จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย พ)

ประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตราประจำจังหวัด


รูปสังข์ทักษิณาวัตร ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า         ในปราสาทใต้ต้นหมัน
คำขวัญประจำจังหวัด
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี
คนดีศรีอยุธยา


ประวัติศาสตร์จังหวัดพังงา
ตราประจำจังหวัด

รูปเรือขุดเหมือง เขารูปช้าง และเกาะตะปู
คำขวัญประจำจังหวัด
แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร


การกล่าวถึงประวัติจังหวัดพังงา จะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของ "ตะกั่วป่า" เสียก่อนไม่ได้ เนื่องจากปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ยอมรับแล้วว่า "ตะกั่วป่า" ได้เคยเป็นบ้านเมือง เป็นที่รู้จักกันดีไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว แม้ขณะนี้จะมีฐานะเป็นอาเภอหนึ่งก็ตาม
ส่วนจังหวัดพังงานั้นเพิ่งมาตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นเมื่อ พ.. 2352 ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือเมื่อประมาณ 176 ปีมานี้เอง
สมัยอาณาจักรศรีวิชัย
เดิมทีนั้นบนแหลมมลายูรวมทั้งส่วนบนที่เป็นของไทยด้วย ได้เป็นที่อยู่ของพวกพื้นเมืองเดิม อันได้แก่ พวก "เซมัง" และ "ซาไก" มาก่อน ต่อมามีชนอีกพวกหนึ่งเรียกกันว่า "ชนพูดภาษามอญ - เขมร" อพยพแผ่ลงมาจากทางเหนือเข้ามายึดริมแม่น้าตอนใกล้ ๆ ชายทะเลเป็นถิ่นฐานเรื่อยลงไปจน ถึงปลายแหลมมลายู ชนพวกนี้ส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน เป็นชนชาติมอญ อยู่ในแม่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นละว้าและปากแม่น้ำโขงเป็นชนเขมร เฉพาะส่วนที่ลงมาอยู่บนแหลมมลายูนั้นกลายเป็น "พวกมลายูเดิม" แต่ไม่พูดภาษามลายู
ต่อมามีชนพวกพูดภาษามอญ - เขมร ได้อพยพใหญ่ลงมาตามแนวทางเดิมอีกคราวหนึ่ง ในครั้งนี้ชนพูดภาษามอญ - เขมร ได้เจริญขึ้นมากแล้วได้ทำเรือแพข้ามไปอยู่บนเกาะสุมาตรา ชวาและบอร์เนียว และได้เข้ามาขับไล่เอาพวกมลายูเดิมที่ด้อยความเจริญกว่าให้เข้าไปอยู่ในป่าบ้าง หนีไปอยู่ตามชายทะเลห่างไกลบ้าง กลายเป็นพวก "จากุน" ไป และอยู่ตามชายฝั่งทะเลไทยเรียกว่า "ชาวเล" หรือ "ชาวน้ำ" ภาษาราชการเรียกว่า "ชาวไทยใหม่"
ในสมัยใกล้เคียงกัน พวกชาวอินเดียที่มีอารยธรรมสูงได้เริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เนื่องจากชาวอินเดียเหล่านี้มีความฉลาดกว่า มีวัฒนธรรมสูงกว่า จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน ฯลฯ ให้แก่ชาวพื้นเมือง ในที่สุดชาวอินเดียก็ได้เข้าผสมกับชาวพื้นเมือง และมีอำนาจปกครองแหลมมลายูอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อเสื่อมอำนาจลงพวกเขมร (เมืองละโว้) ลงมาชิงได้บ้านเมือง แต่เขมรปกครองอยู่ได้ไม่นานชนชาติไทยได้เป็นใหญ่ในประเทศสยาม (ณ กรุงสุโขทัย) ก็ขยายอำนาจลงมา ได้แหลมมลายูตอนข้างเหนือไว้เป็นอาณาเขต ตั้งแต่ พ.. 1800 เศษเป็นต้นมา
พร้อม ๆ กันนั้นพวกแคว้นมลายู ซึ่งอยู่บนตอนเหนือของเกาะสุมาตราได้มีอำนาจมากขึ้น จึงได้ข้ามฟากมาตั้ง "อาณาจักรมาลักกา" ขึ้นบนปลายแหลมมลายู แล้วยกทัพขึ้นมาทำสงครามยึดเอาเมืองต่าง ๆ ทางเหนือ ในที่สุดไปปะทะกับอิทธิพลของไทยสุโขทัยตรงสี่จังหวัดภาคใต้ แล้วก็หยุดลงแค่นั้น ชนชาวมลายูที่ข้ามเข้ามาใหม่นี้ได้นำเอาวัฒนธรรมมลายู มีภาษา การนุ่งห่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาให้แก่บ้านเมืองบนแหลมมลายูที่ตีได้ ต่อมาชาวมลายูบนเกาะสุมาตราได้อพยพเข้ามาอยู่บนแหลมมลายูมากขึ้น ทั้งได้นาเอาศาสนาอิสลามที่ได้ก่อกาเนิดขึ้นในสุมาตราก่อน เข้ามาให้ชนชาวพื้นเมืองเดิมด้วย ทำให้ชนชาวพื้นเมืองเดิมเหล่านั้นค่อย ๆ กลายเป็นชาวมลายูไปโดยปริยาย ชนชาวมลายูที่ยกเข้ามาจากสุมาตราเข้ามาอยู่ใหม่นี้เรียกว่า "พวกชาวมลายูใหม่" โดยเหตุนี้เองวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชนชาวมลายูตอนล่าง จึงได้แตกต่างกับชนชาวไทยที่อยู่ตอนบน
ในสมัยกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์ไทยได้ส่งกองทัพไปตีและได้เข้าครอบครองดินแดนบน แหลมมลายูทั้ งหมดหลายครั้งบางครั้งได้ข้ามไปปกครองเมืองบางเมืองบนเกาะสุมาตรา ต่อมาเมื่อชาวยุโรปเข้ามามีอิทธิพลจึงได้ถูกชนชาวยุโรปยึดเอาแหลมมลายูตอนล่างไปปกครอง
ในสมัยที่การแล่นเรือข้ามช่องมะละกาไม่ปลอดภัยจากโจรสลัด และต้องใช้เวลาแล่นเรืออ้อม ความยาวของแหลมมลายูมากนั้น ชาวอินเดียได้เดินเรือใบมายังชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ซึ่ง ทอดจากเหนือลงมาใต้ขวางทิศทางอยู่ส่วนหนึ่งได้มาขึ้นจอดที่ท่าเมืองสำคัญเมืองหนึ่งบนฝั่งทะเลด้าน นั้น คือท่า "เมืองตักโกลา" หรือ "ตะโกลา" หรือเมือง "ตะกั่ วป่า" ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะในอ่าวหน้าเมือง เป็นที่ทอดสมอจอดเรือหลบมรสุมได้เป็นอย่างดีทุกฤดูกาล นอกจากนั้นสามารถขนถ่ายสินค้าเดินทางบก เพื่อข้ามไปลงเรือซึ่งคอยรับอยู่ในอ่าวบ้านดอนอีกฟากหนึ่งของแหลมมลายูใกล้มาก ทั้งนี้เพราะได้อาศัยลำแม่น้ำตะกั่วป่าเป็นทางลำเลียงสินค้าด้วยเรือเล็กขึ้นไปทางต้นน้ำได้ไกลมาก จนกระทั่งน้ำตื้นมาก เรือเล็กไปไม่ไหวแล้ว จึงได้ลำเลียงสินค้าขึ้นหลังช้างหรือวัวต่างม้าต่างเดินบกข้ามสันเขาราว ๆ 5-6 ไมล์ ก็จะถึงต้นน้ำคีรีรัฐ ถ่ายสินค้าลงเรือล่องลงไปตามลำน้ำคีรีรัฐจนถึงปากแม่น้ำ ถ่ายของขึ้นเรือ ใหญ่แล่นออกทะเลไป หรือถ่ายของขึ้นเมืองไชยา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อุดมสมบูรณ์ มีผู้คนมากอยู่ในอ่าว บ้านดอนก็ได้ ก็โดยเหตุที่เป็นเส้นทางเดินแวะพักเช่นนี้เอง จึงพบว่า บริเวณเมืองไชยาและเมือง ตักโกลา มีโบราณวัตถุที่แสดงว่ามีชนชาวอินเดีย และชนชาติอื่น ๆ เคยเดินทางผ่านและเคยมาพักอยู่มาก
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในปลายปี พ.. 2351 พระเจ้าปะดุงกษัตริย์พม่าพิจารณาเห็นว่าเมืองไทยกำลังอ่อนกำลังลงเพราะได้สิ้นแม่ทัพนายกองที่เข้มแข็งไปหลายคน เช่น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นต้น ทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ทรงพระชรามากแล้ว ควรจะถือโอกาสไปตี เมืองไทยล้างความอับอายที่ได้พ่ายแพ้มาแล้วหลายหน จึงให้อะเติงหวุ่นเป็นแม่ทัพ เกณฑ์คนเตรียมยกทัพมาตีเมืองไทย แต่การเกณฑ์คนเข้ากองทัพมีอุปสรรค เสร็จไม่ทันจึงให้ยับยั้งการมาตีเมืองไทยไว้ และปล่อยคนเกณฑ์ ในขณะที่ยังปลดปล่อยคนยังไม่หมดนั้นก็พอทราบว่าเมืองไทยเปลี่ยนรัชกาลใหม่
 ความกลัวพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็หมดไป อะเติงหวุ่นจึงขอยกกองทัพที่เหลือมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อกวาดผู้คนและเก็บทรัพย์ได้พอคุ้มกับทุนรอนที่ได้ลงไปแล้ว โดยแบ่งกาลังออกเป็น 2 กองทัพ ยกมาทางเรือมาตีเมืองถลางกองทัพหนึ่ง อีกกองทัพหนึ่งให้ เดินมาตีเมืองระนอง กระบุรี และชุมพร
ทางกรุงเทพฯ ได้ข่าวศึกล่วงหน้าสองเดือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่มีกาลัง 4 หน่วย คือ พระยาทศโยธากับพระยาราชประสิทธิ์เป็นแม่ทัพไปเกณฑ์กองทัพเมืองไชยา ยกข้ามแหลมมลายูไปรักษาเมืองถลางไว้ก่อนหน่วยหนึ่ง เจ้าพระยายมราช (น้อย) เป็นแม่ทัพหลวงกับพระยาท้ายน้ำแม่ทัพหน้ารีบลงไปเกณฑ์กำลังเมืองนครศรีธรรมราชยกไปช่วยเมืองถลางหน่วยหนึ่ง ให้พระยาจ่าแสนยากร (บัว) เป็นแม่ทัพยกกาลังจากกรุงเทพฯ 5,000 ไปเป็นกำลังส่วนกลางคอยช่วยเหลือทัพอื่นหน่วยหนึ่ง และเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีได้เสด็จไปรวมพลจัดกองทัพอยู่ที่เมืองเพชรบุรี ด้วยเข้าใจว่ากองทัพพม่าจะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่เมื่อไม่มีวี่แววพม่ามาทางนั้น ก็ยกกาลังไปรวมกับกองทัพใหญ่ ซึ่งกรมพระราชวังบวรยกจากพระนครโดยทางเรือถึงเป็นเพชรบุรี เคลื่อนทัพบกตรงไปเมืองชุมพร ในการทัพคราวนี้นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ได้ไปในกองทัพด้วย ได้แต่งโคลงนิราศไพเราะเป็นที่นิยมยกย่องของบรรดากวีไว้เรื่องหนึ่ง ชื่อ "นิราศนรินทร์ "
จะเห็นว่า การทัพคราวนี้ได้แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ไปป้องกันเมืองถลางได้เกณฑ์กำลังจากหัวเมืองปักษใต้ ทัพส่วนที่ไปป้องกันหัวเมืองอื่น ๆ ได้เกณฑ์กำลังหัวเมืองชั้นใน
กองทัพของพม่าที่ยกมาทางเรือตีได้เมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ซึ่งพลเมืองน้อยได้อย่างง่ายดาย เพราะพอได้ข่าวว่ากองทัพพม่ายกมาผู้คนก็อพยพครอบครัวเข้าป่าไปหมด ไม่มีการต่อสู้ จากนั้น กองทัพส่วนนี้ของพม่าได้ยกขึ้นเกาะภูเก็ตล้อมเมืองถลางไว้ ล้อมอยู่เดือนกว่าก็ตีเมืองไม่ได้ เพราะพระยาถลางป้องกันแข็งแรงนัก จึงได้คิดอุบายทำทีว่าลงเรือกลับไปแล้ว แต่ไปซุ่มคอยทีอยู่ที่เกาะยาว พระยาถลางตกหลุมพรางปล่อยผู้คนออกจากเมืองไปทำมาหากิน พม่าได้ทีจึงจู่โจมเข้าล้อมเมืองถลางใหม่ คราวนี้ก็ล้อมเมืองภูเก็ตไว้ด้วย
กองทัพไทยที่จะยกมาช่วยป้องกันเมืองถลาง เกณฑ์กองทัพได้แล้วยกข้ามแหลมมาถึงเมืองชายฝั่งตะวันตก แต่หาเรือลำเลียงกำลังส่วนใหญ่ข้ามฟากไปยังฝั่งเกาะภูเก็ตไม่ได้ คงได้แต่เก็บเอาเรือชาวบ้านบรรทุกกาลังส่วนหนึ่งล่วงหน้าไปได้ แต่ขณะที่เรือกาลังข้ามฟากไปนั้น ได้ปะทะเข้ากับเรือพม่าที่ออกมาลาดตระเวนหาเสบียง จึงเกิดรบกันขึ้น บังเอิญเรือแม่ทัพไทยเกิดระเบิดขึ้นตัวแม่ทัพถึงแก่ความตาย ขบวนเรือที่เหลือจึงแล่นหลบเข้าอ่าวเมืองกระบี่ไป กองทัพพม่าก็ยังคงล้อมเมืองถลางและเมืองภูเก็ตอยู่ตามเดิม
ฝ่ายกองทัพพม่าที่ยกมาทางบกนั้นตีได้เมืองมะลิวัน เมืองระนอง และเมืองกระบุรี แล้วยกกำลังข้ามเข้ามาทางฝั่งตะวันออกตีเมืองชุมพรอีกเมืองหนึ่ง แต่ยังไม่ทันจะตีเมืองอื่นต่อไป ก็ถูกกองทัพไทยส่วนที่ยกมาทางบกเพื่อป้องกันหัวเมืองปักษ์ใต้ตีแตกไปและปราบปรามข้าศึกลงไปจนถึงเมืองตะกั่วป่า ครั้นพม่าแตกหนีไปหมดแล้ว ทัพหลวงก็ไปพักพลรอฟังข่าวทางเมืองถลางอยู่ที่เมืองชุมพร
ข่าวกองทัพใหญ่ของไทยยกกำลังลงไปช่วยเมืองถลางนี้รู้ไปถึงกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองถลางและเมืองภูเก็ตอยู่ จึงเร่งตีเมืองถลางแตก จับผู้คนและเก็บกวาดทรัพย์สมบัติไปรวมไว้ที่ค่ายแล้วให้เผาเมืองเสีย ขณะนั้นก็พอดีกองทัพไทยยกมาใกล้จะถึงเกาะชะรอยพม่าจะได้ข่าวอยู่แล้ว ครั้นคืนวันหนึ่งเกิิดลมกล้าพม่าอยู่ที่เมืองถลางได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง สำคัญว่าเสียงปืนกองทัพไทย แม่ทัพพม่า ตกใจรีบสั่งให้อพยพผู้คนขนทรัพย์สิ่งของลงเรือหนีไปโดยด่วน พม่ายังไปไม่หมดกองทัพไทยถึงจึงเข้า ตีพม่าส่วนที่เหลือได้ผู้คนและข้าวของกลับคืนมาเป็นอันมาก
เมื่อมีชัยชนะพม่าแล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงพระราชดาริว่าเมืองถลางพม่าก็เผาเสียแล้ว จะกลับตั้งขึ้นมาใหม่ก็ไม่เป็นที่ไว้ใจได้ ด้วยกาลังที่รักษาบ้านเมืองอ่อนแอลงกว่าแต่ก่อน หากว่ากองทัพพม่าจู่โจมมาอีกก็จะรักษาไว้ไม่ได้ หัวเมืองต่าง ๆ จะยกไปช่วยก็ไม่ทันการณ์ เพราะหาเรือไม่ได้ จึงโปรดให้รวบรวมผู้คนพลเมืองถลางที่เหลืออยู่ อพยพข้ามฟากมาตั้งภูมิลำเนาที่ "ตาบลกราภูงา" ซึ่งตั้งอยู่บนปากแม่น้าพังงา แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง และจัดการปกครองขึ้นเป็นบ้านเมืองในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ดังปรากฏอยู่ในทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ 2 ซึ่งกำหนดขึ้นใน จ.. 1171 (พ.ศ. 2352) ได้ออกชื่อเมืองพังงาด้วย แต่ขณะนั้นเรียกว่า "เมืองภูงา" และเป็นการยืนยันว่า ในครั้งนั้นเมืองพังงาขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช
ต่อมาถึงรัชกาลที่ 3 ได้เกิดปัญหาการเมืองขึ้นในเมืองไทร คือ เชื้อสายเจ้าพระยาไทรบุรีเดิมได้รับการยุยงจากอังกฤษที่ปีนัง ยกกำลังเข้าตีเมืองไทรได้ เจ้าเมืองอันได้แก่พระยาไทรบุรีและพระยาเสนานุชิต บุตรพระยานคร ซึ่งรักษาเมืองมาแต่รัชกาลที่ 2 ต้องหนีมาอยู่ที่เมืองพัทลุง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษายกทัพไปปราบ แต่พอไปถึงก็ทราบว่าเจ้าพระยานครกลับจากกรุงเทพฯ มาถึงก่อน เกณฑ์ทัพเมืองนครและเมืองพัทลุงให้พระยาไทรบุรีและพระยาเสนานุชิต และ วิชิตสรไกรไปตีได้เมืองไทรกลับคืนมาแล้วจึงไม่ต้องไปตี แต่ก็พอได้ข่าวว่าพระยากลันตันกับ พระยาบาโงย ซึ่งมีตนกูประสากับบุตรด้วยวิวาทถึงกับสู้รบกัน จึงได้ให้คนไปเชิญทั้งสามคนมาระงับข้อวิวาทที่เมืองสงขลา ทีแรกก็ไม่มีใครมา ต่อเมื่อให้พระยาไชยาคุมกาลังลงไปขู่ทั้งสามจึงยอมมาเมืองสงขลา แล้วก็ตกลงเลิกรบทำหนังสือสัญญาให้ไว้ต่อกันได้สาเร็จ จากเหตุการณ์คราวนี้เป็นบทเรียนให้เห็นว่าการใช้ข้าราชการไทยลงไปปกครองเมืองที่ประชาชนเป็นชาวมุสลิมดังที่ทามาแล้วนั้นไม่มีทางที่จะราบรื่นไปได้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงใช้วิธีการแบ่งการปกครองออกเป็นส่วนย่อย ๆ ดังที่รัชกาลที่ 1 ได้ทรงใช้กับเมืองปัตตานีได้ผลดีมาแล้ว คือ แบ่งพื้นที่เมืองไทรออกเป็น 4 เมืองเล็ก แล้วแต่งตั้งให้ชนชาวมลายูที่มีใจสวามิภักษ์ต่อแผ่นดินไทยเป็นเจ้าเมืองใน พ.. 2383
เมื่อเสร็จจากระงับเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างเจ้าเมืองในมลายูคราวนี้แล้ว พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดาริจะทรงปรับปรุงหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าทำลายยับเยินมาแล้วนั้น ให้กลับฟื้นคืนดีขึ้นมาใหม่ และมีความเข้มแข็งป้องกันตนเองได้ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไทร (เลื่อนมาจากพระยาภักดีบริรักษ์แสง) เป็นผู้ว่าราชการเมืองพังงา พระยาเสนานุชิต(ปลัดเมืองไทรเดิมและได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาแล้ว) เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า และให้พระยาตะกั่วทุ่ง (ถิน) เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วทุ่ง ส่วนเมืองถลางนั้นยังมีความสำคัญอยู่ โปรดเกล้าฯ ให้แบ่ง ชาวเมืองถลางที่หนีไปอยู่เมืองพังงากลับไปตั้งเมืองถลางขึ้นอีก แต่ตั้งเมืองใหม่ด้านตะวันออกของเกาะเมืองเหล่านี้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงนามของผู้ว่าราชการเก่าที่ว่า "พระตะกั่วทุ่งบางขลี" เสียใหม่เป็น "พระบริสุทธิ์โลหภูมินทราธิบดี" ทั้งทรงตั้ง "พระบริสุทธิ์โลหการ" ตำแหน่งผู้ช่วยอากรดีบุกขึ้นในเมืองตะกั่วทุ่งอีกตาแหน่งหนึ่ง และพร้อมกันนั้นได้ทรงแปลงนามผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่าที่ว่า "พระยศภักดีศรีพิไชยสงคราม" เป็น "พระเสนานุชิตสิทธิสาตรามหาสงครามสยามรัฐภักดีพิริยพาห" หลวงปลัด แปลงใหม่ว่า "พระวิชิตภักดีศรีสุริยสงคราม" "หลวงนุรักษ์โยธา" ผู้ช่วย แปลงว่า "พระเรืองฤทธิ์รักษาราช" และทรงตั้ง "พระสุนทรภักดี" ตำแหน่งผู้ช่วยราชการในอากรดีบุกเมืองตะกั่วป่าขึ้นใหม่
ต่อมาเมืองตะกั่วทุ่งได้ยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองพังงา เมื่อได้มีการจัดรวม "เมือง" ในบริเวณเดียวกันจัดเป็น "มณฑล" เมื่อ พ.. 2437 ในรัชกาลที่ 5 เมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ในมณฑลภูเก็ตมีเพียง 6 เมือง คือ ภูเก็ต ตรัง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา และระนอง
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ใน พ.. 2474 ฐานะของเศรษฐกิจภายในประเทศไทยกำลังอยู่ในลักษณะที่ทรุดโทรมตกต่าอย่างน่ากลัว จึงได้มีการตัดทอน รายจ่ายของประเทศในด้านต่าง ๆ ลงมามากมาย สมัยนั้นมณฑลภูเก็ตแบ่งการปกครองเป็น 7 จังหวัด (ขณะนั้นเปลี่ยนเรียก "เมือง" เป็น "จังหวัด มาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 แล้ว") คือ ภูเก็ต ระนอง ตะกั่วป่า พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล (เดิมสตูลขึ้นกับเมืองไทรบุรี แต่หลังจากได้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ พ.. 2452 แล้ว เมืองไทรบุรีตกเป็นของอังกฤษ จึงโปรดให้สตูลไปรวมอยู่ในมณฑลภูเก็ตเมือง 6 สิงหาคม พ.. 2453) รัฐบาลต้องการยุบเสียจังหวัดหนึ่งให้เหลือเพียง 6 จังหวัด จังหวัดที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องพิจารณายุบฐานะมีจังหวัดตะกั่วป่าและพังงา ครั้นถึงวันนัดสมุหเทศาภิบาลประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่าไปเข้าประชุมไม่ทัน เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก จังหวัดตะกั่วป่าจึงถูกยุบลงเป็น "อำเภอ" และให้ขึ้นอยู่กับจังหวัดพังงา หลังจากนั้นอีก 1 ปี มณฑลภูเก็ตก็ถูกยุบอีกให้จังหวัดต่าง ๆ ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทยจนถึงปัจจุบันนี้ 
ประวัติศาสตร์จังหวัดพัทลุง
ตราประจำจังหวัด
รูปเขาอกทะลุ
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

 ประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง
เมืองพัทลุงมีประวัติศาสตร์ยาวนานนับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสืบต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ โดยมีชุมชนเกิดขึ้นทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาก่อนแล้วเกิดเป็นเมืองขึ้นทางฝั่งตะวันออกเรียกชื่อว่าเมืองสทิงพระ มีอำนาจครอบคลุมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ต่อมาถูกกองเรือพวกโจรสลัดรุกราน จึงมีการย้ายศูนย์การปกครองไปอยู่บริเวณบางแก้ว ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา เรียกชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองพัทลุง มีอำนาจครอบคลุมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาแทนที่เมืองสทิงพระ เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเมืองสงขลาเป็นเมืองปากน้ำ แต่เมืองพัทลุงก็มีฐานะเป็นเมืองบริวารของแคว้นนครศรีธรรมราชมาตลอด แม้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงดึงอานาจเข้าสู่ส่วนกลาง แต่เมืองพัทลุงก็ยังตกเป็นเมืองบริวารของนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยระบบกินเมืองระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงกลางพุทธศตวรรษ ที่ 25 ราชธานีได้รับผลประโยชน์เพียงน้อยนิด โดยเฉพาะในสมัยที่ตระกูล ณ พัทลุง และตระกูลจันทโรจวงศ์ปกครองเมือง ราชธานีแทบจะแทรกมือเข้าไปไม่ถึงทั้ง ๆ ที่แยกเมืองสงขลาออกจากเมืองพัทลุงไปนานแล้ว ขณะเดียวกันมหาอำนาจตะวันตกก็คุกคามเข้ามารอบด้าน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงจัดตั้งรัฐบาลกลางเข้มแข็งขึ้นแล้วในกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ก็ทรงเร่งรัดให้กรมหมื่นดารงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยรีบจัดการปกครองหัวเมืองในแหลมมาลายูเสียใหม่ เพื่อ ดึงอำนาจเข้าสู่พระราชวงศ์จักรี ทำให้เมืองพัทลุงถูกรวมการปกครองเข้ามณฑลนครศรีธรรมราชในสมัยระบบเทศาภิบาล ตั้งแต่ พ.. 2439-2476 รัฐบาลพยายามลดอำนาจและอิทธิพลของตระกูล ณ พัทลุง และตระกูลจันทโรจวงศ์ตลอดมาในสมัยระบบเทศาภิบาล แต่แล้วเมื่อมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งแรกในสมัยระบบประชาธิปไตย เชื้อสายของตระกูล ณ พัทลุง กลับได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดพัทลุง ปัจจุบันจังหวัดนี้กลับกลายเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดของภาคใต้ เพื่อเข้าใจถึงเรื่องราวดังกล่าวผู้เขียนจะแบ่งประวัติศาสตร์พัทลุงออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สันนิษฐานได้จากหลักฐานทางโบราณวัตถุคือ ขวานหินขัดสมัยหินใหม่ หรือชาวบ้าน เรียกว่า ขวานฟ้าที่พบจำนวน 50-60 ชิ้น ในเขตท้องที่อำเภอเมือง อำเภอเขาชัยสน และอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปรากฏว่าท้องที่เหล่านี้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือประมาณ 2,500-4,000 ปี มาแล้วมีชุมชนเกิดขึ้นแล้ว โดยใช้ขวานหินขัดเป็นเครื่องมือสับตัด
สมัยประวัติศาสตร์
อายุตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันพอจะแบ่งได้เป็น 4 สมัย คือ สมัยสร้างบ้านแปลงเมือง สมัยระบบกินเมือง สมัยระบบเทศาภิบาล และสมัยระบบประชาธิปไตย
สมัยสร้างบ้านแปลงเมือง
ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-20 เมื่อบริเวณสันทรายขนาดใหญ่ กว้าง 5-12 กิโลเมตร ยาว 80 กิโลเมตรทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลาหรือบริเวณที่ต่อมาภายหลังชาวพื้นเมืองเรียกว่า แผ่นดินบก ซึ่งเป็นที่ดอน เป็นแผ่นดินเกิดใหม่ชายฝัjงทะเลหลวง ทำให้ผู้คนอพยพจาก บริเวณฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา ไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบริเวณนี้มีความเหมาะสมหลายประการกล่าวคือ เป็นสันดอนน้ำไม่ท่วม สามารถตั้งบ้านเรือน สร้างศาสนสถานได้สะดวกดี มีที่ราบลุ่มกระจายอยู่ทั่วไปกับที่ดอนเป็นบริเวณกว้างขวางพอที่จะเพาะปลูกได้อย่างพอเพียง ประกอบกับเป็นบริเวณอยู่ห่างไกลจากป่าและภูเขาใหญ่ ภูมิอากาศดี ไม่ค่อยมีไข้ป่ารบกวน อีกประการหนึ่ง สามารถติดต่อค้าขายทางทะเลกับเมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลได้สะดวก เพราะอยู่ติดกับทะเล ชุมชนแถบแผ่นดินบกจึงเจริญเติบโตรวดเร็วกลายเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งของ แหลมมาลายูตอนเหนือไปในที่สุด ศูนย์กลางที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณสทิงพระ เรียกชื่อเมืองว่าสทิงพระ มี อำนาจครอบคลุมชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นชุมชนนับถือศาสนาฮินดู มีฐานะเป็นหัวเมืองขึ้นของบรรดารัฐต่าง ๆ ที่เข้มแข็งและมีนโยบายจะควบคุมเส้นทางการค้าที่ผ่าน ทางคาบสมุทรมาลายูมาตลอดเวลา เช่น รัฐฟูนันลังกาสุกะ ศรีวิชัย
ต่อมาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเมื่อใดเมืองสทิงพระถูกกองทัพเรือ จากอาณาจักรทะเล ใต้ชวา สุมาตรายกมาทำลาย เมืองเสียหายยับเยิน พลเมืองแตกกระจัดกระจายอพยพหนีภัยไปอยู่ทาง ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลากันมาก เพราะตัวเมืองอยู่ใกล้ทะเลหลวง คือ ห่างเพียง 1 กิโลเมตร ทำให้ข้าศึกเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว เมืองสทิงพระจึงอ่อนกาลังลงมาก หลังจากนั้นพวกโจรสลัดยกมาปล้นสดมภ์ และในที่สุดก็สามารถยึดเมืองได้ ทำให้มีการย้ายศูนย์การปกครองไปอยู่ทางฝั่งตะวันตก โดยย้ายไปอยู่บริเวณบางแก้ว หรือปัจจุบันเรียกว่า โคกเมือง อยู่ในอำเภอเขาชัยสน ซึ่งเป็นชุมชนอยู่ก่อนแล้ว และชื่อเมืองพัทลุงน่าจะเกิดขึ้นในยุคนี้ คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 มีอำนาจครอบคลุมชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาแทนเมืองสทิงพระ ชาวเมืองนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก
ในขณะเดียวกันแคว้นตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งมีศูนย์อำนาจอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน และมีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-8 สามารถขยายอำนาจเข้ามาปกครองดินแดนทั้งแหลมมาลายู โดยปกครองดินแดนในรูปของเมืองสิบสองนักษัตร ทำให้เมืองพัทลุงต้องกลายเป็นเมืองบริวารของนครศรีธรรมราช ดังปรากฏในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า เมืองพัทลุงเป็นเมืองหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้ตรางูเล็กเป็นตราของเมือง และในตำนานนางเลือดขาวตำนานเมืองพัทลุงก็กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชของนครศรีธรรมราชด้วย ดังข้อความในหนังสือเอกสารประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ซึ่งแต่งเมื่อ พ.. 2272 รัชสมัยสมเด็จพระภูมินทรราชา (ขุนหลวงท้ายสระ) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนหนึ่งว่า
นางและเจ้าพระยา (คือนางเลือดขาวและกุมารผู้เป็นสามี) กรีธาพลกลับหลังมายังสทังบางแก้วเล่าแล กุมารก็เสียบดินดูจะสร้างเมือง ก็มาถึงแขวงเมืองนครศรีธรรมราชและก็สร้างพระพุทธรูปเป็นหลายตำบลจะตั้งเมืองมิได้ เหตุน้ำนั้นเข้าหาพันธุ์สักบมิได้ ก็ให้มาตั้ง ณ เมืองนครศรีธรรมราช แลญังพระศพธาตุแลเจ้าพระญา (แลเจ้าพระญา คือเจ้าพระญา) ศรีธรรมโศกราช ลูกเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชนั้น” 
เมืองพัทลุงมีความสัมพันธ์กับแคว้นนครศรีธรรมราชอย่างใกล้ชิด เป็นเมืองพี่เมืองน้องกันเพราะแม้เมืองพัทลุงจะขึ้นกับแคว้นนครศรีธรรมราช แต่มีลักษณะเป็นเมืองอิสระในทางการปกครองอยู่มาก สังเกตจากสมุดเพลาตารากล่าวว่า แต่เดิมนั้นเมืองพัทลุงเก่าครั้งมีชื่อว่า เมืองสทิงพระ ทางฝ่ายอาณาจักรเจ้าเมืองมีฐานะเป็นเจ้าพญาหรือเจ้าพระยา ทางฝ่ายศาสนจักรเมืองพัทลุงมีฐานะเป็นเมืองพาราณสี แสดงให้เห็นว่าเมืองพัทลุงเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่มีบริวารมากศูนย์กลางจึงมีฐานะเป็นกรุง คือกรุงสทิงพระคล้ายกับเป็นเมืองหลวงแห่งหนึ่งทีเดียว และมีความสาคัญทางพุทธศาสนามาก เปรียบได้กับเมืองพาราณสี (ชื่อกรุงที่เป็นราชธานีของแคว้นกาศีของอินเดีย) ส่วนแคว้นนครศรีธรรมราชเปรียบประดุจเป็นเมืองปาฏลีบุตร (เป็นเมืองหลวงแคว้นมคธ) ฉะนั้นแคว้นนครศรีธรรมราชและเมือง
พัทลุงคงจะเคยเป็นเมืองศูนย์กลางทางพุทธศาสนาเก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับเมืองพัทลุงนั้นติดต่อกับหัวเมืองมอญและลังกามานานไม่ต่ากว่า พ.. 1800 เป็นต้นมาแล้ว พระสงค์คณะลังกาป่าแก้วจึงเจริญมากในบริเวณนี้ วัดสำคัญ ๆ ไม่ว่าวัดสทัง วัดเขียน วัดสทิงพระ วัดพระโค ล้วนขึ้นกับคณะลังกาป่าแก้วทั้งสิ้น
ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ขณะที่พ่อขุนรามคาแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยเพิ่งเริ่มรุ่งเรืองขึ้น ทางแคว้นนครศรีธรรมราชยังคงมีอำนาจแผ่ไปทั่วแหลมมาลายู ดังปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุจีนว่า จักรพรรดิของจีนเคยส่งทูตมาขอร้องอย่าให้สยาม (นครศรีธรรมราช) รุกรานหรือรังแกมาลายูเลย  เมืองพัทลุงจึงคงจะยังขึ้นกับแค้วนนครศรีธรรมราชต่อมาอีกกว่าศตวรรษเพราะในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมานั้น อาณาเขตของอยุธยายังแคบมาก กล่าวคือ ทิศเหนือจดชัยนาท ทิศตะวันออกจดจันทบุรี ทิศตะวันตกจดตะนาวศรีและทิศใต้จดแค่นครศรีธรรมราช เพิ่งปรากฏหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชัดเจนในปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงดึงอำนาจทุกอย่างเข้าสู่ศูนย์กลางคือ เมืองหลวงทรงจัดระบบสังคมเป็นรูประบบศักดินา ในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง ทรงประกาศใช้พระอัยการตำแหน่งนายทหารหัวเมืองใน พ.. 1998 มีผลกระทบต่อเมืองพัทลุง และแคว้นนครศรีธรรมราช คือ แคว้นนครศรีธรรมราชถูกลดฐานะลงเป็นหัวเมืองชั้นเอกขึ้นตรงต่ออยุธยา ส่วนเมืองพัทลุงมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรีขึ้นตรงต่ออยุธยาเช่นกัน เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์ เป็นพระยา ถือศักดินา 5000
สมัยระบบกินเมือง
ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 (.. 1998) ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 (.. 2439) ระบบกินเมือง หมายถึงระบบที่เจ้าเมืองมีอำนาจเก็บภาษี ใช้ไพร่ และเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ ทั้งมีสิทธิ์ลงโทษราษฎรตามใจชอบ เจ้าเมืองและกรมการมักเป็นญาติกัน ราชธานีมิได้มีสิทธิ์แต่งตั้งเจ้าเมืองตามทฤษฎีที่กำหนดไว้ เพราะเจ้าเมืองเหล่านี้มีอยู่แล้ว, ราชธานีเป็นเพียงยอมรับอำนาจเจ้าเมือง ส่วนกรมการเมือง ราชธานีก็จะต้องแต่งตั้งตามข้อเสนอของเจ้าเมือง เพื่อป้องกันเหตุร้าย
การปกครองดังกล่าวทาให้ราชธานีพยายามจะลดอำนาจเจ้าเมืองพัทลุง และเข้าไปมีอำนาจเหนือเมืองพัทลุงตลอดมา โดยในระยะต้นของสมัยระบบกินเมือง อาศัยพุทธศาสนา กล่าวคือ สนับสนุนการก่อตั้งพระพุทธศาสนา ดึงกำลังคนจากอำนาจของเจ้าเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชไปขึ้นกับวัด พระ และเพิ่มชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์อยุธยาในฐานะผู้ทรงอุปถัมภ์ศาสนา เช่นกรณีภิกษุอินทร์รวบรวมนักบวชราว 500 คนขับไล่พม่าที่มาล้อมกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (.. 2091-2111) โดยใช้เวทมนตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงโปรดปรานมากจึงพระราชทานยศให้เป็นพระครูอินทโมฬีคณะลังกาป่าแก้ว (กาแก้ว) เมืองพัทลุง ควบคุมวัดทั้งในเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชถึง 298 วัด ทั้งทรงกัลปนาวัด คือกำหนดเขตที่ดินและแรงงานมาขึ้นวัดเขียนและวัดสทังที่พระครูอินทโมฬีบูรณะด้วย
หรือกรณีอุชงคตนะโจรสลัดมาเลย์เข้ามาปล้นโจมตีเมืองพัทลุงเสียหายยับเยิน เมื่อประ-
มาณ พ.. 2141-2144 ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ออกเมืองคำเจ้าเมืองหนีเอา ตัวรอด ราษฎรส่วนหนึ่งต้องอพยพหนีไปอยู่ต่างเมือง อีกส่วนหนึ่งถูกพวกโจรกวาดต้อนไปวัดวาอารามก็ถูกเผา ทางราชธานีอ้างว่าศึกเหลือกาลัง จึงมิได้เอาผิดที่เจ้าเมืองทิ้งเมืองและกลับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองต่อไป แต่ก็มีการกัลปนาวัดในเมืองพัทลุงอีกครั้งใน พ.. 2153
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการกัลปนาวัดจะทำให้อำนาจของเจ้าเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชลดน้อยลง เพราะเจ้าเมืองมีอำนาจควบคุมไพร่พลโดยตรงเฉพาะในบริเวณที่อยู่นอกเขตกัลปนาเท่านั้น แต่ก็ทำให้มีอำนาจของฝ่ายฆราวาสกับพระสงฆ์สมดุลมากขึ้น มีผลให้เมืองพัทลุงกลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยชุมชนใหญ่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่าน ติดต่อกับเมืองต่าง ๆ และรับอารยธรรมจากอินเดีย ลังกา ส่วนทางฝั่งตะวันออกทาหน้าที่เป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเล จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองไทย เช่น เอกสารของฮอลันดาบันทึกไว้ เมื่อ พ.. 2155 ว่าอังกฤษและฮอลันดาพยายามแข่งขันกันเข้าผูกขาดชื้อพริกไทยจากเมืองพัทลุงและเมืองในบริเวณใกล้เคียง ใน พ.. 2163 เวนแฮสเซลพ่อค้าฮอลันดาแนะนำว่า ฮอลันดาควรจะจัดส่งเครื่องราชบรรณาการเจ้าเมืองลิกอร์ (นครศรีธรรมราช) เจ้าเมืองบูร์เดลอง (พัทลุง) และเจ้าเมืองแซงกอรา (สงขลา) เพื่อเอาใจเมืองเหล่านั้นไว้ เพราะสัมพันธ์ภาพกับเจ้าเมืองเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ความรุ่งเรืองทางการค้านี้ประกอบกับสงครามไทยพม่า ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 22 และการแย่งชิงอำนาจในราชธานีในปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ทำให้อำนาจของอยุธยาที่มีต่อหัวเมืองมาลายูอ่อนแอลง เช่น เจ้าเมืองปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุง ประกาศไม่ยอมรับการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของอยุธยา ขณะเดียวกันทางมาเลย์กลับมีกำลังแข็งขึ้นพวกมุสลิมจึงเป็นเจ้าเมืองในแถบหัวเมืองมาลายูมากขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 อาทิ พระยารามเดโชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ตาตุมะระหุ่มที่เชื่อกันว่าเป็นต้นตระกูล ณ พัทลุง อาจจะเป็นทั้งเจ้าเมืองพัทลุงและสงขลา
          ทางอยุธยาพยายามดึงหัวเมืองดังกล่าวให้ใกล้ชิดกับอยุธยามากขึ้น โดยใช้นโยบายให้คนไทยไปปกครอง และสนับสนุนอุปถัมภ์ตระกูลของคนไทยที่มีผลประโยชน์ในการปกครองหัวเมืองแหลมมาลายู บางครั้งใช้ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ แต่ดูเหมือนนโยบายนี้จะไม่ได้ผลมากนักในเมืองพัทลุง เพราะในปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เจ้าเมืองที่เป็นเชื้อสายของตระกูล ณ พัทลุง ยังคงเป็นเจ้าเมืองพัทลุงที่นับถือศาสนาอิสลามสืบมาจนเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าใน พ.. 2310
เมื่อทางราชธานีเกิดการจราจล ขาดกษัตริย์ปกครอง พวกขุนนางและเชื้อพระวงศ์ต่างตั้งตัวเป็นอิสระ ทางหัวเมืองมาลายูพระปลัดหนูผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราชตั้งตัวเป็นอิสระ เรียกว่าชุมชนเจ้านคร ปกครองหัวเมืองแหลมมาลายูทั้งหมด และดูเหมือนว่าบรรดาหัวเมืองอื่น ๆ ก็ยอมรับอำนาจของเจ้านคร (หนู) แต่โดยดี เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้านคร (หนู) ต้องใช้กำลังเข้าบังคับปราบปรามเมืองหนึ่งเมืองใดเลย แต่ใน พ.. 2313 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบปรามเจ้านคร (หนู) ได้สาเร็จแล้วก็โปรดเกล้าให้เจ้านราสุริวงศ์พระญาติปกครองเมืองนครศรีธรรมราช และให้รับผิดชอบในการดูแลหัวเมืองแหลมมาลายูแทนราชธานีด้วย ทำให้เมืองพัทลุงกลับมาขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้งในระหว่าง พ.. 2313-2319 คือ ตลอดสมัยเจ้านราสุริวงศ์ โดยโปรดเกล้าฯ ให้นายจันทร์มหาดเล็กมาเป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าเมืองเชื้อสายตระกูล ณ พัทลุง
การกระทำดังกล่าวคงทำให้ตระกูล ณ พัทลุง ต่อต้านเจ้าเมืองพัทลุงคนใหม่ เพราะในพงศาวดารเมืองพัทลุง ซึ่งเขียนโดยหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) เชื้อสายของตระกูล ณ พัทลุง กล่าวว่า นายจันทร์มหาดเล็กเจ้าเมืองพัทลุงคนใหม่นั้นว่าราชการอยู่ได้เพียง 3 ปีก็ถูกถอดออกจาก ราชการและตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุงตกเป็นของตระกูล ณ พัทลุง อีกใน พ.. 2315 และในปีนี้เองพระยาพัทลุง (ขุนหรือคางเหล็ก) ตระกูล ณ พัทลุงได้เปลี่ยนท่าทีใหม่คือ เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาพุทธ คงจะเนื่องมาจากพระยาพัทลุง (คางเหล็ก) ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลื่อมใส ในพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลชักชวนให้คนไทยเกิดความเลื่อมใสในศาสนานั้น ปรากฏหลักฐานว่าในที่สุดถึงกับทรงออกประกาศห้ามอย่างเฉียบขาด ใน พ.. 2317 ดังความตอนหนึ่งว่า
ประกาศของไทย ลงวันที่ 13 เดือนตุลาคม พ.. 2317
ห้ามมิให้ไทยและมอญเข้ารีตและนับถือศาสนาพระมะหะหมัด
มองเซนเยอร์เลอบองเป็นผู้แปล
ด้วยพวกเข้ารีตและพวกถือศาสนามะหะหมัดเป็นคนที่อยู่นอกพระพุทธศาสนาเป็นคนที่ไม่มีกฎหมาย และไม่ประพฤติตามพระพุทธวจนะ ถ้าพวกไทยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองนี้ตั้งแต่กำเนิดไม่นับถือและไม่ประพฤติตามพระพุทธศาสนาถึงกับลืมชาติกำเนิดตัว ถ้าไทยไปประพฤติและปฏิบัติตามลัทธิของพวกเข้ารีตและพระมะหะหมัดก็จะตกอยู่ในฐานความผิดอย่างร้ายกาจ เพราะฉะนั้นเป็นอันเห็นได้เที่ยงแท้ว่าถ้าคนจาพวกนี้ตายไป ก็จะต้องตกนรกอเวจี ถ้าจะปล่อยให้คนพวกนี้ทาตามชอบใจ ถ้าไม่เหนี่ยวรั้งไว้ ถ้าไม่ห้ามไว้ พวกนี้ก็จะทำให้วุ่นขึ้นทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว จนที่สุดพระพุทธศาสนาก็เสื่อมทรามไปด้วยเพราะเหตุฉะนี้จึงห้ามขาดมิไห้ไทยและมอญ ไม่ว่าผู้ชายหรือหญิงเด็กหรือผู้ใหญ่ได้เข้าไปในพิธีของพวกมะหะหมัดหรือพวกเข้ารีต ถ้าผู้ใดมีใจดื้อแข็ง เจตนาไม่ได้มืดมัวไปด้วยกิเลสต่าง ๆ จะฝ่าฝืนต่อประกาศนี้ ขืนไปเข้าในพิธีของพวกมะหะหมัดและพวกเข้ารีตแม้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของสังฆราชหรือบาทหลวงมิชชันนารี หรือบุคคลที่เป็นคริสเตียน หรือมะหะหมัดจะต้องคอยห้ามปรามมิให้คนเหล่านั้นได้เข้าไปในพิธีของพวกคริสเตียน และพวกมะหะหมัดให้เจ้าพนักงานจับกุมคนไทยและมอญที่ไปเข้าพิธีเข้ารีตและมะหะหมัดดังว่ามานี้ ส่งให้ผู้พิพากษาชำระ และให้ผู้พิพากษาวางโทษถึงประหารชีวิต
จริงอยู่แม้ว่าพระยาพัทลุง (คางเหล็ก) จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธก่อนการออกประกาศดังกล่าว แต่พระราชประสงค์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชลักษณะนี้คงจะเป็นสิ่งที่เข้าใจกันดีในหมู่ขุนนางก่อนที่จะมีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการพระยาพัทลุง (คางเหล็ก) จึงต้องเปลี่ยนศาสนา มิใช่เกิดจากความศรัทธาในพุทธศาสนา เพราะเชื้อสายตระกูล ณ พัทลุง ผู้หนึ่งเป็นเจ้าเมืองใน พ.. 2334-2360 ยังไม่ยอมให้นำเนื้อหมูเข้ามาในบ้านของท่านแสดงว่า พระยาพัทลุง (ทองขาว) ยังนับถือศาสนาอิสลาม เพิ่งจะมีการนับถือพุทธศาสนากันจริง ๆ ในชั้นหลานของพระยาพัทลุง (คางเหล็ก)
การเปลี่ยนศาสนาของพระยาพัทลุง (คางเหล็ก) ดูเหมือนจะไม่ได้ผลทางการเมืองมากนัก เพราะตระกูล ณ พัทลุง ยังไม่ได้รับความไว้วางใจจากราชธานี อำนาจและอิทธิพลของเมืองพัทลุงลดลงเรื่อย ๆ กล่าวคือ ใน พ.. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสนับสนุนจีนเหยียงหรือหลวง สุวรรณคีรีคนกลุ่มใหม่และต้นตระกูล ณ สงขลา เป็นเจ้าเมืองสงขลา ทั้งยกเมืองสงขลาเมืองปากน้ำของเมืองพัทลุงไปขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อเจ้านราสุริวงศ์ถึงแก่พิราลัยในปีรุ่งขึ้น ทางราชธานีให้ยกเมืองพัทลุงไปขึ้นตรงต่อราชธานีดังเดิม และสืบไปตลอดสมัยระบบกินเมือง และแม้ว่าพระยาพัทลุง (คางเหล็ก) จะส่งบุตรธิดาหลายคนไปถวายตัว ทั้งมีความดีความชอบในการทำสงครามกับพม่าใน พ.. 2328 และกับปัตตานีในปีถัดมา แต่เมื่อพระยาพัทลุง (คางเหล็ก) ถึงแก่อนิจกรรม ใน พ.. 2332 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกลับโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีไกรลาศคนของราชธานีมาเป็นเจ้าเมืองพัทลุงแทนตระกูล ณ พัทลุงอีก 2 ปีต่อมายังทรงเพิ่มบทบาทให้เมืองสงขลาเข้มแข็งมากขึ้น โดยให้ทำหน้าที่ดูแลหัวเมืองประเทศราชมลายู และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะที่ทางราชธานียอมให้ตระกูล ณ พัทลุง (พระยาพัทลุงทองขาว) กลับมาเป็นเจ้าเมืองพัทลุงอีก แต่ก็ส่งนายจุ้ยตระกูลจันทโรจวงศ์ และบุตรของเจ้าพระยาสรินทราชา (จันทร์) ซึ่งเกี่ยวดองกับตระกูล ณ นคร เข้ามาเป็นกรมการเมืองพัทลุง เพื่อคานอำนาจของตระกูล ณ พัทลุง ในที่สุดในระหว่าง พ.. 2354-2382 เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชหัวเมืองแหลมมาลายูต้องตกอยู่ในอานาจของตระกูล ณ นคร ทางราชธานีแต่งตั้งให้พระเสน่หามนตรี (น้อยใหญ่) บุตรชายคนโตของเจ้าพระยานคร (น้อย) มาเป็นเจ้าเมืองพัทลุงแทนตระกูล ณ พัทลุง (พระยาพัทลุงเผือก) ในระหว่าง พ.. 2369-2382 ขณะเดียวกันตระกูล ณ สงขลา ก็พยายามสร้างอิทธิพลในเมืองพัทลุง โดยพระยาสงขลาเถี้ยนเส้งและบุญสังข์ต่างก็แต่งงานกับคนในตระกูล ณ พัทลุงทั้งคู่
ศาสตราจารย์เวลาอดีตผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจามหาวิทยาลัยฮาวายตั้งข้อสังเกตว่า การถึงอสัญกรรมของเจ้าพระยานคร (น้อย) ใน พ.. 2382 ทำให้ราชธานีได้โอกาสจากัดอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชลงบ้าง เช่น เรียกตัวพระยาไทรบุรี (แสง) และพระเสนานุชิต (นุด) ปลัดเมืองไทรบุรีบุตรของเจ้าพระยานคร (น้อย) กลับสนับสนุนให้ตระกูล ณ ระนอง ซึ่งเพิ่งรุ่งเรืองจากการทำเหมืองแร่ดีบุกและค้าฝิ่นทางฝั่งทะเลตะวันตก (ทะเลหน้านอก) ของแหลมมลายูขยายอำนาจเข้ามาทางฝั่งตะวันออกในเขตเมืองชุมพรและไชยา สำหรับที่เมืองพัทลุงนั้น ทางราชธานีเรียกตัวพระเสน่หามนตรี (น้อยใหญ่) กลับแล้วแต่งตั้งพระปลัด (จุ้ย จันทโรจวงศ์) เป็นพระยาอภัยบริรักษ์ จักรวิชิตพิพิธภักดีพิริยพาหะเจ้าเมืองพัทลุงแทน และให้ตระกูลจันทโรจวงศ์และตระกูล ณ พัทลุงเป็นกรมการเมือง เพราะพระยาอภัยบริรักษ์ฯ (จุ้ย) ผู้นี้นอกจากจะมีความดีความชอบในการปราบกบฏเมืองไทรบุรี ใน พ.. 2373 และ พ.ศ 2381 อย่างแข็งขันแล้ว ประการสำคัญคือยังเกี่ยวดองกับขุนนางตระกูลบุนนาคที่มีอำนาจสูงยิ่งในขณะนั้นและบังคับบัญชาหัวเมืองแหลมมาลายูในตาแหน่งพระกลาโหมมาเป็นเวลายาวนานด้วย แต่ในที่สุดตระกูลจันทโรจวงศ์กับตระกูล ณ พัทลุงกลายเป็นเหมือนตระกูลเดียวกัน และสามารถปกครองเมืองพัทลุงสืบต่อไปตลอดสมัยระบบกินเมือง คงเป็นเพราะพระยาอภัยบริรักษ์ฯ (จุ้ย) ไม่มีบุตร จึงรับนายน้อยหลานมาเป็นบุตรบุญธรรมแล้วสร้างความสัมพันธ์กับตระกูล ณ พัทลุงโดยใช้การแต่งงาน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลจันทโรจวงศ์กับตระกูล ณ พัทลุง โดยใช้การแต่งงานนั้นทำให้อำนาจของกลุ่มผู้ปกครองเมืองพัทลุงกระชับยิ่งขึ้น มีการแบ่งผลประโยชน์กันอย่างจริงจัง จนราชธานีแทบจะแทรกมือเข้าไปไม่ถึง โดยเฉพาะในตอนปลายสมัยระบบกินเมือง เช่น ในสมัยพระยาอภัยบริรักษ์ฯ (เนตร จันทโรจวงศ์) เป็นเจ้าเมือง ใน พ.. 2437 พระสฤษดิ์พจนกรณ์ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทยออกไปตรวจราชการแล้วมีความเห็นว่า เมืองพัทลุงเป็นเมืองเล็ก แต่กรมการเมืองมีอำนาจมากเกินผลประโยชน์และมีอำนาจชนิด….“ที่ไม่มีกำหนดว่าเพียงใดชัด แต่เป็นอำนาจที่มีเหนือราษฏรอย่างสูงเจียนจะว่าได้ว่าทำอย่างใดกับราษฎรก็แทบจะทำได้….”
ส่วนด้านผลประโยชน์เจ้าเมืองและกรมการแบ่งกันเองเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 พระยาวรวุฒิไวยวัฒลุงควิไสยอิศรศักดิพิทักษ์ราชกิจนริศศรภักดีพิริยะพาหะ (น้อย) จางวาง ซึ่งทำหน้าที่กำกับเมืองพัทลุง และพระยาอภัยบริรักษ์ฯ (เนตร) เจ้าเมืองสองคนพ่อลูกตระกูลจันทโรจวงศ์ได้ผลประโยชน์จากส่วยรายเฉลี่ย
ตอนที่ 2 ยกกระบัตรในตระกูล ณ พัทลุง ได้ผลประโยชน์จากภาษีอากร
ตอนที่ 3 กรมการผู้น้อย เป็นกรมการของผู้ใดก็จะได้แบ่งปันผลประโยชน์จากทางนั้น
ผลประโยชน์หลักคือ การทำนา เพราะเจ้าเมืองและกรมการมีที่นากว้างใหญ่ทุกคนขายข้าวได้ทีละมาก ๆ โดยไม่ต้องเสียค่านา
นอกจากนั้นยังมีการแบ่งปันผลประโยชน์จากคุกตะรางอีก เพราะผู้ใดเป็นตุลาการชำระคดี ผู้นั้นจะมีคุกตะรางสำหรับขังนักโทษในศาลของตน จึงมีคุกตะรางถึง 6 แห่ง โดยแบ่งเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ 3 แห่ง เป็นของเจ้าเมือง หลวงเมือง หลวงจ่ามหาดไทย และขนาดเล็ก อีก 3 แห่ง เจ้าเมืองจะเป็นผู้อนุญาตให้คนที่ชอบพอและไว้วางใจได้มีผลประโชยน์ที่จะได้จากการมีคุกตะรางของตัวเองคือ ได้ค่าธรรมเนียม แรงงาน และมีอำนาจในการพิจารณาคดี นักโทษของคุกตะรางใดเป็นดังเช่นทาส ในเรือนนั้นทาให้กรมการเมืองอยากจะมีคุกตะรางเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดไม่มีคุกตะรางก็จะถูกมองว่าไม่เป็น ผู้ดี เป็นคนชั้นต่ำ
สำหรับราษฎร นอกจากต้องเสียค่านาแล้ว ยังถูกเกณฑ์แรงงานและสิ่งของทั้งของกินและของใช้อีก โดยเฉลี่ยจะถูกเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งต่อปี ราษฎรมักต้องยอมเพราะเกรงกลัวเจ้าเมืองและขุนนางมาก โจรผู้ร้ายก็ชุกชุม
สภาพดังกล่าวเป็นปัญหาที่ทางราชธานีเมืองหนักใจมาก ทั้งยังมีปัญหากับเมืองข้างเคียง คือ กับเมืองสงขลาและนครศรีธรรมราชด้วย เพราะกลุ่มผู้ปกครองของเมืองเหล่านี้มุ่งแต่จะรักษาผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จึงมักพบว่าเมื่อโจรผู้ร้ายทาโจรกรรมในเมืองสงขลาแล้วหลบหนีไปเมืองพัทลุง เจ้าเมืองสงขลาขอให้เจ้าเมืองพัทลุงส่งตัวให้ผู้ร้ายไปให้ แต่เจ้าเมืองพัทลุงมักจะเพิกเฉยส่วนโจรผู้ร้ายที่ทาโจรกรรมในแขวงเมืองพัทลุงแล้วหนีเข้าอยู่ในแขวงเมืองสงขลา เจ้าเมืองพัทลุงขอให้เจ้าเมืองสงขลาส่งตัวผู้ร้ายไปให้ เจ้าเมืองสงขลาก็มักจะเพิกเฉยเช่นกัน หรือกับทางเมืองนครศรีธรรมราชก็เป็นทำนองเดียวกันกับทางเมืองสงขลา  
พอจะกล่าวได้ว่าตลอดสมัยระบบกินเมือง แม้ว่าราชธานีพยายามควบคุมเมืองพัทลุงแต่ก็ควบคุมได้แต่เพียงในนามเท่านั้น เพราะความห่างไกลจากราชธานีทำให้ราชธานีดูแลไม่ทั่วถึงและไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับกิจการภายในของเมืองพัทลุงด้วยผลประโยชน์ของราชธานีจึงรั่วไหลไปมาก ประกอบกับในตอนกลางรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ไม่ว่ามองไปทางทิศไหน เห็นอังกฤษและฝรั่งเศสพร้อมที่จะฉวยโอกาสรุกรานเข้ามา โดยเฉพาะทางหัวเมืองแหลมมาลายู อังกฤษถือโอกาสแทรกแชงเข้ามาในหัวเมืองประเทศราชมลายูของไทยและคุกคามหัวเมืองฝั่งตะวันตก ส่วนบริเวณคอคอดกระตอนเหนือของแหลมมาลายูทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสคุกคามเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและขยายอิทธิพลทางการเมือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิตกเป็นอย่างยิ่ง หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลกลางเข้มแข็งขึ้นแล้ว ในปลายปี พ.. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเร่งรัดให้กรมหมื่นดารงราชานุภาพเสนาบดี กระทรวงมหาดไทยรีดจัดการปกครองหัวเมืองในแหลมมลายูเสียใหม่ เพื่อดึงอำนาจเข้าสู่พระราชวงศ์จักรี ทำให้เมืองพัทลุงถูกรวมการปกครองเข้ากับมณฑลนครศรีธรรมราชใน พ.. 2439 เนื่องจากกรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า เมืองพัทลุงเป็นหัวเมืองบังคับยากเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และหัวเมืองประเทศราชมลายู จึงทรงรวมหัวเมืองเหล่านี้เข้าเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ให้ตั้งศูนย์การปกครองที่เมืองสงขลา โดยทรงมอบหมายให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล
สมัยระบบเทศาภิบาล
ตั้งแต่ พ.. 2439-2476 ช่วงนี้เมืองพัทลุงรวมอยู่ในการปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช สังกัดกระทรวงมหาดไทย รัฐบาลพยายามทำลายอำนาจและอิทธิพลของตระกูลจันทโรจวงศ์ และตระกูล ณ พัทลุง เพื่อดึงอำนาจเข้าสู่พระราชวงศ์จักรี
การดึงอำนาจการปกครองหัวเมืองเข้าสู่พระราชวงศ์จักรีในกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีหลักการปกครองอยู่ว่า อำนาจจะต้องเข้ามารวมอยู่ที่จุดเดียวกันหมดรัฐบาลกลางจะไม่ให้การบังคับบัญชาหัวเมืองขึ้นอยู่กันเพียง 3 กระทรวงคือ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม และกรมท่า และจะไม่ยอมให้เจ้าเมืองต่าง ๆ มีอำนาจอย่างที่เคยมีมาในสมัยระบบกินเมืองระบบการปกครองแบบใหม่นี้เรียกว่า ระบบเทศาภิบาล
หลักต่าง ๆ ของการปกครองตามระบบเทศาภิบาลที่ระบุไว้ในประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและมหาดไทย ร.. 113 (.. 2437) ซึ่งรวมหัวเมืองทั้งหมดไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.. 116 (.. 2440) และในข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.. 117 (.. 2441) ตามกฎหมายเหล่านี้ประเทศไทยเริ่มจัดส่วนราชการบริหารตามแบบใหม่ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามลำดับของสายการบังคับบัญชาจากต่าสุดไปจนถึงขั้นสูงสุดดังนี้
ชั้นที่ 1 การปกครองหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง
ชั้นที่ 2 การปกครองตาบล มีกำนันปกครอง
ชั้นที่ 3 การปกครองอำเภอ มีนายอำเภอปกครอง
ชั้นที่ 4 การปกครองเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองปกครอง
ชั้นที่ 5 การปกครองมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลปกครอง
การวางสายการปกครองเป็นลาดับชั้นกล่าวนับเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเก่าใน หัวเมืองไปเป็นอีกรูปหนึ่ง ราษฎรซึ่งไม่เคยมีสิทธิ์มีเสียง เคยเป็นเพียงบ่าวไพร่ก็ได้มีโอกาสเลือก ผู้ใหญ่บ้าน กำนันขึ้นเป็นหัวหน้า ซึ่งเท่ากับได้มีโอกาสเสนอความต้องการของตนเองให้นายอำเภอและผู้ว่าราชการเมืองทราบ ผู้ว่าราชการเมืองและกรมการเมืองหรือพวกพ้องที่เคยทาอะไรตามใจชอบก็กระทาไม่ได้เสียแล้ว เพราะมีข้าหลวงเทศาภิบาลมาคอยดูแลเป็นหูเป็นตาแทนรัฐบาล การกินเมือง ซึ่งเคยกินจากภาษีทุกอย่างต้องกลับกลายเป็นเพียงกินเฉพาะเงินเดือนพระราชทานในฐานะ ข้าราชการ เพราะรัฐบาลเริ่มเก็บภาษีเองและเมื่อนายอำเภอ ผู้ว่าราชการเมือง และกรมการเมืองมีฐานะเป็นข้าราชการ ก็ต้องถูกย้ายไปตามที่ต่าง ๆ ตามคำสั่งของรัฐบาล ไม่ผักพันเป็นเจ้าเมืองเจ้าของชีวิตของชาวชนบทอยู่เพียงแห่งเดียวตามระบบเดิม กำนันผู้ใหญ่จะได้ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ส่วนลดจากการเก็บค่านา ค่าน้ำ ค่าราชการ  
อนึ่งการปกครองในระบบเทศาภิบาล รัฐบาลยังต้องการให้ราษฎรมีความผูกพันกับรัฐบาลและมีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ รัฐบาลใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ โดยมอบหมายให้จัดเป็นสถานศึกษา เพราะจัดเป็นองค์กรที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั่วพระราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเปลืองเงินทองของรัฐในการก่อสร้าง และเป็นแหล่งจูงใจให้ราษฎรเข้ามาเรียนหนังสือได้ และมอบหมายให้กรมหมื่นวชิรญานวโรรสพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นพระราชาคณะธรรมยุติกนิกายรับผิดชอบร่วมกับกรมหมื่นดารงราชานุภาพ เพราะรัฐบาลถือว่าธรรมยุติกนิกายเป็นตัวแทนของรัฐฝ่ายสงฆ์ส่วนตัวแทนฝ่ายฆราวาสคือกระทรวงมหาดไทย หรือกรมหมื่นดำรงราชานุภาพทั้งสองพระองค์จึงทรงกำหนดแบบแผนเดียวกันทั่วพระราชอาณาจักร คือ ใช้หนังสือแบบเรียนเร็วเป็นตำราเรียน และมีผู้อำนวยการสงฆ์เป็นผู้ตรวจตราและจัดการภายใต้การบังคับบัญชาของข้าหลวงเทศาภิบาล
ที่เมืองพัทลุง พระยาสุขุมนัยวินิตข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชจัดการปกครองตามแบบแผนทุกระดับ ที่สำคัญคือ ให้สร้างที่ว่าราชการเมืองขึ้น เพื่อให้ผู้ช่วยราชการเมืองและกรมการไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการให้เป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับงานส่วนตัวเหมือนอย่างในสมัยระบบกินเมือง แต่การคัดเลือกบุคคลเข้ารับตาแหน่งใหม่ ๆ นั้น รัฐบาลใช้ปะปนกันทั้งคนเก่าและคนใหม่ตลาดสมัยระบบเทศาภิบาล พอจะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะแรก ตั้งแต่ พ.. 2439-2452 รัฐบาลใช้วิธีประนีประนอม กล่าวคือ ในระยะ 5-6 ปีแรก ยอมให้เชื้อสายตระกูลจันทโรจวงศ์และตระกูล ณ พัทลุง ข้าราชการในระบบเก่ารับตำแหน่งใหม่ ๆ ได้ผลประโยชน์ตามแบบเก่าบ้าง เช่น ให้พระยาอภัยบริรักษ์ฯ (เนตร) เจ้าเมืองเปลี่ยนฐานะเป็นผู้ช่วยราชการเมือง แต่ก็ให้พระพิศาลสงคราม (สอน) ผู้ช่วยราชการเมืองสิงห์บุรีเป็นผู้ช่วยราชการเมือง รับผิดชอบแผนกสรรพากรหรือดูแลการเก็บเงินผลประโยชน์ของแผ่นดิน เมื่อพระพิศาลถึงแก่กรรมในปี พ.. 2441 ก็จัดให้พระอาณาจักร์บริบาล (อ้น ณ ถลาง) เครือญาติของตระกูลจันทโรจวงศ์มาแทน  คงเป็นเพราะรัฐบาลยังไม่มีเงินเดือนสำหรับข้าราชการประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง พระยาสุขุมนัยวินิตจำต้องถนอมน้าใจกลุ่มผู้ปกครองเดิม เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมาก และมีเงินมาก แต่ใน พ.. 2446 เมื่อพระยาวรวุฒิไวยฯ (น้อย) จางวางซึ่งเป็นคนหัวเก่า ถึงอนิจกรรมรัฐบาลก็ปลดพระยาอภัยบริรักษ์ฯ (เนตร) ผู้ว่าราชการเมืองลงเป็นจางวาง หลังจากนี้รัฐบาลพยายามแต่งตั้งเชื้อสายและพวกพ้องของตระกูลเจ้าเมืองในแหลมมลายูในสมัยระบบกินเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงแทนตระกูลจันทโรจวงศ์และตระกูล ณ พัทลุง ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าราชการเมืองบ่อยครั้งในระยะตั้งแต่ พ.. 2446-2449 โดยผลัดเปลี่ยนเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง ถึง 4 คน คือ พระสุรฤทธิ์ภักดี (คอยู่ตี่ ณ ระนอง) บุตรชายพระยารัตนเศรษฐี (คอชิมก๊อง) อดีตข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพรและหลานพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมปี๊) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต พระศิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทมะ)บุตรเขยของพระยาวิเชียรศรี (ชม ณ สงขลา) พระแก้วโกรพ (หมี ณ ถลาง) และพระกาญจนดิฐบดี (อวบ ณ สงขลา) ตามลำดับ จนในที่สุดใน พ.. 2452  พระกาญจนดิฐบดี (อวบ ณ สงขลา) เป็นผู้ว่าราชการเมือง โจรผู้ร้ายลักโคกระบือทั่วเขตเมืองพัทลุงจนทางราชการระงับไม่อยู่ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่ขณะทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จประพาสเมืองพัทลุง พระกาญจนดิฐบดีถูกปลดออกจากราชการในปีนั้นเอง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัดและเปลี่ยนชื่อเรียกผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ระยะหลัง ตั้งแต่ พ.. 2452-2476 ดูเหมือนว่าเป็นระยะที่รัฐบาลใช้มาตรการค่อนข้างเด็ดขาดเพื่อลดอิทธิพลของตระกูลจันทโรจวงศ์และตระกูล ณ พัทลุง ที่ยังหลงเหลืออยู่อีก โดยจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางมาเป็นผู้ว่าราชการเมือง เช่น หม่อมเจ้าประสบประสงค์พระโอรสองค์ใหญ่ในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระวุฒิภาคภักดี (ช้าง ช้างเผือก) เนติบัณฑิต หลวงวิชิตเสนี (หงวน ศตะรัตน์) เนติบัณฑิต ทาให้โจรผู้ร้ายกำเริบหนักจนดูราวกับว่าเมืองพัทลุงกลายเป็นอาณาจักรโจร โดยเฉพาะในปี พ.. 2466 สมัยพระคณาศัยสุนทร (สา สุวรรณสาร) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด  มีขุนโจรหลายคนที่สำคัญ อาทิ นายรุ่ง ดอนทราย เป็นหัวหน้าโจรได้รับฉายาว่า ขุนพัฒน์หรือขุนพัทลุง นายดำหัวแพร เป็นรองหัวหน้า ได้รับฉายาว่า เจ้าฟ้าร่มเขียวหรือขุนอัสดงคต ทางมณฑลต้องส่งนายพันตำรวจโทพระวิชัยประชาบาล (บุญโกย เอโกบล) และคณะมาตั้งกองปราบปรามอยู่ตลอดปี ทำให้การปล้นฆ่าสงบลงอีกวาระหนึ่ง แต่ปีถัดมารัฐบาลสั่งให้ย้ายศูนย์ปกครองจากตำบลลำป่ามาตั้งที่บ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ อาจเป็นเพราะทางราชการเกิดความระแวงว่าตระกูลจันทโรจวงศ์ และตระกูล ณ พัทลุง มีส่วนร่วมกับพวกโจรจึงต้องการทำลายอิทธิพลของสองตระกูลนั้นในเขตตำบลลาป่า และสร้างศูนย์การปกครองแห่งใหม่ให้เป็นเขตของรัฐบาลอย่างแท้จริง ประกอบกับในขณะนั้นรัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านตำบลคูหาสวรรค์แล้วการคมนาคมระหว่างจังหวัดพัทลุงกับส่วนกลางและจังหวัดใกล้เคียงจึงสะดวกกว่าที่ตั้งเมืองที่ตำบลลำป่า ประชาชนก็อพยพมาตั้งบ้านเรือนทำมาค้าขายมากขึ้น
สมัยระบบประชาธิปไตย (ตั้งแต่ พ.. ๒๔๗๖-ปัจจุบัน)
เมื่อมีการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญใน พ.. 2475 แล้ว รัฐบาลใหม่ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ 2476 ทำให้ระบบเทศาภิบาลถูกยกเลิกไป
ส่วนภูมิภาคมีอำนาจมากขึ้น จังหวัดพัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในอาณาจักรไทย ตามระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีผู้บริหารเป็นคณะเรียกว่า คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วยข้าหลวงประจาจังหวัด ปลัดจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการฝ่ายพลเรือนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดโดยข้าหลวงประจำจังหวัดทำหน้าที่เป็นประธาน แต่คณะกรมการจังหวัดจะต้องรับผิดชอบในราชการทั่วไปร่วมกัน และกรมการแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนต่อกระทรวงทบวงกรมที่ตนสังกัด สำหรับอาเภอก็มีคณะบริหาร เรียกว่าคณะกรมการอำเภอ ประกอบด้วย นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการฝ่ายพลเรือนต่าง ๆ เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน แต่คณะกรมการอำเภอจะต้องรับผิดชอบในราชการทั่วไปร่วมกัน และกรมการแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนต่อกระทรวง ทบวง กรม ที่ตนสังกัด
ต่อมาใน พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินโดยให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เนื่องจากจังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 ไม่เป็นนิติบุคคล นอกจากนั้นอำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะกรมการจังหวัด ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดเพียงบุคคลเดียวและฐานะของกรมการจังหวัดก็เช่นเดียวกัน เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหาราชการแผ่นดินในจังหวัดก็ได้แก้ไขเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

จนกระทั่ง พ.. 2515 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามนัยประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดนั้น ได้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอ ขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ซึ่งกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับดังกล่าวนี้ได้บังคับใช้จนถึงปัจจุบันนี้
ประวัติศาสตร์จังหวัดพิจิตร
ตราประจำจังหวัด


รูปต้นโพธิ์ริมสระหลวง
คำขวัญประจำจังหวัด
ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

 ประวัติเมืองพิจิตร
พิจิตรแปลว่างามฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตร จึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต ตามประวัติศาสตร์ได้จารึก ไว้ว่าพระโหราธิบดี ผู้เป็นบิดาของศรีปราชญ์ ยอดกวีเอกของเมืองไทย ถือกำเนิดเหนือแผ่นดินเมืองพิจิตร แม้แต่ในวรรณคดีไทย ยังกล่าวว่า จมื่นไวยวรนารถ ทายาทของขุนแผนยอดขุนพลแห่งเมืองอโยธยา ก็เคยมาหลงเสน่ห์สาวงามเมืองพิจิตร
ดินแดนอันเป็นเขตจังหวัดพิจิตร อยู่ในที่ราบลุ่มตอนเหนือของภาคกลาง หรือตอนใต้ของภาคเหนือในดินแดนสุวรรณภูมิ บริเวณนี้เป็นบริเวณที่ลำนํ้ายมและลำนํ้าน่าน อันเป็นแควของลำนํ้าเจ้าพระยาไหลผ่าน และเมื่อประมาณห้าหกร้อยปีมาแล้ว ลำนํ้าทั้งสองนี้ไหลมารวมกันที่จังหวัดพิจิตรนี้เอง ลักษณะพิเศษของดินแดนแถบนี้เต็มไปด้วยหนอง คลองบึง และทางนํ้าซึ่งเปลี่ยนทางเดินอยู่เสมอ ถึงฤดูนํ้า ๆ จะหลากท่วมไปทั่ว สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ทั่วถึง แต่พอฤดูแล้ง นํ้าในคลองบึงต่าง ๆ จะแห้งงวดลงไป แม้แต่ในลำนํ้าใหญ่บางตอน เรือก็เดินไม่ได้ พื้นดินบริเวณจังหวัดพิจิตรเป็นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตรเพราะเป็นดินตะกอนที่เกิดจากนํ้าท่วมทับทุกปี มีปลาชุกชุม อาชีพหลักของพลเมืองคือการกสิกรรม และการประมง เข้าใจว่ามีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบนสองฝั่งของลำนํ้าน่านและลำนํ้ายม ในเขตจังหวัดพิจิตรไม่น้อยกว่าหนึ่งพันปี ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงอยู่กันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และรื้อย้ายหมู่บ้านมาบ่อย ๆ บ้านเรือนที่ปลูกอาศัยอยู่ก็เป็นวัสดุราคาถูก เวลาย้ายก็ทรุดโทรมหายสาบสูญไป จึงหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำหรับนักศึกษาในปัจจุบันได้น้อยมาก
อีกประการหนึ่ง ดินแดนแถบนี้ เป็นเสมือนหนึ่งฉนวนระหว่างบ้านเมืองทางเหนือกับทางใต้ของสุวรรณภูมิ เป็นทางหนีของเจ้าบ้านผ่านเมืองในสมัยก่อนจากเหนือไปใต้ หรือจากใต้ไปเหนือ และทำนองเดียวกันก็เป็นทางเดินทัพของบ้านเมืองฝ่ายใต้ เมื่อยกไปปราบบ้านเมืองฝ่ายเหนือ หรือของบ้านเมืองฝ่ายเหนือ ยกมารุกรานบ้านเมืองฝ่ายใต้ ประวัติศาสตร์ของเมืองพิจิตรเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แบบนี้ตลอดมาจนถึง พ.. 2400
ในการกล่าวถึงประวัติเมืองพิจิตรต่อไปนี้จะได้กล่าวตามยุคของประวัติศาสตร์ไทย และดินแดนแหลมทองเป็นตอน ๆ คือสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุง
รัตนโกสินทร์
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เดิมทีเมืองพิจิตร หาได้ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลดังที่ได้ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายที่ตั้งเมืองหลายครั้งหลายครา พิจิตรเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวในอดีตซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้แน่นอนนัก เชื่อกันว่าพิจิตรเคยเป็นเมืองชัยบวรมาก่อน ซึ่งเมืองชัยบวรนี้ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอโพทะเล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 100 กิโลเมตรเศษ ต่อมาได้อพยพโยกย้ายขึ้นมาตามลำนํ้าน่านเก่าสู่ทางทิศเหนือ ตั้งรกรากสร้างบ้านเมืองขึ้นเป็นปึกแผ่นที่บ้าน สระหลวงอยู่ในเขตเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ ต่อมาลำนํ้าน่านเก่าเปลี่ยนทางเดิน เป็นเหตุให้ลำนํ้าตื้นเขิน จึงจำเป็นต้องย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน
เชื่อกันว่าเมืองพิจิตรนี้มีชื่อเรียกแต่เดิมหลายชื่อ คือชื่อเมืองสระหลวง เมืองโอฆบุรี เมืองชัยบวร และเมืองปากยม นอกจากนั้นในท้องที่จังหวัดพิจิตร ยังมีเมืองเก่าอยู่ในท้องที่อำเภอตะพานหินอีกสองเมืองด้วยกัน สันนิษฐานว่า ชื่อเมืองนครพังคา และเมืองแสงเชรา และเชื่อกันว่าเมืองหนึ่งคือเมืองบ่าง ซึ่งอยู่ในท้องที่ตำบลทับคล้อ
สำหรับเรื่องราวของเมืองพิจิตรนั้น จะขอกล่าวถึงที่มาจากสองแหล่งด้วยกัน คือ
1. เรื่องราวของพิจิตรในพงศาวดารเหนือ
2. เรื่องราวของเมืองพิจิตรที่ปรากฏในศิลาจารึกและพระราชพงศาวดาร
เรื่องราวของพิจิตรในพงศาวดารเหนือ
ในพงศาวดารเหนือได้กล่าวถึงเมืองพิจิตรไว้สองเรื่องด้วยกัน คือ
1.เรื่องพระยาแกรก ที่กล่าวถึงการสร้างเมืองที่บ้านโกณฑัญญคาม เข้าใจว่าคือเมืองชัย
บวร (อำเภอโพทะเลในปัจจุบัน)
2.เรื่องสร้างเมืองพิษณุโลก กล่าวถึงการสร้างเมืองโอฆบุรี เข้าใจว่าคือเมืองพิจิตรเก่า
นั่นเอง
เรื่องพระยาแกรก
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอที่จะตรวจสอบได้ความว่า ราว พ.. 1300 ชาวละว้าเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจมากที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 2 อาณาจักรใหญ่ ๆ คือ อาณาจักรทราวดี ได้แก่พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ไปจนจดราชบุรี ทิศตะวันออกไปถึงจังหวัดปราจีนบุรีอาณาจักรยางหรือโยนก และอาณาจักรโคตรบูรณ์
สำหรับอาณาจักรทราวดีมีเมืองสำคัญ ๆ สามเมืองด้วยกัน คือ นครปฐม ละโว้หรือลพบุรี เมืองสยามหรือสุโขทัย โดยมีนครปฐมเป็นราชธานี ส่วนเมืองพิจิตร ในครั้งกระนั้นอยู่ในเขตเมืองละโว้ จะมีนามว่าอย่างไร ตั้งอยู่ที่ไหนยังไม่ปรากฏชัด
ต่อมาราว พ.. 2400 ขอมมีอำนาจมากพระยาแกรกได้ยกทัพเข้าตีเมืองละโว้ได้ พระยาโคตมเทวราชซึ่งเป็นเจ้าเมืองละโว้ ได้พาลี้พลอพยพขึ้นมาทางเหนือ จนถึงบ้านโกณฑัญญคามและได้สร้างเมืองขึ้นที่บ้านโกณฑัญญคามนี้ ต่อมาพระราชบุตรของพระยาโคตมเทวราชได้ไปสร้างเมืองพิจิตรขึ้นอีก ดังข้อความในพงศาวดารเหนือเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีดังนี้
และพระยาโคตมเทวราชเสด็จมาถึงบ้านโกณฑัญญคาม พราหมณ์ชื่อโกณฑัญญคามเป็นใหญ่กว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ 500 ครั้น เห็นพระยาแต่ไกล โกณฑัญญพราหมณ์ทั้งหลายก็ไปต้อนรับพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์จึงมีพระบรมราชโองการตรัสถามว่า ดูราชีพ่อพราหมณ์ทั้งหลาย บ้านท่านนี้ชื่อใด ชีพ่อพราหมณ์ทูลว่า บ้านนี้ชื่อโกณฑัญญคาม แต่ตูข้าเป็นชีพ่อพราหมณ์ได้ 500 คน จึงมีพระราชโองการว่า เราจะสร้างเมืองในสถานที่นี้ ท่านทั้งหลายจะยินดีหรือไม่ พราหมณ์ทั้งหลายก็ยินดีด้วยกันทั้งสิ้นพระยาได้ฟังดังนั้นยินดีให้เสนาอำมาตย์ตั้งพลับพลาทอง แล้วให้ชีพ่อพราหมณ์ ผู้เฒ่าผู้แก่กับเศรษฐีประชุมพร้อมกันจึงให้ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพิธีกินบวชสิ้น และรำแขนงเจ็ดวันแล้วสระเกล้าขึ้นโล้อัมพวาย ถวายแก่พระอิศวร พระนารายณ์ แล้วเลียบไปที่จะตั้งพระราชวัง…”
จากข้อความในพงศาวดารเหนือตอนนี้ก็จะพบว่าพระยาโคตมเทวราชได้สร้างเมืองที่บ้านโกณฑัญญคาม ซึ่งอ้างจากหนังสือพิจิตรของเราว่า ในหนังสือทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณา-จักรของกรมศิลปากรได้กล่าวว่าบ้านโกณฑัญญคาม ก็คือเมืองที่เรียกกันว่านครชัยบวรและคุณพระวัฒโนได้เขียนไว้ในหนังสือเมืองพิจิตรว่า คือ เมืองชัยบวรปัจจุบันอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านน้อย กับตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล ยังสังเกตคูเมืองและกำแพงเมืองด้วย สำหรับคูเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่และลึกด้วยนั้นมักจะเรียกกันว่า บึงชัยบวร และยังเรียกในชื่ออื่นว่า บึงไชยบวรก็มี ส่วนนครชัยบวรหรือเมืองชัยบวรนั้นยังเรียกกันว่า เมืองชีบวรอีกด้วย ชาวบ้านแถบนั้นก็ยังเชื่อกันว่าชื่อเดิมของเมืองชัยบวรเรียกกันว่า บ้านโกณฑัญญคามมาก่อน จึงเป็นเรื่องที่น่าเชื่อได้พอสมควรว่า เมืองชัยบวรคือเมืองที่พระยาโคตมเทวราชสร้างขึ้นที่บ้านโกณฑัญญคาม ตามพงศาวดารเหนือ
ส่วนการสร้างเมืองพิจิตร ที่เมืองพิจิตรเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรนั้น ในพงศาวดารเหนือ ได้กล่าวไว้ในเรื่องพระยาแกรกตอนต่อไปว่า
“ … และพระยาโคตมเทวราช ที่พระราชบุตรองค์หนึ่ง ชื่อเจ้ากาญจนกุมาร เป็นพระยาแทนพระบิดา นานมาจึงชื่อเจ้าไวยยักษา ครั้นใหญ่มาชื่อเจ้าโคตรตะบอง ไปสร้างเมืองพิจิตรจึงมีชื่อพระยาโคตรตะบอง เจ้าไวยยักษาไปสร้างเมืองพิชัย จึงได้ชื่อพระยามือเหล็ก…”
พระยาโคตรตะบองได้ย้ายเมืองจากนครไชยบวร ไปตั้งที่หมู่บ้านสระหลวงและได้เริ่มฝังหลักเมือง เมื่อวันพุธขึ้น 13 คํ่า เดือน 12 ปีขาล พ.. 1601 ทรงสั่งก่อสร้างกำแพงขึ้นด้านเหนือยาว 10 เส้น ด้านใต้ยาว 10 เส้น ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 35 เส้น นอกกำแพงโปรดให้ขุดคูลึก 6 ศอก เพื่อป้องกันนครด้านตะวันตกหน้าเมืองห่างจากลำนํ้าน่านเก่าประมาณ 15 วา ตามกำแพงได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองสระหลวงและได้มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์ต่อมาด้วยความเกษมสำราญอีกประมาณ 200 ปี
เรื่องสร้างเมืองพิษณุโลก
ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองโอฆบุรี ซึ่งเชื่อกันว่าคือ เมืองพิจิตรเก่า อันเป็นเมืองที่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองพิษณุโลก ดังข้อความในพงศาวดารเหนือ ดังนี้
" พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยินดีนักหนาจึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่เสนาอำมาตย์ให้ชุมนุมท้าวพระยาทั้งหลาย พระองค์จึงให้จ่าทั้งสองไปก่อนเป็นทัพหน้า ท้าวพระยาทั้งหลายเป็นปีกซ้ายขวา เจ้าไกรสรราช เจ้าชาติสาคร พระราชโอรสทั้งสอง เป็นกองรั้งหลังตามเสด็จพระราชบิดา พระราชมารดาออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรมหกคํ่า เพลาเช้า ไปได้สองเดือนจึงถึง พระองค์ได้ตั้งพลับเพลาทองริมนํ้า ไกลเมืองประมาณ 100 เส้น
สมเด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงให้ท้าวพระยาทั้งหลายและเจ้าไกรสรราช เจ้าชาติสาคร ตามเสด็จเข้าไปในเมือง แล้วจึงให้ชื่อเมือง จึงมีพระราชโองการตรัสถามชีพ่อพราหมณ์ว่า เราจะให้ชื่อเมืองอันใดดี พราหมณาจารย์จึงกราบทูลตอบพระราชโองการว่า เจ้ามาถึงวันนี้ยามพิศนุ พระองค์ได้ชื่อตามคำพราหมณ์ว่า เมืองพิษณุโลก ถ้าจะว่าตามพระพุทธเจ้ามาบิณฑบาตก็ชื่อว่า โอฆบุรีตะวันออก ตะวันตกชื่อจันทบูร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกจึงมีพระราชโองการตรัสสั่งท้าวพระยาทั้งหลายว่าเราชวนกันสร้างพระธาตุ และวิหารใหญ่ ตั้งวิหารทั้งสี่ทิศ ครั้นสร้างของพระยาแล้ว ต่างคนต่างก็สร้างคนละองค์"
เรื่องราวของเมืองโอฆบุรีเป็นเมืองพิจิตรเก่าใช่หรือไม่นั้น จะขอคัดลอกข้อความจากหนังสือสาส์นสมเด็จ ตอนที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้กราบทูลถามสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพดังข้อความต่อไปนี้
"…โอฆบุรีคือเมืองพิจิตรหรือไม่ใช่ คำว่า "โอฆ" เข้าใจว่าหมายเอาบึงสีไฟ "เมืองพิจิตร" เข้าใจว่าเป็นชื่อเมืองใหม่ ซึ่งย้ายมาตั้งอยู่ที่คลองเรียงถูกหรือไม่ ถ้าถูกอย่างนั้นเมืองพิจิตรเก่าก็ควรยืนเรียกอยู่ว่า "โอฆบุรี" ไม่ควรเรียกว่า เมืองพิจิตรเก่า"
เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทูลถามเช่นนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทูลตอบ ดังข้อความต่อไปนี้
"…เมืองโอฆบุรีคือเมืองพิจิตร เป็นเมืองโบราณมีป้อมปราการอยู่ริมแม่นํ้าน่านเก่า ซึ่งตื้นเขินเสียแล้ว ชื่อเดิมเรียกว่า "เมืองสระหลวง" คงเป็นเพราะเป็นเมืองมีบึงบางมาก ทั้งในศิลาจารึกสุโขทัยและกฎหมายชั้นเก่าของกรุงศรีอยุธยาก็เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ปรับเป็นคู่กับ "เมืองสองแคว" คือเมืองพิษณุโลก ซึ่งเดิมมีแม่นํ้าน้อยอยู่ทางตะวันออก และมีแม่นํ้าน่านอยู่ทางตะวันตก แต่แม่นํ้าน้อยตื้นเขินเสียนานแล้ว
ชื่อที่เรียกว่า "โอฆบุรี" ความตรงกับชื่อเมืองสระหลวง เป็นแต่เปลี่ยนเป็นภาษามคธเหมือนกับ "ทวิสาขะนคร" ตรงกับเมืองสองแคว หม่อมฉันสงสัยว่า จะเกิดแต่พระแต่งเรื่องพงศาวดารไทยเป็นภาษามคธ ตามอย่างหนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา เช่น เรื่องชินกาลมาลินี เป็นต้น แปลงชื่อเมืองสระหลวงเป็น โอฆบุรี ในภาษามคธ และแปลงเมืองสองแควไว้อีกว่า เมืองทวิสาขะนคร ในหนังสือแต่ง
"การที่เปลี่ยนเมืองสองแคว เป็นเมืองพิษณุโลก เปลี่ยนชื่อเมืองสระหลวง เป็นเมืองพิจิตร เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก แต่ว่าพอเปลี่ยนแล้ว ชื่อเมืองสองแควกับสระหลวงก็เลยสูญ ผู้รู้ชั้นหลังจึงเอาชื่อเมืองโอฆบุรีกับเมืองทวิสาขะนคร ซึ่งยังมีอยู่ในหนังสือที่พระแต่งไปชี้เป็นเมืองอื่น ดูเหมือนจะเอาเมืองแพรก (คือเมืองสรรค์) เป็นทวิสาขะนคร ส่วนเมืองโอฆบุรีนั้น คือเหตุที่เมืองพิษณุโลกสร้างปราการ 2 ฟาก เอาแม่นํ้าไว้กลางเมืองผิดกับเมืองอื่น อ้างว่าเมืองทางฟากตะวันออกชื่อเมืองพิษณุโลก เมืองฟากตะวันตกชื่อเมืองโอฆบุรี อ้างกันมาอย่างนั้น จนถึงสมัยมีสโมสรโบราณคดี ค้นพบชื่อเมืองสระหลวงสองแควในศิลาจารึกและกฎหมายเก่า จึงรู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร"
ข้อความทั้งหมดนี้ คงเป็นเครื่องยืนยันได้พอสมควรว่า เมืองโอฆบุรีนั้น คือเมืองพิจิตรเก่า นอกจากนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้นิพนธ์เกี่ยวกับเมืองพิจิตรไว้ในหนังสือ "เที่ยวตามทางรถไฟ" มีข้อความที่เกี่ยวกับเมืองโอฆบุรี และเมืองสระหลวงอยู่ด้วย ซึ่งปรากฏข้อความเป็นบางตอน ดังนี้
"ในหนังสือพงศาวดารเหนือว่า พระยาโคตรตะบองราชบุตรของพระยาโคตมเทวราชเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่หาปรากฏสมัยและเรื่องราวของการสร้างไม่ คงเป็นเค้าแต่ว่าพวกขอมชั้นหลังสร้างเมืองพิจิตร มาถึงสมัยเมื่อไทยตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองสุโขทัย เรียกนามเมืองนี้ในภาษาไทยว่า "เมืองสระหลวง" ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพระเจ้ารามคำแหงคงเป็นเพราะตั้งอยู่ชายทะเลสาบ หนังสือเก่าบางเรื่องเรียกนามในภาษาบาลีว่า "โอฆบุรี" ความก็ตรงกัน ที่อธิบายกันว่าเมืองโอฆบุรีอยู่ 2 ฟากฝั่งแม่นํ้าตรงกันนั้นไม่มีหลักฐาน…"
เรื่องราวของเมืองพิจิตรที่ปรากฏในศิลาจารึกและพระราชพงศาวดาร
ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ได้กล่าวถึงเมืองสระหลวง โดยกล่าวไว้ในเรื่องอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งข้อความในศิลาจารึกได้กล่าวถึงเมืองสระหลวง ดังนี้
"…อาจปราบฝูงข้าศึก มีเหมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอดสระหลวงสองแคว ลุมบา จายสคาเท้า ฝั่งของถึงเวียงจันทร์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบางแพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทร เป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมืองหงสาวดี สมุทรห้าเป็นแดนเบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่เมืองน่าน เมืองเมืองพลั่วพ้นฝั่งของเมืองชวาเป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยงฝูกลูกบ้านลูกเมืองนั้นชอบด้วยธรรมทุกคน"
จากข้อความในศิลาจารึกนี้แสดงว่าอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นกว้างขวางมาก ทิศตะวันออก ตลอดเมืองสระหลวง (รอดเมืองสระหลวงหมายถึงตลอดเมืองสระหลวง) เมืองสองแคว และเมืองอื่นอีกหลายเมืองด้วยกัน สำหรับเมืองสระหลวงนี้เชื่อกันว่าคือเมืองพิจิตรเก่านั่นเอง
ดังบทนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพข้างต้น นอกจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยานริศรา-นุวัตติวงศ์ ได้นิพนธ์เกี่ยวกับเมืองสระหลวงไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จอีกด้วย ซึ่งปรากฏข้อความดังต่อไปนี้
"…ที่จริงแม่นํ้าและเมืองพิจิตรเก่า ก็ยังมีแต่นับวันจะสูญหายไป เมืองพิจิตรเดี๋ยวนี้เป็นเมืองตั้งใหม่ ยังจำได้ที่ตรัสอาจเลิกได้ในชั่วโมงเดียว คำว่า สระหลวง เข้าใจว่าที่เรียกกันว่า บึงสีไฟ อยู่ในทุกวันนี้…."
ชื่อเมืองสระหลวงที่น่าเชื่อว่า เป็นเมืองพิจิตรเก่า หรืออาณาเขตของเมืองพิจิตรเก่า มีสระหรือบึงอยู่มาก ถ้าดูตามพจนานุกรมฉบับทันสมัย ของอาจารย์เปลื้อง ณ นคร ก็จะพบว่า "สระ" หมายถึงอ่างนํ้าที่อยู่ตามระหว่างผา ซึ่งก็คงเป็นบึงนั่นเอง สำหรับบึงที่อยู่ใกล้เมืองพิจิตรเก่า หรือในท้องที่จังหวัดพิจิตรปัจจุบัน บึงสีไฟ บึงตะโกน บึงฆะฆัง ที่ไกลออกไปก็มีบึงชัยบวร บึงสัพงายและบึงบัวเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ชื่อเมืองโอฆบุรี ก็เกี่ยวกับบึงอีก เพราะคำว่า "โอฆ" ในพจนานุกรมฉบับทันสมัยของอาจารย์เปลื้อง ณ นคร ก็หมายถึง ห้วงนํ้าซึ่งก็คงเป็นบึงนั่นเอง
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเมืองสระหลวงเป็นเมืองพิจิตรเก่ายังมีอีก เช่น หม่อมเจ้าจันทรจิรายุรัชนี ทรงกล่าวว่า เมืองสระหลวงเป็นเมืองพิจิตรเก่าบนฝั่งแม่นํ้าน่าน เรียกคู่กับเมืองพิษณุโลกเก่า เมืองสระหลวงสองแคว ทำนองเดียวกับเรียกเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองอยู่บนฝั่งแม่นํ้ายมทั้งคู่
นอกจากนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวถึงเมืองสระหลวงในหนังสือนิทานโบราณคดีเรื่องค้นเมืองโบราณอีกว่า เมืองสระหลวงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพิจิตร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและพระองค์ยังกล่าวถึงเมืองสระหลวงคือเมืองพิจิตรไว้ในบทนิพนธ์เรื่องพระร่วงอีกด้วย
สำหรับความเชื่อที่ว่า เมืองสระหลวงไม่ใช่เมืองพิจิตร แต่เป็นเมืองพิษณุโลก ก็มีเหมือนกัน เช่น ในราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองสระหลวง คือ เมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันตก และเมืองคณฑีคือ เมืองพิจิตร ดังข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 กล่าวถึงเมืองสระหลวงและเมืองคณฑี ดังต่อไปนี้
"พระเจ้าขุนรามคำแหง เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยที่มีอานุภาพมาก ควรนับว่าเป็นมหาราชเจ้าพระองค์หนึ่ง ได้รบพุ่งปราบปรามเมืองที่ใกล้เคียงเอาไว้ในอำนาจ ขยายราชอาณาจักรสุโขทัยกว้างขวางออกไปถึงที่สุดในครั้งนั้น บอกอาณาเขตไว้ในศิลาจารึกชัดเจนว่า ทิศเหนือได้เมืองแพร่เมืองน่าน ตลอดจนเมืองชวา (คือเมืองหลวงพระบางทุกวันนี้) ไว้ในพระราชอาณาจักร ทิศตะวันออกได้เมืองสระหลวง (คือเมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันตก ที่หนังสือแต่งในภาษามคธว่าโอฆบุรี) เมืองสองแคว (คือเมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันออก)…" และอีกตอนหนึ่งว่า "ทิศใต้ได้เมืองคณฑี (เข้าใจว่า เมืองพิจิตรทุกวันนี้)…"
ข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาจะเห็นว่า เมืองสระหลวงคือเมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันตก และเมืองสองแควคือเมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันออก ส่วนเมืองคณฑีต่างหากที่เป็นเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นหลักฐานอีกแนวหนึ่งที่แตกต่างออกไป ยิ่งไปกว่านั้นศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักการค้นเมืองสมัยสุโขทัย" ลงในแถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดีปีที่ 1 เล่ม 1 กล่าวถึงเมืองสระหลวงว่าเป็นเมืองพิษณุโลก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยังหาข้อยุติไม่ได้แน่นอน คงต้องศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานกันต่อไปอีก
ความจริงชื่อเมืองสระหลวง ยังปรากฏในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยอีกหลักหนึ่ง คือหลักที่ 8 (จารึกเขาสุมนกูฏ) ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวในสมัยสุโขทัย รัชกาลพระยาลิไท ซึ่งเป็นตอนที่กล่าวถึงอาณา-เขตของอาณาจักรสุโขทัยปรากฏข้อความดังต่อไปนี้.-
"…อยู่ในสองแควได้เจ็ดข้าว จึงนำพลมา มีทั้งชาวสระหลวง สองแควปากยม พระบาง ชากังราวสุพรรณภาว นครพระชุม เบื้องเมืองพาน เมืองเมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย เป็นบริพาร…"
จะเห็นได้ว่าข้อความในศิลาจารึกตอนนี้นอกจากจะกล่าวถึงเมืองสระหลวง เมืองสองแควและเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมืองแล้ว ยังมีเมืองหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมืองปากยม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปากนํ้ายม หรือเมืองที่อยู่ใกล้กับแม่นํ้ายมกับแม่นํ้าน่านไหลมาบรรจบกัน ซึ่งอาจจะเป็น เมืองชัย-บวรก็ได้ เพราะเมืองชัยบวรตั้งอยู่ใกล้กับแม่นํ้ายมกับแม่นํ้าน่านเก่าไหลมาบรรจบกัน สำหรับเมืองนี้ขอคัดลอกบันทึกของ นายตรี อมาตยกุล ซึ่งเคยเดินทางไปสำรวจเมืองโบราณในจังหวัดพิจิตร เมื่อ พ.. 2508 พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และอาจารย์ ขจร สุขพานิช ซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับเมืองชัยบวรไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้.-
"ชั้นแรกได้เดินทางไปที่อำเภอบางมูลนากเพื่อไปตรวจเยี่ยมเมืองโบราณ ซึ่งในจารึกกรุงสุโขทัยเรียกว่าเมืองปากยมก่อนเพราะเมืองนี้สงสัยว่าจะอยู่ตรงแม่นํ้าน่านมาสมกัน คือที่ตำบลบาง-คลาน อำเภอโพทะเล"
"…ผู้นำทางได้พาไปดูเมืองโบราณเมืองหนึ่งเรียกว่า เมืองชัยบวรหรือชีบวร เมืองนี้มีคูกว้างมาก คือกว้างประมาณ ๑๐๐ เมตร มีนํ้าขังอยู่เต็ม ในฤดูแล้งก็ไม่แห้งได้สอบถามชาวบ้านและผู้นำทางแล้ว ไม่ปรากฏว่าเคยได้พบเมืองโบราณนอกเมืองชัยบวรหรือชีบวรดังได้เรียนมาแต่ตอนต้น จึงยังไม่ทราบแน่ว่าเมืองปากยมที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยนั้น ในปัจจุบันจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด บางทีอาจจะเป็นเมืองที่เรียกกันในปัจจุบันว่า เมืองชัยบวรก็ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่นอนและยังไม่ได้สำรวจตรวจค้นโดยละเอียด จึงไม่สามารถจะยืนยันได้"
ความจริงเมืองปากยมตามศิลาจารึก ก็น่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปากแม่นํ้ายม หรือใกล้แม่นํ้ายม จึงเป็นเรื่องที่น่าเชื่อได้พอสมควรว่าคงจะเป็นเมืองชัยบวร เพราะเมืองโบราณที่สำรวจพบแล้วในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ใกล้แม่นํ้ายม และปากแม่นํ้ายมที่มาบรรจบกับแม่นํ้าน่านเก่า ก็มีอยู่เมืองชัยบวรนี้เมืองเดียวเท่านั้น และถ้าหากเป็นจริงตามความเชื่อนี้ก็แสดงว่าในสมัยกรุงสุโขทัย รัชกาลพระยาลิไท มีเมืองสระหลวงและเมืองปากยม ทั้งสองเมืองเป็นเมืองที่อยู่ในอาณาจักรสุโขทัย
จาก พ.. 1601 ซึ่งเป็นปีที่พระยาโคตรตะบอง สร้างเมืองสระหลวง (จากพงศาวดารเหนือ เรื่องพระยาแกรก) เป็นต้นมา จนถึง พ.. ๒๘๐๐ ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง ไทยเราได้เริ่มทยอยลงมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และได้เริ่มมีบทบาทขึ้นในดินแดนส่วนนี้ โดยพ่อขุนบางกลางท่าว กับพ่อขุนผาเมือง ได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองสยาม เมืองหน้าด่านของขอมได้พิจิตรจึงตกเป็นของไทยตั้งแต่นั้นมา
ราว พ.. 2820 กรุงสุโขทัยไม่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล และมีเมืองสำคัญ ๆ ไม่กี่เมือง ซึ่งในบรรดาเมืองเหล่านั้นมีพิจิตรรวมอยู่ด้วย เวลานั้นสุโขทัยมีศัตรูมาก เช่น ขอม พวกไทยตอนใต้และภาระในการที่จะขยายอาณาเขต พิจิตรจึงกลายเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองหน้าด่านเพื่อป้องกันข้าศึกที่จะยกไปตีเมืองหลวง พิจิตรจึงอุปมาเสมือนทหารเอกของกรุงสุโขทัย พ.. 1949 การศึกษาวิทยาการ โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาในเมืองพิจิตรเจริญมาก ตามสุพรรณบัฏที่ขุดได้จากองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุในบริเวณเมืองพิจิตรเก่าได้มีการตั้งพระเถรพุทธสาคร เป็นพระครูธรรมโมสีศีราชบุตร โดยที่เมืองพิจิตรเป็นเมืองรายรอบปริมณฑล กรุงสุโขทัยเป็นหัวเมืองชั้นใน พระเจ้าแผ่นดินกรุงสุโขทัยจึงปกครองเมืองนี้โดยตรงตลอดสมัยที่กรุงสุโขทัยรุ่งเรืองอยู่
สมัยกรุงศรีอยุธยา (.. 2893-2310)
เมื่อสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง และได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พิจิตรก็ตกไปอยู่กับกรุงศรีอยุธยา แต่ความสำคัญของเมืองพิจิตรมิได้ลดน้อยลง เมื่อประมาณ พ.. 2006 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงยกเลิกการปกครองแบบเก่า เปลี่ยนมาเป็นแบบจตุสดมภ์ เพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ เป็นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคมีขุนนางเป็นผู้ปกครอง และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี และจัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี นับว่าพิจิตรเป็นเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางทหารและการปกครองไม่น้อย
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ได้เสด็จครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ทรงเห็นว่าพิจิตรเป็นเมืองลุ่มเต็มไปด้วยบึง คลอง ลำห้วย โดยเฉพาะบึงสีไฟที่มีนํ้าขังตลอดปีไม่เคยแห้งมีเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ จึงขนานนามเมืองพิจิตรอีกนามหนึ่งว่าโอฆบุรีซึ่งแปลว่าห้วงนํ้า
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเหตุการณ์ประวัติเกี่ยวข้องกับเมืองพิจิตร คือ เมืองพิจิตรเป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ และเป็นถิ่นกำเนิดของพระโหราธิบดี กวีเอกของไทยดังที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จไปเมืองพิษณุโลกพระเพทราชาได้พานางสนมที่ได้รับพระราชทานซึ่งขณะนั้นตั้งภรรภ์แก่จวนคลอดติดตามไปด้วย เมื่อถึงบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร นางได้คลอดบุตร ในเดือนอ้าย อัฐศกและฝังรกไว้ที่ต้นมะเดื่อ บุตรนั้นจึงได้ชื่อว่านายเดื่อหรือดอกเดื่อต่อมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8หรือพระพุทธเจ้าเสือหรือขุนหลวงสรศักดิ์ เมื่อครองราชย์แล้วได้เสด็จไปคล้องช้างเมืองพิจิตร เลยไปเยี่ยมมาตุภูมิเดิมที่หมู่บ้านโพธิ์ประทับช้าง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามประกอบด้วยพระอุโบสถวิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ แล้วเสร็จในปี พ.. 2244 พระองค์เสด็จทางชลมารค ไปฉลองพระอาราม ตั้งพระครูธรรมรูจีราชมุนีเป็นเจ้าอาวาส และพระราชทานนามว่า วัดโพธิ์ประทับช้าง ปัจจุบันวัดโพธิ์ประทับช้างยังมีพระอุโบสถที่ชำรุดหักพัง พระเจดีย์เก่าครํ่าคร่า ซึ่งราษฎรมักนิยมไปเคารพสักการะอยู่เสมอ
ส่วนจอมปราชญ์ในเชิงกวีในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น พระมหาราชครูนับว่าเป็นเอก ท่านถือกำเนิดที่เมืองพิจิตร พระมหาราชครูมีความสามารถในการแต่ง โคลงฉันท์ กาพย์ กลอน จนเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และทรงยกย่องเป็นพระอาจารย์ นับเป็นลูกพิจิตรคนหนึ่งที่ได้สร้างผลงานทางด้านวรรณกรรมไว้เป็นมรดกของชาติ อันมีคุณค่าที่หาที่เปรียบมิได้
ศรีปราชญ์รัตนกวีของชาวไทยที่หายใจเป็นกาพย์ กลอน มีความสามารถเปรื่องปราดในทางอักษรศาสตร์ และวรรณคดีเป็นที่หนึ่งจนกิตติศัพท์เป็นที่กล่าวขานกันทุกมุมเมืองก็เป็นบุตรท่านราชครู จึงนับได้ว่าเป็นเลือดเนื้อเชื้อสานของชาวพิจิตรโดยสมบูรณ์
สมัยกรุงธนบุรี (.. 2310-2325)
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสภาพบ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบ มีเจ้าเมืองต่าง ๆ ตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 5 ก๊ก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปปราบก๊กพระยาพิษณุโลกในปี พ.. 2311 นั้น ถึงตำบลเกยชัยทรงถูกปืนที่พระชงฆ์ซ้าย จึงต้องยกทัพกลับพระนคร จากนั้นเจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลก ชาวเมืองพิษณุโลกและเมืองพิจิตรต่างแตกหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี จนกระทั่งปี พ.. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกทัพไปปราบเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลกและเมืองสวางคบุรีในการนี้เมืองพิจิตรเป็นทางผ่านของกองทัพและชาวพิจิตรคงจะถูกเกณฑ์ไปในการรบด้วยและต่อมาทุกครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ มักจะโปรดให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองเพื่อทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งไป
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (.. 2325)
สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งศึก 9 ทัพ  ปี พ.. 2328 พม่ายกกองทัพเข้าตีเมืองไทยถึง 9 ทัพ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้และทางภาคตะวันตก ทัพเหนือพม่ายกมาทางเมืองเชียงแสนตีได้เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย และเมืองพิษณุโลก นอกจากเมืองพิจิตร เพราะว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้จัดกองทัพสำหรับที่จะต่อสู้ถึง 9 ทัพ ทางเหนือให้กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขเป็นแม่ทัพไปตั้งขัดตาทัพอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขได้ให้เจ้าพระยามหาเสนายกขึ้นไปตั้งรักษาเมืองพิจิตรไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้พม่าจึงตั้งค่ายอยู่ที่ปากพิงใต้เมืองพิษณุโลก เพื่อคอยกองทัพหนุนจึงจะยกมาตีกองทัพไทยที่เมืองพิจิตรและเมืองนครสวรรค์ ดังนั้น กองทัพหลวงของไทยจากกรุงเทพฯ จึงยกทัพตามขึ้นไปตั้งที่เมืองนครสวรรค์ก่อน แล้วยกหนุนกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขขึ้นไปที่บางข้าวตอก แขวงเมืองพิจิตร และยกเข้าตีค่ายพม่าที่ปากพิง จนกองทัพพม่าแตกพ่ายไป พม่าจึงไม่มีโอกาสตีเมืองพิจิตร (ในการสงครามครั้งนี้ เป็นสงครามครั้งที่ 1 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง "ไกรทอง" เนื่องจากเมืองพิจิตรเป็นเมืองที่มีแหล่งนํ้ามากมายและมีจระเข้ชุกชุมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงอาศัยเค้าโครงเรื่องจากเรื่องราวชาวพิจิตรที่ได้เล่าสืบต่อกันมา พระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องไกรทอง ความว่า มีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งมีนามว่า "ชาละวัน" เมื่อเข้าไปอยู่ในถํ้าจะกลับกลายร่างเป็นมนุษย์แต่พอออกมาจากถํ้าจะกลายร่างเป็นจระเข้ดังเดิม วันหนึ่งชาละวันได้คาบเอาลูกสาวของท่านเศรษฐีเมืองพิจิตรมีนามว่าตะเภาทอง เอาไปเป็นคู่ครองภายในถํ้า จนท่านเศรษฐีได้ติดต่อกับไกรทองผู้เรืองเวทมนตร์จากจังหวัดนนทบุรี มาทำการปราบถึงตายปัจจุบันชื่อในเรื่องไกรทองได้กลายเป็นชื่อตำบลชื่อหมู่บ้านตามท้องเรื่องหลายแห่ง เช่น บ้านเศรษฐี เกาะศรีมาลา ดงชาละวัน และสระไข่ ฯลฯ เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธชินราชที่เมืองพิษณุโลก ก็เสด็จผ่านเมืองพิจิตรไปตามแม่นํ้าน่านเก่า ซึ่งปัจจุบัน (.. 2525) ตื้นเขินเพราะแม่นํ้าเปลี่ยนทางเดินเสียแล้ว
กระแสนํ้าได้เริ่มเปลี่ยนทางเดินเมื่อ พ.. 2410 ชาวจีนที่ทำไร่ฝ้ายบ้านดงเศรษฐี ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร ได้ทำการขุดคลองดงเศรษฐีเพื่อเอามูลดินมาทำปุ๋ยในไร่ฝ้ายตรงนั้นเป็นท้องคุ้ง ดินตํ่า พอถึงฤดูนํ้าไหลแรงทำให้ดินข้างคลองพังลงมามาก กระแสนํ้าจึงไหลทางคลองเรียงที่บ้านท่าฬ่อแล้วเลยไปบรรจบกับคลองท่าหลวงและคลองคันในเขตอำเภอเมืองพิจิตร เลยไปถึงคลองห้วยคต คลองบุษบงเหนือ, ใต้ ของอำเภอบางมูลนาก เกิดเป็นลำนํ้าใหญ่ไหลไปบรรจบกับลำนํ้ายมที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลไปรวมกับแม่นํ้าเจ้าพระยาที่ปากนํ้าโพ ส่วนลำนํ้าน่านเก่า ตั้งแต่บ้านดงเศรษฐี ตำบลคลองคะเชนทร์โรงช้าง เมืองเก่า โพธิ์ประทับช้างของอำเภอเมืองพิจิตร ตำบลวังสำโรงของอำเภอตะพานหิน ตำบลวัดขวาง ทุ่งน้อย ท่าบัว บ้านน้อย จนถึงลำนํ้ายมที่ตำบลบางคลาน ตำบลโพทะเลเล็กตื้นเขิน การสัญจรไปมาทางเรือไม่สะดวกหลวงธรเณนทร์ เจ้าเมืองพิจิตรในขณะนั้น จึงได้ย้ายเมืองพิจิตรเสียใหม่
สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวงธรเณนทร์ (แจ่ม) ได้ทำการย้ายเมืองพิจิตร ในปี พ.. 2424 โดยไปสร้างเมืองพิจิตรใหม่ที่บ้านปากทาง ตำบลปากทาง โดยตั้งศาลากลางจังหวัดเป็นการชั่วคราวขึ้นที่เหนือต้นโพธิ์ใหญ่ ใกล้ปากทางที่จะไปตำบลคลองคะเชนทร์ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณเชิงสะพานพระพิจิตร (สะพานข้ามแม่นํ้าน่านปัจจุบัน) ด้านใต้ ปัจจุบันนี้ต้นโพธิ์ และพื้นดินที่ตั้งศาลากลางจังหวัดชั่วคราวได้ถูกนํ้าพัดพังลงแม่นํ้าน่านไปหมดแล้ว อยู่เกือบจะตรงกลางสะพานพระพิจิตรในขณะนี้ทีเดียว ต่อมา พ.. 2427 จึงได้ย้ายเมืองใหม่อีกเป็นครั้งที่สองโดยย้ายไปตั้งที่บ้านท่าหลวง ตำบลในเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันนี้ (.. 2525)
ปี พ.. 2441 พระศรีเทพบาล (พระยาราชฤทธานนท์) เจ้าเมืองพิจิตรได้สร้างโรงเรียนหลังแรกของพิจิตรขึ้นที่วัดท่าหลวง เปิดเรียนเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.. 2441 มีขุนไพจิตร (เปลี่ยน) เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม พ.. 2443 ได้สร้างโรงเรียนประจำเมืองพิจิตรชื่อโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม เปิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2443
ปี พ.. 2446 ได้มีการปันแขวงปกครองหัวเมือง เมืองพิจิตรแบ่งการปกครองออกเป็น3๓ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางคลาน และอำเภอภูมิ
ปี พ.. 2448 สมัยพระศรีสุริยราชวรภัย (จร) เป็นเจ้าเมืองพิจิตร ได้สร้างกรมทหารเมืองพิจิตรที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าน่าน (ตรงบริเวณวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรปัจจุบัน) ซึ่งกรมทหารราบที่ 17 มีพันตรีหลวงราชานุรักษ์เป็นผู้บังคับการกรมทหารประจำการมี 4 กองร้อย
ปี พ.. 2451 ได้มีการเปิดทางรถไฟจากปากนํ้าโพถึงเมืองพิษณุโลก ซึ่งทางรถไฟสายนี้ผ่านเมืองพิจิตรเดินทางรถไฟสายเหนือเปิดเดินถึงปากนํ้าโพเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟต่อจากปากนํ้าโพถึงเมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตรจึงมีทางรถไฟผ่านด้วย
สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ในปี พ.. 2459 ดังนั้น เมืองพิจิตรจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดพิจิตร และตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการเมือง" เปลี่ยนเป็น " ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร" และในปีเดียวกันนี้ ได้มีการประกาศใช้ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ สำหรับจังหวัดพิจิตรได้เปลี่ยนอำเภอเมืองเป็นอำเภอท่าหลวง อำเภอภูมิ เป็นอำเภอบางมูลนาก ส่วนอำเภอบางคลาน คงเรียกชื่อเดิม ส่วนกรมทหารราบที่ 17 ถูกยุบเลิกไปขึ้นกับกรมทหารราบมณฑลพิษณุโลก
สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.. 2473 พระชาติตระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก โดยสร้างเป็นอาคารสูงชั้นเดียวทรงปั้นหยาออกมุขกลาง ฝากระดาน พื้นกระดาน มุงกระเบื้องซีเมนต์ สร้างบ้านพักหัวหน้าศาลหลังหนึ่งเป็นอาคารสองชั้นทรงสมัยใหม่ สร้างบ้านพักนายตำรวจและสร้างบ้านพักหัวหน้าส่วนราชการอีกหลายหลังและในสมัยรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.. 2479 ได้มีการตั้งเทศบาลเมืองพิจิตรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีอาณาเขตของเทศบาลเมืองพิจิตรเพียง 1.88 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น นายกเทศมนตรีคนแรกคือ หลวงประเทืองคดี (ปัจจุบัน พ.. 2529 อาณาเขตของเทศบาลเมืองพิจิตรมี 12.17 ตารางกิโลเมตร)
ปี พ.. 2481 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอท่าหลวงเป็นอำเภอเมืองพิจิตร และก่อนหน้านั้นมีการย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลบางคลานไปตั้งใหม่ที่บ้านโพทะเล จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางคลานเป็นอำเภอโพทะเล ในปี พ.. 2480
นอกจากนี้ยังมีการตั้งกิ่งอำเภอตะพานหินขึ้นในปี พ.. 2479 และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.. 2484 ตั้งอำเภอสามง่ามในปี พ.. 2481
รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีการตั้งกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ในปี พ.. 2510 ซึ่งยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.. 2516  ปี พ.. 2518 ตั้งกิ่งอำเภอวังทรายพูน ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.. 2524 และในปี พ.. 2527 ตั้งกิ่งอำเภอทับคล้อ
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล
การจัดระเบียบการปกครองของไทย ซึ่งจัดหน่วยการปกครองออกเป็น หน่วยราชการบริหารส่วนกลาง และหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งการปกครองส่วนภูมิภาคสมัยก่อนนั้น
ส่วนภูมิภาคจะจัดการปกครองกันเอง การปกครองโดยที่ส่วนภูมิภาคจัดการปกครองกันเองนี้ เรียกว่า  "ระบบกินเมือง"
ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้นำรูปการปกครองแบบระบบเทศาภิบาลมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ในการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งส่วนกลางปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมูบ้าน ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นสัดส่วน และส่วนกลางจะจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางไปบริหารราชการตามท้องที่ต่าง ๆ เหล่านั้นแทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดการปกครองกันเอง ซึ่งนับว่าเป็นการริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
ในปี พ.. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงจัดตั้งมณฑลพิษณุโลกเป็นมณฑลแรก ประกอบด้วยเมือง 5 เมือง คือเมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร เมื่อเริ่มต้นมณฑลเทศาภิบาลเมืองพิจิตรขึ้นอยู่กับมณฑลพิษณุโลก และเมืองพิจิตรมีเมืองหนึ่งเมืองคือ "เมืองภูมิ" (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอบางมูลนาก) เมืองภูมินี้ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน ร.. 112 (.. 2436) ดังนี้ :-
เมืองพิจิตร
ผู้ว่าราชการเมือง                 พระยาเทพาธิบดี
ปลัด                                หลวงศรีสงคราม
ยกกระบัตร                        หลวงเสนาราช
ผู้ช่วย                               หลวงวิเศษภักดี
เมืองขึ้นเมืองพิจิตร
เมืองภูมิ
ผู้ว่าราชการเมือง                 พระณรงค์เรืองเดช
ในปี พ.. 2446 ได้มีการปกครองหัวเมืองสำหรับเมืองพิจิตรแบ่งออกเป็น 3 อำเภอด้วยกันคือ อำเภอเมือง อำเภอบางคลาน และอำเภอเมืองภูมิ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

ในปี พ.. 2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 ยกเลิกมณฑลเทศาภิบาล ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด อำเภอ จังหวัดนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น ส่วนการตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ประวัติศาสตร์จังหวัดพิษณูโลก
ตราประจำจังหวัด


รูปพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก
คำขวัญประจำจังหวัด
พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

 พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนานควบคู่มากับประวัติศาสตร์ของไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที อกแตก การเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกมาเปลี่ยนในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
ก่อนที่ราชวงศ์พระร่วงซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 นั้น ราชวงศ์ที่มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ คือ ราชวงศ์ศรีนาวนำถม พ่อขุนศรีนาวนำถมเสวยราชเมืองเชลียงตั้งแต่ราว พ.. 1762 พระองค์มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมืองครองเมืองราด และพระยาคำแหงพระราม ครองเมืองพิษณุโลก ภายหลังจากที่พ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลญลำพง เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้ขุนบางกลางหาว ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัย และได้เฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรี อินทราทิตย์
สมัยกรุงสุโขทัย
เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมืองจนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงได้ยึดเป็นสองแคว เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย ครั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ท่านได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงความเจริญ เป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝายสนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลก ไปสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระศรีรัตนมหาธาตุ
ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพิษณุโลก ในช่วงที่พระเจ้าลิไทเสด็จมาประทับเท่าที่หลักฐานเหลืออยู่ น่าจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพิษณุโลกในช่วงนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศูนย์กลางการติดต่อที่สาคัญของลุ่มแม่น้ำน่าน
พิษณุโลกในช่วงรัชกาลพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลไม่พบหลักฐานว่าได้มีบทบาทนอกเหนือไปจากเมืองหลวงของรัฐกันชนเล็ก ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้สำหรับเป็นอนุสาวรีย์ ซึ่งยังคงอยู่ทุกวันนี้ คือ การสร้างรอยพระพุทธบาทคู่พร้อมกับศิลาจารึก ไว้ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.. 1970 พระองค์สิ้นพระชนม์ในปี พ.. 1981 ที่เมืองพิษณุโลก พระยาอุธิษเฐียรโอรสของพระยารามได้ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ต่อมาระหว่าง พ.. 1981-1994 จึงเอาใจออกห่างเป็นกบฏ พาพลเมืองไปร่วมกับพระเจ้าเชียงใหม่ ทางอยุธยาจึงส่งเจ้านายขึ้นมาปกครองเมืองพิษณุโลก แล้วผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมือง การปกครองยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.. 2006-2031 รวมเวลา 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก ในรัชสมัยของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตาแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.. 2112-2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลกเป็นนักรบกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนา พิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐทางเหนือคือ ล้านนาและ กรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน มีผลให้พิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ พิษณุโลกเป็นเส้นทางผ่านสินค้าของป่า และผลิตผลทางเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัย การคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่ง ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบันที่พิษณุโลกมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับว่าพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทาง เศรษฐกิจ คือ เป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา
ด้านการปกครอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่จัดระเบียบการ ปกครองที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดีเป็นผู้ช่วยในการบริหารงาน คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ อยู่ในความ ดูแลของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความ ดูแลของกรมท่า
ด้านศาสนานั้น แม้ว่าเมืองพิษณุโลก จะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่าง อาณาจักรล้านนา-อยุธยา และพม่า-กรุงศรีอยุธยา มาโดยตลอดแต่การพระศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดัง ปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าพระพุทธรูป และวัดที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา และวัดเจดีย์ยอดทอง เป็นต้น ล้วนแต่เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการทำนุบำรุงมา โดยตลอด
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นใน พ.. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ ปี พ.. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 รูป และในปี พ.. 2025 ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และให้มีการสมโภชน์ถึง 15 วัน พร้อมกันนั้นก็โปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ 13 กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้าง รอยพระพุทธบาทจาลอง เมื่อ พ.. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุกาณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย
ด้านวรรณกรรม หนังสือมหาชาติคำหลวง ได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรมว่าเป็น วรรณคดีโบราณชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีสำคัญที่นักปราชญ์เชื่อว่านิพนธ์ขึ้นใน รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาศและกาศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น
เมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยาเคยเป็นทั้งเมืองราชธานี เมืองลูกหลวงและเมืองเอก ฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทำนุบำรุงในทุก ๆ ด้านสืบต่อกันมา นอกจากบางระยะเวลาที่พิษณุโลกอยู่ในภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้าง แต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญควรมีผู้ที่เข้มแข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมืองจึงทรงแต่งตั้งพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชสำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก โดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี
.. 2318 อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วางแผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าวศึกจึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายรายล้อมเมืองพิษณุโลก กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้ง ๆ ที่มีทหารน้อยกว่า แต่ไม่สามารถจะชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทยและขอให้ทั้งสองฝ่ายหยุดรบกัน 1 วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย เมื่อแม่ทัพไทยและแม่ทัพพม่ายืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้เห็นรูปร่างลักษณะของเจ้าพระยาจักรี แล้วจึงได้กล่าวสรรเสริญว่า “…ท่านนี้รูปงาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์…” และบอกเจ้าพระยาจักรีว่า “…จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิดเราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย พระองค์จึงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยหัวเมืองฝ่ายเหนือทันที
ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ทราบว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีทางฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าถ้าชักช้าไม่ทันการณ์ จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร กองทัพเมืองกำแพงเพชรยกไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทย ไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลก และต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย
ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริ เห็นว่าไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จพาทัพผ่านบ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์
พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ตั้งแต่ช่วงของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงก่อนการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วนภูมิภาค มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช

เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของประเทศไทย มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 15,000 คน ซึ่งเป็นชาวจีนประมาณ 1,112 คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกันคือ เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสอนสำแดง ชุมแสงสงครามพิบูล พิพัฒน์ นครชุม ทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้ และการเกณฑ์แรงงานไพร่ พ.. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระทั่นั่งอรรคราชวรเดชและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นกำลังทรงผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย เมื่อเสด็จถึงเมืองพิษณุโลกได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ 2 วัน จึงเสด็จกลับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทุกพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช และเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวนี้ ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ 5 นั้นพระองค์ทรงประทับใจในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช ถึงกับโปรดให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น

No comments:

Post a Comment