เจ้าเมืองแพร่ปกครองบ้านเมืองตามเดิม
ก่อนจะปกครองเมือง พะกาหม่องได้ให้เจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานทำพิธีถือ นํ้าสาบานก่อน โดยมีพระยาพิริยวิไชยเป็นประธานร่วมด้วยเจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามและเจ้านายบุตรหลานอื่นๆ รวม 9 คน
ในพิธีนี้มีการตกลงร่วมกันว่าจะร่วมกันต่อต้านกองทัพของรัฐบาลโดยพวกกองโจรเงี้ยวเป็นกองหน้าออกสู้รบเอง ส่วนเจ้าเมืองและคนอื่นๆ เป็นกองหลังคอยส่งอาหารและอาวุธตลอดทั้งกำลังคน
วันที่ 26 กรกฎาคม พวกกองโจรเงี้ยวเริ่มลงมือตามล่าฆ่าข้าราชการไทยและคนไทย ภาคกลางทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือสตรีที่หลบหนีไปโดยประกาศให้รางวัลนำจับ เฉพาะค่าหัวพระยาไชยบูรณ์และพระเสนามาตย์ยกบัตรเมืองแพร่ คนละ 5 ชั่ง หรือ 400 บาท นอกนั้นลดหลั่นลงตามลำดับความสำคัญ แต่อย่างตํ่าจะได้ค่าหัวคนละ 40 บาท
วันที่ 27 กรกฎาคม พระยาไชยบูรณ์ซึ่งอดอาหารมาเป็นเวลา 3 วัน กับ 2 คืน โดยหลบซ่อนอยู่บนต้นข่อยกลางทุ่งนาใกล้ๆ กับหมู่บ้านร่องกาด ได้ออกจากที่ซ่อนเพื่อขออาหารจากชาวบ้านร่องกาด
ราษฎรคนหนึ่งในบ้านร่องกาดชื่อหนานวงศ์ จึงนำความไปแจ้งต่อพะกาหม่องเพื่อจะเอาเงินรางวัล
พะกาหม่องนำกำลังไปล้อมจับพระยาไชยบูรณ์ทันที จับตัวได้ก็ควบคุมตัวกลับเข้าเมืองแพร่ และได้บังคับขู่เข็ญพระยาไชยบูรณ์ตลอดทาง
พระยาไชยบูรณ์จึงท้าทายให้พวกโจรเงี้ยวฆ่าตนเสียดีกว่า ดังนั้นพอมาถึงทางระหว่างร่องกวางเคา (ปัจจุบันเรียกว่าร่องคาว) โจรเงี้ยวคนหนึ่งชื่อ จองเซิน จึงคิดฆ่าพระยาไชยบูรณ์ทันที
นอกจากพระยาไชยบูรณ์แล้ว พวกโจรเงี้ยวยังได้จับข้าราชการไทยอีกหลายคนฆ่า ที่สำคัญได้แก่
พระเสนามาตย์          ยกกระบัตรศาล
หลวงวิมล                ข้าหลวงผู้ช่วย
ขุนพิพิธ                   ข้าหลวงคลัง
นายเฟื่อง                 ผู้พิพากษา
นายแม้น                 อัยการ
นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเข่นฆ่าข้าราชการไทยครั้งยิ่งใหญ่จริงๆ ในภาคเหนือ
ทางรัฐบาลไทยได้ส่งกองทัพจากเมืองใกล้เคียง เช่น พิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้ามาปราบปรามพวกกองโจรเงี้ยวอย่างรีบด่วน โดยกำหนดให้ทุกเมืองระดมกำลังเข้าปราบปราม พวกกองโจรเงี้ยวในเมืองแพร่พร้อมกันทุกด้าน และยังได้มอบหมายให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) นำกองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามพร้อมทั้งให้ดำเนินการสอบสวนสาเหตุการปล้นครั้งนี้ด้วยและให้ถือว่าเป็นกบฏด้วย ดังนั้นจึงเรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่
ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวเมื่อสามารถก่อการกบฏได้สำเร็จก็ไม่ได้ตระเตรียมกำลังป้องกันแต่อย่างใด
จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2445 เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพรัฐบาลจะมาปราบปรามจึงได้แบ่งกำลังออกเป็น ๒ กอง กองหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ยกกำลังไปทางด้านใต้เพื่อขัดตาทัพ รัฐบาลที่ส่งมา อีกกองหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกกำลังไปทางด้านตะวันตกเพื่อโจมตีนครลำปางหวังยึดเมืองเป็นฐานกำลังอีกแห่งหนึ่ง
การโจมตีนครลำปางนั้น พวกกองโจรเงี้ยวต้องประสบกับความผิดหวัง เพราะนครลำปางรู้เหตุการณ์และเตรียมกำลังไว้ต่อสู้อย่างรวดเร็ว
เมื่อพวกเงี้ยวไปถึงนครลำปางในวันที่ 3 สิงหาคม จึงถูกฝายนครลำปางตีโต้กลับทำให้ กองโจรเงี้ยวแตกพ่ายหนีกระจัดกระจายไป ตัวผู้นำคือ พะกาหม่องต้องสูญเสียชีวิตเพราะถูกยิงในระหว่างการต่อสู้
ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวที่นำโดยสะลาโปไชยนั้น ในระยะแรกสามารถสกัดทัพเมืองพิชัยไว้ได้ชั่วคราว แต่ก็ไม่สามารถต้านทานทัพเมืองสวรรคโลกและสุโขทัยได้ จึงถอยกลับไปตั้งหลักที่เมืองแพร่ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม
แต่ในที่สุดพวกโจรเงี้ยวก็หนีกระจัดกระจายไปเพราะต่อสู้ไม่ไหว
ดังนั้น ในวันที่ 14 สิงหาคม พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย จึงนำกองกำลังตำรวจภูธรและทหารจำนวนหนึ่งบุกเข้าเมืองแพร่ได้สำเร็จ
วันที่ 20 สิงหาคม เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ก็นาทัพหลวงถึงเมืองแพร่ หลังจากเหตุการณ์สงบลงหลายวันแล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงทำการสอบสวนความผิดผู้ เกี่ยวข้องทันที
ขั้นแรก ได้สั่งจับชาวเมืองแพร่ ราษฎรบ้านร่องกาด คือ หนานวงค์ ที่หวังเงินรางวัลนำจับพระยาไชยบูรณ์มาประหารชีวิตเป็นเยี่ยงอย่างก่อน
ขั้นที่สอง สั่งให้จับตัว พญายอด ผู้นำจับหลวงวิมลมาประหารชีวิตอีกคนหนึ่ง
จากนั้นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้สอบสวนพยานหลายคน โดยยึดถือตามแนวนโยบายที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงกำชับไว้ คือ ไม่ให้ตั้งข้อสงสัย หรือกล่าวหาเจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานล่วงหน้า
เมื่อสอบสวนพยานเสร็จไปหลายคน ก็พบหลักฐานต่าง ๆ ผูกมัดเจ้าเมืองแพร่และ เจ้านายบุตรหลานบางคน เช่น เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงครามอย่างแน่นหนาว่ามีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับกบฎครั้งนี้ ดังคำให้การของพระยาเขื่อนขัณฑ์อดีตนายแคว้น (กำนัน) เมืองสอง เป็นคนที่เจ้าเมืองแพร่ไว้วางใจ ได้กล่าวให้การไว้ตอนหนึ่งว่า
เจ้าแพร่พูดว่า เมืองแพร่ต่อไปจะเป็นของไทยนานเท่าใด จะต้องเป็นเมืองของเงี้ยว เจ้าแพร่จะคิดให้พะกาหม่อง สะลาโปไชย ซึ่งเป็นหัวหน้าเงี้ยวบ่อแก้วเข้ามาตีปล้นเมืองแพร่ พวกเงี้ยวจะจับคนไทยฆ่าเสียให้หมด แต่พะกาหม่องและสะลาโปไชยจะยกเข้าตีเมืองแพร่เมื่อใดยังไม่มีกำหนด
ถ้าจะให้พะกาหม่องและสะลาโปไชยยกเข้าตีเมืองแพร่วันใด จะได้มีหนังสือไปนัดพะกาหม่องและสะลาโปไชยทราบ เจ้าแพร่ได้สั่งข้าพเจ้าว่า เมื่อออกนอกราชการแล้ว อย่ามาเที่ยวเกะกะ วุ่นวายทำราชการกับไทย เมื่อเงี้ยวมันเข้าตีบางทีจะถูกปืนตายเสียเปล่า ผู้ที่ร่วมคิดให้เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่คราวนี้ เจ้าหลวงบอกข้าพเจ้าว่า พระยาราชบุตร พระไชยสงคราม เป็นผู้ร่วมคิดด้วย
นอกจากนั้น ก่อนที่พวกโจรเงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ก็ได้ส่งข่าวมาบอกเจ้าเมืองแพร่ไว้แล้ว ดังคำให้การของหลวงจิตรจำนงค์ เจ้าของสัมปทานป่าไม้มีความว่า
พระไชยสงครามไปที่บ้านข้าพเจ้าว่า วันที่ 24 กรกฎาคม เวลากลางคืนประมาณ 3 ทุ่มเศษ พวกเงี้ยวมีหนังสือมาบอกเจ้าแพร่ว่าถ้าในกลางคืนนี้ไม่ทัน ก็จะยกเข้าปล้นเวลาเช้ามืด
เจ้าเมืองแพร่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าจึงได้ป้องกันภัยแก่ญาติและคนสนิท ดังนายส่างกราบ ผู้ ดูแลคุ้มหลวงได้ให้การไว้ตอนหนึ่งว่า
ครั้นข้าพเจ้าเข้านอนเฝ้าคุ้มหลวงได้ 6 คืน เจ้าหลวงก็บอกข้าพเจ้าว่า พวกเงี้ยวจะพากันเข้ามาปล้นเมืองแพร่วันพรุ่งนี้รู้หรือเปล่า ข้าพเจ้าก็บอกว่าไม่รู้
เจ้าหลวงจึงบอกข้าพเจ้าไปเอาปืน 12 นัดที่บ้านพระไชยสงครามมาป้องกันตัวไว้ 1 กระบอก
ในวันที่ 24 กรกฎาคมนั้น เจ้าเมืองแพร่ก็ได้เรียกตัว เจ้าพลอยแก้ว หลานสาวซึ่งไป คลุกคลีอยู่ในบ้านพักข้าหลวงกับคุณหญิงเยื้อน ภริยาของพระยาไชยบูรณ์ให้กลับคุ้มด่วน เพราะเกรงอันตรายจากพวกเงี้ยวจะเกิดแก่เจ้าพลอยแก้ว
เมื่อพวกกองโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่สำเร็จแล้ว เจ้าเมืองแพร่ได้แสดงตัวเป็นผู้สนับสนุนพวกโจรเงี้ยวอย่างเด่นชัด โดยเกณฑ์ข้าวสารชาวบ้านหลังคาละ 2 ทะนาน อาวุธปืน กระสุนดินดำ เงิน และกองกำลัง จำนวน 50 คน ส่งไปช่วย พะกาหม่องต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล
จากหลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวมาทำให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเข้าใจว่า เจ้าเมืองแพร่ เจ้า ราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฏขึ้นอย่างแน่นอน และเชื่อว่าต้องมีการตระเตรียมการล่วงหน้ามาช้านานพอสมควร
ก่อนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจะได้ชำระความผิดผู้ใด เจ้าราชวงษ์และภริยาก็ตกใจกลัวความผิดดื่มยาพิษฆ่าตัวตายเสียก่อน เพราะได้ข่าวลือว่ารัฐบาลจะประหารชีวิตผู้เกี่ยวข้องกับกบฏเงี้ยว ทุกคน
เมื่อเกิดอัตวินิบาตกรรมขึ้นเช่นนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเกรงว่าจะเป็นการสร้างความ เข้าใจผิดกันว่ารัฐบาลกระทำการรุนแรงต่อเจ้านายเมืองแพร่ ครั้นจะสืบหาพยานต่อไปอีกหลักฐานก็จะผูกมัดเจ้าเมืองแพร่ และเจ้านายบุตรหลานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น จนในที่สุดจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหากบฏอย่างแน่นอน หากคดีจบในรูปนั้นย่อมกระทบกระเทือนใจเจ้านายฝ่ายเมืองเหนือทุกเมือง เพราะต่างเกี่ยวพันฉันท์ญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน ทั้งยังสร้างความสะเทือนใจแก่ราษฎรทั้งหลายในลานนาไทย
ดังนั้นเจ้าพระยาสุรศักศ์มนตรี จึงพยายามคิดหาวิธีที่ละมุนละม่อมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งต้องการใช้วิธีผ่อนปรนต่อเจ้านายเมืองแพร่ ขณะเดียวกันก็พยายามไม่ให้เจ้านายเมืองแพร่ตื่นตกใจหนีเข้าพึ่งอิทธิพลอังกฤษ อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศได้
ในที่สุด เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีก็ใช้วิธีปล่อยข่าวว่าจะมีการจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่และ เจ้าราชบุตร ข่าวลือนี้ได้ผล เพราะตอนดึกคืนนั้น เจ้าเมืองแพร่พร้อมด้วยคนสนิทอีกสองคนก็หลบหนีออกจากเมืองแพร่ทันที
อย่างไรก็ดี การหลบหนีของเจ้าเมืองแพร่ในคืนนั้นได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี โดยมีคำสั่งลับมิให้กองทหารที่ตั้งสกัดอยู่รอบเมืองแพร่ขัดขวาง ทำให้การหลบหนีของ เจ้าเมืองแพร่เป็นไปอย่างสะดวกจนถึงหลวงพระบางอย่างปลอดภัย
เมื่อเจ้าเมืองแพร่หนีไปได้ 15 วัน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ จึงเป็นโอกาสให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสามารถออกคำสั่งถอดเจ้าพิริยเทพวงศ์ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่ทันที พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฏก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก
เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่คนสุดท้ายได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบางจนถึงแก่พิราลัย
สำหรับเจ้าราชบุตร ผู้เป็นบุตรเขยเจ้าเมืองแพร่นั้น มีพยานหลักฐานและพฤติการณ์บ่งชัดว่าได้รู้เห็นเป็นใจกับพวกเงี้ยวเพราะโดยหน้าที่ เจ้าราชบุตรเป็นร้อยตำรวจเอกจะต้องนำกำลังออกต่อสู้ต้านทานพวกโจรเงี้ยว แต่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรไม่ได้ทำหน้าที่อันควรกระทำ กลับไปทำสิ่งตรงกันข้ามคือ เป็นผู้เกณฑ์กำลังออกไปสนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ทั้งยังส่งกระสุนดินดำพร้อมเสบียงอาหารให้พวกเงี้ยว พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดขั้นรุนแรงมีโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายหลีกเลี่ยงการประหารชีวิต เพราะไม่ประสงค์จะให้กระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าราชบุตรเป็นบุตรชายของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน หากกระทำตามกฎเกณฑ์ก็จะกระทบกระเทือนใจเจ้าเมืองน่าน ดังนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงสั่งให้ร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรนำกองกำลังตามขึ้นไปตีพวกโจรเงี้ยวที่แตกไปอยู่ตำบลสะเอียบ อันเป็นวิธีสร้างความดีลบล้างความผิด ซึ่งร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรก็สามารถกระทำงานที่มอบหมายสำเร็จคือตีพวกกองโจรเงี้ยวจนแตกพ่ายไป ได้ริบทรัพย์จับเชลยกลับมาเป็นจำนวนมาก
ในปีต่อมา พ.. 2446 เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน ได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรไปรับราชการที่เมืองน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัย อันเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นชอบด้วย
เมื่อพิจารณา สาเหตุกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ
ประการแรก เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในเมืองแพร่นับตั้งแต่ช่วงจัดการ ปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นตอนที่รัฐบาลยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราชและรวมอำนาจเข้าสู่ ส่วนกลาง ดังจะเห็นได้ว่าฐานะทางการเมืองนั้น เจ้าเมืองมีแต่เกียรติยศ ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะอำนาจสิทธิขาดตกเป็นของข้าหลวง ซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง
ในทางด้านเศรษฐกิจก็ถูกตัดทอนผลประโยชน์ลงสร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมือง และ เจ้านายบุตรหลานทั้งหลายในแต่ละเมือง จึงปรากฏปฏิกิริยาออกมาในลักษณะต่างๆ กัน เช่นที่เชียงใหม่เจ้านายบุตรหลานไม่พอใจเรื่องลดผลประโยชน์เป็นอันมาก เมืองแพร่ตกอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากในช่วงที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ปฏิรูปการปกครอง พ.. 2442 ได้จัดการอย่าง รุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าเมืองแพร่เพิ่งจะจัดการปกครองเป็นครั้งแรก พ.. 2437
ในครั้งนั้น ด้านการคลังพระยาทรงสุรเดชยังผ่อนปรน ไม่ได้แบ่งเงินผลประโยชน์ของ เจ้าเมืองออกจากเงินแผ่นดิน ดังนั้น เจ้าพิริยเทพวงศ์จึงเก็บรักษาเงินปนกันหมด และนำเงินหลวงมาจ่ายในกิจการป่าไม้ของตนก่อน โดยเข้าใจว่าเป็นเงินของตน เมื่อพระยาศรีสหเทพตรวจสอบการเงินก็พบว่าเงินหลวงขาดไป จึงสั่งกักขังเจ้าเมืองแพร่ไว้จนกว่าจะหาเงินมาชดใช้ให้ครบภายใน 24 ชั่วโมง เจ้านายบุตรหลานต้องหาเงินมาชดใช้จนครบ เจ้าเมืองแพร่จึงได้รับการปล่อยตัว
นับเป็นการกระทำที่บีบคั้นจิตใจและไม่ให้เกียรติกัน นอกจากนั้นยังกำหนดอัตราการใช้จ่ายเงินของเจ้าเมืองแพร่ไม่ให้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะฐานะทางเศรษฐกิจตกตํ่า จนกระทั่งกำหนดให้ใช้เงินเพียงเดือนละ 2,000.- บาท และจะต้องขอยืมจากท้องพระคลังก่อน
ประการที่สอง เนื่องจากเงี้ยวชาวเมืองและราษฎรพื้นเมืองให้การสนับสนุนกองโจรเงี้ยว การโจมตีเมืองแพร่ มิใช่มีแต่บรรดาเจ้านายเมืองแพร่เท่านั้นที่สนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ชาวเมืองก็จับอาวุธขึ้นช่วยพวกกองโจรเงี้ยวด้วย ทั้งนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากชาวเงี้ยวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจาก รัฐฉานเข้ามาอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในมณฑลพายัพเป็นเวลานานแล้ว พวกเงี้ยวส่วนใหญ่มักเป็นผู้ทำมาหากินตามปกติและปะปนอยู่กับชาวบ้านเมืองแพร่ ทำให้มีความสนิทสนมกันเป็นอันดี เมื่อเกิดความทุกข์ยากลำบากใจจึงร่วมมือสนับสนุนทันที
การจัดรูปการปกครองเมืองแพร่ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลของเมืองแพร่
ปี พ.. 2458 ทางราชการได้ประกาศให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นเป็นมณฑล โดยจัดให้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง รวมเป็นมณฑลเรียกว่ามณฑลมหาราษฎร์และให้ตั้งที่ว่าการมณฑลขึ้นที่จังหวัดลำปาง
ผู้สำเร็จราชการมณฑล 3 ท่าน คือ
- มหาเสวกตรี พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน)
- จางวางตรี พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกะณะ)
- มหาเสวกโท พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค)

ปี พ.. 2469 ทางราชการได้สั่งให้รวมมณฑลมหาราษฎร์กับมณฑลพายัพดังเดิม มีที่ว่าการมณฑลตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ปี พ.. 2476 ทางราชการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งเป็นภาคๆ เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ 5 ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาปี พ.. 2500๐ ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบภาค ให้ทุกจังหวัดขึ้นตรงรัฐบาลกลางที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์จังหวัดพะเยา
ตราประจำจังหวัด
   
 
รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ ประทับเหนือกว๊านพะเยา มีช่อรวงข้าวประดับอยู่สองข้าง เบื้องบนมีลายกนกเปลว 7 ลายลอยอยู่
คำขวัญประจำจังหวัด
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

 สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
พระเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือพยาว เคยมีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฏตามตำนานเมืองพะเยา ดังนี้
จุลศักราช 421 พุทธศักราช 1602 พ่อขุนเงินหรือลาวเงิน ราชโอรสของขุนแรงกวากษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนมีพระราชโอรส 2 องค์คือ ขุนจอมธรรมโอรสองค์ที่ 2 ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ แต่ขุนชินให้อยู่ในราชสำนักครองนครเงินยางเชียงแสน
ขุนจอมธรรมพร้อมข้าราชการบริวารขนเอาพระราชทรัพย์บรรทุกม้า พร้อมพลช้าง พลม้า ตามเสด็จถึงเมืองภูกามยาว และตั้งรากฐานเมืองใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเมืองหนึ่ง นามว่า "สีหราช" อยู่เชิงเขาชมภูหางดอยด้วน ลงไปจรดฝั่งแม่นํ้าสายตา มีสัณฐานคล้ายลูกนํ้าเต้า มีหนองนํ้าใหญ่อยู่ทางตะวันตก อันหมายถึงกว๊านพะเยา และทางทิศอีสานคือหนองหวีและหนองแว่น ต่อมารวมไพร่พลหัวเมืองต่างๆ ได้ 180,000 คน จัดแบ่งได้ 36 พันนา ๆ ละ 500 คน มีเขตแคว้นแดนเมืองในครั้งกระโน้น ดังนี้
ทิศบูรพา จรดขุนผากาดจำบอน ตาดม้าน บางสีถํ้า ไทรสามต้น สบห้วยปู นํ้าพุง สบปั๋ง ห้วยบ่อทอง ตาดซาววา กิ่วแก้ว กิ่วสามช่อง มีหลักหินสามก้อนฝังไว้ กิ่วฤาษี แม่นํ้าสายตา กิ่วช้าง กิ่วง้ม กิ่วเปี้ย ดอยปางแม่นาด
ทิศตะวันตก โป่งปูดห้วยแก้วดอยปุย แม่คาว ไปทางทิศใต้ กิ่วรุหลาว ดอยจิกจ้อง ขุนถํ้า ดอยตั่ง ดอยหนอก ผาดอกวัว แซ่ม่าน ไปจรดเอาดอยผาหลักไก่ทางทิศหรดี
มีเมืองในอำนาจปกครอง คือ เมืองงาว เมืองกวา สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชียงแลง เมืองหงาว แซ่เหียง แซ่ลุล ปากบ่อง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อง เมืองปราบ แซ่ห่ม ทิศใต้สุดจรดนครเขลางค์และนครหริภุญชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อแดนขรนคร (เชียงของ)
ขุนจอมธรรมปกครองไพร่ฟ้าประชาชนโดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคสมบัติ ฟ้าฝนตกตามฤดูกาลไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน ไม่มีสงคราม เจ้าประเทศราชต่างๆ ก็มีสัมพันธ-ไมตรีอันดีต่อกัน ทรงสั่งสอนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยหลักธรรม 2 ประการ คือ
- อปริหานิยธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม 1
- ประเพณีธรรม ขนบธรรมเนียมอันเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงามของครอบครัว 1
ขุนจอมธรรมครองเมืองพะเยาได้ 2 ปี มีโอรส 1 พระองค์ โหรถวายคำพยากรณ์ว่า ราชบุตรองค์นี้จะเป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป มีบุญญาธิการมากเวลาประสูติ มีของทิพย์เกิดขึ้น 3 อย่าง คือ แส้ทิพย์ พระแสงทิพย์ คณโฑทิพย์ จึงให้พระนามว่า "ขุนเจื๋อง" ต่อมาอีก 3 ปี ได้ราชบุตรอีกพระนามว่า "ขุนจอง" หรือ "ชิง"
เมื่อขุนเจื๋องเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาวิชายุทธศาสตร์ เช่น วิชาดาบ มวยปลํ้า เพลงชัย จับช้าง จับม้า และเพลงอาวุธต่างๆ พระชนมายุได้ 16 ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองน่านเจ้าผู้ครองเมืองน่านเห็นความสามารถแล้วพอพระทัย ยกธิดาชื่อ "จันทร์เทวี" ให้เป็นชายาขุนเจื๋องพระชนมายุได้ 17 ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ เจ้าผู้ครองนครเมืองแพร่พอพระทัย จึงยกธิดาชื่อ "นางแก้วกษัตริย์" ให้เป็นชายา พระราชทานช้าง 200 เชือก
ขุนจอมธรรมปกครองเมืองพะเยาได้ 24 ปี พระชนมายุได้ 49 พรรษา ก็สิ้นพระชนม์ ขุนเจื๋องได้ครองราชสืบแทน ครองเมืองได้ 6 ปี มีข้าศึกแกว (ญวน) ยกทัพมาประชิดนครเงินยาง เชียงแสน ขุนชินผู้เป็นลุงได้ส่งสาส์นขอให้ส่งไพร่พลไปช่วย ขุนเจื๋องได้รวบรวมรี้พลยกไปชุมนุมกันที่สนามดอนไชยหนอหลวง และเคลื่อนทัพเข้าตีข้าศึกแตกกระจัดกระจายไป เมื่อขุนชินทราบเรื่องก็เลื่อมใสโสมนัสยิ่งนัก ทรงยกธิดาชื่อ "พระนางอั๊วคำคอน" ให้และสละราชสมบัตินครเงินยางเชียงแสนให้ ขุนเจื๋องครองแทน
เมื่อขุนเจื๋องได้ครองราชเมืองเงินยางแล้ว ทรงพระนามว่า "พระยาเจื๋องธรรมมิกราช" ได้มอบสมบัติให้โอรสชื่อ "ลาวเงินเรือง" ครองเมืองพะเยาแทนหัวเมืองใหญ่น้อยเหนือใต้ยอมอ่อนน้อม ได้ราชธิดาแกวมาเป็นชายานามว่า "นางอู่แก้ว" มีโอรส 3 พระองค์คือ ท้าวผาเรือง ยี่คำห้าว ท้าวสามชุมแสง ต่อมายกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวผาเรือง ให้ท้าวคำห้าวไปครองเมืองล้านช้าง ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองน่าน ต่อมาได้โยธาทัพเข้าตีเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ ทรงชนช้างกับศัตรูเสียทีข้าศึกเพราะชราภาพ จึงถูกฟันคอขาดและสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พวกทหารจึงนำพระเศียรไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์เมืองเหรัญนครเชียงแสน ขุนเจื๋อง ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๑๖๔๑ ครองราชย์สมบัติเมื่อพระชนมายุ 24 ปี ครองแคว้นลานนาไทยได้ 24 ปี ครองเมืองแกวได้ 17 ปี รวมพระชนมายุได้ 67 ปี
ฝ่ายท้าวจอมผาเรืองราชบุตรขึ้นครองราชสมบัติเมืองพะเยาได้ 14 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ขุนแพงโอรสครองราชแทนได้ 7 ปี ขุนซองซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าแย่งราชสมบัติและได้ครองราชเมืองพะเยาต่อมาเป็นเวลา 20 ปี และมีผู้ขึ้นครองราชสืบต่อมา จนถึงพระยางำเมืองซึ่งครองราชเป็นกษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่ 9 นับจากพ่อขุนจอมธรรม พ่อขุนงำเมืองประสูติเมื่อพุทธศักราช 1781 เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมืองสืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง พระชนมายุ 14 ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนศิลปศาสตร์เพทในสำนักเทพอิสิตนอยู่ภูเขาดอยด้วน 2 ปีจบการศึกษา พระชนมายุได้ 16 ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ขอถวายตัวอยู่ในสำนักสุกันตฤๅษี ณ กรุงละโว้ (ลพบุรี) จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยสนิทสนมผูกไมตรีต่อกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์เดียวกันเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา ปีพุทธศักราช 1310 พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พ่อขุนงำเมืองขึ้นครองราชย์แทน พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วงเจ้าตำนานกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบสงคราม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม ผูกไมตรีจิตต่อประเทศราชและเพื่อนบ้าน ขุนเมงรายเคยคิดยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองล่วงรู้เหตุการณ์ก่อนแทนที่จะยกทัพเข้าต่อต้าน ได้สั่งไพร่พลให้อยู่ในความสงบ สั่งให้เสนาอำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี เชิญขุนเมงรายเสวยพระกระยาหารและเลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเมงรายจึงเลิกการทำสงครามแต่นั้นมาพ่อขุนงำเมืองจึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยนเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของให้แก่พระเจ้าเมงราย และทำสัญญาปฏิญาณต่อกันจะเป็นมิตรต่อกันตลอดไป
ฝ่ายพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายคนสนิทก็ได้ถือโอกาสเยี่ยมพ่อขุนงำเมืองปีละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เสด็จในฤดูเทศกาลสงกรานต์ได้มีโอกาสรู้จักขุนเม็งรายทั้ง 3 องค์ ได้ชอบพอเป็นสหายกัน เคยหันหลังเข้าพิงกันกระทำสัจจปฏิญาณแก่กัน ณ ริมฝั่งแม่นํ้าขุนภูว่าจะไม่ผูกเวรแก่กันจะเป็นมิตรสหายกัน กรีดโลหิตออกรวมกันในขันผสมนํ้า ทรงดื่มพร้อมกัน (ภายหลังแม่นํ้านี้ได้ชื่อว่า แม่นํ้าอิง) ระหว่างครองราชย์ในเมืองพะเยาพ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอุปฐากพระธาตุจอมทองซึ่งตั้งอยู่บนดอยจอมทองซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพะเยาที่ประชาชนสักการะบูชามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อพ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลง โอรสคือ ขุนดำแดงสืบราชสมบัติแทนเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๑๖ พ่อขุนดำแดงมีโอรสชื่อ ขุนคำลือซึ่งครองราชสมบัติแทนต่อมา ในสมัยนั้นพระยาคำฟูผู้ครองนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ชวนพระยากาวเมืองน่านยกทัพตีเมืองพะเยา แต่พระยาคำฟูตีได้ก่อนเกิดขัดใจกันสู้รบกันขึ้น พระยาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพระยากาวเมืองน่านติดตามไปยกทัพเลยไปตีถึงเมืองฝาง ได้แต่ถูกทัพของ พระยาคำฟูตีถอยล่นกลับเมืองน่าน เมืองพะเยาในสมัยนั้นอ่อนแอมากจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรลานนา
พุทธศักราช 1949 พระเจ้าไสลือไทยยกกองทัพหมายตีเมืองเชียงใหม่และผ่านเขตเมืองพะเยา หมายตีเอาเมืองพะเยาด้วย แต่ไม่สำเร็จ
สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยพระเจ้าติโลกราชครองอาณาจักรลานนาไทย (พุทธศักราช 1985-2025) แผ่อำนาจลงไปทางใต้ปราบปรามเมืองสองแคว เมืองเชลียง เมืองสุโขทัยตลอดถึงเมืองกำแพงเพชรอยู่ในอำนาจ
ต่อมาในปีพุทธศักราช 1994-2030 พระยายุทิศเจียงเจ้าเมืองสองแควซึ่งสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราชได้มาครองเมืองพะเยา ทรงสร้างพระเจดีย์วัดพระยาร่วง (วัดบุญนาค) ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า "หลวงพ่อนาค" ทรงก่อสร้างวิหารวัดป่าแดง หลวงพ่อดอนชัย และอัญเชิญพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์แดงจากวัดปทุมมาราม (หนองบัว) มาประดิษฐานไว้ด้วยต่อมาพระเจ้าติโลกราชสั่งให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดอโศการาม (วัดป่าแดงหลวง) เชียงใหม่ นอกนั้นพระยายุทิศเจียงยังเอาช่างปั้นถ้วยชามเครื่องสังคโลกอันเป็นศิลปของกรุงสุโขทัยไปเผยแพร่การปั้นถ้วยชามสังคโลกด้วย ตั้งแต่นั้นมาเมืองภูกาม-ยาวก็รวมอยู่กับอาณาจักรลานนาไทยมาโดยตลอด
จากหลักฐานศิลาจารึกต่าง ๆ ปรากฏว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2034 พระยาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา พระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ กับตายายสองผัวเมียสร้างพระเจ้าตนหลวงเริ่มสร้างได้ 5 วัน พระยาเมืองยี่ถึงแก่พิราลัยต่อมาพระยอดเชียงรายก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน
พุทธศักราช 2039 พระเมืองแก้วราชโอรสพระยอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ พระยาหัวเคี่ยนครองเมืองพะเยา ได้ 21 ปี ก็สิ้นพระชนม์
พุทธศักราช 2067 สร้างพระเจ้าตนหลวงเสร็จ รวมเวลาก่อสร้าง 33 ปี
พุทธศักราช 2111 พระเจ้าหงสาวดีเกณฑ์กองทัพพม่า ไทยใหญ่ ลื้อ มอญ ลานนาไทย ยกไปตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อตีได้แล้วให้พระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสองแควไปครองกรุงศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2115 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ยกทัพตีเมืองหนองหาญ อาณาจักรลานช้างและลานนาไทยได้กวาดต้อนผู้คนไปด้วย
ต่อมาพระเจ้ามังตรา (บุเรงนอง) สวรรคต และปีพุทธศักราช 2141 ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนไปกรุงหงสาวดีก็หนีกลับมาเชียงใหม่
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช 2330 เจ้าเมืองอังวะสั่งให้หวุ่นยี่มหาไชยสุระยกทัพมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผ่านฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยาด้วย ผู้คนกลัวแตกตื่นอพยพไปอยู่ลำปาง ทำให้เมืองพะเยาร้างไปเป็นเวลาถึง 56 ปี
พุทธศักราช 2386 พระยานครลำปางน้อยอินทร์กับพระยาอุปราชมหาวงศ์เมืองเชียงใหม่ ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง
ต่อมาพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายพุทธวงศ์น้องคนที่ 1 ของพระยานครอินทร์เป็นพระยาประเทศอุดรทิศผู้ครองเมืองพะเยา ตั้งนายน้อย มหายศ และตั้งนายแก้ว มานุตตม์ น้องคนที่ 2 และ 3 เป็นพระยาอุปราชเมืองพะเยาและพระยาราชวงศ์เมืองพะเยาตามลำดับ ตั้งนายขัติยะบุตรพระยาประเทศอุดรทิศเป็นพระยาเมืองแก้ว และตั้งนายน้อย ขัติยะบุตรราชวงศ์หมู่ส่าเป็นพระยาราชบุตรเมืองพะเยา ผู้ครองเมืองพะเยาทุกคนจึงได้รับพระราชทานนามว่า "พระยาประเทศอุดรทิศ" แต่ประชาชนมักจะเรียกตามนามเดิม เช่นเจ้าหลวงวงศ์
ปีพุทธศักราช 2391 พระยาอุปราช (น้อย มหายศ) รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงจุลศักราช 1217 (พุทธศักราช 2398) ก็ถึงอนิจกรรม
พุทธศักราช 2398 พระยาราชวงศ์เมืองพะเยา (เจ้าบุรีรัตนะหรือเจ้าแก้ว ขัติยะ) ได้รับสัญญาบัตรเป็นเจ้าเมืองพะเยา ครองเมืองได้ 6 ปี ก็ถึงอนิจกรรม
พุทธศักราช 2403 เจ้าหอหน้าอินทะชมภู รับสัญญาบัตรเป็นผู้ครองเมืองพะเยาได้ 11 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพุทธศักราช 2413
พุทธศักราช 2418 เจ้าหลวงอริยะเป็นเจ้าเมืองพะเยาถึงปีพุทธศักราช 2437 ก็ถึงแก่ อนิจกรรม เจ้าไชยวงศ์เป็นผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาถึง 9 ปี พุทธศักราช 2445 เกิดจราจลขึ้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ โจรผู้ลี้ภัยเงี้ยวเข้ายึดเมืองพะเยา ปล้นเอาทรัพย์สินทางราชการ ประชาชน วัดวาอารามไป คนแตกตื่นหนีไปลำปาง ได้ยกกำลังตำรวจทหารจากลำปางมาปราบรบกันอยู่ที่บริเวณบ้านแม่กา เงี้ยวล้มตายเป็นจำนวนมาก
พุทธศักราช 2445 ตำรวจ เจ้านาย กรรมการบ้านเมืองได้เกณฑ์ผู้คนก่อสร้างเสริมกำแพงเมืองให้มั่นคงมากขึ้น เมืองพะเยาในสมันนั้นมีฐานะเป็นจังหวัด เจ้าหลวงอุดรประเทศทิศ (ไชยวงศ์) เป็นเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา หลวงศรีสมรรตการเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด เจ้าอุปราชมหาชัย ศีติสารตำแหน่งข้าหลวงผู้ช่วยหรือปลัดจังหวัด
พุทธศักราช 2448 เจ้าหลวงอุดรประเทศทิศ (ไชยวงศ์) ถึงแก่พิราลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบบริเวณจังหวัดพะเยาให้เป็นแขวงพะเยา ให้ย้ายหลวงศรีสมรรตการข้าหลวงประจำจังหวัดพะเยาไปรับตำแหน่งจังหวัดอื่น และโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชมหาชัย ศีติสารรักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา
พุทธศักราช 2449 เจ้าอุปราชมหาชัย ศีติสาร ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระยาประเทศอุดรทิศ ดำรงตำแหน่งผู้ครองเมืองพะเยาองค์สุดท้าย การปกครองแผ่นดินสมัยนั้นมีการบริหารงานเป็นกระทรวง มณฑล จังหวัด อำเภอ ดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า มณฑลพายัพ
ผู้บริหารระดับกระทรวงเรียกว่า                   เสนาบดี
ผู้บริหารระดับมณฑลเรียกว่า                     สมุหเทศาภิบาล
ผู้บริหารระดับจังหวัดเรียกว่า                      ข้าหลวงประจำจังหวัด
ผู้บริหารระดับอำเภอเรียกว่า                      เจ้าเมืองบ้างหรือนายอำเภอบ้าง
พุทธศักราช 2457 ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงแต่งตั้งนายกลาย บุษบรรณ เป็นนายอำเภอเมืองพะเยา และได้รับแต่งตั้งฐานันดรศักดิ์เป็นรองอำมาตย์โทขุนสิทธิประศาสน์ เป็นนายอำเภอคนแรกมุ่งบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร จัดการศึกษา การอาชีพ และบำรุงพุทธศาสนา จนพุทธศักราช 2465 ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่จัน
พุทธศักราช 2466-2469 พระแสน สิทธิเขตดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา มีเหตุการณ์สำคัญคือ เกิดเพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอ และสร้างหลังใหม่คือหลังปัจจุบัน
พุทธศักราช 2470-2471 หลวงประดิษฐอุดมการ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพะเยา เหตุการณ์บ้านเมืองปกติ
พุทธศักราช 2472-2476 พระบริภัณฑธุรราษฎรเป็นนายอำเภอ เมื่อปีพุทธศักราช 2475 เกิดการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เหตุการณ์ด้านภาคพายัพปกติ ประชาชนยังคงอยู่กันด้วยความสงบสุข
พุทธศักราช 2477-2478 นายผล แผลงศร เป็นนายอำเภอเมืองพะเยา สนใจทำนุ-บำรุงด้านการศาสนาเป็นพิเศษ ละเอียด สุขุม นิ่มนวลเข้ากับประชาชนได้ดีมีส่วนริเริ่มปรับปรุงกว๊านพะเยา เป็นแหล่งนํ้าบำรุงพันธ์ปลา ร่วมกับกรมเกษตรการประมง
พุทธศักราช 2478-2480 พระศุภการกำจร เป็นนายอำเภอเมืองพะเยาเริ่มสำรวจกว๊านพะเยารวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ประกอบการพัฒนากว๊านพะเยา ตามวัตถุประสงค์ของกรมเกษตรการประมง ในปีพุทธศักราช 2480 นั่นเอง นายอุ่นเรือน ฟองศรี ศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยาสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น โรงเรียนแรกคือ โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
ในปีพุทธศักราช 2480 ขุนนาควรรณวิโจรน์ เป็นนายอำเภอเมืองพะเยาได้ขอตั้งเทศบาลเมืองพะเยาขึ้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2480
ในปีพุทธศักราช 2481 นายสุจิตต์ สมบัติศิริ เป็นนายอำเภอพะเยา เริ่มลงมือก่อสร้างประตูระบายนํ้ากว๊านพะเยา
พุทธศักราช 2482-2483 นายผล แผลงศร กลับมาดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอเมืองพะเยาอีกครั้งหนึ่ง สร้างประตูระบายนํ้ากว๊านพะเยาได้เสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2482 สร้างที่ทำการของสถานีประมง ริเริ่มจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลเมืองพะเยา
พุทธศักราช 2484 นายสนิท จูทะรพ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพะเยาเป็นช่วงอยู่ในภาวะสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยจำใจเข้าร่วมสัมพันธไมตรี กับประเทศญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ได้มีการระดมกำลังทหารไปตรึงชายแดนภาคเหนือ ไว้เป็นจำนวนมาก จังหวัดพะเยาในเวลานั้นจึงเต็มไปด้วยทหาร พุทธศักราช 2485-2486 นายทองสุข ชมวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา สงครามเริ่มรุนแรงขึ้น ข้าศึกโจมตีทางอากาศ ทรัพย์สินของทางราชการและประชาชนเสียหายมาก ผู้คนล้มตายและเกิดโรคระบาดคือ มาเลเลีย ซึ่งเกิดจากทหารติดเชื้อมาจากเชียงตุง ผู้คนล้มตายกันมาก มีการลักขโมยปล้นฆ่ากันบ่อยครั้ง เหตุการณ์ไม่ค่อยสงบประชาชนไม่กล้าออกไปทำมาหากิน
พุทธศักราช 2486-2490 นายฉลอง ระมิตานนท์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพะเยาประสานงานกับฝ่ายทหาร ตำรวจปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ดีสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้จนสงครามสงบจึงหันมาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมอาชีพของราษฎร
พุทธศักราช 2490-2496 นายผลิ ศรุตานนท์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เหตุการณ์สู่ภาวะปกติเริ่มฟื้นฟูทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชน
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2494 อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุในองศ์พระเจดีย์วัด ป่าแดงหลวงดอนไชย
ระหว่างเดือนกันยายน 2495 ฝนตกหนักนํ้าไหลบ่าท่วมบ้านเรือนราษฎรถนนขาดเป็นตอนๆ การคมนาคมทางบนถูกตัดขาด เป็นผู้ริเริ่มกันที่ดินเพื่อสงวนไว้เพื่อเป็นประโยชน์ของทางราชการ เช่น ที่ดิน โรงพยาบาล ศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการมีพื้นที่ประมาณ 170 ไร่
พุทธศักราช 2496-2497 ขุนจิตต์ ธุรารักษ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เร่งปราบปรามโจรผู้ร้าย การเล่นการพนันและส่งเสริมอาชีพ
พุทธศักราช 2497-2500 นายวิฑิต โภคะกุล ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา มีนโยบายเร่งรัดพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม ทำการบูรณะถนนหนทางขุดลำเหมืองส่งนํ้าจากกว๊านพะเยา สร้างโรงพยาบาลพะเยา และได้ยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอก
พุทธศักราช 2501-2502 นายวรจันทร์ อินทกฤษณ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เร่งรัดปรับปรุงถนนหนทาง ปราบปรามอันธพาล ร่วมริเริ่มก่อตั้งการปะปาพะเยาซึ่งสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2501 อยู่ไม่นานก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดจังหวัดสระบุรี ต่อมานายสวัสดิ์ อรรถศิริ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยาแทนไม่นานก็ย้ายไป
พุทธศักราช 2502-2504 นายศิริ เพชรโรจน์ มาดำรงตำแหน่งแทนได้ปรับปรุงการทำงานของข้าราชการให้รัดกุม มุ่งการพัฒนาท้องถิ่นถนนหนทางสายต่างๆ แนะนำกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลให้รู้จักการทำงานและมีความขยันหมั่นเพียร และมีการพิจารณาให้รางวัลความดีความชอบ
พุทธศักราช 2504-2511 นายจรูญ ธนะสังข์ ย้ายมาดำรงตำแหน่ง นายอำเภอพะเยา ซึ่งในปีพุทธศักราช 2504 เกิดเพลิงไหม้ตลาดเมืองพะเยา ค่าเสียหายประมาณ 2 ล้านบาทเศษ
พุทธศักราช 2512-2513 นายทวี บำรุงพงษ์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยาในระยะนี้ ได้มีการก่อตั้งแขวงการทางพะเยาขึ้น และเปิดสำนักงานเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2513
พุทธศักราช 2514-2517 นายชื่น บุณย์จันทรานนท์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เมื่อเดือนสิงหาคม 2516 เกิดพายุฝน ฝนตกหนักนํ้าไหลบ่าท่วมบ้านเรือนราษฎรเสียหายมาก
พุทธศักราช 2517-2520 นายประมณฑ์ วสุวัต ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา
พุทธศักราช 2520 นายจรัส ฤทธิ์อุดม ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา
จากเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกราชมาช้านาน และกลายเป็นแคว้นหนึ่งอยู่ในอาณาจักร ลานนาไทย และเปลี่ยนฐานะมาเป็นจังหวัดหนึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพมีเจ้าผู้ครองนคร และถูกยุบมาเป็นอำเภอหนึ่ง ซึ่งนับตั้งแต่ช่วงที่เป็นอำเภอพะเยา (พุทธศักราช 2457-2520) ได้ 63 ปี มี นายอำเภอดำรงตำแหน่งถึง 25 นาย จนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2520 ได้รับยกฐานะจากอำเภอพะเยาขึ้นเป็นจังหวัดพะเยามาตราบเท่าทุกวันนี


ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
ตราประจำจังหวัด

รูปอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี
ท้าวศรีสุนทร วาดจากของจริง
คำขวัญประจำจังหวัด
ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 25122518) ผู้ริเริ่มศึกษาค้นคว้ารวบรวมประวัติจังหวัดภูเก็ต ได้ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ตไว้ในหนังสือเรื่อง ท้าวเทพกระษัตรี สรุปความว่า เกาะภูเก็ตเดิมจะต้องเป็นแหลมเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ของประเทศ เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุก จะต้องมีผู้คนอาศัยในบริเวณนี้มาแต่สมัยโบราณ โดยมีชื่อเมืองที่มีมาแต่เดิมและเพี้ยนมาเรียกชื่อว่า เมืองถลาง ข้อสรุปดังกล่าวนี้พิจารณาได้จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ คือ
ปโตเลมี (Ptolemy) นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งมีชีวิตอยู่ประมาณ พ.ศ. 643พ.ศ. 713 ได้ระบุไว้ในตาราภูมิศาสตร์ว่า การเดินทางจากสุวรรณภูมิลงมาทางใต้ไปยังแหลมมลายูนั้น จะต้องผ่านแหลมจังซีลอน (Junk Ceylon)
ในหนังสือจีนเขียนโดย เจาซูกัว (TchaoJauKaua) พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 1768 ได้ระบุชื่อเมืองสิลัน (Si - Lan) และว่าเมืองสิลันเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย
ในสัญญาทำการค้าขายระหว่างไทยกับฮอลันดา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2207 ก็ปรากฏชื่อเมืองโอทจังซูลางห์ หรือ โอทจังซาลัง อยู่ในสัญญาด้วย 1
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า เกาะถลางนั้นที่ทำไร่นาได้ มีแต่ทางเหนือ จึงตั้งเมืองถลางอยู่แต่ข้างเหนือแต่เดิมมา ตอนข้างใต้ไม่มีที่ทำไร่นา แต่มีดีบุกมากมีแต่คนหาปลาอยู่ริมทะเลกับคนไปตั้งขุดหาแร่ดีบุกอยู่ชั่วคราว แต่ดีบุกเป็นของต้องการใช้ราชการมาแต่โบราณ จึงตั้งเมืองภูเก็ตเป็นเมืองขึ้นของเมืองถลางมาแต่สมัยศรีอยุธยา
นอกจากนั้นในรายงานของกัปตัน James Forrest ซึ่งได้นาเรืออังกฤษชื่อ โทมัส ฟอร์เรส (Thomas Forrest) ได้ทำรายงานตีพิมพ์ในกรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2335 ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2327 ได้เดินทางมาถึงเกาะ Jan Sylonซึ่งเรือจากอินเดียมายังหมู่เกาะมะริด มาแวะพักที่เกาะจังซีลอน (Jan Sylon) ตั้งอยู่ห่างฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอลและเกาะจังซีลอนแยกจากแผ่นดินใหญ่โดยช่องแคบอันเต็มไปด้วยทรายยาวประมาณครึ่งไมล์ ช่องแคบนี้จะถูกน้ำท่วมในเวลาน้ำขึ้น (น้ำขึ้นสูงสุดประมาณ 10 ฟุต) และตอนเหนือสุดของช่องแคบก็เป็นท่าเรือที่ดีเยี่ยม เรียกว่า ปากพระ (Popra)
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องข้างต้น นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ ได้วิเคราะห์ถ้อยคาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
คำว่า Junk ของปโตเลมี หรือ Jan ของกัปตันฟอร์เรส หรือ โอทจัง ในสัญญาที่ไทยทำกับฮอลันดานั้น มาจากคำว่า อุยัง หรือ อุยุง (Ujung) ซึ่งแปลว่า ปลายสุดหรือ แหลม
ส่วนซีลอน (Ceylon) หรือ ซีลัง (Sylan) นั้นคงจะมาจากคาว่า ลาแลซึ่งแปลว่า หญ้าคาหรือคำว่า สิแรซึ่งแปลว่า พลูทั้งสองคำนี้เป็นภาษาพื้นเมืองเดิมของคนที่อยู่ในแถบนี้มาก่อน ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกกันว่า ชาวน้ำหรือ ชาวเล” (คือ ชาวทะเล) แล้วชาวมลายูก็รับเอาไปใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนไทยนั้น ก็ได้เอามาใช้อยู่คำหนึ่ง คือ สิแรซึ่งแปลว่า พลูแต่ได้เอามาออกเสียงเพี้ยนเป็น สะรีเช่นเดียวกับมลายู ซึ่งใช้คาว่า Sirihกับ สิรา
คำว่า สิรีนั้น ภายหลังได้เขียนเป็น สรีและ ศรีไปเสียด้วย แล้วเลยเอาไปยกให้เป็นคำบาลีสันสกฤต กลายเป็นของสูง เป็นราชาศัพท์ว่า พระศรีและความหมายก็แปรไป ไม่หมายถึงพลูโดยเฉพาะ แต่หมายเอาทั้งหมากและพลูรวมกัน เช่น พานใส่หมากใส่พลู ก็เรียก พานพระศรี………”
คำลาแลกับ สิแรทั้งสองนี้เป็นชื่อชาวพื้นเมืองเดิมใช้เรียกสถานที่บนเกาะนี้มาแต่ก่อน อุยังลาแลก็คือ แหลมทางตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเราเปลี่ยนเรียกเป็นชื่อไทยว่า แหลมหญ้าคาหรือ แหลมคมแหลมคา แล้วจึงกลายเป็นแหลมกา ไปในปัจจุบัน นอกจากนั้น คำ หญ้าคานี้ ยังเอาไปใช้เป็นชื่อตำบล เรียกกันว่า ตำบลทุ่งคาซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งเมืองภูเก็ต แล้วเลยเรียกอำเภอที่ตั้งเมืองภูเก็ตว่า อำเภอทุ่งคา ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอทุ่งคา เป็น อำเภอเมืองภูเก็ตและได้แยกตำบลทุ่งคาออกเป็นหลายตำบล ซึ่งทุ่งคาก็เลยหายสาบสูญไป ฝรั่งเรียกทุ่งคำว่า ทองคาหรือ ตองคาและยังใช้เป็นชื่อบริษัทเหมืองแร่ ทุ่งคาฮาเบอร์อยู่ ทั้งนี้เป็นการยืนยันว่าบนแหลม หรือบนเกาะนี้เดิมเป็นดงหญ้าคา จึงได้ชื่อว่า อุยังลาแล หรือ แหลมหญ้าคา มาแต่เดิม
ปัญหาการเรียกชื่อสถานที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมที่เกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ต สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ ดังนี้
“……และยังถอดเป็นหนังสือฝรั่งเศสเสียอีกทีหนึ่งด้วย แล้วเราจะมาถอดกลับเป็นภาษาไทยอีก จะถูกได้เป็นอันยาก จะถวายตัวอย่าง เช่น ตำบลทุ่งคา (เมืองถลาง) ฝรั่งเขียนตัวฝรั่งว่า Tongkaที่จริง ฝรั่งฟังผิดนิดเดียวคือ ทุง เป็น ท่ง แต่ไทยเราเอามาแปลกลับเป็นว่า ตองแกผิดไปไกล…...”5
สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงสนับสนุนว่า “……..นึกถึงคาฝรั่งที่เขียน Tongkaเรามาแปลเป็นไทยกันว่า ตองแกและคำว่า แพรกบ้านนายฝรั่งเขียนเป็น Prek Ban Naiแปลกันว่า ปริกบ้านในรู้สึกว่าแปล 3 ที แล้วกินตาย…….”
ภูเก็ตสมัยศรีวิชัย สุโขทัย
เนื่องจากเกาะภูเก็ต แต่เดิมมีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ ส่วนที่เป็นจังหวัดพังงาหรือตะกั่วป่า ปัจจุบันนี้ และจังหวัดพังงาหรือเมืองตะกั่วป่านั้น เดิมเคยมีชื่อเสียงปรากฎอยู่ในภูมิศาสตร์การเดินเรือของนักเดินเรือมาก่อนว่าเป็นเมืองที่มีท่าจอดเรือดีมาก และมีสินค้าสำคัญคือแร่ดีบุก นักเดินเรือโบราณรู้จักแหลมตะกั่วป่าและแหลมที่เป็นเมืองภูเก็ตนี้ ในชื่อรวมกันว่า ตักโกละ
นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ ได้ค้นคว้าและรวบรวมเรื่องราวของเมืองตะกั่วป่า และได้อธิบายไว้ว่า เมืองตักโกละ เป็นเมืองเก่ามีชื่อมาแต่โบราณ ซึ่งเข้าใจว่าได้สร้างขึ้นในสมัยที่ชาวอินเดียจากแคว้นกลิงคราฐ อพยพหลบภัยสงครามสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 270) มาอยู่ในแหลมมลายู ต่อมาเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 9 เมืองตักโกละก็รวมเข้ากับอาณาจักรตามพรลิงค์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรฟูนัน และเป็นอาณาจักรไทย อาณาจักรแรกบนแหลมมลายู แล้วภายหลังก็ได้ตกไปอยู่ในอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย พร้อมกับอาณาจักรตามพรลิงค์ เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 13
ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยสิ้นอำนาจลงในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรตามพรลิงค์กลับมีอำนาจขึ้นใหม่บนแหลมมลายู และเปลี่ยนชื่อเรียกว่า อาณาจักรศิริธรรมนคร ได้รวมเข้ากับอาณาจักรสุโขทัย และเปลี่ยนเรียกชื่อว่า เมืองนครศรีธรรมราช ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วเมืองตักโกละก็ได้รวมอยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมา
สำหรับชื่อ ตักโกละ นั้น คงจะได้เปลี่ยนเป็น ตะกั่วป่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เพราะในรัชกาลนั้นพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น ใช้ในแว่นแคว้นต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้เป็นตัวหนังสือสำหรับชนชาติไทยทั้งมวลใช้ร่วมกันแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่การที่หนังสือ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช เรียกว่า เมืองตะกั่วถลาง มาตั้งแต่ครั้งยังเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศิริธรรมนครนั้น ก็คงเป็นเพราะผู้เขียนตำนานได้เขียนขึ้นในสมัยเมื่อเปลี่ยนชื่อแล้ว จึงเรียกตามชื่อใหม่ที่ใช้กันอยู่ ในสมัยที่เขียนตำนาน เมืองตะกั่วป่าในสมัยสุโขทัยกลับเป็นเมืองใหญ่ขึ้นอีกด้วยเหตุมีแร่ดีบุกเป็นสินค้าสำคัญ จึงได้แยกออกไปตั้งเป็นเมืองเล็ก ๆ ขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าอีกหลายเมือง คือ เมืองตะกั่วทุ่ง ซึ่งไปตั้งเมืองอยู่ที่ชายทะเลลงไปทางใต้ มีพื้นที่เป็นทุ่งราบ คือ ที่แถบบ้านบางคลี อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ปัจจุบัน อันเป็นพื้นที่อุดมไปด้วยแร่ดีบุกเช่นเดียวกัน จึงเรียกว่า เมืองตะกั่วทุ่ง เพื่อให้คู่กับเมืองตะกั่วป่า เมืองกรา หรือ เมืองกระ ซึ่งย้ายไปจากปากน้ำตะกั่วป่า เมืองนี้โบราณเขียน ก็รา หรือ ก็ระ จึงกลายเป็นเกาะราหรือ เกาะระอยู่ในปัจจุบัน เมืองคุระ ซึ่งอาจจะแยกออกจาก เมืองกระบน เกาะระมาตั้งอยู่บนฝั่งตำบลคุระ กิ่งอำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกันว่า เมืองปากน้ำ คุระ ก็เพี้ยนมาจาก กระ เมืองคีรีรัฐ อยู่บนเขาในตำบลบางวัน กิ่งคุระบุรี ปัจจุบันเรียกเพี้ยนไปเป็น บ้านคุรอด และ เมืองพระบุรี ซึ่งตั้งอยู่ตรงช่องแคบระหว่างเกาะภูเก็ตกับผืนแผ่นดินใหญ่ ส่วนเมืองถลางบนเกาะภูเก็ตในสมัยนั้น ก็คงจะขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่าด้วย จึงเป็นเหตุให้ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช เรียกชื่อควบคู่กันไปว่า เมืองตะกั่วถลาง
ภูเก็ตสมัยกรุงศรีอยุธยา
ครั้นถึงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148 - 2163) จึงปรากฎชื่อ เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง เป็นหัวเมืองขึ้นฝ่ายกลาโหมทั้ง 3 เมือง ซึ่งคงเป็นเพราะในสมัยนั้นได้เริ่มทำการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น หัวเมืองชายทะเลตะวันตกซึ่งมีแร่ดีบุกมาก จึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น เพราะเป็นสินค้าที่ต่างประเทศต้องการมาก ดังจะเห็นได้จากการที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม รัชกาลต่อมา ได้พระราชทานที่ดินแถบปากแม่น้ำเจ้าพระยา ให้พวกฮอลันดาสร้างสถานีเก็บสินค้า เมื่อ พ.ศ. 2169 และยังให้ตั้งสาขาขึ้นที่ภูเก็ตกับนครศรีธรรมราช เพื่อทำการรับซื้อแร่ดีบุกเป็นสาคัญอีกด้วย
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ออกญามหาเสนาสมุหพระกลาโหม เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเชียงใหม่ไม่สำเร็จ แต่ภายหลังออกญาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 จึงโปรดให้ยกหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด รวมทั้ง เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง
เมืองถลาง จากฝ่ายกลาโหม ไปขึ้นกับโกษาธิบดี หรือ กรมท่า เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสงคราม เมืองตะกั่วป่า ได้เป็นหัวเมืองชั้นตรี ขึ้นฝ่ายกรมท่ามาตลอดสมัยศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ สาส์นสมเด็จว่า เกาะถลางนั้น ที่ทำไร่นาได้มีแต่ทางข้างเหนือ จึงตั้งเมืองถลางอยู่ข้างเหนือแต่เดิมมา ตอนข้างใต้ไม่มีที่ทำไร่นา แต่มีดีบุกมาก มีแต่คนหาปลาอยู่ริมทะเล กับคนไปตั้งขุดหาแร่ดีบุกอยู่ชั่วคราว แต่ดีบุกเป็นของต้องการใช้ราชการมาแต่โบราณ จึงตั้งเมืองภูเก็ตเป็นเมืองขึ้นของเมืองถลางมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ภูเก็ตสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) สมุหพระกลาโหม มีความชอบในราชการสงครามปราบปรามพม่า จึงโปรดให้ยกหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดกลับคืนมาขึ้นฝ่ายกลาโหมตามเดิม ต่อมา พ.ศ. 2328 พม่าได้แต่งกองทัพเรือยกมาตี เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งแตกยับเยิน แต่ไปตีเมืองถลางไม่ได้ เพราะท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ต่อสู้ป้องกันเมืองไว้ได้ ภายหลังเมื่อเสร็จการสงครามแล้ว จึงโปรดให้ เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ ต้นสกุล จันทโรจวงศ์) ไปเป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองชายทะเลตะวันตกอยู่ที่เมืองถลาง เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง จึงไปขึ้นกับเมืองถลางอยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมาพอขึ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พม่าก็ยกทัพเรือมาตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง ได้อีกเมื่อ พ.ศ. 2352 เพราะเมืองทั้งสองนี้เพิ่งจะเริ่มฟื้นฟูใหม่ ผู้คนพลเมืองก็ยังน้อย เมื่อทัพพม่ายกมา ก็พากันอพยพหลบหนีเข้าป่าไปหมด พม่าจึงไม่ต้องรบ พม่าได้เมืองตะกั่ว เมืองตะกั่วทุ่ง แล้วก็เลยไปตีเอาเมืองถลางได้ด้วยในคราวนี้ เมื่อพม่ามาตีเมืองตะกั่วป่าแตกใน พ.ศ. 2728 นั้น ตัวเมืองยังคงอยู่ที่ เขาเวียง เพราะปรากฎว่าพม่าได้ขนเอาเทวรูปทั้ง 3 องค์ ลงมาจากเทวสถาน จะเอาไปด้วย แต่เมื่อยกลงมาจากยอดเขา มาถึงริมลำน้ำ เผอิญเกิดพายุใหญ่ฝนตกหนัก พม่าต้องหนีน้ำจึงทิ้งเทวรูปไว้ ตำบลนี้ก็เลยมีชื่อเรียกว่า ตำบลหลังพม่า เพราะพม่าให้หลังที่ตรงนี้ ตำบลหลังพม่านี้ อยู่ในเขตอำเภอกะปง จังหวัดพังงา ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ตำบลรมณีย์
เมื่อเมืองเก่าบนเขาเวียงแตกแล้ว พลเมืองจึงได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่ ที่บ้านตาตัว อยู่ได้ไม่นาน ถึง พ.ศ. 2352 ก็ถูกพม่ามาขับไล่แตกไปอีก ในคราวนี้ผู้คนพลเมืองได้หนีไปตั้งอยู่ในป่า ซึ่งภายหลังก็ได้กลายเป็นหมู่บ้านตะกั่วป่า ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า เมื่อกองทัพกรุงยกมาขับไล่พม่าไปหมดแล้วเห็นว่าหัวเมืองชายทะเลตะวันตกยับเยินหนัก และยังไม่ไว้ใจ เกรงว่าพม่าจะมารุกรานอีก จึงมิได้ตั้งเป็นหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ เหมือนเดิม แต่ให้ยกเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง ไปขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชทั้งหมด
ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. 2383 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชดาริที่จะทำนุบารุงหัวเมืองชายทะเลตะวันตก ให้กลับคืนดังเดิม ประกอบกับหมดห่วงในการศึกกับพม่า เพราะพม่าได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษไปแล้ว จึงกลับตั้งเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เป็นหัวเมืองขึ้นฝ่ายกลาโหมตามเดิม และยังได้ยกเมืองพังงาเป็นหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ ฝ่ายกลาโหมอีกเมืองหนึ่งในคราวนี้ด้วย ส่วนเมืองถลางนั้น ได้กลับตั้งเป็นหัวเมืองขึ้นกรุงเทพฯ ไปตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2380 และเมื่อได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. 2435 โดยรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2435 เมืองตะกั่วป่าจึงมาขึ้นกับมณฑลภูเก็ต
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลักฐานระบุว่า เมื่อราคาดีบุกสูงขึ้น และมีคนไปตั้งขุดแร่มากขึ้นโดยลำดับ ได้มีการแต่งตั้งหลวงมหาดไทยชื่อ ทัด เป็นกรรมการเมืองถลาง ไปปกครองดูแล และตั้งหลักแหล่งหาเลี้ยงชีพด้วยทำการขุดแร่ดีบุกที่ตำบลทุ่งคา อันเป็นมูลของชื่อที่ฝรั่งเรียกเมืองภูเก็ต…….. ต่อมาหลวงมหาดไทยได้เป็นที่พระภูเก็ต เจ้าเมือง แต่ยังขึ้นอยู่กับเมืองถลาง มาจนถึงรัชกาลที่ 4 พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) ออกไปสักเลขที่เมืองภูเก็ต ไปขอนางสาวเลื่อม ธิดาพระภูเก็ต (ทัด) ให้แต่งงานกับพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น) บุตรคนใหญ่ ต่อมาไม่ช้า เมืองภูเก็ตได้เลื่อนขึ้นเป็น เมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระภูเก็ตก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาภูเก็ตโลหะเกษตรารักษ์ ทำนุบารุงเมืองภูเก็ตจนเติบใหญ่
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง นิทานเรื่องเทศาภิบาลความว่า ประเพณีการปกครองหัวเมืองในสมัยโบราณใช้อยู่หลายอย่าง ประเทศทางตะวันออกดูเหมือนจะใช้แบบเดียวกันทุกประเทศ ในกฎหมายเก่าของไทย เช่น กฎมณเฑียรบาล เป็นต้น เรียกวิธีการปกครองว่า กินเมืองต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ว่าราชการเมือง
วิธีการปกครองที่เรียกว่า กินเมืองนั้น หลักเดิมคงมาแต่ถือว่าผู้เป็นเจ้าเมือง ต้องทิ้งกิจธุระของตนมาประจำทำการปกครองบ้านเมือง ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากภัยอันตราย ราษฎรก็ต้องตอบแทนคุณเจ้าเมืองด้วยออกแรงช่วยทำการงานให้บ้าง หรือแบ่งสิ่งของซึ่งทำมาหาได้ เช่น ข้าวปลาอาหาร เป็นต้น อันมีเหลือใช้ ให้เป็นของกำนัล ช่วยอุปการะ มิให้เจ้าเมืองต้องเป็นห่วงในการหาเลี้ยงชีพ ราษฎรมากด้วยกัน ช่วยคนละเล็กละน้อย เจ้าเมืองก็อยู่เป็นสุขสบาย รัฐบาลในราชธานีไม่ต้องเลี้ยงดู จึงได้ค่าธรรมเนียมในการต่าง ๆ ที่ทำในหน้าที่เป็นตัวเงินสาหรับใช้สอย กรมการซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าเมืองก็ไดัรับผลประโยชน์ทำนองเดียวกัน เป็นแต่ลดลงตามศักดิ์
ต่อมาความเปลี่ยนแปลงทำให้การเลี้ยงชีพต้องอาศัยเงินตรามากขึ้นโดยลาดับผลประโยชน์ที่เจ้าเมืองกรมการได้รับอย่างโบราณไม่พอเลี้ยงชีพ จึงต้องคิดหาผลประโยชน์เพิ่มพูนขึ้นทางอื่น เช่น ทำไร่นาค้าขาย เป็นต้น ให้มีเงินพอใช้สอยกินอยู่เป็นสุขสบาย เจ้าเมืองกรมการมีอำนาจที่จะบังคับบัญชาการต่าง ๆ ตามตำแหน่ง และเคยได้รับอุปการะของราษฎรเป็นประเพณีมาแล้ว ครั้นทำมาหากินก็อาศัยตาแหน่งในราชการ เป็นปัจจัยให้ได้ผลประโยชน์สะดวกดีกว่าบุคคลภายนอก เปรียบดังเช่น ทำนาก็ได้อาศัย บอกแขกขอแรงราษฎรมาช่วยหรือจะค้าขายเข้าหุ้นกับผู้ใดก็อาจสงเคราะห์ผู้เป็นหุ้นให้ซื้อง่ายขายคล่อง ได้กาไรมากขึ้น แม้จนเจ้าภาษีนายอากรได้รับผูกขาดไปจากกรุงเทพฯ ถ้าให้เจ้าเมืองกรมการมีส่วนด้วย ก็ได้รับความสงเคราะห์ให้เก็บภาษีอากรสะดวกขึ้น จึงเกิดประเพณีหากินด้วยอาศัยตาแหน่งในราชการแทนทั่วไป เจ้าเมืองกรมการที่เกรงความผิด ก็ระวังไม่หากินด้วยเบียดเบียนผู้อื่น ต่อเป็นคนโลภจึงเอาทุกอย่างสุดแต่จะได้ ดังเช่น ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ ในนิพนธ์ที่ 4 เรื่อง ห้ามเจ้ามิให้ไปเมืองสุพรรณ
นอกจากนั้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า ตามหัวเมืองสมัยนั้นประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ไม่มีศาลารัฐบาลตั้งประจำสาหรับว่าราชการบ้านเมือง เหมือนอย่างทุกวันนี้ เจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ไหน ก็ว่าราชการบ้านเมืองที่บ้านของตน เหมือนอย่างเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าราชการที่บ้านตามประเพณีเดิม บ้านเจ้าเมืองผิดกับบ้านของคนอื่นเพียงแต่ที่เรียกกันว่า จวนเพราะมีศาลาโถงปลูกไว้นอกรั้วข้างหน้าบ้านหลังหนึ่ง เรียกว่า ศาลากลางเป็นที่สำหรับประชุมกรมการเวลามีงาน เช่น รับท้องตรา หรือ ปรึกษาราชการเป็นต้น เวลาไม่มีการงานก็ใช้ศาลากลางเป็นศาลชำระความ เห็นได้ว่าศาลากลางก็เป็นเค้าเดียวกับศาลาลูกขุนในราชธานีนั้นเอง เรือนจำสำหรับขังนักโทษก็อยู่ในบริเวณจวนอีกอย่างหนึ่ง แต่คงเป็นเพราะคุมขังได้มั่นคงกว่าที่อื่น ไม่จำเป็นต้องอยู่กับจวนเหมือนศาลากลาง
“……. เจ้าเมืองต้องสร้างจวนและศาลากลางด้วยทุนของตนเอง แม้แต่แผ่นดินที่จะสร้างจวน ถ้ามิได้อยู่ภายในเมืองที่ปราการ เช่น เมืองพิษณุโลก เป็นต้น เจ้าเมืองก็ต้องหาซื้อที่ดินเหมือนกับคนทั้งหลาย จวนกับศาลากลางจึงเป็นทรัพย์ส่วนตัวของเจ้าเมือง เมื่อสิ้นตัวเจ้าเมืองก็ตกเป็นมรดกของลูกหลาน ใครได้เป็นเจ้าเมืองคนใหม่ ถ้ามิได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้าเมืองคนเก่า ก็ต้องหาที่สร้างจวนและศาลากลางขึ้นใหม่ตามกาลังที่จะสร้างได้ บางทีก็ย้ายไปสร้างห่างจวนเดิมต่างฟากแม่น้ำ หรือแม้จนต่างตำบลก็มี จวนเจ้าเมืองไปตั้งอยู่ที่ไหน ก็ย้ายที่ว่าราชการไปอยู่ที่นั่นชั่วสมัยของเจ้าเมืองคนนั้น ตามหัวเมือง จึงไม่มีที่ว่าราชการเมืองตั้งประจำอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นนิจ เหมือนทุกวันนี้อันพึ่งมีขึ้นเมื่อจัดมณฑลเทศาภิบาลแล้ว …….”
ในหนังสือเรื่อง พระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทย 11 ได้กล่าวไว้ว่า เทศาภิบาลคือการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการ ออกไปดำเนินการ ในส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน

มณฑล
รวมเขตเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลบังคับบัญชาพร้อมด้วยข้าหลวงชั้นรอง และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ

เมือง

รวมเขตอำเภอตั้งแต่ 2อำเภอขึ้นไป มีผู้ว่าการเมืองและกรมการเมืองบังคับบัญชาตามข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง รัตนโกสินทร์ศก 116 หรือพุทธศักราช 2440 (สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นเสนาบดี) และ ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมืองชั่วคราว พุทธศักราช 2465 (สมัยเจ้าพระยายมราช เป็นเสนาบดี)

อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
เป็นหน่วยปกครองที่รองลงมา
มณฑลที่ตั้งขึ้นก่อนพุทธศักราช 2437 มี 6 มณฑล คือ (1) มณฑลลาวเฉียง (2) มณฑลลาวพวน (3) มณฑลลาวกาว (4) มณฑลเขมร (5) มณฑลลาวกลาง (6) มณฑลภูเก็ต


มณฑลภูเก็ต (เดิมเรียกหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก) มี 6 เมือง คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ตะกั่วป่า ระนอง
การปกครองโดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตั้งเป็นมณฑลนั้น ความจริงได้เคยมีการรวมหัวเมืองต่าง ๆ ให้ขึ้นอยู่ในปกครองข้าหลวงใหญ่มาก่อนบ้างแล้ว เช่น รวมหัวเมืองทางภาคอิสานตั้งเป็นหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ และหัวเมืองลาวกลาง ตั้งแต่พุทธศักราช 2433 เป็นต้น โดยเฉพาะมณฑลภูเก็ตนั้นอาจกล่าวได้ว่า ได้รวมเป็นหัวเมืองทำนองมณฑลมาก่อนที่อื่นทั้งหมดก็ว่าได้ เพราะได้เริ่มมีการตั้งข้าหลวงใหญ่คนแรก ออกมาประจำอยู่ที่เมืองภูเก็ต ทำหน้าที่กำกับราชการบ้านเมือง และจัดการภาษีอากร ตลอดจนรับส่งเงินหลวงในหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกตั้งแต่ปีกุน สัปตศก จุลศักราช 1237 หรือ พุทธศักราช 2418 เป็นต้นมา ข้าหลวงใหญ่คนแรกนี้คือ เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ชื่น บุนนาค) หัวหมื่นมหาดเล็กและองคมนตรี ซึ่งภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยามนตรีสุริยวงศ์
การตั้งข้าหลวงใหญ่ ออกมากากับราชการหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกนี้ เป็นการเจริญรอยตามแบบแผน สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่ได้ตั้ง เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองถลางและหัวเมืองอื่นซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกรวม 8 เมืองนั่นเอง เหตุผลที่จำเป็นต้องตั้งข้าหลวงใหญ่ ออกมากำกับราชการหัวเมืองฝ่ายนี้ขึ้นอีก ก็มีสาเหตุมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุกดังรายละเอียดที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ใน ประวัติพระยามนตรีสุริยวงศ์ ความว่า ผลประโยชน์ส่งหลวงนั้น แต่เดิมมาเจ้าเมืองเป็นพนักงานเก็บภาษีโดยตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ครั้นเจ้าเมืองเป็นผู้ทำเหมืองเอง รัฐบาลจึงมอบภาษีอากรทั้ง 5 อย่างคือ ภาษีดีบุก 1 ภาษีร้อยชักสาม 1 ภาษีฝิ่น 1 ภาษีสุรา 1 อากรบ่อนเบี้ย 1 รวมเรียกว่า ภาษีผลประโยชน์ให้เจ้าเมืองรับทำกะเพิ่มเงินหลวงให้ส่งเป็นอัตราเสมอไปทุกปี เจ้าเมืองจึงเป็นอย่างเจ้าภาษีรับผูกขาดผลประโยชน์ ในเมืองนั้นด้วยเป็นอย่างนี้มาจนถึงรัชกาลที่ 5 ครั้งถึงปีวอก พุทธศักราช 2415 พระยาอัษฎงคตทิศรักษา เข้ามาจากเมืองสิงคโปร์มายื่นเรื่องราวที่ในกรุงเทพฯ จะขอรับผูกภาษีผลประโยชน์ที่เมืองภูเก็ต เงินหลวงแต่เดิมได้อยู่ปีละ 217 ชั่ง พระยาอัษฎงคตฯ จะประมูลขึ้น 3,783 ชั่ง รวมเป็น 4,000 ชั่ง พระยาอัษฎงคตฯ นี้ชื่อจีน ตันกิมเจ๋ง เป็นพ่อค้าชาวเมืองสิงคโปร์ เคยเข้ามากรุงเทพฯ เนือง ๆ ตั้งแต่ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตาตั้งให้เป็นที่พระพิเทศพานิช แล้วโปรดให้เป็นกงศุลไทย ที่เมืองสิงคโปร์ ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษาตาแหน่งผู้ว่าการเมืองกระ ทั้งเป็นกงศุลไทยอยู่ที่เมืองสิงคโปร์ด้วย ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นพระยาอนุกูลสยามกิจกงศุล
เยเนราลไทยที่เมืองสิงคโปร์ แต่เมื่อเข้ามายื่นเรื่องราวประมูลภาษีเมืองภูเก็ต ยังเป็นพระยาอัษฎงค์ฯ อยู่ จึงเกิดเป็นปัญหาที่รัฐบาลจะต้องเลือกในเวลานั้นว่า จะให้คนในบังคับต่างประเทศเข้ามารับผูกขาดการทำภาษีอากร โดยจะให้ผลประโยชน์แผ่นดินมากขึ้น หรือจะให้เจ้าเมืองจัดต่อไปตามเดิม แต่แผ่นดินได้ผลประโยชน์น้อย ทางที่คิดเห็นกันว่าเป็นอย่างดีที่สุดในเวลานั้นก็คือให้เจ้าเมืองคงทำไปอย่างเดิม แต่ให้ขึ้นเงินหลวงให้เท่ากับที่พระยาอัษฎงค์ฯ รับประมูลเวลานั้นพระยาวิชิตสงครามอยู่ในกรุงเทพฯ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ว่ากล่าวกับพระยาวิชิตสงคราม พระยาวิชิตสงครามจึงรับประมูลเงินหลวงให้มากกว่าพระยาอัษฎงค์ฯ 200 ชั่ง เป็นปีละ 4,200 ชั่ง ใช่แต่เท่านั้น พระยาวิชิตสงครามยื่นเรื่องราวขอประมูลทำภาษีอากรเมืองระยอง เมืองตะกั่วป่า เมืองพังงา อย่างพระยาอัษฎงค์ฯ ประมูลเมืองภูเก็ตบ้าง จึงเป็นเหตุให้ผู้ว่าการเมืองนั้น ๆ ต้องประมูลรับขึ้นเงินตามกัน เงินภาษีอากรเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกก็เพิ่มขึ้นมากมายหลายเท่า ตั้งแต่ปีระกา จุลศักราช 1235 พุทธศักราช 2416 เป็นต้นมา
เมื่อเงินภาษีอากรเพิ่มขึ้นมากมายเช่นนั้น การที่จะรับส่งเงินหลวงทางหัวเมืองภูเก็ต ก็เป็นการสาคัญขึ้นแต่แรกรัฐบาลจัดให้เรือรบหลวง 1 ลา มีขุนนางกรมอาสาจามเป็นข้าหลวงสาหรับไปรับเงินงวดภาษีอากรทางหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก ต้องไปมาเป็นการลาบากอยู่เสมอ เงินที่หัวเมืองจะส่งก็คั่งค้างไม่สะดวกดี แต่ก็ยังมิได้จัดการแก้ไขแต่อย่างใด ครั้งปีกุน
จุลศักราช 1237 พุทธศักราช 2418 พระยาอัษฎงค์ ยื่นประมูลภาษีอากรเมืองภูเก็ตอีกครั้งหนึ่งจะรับขึ้นเงินหลวงอีกปีละ 1,000 ชั่ง เป็นปีละ 5,200 ชั่ง ปัญหาเกิดขึ้นคราวนี้ ยากกว่าคราวก่อน ด้วยจะเรียกพระยาวิชิตสงครามมาว่ากล่าว ให้ประมูลขึ้นไปอีกก็ขัดอยู่ เพราะการที่เจ้าเมืองรับขึ้นเงินภาษีอากรเป็นอันมาก เมื่อปีวอกจัตวาศกนั้น มิใช่ว่าเป็นแต่จะไปแบ่งโอนเงินกาไรของตนมาส่งหลวง แท้จริงกำไรที่เจ้าเมืองได้อยู่ก่อนยังต่ำกว่าจำนวนเงินหลวงที่รับประมูลขึ้นไปเสียอีก ความคิดของเจ้าเมืองที่กล้ารับขึ้นเงินหลวงครั้งนั้น ด้วยตั้งใจ จะไปกู้ยืมหาเงินมาลงทุนรอนเรียกจีนกุลีเข้ามาทำเหมืองให้มากให้เกิดผลประโยชน์ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน หมายจะเอากำไรที่จะได้มากขึ้นมาส่งเป็นเงินหลวง เป็นอย่างนี้ด้วยกันทุกเมือง
การที่จัดทำลงทุนรอนไปเป็นธรรมดาจำต้องมีเวลากว่าจะได้ทุนกลับคืนมา ก็ถ้าให้ประมูลกันร่าไป หรือถ้าผู้อื่นแย่งภาษีไปได้ในเวลาที่ไม่ได้ทุนคืน เจ้าเมืองที่รับทำภาษีอากรอยู่ก็ต้องฉิบหาย รัฐบาลแลเห็นอยู่เช่นนี้ แต่จะไม่รับเรื่องราวของพระยาอัษฎงค์ฯ พิจารณา กฎหมายการทำภาษีอากรในเวลานั้น ก็ยังยอมให้ว่าประมูลอยู่ จึงเป็นความลาบากใจแก่รัฐบาลที่จะบัญชาลงเป็นประการใด สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงทูลขอให้พระยามนตรีฯ แต่ยังเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราชและเป็นองคมนตรี เป็นข้าหลวงพิเศษออกไปตรวจการภาษีอากรทางหัวเมืองมณฑลภูเก็ต เพราะพระยามนตรีฯ เกี่ยวดองกับพระยาวิชิตสงคราม ประสงค์จะให้ไปพูดจาเกลี้ยกล่อมพระยาวิชิตสงครามยอมประมูลเงินสูงกว่าพระยาอัษฎงค์ฯ 800 ชั่ง รวมเป็น 6,000 ชั่ง รัฐบาลจึงได้จัดการแก้ไข วิธีเก็บภาษีอากรทางหัวเมืองมณฑลภูเก็ตให้พ้นจากเรื่องประมูลแย่งกันตั้งแต่นั้นมา เวลานั้นพระยาวิชิตสงครามแก่ชรา จักษุมืด จึงโปรดให้เลื่อนขั้นเป็นพระยาจางวาง โปรดให้พระยาภูเก็ต(ลำดวน) บุตรคนใหญ่ของพระยาวิชิตสงคราม เป็นตาแหน่งผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ตสาหรับที่จะได้ทำการเก็บผลประโยชน์ แทนตัวพระยาวิชิตสงครามต่อไป แล้วทรงตั้งพระยามนตรีฯ เวลานั้นยังเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นข้าหลวงใหญ่คนแรกออกไปอยู่เมืองภูเก็ต ประจำกำกับราชการบ้านเมืองและจัดเก็บภาษีอากรตลอดจนรับส่งเงินหลวงในหัวเมืองมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่เมื่อปีกุน สัปตศกนั้น
การที่ตั้งข้าหลวงใหญ่ไปประจำอยู่เมืองภูเก็ตครั้งนั้น เมื่อพิเคราะห์ดูโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ก็แลเห็นได้ว่าเป็นการจำเป็น และสมควรแก่ประโยชน์ของราชการบ้านเมืองด้วยประการทั้งปวง เพราะการที่เปิดเหมืองดีบุก ให้ทำได้มากมายหลายเหมืองพร้อมกันเช่นนั้น อาจจะมีเหตุการณ์แก่งแย่งเกิดขึ้น เช่นแย่งจีนกุลีทำเหมือง เป็นต้น และข้อสำคัญยังมีในการที่เรียกจีนกุลีเพิ่มเข้ามาทำเหมืองมากขึ้น ๆ ทุกที ไม่ช้านานเท่าใด จำนวนจีนกุลีทำเหมืองก็มากกว่าพลเมืองไทยที่อยู่ในท้องที่มาแต่เดิม ภาระควบคุมจีนกุลี เป็นความลาบากแก่การปกครองในเวลานั้น ยิ่งกว่าการอย่างอื่น ต้องการกำลังและอำนาจ ในการปกครองยิ่งกว่าที่เจ้าเมืองมีอยู่เฉพาะเมืองอย่างแต่ก่อน จึงต้องตั้งข้าหลวงใหญ่ไปอยู่ประจำมณฑลคล้าย ๆ กับสมุหเทศาภิบาลที่จัดต่อมาในชั้นหลัง และให้มีเรือรบออกไปอยู่ประจำเป็นกำลังลำหนึ่งสองลำอยู่เสมอ……”
ส่วนปลัดมณฑลที่เคยเป็นตาแหน่งที่สองรองจากข้าหลวงเทศาภิบาลนั้น ก็จำกัดหน้าที่ลงเหลือเป็นเพียงผู้ช่วยในกิจการมณฑลเท่านั้น และงานในหน้าที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ของข้าหลวงมหาดไทยนั้น เมื่อได้ตั้งตาแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขึ้นอีกตาแหน่งหนึ่งแล้ว ก็ได้ยุบเลิกตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยมณฑลเสีย แล้วโอนงานของข้าหลวงมหาดไทย ให้ปลัดมณฑลเป็นผู้ปฏิบัติจัดทำต่อไป
ต่อมาถึงพุทธศักราช 2459 จึงได้เปลี่ยนคาว่า เมืองเรียกว่า จังหวัดเป็นระเบียบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ ต่อมาถึงพุทธศักราช 2468 ในรัชกาลที่ 7 ได้ยุบเลิกตาแหน่งมหาดไทยมณฑล เพื่อประหยัดตัดรอนรายจ่ายแผ่นดินให้เข้าสู่ดุลยภาพ แต่แล้วภายหลังก็ต้องกลับตั้งตำแหน่งมหาดไทยมณฑลขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยอีก อนึ่งในปีพุทธศักราช 2468 นี้ ได้โอนจังหวัดสตูล จากมณฑลภูเก็ต ไปขึ้นกับ มณฑลนครศรีธรรมราช เพราะทางไปมาจากสตูลไปสงขลา ซึ่งเป็นที่ตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชสะดวกกว่ามาภูเก็ต ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองขึ้นในปีพุทธศักราช 2475 จึงได้ยกเลิกระบอบเทศาภิบาลเสีย เมื่อพุทธศักราช 2476 ตาแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล จึงได้ถูกยุบเลิกไปแต่นั้นมา ถึงแม้ว่าในภายหลังจะได้มีการแต่งตั้งตำแหน่ง ข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทย ออกไปประจำภาคต่าง ๆ ขึ้น แล้วต่อมาได้เปลี่ยน เรียกว่า ผู้ว่าราชการภาค ก็ตาม ก็หาได้มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการในจังหวัดต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์เหมือนในสมัยสมุหเทศาภิบาล ผู้สาเร็จราชการมณฑลต่างพระเนตรพระกรรณไม่ จึงเป็นอันว่าระบอบมณฑลเทศาภิบาลได้หมดสิ้นไป ตั้งแต่พุทธศักราช 2476 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการ และตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับ หน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1) จังหวัด
2) อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

No comments:

Post a Comment