จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย ต,น-ต่อ)



ประวัติศาสตร์จังหวัดนครพนม
ตราประจำจังหวัด


รูปพระธาตุพนม
คำขวัญประจำจังหวัด
พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบัน เดิมคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นถิ่นเดิมของชาวลวะหรือละว้ายกเว้นดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขตของชาติมอญ อาณาจักรสุวรรณภูมิ แบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น 3 อาณาเขต คือ
1. อาณาเขตทวาราวดี มีเนื้อที่อยู่ในตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกของอ่าวไทยจนถึงชายทะเลตะวันออก มีเมืองนครปฐม (นครชัยศรี) เป็นราชธานี
2. อาณาเขตยางหรือโยนก อยู่ตอนเหนือ ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
3. อาณาเขตโคตรบูรณ์ (น่าจะเขียนว่า โคตรบูร หรือ โคตบูร ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งพระอาทิตย์ เพราะอยู่ทางทิศตะวันออก บูร มาจากคำภาษาบาลีสันสกฤตว่า ปุระ แปลว่า เมือง  ส่วน บูรณ์ มาจากภาษาเดียวกันว่า ปูรณะ แปลว่า เต็ม – ผู้จัดทำ)  ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งฝั่งซ้ายของแม่น้าโขงมีเมืองนครพนมเป็นราชธานี
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองนครพนม ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอจะรวบรวมได้ความว่า เป็นเมืองสืบเนื่องมาจากนครอาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และได้ย้ายมาตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อาณาจักรโคตรบูรณ์ เป็นแคว้นหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งในสมัยนั้น มีแคว้นต่าง ๆ ตั้งอยู่ลุ่มฝั่งแม่น้ำโขงหลายแคว้น เช่น แคว้นสิบสองจุไทย แคว้นลานช้าง แคว้นเวียงจันทน์ แคว้นโคตรบูรณ์ แคว้นจำปาศักดิ์ เป็นต้น แต่ละแคว้นมีเจ้านครเป็นผู้ปกครอง
ส่วนตำนานของเมืองโคตรบูรณ์นั้น จากหลักฐานในพงศาวดารเหนือ คำให้การของชาวกรุงเก่าพงศาวดารเขมรและเรื่องราวทางอีสาน เขียนเป็นข้อความพาดพิงคล้ายคลึงกันเป็นนิทานปรัมปรา สรุปได้ความว่า พระยาโคตรบองมีฤทธิ์ใช้กระบองขว้างพระยาแกรกผู้มีบุญซึ่งขี่ม้าเหาะมา ขว้างไม่ถูกจึงหนีไปได้ธิดาพระเจ้าลานช้าง บางฉบับก็ว่า พระยาโคตรบองมาจากลพบุรีบ้าง มาจาก เวียงจันทน์ มาจากเมืองระแทงบ้าง มาจากเมืองสวรรคบุรีบ้าง แต่ในฉบับคำให้การของชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นโอรสพระร่วง หนีมาจากกรุงสุโขทัย ได้มาครองเมืองลานช้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะได้กับธิดาพระเจ้าเวียงจันทน์ แล้วพระราชบิดาจึงให้มาครองเมืองโคตรบูรณ์ เป็นเมืองลูกหลวงขึ้นแก่นครลานช้าง
แต่ฉบับเขียนไว้ทางภาคอีสานว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต มีพระราชประสงค์จะให้ราชบุตรองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าโคตะ (คงเป็นราชบุตรเขย) ครองเมือง จึงได้สร้างเมือง ๆ หนึ่งที่ปากน้ำหินบูรณ์ (ตรงข้ามอำเภอท่าอุเทนในปัจจุบัน) ให้ชื่อเมืองศรีโคตรบูรณ์เป็นเมืองลูกหลวงขึ้น เมืองเวียงจันทน์ตั้งให้เจ้าโคตะเป็นพระยาศรีโคตรบูรณ์ สืบเป็นเจ้าครองนครมาได้หลายพระองค์ จนถึงพระองค์ที่มีฤทธิ์ด้วยกระบอง จึงได้พระนามว่า พระยาศรีโคตรบอง และได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวก ห้วยศรีมังริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย (คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบันนี้) เมื่อพระยาศรีโคตรบองถึงแก่อนิจกรรม เจ้าสุบินราช โอรสพระยาศรีโคตรบอง ครอบครองนครสืบแทนพระนามว่า พระยาสุมิตรธรรมราช เมื่อถึงแก่อนิจกรรม เจ้าโพธิสารราชโอรสครองนครสืบแทน อำมาตย์ได้ผลัดเปลี่ยนกันรักษาเมือง
จนถึง พ.ศ. 2286 เจ้าเมืองระแทงให้โอรส 2 พระองค์ เสี่ยงบ้องไฟองค์ละกระบอก ถ้าบ้องไฟของใครไปตกที่ใดจะสร้างเมืองให้ครอง บ้องไฟโอรสองค์ใหญ่ไม่ติด จึงได้ครองเมืองระแทงแทน บ้องไฟองค์เล็กตกที่ห้วยขวาง (เวลานี้เรียกว่าเซบ้องไฟ) ใกล้เมืองสร้างก่อและดงเชียงซอน จึงดำรัสสร้างเมืองที่นั่น แต่อำมาตย์คัดค้านว่าทำเลไม่เหมาะประจวบกับขณะนั้นผู้ครองนครศรีโคตรบูรณ์ว่างอยู่ อำมาตย์จึงเชิญเจ้าองค์นั้นขึ้นครองนคร โดยมีพระนามว่าพระยาขัติยวงษาราชบุตรมหาฤๅไชยไตรทศฤๅเดชเชษฐบุรี ศรีโคตรบูรณ์หลวง ได้ซ่อมแซมบ้านเมือง วัด จนถึง พ.ศ. 2297 จึงพิราลัย เจ้าเอวก่านโอรสขึ้นครองนครแทน มีพระนามว่า พระบรมราชา พระบรมราชาครองนครโคตรบูรณ์ได้ 24 ปี จึงพิราลัย เมื่อ พ.ศ. 2321 ท้าวคำสิงห์ ราชบุตรเขยพระบรมราชาได้นำเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าเวียงจันทน์ พระเจ้าเวียงจันทน์โปรดให้ท้าวคำสิงห์ครองเมืองโคตรบูรณ์แทนพระบรมราชา และมีพระนามว่า พระนครานุรักษ์ ผู้ครองนครนี้เห็นเมืองศรีโคตรบูรณ์ มิได้ตั้งอยู่ที่ปากน้ำหินบูรณ์อย่างเก่าก่อน (คือขณะนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกปัจจุบัน) จึงให้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ เรียกว่าเมืองมรุกขะนคร นามเมืองศรีโครตบูรณ์จึงเลือนหายไปตั้งแต่นั้น
ในการที่ท้าวคำสิงห์ได้ครองเมืองโคตรบูรณ์ครั้งนั้น ท้าวกู่แก้ว โอรสพระบรมราชาซึ่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ตั้งแต่ชนมายุได้ 15 ชันษา ทราบว่าท้าวคำสิงห์ได้ครองนครแทนบิดาก็ไม่พอใจ จึงทูลลาเจ้านครจำปาศักดิ์ขึ้นมาเกลี้ยกล่อมราษฎรได้กำลังคนเป็นอันมาก แล้วสร้างเมืองขึ้นที่บ้านแก้งเหล็ก ริมห้วยน้ำยม เรียกว่าเมืองมหาชัยกอบแก้วตั้งแข็งเมืองอยู่ พระนครานุรักษ์ (คำสิงห์) ทราบจึงไปขอกำลังจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แต่ไม่ได้จึงไปขอจากเมืองญวนได้มา 6,000 คน แล้วจัดให้พลญวนพักอยู่ที่เมืองคำเกิด เพราะเกรงว่าท้าวกู่แก้วจะรู้ตัว ในระหว่างที่พระนครานุรักษ์เตรียมไพร่พลจะไปสมทบกับญวนนั้น ท้าวกู่แก้วทราบก่อนจึงยกไพร่พล 4,000 คน คุมเครื่องบรรณาการไปหาแม่ทัพญวนที่เมืองคำเกิดโดยแอบอ้างว่าเป็นเจ้าเมืองมรุกขะนคร ฝ่ายญวนหลงเชื่อจึงสมทบไปตีเมืองมรุกขะนครแตก พระนครานุรักษ์จึงพาครอบครัวหนีข้ามแม่น้ำโขงไปอยู่ที่ดงเซกาฝั่งขวาแม่น้าโขงแล้วแต่งคนไปขอกำลังจากเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าเวียงจันทน์ให้พระยาเชียงสาเป็นแม่ทัพมาช่วยโดยตั้งค่ายอยู่ที่บ้านหนองจันทน์ (ใต้เมืองนครพนมปัจจุบัน 4 กิโลเมตร) ฝ่ายหนึ่งตั้งอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรีบุญเรืองอีกค่ายหนึ่ง แล้วจัดไพร่พลทั้งสองค่ายกระจายเป็นปีกกาโอบถึงกันเพื่อจะโจมตีเมืองมรุกขะนคร ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม (เมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกปัจจุบัน) ฝ่ายทัพญวนซึ่งตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจัดทำสะพานเป็นแพลูกบวบจะยกข้ามแม่น้ำโขงมาโจมตีทัพ พระยาเชียงสา ฝ่ายพระยาเชียงสาใช้ปืนยิงตัดสะพานแพบวบขาด แล้วยกกำลังเข้าสู้รบกับญวนกลางแม่น้ำโขงถึงตะลุมบอน พระยาเชียงสาได้ชัยชนะฆ่าญวนตายเป็นจำนวนมาก ศพลอยไปติดเกาะ เกาะนี้จึงได้ชื่อเรียกกันต่อ ๆ มาว่า ดอนแกวกอง(ดอน คือ เกาะ แกว คือ ญวน กอง คือ สิ่งที่ทับถมกัน – ผู้จัดทำ) มาจนทุกวันนี้ พระยาเชียงสาได้เกลี้ยกล่อมท้าวกู่แก้วให้ยินยอมแล้วให้ท้าวกู่แก้ว ครองเมืองนครมรุกขะนครต่อไป ส่วนพระนครานุรักษ์นั้น พระยาเชียงสานำไปเวียงจันทร์ด้วย และให้ครองเมืองใหม่ซึ่งอยู่ที่บ้านเวินทราย
สมัยกรุงธนบุรี
ในปี พ.. 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร แห่งเวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพไปตีพระตา พระวอที่บ้านกู่บ้านแกแขวงจำปาศักดิ์ ฆ่าพระวอตาย พระตาเห็นเหลือกำลังจึงขอกองทัพกรุงธนบุรีมาช่วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระยาสุรสีห์ยกทัพไปปราบปรามได้เมืองเวียงจันทน์ เมืองหนองคาย เมืองมรุกขะนคร ส่วนพระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์และพระบรมราชาเจ้าเมืองมรุกขะนครหนีไปอยู่เมืองคำเกิด
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเสร็จจากการปราบปรามหัวเมืองเหล่านี้ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางและได้นำบรรดาโอรสพระเจ้าศิริบุญสารลงไปกรุงธนบุรีด้วย

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้น พ.. 2325 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชย์แล้ว ได้ทรงชุบเลี้ยงโอรสของพระเจ้าศิริบุญสารอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นอย่างดี พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งอยู่ที่เมืองคำเกิดได้ 5-6 ปี ทรงชราภาพ ทราบว่า โอรสอยู่ด้วยความผาสุกจึงเสด็จกลับเมืองเวียงจันทน์ หวังจะขอสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาซึ่งทรงนิพนธ์โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า เจ้าศิริบุญสารกลับจากเมืองคำเกิด จับพระยาสุโภ ซึ่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้รักษาเมืองอยู่ฆ่าแล้วเข้าตั้งอยู่ในเมือง ท้าวเฟี้ยขุนบางไม่ยินยอมด้วย จึงหนีลงมากรุงเทพฯ กราบทูลฯ ให้ทราบ) แต่ไม่ทรงวางพระทัย จึงตั้งให้เจ้านันทเสนโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าศิริบุญสารที่อยู่กรุงเทพฯ ให้กลับไปครองเมือง มรุกขะนครสืบแทน
ครั้นถึง พ.. 2337 เจ้านันทเสนแห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้คบคิดกับพระบรมราชาทำหนังสือขอกำลังจากญวนเพื่อมารบกับกรุงสยาม ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินญวนมีความจงรักภักดีต่อกรุงสยาม จึงส่งหนังสือนั้นไปถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกเจ้านันทเสนและพระบรมราชาลงไปเฝ้าที่กรุงเทพฯ เมื่อได้ไต่สวนความจริงแล้ว จึงยกโทษให้และได้แต่งตั้งให้พระเจ้าอินทวงษ์อนุชาเจ้านันทเสนให้ไปครองเมืองเวียงจันทน์แทน
ครั้นถึง พ.. 2338 เกิดศึกพม่าทางเมืองเชียงใหม่ กองทัพไทยต้องไปปราบปรามเจ้านันทเสนกับพระบรมราชาขออาสาไปในกองทัพ ยกกองทัพไปถึงเมืองเถิน พระบรมราชา (พรหมมา) ก็ถึงแก่อนิจกรรม ท้าวสุดตาซึ่งเป็นโอรสของพระบรมราชาจึงนำเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่กรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุดตาเป็นพระบรมราชาครองเมืองมรุกขะนครและให้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่ว่า "เมืองนครพนม" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ การที่พระราชทานชื่อว่าเมืองนครพนมนั้นอาจเนื่องด้วยเมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงให้ใช้คำว่า นคร ส่วนคำว่า พนม นั้นอาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีพระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็น ปูชนียสถานสำคัญหรืออีกประการหนึ่ง อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้เดิมมีอาณาเขตเกินไปถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือบริเวณเขตเมืองท่าแขกแห่งประเทศลาวปัจจุบัน ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนไปถึงแดนประเทศญวน จึงนำเอาคำว่า "พนม" มาใช้เพราะพนมแปลว่า ภูเขา ส่วนคำว่า "นคร" นั้นอาจรักษาชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขะนครนั่นเอง
ต่อมาปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม อมาตยกุล) เป็นแม่ทัพ ส่วนทางนครเวียงจันทน์ก็ให้พระยาสุโภเป็นแม่ทัพยกกำลังมาสมทบกองทัพพระยามหาอำมาตย์ เพื่อโจมตีบ้านกวนกู่ กวนงัว ซึ่งเป็นกบฏและเมื่อได้ชัยชนะจึงได้กวาดต้อนครอบครัวมาไว้ที่เมืองนครพนม โดยที่บ้านหนองจันทร์เป็นที่ทำเลไม่เหมาะพระยามหาอามาตย์จึงให้ย้ายเมืองนครพนมมาตั้งที่บ้านโพธิ์ค้ำ หรือ โพธิ์คำ (เข้าใจกันว่าคงจะเป็นคุ้มบ้านใต้ในเมืองนครพนมนี่เอง)
จนกระทั่งถึง พ.. 2426 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญมากเป็นพระพนมครานุรักษ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครพนม อยู่ได้ 7 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ราชบุตรทองทิพย์บุตร พระพนมนครานุรักษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทน และในปี พ.. 2434 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่โดยเริ่มแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล มีมณฑลลาวกาว (เขตอุบลราชธานีปัจจุบัน) มณฑลลาวเฉียง (เขตเชียงใหม่) และมณฑลลาวพวนเป็นต้น เมืองนครพนมขึ้นอยู่ในเขต ปกครองมณฑลลาวพวน ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองหนองคาย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนประทับอยู่ ณ เมืองหนองคาย
ต่อมาในปี พ.. 2442 ได้ปรับปรุงระเบียบการปกครองข้อบังคับการปกครองหัวเมืองโดยแต่งตั้งให้มีผู้ว่าราชการเมือง และกรมการเมือง คือแทนที่จะเรียกว่าอุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตร ดังแต่ก่อนพร้อมได้แต่งตั้งตำแหน่งกรมการในทำเนียบขึ้นเรียกว่าปลัดเมืองยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการพร้อมได้แต่งตั้งตำแหน่งกรมการในทำเนียบขึ้นเรียกว่า ปลัดเมืองยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการเมืองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดโต๊ะเป็น พระพิทักษ์พนมนคร ดำรงตำแหน่งปลัดเมือง ส่วนข้าหลวงประจาบริเวณซึ่งเป็นข้าราชการที่กระทรวงมหาดไทยส่งมาประจำนั้น ก็ทำหน้าที่เป็นข้าหลวงดูแลราชการเมืองควบคุม และให้ข้อปรึกษาแนะนาผู้ว่าราชการเมือง กรมการเมืองปรับปรุงการงานให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน ที่จัดและเปลี่ยนแปลงใหม่เมื่อ พ.. 2454 พระจิตรคุณสาร (อุ้ย นาครทรรพ) ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองนครพนม ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพนมนครานุรักษ์ ต่อมาทางราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2457 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ โดยมีมณฑล จังหวัด อำเภอ และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้ปกครองบังคับบัญชา ฉะนั้น พระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) จึงนับว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมามีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.ศ. 2437 จนถึง พ.ศ. 2458 จึงสำเร็จ และเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงขอนำคำจำกัดความของ "การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
"การเทศาภิบาล" คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลางซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความว่า เป็นระบบ การปกครองอาณาเขต ซึ่งเรียกว่า การปกครองส่วนภูมิภาคส่วน มณฑลเทศาภิบาลนั้น คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ ยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและ ลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ในสมัยก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกันแต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้น อยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง 3 แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักรทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น 6 มณฑล ดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริง เมื่อ พ.. 2437 เป็นต้นมาและก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลาดับดังนี้
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่าและได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2439 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร
.. 2440 ได้รวมหัวเมืองมาลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรีเมืองจันทบุรี ระยองและตราด
.. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. 2451 จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษสร้างทางรถไฟสายใต้
.. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑลอีกด้วยเมื่อจะได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1. การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้นและการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด                                                2. อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ประวัติศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา
ตราประจำจังหวัด

รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน
จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองเก่าแก่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในสมัยขอมในสมัยโบราณเป็นเมืองชั้น "เจ้าพระยามหานคร" ในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญ กล่าวคือ เป็นปากประตูสู่ภาคอีสาน และเป็นชุมทางคมนาคมสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั้ง 17 จังหวัดในภาคอีสานอีกด้วย
นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทย เดิมทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 31 กิโลเมตร มีเมืองอยู่ 2 เมือง คือเมือง "โคราช" หรือ "โคราฆะปุระ"  (ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน นครราชสีมา และวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ โดย “เนตรนิมิต”  ว่า โคราช มาจากคำว่า นครอาชญา เขมร (แขมร์) ออกเสียงเป็น “นะคอระอาชญา” แล้วหดลงเป็นนะคอระอาช - นะคอราช และเหลือโคราช – ผูจัดทำ) กับเมือง "เสมา" ทั้ง 2 เมืองโบราณดังกล่าวเคยเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยขอม ปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะคอง
เมืองเสมา ตั้งอยู่ฝั่งใต้ลำตะคอง มีเนินดินกำแพงเมืองและคูเมืองทั้ง 4 ด้านตัวกำแพงสร้างด้วยแลง ยังมีเหลือซากอยู่บ้าง ภายในเมืองมีสระและบึงใหญ่น้อยอาศัยใช้น้ำได้ตลอดปี มีโบราณวัตถุสมัยทวารวดีขนาดใหญ่แสดงอายุของเมืองนี้ 2 อย่าง คือ พระพุทธรูปทำด้วยศิลา เล่ากันว่าแต่แรกตั้งยืนอยู่โดดเดี่ยว แล้วถูกฉุดลากล้มลงแตกหักยับเยิน ต่อมามีผู้เกิดความสังเวช เก็บรวมประกอบเป็นองค์พระวางนอนไว้ จึงเรียกกันว่าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ไป อีกอย่างเป็นธรรมจักรศิลาขนาดวัดผ่าศูนย์กลางราว 1.50 เมตร เวลานี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคลองขวาง ตำบลเสมา ห่างจากถนนมิตรภาพประมาณ 9-10 กิโลเมตร
เมืองโคราฆะปุระ (ความจริง เมืองนี้น่าจะไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย – ผู้จัดทำ?) ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือลำตะคอง ในตำบลโคราช ห่างจากเมืองเสมา ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร หรือห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเนินไปราว 2-3 กิโลเมตร ในบริเวณเมืองมีปราสาทหินย่อม ๆ 2-3 แห่ง แห่งหนึ่งเคยตรวจพบศิวลึงค์ศิลา ขนาดยาว .92/ .28 เมตร กับศิลาทับหลังประตูจำหลักลายเป็นรูปพระอิศวรประทับยืนบนหลังโคอุศุภราช จึงน่าเชื่อว่าปราสาทหินหลังนี้อาจสร้างเป็นเทวสถานฝ่ายนิกายไศวะ เมืองนี้ในสมัยหนึ่งคงเป็นเมืองสำคัญ ตั้งรักษาเส้นทางที่ลงมายังแผ่นดินต่ำทางลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี เพราะอยู่ในที่ร่วมของเส้นทางเดินทางช่องดงพระยาไฟกับดงพระยากลาง
ที่หน้าอำเภอสูงเนินมีศิลาจารึกเป็นภาษาสันสฤตกับภาษาขอมแผ่นหนึ่งหักเป็น 2 ท่อน เดิมอยู่ที่หมู่บ้านบ่ออีกาในเขตเมืองเสมา เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันอายุของเมืองในอำเภอสูงเนิน เนื้อความในจารึกเล่าถึงพระเจ้าศรีจนาศ (หรือ ศรีจนาเศศวร) ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.. 1411

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เมื่อราว พ.. 1800 เศษ พ่อขุนรามคำแหงได้เสวยสิริราชสมบัติกรุงสุโขทัยมีอานุภาพมาก แผ่ราชอาณาเขตกว้างขวาง ดังปรากฏในศิลาจารึกแสดงเขตอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นว่าทิศเหนือตั้งแต่เมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดถึงแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันตกตลอดเมืองหงสาวดี ทางทิศใต้ตลอดแหลมมลายู แต่ทางทิศตะวันออกบอกเขตแดนทางแผ่นดินสูงเพียงตอนเหนือราวท้องที่จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย ไปถึงเวียงจันทน์ เวียงคำเป็นที่สุดไม่ปรากฏชื่อเมืองทางแผ่นดินสูงตอนใต้ กับทั้งทางแผ่นดินต่ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี เช่น เมืองลพบุรี เมืองอยุธยา ปราจีนบุรี เป็นต้น โดยเหตุนี้จึงมีคำสันนิษฐานเกิดขึ้นว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาณาจักรของขอมซึ่งมีกำลังแข็งแรงกว่าอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงจึงไม่อาจแผ่เดชานุภาพเข้ามา แต่เท่าที่ได้สังเกตศึกษาทั้งทางด้านศิลปะและตำนานสงสัยว่าดินแดนเหล่านี้หาได้อยู่ในความปกครองของพวกขอมไม่ หากแต่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรไทยพวกหนึ่งซึ่งมีราชธานี เรียกว่า กรุงอโยธยา เป็นอาณาจักรที่มีมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และสิ่งสำคัญเป็นหลักฐานของอาณาจักรนี้ ก็คือศิลปกรรมอู่ทอง (หรือลพบุรีตอนต้น) อันมีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับศิลปกรรมของขอมอยู่มาจนกระทั่งถูกเข้าใจคลุม ๆ ไปว่าเป็นประดิษฐกรรมของพวกขอมเสียเกือบหมดสิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณวัตถุจำพวกหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เข้าใจว่าจะไม่สันทัดถนัดทำเลย) อาณาจักรอโยธยาคงจะรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ทั้งอำนาจและศิลปศาสตร์ จึงปรากฏในพงศาวดารทางลานนาประเทศว่า พ่อขุนรามคำแหงกับพ่อขุนงำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ขณะยังเยาว์วัยต้องลงมาศึกษาวิชาการ ณ เมืองละโว้ (ลพบุรี) ในแว่นแคว้นนี้ถึงแม้ประเทศกัมพูชาอันมีพระนครหลวง เป็นราชธานีก็คงตกอยู่ในความปกครองระยะหนึ่งระยะใดในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 เพราะตอนปลายพุทธศตวรรษนั้น เมื่ออาณาจักรอโยธยาเปลี่ยนผู้สืบสันติวงศ์ใหม่เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงเกิดขอมแปรพักตร์ขึ้น ถึงกับต้องกรีธาทัพไปกำราบปราบปราม เวลานี้เรื่องราวของอาณาจักรอโยธยายังมืดมัวอยู่ แต่วัตถุพยานชี้ร่องรอยชวนให้ศึกษาค้นคว้ามีประจักษ์อยู่ คือ พระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ซึ่งขุดพบที่วัดธรรมิกราชขนาดใหญ่ที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา กับพระพุทธตรัยรัตนนายก วัดพนัญเชิง ซึ่งมีมาก่อนสร้างพระนครศรีอยุธยา พระเศียรพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่วัดเดิม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมารวมทั้งโบราณวัตถุสถานแบบอู่ทองที่มีอยู่ในพระนครหลวงประเทศกัมพูชา เช่น ที่ปราสาทหินเทพประณม ปราสาทหินนครวัด ตลอดจนศิลาจำหลักบางชิ้นในพิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ อันเป็นของเคลื่อนย้ายไปจากกลุ่มปราสาทหินบรรยงก์เป็นต้น

สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (.. 2199-2231) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดนให้มีป้อมปราการ สำหรับป้องกันรักษาราชอาณาจักรหลายเมือง เช่น นครศรีธรรมราช พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เป็นต้น จึงให้ย้ายเมืองที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเป็นเมืองมีป้อมปราการและคูล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วเอานามเมืองเดิมทั้งสอง คือ เมืองเสมา กับ เมืองโคราฆะปุระ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่า เมืองนครราชสีมา แต่คนทั้งหลายคงยังเรียกชื่อเมืองเดิมติดปากอยู่ จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐมีใบเสมาเรียงรายตลอดมีป้อมตามกำแพงเมือง 15 ป้อม ประตู 4 ประตู สร้างด้วยศิลาแลงมีชื่อดังต่อไปนี้


ทางทิศเหนือ
ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียกประตูน้ำ


ทางทิศใต้
ชื่อประตูไชยณรงค์ นัยหนึ่งเรียกประตูผี

ทางทิศตะวันออก
ชื่อประตูพลล้าน นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก

ทางทิศตะวันตก
ชื่อประตูชุมพล
ประตูเมืองทั้ง 4 แห่งนี้มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤห) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง แต่ปัจจุบันคงเหลือรักษาไว้เป็นแบบอย่างแห่งเดียวเท่านั้น คือประตูชุมพล ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.. 2480 นอกนั้นทั้งประตูและกำแพงเมืองได้ถูกรื้อสูญหมดแล้ว
ในหนังสือเที่ยวตามทางรถไฟพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าถึงตำนานเมืองว่า
ในทำเนียบครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา มีเมืองขึ้น 5 เมือง คือเมืองนครจันทึก อยู่ทางทิศตะวันตก เมือง 1 เมืองชัยภูมิ อยู่ทางทิศเหนือ เมือง 1 เมืองพิมายอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมือง 1 เมืองบุรีรัมย์ อยู่ทางทิศตะวันออก เมือง 1 เมืองนางรอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เมือง 1 ต่อมาตั้งเมืองเพิ่มขึ้นอีก 9 เมือง คือ ทางทิศเหนือ ตั้งเมืองบำเหน็จณรงค์ 1 เมือง จัตุรัส 1 เมือง เกษตรสมบูรณ์ 1 เมือง ภูเขียว 1 เมือง ชนบท 1 เมือง รวม 5 เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเมืองพุทไธสง 1 เมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตั้งเมืองประโคนชัย 1 เมือง รัตนบุรี 1 เมือง ทางทิศใต้ ตั้งเมืองปักธงชัย 1 เมือง เมืองนครราชสีมา จึงมีเมืองขึ้น 14 เมืองด้วยกัน เมื่อสร้างเมืองใหม่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลือกสรรข้าราชการที่เป็นคนสำคัญออกไปครอง ปรากฏว่าโปรดให้พระยายมราช (สังข์) ไปครองเมืองนครราชสีมาพร้อมกับโปรดให้พระยารามเดโช ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเมืองอื่นหาปรากฏนามผู้ไปครองเมืองไม่ ครั้นสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต เมื่อ พ.. 2231 พระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระยายมราชและพระยารามเดโช ไม่ยอมเป็นข้าพระเพทราชา ต่างตั้งแข็งเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นด้วยกัน กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟ พระยายมราชต่อสู้รักษาเมืองนครราชสีมาอยู่ได้พักหนึ่ง แต่สิ้นกำลังต้องหนีไปอยู่กับพระยารามเดโช ณ เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งกองทัพกรุง ฯ ลงไปตีเมืองนครราชสีมาได้ในครั้งพระยายมราช (สังข์) ตั้งแข็งเมืองนั้น คงกวาดต้อนผู้คนและเก็บเครื่องศัตราวุธ ซึ่งมีไว้สำหรับรักษาเมืองนำมาเสียโดยมาก โดยหวังจะมิให้มีผู้คิดแข็งเมืองได้อีก ต่อมาในรัชกาลนั้นเอง มีลาวชาวหัวเมืองตะวันออกคนหนึ่ง ชื่อบุญกว้าง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษกับพรรคพวกเพียง 23 คน กล้าเข้ามาถึงเมืองนครราชสีมาพักอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่งนอกเมือง แล้วให้พระยานครราชสีมาคนใหม่ออกไป พระยานครราชสีมาขี่ช้างออกไป (เดิมเห็นจะตั้งใจออกไปจับ) ครั้นถูกอ้ายบุญกว้างขู่ พระยานครราชสีมากลับครั่นคร้าม (คงเป็นเพราะพวกไพร่พลพากันเชื่อวิชาอ้ายบุญกว้าง) เห็นหนีไม่พ้นต้องยอมเป็นพรรคพวกอ้ายบุญกว้าง แล้วลวงให้ยกลงมาตั้งซ่องสุมผู้คนที่เมืองลพบุรี พระยานครราชสีมาเป็นไส้ศึกอยู่จนกองทัพกรุง ฯ ยกขึ้นไปถึง จึงจับตัวอ้ายบุญกว้างกับพรรคพวกได้
เห็นจะเป็นเพราะที่เกิดเหตุคราวนี้ ประกอบกับที่การรบในกรุง ฯ เป็นปกติสิ้นเสี้ยนหนามแล้ว จึงกลับตั้งกำลังทหารขึ้นที่เมืองนครราชสีมาดังแต่ก่อน ต่อมาปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เจ้าเมืองหลวงพระบางยกกองทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองเวียงจันทน์ขอให้กรุงศรีอยุธยาช่วย จึงโปรดให้พระยาสระบุรีเป็นนายทัพหน้า ให้พระยานครราชสีมา (ซึ่งเข้าใจว่าตั้งใหม่อีก 1 คน) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปช่วยเมืองเวียงจันทน์ กองทัพยกขึ้นไปถึง พวกเมืองหลวงพระบางก็ยำเกรง เลิกทัพกลับไป หาต้องรบพุ่งไม่ แต่นี้ไปก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองนครราชสีมาในหนังสือพระราชพงศาวดาร จนแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เมื่อพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง ปรากฏว่าเกณฑ์ของกองทัพเมืองนครราชสีมาลงมาช่วยป้องกันรักษากรุง ฯ เดิมให้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเจดีย์แดงข้างใต้เพนียด แล้วให้พระยารัตนาธิเบศร์ คุมลงมารักษาเมืองธนบุรี ครั้นกองทัพพม่ายกมาจากเมืองสมุทรสงครามเมื่อเดือน 10 ปีระกา พ.. 2308 พระยารัตนาธิเบศร์หนีกลับขึ้นไปกรุงฯ พวกกองทัพเมืองนครราชสีมาเห็นนายทัพไม่ต่อสู้ข้าศึก ก็พากันกลับไปบ้านเมืองหาได้รบพุ่งกับพม่าไม่ต่อมาเมื่อพม่ากำลังตั้งล้อมพระนครศรีอยุธยา ในปีจอ พ.. 2309 มีเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมาอีกตอนหนึ่ง เหตุด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโทษต้องเนรเทศไปอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ชักชวนพวกชาวเมืองชายทะเลทางตะวันออกยกเป็นกองทัพมาหวังจะมารบพม่าแก้กรุงศรีอยุธยา กรมหมื่นเทพพิพิธมาถึงเมืองปราจีนบุรี ให้กองทัพหน้ามาตั้งปากน้ำโยธกา แขวงจังหวัดนครนายก พม่ายกไปตีกองทัพหน้าแตก กรมหมื่นเทพพิพิธ เห็นจะสู้พม่าไม่ได้ ก็เลยขึ้นไปทางแขวงเมืองนครราชสีมา ไปตั้งที่ด่านโคกพระยาพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก กับหลวงนรินทร์ (ซึ่งได้เข้าเป็นพวกกรมหมื่นเทพพิพิธ) ไปตั้งอยู่ที่เมืองนครจันทึกอีกพวกหนึ่ง กรมหมื่นเทพพิพิธคิดจะชักชวนพระยานครราชสีมาให้เกณฑ์กองทัพลงมารบพม่า แต่พระยานครราชสีมาคนนั้นเป็นอริอยู่กับพระพิบูลสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก แต่งคนร้ายให้มาลอบฆ่าพระพิบูลสงครามกับหลวงนรินทร์เสีย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้ลอบไปฆ่าพระยานครราชสีมาเสียบ้าง แล้วเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้นหลวงแพ่ง น้องพระยานครราชสีมาหนีไปอยู่เมืองพิมายไปเกณฑ์คนยกกองทัพมาจับกรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมตัวไว้ที่เมืองพิมาย ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อวันอังคารขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน พ.. 2310 สิ้นราชวงศ์ที่จะครองพระราชอาณาจักรบ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไป ก็คิดตั้งเป็นเจ้ามีรวมด้วยกัน 5 พรรค  คือ
1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ลงไปตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี มีหัวเมืองอยู่ในอำนาจตั้งแต่ชายแดนกรุงกัมพูชาขึ้นมาจนถึงเมืองชลบุรี และต่อมาถึงข้างขึ้นเดือน 12 ปีกุน พ.. 2310 ได้ยกกองทัพขึ้นมาโจมตีทหารพม่าซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองธนบุรี กับค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา พม่าพ่ายแพ้จนหมดสิ้น แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ แต่งตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
2. เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกมีอำนาจปกครองตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาถึงเมืองนครสวรรค์
3. พระสังฆราชา (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี (ปัจจุบันเป็นอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นทั้งยังอยู่ในสมณเพศ เรียกกันว่าพระฝาง มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่อยู่ข้างเหนือเมืองพิชัย และติดต่อกับแดนเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง
4. พระปลัด (เข้าใจกันว่าชื่อหนู) ผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า เจ้านคร มีอำนาจปกครองหัวเมืองที่ติดต่อกับชายแดนมลายูขึ้นมาจนถึงเมืองชุมพร
5. กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งพระยาพิมายคุมไว้ที่เมืองพิมาย และยกขึ้นเป็นใหญ่ ณ เมืองนั้น เรียกว่าเจ้าพิมาย มีอำนาจปกครองตลอดอาณาเขตของนครราชสีมา เช่น เมืองจันทึก ปักธงชัย บุรีรัมย์ พุทไธสง ชัยภูมิ และภูเขียว เป็นต้น

สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกในวันอังคารขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน พ.. 2310 สิ้นพระราชวงศ์ที่จะปกครองพระราชอาณาจักร บ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ผู้มีกำลังฝีมือหวังจะเป็นใหญ่ในประเทศไทยต่อไปก็คิดตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้า มีรวมด้วยกัน 5 ชุมนุม ดังกล่าวแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีชัยขับไล่พวกพม่าไปจากพระนครศรีอยุธยา และมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานีเรียบร้อยแล้วก็ทรงเริ่มปราบปรามชุมนุมอิสระทั้ง 4 ดังกล่าวมา โดยยกกองทัพไปตีเมืองพิษณุโลก เมื่อฤดูน้ำ ปีชวด พ.. 2311 แต่ไปถูกอาวุธข้าศึกต้องล่าถอยกลับมา พอมาถึงฤดูแล้งในปีชวดนั้น ก็ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา กองทัพกรุงธนบรีที่ยกไปครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กองทัพ กองทัพที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จคุมไปเอง ยกขึ้นไปทางดงพระยาไฟเข้าตีทางด้านตะวันตกทางหนึ่ง ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระราชวรินทร์ กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสรุสิงหนาท เมื่อยังเป็นพระมหามนตรีคุมกองทัพขึ้นไปทางช่องเรือแตก (เข้าใจว่าช่องสะแกราช) เข้าตีทางด้านใต้ทางหนึ่ง ฝ่ายเจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือพระพิมาย) เป็นแม่ทัพใหญ่ ให้มองย่าปลัดทัพพม่าที่หนีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปจากพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ปรึกษา คุมกองทัพมาต่อสู้รักษาเขตแดน ครั้งนั้นกำลังรี้พลของเจ้าพิมายเห็นจะมีน้อยไม่พอรักษาป้อมปราการเอาเมืองนครราชสีมาเป็นที่มั่น จึงปรากฏว่ากองทัพเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านจอหอ ข้างเหนือเมืองนครราชสีมาแห่งหนึ่งแล้วให้บุตรซึ่งเป็นที่พระยาวรวงศาธิราชคุมกองทัพมาตั้งค่ายสกัดทางอยู่ที่ด่านกระโทก (เวลานี้คือ อำเภอโชคชัย) ข้างใต้เมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้ด่านจอหอ จับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ กองทัพพระมหามนตรีและพระราชวรินทร์ตีค่ายด่านกระโทกแตก พระยาวรวงศาธิราชหนีไปทางเมืองเขมรต่ำ กองทัพพระมหามนตรีกับพระราชวรินทร์ตามไปตีได้เมืองเสียมราฐอีกเมืองหนึ่ง เจ้าพิมายรู้ว่ากองทัพเสียทีก็หลบหนีหมายจะไปอาศัยเมืองเวียงจันทน์ แต่ขุนชนะกรมการเมืองนครราชสีมาตามจับมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ จึงทรงตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยานครราชสีมา (ต้นสกุลกาญจนาคม) แต่นั้นก็ได้เมืองนครราชสีมามาเป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังต้องทำการปราบปรามพวกที่ตั้งเป็นอิสระอื่น ๆ เมื่อปราบปรามได้หมดแล้วยังต้องรบกับพม่า ต่อมาอีกหลายปีจึงมิได้จัดวางรูปการปกครองเมืองนครราชสีมาให้เป็นเขื่อนขัณฑ์มั่นคง เพราะเหตุนั้นเมื่อ พ.. 2318 เวลากรุงธนบุรีกำลังติดพันรบพุ่งกับพม่า คราวอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองเหนือ พระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา ไม่ชอบกับพระยานครราชสีมาแต่เดิม เห็นได้ทีจึงเอาเมืองไปขอขึ้นต่อเจ้าโอ ซึ่งครองเมืองจำปาศักดิ์เป็นอิสระอยู่ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าโอคาดว่าไทยคงสู้พม่าไม่ได้ก็รับไว้ พระยานางรองก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา ครั้นพม่าถอยทัพไปแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระยาจักรี เสด็จไปปราบปรามเมื่อ พ.. 2319 เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปยังเมืองนครราชสีมา แล้วให้กองหน้าไปจับได้ตัวพระยานางรองมาชำระความจึงทราบว่าเจ้าเมืองจำปาศักดิ์กำลังเตรียมกองทัพ จึงบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีจะขอไปตีเมืองจำปาศักดิ์ต่อไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมื่อยังดำรงยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพหนุนเข้าไปอีกทัพหนึ่ง เจ้าพระยาทั้งสองยกกองทัพไปตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์และหัวเมืองทางฟากแม่น้ำโขงฝั่งซ้ายจนถึงเมืองอัตบือ ได้หัวเมืองทางริมแม่น้ำโขงข้างใต้ตลอดจนต่อแดนกรุงกัมพูชา ซึ่งเวลานั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีอยู่ ได้ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง คือ เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ ก็ยอมสวามิภักดิ์ขึ้นต่อไทยทั้ง 3 เมือง ในครั้งนั้นราชอาณาเขตกรุงธนบุรีขยายต่อออกไปตลอดแผ่นดินสูงในตอนข้างฝ่ายใต้ เมืองนครราชสีมาได้ปกครองบังคับบัญชาเหล่าหัวเมืองที่ได้ใหม่ เมืองนครราชสีมาจึงเป็นเมืองสำคัญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขงเป็นประเทศราช 3 เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์ เมืองนครพนม และเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองเขมรป่าดงและหัวเมืองดอนที่ไม่ได้ขึ้นต่อประเทศราชทั้ง 3 นั้น และกำกับตรวจตราเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้วย แล้วยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระนครราชสีมาคนแรก ชื่อเดิมคือ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้ เมืองนครราชสีมาได้นำช้างเผือก 2 เชือก ที่คล้องได้ในเขตเมืองภูเขียวขึ้นน้อมเกล้าถวายและได้โปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นระวางเป็นพระอินทรไอยรา และ พระเทพกุญชรช้าง ซึ่งเสาที่ผูกช้างเผือกเมื่อส่งเข้าเมืองนครราชสีมายังคงเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าพ่อช้างเผือก อยู่ริมถนนมิตรภาพ ตรงข้ามโรงเรียนสุรนารีวิทยา
รัชกาลที่ 2 ใน พ.. 2362 มีข่าคนหนึ่งชื่อ อ้ายสาเกียดโง้ง ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษขึ้นที่เมืองสาลวันทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมรวบสมัครพรรคพวกได้หลายพัน ยกทัพมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) สู้ไม่ได้ต้องทิ้งเมืองหนีมา รัชกาลที่ 2 จึงให้พระยานครราชสีมายกกองทัพออกไปปราบปราม และสั่งเจ้าอนุแต่งกองทัพเมืองเวียงจันทน์ลงมาช่วยปราบปรามด้วยอีกพวกหนึ่ง เจ้าอนุจึงให้ราชบุตร (โย้) ซึ่งเป็นบุตรคุมกองทัพไปถึงเมืองจำปาศักดิ์ก่อนกองทัพเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าราชบุตรรบชนะพวกขบถจับได้ตัวอ้ายสาเกียดโง้งกับพรรคพวกเป็นอันมาก ส่งเข้ามาถวายยังกรุงเทพฯ เมื่อเสร็จจากการปราบขบถครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) ให้เป็นเจ้าครองนครจำปาศักดิ์ และทรงไว้วางพระราชหฤทัยในเจ้าอนุ เจ้าอนุจึงมีอำนาจตลอดลาแม่น้ำโขงลงมาจนถึงฝ่ายใต้
รัชกาลที่ 3 .. 2365 เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้กราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ
เมื่อปี พ.. 2369 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ขอครอบครัวลาวที่เมืองสระบุรีซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏโดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร เมื่อเจ้าอนุยกกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาและเข้าโจมตีเมืองนั้น พระยาปลัด (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ เพราะไปปราบการจลาจลที่เมืองขุขันธ์ กองทหารของเจ้าอนุจึงตีเมืองนครราชสีมาได้โดยง่ายและกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2369 ในระหว่างการเดินทางคุณหญิงโมภรรยาพระปลัดได้คิดอุบายกับกรมการเมืองให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรงและประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุตลอดจนเพี้ยรามพิชัย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมให้ความไว้วางใจและพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง แล้วลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัด จนกระทั่งเดินทางมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ ณ ที่นั้น คุณหญิงโมได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง พอตกดึกก็พร้อมกันจับอาวุธไล่ฆ่าทหารเวียงจันทน์ตายเป็นจำนวนมาก แล้วหาชัยภูมิตั้งมั่นอยู่ ณ ที่นั้น เจ้าอนุทราบข่าวก็ให้เจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนใหญ่คุมกำลังทหารเดินเท้าประมาณ 3,200 คน และทหารม้าประมาณ 4,000 คน รีบรุดมาทำการปราบปรามทำการต่อสู้รบกันถึงตลุมบอน แต่คุณหญิงโมก็จัดขบวนทัพ กรมการผู้ใหญ่คุมพลผู้ชาย ตัวคุณหญิงโมคุมพลผู้หญิงออกตีกองทัพพวกเวียงจันทน์แตกยับเยิน พอดีเจ้าอนุได้ข่าวว่ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยชาวเมืองนครราชสีมา จึงต้องรีบถอนกำลังออกจากเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2369 วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาคุณหญิงโมดำรงฐานันดรศักดิ์ เป็นท้าวสุรนารี และพระราชทานเครื่องยศทองคำประดับเกียรติ ดังนี้

- ถาดทองคำใส่เชี่ยนหมาก
๑ ใบ


- จอกหมากทองคำ 
๑ คู่

- ตลับทองคำ
๓ เถา

- เต้าปูนทองคำ
๑ อัน

- คณโฑทองคำ
๑ ใบ

- ขันน้ำทองคำ
๑ ใบ
ในปี พ.. 2376 กองทัพนครราชสีมาได้เป็นกำลังสำคัญในการทำสงครามกับญวนในดินแดนเขมร เพื่อขับไล่ญวนออกจากเขมร เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) ได้ร่วมกับเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ทำการรบด้วยความสามารถ
ปี พ.. 2377 เจ้าพระยานครราชสีมาได้นำช้างพลายเผือกหางดำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโปรดเกล้า ฯ ให้สมโภชขึ้นระวางเป็น พระยามงคลนาดินทร์
ปี พ.. 2380 โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมาทำนุบำรุงเมืองพระตะบองให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยนำชาวเมืองนครราชสีมาจานวน 2,000 คน ไปปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย
ปี พ.. 2383 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) พร้อมด้วยบุตร (พระยาภักดีนุชิต) คุมกำลังพลไปปรามกบฏนักองค์อิ่มที่เมืองพระตะบอง เพราะนักองค์อิ่มได้ปกครองเมืองพระตะบองแทนพระยาอภัยภูเบศร์ แล้วคิดกบฏไปฝักใฝ่กับญวณ โดยจับกุมกรรมการเมืองพระตะบอง รวมทั้งน้องชายของเจ้าพระยานครราชสีมา (พระยาราชานุชิต) และกวาดต้อนครอบครัวหนีไป ทัพจากนครราชสีมาขับเคี่ยวจนถึงปี พ.. 2386 เจ้าพระยานครราชสีมาได้ล้มป่วยจึงกลับมาพักรักษาตัวที่เมืองนครราชสีมา ทำให้การรบยืดเยื้อต่อไปอีกซึ่งการทำสงครามกับญวนนี้เมืองนครราชสีมาเป็นกำลังสำคัญของราชการทัพมาโดยตลอด
ปี พ.. 2387 เมืองนครราชสีมาได้นำช้างพลาย 3 เชือก น้อมเกล้าถวายรัชกาลที่ 3 คือ พลายบาน พลายเยียว พลายแลม
ปี พ.. 2388 ได้นำช้างพลาย 2 เชือก น้อมเกล้าถวายรัชกาลที่ 3 อีกครั้ง คือ พลายอุเทน และพลายสาร
รัชกาลที่ 4 เมืองนครราชสีมามีความเจริญมากขึ้น เป็นศูนย์กลางการค้าขายของหัวเมืองทางตะวันออก เพราะมีสินค้าที่พ่อค้าต้องการมาก เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ นอแรด งา และไหม พวกพ่อค้าเดินทางมาซื้อสินค้าเหล่านี้แล้วส่งไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และซื้อสินค้าจากกรุงเทพฯ มาจำหน่ายในหัวเมืองตะวันออกโดยตลาดกลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา
ในรัชกาลนี้ ทรงปรารภว่าควรจะมีราชธานีห่างทะเลไว้อีกสัก 1 แห่ง ทรงพระราชดำริว่าควรเป็นเมืองนครราชสีมา จึงโปรดเกล้าให้พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปทรงตรวจภูมิประเทศพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมเมื่อได้ทรงตรวจพิจารณาแล้วทรงเห็นว่ายังไม่เหมาะสม เพราะเมืองนครราชสีมาอัตคัตน้ำและการคมนาคมก็ยังลำบาก รัชกาลที่ 4 จึงทรงเปลี่ยนพระทัยมาสร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีแทน และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกราบทูลขอให้เปลี่ยนนามการเรียกดงพระยาไฟเสียใหม่ว่าดงพระยาเย็น เพื่อไม่ให้คนครั่นคร้ามหรือไม่กล้าเดินทางผ่านเข้าไป
รัชกาลที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.. 2417 พวกฮ่อได้เข้ามารุกรานเมืองหนองคายหลายครั้ง และเมืองนครราชสีมาก็เป็นกำลังสำคัญในการจัดกำลังทัพไปปราบฮ่อ
ส่วนวิธีการปกครองเมืองนครราชสีมา ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อ ร.. 110 (.. 2434) โดยโปรดฯ ให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงเป็น 3 มณฑล คือ
1. มณฑลลาวพวน มี เมืองหนองคายเป็นที่ว่าการมณฑล
2. มณฑลลาวกาว มี เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นที่ว่าการมณฑล
3. มณฑลลาวกลาง มี เมืองนครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑล
สำหรับมณฑลลาวกลางนั้นมีกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเมื่อได้จัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ให้เปลี่ยนนามมณฑลทั้ง 3 เสียใหม่ คือ มณฑลลาวพวน เป็น มณฑลอุดร  มณฑลลาวกาว เป็น มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล มณฑลลาวกลาง เป็นมณฑลนครราชสีมา
ในด้านการคมนาคม ได้มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา ใน พ.. 2434 ซึ่งเป็นทางรถไฟของรัฐบาลสายแรก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเปิดทางรถไฟเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.. 2443 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเมืองนครราชสีมาจนเท่าทุกวันนี้
เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราชสีมาในรัชกาลนี้คือในปี พ.. 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และต่อมาได้มีการทดลองการเกณฑ์ทหารแบบใหม่ที่มณฑลนครราชสีมาเป็นแห่งแรก ปรากฏว่าได้ผลดีจึงขยายไปยังมณฑลอื่น ๆ
รัชกาลที่ 6 ใน พ.. 2456 สมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เสด็จกรมทหารม้าที่ 5 ที่มณฑลนครราชสีมา และทรงรับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ 5 มณฑลนครราชสีมา
ในปี พ.. 2463 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
เสนาธิการทหารบก เสด็จตรวจราชการทหารที่มณฑลนครราชสีมา
รัชกาลที่ 7 ใน พ.. 2475 หลังจากเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วได้ยกเลิกการจัดทำเมืองมณฑลเทศาภิบาลและจัดใหม่เป็นภาค มณฑลนครราชสีมาเปลี่ยนเป็นภาคที่ 3 มีหัวเมืองอยู่ในความปกครอง 6 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ในปี พ.. 2476 ได้เกิดกบฏบวรเดช โดยมีพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชอดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นหัวหน้า ได้ทำการยึดนครราชสีมาเป็นกองบัญชาการ เพื่อรวบรวมกำลังพลในการที่จะเข้ายึดพระนครเพื่อบังคับให้คณะรัฐบาลของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออก ในการก่อการกบฏครั้งนี้ข้าราชการเมืองนครราชสีมาส่วนหนึ่งถูกควบคุมตัวไว้ ส่วนประชาชนถูกหลอกลวงว่าได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในพระนคร ทหารจึงจำเป็นต้องไประงับเหตุการณ์ ต่อเมื่อได้ทราบแถลงการณ์จากรัฐบาล จึงเข้าใจว่าการกระทำของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นกบฏ ดังนั้นข้าราชการที่ถูกคุมขังจึงพยายามหลบหนีจากที่คุมขังแล้วรวมกำลังเข้ายึดสถานที่สำคัญเพื่อร่วมมือกับทางรัฐบาล ในการปราบปรามกบฏ
ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันโท หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บังคับการในการปราบปรามกบฏครั้งนี้และทำได้สำเร็จ หัวหน้ากบฏได้หลบหนีเอาตัวรอดไปอยู่ที่ไซ่ง่อน ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2476
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งแรก และได้ประทับแรมที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.. 2498 และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมืองนครราชสีมาอีกหลายครั้ง เช่น เสด็จทอดพระเนตรการเรียนการสอนหลักสูตรมัธยมแบบประสมที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา  เสด็จทำพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา เป็นต้น ยังความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวนครราชสีมาเป็นล้นพ้น

สมัยการจัดรูปการปกครองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
การจัดรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล คือการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้นในส่วนภูมิภาค
สมัยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงจัดให้อำนาจการปกครองซึ่งกระจัดกระจายอยู่เข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง คือมิให้การบังคับบัญชาไปอยู่ที่เจ้าเมืองเพียงคนเดียว (ซึ่งเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวาง)
ระบอบการปกครองแบบเทศาภิบาล เริ่มจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.. 2437 และ สำเร็จทั่วประเทศ เมื่อ พ.. 2458 โดยมีความเป็นมาดังนี้
วันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงแบ่งหน้าที่ระหว่างมหาดไทยและกลาโหมเสียใหม่ โดยให้มหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวง จึงรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล (ยังไม่เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล) มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครองมณฑล จัดตั้งครั้งแรกมี 6 มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง (หรือมณฑลพายัพ) มณฑลลาวพวน (หรือมณฑลอุดร) มณฑลลาวกาว (หรือมณฑลอีสาน) มณฑลเขมร (หรือมณฑลบูรพา) มณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
.. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีมณฑลเทศาภิบาลขึ้นทั้งสิ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี และมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพจากมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ได้สำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.. 2458

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ และยกเลิกมณฑล จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจาจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร
.. 2495 ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 โดยมีสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ
1. จังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. อำนาจบริหารในจังหวัด เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด
3. คณะกรมการจังหวัด เดิมเป็นคณะบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ
จังหวัดให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราประจำจังหวัด

รูปพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช มีตรา 12นักษัตรล้อมรอบ
คำขวัญประจำจังหวัด
เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า 1,800 ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ว่านครศรีธรรมราชมีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย

ชื่อของเมืองนครศรีธรรมราช
จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า นครศรีธรรมราช" ได้ปรากฏชื่อในที่ต่าง ๆ หลายชื่อ ตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมาและสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่านมาในระยะเวลาที่ต่างกัน เช่น
ตมฺพลิงฺคมฺหรือตามฺพลิงฺคมฺ” (Tambalingam) หรือกมลีหรือตมลีหรือกะมะลิงหรือตะมะลิงเป็นภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหานิเทศ (คัมภีร์บาลี ติสฺสเมตฺเตยฺยสุตฺตนิทฺเทศ) ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 คัมภีร์นี้เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณกล่าวถึงการเดินทางของนักเผชิญโชค เพื่อแสวงหาโชคลาภและความร่ำรวยยังดินแดนต่าง ๆ อันห่างไกลจากอินเดีย คือบริเวณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ระบุเมืองท่าต่าง ๆ ในบริเวณนี้ไว้และในจำนวนนี้ได้มีชื่อเมืองท่าข้างต้น อยู่ด้วย ดังความตอนหนึ่งดังนี้
. . เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นเรือไปในมหาสมุทร ไปคุมพะ (หรือติคุมพะ) ไปตักโกละ ไปตักกสิลา ไปกาลมุข ไปมรณปาร ไปเวสุงคะ ไปเวราบถ ไปชวา ไปกะมะลิง (ตะมะลิง) ไปวังกะ (หรือวังคะ) ไปเอฬวัททนะ (หรือเวฬุพันธนะ) ไปสุวัณณกูฏ ไปสุวัณณภูมิ ไปตัมพปัณณิ ไปสุปปาระ ไปภรุกะ (หรือภารุกัจฉะ) ไปสุรัทธะ (หรือสุรัฏฐะ) ไปอังคเณกะ (หรือภังคโลก) ไปคังคณะ (หรือภังคณะ) ไป ปรมคังคณะ (หรือสรมตังคณะ) ไปโยนะ ไปปินะ (หรือปรมโยนะ) ไปอัลลสันทะ (หรือวินกะ) ไปมูลบท ไปมรุกันดาร ไปชัณณุบท ไปอชบถ ไปเมณฑบท ไปสัง กุบท ไปฉัตตบท ไปวังสบท ไปสกุณบท ไปมุสิกบท ไปทริบถ ไปเวตตาจาร . . .
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (Gorge Coedes) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า นักปราชญ์ทางโบราณคดีลงความเห็นว่าชื่อเมืองท่า กะมะลิงหรือ ตะมะลิงข้างต้นนี้ตรงกับชื่อที่บันทึกหรือจดหมายเหตุจีนเรียกว่า ตั้ง-มา-หลิ่งและในศิลาจารึกเรียกว่า ตามพรลิงค์คือ นครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งพระปิฎกจุฬาภัยได้รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลีซึ่งบางท่านมีความเห็นว่ารจนาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 แต่บางท่านมีความเห็นว่ารจนาเมื่อราว พ.. 500 ก็ได้กล่าวถึงดินแดนนี้ไว้ในถ้อยคำของพระมหานาคเสน ยกมาเป็นข้ออุปมาถวายพระเจ้ามิลินท์ (หรือเมนันเดอร์ พ.. 392-413) ดังความตอนหนึ่งว่าดังนี้
. . . เหมือนอย่างเจ้าของเรือผู้มีทรัพย์ ได้ค่าระวางเรือในเมืองท่าต่าง ๆ แล้วได้ชำระภาษีที่ท่าเรือเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถจะแล่นเรือเดินทางไปในทะเลหลวง ไปถึงแคว้นวังคะ ตักโกละ เมืองจีน (หรือจีนะ) โสวีระ สุรัฏฐ์ อลสันทะ โกลปัฏฏนะ-โกละ (หรือท่าโกละ) อเล็กซานเดรีย หรือฝั่งโกโรมันเดล หรือ สุวัณณภูมิ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งนาวาไปได้ (หรือสถานที่ชุมนุมการเดินเรือแห่งอื่น ๆ ). . .
ศาสตราจารย์ซิลแวง เลวี (Sylvain levy) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า คำว่า ตมะลี(Tamali) ที่ปรากฏในคัมภีร์มหานิทเทศนั้นเป็นคำเดียวกับคำว่า ตามพรลิงค์ตามที่ ปรากฏในที่อื่น ๆ ส่วนศาสตราจารย์ ดร. ปรนะวิธานะ (Senarat Paranavitana) นักปราชญ์ชาวศรีลังกา (ลังกา) มีความเห็นว่า คาว่า ตมะลี(Tamali) บวกกับ คมฺ(gam) หรือ คมุ(gamu-ซึ่งภาษาสันสกฤตใช้ว่า ครฺมะ(grama) จึงอาจจะเป็น ตมะลิงคมฺ(Tamalingam) หรือ ตมะลิงคมุ(Tamalingamu) ในภาษาสิงหล และคำนี้เมื่อแปลเป็นภาษาบาลีก็เป็นคำว่า ตมฺพลิงคะ(Tambalinga) และเป็น ตามพรลิงคะ(Tambralinga) ในภาษาสันสกฤต

ตัน-มา-ลิง” (Tan-Ma-ling) หรือ ตั้ง-มา-หลิ่ง
เป็นชื่อที่เฉาจูกัว (Chao-Ju-Kua) และวังตาหยวน (Wang-Ta-Yuan) นักจดหมายเหตุจีนได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ เตา-อี-ชี-เลี้ยว (Tao-i Chih-lioh) เมื่อ พ.. 1769 ความจริงชื่อตามพรลิงค์นี้นักจดหมายเหตุจีนรุ่นก่อน ๆ ก็ได้เคยบันทึกไว้แล้วดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสุงชี (Sung-Shih) ซึ่งบันทึกไว้ว่าเมืองตามพรลิงค์ได้ส่งทูตไปติดต่อทาไมตรีกับจีน เมื่อ พ.. 1544 โดยจีนเรียกว่า ต้น-เหมย-หลิว(Tan-mei-leou) ศาสตราจารย์พอล วิทลีย์ (Paul Wheatley) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า Tan-mei-leou” นั้นต่อมานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนชาวฝรั่งเศสและอังกฤษได้ลงความเห็นคานี้ที่ถูกควรจะออกเสียงว่า “Tan-mi-liu” หรือ “Tan-mei-liu”
มัทมาลิงคัม” (Madamalingam)
เป็นภาษาทมิฬปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ 1 ในอินเดียภาคใต้โปรดให้สลักขึ้นไว้ที่เมืองตันชอร์ (Tanjore) ในอินเดียภาคใต้ระหว่าง พ.. 1573-1574 ภายหลังที่พระองค์ได้ทรงส่งกองทัพเรืออันเกรียงไกรมาปราบเมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรมลายูจนได้รับชัยชนะหมดแล้ว ในบัญชีรายชื่อเมืองท่าต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงตีได้และสลักไว้ในศิลาจารึกดังกล่าวนั้นมีเมืองตามพรลิงค์อยู่ด้วย แต่ได้เรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นชื่อมัทมาลิงคัม
ตามพฺรลิงค์” (Tambralinga)
เป็นภาษาสันสกฤต คือเป็นชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 24 ซึ่งพบที่วัดหัวเวียง (ปัจจุบันเรียกว่าวัดเวียง) ตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สลักด้วยอักษรอินเดียกลาย ภาษาสันสกฤต เมื่อ พ.. 1773
ศิลาจารึกหลักนี้พันตรี de Lajonauiere Virasaivas ได้กล่าวไว้ว่าสลักอยู่บนหลืบประตูสมัยโบราณมีขนาดสูง 1.77 เมตร (ไม่รวมเดือยสาหรับฝังเข้าไปในธรณีประตูด้านล่างและทับหลังด้านบน) กว้าง 45 เซนติเมตร หนา 13 เซนติเมตร ศิลาจารึกหลักนี้มีข้อความ 16 บรรทัด ในปัจจุบัน
นี้ศิลาจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้อ่านและแปลศิลาจารึกหลักนี้ไว้ดังนี้
คำอ่าน
1. สฺวสฺติ ศฺรีมตฺศฺรีฆนสาสนาคฺรสุภทํ ยสฺ ตามฺพฺรลิงฺ
2. เคศฺวระ ส --นิว ปตฺมวํสชนตำ วํศปฺรทีโปตฺภวะ สํรู
3. เปน หิ จนฺทฺรภานุมทนะ ศฺรีธรฺมฺมราชา ส ยะ ธรฺมฺมสาโสกสมานนี
4. ตินิปุนะ ปญฺจาณฺฑวํสาธิปะสฺวสฺติ ศฺรี กมลกุลสมุตฺภฤ (ตฺ) ตามฺ
5. พฺรลิงฺเคศฺวรภุชพลภิมเสนาขฺยายนสฺ สกลมนุสฺยปุณฺยา
6. นุภาเวน พภุว จนฺทฺรสูรฺยฺยานุภาวมิห ลโกปฺรสิทฺธิกีรฺตฺติ
7. ธรจนฺทฺรภานุ-ติ ศฺรีธรฺมฺมราชา กลิยุคพรฺษาณิ ทฺวตริงศาธิกสฺ ตฺรีณิ
8. สตาธิกจตฺวารสหสฺรานฺยติกฺรานฺเต เศลาเลขมิว ภกฺตฺยามฺฤตวรทมฺ - - -
ต่อนั้นไปอีก 7 หรือ 8 บรรทัด อ่านไม่ใคร่ออก สังเกตเห็นได้แต่เพียง
9. - - - - นฺยาทิ ทฺรพฺยานิ ------มาตฺฤปิตฺฤ
10 - - - - - - - - - - สปริโภคฺยา - - - - - - - -
11-12. - - - - - โพธิวฺฤกฺษ
คำแปล
สวสฺติ
พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ ทรงประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา พระองค์สืบพระวงศ์มาจากพระวงศ์อันรุ่งเรือง คือ ปทุมวงศ มีรูปร่างงามเหมือนพระกามะ อันมีรูปงามราวกับพระจันทร์ ทรงฉลาดในนิติศาสตร์เสมอด้วยพระเจ้าธรรมาโศกราช เป็นหัวหน้าของพระราชวงศ์……………ทรงพระนาม ศรีธรรมราช
ศรีสวสฺติ
พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปทุมวงศ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิมีอำนาจ……………ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลซึ่งพระองค์ได้ทาต่อมนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพประดุจพระอาทิตย์ พระจันทร์ และมีพระเกียรติอันเลื่องลือในโลกทรงพระนาม จันทรภานุ ศรีธรรมราช เมื่อกลียุค 4332 - - - -
คำว่าตามพรลิงค์นี้ ศาสตราจารย์ ร...แสง มนวิทูร แปลว่า ลิงค์ทองแดง(แผ่นดินผู้ที่นับถือศิวลึงค์) นายธรรมทาส พานิช แปลว่า ไข่แดง(ความหมายตามภาษาพื้นเมืองปักษ์ใต้) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกเพี้ยนเป็น ตามรลิงค์(Tamralinga) สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงประทานความเห็นว่า ตามพรลิงค์แปลว่านิมิตทองแดงจะหมายเอาอันใดที่ในนครศรีธรรมราชน่าสงสัยมาก พบในหนังสือพระมาลัยคำหลวง เรียกเมืองลังกาว่า ตามพปณยทวีปแปลว่าเกาะแผ่นทองแดงเห็นคล้ายกับชื่อนครศรีธรรมราชที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงเรียกว่า ตามพรลิงค์จะหมายความว่าสืบมาแต่ลังกาก็ได้กระมัง ไมตรี ไรพระศก ได้แสดงความเห็นว่า ตามพรลิงค์น่าจะหมายความว่า ตระกูลดาแดงคือ หมายถึงผิวของคนปักษ์ใต้ซึ่งมีสีดาแดงและอาจจะหมายถึงชนชาติมิใช่ชื่อเมือง และศาสตราจารย์โอ, คอนเนอร์ (Stanley J. O, Connor) มีความเห็นว่าชื่อตามพรลิงค์นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ เพราะศาสนาพราหมณ์เจริญสูงสุดในนครศรีธรรมราช จึงได้ค้นพบโบราณวัตถุสถานมากกว่าที่ใดในประเทศไทย และหลักฐานทางโบราณวัตถุในลัทธิไศวนิกาย (Virasaivas) ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือแพร่หลายในอินเดียภาคใต้ก็พบเป็นจานวนมากในเขตนครศรีธรรมราชก็รองรับอยู่แล้ว
ตมะลิงคาม” (Tamalingam) หรือตมะลิงโคมุ” (Tamalingomu)
เป็นภาษสิงหล ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อักษรสิงหลชื่อ Elu-Attanagalu vam-sa ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.. 1925
นอกจากนี้ในเอกสารโบราณประเภทหนังสือของลังกายังมีเรียกแตกต่างกันออกไปอีกหลายชื่อ เช่น ตมะลิงคมุ(Tamalingamu) ปราฏอยู่ในคัมภีร์ชื่อ ปูชาวลี (Pujavali), ตมฺพลิงคะ” (Tambalinga) ปราฏอยู่ในหนังสือเรื่องวินยะ-สนฺนะ (Vinay-Sanna)๑๘ และในตานานจุลวงศ์๑๙ (Cujavamsa) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “. . . พระเจ้าจันทภานุบังอาจยกทัพจาก ตมฺพลิงควิสัย(Tambalinga – Visaya) ไปตีลังกา . . .” เป็นต้น ชื่อเหล่านี้นักปราชญ์โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อ ตามพรลิงค์ที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 24 ของไทย
กรุงศรีธรรมาโศก
ปรากฏในจารึกหลักที่ 35 คือศิลาจารึกดงแม่นางเมือง พบที่แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จารึกขึ้นเมื่อ พ.. 1710
ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนสีเขียว สูง 1.75 เมตร กว้าง 37 เซนติเมตร หนา 22 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรอินเดียกลายทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาษามคธ มี 10 บรรทัด ตั้งแต่บรรทัดที่ 6 ถึงบรรทัดที่ 10 ชำรุดอ่านไม่ได้ ด้านหลังเป็นภาษาขอม มี 33 บรรทัด ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านและแปลศิลาจารึกหลักที่ 35 ดังนี้
ด้านที่ ๑
คำจารึกภาษามคธ
1. ๐ อโสโก มหาราชา ธมฺเตชพสี
2. วีรอสโม สุนตฺต สาสนา อโว-
3. จ ธาตุปูชเขตฺต ททาหิ ตฺว
4. สุนตฺโต นาม ราชา สาสน สญฺชา-
5. เปตฺวา……..(ต่อไปนี้ชารุด)……..
6. ……………………………………
7. ……………………………………
8. ……………………………………
9. ……………………………………
10. ………………………………….
คำแปลภาษามคธ
๐ อโศกมหาราช ทรงธรรม เดชะ
อำนาจ และมีความกล้าหาผู้เสมอมิได้ มีรับสั่ง
๐ มายังพระเจ้าสุนัตต์ว่า ท่านจงให้ที่นาบูชา
พระธาตุ ฯ พระเจ้าสุนัตต์จึงประกาศกระแส
พระราชโองการให้ประชาชนทราบ ฯ ……..
………………………………………………
……………………… (ชำรุด) …………….
………………………………………………


ด้านที่ ๒
คำจารึกภาษาขอม
1. ๐ พฺระชํนฺวนมหาราชาธิราชดพฺระ
2. นามกุรุงศฺรีธรฺมฺมาโศก ๐ ด
3. พฺระศรีรธาตุ ๐ ดพฺระนามกมฺรเต
4. งชคตศฺรีธรฺมฺมาโศก ๐ นาวิษย
5. ธานฺยปุร ๐ เราะดบาญชียเนะ ๐ บาท
6. มูลอฺนกพรฺณฺณสบภาคสฺลิกปฺรา
7. ดบพฺยร ๐ พานภยพฺยร ๐ เพงปฺรา
8. กภยพฺยร ๐ ตมฺรฺย สตมฺวย
9. ๐ เอฺสะสตมฺวย ๐ นาคสตมฺว
10. ย ๐ ศีวิกาพฺยร พฺระบูชา ๐
11. มวยทินองฺกรลิบวนดบ ๐
12. มหาเสนาบดีมฺวยชฺมาะ
13. ศรีภูพนาทิตฺยอิศฺวรทฺวีป ๐

14. ชาธิราชโมกฺดกุรุงสุนต ด ปฺรภู
15. ตฺรนาธานฺยปฺร ๐ บนฺทฺวลเปฺรชฺวนภูมิ
16. เสฺรนิพนธพฺระบูชากมฺรเตงช
17. คต ๐ ดนวอศฺฏศุนฺยเอกศกบู
18. รฺณฺณมีเกตมาฆอาทิตฺยพารบู
19. รพฺพาสาธมฺวย อนฺดฺวงทิกมฺวย
20. ๐ ศฺรีจมทฺยาหนฺ ๐ กุรุงสุนต
21. เถฺวบูชากมฺรเต () ชคตชฺวนภูมิ
22. เสฺรนิพนฺธเราะดบาญชียเนะเสฺร
23. …………………………………
24. . . . ๐ บูรฺพฺพตลบฉฺทิง ๐ บศฺจิมต 
    รบพฺน
25. . . . ๐ ทกฺษิณตลบบางฉฺวา
26. . . . ๐ อุตฺตรตลบฉฺทิงชฺรูกฺเขฺวะ
27. เสฺรโสฺรงขยำเสฺรตฺรโลมเสฺร
28. ทฺรกงบูรฺพฺพตรบฉฺทิงเปฺรบศฺจิม
29. ตรบศฺรก ๐ ทกฺษิณตลบบิงสฺดก
30. อุตฺตรตลบฉฺทิงเสฺรพฺระชคต ๐ บูรฺพฺพ
31. ตรบก ติง ๐ อเคฺนยตรบ.
32. . . . ๐ อุตฺตรตรบศฺรุก . . .
33. . . . ๐ ผฺสํเสฺรนิพนฺธอนฺเลปฺราม
คำแปลภาษาขอม
สิ่งสักการที่มหาราชาธิราชผู้มีพระนามว่า
กรุงศรีธรรมาโศก ถวายแด่พระสรีร
ธาตุ ซึ่งมีพระนามว่ากมรเตงชดตศรี-
ธรรมาโศก ณ ตำบลธานยปุระ เช่นใน
บัญชีนี้ ข้าบาทมูล ผู้มีวรรณทุกเหล่า
2012, พาน 22, ถ้วยเงิน 22, ช้าง 100,
ม้า 100, นาค 10, สีวิกา สอง เป็น
พระบูชา, วันหนึ่งข้าวสาร 40 ลิ ฯ
     มหาเสนาบดีผู้หนึ่งชื่อศรีภูวนาทิตย์
อิศวรทวีป นากระแสพระราชโองการราชา
ธิราช มายังกรุงสุนัต ผู้ครอบครอง
ณ ธานยปุระ บัณฑูรใช้ให้ถวายที่นาซึ่ง
นาศาสนรา ได้กำหนดเขตไว้แล้ว เป็นพระบูชากมรเตง
ชคต ใน (มหา) ศักราช 1089 ขึ้น 15
ค่ำเดือนสาม วันอาทิตย์ บูรพาษาฒ)
ฤกษ์ เพลา 1 นาฬิกา ฯ
อนึ่ง ความสวัสดีจงมี, เวลาเที่ยง ฯ
กรุงสุนัตทำบูชากมรเตงชคต ถวายที่นา
ซึ่งได้กำหนดเขตไว้แล้ว เช่นในบัญชีนี้นา
……..บูรพาจดฉฺทิง (=คลอง) ปัศจิมจด
ภูเขา……..ทักษิณจดบางฉฺวา……..อุดร
จดฉฺทิงชฺรูกขฺวะ (=คลองหมูแขวะ) นา
โสฺรงขฺยา นาตฺรโลม นาทฺรกง บูรพาจด
คลองเปฺร ปัศจิมจดศฺรก ทักษิณจดบึงสฺดก
อุดรจดคลองนาพระชคต บูรพาจดกํติง
อาคเนย์จด……..อุดรจดศฺรุก……..ผสมนา
ซึ่งได้กำหนดเขตไว้แล้วเป็นห้าอเลอ ฯ

อธิบายคำโดยผู้อ่านและแปล
(1) กรุงศรีธรรมาศก, คำว่า กรุงในภาษขอม เป็นกริยา แปลว่า ครอบ, รักษา, ป้องกัน เป็นนามแปลว่านคร, ราชธานี, บุรี ในภาษาหนังสือหรือในวรรณคดีใช้แทนคำว่าพญา หรือราชา ก็มี เช่น กรุงศรีธรรมาโศก ในศิลาจารึกนี้คือพญาศรีธรรมาโศกหรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกนั่นเอง
เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าศรีธรรมาโศกทั้งสองพระองค์ปรากฏอยู่ในหนังสือเอกสารประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ซึ่งแต่งเมื่อ พ.. ๒๒๗๒ สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระภูมินทรราชา (ขุนหลวงท้ายสระ) เล่าเรื่อง นางเลือดขาวมีใจความตอนหนึ่งเกี่ยวกับพระเจ้าศรีธรรมาโศกทั้งสองพระองค์ว่า
นางและเจ้าพญา (คือนางเลือดขาว และกุมารผู้เป็นสามี) กรีธาพลกลับหลังมายังสทัง บางแก้วเล่าแล กุมารก็เลียบดินดูจะสร้างเมือง ก็มาถึงแขวงเมืองนครศรีธรรมราชและก็สร้างพระพุทธรูปเป็นหลายตาบล จะตั้งเมืองบมิได้ เหตุน้านั้นเข้า หาพันธุ์สักบมิได้ ก็ให้มาตั้ง ณ เมืองนครศรีธรรมราช แลญังพระศพธาตุแลเจ้าพระญา (แลเจ้าพระญา = คือเจ้าพระญา) ศรีธรรมาโศก ลูกเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชนั้นสำหรับข้อความที่ขีดเส้นใต้นั้นหมายความว่าซึ่งมีพระบรมอัฐิของพระเจ้าพระญาศรีธรรมาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของเจ้าพระญาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานอยู่ในที่นั้นตามข้อความที่ยกมานี้พอจะทราบได้ว่า เมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชอยู่สองพระองค์ คือ พระชนกกับพระราชโอรส แต่กระนั้นก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กล่าวมานี้จะตรงกับข้อความในศิลาจารึกหลักนี้หรือไม่ ขอให้นักประวัติศาสตร์ช่วยกันพิจารณาต่อไป
(2) พระสรีรธาตุในที่นี้ หมายเอาพระบรมอัฐิของพระเจ้าศรีธรรมโศกในพระบรมโกศ
(3) กมรเตงชคตศรีธรรมาโศก, คำว่า กมรเตงเป็นภาษาขอมแปลว่า เป็นเจ้าโดยปริยายหมายว่าเป็นที่เคารพนับถือเช่นพระเจ้าแผ่นดินและครูบาอาจารย์เป็นต้น ส่วนคำว่า ชคตนั้นเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า สัตวโลกหรือปวงชนกมรเตงชคต แปลว่า เป็นเจ้าแห่งสัตวโลกหรือเป็นเจ้าแห่งปวงชน เพระฉะนั้นคำว่า กมรเตงชคตศรีธรรมาโศกจึงอาจแปลได้ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศก เป็นเจ้าแห่งสัตวโลกหรือเป็นที่เคารพนับถือของปวงชน อนึ่ง พึงสังเกตว่า คำว่า กมรเตงนั้น ใช้สำหรับนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งที่ยังดำรงชีวิตอยู่หรือสิ้นชีวิตไปแล้วก็ได้ แต่ คำว่า ชคตเช่นในศิลาจารึกนี้ ใช้เฉพาะผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว, ความหมายของคำว่า ชคตนอกจากนี้โปรดดูในพจนานุกรมสันสกฤต
(4) ข้าบาทมูล = ข้าราชการในพระราชสำนัก
(5) วรรณทุกเหล่า = วรรณทั้ง 4 คือ กษัตริย์, พราหมณ์, แพศย์, ศูทร
(6) สีวิกา = วอ, เสลี่ยง, คานหาม
(7) ลิ = เป็นมาตราชั่งตวงของขอมในสมัยโบราณ
(8) ราชาธิราชในที่นี้ = กรุงศรีธรรมาโศกหรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกในบรรทัดแรก
(9) กรุงสุนัต = พระเจ้าสุนัต
(10) กมรเตงชคต, คำว่ากมรเตงชคตในศิลาจารึกนี้ เป็นคำเรียกแทนพระนาม พระเจ้าศรีธรรมาโศกในพระบรมโกศ
(11) (มหา) ศักราช 1089 = .. 1710
(12) บูรพาษาฒ ชื่อฤกษ์ที่ 20 ได้แก่ ดาวแรดตัวผู้ หรือดาวช้างพลาย
(13) อเลอ = แปลง, ห้าอเลอ = ห้าแปลง.
จากศิลาจารึกหลักนี้จะเห็นได้ว่ามีความตอนหนึ่งกล่าวถึงพระราชาจากกรุงศรีธรรมาโศกถวายที่ดิน หรือกัลปนาอุทิศให้ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพ ดังความตอนหนึ่งว่า “. . . สิ่งสักการที่มหาราชาธิราช ผู้มีพระนามว่ากรุงศรีธรรมาโศก ถวายแด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมรเตงชคตศรีธรรมาโศก . . . มหาเสนาบดีผู้หนึ่งชื่อ ศรีภูวนาทิตย์อิศวรทวีปนากระแสพระราชโองการราชาธิราชมา . . .” แม้ศิลาจารึกหลักนี้จะไม่ได้ระบุที่ตั้งของกรุงศรีธรรมาโศกไว้อย่างชัดเจน แต่คำว่า ศรีธรรมาโศกในศิลาจารึกนี้สัมพันธ์กับเรื่องราวของนครศรีธรรมราช ซึ่งพบหลักฐานเอกสารสนับสนุนในสมัยหลังอย่างไม่มีปัญหา เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช และตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช อันเป็นเอกสารโบราณของไทยเป็นต้น
ส่วนเอกสารโบราณของต่างชาติก็ได้พบชื่อนี้เช่นเดียวกัน อย่างในเอกสารโบราณของลังกาที่เป็นรายงานของข้าราชการสิงหลที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บังเอิญในตอนกลับจากกรุงศรีอยุธยาเรือเสียไปติดอยู่ที่ตลิ่งหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ข้าราชการผู้นั้นชื่อ วิลพาเค (Lilbage) ได้กล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้นไว้อย่างน่าสนใจหลายประการ ตอนหนึ่งได้เขียนไว้ เมื่อว้นอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.. 2294 ว่าดังนี้
“. . . ในใจกลางของเมืองนี้มีพระสถูปเจดีย์องค์หนึ่งใหญ่ทัดเทียมกับพระสถูปเจดีย์รุวันแวลิ (Ruvanvali) แห่งเมืองโปโลพนารุวะ (Polonnaruva) ในลังกา พระสถูปเจดีย์องค์นี้กษัตริย์ศรีธรรมาโศก (King Sri Dharmasoka) เป็นผู้ทรงสร้างโดยทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในพระสถูปเจดีย์องค์นี้ด้วย . . .”
ศรีธรรมราช
เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 24 ซึ่งพบที่วัดหัวเวียง (วัดเวียง) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังกล่าวมาแล้ว ศิลาจารึกภาษาสันสกฤตหลักนี้สลักขึ้นเมื่อ พ.. 1773 และได้กล่าวไว้ว่าสลักขึ้นในรัชสมัยของเจ้าผู้ครองแผ่นดินทรงมีอิสริยยศว่าศรีธรรมราชผู้เป็นเจ้าของ ตามพรลิงค์ (ตามพรลิงคศวร)”
ต่อมาชื่อศรีธรรมราชนี้ได้ปรากฏอีกในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งสลักด้วยอักษรไทยและภาษาไทย เมื่อ พ.. 1835 ดังความบางตอนในศิลาจารึกหลักนี้ เช่น
“. . . เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรย หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา . . .” และ “. . . มีเมืองกว้างช้างหลายปราบเบื้องตะวันออกรอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง . . .น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน . . .เมืองพลัว พ้นฝั่งของ เมืองชวาเป็นที่แล้ว . . .” เป็นต้น
สิริธรรมนครหรือสิริธัมมนคร
ชื่อนี้พบว่าใช้ในกรณีที่เป็นชื่อของสถานที่ (คือเมืองหรือนคร) เช่นเดียวกับชื่ออื่น ๆ ที่กล่าวมาแต่หากเป็นชื่อของกษัตริย์มักจะเรียกว่า พระเจ้าสิริธรรมหรือ พระเจ้าสิริธรรมนครหรือ พระเจ้าสิริธรรมราช
ชื่อสิริธรรมนครปรากฏในหนังสือบาลีเรื่องจามเทวีวงศ์ ซึ่งพระโพธิรังสีพระเถระชาวเชียงใหม่เป็นผู้แต่งขึ้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระรัตนปัญญา พระเถระชาวเชียงใหม่เป็นผู้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อ พ.. 2060 และเมื่อมีผู้อื่นแต่งต่ออีก จนแต่งเสร็จเมื่อ พ.. 2071
ส่วนในหนังสือสิหิงคนิทานซึ่งพระโพธิรังสีพระเถระชาวเชียงใหม่ได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อราว พ.. 1945-1985 (ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกนหรือพระเจ้าวิไชยดิสครองราชย์ในนครเชียงใหม่ แห่งลานนาไทย) เรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมราช
โลแค็กหรือโลกัก” (Locae, Loehae)
            เป็นชื่อที่มาร์โคโปโลเรียกระหว่างเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอน เมื่อ พ.. 1835 โดยออกเดินทางจากเมืองท่าจินเจาของจีน แล่นเรือผ่านจากปลายแหลมญวนตัดตรงมายังตอนกลางของแหลมมลายู แล้วกล่าวพรรณนาถึงดินแดนในแถบนี้แห่งหนึ่ง ชื่อโลแค็กซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นลิกอร์หรือนครศรีธรรมราช
ปาฏลีบุตร” (Pataliputra)
เป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณของลังกาที่เป็นรายงานของข้าราชการสิงหลที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งได้กล่าวถึงเมืองนี้ไว้ในตอนเที่ยวกลับเพราะเรือเสียที่ตลื่งหน้าเมืองนี้ โดยเรียกคู่กันในเอกสารชิ้นนี้ว่า เมืองปาฏลีบุตรในบางตอน และ เมืองละคอน(Muan Lakon)๒๗ ในบางตอน เช่น
“. . . ในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.. 2294 ในขณะที่เขากาลังมาถึงเมือง ละคอน (Muan Lakon) ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งของสยาม เรือก็อับปางลงแต่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายและทุกคนได้ขึ้นฝั่งยังดินแดนที่เรียกกันว่าเมืองละคอน ในดินแดนนี้มีเมือง (City) ใหญ่เมืองหนึ่งเรียกกันว่า ปาฏลีบุตร(Pataliputra) ซึ่งมีกาแพงล้อมรอบ ทุกด้าน . . .”
            ในโครงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีของนายสวนมหาดเล็กก็เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชว่า ปาตลีบุตรเช่นกัน ดังที่ปรากฏในโคลงบางบทว่าดังนี้


(37) ปางปาตลีบุตรเจ้า
นัครา

แจ้งพระยศเดชา
ปิ่นเกล้า

ทรนงศักดิ์อหังกา
เกกเก่ง อยู่แฮ

ยังไม่ประนตเข้า
สู่เงื้อมบทมาลย์ ฯ
 ลึงกอร์
เป็นชื่อที่ชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสใช้เรียกชื่อเมืองตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ชื่อลึงกอร์นี้ชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันและเมืองใกล้เคียงใช้เช่นเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าชาวไทยมุสลิมในบริเวณดังกล่าวนี้ไม่เคยเรียกชื่อตามพรลิงค์ว่า นครศรีธรรมราชเลยมาแต่สมัยโบราณยิ่งกว่านั้นแม้แต่คำว่า นครเขาก็ไม่ใช้ เพราะเขามีคำว่า เนการีหรือ เนกรี(Nigri) อันหมายถึงเมืองใหญ่หรือนครใช้อยู่แล้ว ปัจจุบันนี้ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 3 จังหวัดยังคงเรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชว่า ลึงกอร์อยู่บ้างด้วยเหตุนี้ชื่อ ลิกอร์ที่ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และยุโรปชาติอื่นๆ ใช้เรียกชื่อตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช อาจจะเรียกตามที่ชาวมาเลย์และชาวพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยทั้ง 3 จังหวัดใช้ก็ได้ เพราะชาวยุโรปคงจะอาศัยชาวมาเลย์เป็นคนนำทางหรือเป็นล่ามในการแล่นเรือเข้ามาค้าขายกับเมืองท่าต่าง ๆ บนแหลมมลายูตอนเหนือหรือคาบสมุทรไทย
ลิกอร์” (Ligor)
เป็นชื่อที่พ่อค้าชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่สอง หรือเมื่อ พ.. 2061 อันเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยใช้เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช และพบว่าที่ได้เรียกแตกต่างกันออกไปเป็น ละกอร์(Lagor) ก็มี
นักปราชญ์สันนิษฐานว่า คำว่า ลิกอร์นี้ชาวโปรตุเกสคงจะเรียกเพี้ยนไปจากคำว่า นครอันเป็นคำเรียกชื่อย่อของ เมืองนครศรีธรรรมราชทั้งนี้เพราะชาวโปรตุเกสไม่ถนัดในการออกเสียงตัว ” (N) จึงออกเสียงตัวนี้เป็น (L) ดังนั้นจึงได้เรียกเพี้ยนไปดังกล่าว แลัวในที่สุดชื่อ ลิกอร์นี้กลายเป็นชื่อที่ชาวตะวันตกรู้จักกันดีในจดหมายเหตุของวันวลิต (Jeremais Van Vliet) พ่อค้าชาวดัทช์ซึ่งเป็นผู้จัดการห้างฮอลันดา และเข้ามาประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองก็ได้เรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า ลิกูร์(Lijgoor Lygoot)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จอห์น ครอวฟอร์ด (John Crawfurd) ทูตชาวอังกฤษที่เป็นตัวแทนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยก็เรียกนครศรีธรรมราชว่า ลิกอร์
แม้แต่ในปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกก็ยังใช้ชื่อนี้กันอยู่ อย่างชื่อศิลาจารึกหลักที่ 23 ที่พบ ณ วัดเสมาชัย (คู่แฝดกับวัดเสมาเมือง ต่อมารวมกับบางส่วนเป็นวัดเสมาเมือง) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช นั้น ชาวตะวันตกและเอเชียรู้จักกันในนาม จารึกแห่งลิกอร์(Ligor Inscription) นอกจากนี้ยังเรียกด้านที่ 1 ของศิลาจารึกหลักนี้ว่า “Ligor A” และเรียกด้านที่ 2 ว่า Ligor B ดังนั้นนอกจากตามพรลิงค์แล้ว ชื่อเก่าของนครศรีธรรมราชอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง คือ ลิกอร์
ละครหรือลครหรือละคอน
คงจะเป็นชื่อที่เพี้ยนไปจากชื่อ นครอันอาจจะเกิดขึ้นเพราะชาวมาเลย์และชาวตะวันตกเรียกเพี้ยนไป แล้วคนไทยก็กลับไปเอาชื่อที่เพี้ยนนั้นมาใช้ เช่นเดียวกันกับที่เคยมีผู้เรียกนครลำปางว่า เมืองลครหรือ เมืองละกอนเป็นต้น และคงเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารโบราณของฑูตสิงหลที่รายงานไปยังลังกา เมื่อ พ.. 2264 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในชื่อ ปาฏลีบุตรข้างต้นนั้น
นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่าที่ได้เรียกเช่นนี้เพราะว่าเมืองนครเคยมีชื่อเสียงทางการละครมาแต่โบราณ แม้แต่สมัยกรุงธนบุรีเมื่อเมืองหลวงต้องการฟื้นฟูศิลปะการละครยังต้องเอาแบบอย่างไปจากเมืองนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
เป็นชื่อที่อาจารย์ตรี อมาตยกุล และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า คนไทยฝ่ายเหนือเรียกขานนามราชธานีของกษัตริย์ ศรีธรรม-ราชตามอิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ ซึ่งถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาทุกพระองค์ จนเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปและเป็นเหตุให้มีการขนานนามตามชื่ออิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ ซึ่งได้ใช้เรียกขานกันมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อยตราบจนปัจจุบันนี้
ด้วยวิวัฒนาการอันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช ดินแดนที่มีอดีตอันไกลโพ้นแห่งนี้ ชื่อที่ได้รับการจารึกไว้ในบันทึกแห่งมนุษยชาติ ณ ที่ต่างๆ กันทั่วทุกมุมโลก และทุกช่วงสมัยแห่งกาลเวลาที่นำมาแสดงเพียงบางส่วนเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นพัฒนาการและอดีตอันรุ่งโรจน์ของนครศรีธรรมราชได้เป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อหวนกลับไปสัมผัสกับหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในนครศรีธรรมราชเข้าผสมผสานด้วยแล้ว ทาให้ภาพแห่งอดีตของนครศรีธรรมราชท้าทายต่อการทำความรู้จักกับ นครศรีธรรมราชดินแดนที่ร่ารวยไปด้วยมรดกทางอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้อย่างลึกซึ้งและจริงจังยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราช
การศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการมานานแล้ว อดีตอันรุ่งเรืองของนครศรีธรรมราชจึงได้รับการเผยแพร่ครั้งแล้วครั้งเล่าในรูปแบบและภาษาต่าง ๆ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาตีความทั้งจากศิลาจารึกรุ่นเก่าที่ค้นพบเป็นจำนวนมากในนครศรีธรรมราช ประติมากรรม และโบราณวัตถุสถานอื่น ๆ ตลอดจนเอกสารโบราณที่ค้นพบในเมืองนี้เป็นจานวนมากได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น ผลจากการศึกษาค้นคว้าเหล่านั้นล้วนยังประโยชน์ต่อการศึกษากับอารยธรรมของนครศรีธรรมราชในระยะต่อมาอย่างใหญ่หลวง
ครั้น พ.. 2521 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช, จังหวัดนครศรีธรรมราช, หน่วยงาน และเอกชนอีกเป็นจานวนมากต่างก็ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในอันที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชอย่างมีระบบ จึงได้ร่วมกันจัดให้มีโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช พ.. 2521-2530 ขึ้น โดยจะจัดสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวในเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้
1. ลักษณะพื้นฐานทางประวัติศาสตร์
2. ลักษณะทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
3. ลักษณะทางประวัติศาสตร์สังคม
4. ลักษณะทางภาษาและวรรณกรรม
5. ลักษณะทางศิลปกรรม
6. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครศรีธรรมราชที่สัมพันธ์กับดินแดนอื่น
การสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชตามโครงการนี้ ในระยะแรกมีจานวน 5 ครั้ง โดยได้กาหนดช่วงเวลาและหัวเรื่องไว้อย่างกว้าง ๆ ดังนี้

ครั้งที่ 1 พ.. 2521 เรื่อง ประวัติศาสตร์พื้นฐานของนครศรีธรรมราช

ครั้งที่ 2 .. 2524 เรื่อง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของนครศรีธรรมราช

ครั้งที่ 3 พ.. 2526 เรื่อง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและวรรณกรรม

ครั้งที่ 4 พ.. 2528 เรื่อง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากศิลปกรรม

ครั้งที่ 5 .. 2530 เรื่อง การตีความใหม่เกี่ยวกับศรีวิชัย
            ขณะนี้ (.. 2527) การสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวซึ่งจัดขึ้น ณ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชได้ผ่านไปแล้ว 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 25-28 มกราคม 2521, ครั้งที่ 2  ในระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2525 และครั้งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 14-18 สิงหาคม 2526 ผลจากการสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชอย่างกว้างขวาง
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิวัฒนาการทางด้านอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชโดยสังเขป ดังนี้ คือ
ยุคหินกลาง
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการสารวจภาคสนามทางโบราณคดีของกรมศิลปากรใน พ.. 2452 ได้พบเครื่องมือหินเก่าแก่ (จากการเปรียบเทียบโดยถือตามลักษณะเครื่องมือ) จัดเป็นเครื่องยุคหินไพลสโตซีนตอนปลายที่ถ้ำตาหมื่นยม ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง เครื่องมือหินดังกล่าวนี้มีลักษณะกะเทาะหน้าเดียว รูปไข่ คมรอบ ปลายแหลม ด้านบนคล้ายรอยโดยตัด คล้ายกับลักษณะของขวานกำปั้นที่พบ ณ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และจัดว่าเป็นเครื่องมือหินยุคหินกลาง (อายุราว 11,000-8,350 ปี มาแล้ว) หรือมีลักษณะเหมือนเครื่องมือหินวัฒนธรรมโฮบิบเนียน ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินกลางเป็นอย่างน้อย เป็นต้นมา
ยุคหินใหม่
ครั้นในยุคหินใหม่ (อายุราว 3,766-2,000 ปีมาแล้ว) ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้ และภาชนะดินเผาในยุคนี้กระจัดกระจายโดยทั่วไปทั้งที่บริเวณถ้าและที่ราบของจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น พบเครื่องหินที่มีป่า ตัวขวานยาวใหญ่ (บางท่านเรียกว่า ระนาดหิน) ที่อำเภอท่าศาลา นอกจากนี้ได้พบขวานหินแบบ จงอยปากนก, มีดหิน, สิ่วหิน, และหม้อสามขา เป็นต้น ในหลายบริเวณของจังหวัดนี้  แสดงว่าในยุคนี้ได้เกิดมีชุมชนขึ้นแล้ว และชุมชนกระจัดกระจายโดยทั่วไป อันอาจจะตีความได้ว่าชุมชนในยุคนี้เองที่ได้พัฒนามาเป็นเมืองและมีอารยธรรมที่สูงส่งในระยะต่อมา
ยุคโลหะ
ในยุคโลหะ (อายุราว 2,500-2,200 ปีมาแล้ว) ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สาคัญของยุคนนี้ คือ กลองมโหระทึกสำริดในนครศรีธรรมราชถึง 2 ใบ คือ ที่บ้านเกตุกาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ใบหนึ่ง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง อีกใบหนึ่ง กลองมโหรทึกดังกล่าวนี้จัดอยู่ในวัฒนธรรมดองซอน
ดังนั้น ย่อมเป็นการยืนยันได้ว่ายุคนี้ชุมชนในนครศรีธรรมราชได้มีการติดต่อหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนอื่นแล้ว การติดต่อดังกล่าวอาจจะโดยการเดินเรือ แสดงให้เห็นว่าสังคมหรือชุมชนในนครศรีธรรมราชเริ่มย่างเข้าสู่สังคมเมืองในยุคประวัติศาสตร์แล้ว ซึ่งระยะที่กล่าวนี้อาจจะเป็นระยะต้นคริสตศักราชหรือพุทธศตวรรษที่ 5
พุทธศตวรรษที่ 7-8
ในคัมภีร์มหานิทเทศซึ่งแต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 ได้กล่าวถึงเมืองท่าที่สำคัญในอินเดีย ลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายเมือง ในจำนวนเมืองเหล่านี้ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราชไว้ด้วย ดังความตอนหนึ่งที่ว่า “. . . ไปชวาไปกะมะลิง (ตะมะลิง) ไปวังกะ (หรือวังคะ) . . .” นอกจากนี้ยังปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหาซึ่งแต่งขึ้นในระยะเดียวกันกับคัมภีร์มหานิทเทศด้วย คำว่า กะมะลิงหรือ ตะมะลิงหรือ กะมะลีหรือ ตมะลีจีนเรียกว่า ตั้งมาหลิ่งเจาชูกัวเรียก ตัน-มา-ลิงในศิลาจารึกเรียกตามพรลิงค์หรือ ตามรลิงค์คือ เมืองนครศรีธรรมราชโบราณ
แสดงว่าในระยะนี้ เมืองนครศรีธรรมราชโบราณเป็นเมืองที่มีความเจริญทางด้านการค้า หรือเป็นตลาดการค้าที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดินเรือและ พ่อค้าชาวอินเดีย อาหรับ และจีน
พุทธศตวรรษที่ 9-10
นอกจากเอกสารของต่างชาติจะกล่าวถึงนครศรีธรรมราชในระยะนี้แล้วได้มีการค้นพบ พระวิษณุศิลาอันเป็นเทวรูปกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 3 องค์ในภาคใต้ พระวิษณุในกลุ่มนี้จำนวน 2 องค์ ค้นพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ องค์แรกค้นพบที่หอพระนารายณ์ อำเภอเมือง ต่อมาย้ายไปประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราชตามลำดับองค์ที่สองค้นพบที่วัดพระเพรง ตำบลนาสาร อำเภอเมือง และปัจจุบันนี้จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช เทวรูปกลุ่มนี้มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 เพราะเหตุว่าแสดงให้เห็นถึงอิทธิของศิลปะอินเดียสมัยมถุราและอมราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ 8-9) ปรากฎอยู่
พุทธศตวรรษที่ 11-12
ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 10 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็ได้ปรากฏขึ้นในนครศรีธรรมราช คือ เศียรพระพุทธรูปศิลาขนาดเล็กซึ่งพบที่อำเภอสิชล (สูง 8.90 เซนติเมตร) ปัจจุบันนี้จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เศียรพระพุทธรูปดังกล่าวนี้มีต้นแบบมาจากศิลปะลุ่มแม่น้ำกฤษณาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย และศิลปะแบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปะรุ่นหลังมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 13
นอกจากนี้ในชุมชนโบราณสิชล ซึ่งตั้งอยู่บนแนวสันทรายที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเป็นแนวตั้งแต่เขตอำเภอขนอมผ่านลงมายังอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยาวประมาณ 100 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากชายฝั่งอ่าวไทยประมาณ 5-10 กิโลเมตร ได้ค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากมาย
ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางอารยธรรมและการตั้งถิ่นฐานของมนุษยชาติ เพราะมีที่ราบชายฝั่งทะเลกว้างใหญ่ไพศาลเหมาะแก่การกสิกรรม มีอ่าวและแม่น้ำหลายสายที่เหมาะแก่การจอดเรือและคมนาคม มีแหล่งน้ำสำหรับการบริโภค และตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นชายฝั่งทะเลเปิดอันเหมาะแก่การเป็นสถานีการค้า และแวะพักสินค้ามาแต่โบราณทาให้ชุมชนโบราณแห่งนี้มีพัฒนาการสูงส่งมาแต่อดีตเหมือนกับชุมชนอื่น ๆ บนคาบสมุทรไทยอันเป็นศูนย์กลางหรือจุดนัดพบระหว่างอารยธรรมและการค้าของพ่อค้าวานิชในทะเลจีนใต้แห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับพ่อค้าวานิชในทะเลอันดามันแห่งมหาสมุทรอินเดีย หรืออีกนัยหนึ่งคือ จุดนัดพบระหว่างตะวันออกกับตะวันตก หากแต่เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกว่า ทำให้ชุมชนโบราณสิชลพัฒนาการได้อย่างรวดเร็วและกว้างใหญ่ไพศาลมาก ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์โบราณคดีที่เอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐานเช่นนี้ ย่อมเหมาะสำหรับการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์โบราณในแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลมาก โดยเฉพาะในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์และยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในภาคใต้ ปรากฏว่าลักษณะภูมิศาสตร์โบราณคดีมีอิทธิพลต่อการตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ แล้วได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในการตั้งหลักแหล่งชุมชนที่เป็นบ้านเมืองของประชาชนในภาคใต้มาตั้งแต่โบราณ กล่าวว่า บริเวณที่มีความเจริญสูงขึ้นเป็นสังคมเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝั่งตะวันตกประชาชนที่ตั้งหลักแหล่งมี 2 พวกซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน คือ พวกแรกได้แก่คนพื้นเมืองที่มีความเป็นอยู่ล้าหลัง มีอาชีพประมงหรือล่าสัตว์และทำไร่เลื่อนลอย อยู่กันเป็นชุมชนเล็ก ไม่สามารถขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ได้ ส่วนพวกที่สองเจริญสูงกว่า แต่มักจะเป็นชาวต่างชาติ เช่น พ่อค้าหรือนักแสวงโชคที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งพักสินค้าหรือขุดแร่ธาตุเป็นสินค้า ชุมชนพวกหลังนี้อาจจะขยายตัวเป็นเมืองได้
จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าได้ค้นพบชุมชนโบราณที่เก่าแก่ในคาบสมุทรไทยในช่วงต่อเนื่องของยุคสำริดกับยุคเริ่มแรกของการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลหลายแห่งด้วยกัน แหล่งโบราณคดีเหล่านั้นได้พัฒนาอารยธรรมสืบเนื่องกันต่อมาด้วยเวลาอันยาวนาน และมีจำนวนไม่น้อยที่ได้พัฒนามาตามลำดับตราบจนปัจจุบันนี้ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่มาก เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอท่าชนะ แหล่งโบราณคดีพุมเรียงและชุมชนโบราณอำเภอไชยา แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีสทิงพระ จังหวัดสงขลา แหล่งโบราณคดีในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา และอื่น ๆ ในเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อาเภอครองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
แหล่งโบราณคดีที่กล่าวมานี้มีอยู่ไม่น้อยที่สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ อันหมายถึงศาสนาดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพระเวท (เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธกาล) ซึ่งมีลักษณะเป็นพหุทวนิยม แล้วเปลี่ยนแปลงไปทีละขั้น จนถึงขั้นเทพองค์เดียวที่เป็นนามธรรม (Monism) ในที่สุดก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู มีพระเจ้าสูงสุดสามองค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ (นารายณ์) และพระศิวะ (อิศวร) เรียกว่า ตรีมูรติในที่นี้ไม่ได้ใช้คำว่า ศาสนาฮินดูเพราะว่าหากใช้คำนี้ย่อมเน้นเฉพาะศาสนาของชาวอินเดียในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะเป็นชาตินิยมหรือพลังทางสังคม บางช่วงรวมเอาศาสนาพุทธเข้าไปด้วยเมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ภาพพจน์ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และวิวัฒนาการของวัฒนธรรมไม่ชัดเจน เพราะไม่ได้เน้นสายธารทางศาสนาจากอินเดียที่ได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ภาคใต้ของประเทศไทยแล้วกลายเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมทางศาสนาที่สำคัญ
ก่อนที่ชุมชนในภาคใต้ของประเทศไทยจะรับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์นั้นได้กล่าวมาแล้วว่าดินแดนในบริเวณนี้มีพัฒนาการทางอารยธรรมสูงส่งมาก่อนแล้ว ดังนั้นจึงย่อมมีคติความเชื่ออันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาก่อนแล้วเช่นเดียวกันและเมื่อรับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์เข้ามาในระยะหลังคงจะได้มีการผสมผสานเอาความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่เดิมที่มีอยู่เดิมกับศาสนาพราหมณ์เข้าผสมกลมกลืนกันได้อย่างเหมาะสม จากนั้นจึงพัฒนาให้ศาสนาพราหมณ์ที่ผสมกลมกลืนกับความเชื่อดั้งเดิมแล้วนั้นวิวัฒนาการกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไปและมีความรุ่งเรืองสืบมาตราบจนปัจจุบันนี้
อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่เราค้นพบ ณ ชุมชนโบราณสิชลจึงเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งแห่งลักษณาการของวัฒนาการอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองบนคาบสมุทรไทยดังกล่าวมา
ในด้านศิลปวัฒนธรรมกล่าวได้ว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14 ดินแดนต่าง ๆ บนแหลมมลายูตอนเหนือ โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลแบบอย่างทางศิลปวัฒนธรรมจากอินเดียอย่างมากมาย อาจจะเรียกได้ว่าชาวอินเดียได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแพร่อารยธรรมฝังรากฐานมั่นคงครั้งสาคัญ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองสูงสุด จึงได้ค้นพบโบราณวัตถุสถานมากกว่าที่ใดในประเทศไทย แม้แต่ชื่อเมือง ตามพรลิงค์ก็ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์นั่นเองและหลักฐานทางโบราณวัตถุในลัทธิไศวะนิกายซึ่งเป็นที่เคารพนับถือแพร่หลายในอินเดีย ภาคใต้ก็พบเป็นจำนวนมากมายในเขตนครศรีธรรมราชรองรับอยู่แล้ว
แม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในชุมชนโบราณสิชล แต่ได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นจำนวนมากทั้งโบราณวัตถุโบราณสถาน ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม สระน้ำโบราณ และเศษศิลาจารึก หลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ ส่วนใหญ่เนื่องในศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น
โบราณวัตถุโดยเฉพาะประติมากรรมรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่ค้นพบ ณ ชุมชนโบราณสิชลแห่งนี้ล้วนทำด้วยศิลา เช่น ศิวลึงค์, โยนิ, พระวิษณุ และพระพิฆเนศวร (พระคเณศ) เป็นต้น จากการกำหนดอายุเบื้องต้นโดยอาศัยรูปแบบทางศิลปกรรมเป็นเครื่องกำหนดอาจจะกล่าวได้ว่าโบราณสถานวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-14 เป็นส่วนใหญ่
ส่วนโบราณสถานนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าในชุมชนโบราณแห่งนี้มีโบราณสถานที่เนื่องในศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะได้ค้นพบโบราณวัตถุหรือรูปเคารพที่เนื่องในศาสนาพราหมณ์ปรากฎอยู่ควบคู่กับโบราณสถานเหล่านี้ เช่น ศิวะลึงค์ เทวรูปพระวิษณุ เทวรูปพระพิฆเนศวร และโยนิ เป็นต้น
จากการสำรวจภาคสนามทางโบราณคดีในขณะนี้ปรากฎว่าได้พบโบราณสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ในชุมชนโบราณแห่งนี้ไม่น้อยกว่า 50 แห่ง โบราณสถานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ (คลอง) ในอำเภอสิชล เช่น คลองท่าทน คลองท่าควาย คลองท่าเรือรี และคลองเทพราช เป็นต้น
จากการกำหนดอายุเบื้องต้นของโบราณสถานเหล่านี้ โดยอาศัยรูปแบบทางศิลปกรรมของโบราณวัตถุที่พบร่วมกับโบราณสถานและอักษรปัลลวะบางตัวที่สลักอยู่ในชิ้นส่วนของอาคารโบราณสถานบางแห่ง อาจจะกล่าวได้ว่าโบราณสถานเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-14 อันเป็นโบราณสถานรุ่นแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังหลงเหลืออยู่
โบราณสถานในชุมชนโบราณแห่งนี้จำนวนไม่น้อยที่ถูกรื้อ จนโบราณวัตถุหรือรูปเคารพ และชิ้นส่วนของอาคารซึ่งทำด้วยหินและอิฐกระจัดกระจายโดยทั่วไปชิ้นส่วนที่ทำด้วยหิน ได้แก่ ฐานเสา ธรณี ประตู กรอบประตู และเสา เป็นต้น และยังมีโบราณสถานอีกไม่น้อยที่ยังคงอยู่ภายใต้เนินดิน ซึ่งคงจะหมายถึงว่ายังไม่ถูกขุดคุ้ยทำลาย
รอบโบราณสถานที่อยู่ห่างจากลำน้ำ มักจะมีสระน้ำโบราณปรากฏอยู่โดยทั่วไปสระน้ำโบราณเหล่านี้คงจะขุดขึ้นเนื่องในความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนาและการบริโภคของชุมชน แต่โบราณสถานบางแห่งแม้จะอยู่ใกล้ลำน้ำ แต่ก็ปรากฏสระน้ำโบราณเช่นกัน โดยสระน้ำโบราณมักจะอยู่ในด้านอื่น ๆ ที่ตรงข้ามกับด้านที่ติดลำคลอง
บรรดาโบราณสถานเหล่านี้ โบราณสถานบนเขาคา นับว่าน่าสนใจมาก เพราะได้ค้นพบโบราณวัตถุ (รูปเคารพ) ของไวษณพนิกาย และไศวะนิกายที่มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกันอยู่ด้วยกันหลายชิ้น นอกจากนี้ยังได้พบโยนิ (หรืออาจจะเป็นฐานรูปเคารพ) ขนาดใหญ่ ลำรางน้ำมนต์ และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่ส่วนใหญ่ทำด้วยหินปูนและอิฐเช่นเดียวกับแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วไปทั้ง ภูเขาลูกนี้แต่สิ่งเหล่านี้พบในปริมาณมากและขนาดใหญ่กว่าในแหล่งโบราณคดือื่น ๆ คงจะเป็นเพราะมีโบราณสถานหลายหลังหรือไม่ก็มีโบราณสถานขนาดใหญ่อยู่บนภูเขาลูกนี้จนนักโบราณคดีบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าโบราณสถานแห่งนี้อาจจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนโบราณแหล่งนี้ และศูนย์กลางของโบราณสถานทั้งหลายในบริเวณนี้ก็ได้ เพราะรอบ ๆ โบราณสถานแห่งนี้โดยเฉพาะทางด้านเหนือห่างออกไปรัศมีราว 500-1,000 เมตร ได้พบโบราณสถานที่ชาวบ้านพบรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ทั้งไศวะนิกายและไวษณพนิกายกระจายอยู่อย่างหนาแน่นเป็นพิเศษ
บริเวณที่พบโบราณสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์หนาแน่นเป็นพิเศษในชุมชนโบราณ สิชล ได้แก่ ตำบลสิชล ตำบลเทพราช ตำบลเสาเภา ตำบลฉลอง และตำบลทุ่งปรัง ในอำเภอสิชล ตำบลกลาย ในอำเภอท่าศาลา และในเขตเมืองโบราณนครศรีธรรมราช
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าชุมชนโบราณสิชลคงจะเป็นพัฒนาการของชุมชนยุคแรกๆ ของการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ต่อเนื่องมาจนถึงยุครุ่งเรืองยุคหนึ่งของ ตามพรลิงค์ก็เป็นได้
ยิ่งกว่านั้น เมื่อได้ดำเนินการทางโบราณคดีในชุมชนโบราณแห่งนี้อย่างจริงจังและถูกหลักวิชาแล้ว คงจะได้ข้อมูลที่มีค่ายิ่งเกี่ยวกับอารยธรรมอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เพราะหลักฐานเหล่านี้อาจจะรองรับเอกสารจีนที่กล่าวว่าในราวพุทธศตวรรษที่ 8-9 ในบริเวณเมือง Tun-sun ซึ่งเป็นรัฐทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีความเจริญทางการค้ามาก จึงมีชนชาติเป็นจานวนมากอยู่ในชุมชนนี้ ดังปรากฏว่ามีพวกฮู (Hu) ตั้งหลักแหล่งอยู่ทีนี่ถึง 500 ครอบครัว และพวกพราหมณ์ชาวอินเดียกว่าพันคน ซึ่งจำนวนหนึ่งได้แต่งงานกับสตรีชาวพื้นเมืองก็เป็นได้
นอกจากจะพบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะในประเทศอินเดียโดยตรงอย่างมากมายในนครศรีธรรมราชในระยะนี้แล้ว เรายังค้นพบศิลาจารึกรุ่นแรกของประเทศไทยในนครศรีธรรมราชอีกหลายหลักในระยะนี้ เช่น ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ซึ่งค้นพบเมื่อ พ.. 2522 ณ หุบเขาช่องคอย บ้านคลองท้อน หมู่ที่ 9 ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ โดยจารึกด้วยอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 (นายชูศักดิ์ ทิพย์เกษร (เป็นอาจารย์ของผู้จัดทำ – ผู้จัดทำ) นักภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร มีความเห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยอาศัยวิวัฒนาการของรูปแบบอักษรเป็นเกณฑ์แล้ว จะปรากฏว่าศิลาจารึกหลักนี้มีรูปอักษรเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้) ศิลาจารึกหลักนี้ใช้ภาษาสันสกฤต ข้อความที่จารึกบางท่านกล่าวว่าเป็นการบูชาพระศิวะ, ความนอบน้อมต่อพระศิวะ, เหตุที่บุคคลผู้นับถือพระศิวะเข้าไปหาพระศิวะ และคติชีวิตที่ว่าคนดีอยู่ในบ้านของผู้ใด ความสุขและผลดีย่อมมีแก่ผู้นั้น แต่บางท่านมีความเห็นว่าเป็นจารึกเกี่ยวกับการสรรเสริญและสดุดีพระเกียรติคุณของกษัตริย์ศรีวิชัย และศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์ อำเภอเมือง (จารึกหลักที่ 27 ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 2) ซึ่งจารึกด้วยอักษรปัลลวะคล้ายกับตัวอักษรที่พบในดินแดนเขมรโบราณ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 กล่าวถึงเรื่องราวทางศาสนา เรื่องของสงฆ์ พราหมณ์ และจริยวัตรอันเป็นส่วนประกอบทางศาสนา เป็นต้น
จากหลักฐานที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่านครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียทั้งในด้านอักษร ภาษา ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี กฎหมาย และระบบการปกครอง อันเป็นรากฐานที่สำคัญทางวัฒนธรรมของนครศรีธรรมราชและของไทยในปัจจุบันนี้
พุทธศตวรรษที่ 13-19
นักปราชญ์บางท่านมีความเห็นว่าในพุทธศตวรรษที่ 13 จดหมายเหตุจีนในสมัยราชวงศ์ถัง (.. 1161-1499) เรียกนครศรีธรรมราชว่า ชิหลีโฟชีหรือ ชิ-ลิ-โฟ-ชิหรือ ชิหลีโฟเชต่อมาถึงสมัยราชวงศ์ซ้อง (.. 1503-1822) เปลี่ยนเป็นเรียกว่า สันโฟซีหรือ ซันโฟซีตำนานและพงศาวดารลังกาเรียกว่า ชวกะส่วนจดหมายเหตุพ่อค้าชาวอาหรับเรียกว่า ซาบักหรือ ซาบากะศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เรียกว่า ศรีวิชัยอันเป็นชื่อที่ได้มาจากศิลาจารึกหลักที่ 23 (วัดเสมาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช) เพราะในคำแปลศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งสลักเมื่อ พ.. 1318 นี้ ท่านเรียกกษัตริย์ว่า พระเจ้ากรุงศรีวิชัยและท่านยืนยันว่าชื่อที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นชื่อเดียวกัน เพียงแต่ท่านไปมีมติว่าศูนย์กลางหรือราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยควรอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แต่ต่อมาศาสตราจารย์มาชุมดาร์มีความเห็นขัดแย้งว่า ราชธานีควรจะอยู่ ณ ที่ที่พบศิลาจารึกหลักที่ 23 คือ นครศรีธรรมราช
นอกจากชื่อพวกชวกะแล้ว ตำนาน พงศาวดารลังกา และจดหมายเหตุ เช่น คัมภีร์มหานิทเทศ ยังเรียกชื่อดินแดนปลายแหลมทองอีกหลายชื่อ เช่น สุวรรณทวีป, สุวรรณปุระ, และตามพรลิงค์ เป็นต้น
คำว่า ตามพรลิงค์นั้น ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 24 (วัดหัวเวียง ไชยา) ด้วย ทำให้นักโบราณคดียอมรับว่า หมายถึงนครศรีธรรมราช เพราะฉะนั้นนักปราชญ์บางท่านจึงมีความเห็นว่า รัฐศรีวิชัยกับนครศรีธรรมราชก็คือแผ่นดินเดียวกัน ขอบเขตของรัฐนี้จะกว้างขวางแค่ไหนก็เป็นไปตามระยะแห่งความเจริญความเสื่อม ที่ตั้งของราชธานีจะโยกย้ายไปตั้งที่เมืองใดบ้างก็ย่อมแล้วแต่พระราชอัธยาศัย และอานุภาพของกษัตริย์ผู้ปกครองรัฐในแต่ละช่วงสมัย แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ คงจะต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไปอีกไม่น้อย
พุทธศตวรรษที่ 20-25
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งเริ่มต้นในสมัยพระรามาธิบดี 1 (ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.. 1893-1912) เป็นต้น แคว้นนครศรีธรรมราชคงจะเข้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแคว้นศรีอยุธยา และแคว้นอื่น ๆ ด้วย เช่น ล้านนา สุโขทัย และละโว้ เป็นต้น เมื่อรัฐอิสระเหล่านี้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้วจึงเรียกว่า "ราชอาณาจักรสยาม" โดยให้มีศูนย์กลางหรือราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนแคว้นอื่น ๆ มีฐานะเป็นประเทศราช
ในราว พ.. 1928 พระราเมศวร (ครองราชย์ พ.. 1931-1938) ได้เสด็จยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงใหม่และได้กวาดต้อนชาวเชียงใหม่มาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช นับเป็นวิธีลดอำนาจหัวเมืองล้านนาไทย และเพิ่มประชากรให้เมืองนครศรีธรรมราช
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ พ.. 1991-2031) ได้ทรงเปลี่ยนฐานะเมืองนครศรีธรรมราชเมือง "พระยามหานคร" มาเป็น "หัวเมืองเอก" ใน พ.. 1998 และให้เจ้าเมืองได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยาศรีธรรมราช"
ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.. 2173-2198) นับเป็นครั้งแรกที่นครศรีธรรมราชเป็นกบฏ โดยมีสาเหตุจากความแตกแยกของข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาและการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ใน พ.. 2172 ซึ่งตรงกับสมัยพระอาทิตยวงศ์
ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเมื่อทราบสาเหตุ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ซึ่งต้องการเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาแทนพระอาทิตย์วงศ์กษัตริย์ผู้เยาว์ ก็ได้เริ่มวางแผนที่จะกำจัดออกญาเสนาภิมุข (ยามาดา) เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นผู้มีอำนาจมากในกรุงศรีอยุธยาเวลานั้นให้ออกไปเสียจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อจะได้ไม่ขัดขวางการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ของตน โดยส่งให้ออกญาเสนาภิมุขไปปราบกบฏที่นครศรีธรรมราชสำเร็จ ออกญาเสนาภิมุขได้ประหารชีวิตข้าราชการผู้ใหญ่ของเมืองที่ไม่ยอมอ่อนน้อมหลายคน พร้อมทั้งริบที่ดินจากชาวเมืองแบ่งปันให้ชาวญี่ปุ่นที่ติดตาม เมื่อเสร็จศึกเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ออกญาเสนาภิมุขได้ยกทัพไปปราบกบฏที่ปัตตานี แต่เสียทีถูกอาวุธบาดแผลสาหัสกลับมารักษาตัวที่เมืองนครศรีธรรมราชจนเกือบหาย แต่กลับถูกพระยามะริดซึ่งออกไปช่วยราชการอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชใช้ผ้าพันแผลอาบยาพิษปิดให้ จึงถึงแก่กรรมเพราะยาพิษใน พ.. 2173
ฝ่ายนครศรีธรรมราชเมื่อสิ้นออกญาเสนาภิมุขแล้ว ก็คิดตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีก เพราะไม่เห็นด้วยกับการปราบดาภิเษกของพระเจ้าปราสาททอง การตั้งตนเป็นอิสระเช่นนี้ทางกรุงศรีอยุธยาถือว่าเป็นกบฏ จึงได้ส่งกองทัพไปปราบปรามโดยให้ออกพระศักดาพลฤทธิ์ และออกญาท้ายน้ำเป็นแม่ทัพ ผลปรากฏว่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้โดยง่าย
เวลาล่วงมาอีกประมาณ 25 ปี เมืองนครศรีธรรมราชก็เป็นกบฏต่อกรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่ง คือเป็นกบฏในสมัยพระเพทราชา (ครองราชย์ พ.. 2231-2245) ใน พ.. 2227 โดยสาเหตุจากเมืองนครศรีธรรมราชไม่ยอมรับพระเพทราชาให้สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทางกรุงศรีอยุธยาก็ยกกองทัพไปปราบอีกโดยให้พระสีหราชเดโชเป็นทัพหน้า พระยาราชบุรีเป็นทัพหลัง และให้พระยาราชวังสัน (แขก) เป็นแม่ทัพเรือ ใช้เวลาอยู่ถึง 3 ปีจึงตีแตก ผลการเกิดกบฏครั้งนี้ ทำให้กรุงศรีอยุธยาไม่สู้ไว้วางใจเมืองนครศรีธรรมราชมากนัก จึงได้มีการย้ายสังกัดจากสมุหพระกลาโหมและสมุหนายกไปขึ้นกับสมุหพระยากลาโหมแต่ฝ่ายเดียว
ภายหลังที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏในรัชสมัยพระเพทราชาแล้ว เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็ถูกลดฐานะลงเป็นเพียง "ผู้รั้งเมือง" อยู่ระยะเมือง ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (ครองราชย์ พ.. 2275-2301) ได้มีการยกฐานะเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และยกฐานะเมืองเป็น "เมืองพระยามหานคร" เพราะเห็นว่าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอกอยู่ทางภาคใต้เพียงเมืองเดียว มีหน้าที่ในการควบคุมหัวเมืองประเทศราชในหัวเมืองมลายู และเป็นผู้รักษาอาณาเขตทางด้านนี้ด้วย
ครั้นสิ้นสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยาระส่ำระสายมาก พม่าก็ยกกองทัพใหญ่มาประชิดเมือง และในที่สุดเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.. 2310 เมืองนครศรีธรรมราชก็ได้ตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นนาม "ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช" โดยมีพระปลัด (หนู) ผู้รั้งเมืองเป็นหัวหน้าควบคุม
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้กู้อิสรภาพได้เรียบร้อยแล้ว ได้ยกทัพไปปราบปรามชุมนุมเจ้าพิมาย เสร็จแล้วจึงยกทัพลงมาปราบปรามชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ผลของการรบในระยะแรกทัพหน้าของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียที เป็นผลให้พระยาเพชรบุรีและพระศรีพิพัฒน์ตายในที่รบ ครั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบผลศึกว่าเพลี่ยงพล้ำจึงโปรดเกล้าฯให้ยกทัพหลวงไปทันที ครั้งนี้ทัพเมืองนครศรีธรรมราชได้โดยง่าย พระยาปัตตานีเกรงพระบรมเดชานุภาพจึงจับเจ้านคร (หนู) และครอบครัวส่งมาถวายแต่โดยดี คณะลูกขุนได้ปรึกษาโทษให้สำเร็จโทษเสีย แต่สมเด็จพระเจ้าธนบุรีทรงเห็นว่า เจ้านคร (หนู) มิได้เป็นกบฏประทุษร้ายต่อราชอาณาจักร เป็นแต่ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นในเวลาที่บ้านเมืองเป็นจลาจลและสูญเสียอิสรภาพแก่พม่า จึงเห็นสมควรพระราชทานอภัยโทษ และได้รับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นข้าราชการในกรุงธนบุรี แต่ให้มียศเพียงพระยา พระราชทานบ้านเรือนให้อาศัยเป็นอย่างดี
เมื่อเสร็จศึกเมืองนครศรีธรรมราชในครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ครองราชย์ พ..  2310-2325) โปรดเกล้าฯ ให้ราชบัณฑิตอัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชลงเรือไปยังกรุงธนบุรีให้ครบทุกคัมภีร์ เพื่อคัดลอกเป็นฉบับจำลองไว้ ณ กรุงธนบุรี ทั้งนี้เนื่องจากพระไตรปิฎกในกรุงศรีอยุธยาได้ถูกพม่าเผาทำลายเสียหายมาก ส่วนตำแหน่งผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราชคนใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ เจ้านราสุริยวงศ์ ครองตำแหน่งและยกฐานะเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็น "ประเทศราช" อีกครั้งหนึ่ง โดยมีเจ้านราสุริยวงศ์เป็นเจ้าประเทศราช
เจ้านราสุริยวงศ์ครองเมืองนครศีรธรรมราชได้ราว 6 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.. 2319 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้งให้เจ้านคร (หนู) ซึ่งเข้ารับราชการในกรุงธนบุรีให้กลับคืนไปครองเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง โดยได้สุพรรณบัฏเป็น "พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหศวรรย์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา" เมื่อ พ.. 2319
พระเจ้านครศรีธรรมราชได้รับเฉลิมพระยศเสมอด้วยเจ้าประเทศราช มีอำนาจแต่งตั้งพระยาอัครมหาเสนาและจตุสดมภ์สำหรับเมืองนครศรีธรรมราชได้ คล้ายกรุงธนบุรี พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาจนกระทั่งสิ้นรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ครองราชย์ พ.. 2325-2352) คือ ในพ.. 2327 จึงถูกถอดจากพระยศ "พระเจ้านครศรีธรรมราช" ลงเป็น "พระยานครศรีธรรมราช" และในรัชกาลเดียวกันได้แต่งตั้งอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ขึ้นเป็น "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช" เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการมาจนถึงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 2 จึงได้กราบทูลลาออกจากตำแหน่งด้วยเห็นว่าตนชราภาพมากแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านภาลัย (ครองราชย์ 2352-2367) จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระบริรักษ์ภูเบศรผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีนามในตราตั้งว่า "พระยาศรีธรรมโศกราช ชาติเดโชไชยมไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ พระยาศรีธรรมราช" ต่อมากระทาความดีความชอบในราชการจนได้รับการแต่งตั้งเป็น "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช" คนทั่วไปรู้จักในนาม "เจ้าพระยานครน้อย"
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ตามหลักฐานทางราชการกล่าวว่าเป็นบุตร เจ้าพระยานคร (พัฒน์) แต่คนทั่วไปทราบว่าเป็นโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชผู้นี้มีความสามารถมากได้ทำการปราบปรามหัวเมืองมลายูได้สงบราบคาบ เป็นนักการทูตที่สาคัญคนหนึ่งของประเทศ โดยเฉพาะการเจรจากับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 2-3 ได้ทำให้เมืองนครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมลายู และเป็นที่นับถือยาเกรงแก่บริษัทอังกฤษ ซึ่งกำลังแผ่อิทธิพลทางการค้าขายและทางการเมืองในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ยังเป็นผู้มีฝีมือในทางช่าง เช่น ฝีมือในทางการต่อเรือจนได้รับสมญาว่าเป็น "นาวีสถาปนิก" และในสมัยรัชกาลที่ 4 (ครองราชย์ พ.. 2394-2411) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ก็ได้ถวายพระแท่นถมตะทองและพระราชยานถมอีกด้วย
ภายหลังที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าเมืองนครศรีธรรมราขคนถัดมาคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) ผู้บุตร ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร เป็นเหตุให้หัวเมืองมลายูกระด้างกระเดื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.. 2411-2453) ได้ทรงแก้ไขจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ โดยให้มีการปกครองเป็นมณฑล นครศรีธรรมราชจึงเป็นมณฑลของประเทศไทยโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชใน พ.. 2439
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.. 2453-2468) ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินด้านการปกครองหัวเมืองอีกครั้งหนึ่ง ในรัชกาลนี้ได้ โปรดฯ ให้มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ขึ้นเพื่อปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.. 2475 จึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราชลงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทยและดำรงฐานะดังกล่าวเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ด้วยเหตุที่นครศรีธรรมราชมีประวัติอันยาวนานมาก่อนกรุงสุโขทัยซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแรกของไทย มีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์มาก่อนศิลปวัฒนธรรม เช่น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ช่างฝีมือพื้นบ้าน การละเล่น และขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจึงมีมาก ซึ่งชาวเมืองยังยึดถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน นครศรีธรรมราชจึงมีอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมืองมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

No comments:

Post a Comment