จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นดวย พ.- ต่อ)

ประวัติศาสตร์จังหวัดเพชรบุรี
ตราประจำจังหวัด


รูปทุ่งนา ต้นตาลโตนด และพระนครคีรี หรือเขาวัง
คำขวัญประจำจังหวัด
เขาวังคู่บ้าน ขนมหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม
ความเป็นมา 
                  ร่องรอยของผู้คนในอดีตในเขตจังหวัดเพชรบุรี ปรากฏหลักฐานในรูปของโบราณวัตถุ โบราณสถาน แหล่งที่อยู่อาศัยหลงเหลืออยู่ทั่วไปตั้งแต่ในช่วงที่เป็นชุมชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์พบหลักฐานแถบภูเขาทางตะวันตกในเขตอำเภอท่ายาง จวบจนสังคมพัฒนาขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแบบทวารวดี ก็พบร่องรอยของชุมชนเหล่านี้ในหลายพื้นที่ เช่น กลุ่มผลิตรูปเคารพหนองปรง ในเขตอำเภอเขาย้อย กลุ่มบ้านหนองพระ เนินโพธิ์ใหญ่ เนินดินแดง วัดป่าแป้นในเขตอำเภอบ้านลาด กลุ่มเขากระจิว ในเขตอำเภอท่ายาง กลุ่มทุ่งเศรษฐี ในเขตอำเภอชะอำ แต่ในลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีก็ยังไม่พบ
หลักฐานของเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองทวารวดีที่ พบทั่วไปใน ลุ่มแม่น้ำสำคัญอื่น ๆ ในแถบภาคกลางของไทยแต่ก็พบหลักฐานโบราณวัตถุแบบทวารวดี คือธรรมจักรหินในบริเวณชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี
พชรบุรีในวัฒนธรรมเขมรโบราณ
                   เมื่อชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณในช่วงเวลานี้น่าจะมีการพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง คงมีการสร้างเมืองในรูปแบบของวัฒนธรรมเขมรโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยมขึ้นที่ทางฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเพชรบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี) ผลจากการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศ (โดยผ่องศรี วนาสิน และทิวา ศุภจรรยา) พบว่าบริเวณเมืองเพชรบุรีมีร่องรอยของแนวคูเมืองและกำแพงเมือง ที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ที่ใกล้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมากกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของแนวคูเมืองกำแพงเมืองแต่ละด้านกว่า 1 กิโลเมตร เมืองนี้ใช้แม่น้ำเพชรบุรีเป็นคูเมืองด้านทิศตะวันตก ลักษณะของผังเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอเป็นเมืองที่มีอายุหลังสมัยทวารวดีมักพบมากในช่วงที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณลงมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าร่องรอยของแนวคูเมืองกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่นี้ เป็นร่องรอยของเมืองตั้งแต่ในช่วงที่ได้รับ
อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร หลักฐานที่เป็นเครื่องสนับสนุนความเป็นบ้านเป็นเมืองในช่วงเวลานี้คือ โบราณสถานที่วัดกำแพงแลง อันได้แก่ปรางค์ศิลาแลง 5 องค์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและรูปเคารพที่ได้จากบริเวณนี้ล้วนมีอิทธิพลศิลปเขมรโบราณแบบบายน ที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 และถ้าหากเชื่อว่าเมืองนี้คือหนึ่งในเมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาได้ทรงประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถไว้ เมืองนี้ก็คือเมือง ศรีชัยวัชรบุรี
ชื่อเมืองและที่ตั้งของเมือง
                    ชื่อของเมืองเพชรบุรีปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในศิลาจารึกสุโขทัย 2 หลัก คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 และศิลาจารึกวัดเขากบ ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ตอนที่กล่าวถึงเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยที่อยู่ทางใต้กล่าวว่า "…เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว…" จากข้อความในจารึกแสดงให้เห็นว่า เพชรบุรีมีฐานะเป็นเมืองที่น่าจะมีความสำคัญใกล้เคียงกับเมืองต่าง ๆ ที่ถูกกล่าวถึงในจารึก เช่น สุพรรณภูมิ ราชบุรี และนครศรีธรรมราช และในศิลาจารึกวัดเขากบ ที่กล่าวถึงการแสวงหาพระธาตุจนถึงเมืองอินเดียและลังกาตอนหนึ่งกล่าวถึงเส้นทางขากลับที่ ได้เดินทางมาขึ้นบกที่ตะนาวศรี แล้วตัดข้ามมาเพชรบุรี ย้อนขึ้นไปยังราชบุรีและอโยธยาดังนี้ "โสด ผสมสิบข้าว ข้ามมาลุตะนาวศรี เพื่อเลือกเอาฝูงคนดี …. สิงหลทีป รอดพระพุทธศรีอารยไมตรี เพชรบุรี ราชบุรีนส อโยธยา ศรีรามเทพนคร…" สำหรับที่ตั้งของเมืองเพชรบุรีในช่วงเวลาดังกล่าวไม่อาจกล่าวได้เนื่องจาก ไม่มีหลักฐาน แน่ชัด แต่ถ้าหากพิจารณาจากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ในด้านศิลปสถาปัตยกรรมก็ไม่พบอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ที่เด่นชัด แต่มีข้อน่าสน ใจประการหนึ่งคือ ที่วัดมหาธาตุเมืองเพชรบุรี แม้ว่าจะไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาเมื่อใด และผ่านการบูรณะมาหลายครั้งหลายสมัย แต่ก็พบว่าฐานรากมีอิฐขนาดใหญ่แบบเดียวกับที่ใช้สร้างโบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดี น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานชัดแจ้ง รูปทรงองค์ปรางค์ที่ปรากฏอยู่ก็เป็นการบูรณะในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งอาจคงเค้าเดิมไว้คล้ายกับองค์มหาธาตุอื่น ๆ ที่ได้รับการบูรณะในสมัยกรุงศรีอยุธยาคือทรงเรียวแบบฝักข้าวโพด ประกอบกับหลักฐานแวดล้อมอื่น เช่น ศาสนสถานอื่น ๆ ก็ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อมีการบูรณะในปัจจุบัน พบโบราณวัตถุ เช่น เครื่องถ้วยจีนเป็นเครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์สุ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีอายุในราว พุทธศตวรรษที่ 16 - 19 อาจเป็นการนำของมีค่าในยุคก่อนนำมาฝังก็เป็นได้ แต่ก็ไม่น่าจะมีอายุห่างจากโบราณวัตถุมากนัก อาจจะราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลักฐานอื่นที่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยาเป็นเครื่องสนับสนุน คือ พระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดใหญ่ ศิลปะแบบอู่ทอง และยังมีเสมา ที่มีลวดลายซึ่งนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า เป็นศิลปะอู่ทอง หรือศิลปะแบบก่อนอยุธยา
จึงกล่าวได้ว่าวัดมหาธาตุ เมืองเพชรบุรีนี้ มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา ที่นครศรีธรรมราชแพร่หลายขึ้นมาผ่านเพชรบุรีีดินแดนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปยังสุโขทัย แล้วเป็นศาสนาหลักของสังคมที่เป็นบ่อเกิดของ วัฒนธรรมอีก หลายด้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เนื่องในศาสนาเป็นต้นว่าการสร้างศาสนสถาน เมื่อไทยรับเอาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเมื่อต้นสุโขทัยได้เกิดธรรมเนียมการมีวัดมหาธาตุเป็นวัด สำคัญ ของเมือง แต่มิได้หมายความว่าพระธาตุเจดีย์เพิ่งจะเริ่มมีในสมัยสุโขทัย เนื่องจากมีธาตุเจดีย์อีกหลายองค์ที่มีอายุเก่ากว่ายุคสุโขทัย เช่น พระบรมธาตุเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ธรรมเนียมการสร้างธาตุเจดีย์เป็นปูชนียสถานน่าจะเข้ามาตั้งแต่ครั้งที่พระ พุทธศาสนาเข้ามาใน ดินแดนที่ เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ในระยะแรก ๆ ส่วนธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากลัทธิลังกาวงศ์คือ การมีวัดมหาธาตุเป็นหลักของเมือง มีข้อสนับสนุนจากโบราณสถานที่ปรากฏในปัจจุบัน ในเมืองสำคัญ ๆ หลายเมือง ไม่ว่าจะเป็นเมืองสุโขทัย ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก สวรรคโลก สุพรรณบุรี ราชบุรี สวรรค์บุรี และสิงห์บุรี เป็นต้น ล้วนแต่มีวัดมหาธาตุเป็นวัดหลักของเมืองทั้งสิ้น รวมทั้งเมืองเพชรบุรีด้วย ความสัมพันธ์ของเมืองเพชรบุรี กับสุโขทัยในช่วงเวลาดังกล่าวแม้ว่าจะไม่เด่นชัด แต่จากข้อความในจารึกสุโขทัยทั้ง 2 หลักที่กล่าวข้างต้น ก็บ่งชัดว่า เพชรบุรีมีฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่ง ตำแหน่งที่ตั้งของมหาธาตุนี้อยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีทางฝั่งตะวันตก ซึ่งอยู่คนละฟากกับเมืองในสมัยที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทวัดกำแพงแลง หากว่าวัดมหาธาตุได้สถาปนาขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย บ้านเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี ก็คงมีความสำคัญอาจเป็นศูนย์กลางของเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏหลักฐานในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้ชำระขึ้นมีความตอนหนึ่งว่าสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ตอนหนึ่งในพระราชบัญญัติหัวเมืองบัญญัติไว้ว่า "…ออกพระศรีสุริทฤาไชย เมืองเพชญบุรีย ขึ้นประแดงเสนฎขวา…" โดยมีฐานะเป็นเมืองจัตวา และในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองเพชรบุรีจัดอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันตก โดยปรากฏหลักฐานอยู่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า โดยเรียกว่า เมืองวิดพรี นอกจากในเอกสารของไทยแล้ว ในเอกสารของชาวตะวันตกที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยายังได้บันทึกเรื่องราว ของเมืองเพชรบุรี ไว้อีกหลายที่ด้วยกัน เช่น Tome Pires ชาวโปรตุเกสที่เดินทางไปยังอินเดียและมะละกา ในปี พ.ศ.2054 และได้ทำบันทึกเกี่ยวกับเมืองที่สำคัญที่มีบทบาททางการค้าระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก เอาไว้ โดยกล่าวถึง เมืองเพชรบุรี (Peperim , Pepory) ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เมืองหนึ่งใน เขตฝั่งตะวันออก แล้วยังเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองเยี่ยงกษัตริย์ และยังมีสำเภาส่งไปค้าขายยังภูมิภาคต่างๆด้วยส่วนในประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม ของนายฟรังซัวร์ อังรี ตุรแปง กล่าวว่า เมืองเพชรบุรี (Pipli) เป็นท่าเรือติดทะเล ค้าข้าว ผ้า และฝ้ายมาก นิโกลาส์ แชรแวส ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัย สมเด็จ พระนารายณ์ได้กล่าวไว้ใน ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ในบทที่ว่าด้วยเมืองบางกอกและเมืองท่าอื่น ๆ กล่าวถึง เมืองเพชรบุรีไว้ด้วยคือ "เมืองพิบพลี (Piply : เพชรบุรี)อยู่ไกลจากปากน้ำเพียง 10 หรือ 12 ลี้ เท่านั้น เป็นเมืองเก่ามาก กล่าวกันว่าเคยเป็นเมืองที่งดงาม…" จดหมายเหตุการเดินทางของพระสังฆราชแห่งเบริธ ที่เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2205 (สมัยสมเด็จพระนารายณ์) ได้กล่าวถึงเมืองเพชรบุรี ไว้ว่า "จากเมืองปราณบุรี เรามาถึงเมืองเพชรบุรี (Pipili) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม โดยใช้เวลาเดินทาง 5 วัน เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่และมีกำแพงเมืองก่ออิฐ" จาก The History of Japan together with a description of the Kingdom of Siam 1690 - 92 ของ Engellbert Kaempfer M.D. ที่เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2233 ได้บรรยายเส้นทางการเดินทางไว้ตอนหนึ่งว่า "ต่อจากนั้นก็ถึงจาม (Czam) ถัดขึ้นไปคือเพชรบุรี (Putprib)" ในจดหมายเหตุของมองสิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนที่กล่าวถึงการเดินทางเพื่อไปลงเรือที่เมืองมะริด ในปี พ.ศ.2230 ได้บรรยายเมืองเพชรบุรีไว้ว่า"เมืองเพชรบุรีนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่ในประเทศสยามและเดิม ๆ มาพระเจ้าแผ่นดินสยามก็เคยมาประทับอยู่ในเมืองนี้เสมอ ๆ เมืองนี้มีกำแพงก่อด้วยอิฐล้อมรอบ และมีหอรบหลายแห่ง แต่กำแพงนั้นชำรุดหักพังลงมากแล้วยังเหลือดีอยู่แถบเดียวเท่านั้น บ้านเรือนในเมืองนี้ไม่งดงามเลย เพราะเป็นเรือนปลูกด้วยไม้ไผ่ทั้งสิ้นสิ่งที่งามมีแต่วัดวารามเท่านั้น และวัดในเมืองนี้ก็มีเป็นอันมาก…" จากเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเอกสารฝ่ายไทย เรียก เมืองเพชรบุรี ในสมัย
กรุงศรีอยุธยาว่า เมืองเพชญบุรีย ส่วนที่เรียกว่า เมืองวิดพรี ในคำให้การชาวกรุงเก่านั้น เอกสารฉบับนี้ต้นฉบับเป็นภาษาพม่า กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณขอคัดสำเนามาจากพม่า แล้วมาแปลเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง เป็นเรื่องราวพงศาวดารไทยที่พระเจ้าอังวะกษัตริย์พม่าให้เรียบเรียงจากคำให้การของชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนไปเมื่อครั้งพม่ายกมาตีกรุงศรี อยุธยา จึงเป็นไปได้ว่าชื่อวิดพรีนั้น เป็นการเรียกตามสำเนียงพม่า ส่วนในเอกสารชาวตะวันตกที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็เรียกชื่อเมืองเพชรบุรีแตกต่างกันไปหลายแบบคือ Tome Pires ชาวโปรตุเกส (พ.ศ.2054) เรียกว่า Peperim , Pepory ในจดหมายเหตุการเดินทางของพระสังราชแห่งเบริธ (พ.ศ.2205) เรียก Pipili ในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนิโกลาส์ แชรแวส เรียก Piply ส่วนใน The History of Japan together with a description of the Kingdom of Siam 1690 - 92 ของ Engellbert Kaempfer M.D.(พ.ศ.2233) เรียก Putprib เหตุที่มีการเรียกชื่อเมืองเพชรบุรีแตกต่างกันหลายแบบน่าจะเป็นการถ่ายเสียง จากภาษาไทยตามสำเนียงของแต่ละชาติแต่ละภาษา
เพชรบุรีในสมัยสุโขทัย  
อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี    แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้     ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ  ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ  ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง  จึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เพชรบุรีในสมัยอยุธยาตอนต้น 
เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถอำนาจใน   ส่วนกลางมีมากขึ้น  เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลางจึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม
ในสมัยพระมหาธรรมราชา  ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้  ต่อมาพระยาละแวกได้ยกทัพมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง
เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง  แข็งเมือง พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง
เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์   

                  ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษบทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อยๆ เปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้ง         ยังทรงผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว  โปรดให้สร้างพระราชวัง วัดและพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า  พระนครคีรี      ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ พระรามราชนิเวศน์หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า วังบ้านปืน         และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและ   น้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชวัง พระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์
ประวัติศาสตร์จังหวัดเพชรบูรณ์
ตราประจำจังหวัด


รูปเพชร กับภูเขา และไร่ยาสูบ
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

            ในทางด้านประวัติศาสตร์ จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองโบราณ สร้างเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้างนั้น ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ ในเรื่องนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิเคราะห์ว่า "เป็นเมืองที่สร้างมา 2 ยุค แต่สร้างลงซ้าในที่เดียวกัน สิ่งสาคัญคือ พระมหาธาตุและวัดโบราณซึ่งทำให้เราเข้าใจว่า ยุคแรกสร้างเมื่อเมืองเหนือ คือ กรุงสุโขทัยหรือพิษณุโลก เป็นเมืองหลวง ด้วยเอาลำน้ำไว้กลางเมือง เช่นเมืองพิษณุโลก กำแพงเมืองกว้างยาวด้านละ 800 เมตร ยุคที่สองจะสร้างในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้วยมีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปนศิลา สันฐานคล้ายที่เมืองนครราชสีมาแต่เล็กและเตี้ยกว่า เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนกันแต่ร่นกำแพงเมืองให้เล็กลง กว่าเดิม ภูมิฐานที่สร้างส่อให้เห็นว่าสาหรับป้องกันศัตรูฝ่ายเหนือ เพราะสร้างประชิดทางโคกป่าข้างเหนือ เอาทำเลไร่นาไว้ทางใต้เมืองทั้งสิ้น และน่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะทางพงศาวดารก็ปรากฏว่าทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกลงมาคราวไร ก็ยกลงมาทางริมแม่น้ำป่าสักทุกครั้ง"
นอกจากนั้นในท้องที่อาเภอศรีเทพ มีโบราณสถานเก่าแก่ชื่อ "เมืองศรีเทพ" จากการค้นพบซากโบราณสถานและจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในเมืองศรีเทพ ทำให้น่าเชื่อว่าเมืองเพชรบูรณ์มีอายุไม่ต่ากว่า 1,000 ปี และเป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับเมืองพิมาย ลพบุรีและจันทบุรี เพื่อเป็นจุดเผยแพร่วัฒนธรรมของขอมไปสู่อาณาจักรทวาราวดี ปัจจุบันยังมีซากตัวเมืองกำแพงเมือง และพระปรางค์ปรากฏอยู่ บริเวณที่ตั้งเมืองเป็นที่ราบ มีกำแพงดินสูงรอบเมือง ด้านนอกกาแพงเมืองมีคูเมือง ภายในเมืองมีพระปรางค์ ซากเทวสถาน รูปเทพารักษ์ พระนารายณ์ รูปยักษ์สลักด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับที่เมืองพิมาย ลพบุรี และจันทบุรี จึงเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเป็นฝีมือของขอมที่ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์เท่าที่ค้นพบมีปรากฏในสมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีดังนี้
สมัยกรุงสุโขทัย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์เกี่ยวกับเพชรบูรณ์ว่า เดิมทีเดียวคงจะตั้งชื่อเมืองเป็น "เพชรบูร" ให้ใกล้กับ "เพชรบุรี" ซึ่งแปลว่าเมืองแข็ง แต่เกรงว่าจะเหมือนกันมากเกินไปจึงตั้งชื่อเป็น "เพชรบูรณ์" ซึ่งคาดว่าชื่อเมืองคงจะตั้งรุ่นเดียวกับเมืองพิษณุโลก คำว่า "เพชรบูรณ์" อาจจะมาจากคำว่า "พืชปุระ" ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชผลก็ได้ แม้ในอินเดียเองก็มีเมืองโบราณชื่อ BIJURE ซึ่งพอเทียบได้กับ "พืชปุระ" ส่วนชื่อเมืองเพชรบูรณ์ เขียนกันเป็น 2 แบบ คือ "เพชรบูรณ์" และ "เพชรบูร" ส่วนชื่อใดจะผิดหรือถูกนั้นอาจจะพิจารณาจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (หลักที่ 93) จากวัด อโศการาม (.. 1949) ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งพาดพิงถึงเมืองเพชรบูรณ์ ดังต่อไปนี้
"รัฐมณฑลกว้างขวาง ทั้งปราศจากอันตรายและนำมาซึ่งความรุ่งเรื่อง รัฐสีมาของพระราชาผู้ทรงบุญญสมภาคพระองค์นั้น เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในด้านทิศตะวันออกทรงทาเมืองวัชชะปุระเป็นรัฐสีมาด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ทรงทาเมืองเชียงทองเป็นรัฐสีมา....."
จากศิลาจารึกหลักนี้แสดงให้เห็น อาณาเขตของกรุงสุโขทัยในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท (.. 1911) เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองสุโขทัย ได้แก่ "วัชชะปุระ" ดังนั้นชื่อเมืองเพชรบูรณ์ จึงน่าจะมาจากคำว่า "บุระ" หรือ "ปุระ" ซึ่งแปลว่า เมือง ป้อม หอวัง () ส่วนคำว่า "บูรณ์" มาจากคาว่า ปูรณ () แปลว่าเต็ม
นายตรี อมาตยกุล เขียนไว้ในเรื่อง "สำรวจเมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย" ตอนหนึ่งว่า "....เมืองเพชรบูรณ์นี้ ในสมัยสุโขทัยจะเรียกชื่อว่าเมืองอะไรยังไม่สามารถจะค้นหาหลักฐานได้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเมืองราดก็ได้ แต่ผมเห็นว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอจะต้องตรวจสอบค้น ต่อไป......"
หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งเป็นสิ่งชี้ชัดว่า "เมืองเพชรบูรณ์" เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดมหาธาตุเมืองเพชรบูรณ์ เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุของสุโขทัย เมืองอื่น ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นพุทธสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ ของกรมศิลปากร เมื่อ พ.. 2510 ได้พบศิลปวัตถุมากมาย เช่น เครื่องสังคโลกของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เหตุผลที่เกี่ยวข้องถึงเรื่องราวของเมืองเพชรบูรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่พอจะยกเอาข้อความมากล่าวได้ ดังนี้
กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ว่าด้วยการเทียบศักดินาสาหรับ ข้าราชการที่มียศสูงสุด มีศักดินาหนึ่งหมื่น ได้แก่ ตำแหน่งต่อไปนี้
. ฝ่ายทหาร
1. เจ้าพระยาอุปราช (ตำแหน่งพิเศษ)
2. เจ้าพระยามหาเสนาบดี (สมุหกลาโหม)
3. พระยาสีหราชเดโชชัย (ประจำกรุง)
4. พระยาท้ายน้ำ (ประจำกรุง)
5. พระยาสุรสีห์ (ประจำพิษณุโลก)
6. พระยาศรีธรรมราช (ประจำนครศรีธรรมราช)
7. พระยาเกษตรสงคราม (ประจำสวรรคโลก)
8. พระยาศรีธรรมาโศกราช (ประจำสุโขทัย)
9. พระยารามรณรงค์ (ประจำกำแพงเพชร)
10. พระยาเพชรรัตน์สงคราม (ประจำเพชรบูรณ์)
11. พระยากำแหงสงคราม (ประจำราชสีมา)
12. พระยาไชยาธิบดี (ประจำตะนาวศรี)
แต่เดิมในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เคยทำสัมพันธไมตรีกับพระไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์ เพราะเกรงว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่าจะยกทัพมาตี ซึ่งต่อมาในปีจุลศักราช 930 ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ก็เป็นจริงตามที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงคาดการณ์ไว้ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า "พระไชยเชษฐายังมีโอกาสปฏิบัติสัญญาตามพันธมิตรที่ได้ให้ไว้ต่อกัน ณ เจดีย์ศรีสองรักษ์ คืออีกห้าปีต่อมา ในจุลศักราช 930 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ได้รบพุ่งกันเป็นเวลา 8 เดือน จนถึงเดือนเก้า จุลศักราช 930  มะเส็งศก จึงเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง ทัพพระไชยเชษฐาจึงได้ส่งกองทัพมาช่วยทางด่านเมืองนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์ จะลงมาทางเมืองสระบุรีเป็นทัพกระหนาบ......."
นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์ดัง ต่อไปนี้
"จุลศักราช 919 เดือนยี่ ปีมะเส็ง นพศก (ราว พ.. 2100) พระยาละแวกเจ้าแผ่นดิน เขมร ยกกำลังพลประมาณ 3 หมื่น รุกรานเข้ามาทางเมืองนครนายก สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ตรัสปรึกษาในการศึกคราวนี้ เสนาบดีมุขมนตรีทั้งหลายถวายความเห็นว่า กำลังทหารและกำลังอาวุธมีน้อย เพราะถูกพระเจ้าหงสาวตีเอาไปเสียเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก เกรงว่าจะรับทัพเขมรป้องกันพระนครไว้ไม่ได้ ขอเชิญเสด็จประทับที่เมืองพิษณุโลกให้พ้นราชศัตรูก่อน สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ทรงมีบัญชาตามจึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้ขุนเทพอรชุน ได้จัดเตรียมเรือพระที่นั่งและเรือประทับเทียบเพื่ออพยพไปเมืองพิษณุโลก
ขณะนั้นพระเพชรรัตน์เจ้าเมืองเพชรบูรณ์มีความผิด ทรงพระกรุณาให้ออกจากที่เจ้าเมืองมีข่าวลือไปถึงกรุงว่า พระเพชรรัตน์โกรธคิดซ่องสุมผู้คน คอยดักทางจะปล้นทัพหลวง เมื่อเสด็จผ่านไปเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงได้รับคำแนะนำจากขุนเทพอรชุนให้ต่อสู้กับพระยาละแวกทรงเห็นชอบด้วย จึงกลับพระทัยไม่เสด็จไปเมืองพิษณุโลก และได้จัดทัพตีทัพพระยาละแวกแตกไป "
ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ยังได้กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์อีกตอนหนึ่งว่า
"ครั้นรุ่งขึ้นก็ยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองกำแพงเพชร ตั้งประทับแรมอยู่ที่ตาบลหนองปิง 3 วัน แล้วก็ยกทัพไปทางเชียงทองกุมตะเมาะ ขณะนั้นพระยากาแพงเพชรได้ส่งข่าวไปถวายว่า ไทยใหญ่เวียงสือต้นเกียกกาย ขุนปลัดมังทรางวิวายหลวง กับนายม้าทั้งปวงอันอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร พาครอบครัวอพยพหนีพม่า มอญ ตามไปทันได้รบกันที่ตำบลหนองปิงเป็นสามารถ พม่า มอญ แตกแก่ไทยใหญ่ทั้งปวง ยกไปทางเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ทรงดังนั้นก็ให้ม้าเร็วไปบอกกับหลวงโกษาและลูกขุนอันอยู่รักษาเมืองพิษณุโลกว่าซึ่งไทยใหญ่หนีมานั้น เกลือกจะเป็นเมืองอื่น ให้แต่อายัดด่านเพชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาติตระการ และซา ให้มั่นคง อย่าให้ไทยใหญ่ออกไปรอด หลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงทราบดังนั้นก็แต่งออกไปกำชับด่านทั้งปวงตามรับสั่ง" สมัยกรุงธนบุรี
จุลศักราช 1007 เดือนสี่ (ตรงกับ พ.. 2218) เจ้าพระยาจักรี (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก) เจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ) ได้นำกองทัพตีแตกทัพอะแซหวุ่นกี้ (พม่า) ที่ล้อมเมืองพิษณุโลกออกมาได้ และมาชุมนุมพักทัพที่เมืองเพชรบูรณ์
หลังจากเหตุการณ์นี้แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์จนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
มีข้อความหนังสือนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนสิ้นรัชกาลที่ 2 อันเกี่ยวกับเมืองศรีเทพและเพชรบูรณ์ ว่า
"ฉันไปมณฑลเพชรบูรณ์นั้น มีกิจอย่างหนึ่งซึ่งจะไปสืบเมืองโบราณด้วย ด้วยเมื่อแรกฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ก็ไม่มีใครรู้ว่าเมืองศรีเทพอยู่ที่ไหน ต่อมาฉันพบสมุดดำอีกเล่มหนึ่งเป็นต้นร่างกะทางให้คนเชิญตราไปบอกข่าวสิ้นรัชกาลที่ 2 ตามหัวเมืองเป็นทาง ๆ ให้คนหนึ่งเชิญตราไปเมืองสระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพ และเมืองเพชรบูรณ์"
สำหรับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่องทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ ซึ่งมีเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ด้วย ดังนี้
"เมืองวิเชียรบุรี - พระยาประเสริฐสงครามประเทศราไชยอภัยพิรียทาห แปลงเป็นพระยาเลิศสงครามเขตประเทศราไชยอภัยพิรียทาห
เมืองเพชรบูรณ์ - พระเพชรพิชัยปลัด แปลงเป็น พระเพชรพิชภูมิปลัด"
หลักฐานอันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเพชรบูรณ์ที่ชัดแจ้งมาก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชการที่ 5 ดังจะเห็นได้จาก พระนิพนธ์นิทานโบราณคดีของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ความไข้เมืองเพชรบูรณ์ ดังนี้
"หัวเมืองที่ขึ้นชื่อลือเลื่องว่ามีความไข้ MALARIA ร้ายกาจแต่ก่อนมามีหลายเมือง เช่น เมืองกำแพงเพชร และเมืองกำเนิดนพคุณ คือ บางตะพาน เป็นต้น แต่ที่ไหนๆคนไม่ครั่นคร้ามเท่าความไข้ที่เมืองเพชรบูรณ์ ดูเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า ถ้าใครไปเมืองเพชรบูรณ์ เหมือนกับไปแส่หาความตายจึงไม่มีชาวกรุงเทพฯ หรือชาวเมืองอื่น ๆ พอใจจะไปเมืองเพชรบูรณ์มาช้านาน แม้ในการปกครองรัฐบาลก็ต้องเลือกหาคนในท้องถิ่นตั้งเป็นเจ้าเมือง กรมการ เพราะเหตุที่คนกลัวความไข้ เมื่อแรกฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก็ต้องปล่อยให้เมืองเพชรบูรณ์และเมืองอื่น ๆ ในลุ่มแม่น้ำสักทางฝ่ายเหนือ คือ เมืองหล่มสักและเมืองวิเชียร เป็นอยู่อย่างเดิมมาหลายปี เพราะจะรวมเมืองเหล่านั้นเข้ากับมณฑลพิษณุโลกหรือมณฑลนครราชสีมา ที่เขตต่อกันก็มีเทือกเขากั้น สมุหเทศาภิบาลจะไปตรวจตราลาบาก ทั้ง 2 ทาง อีกประการหนึ่งเมื่อแรกฉันจัดการปกครองหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ ขอคนออกไปรับราชการ ฉันยังหาส่งไปให้ไม่ทัน เมืองทางลำน้ำสักมีเมืองเพชรบูรณ์ เป็นต้น ไม่มีใครสมัครไปด้วยกลัวความไข้ดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องรอมา"
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงคิดอุบายที่จะระงับความกลัวไข้เมืองเพชรบูรณ์ได้้ทรงกล่าวว่า
"เห็นว่าตัวฉันจะต้องขึ้นไปเมืองเพชรบูรณ์เองให้ปรากฏเสียสักครั้งหนึ่งคนจะหายกลัวด้วยเห็นว่าความกลัวไข้คงไม่ร้ายแรงถึงอย่างเช่นกลัวกัน ฉันจึงกล้าไป ถึงจะยังมีคนกลัว ชักชวนก็ง่ายขึ้นด้วยอาจอ้างตัวอย่างว่า แม้ตัวฉันก็ได้ไปแล้ว พระยาเพชรรัตน์ฯ ชอบใจว่า ถ้าฉันไปคนก็เห็นจะหายกลัวได้จริง....... พอข่าวปรากฏว่าฉันเตรียมตัวจะไปเมืองเพชรบูรณ์ ก็มีพวกพ้องพากันมาให้พร คล้ายกับจะส่งไปทัพ บ้างมาห้ามปรามโดยเมตตาปรานีด้วยเห็นว่าไม่พอที่ฉันจะเสี่ยงภัย...... แต่ส่วนพระองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย ตั้งแต่ฉันกราบทูลความคิดที่จะไปมณฑลเพชรบูรณ์ ตรัสว่า....ไปเถิดอย่ากลัว สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ของเราท่านก็เสด็จไปแล้ว......"
"ฉันไปถึงเมืองเพชรบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ท้องที่มณฑลเพชรบูรณ์บอกแผนที่ได้ไม่ยากถือลำแม่น้ำสักเป็นแนวแต่เหนือลงมาใต้ มีภูเขาสูงเป็นเทือกลงมาตามลำน้ำทั้งสองฟาก เทือกข้างตะวันออกเป็นเขาปันน้ำต่อแดนมณฑลนครราชสีมา เทือกข้างตะวันตกเป็นเขาต่อแดนมณฑลพิษณุโลกเทือกเขาทั้งสองข้างนั้น บางแห่งก็ห่าง บางแห่งก็ใกล้แม่น้ำสัก เมืองหล่มสักที่อยู่สุดลำน้ำทางข้างเหนือ แต่ลงมาถึงเมืองเพชรบูรณ์ ตรงที่ตั้งเมืองเพชรบูรณ์เทือกเขาเข้ามาใกล้ลำน้ำดูเหมือนจะไม่ถึง 400 เส้น แลเห็นต้นไม้บนเขาถนัดทั้ง 2 ฝ่าย ทำเลที่เมืองเพชรบูรณ์ตอนริมน้ำเป็น ที่ลุ่ม ฤดูน้ำ น้ำท่วมแทบทุกแห่ง พ้นที่ลุ่มขึ้นไปเห็นที่ราบทำนาได้ผลดี เพราะอาจจะขุดเหมืองชักน้าจากห้วยเข้านาได้ เช่น เมืองลับแล พ้นที่ราบขึ้นไปเป็นโคกสลับกับแอ่งเป็นหย่อมๆ ไปจนถึงเชิงเขาบรรทัด บนโคกเป็นป่าไม้เต็งรังเพาะปลูกอะไรอย่างอื่นไม่ได้ แต่ตามแอ่งน้ำเป็นที่น้าซับ เพาะปลูกพันธุ์ไม้งอกงามดี เมืองเพชรบูรณ์จึงสมบูรณ์ด้วยกสิกรรม จนถึงชาวเมืองทำนาปีหนึ่งก็ได้ข้าวพอกันกินสิ่งซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของเมืองเพชรบูรณ์ก็คือ ยาสูบ เพราะรสดีกว่ายาสูบที่อื่นหมดทั้งเมืองไทย ชาวเมืองเพชรบูรณ์จึงหาผลประโยชน์ด้วยปลูกยาสูบขายเป็นพื้น.... พวกพ่อค้าไปรับซื้อตามบ้านราษฎรแล้วบรรทุกโคต่างไปขายทางมณฑลนครราชสีมาบ้าง มณฑลอุดรบ้าง แต่มณฑลพิษณุโลกปลูกยาสูบเหมือนกัน จึงไม่ซื้อยาเหมือนเพชรบูรณ์ แต่ตลาดใหญ่ของยาสูบเมืองเพชรบูรณ์นั้นอยู่ในกรุงเทพฯ"
หลังจากที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์และเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ทรงอ้างหลักฐานยืนยันที่จะระงับความกลัวไข้ที่เมืองเพชรบูรณ์ไว้ในเรื่องความไข้ที่เมืองเพชรบูรณ์ว่า
"พอรุ่งขึ้นฉันไปเข้าเฝ้าฯ วันนั้นมีการพระราชพิธีเสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยเจ้านายและข้าราชการเฝ้าฯ อยู่พร้อมกัน เมื่อเสร็จการพิธี สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จทรงพระราชดำเนินมายังที่ฉันยืนเฝ้าอยู่ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระหัตถ์มาจับมือฉัน ดำรัสว่า ทรงยินดี ที่ฉันได้ไปถึงเมืองเพชรบูรณ์ แล้วตรัสถามว่ามีใครไปเจ็บไข้บ้างหรือไม่ ฉันกราบทูลว่า ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าฯ หามีใครเจ็บไข้ไม่ แล้วจึงเสด็จขึ้น ฉันรู้สึกว่าได้พระราชทานบาเหน็จพิเศษ ชื่นใจคุ้มค่าเหนื่อย ว่าถึงประโยชน์ของการที่ไปครั้งนี้ก็ได้สมประสงค์ เพราะแต่นั้นมาก็หาคนไปรับราชการในมณฑลเพชรบูรณ์ได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อน"
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ ได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ได้จัดรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ เข้าเป็นมณฑล ในปี พ.. 2436 และในปี พ.. 2440 ได้ยกฐานะเมืองเพชรบูรณ์ขึ้นเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ ให้ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบูรณ์ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล ยกฐานะอำเภอหล่มสักขึ้นเป็นจังหวัดหล่มสัก ในปี พ.. 2447  ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ไปขึ้นมณฑลพิษณุโลก เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เพราะการติดต่อลำบาก ต่อมาในปี พ.. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง จนกระทั่งถึง พ.. 2458  ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ให้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ไปขึ้นมณฑลพิษณุโลก จึงมีฐานะเป็นเมืองเพชรบูรณ์ตามเดิม และต่อมาได้มีการยกเลิกมณฑลต่าง ๆ เมื่อได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งพระราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 เป็นต้นมา
ส่วนเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เกี่ยวกับเมืองเพชรบูรณ์ก็คือ เมื่อปลายปี พ.ศ 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ภายหลังเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว มีพระราชพิธีราชาภิเษก ทรงรับน้ำจากสระมน (ปัจจุบันถมเต็มหมดแล้ว) ในวัดมหาธาตุไปร่วมในพระราชพิธี เรื่องนี้ นายทอง ไกรโชค และนายเย็น ไรเมือง อายุ 95 ปี เป็นผู้เล่า โดยเฉพาะนายเย็น ไรเมือง เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมไปในขบวนส่งน้ำด้วย
นครบาลเพชรบูรณ์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยกาลังอยู่ในภาวะคับขัน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายตรงข้ามมุ่งโจมตีจนผู้คนต้องอพยพออกต่างจังหวัดเป็นส่วนมาก รัฐบาลสมัยนั้นมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิจารณาเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองขณะนั้นทำให้กรุงเทพฯ ล่อแหลมต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากศัตรู ควรจะได้มีการโยกย้ายเมืองหลวงของไทยไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเพื่อเป็นการฟื้นฟูสถาบันศาสนาให้พัฒนา ปลุกคนไทยให้เกิดชาตินิยม มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จอมพล ป. มองเห็นการณ์ไกลที่ต้องการแยกศูนย์ราชการกับศูนย์การค้าออกจากกันเหมือนสหรัฐอเมริกา ที่แยกเมืองหลวงออกจากกรุงนิวยอร์ค โดยไปตั้งเมืองหลวงใหม่ คือ วอชิงตัน ดี.ซี ขึ้นแทน ใช้กรุงนิวยอร์คเป็นเมืองท่าเพราะอยู่ติดทะเล และเห็นว่าจังหวัดเพชรบูรณ์ชัยภูมิเหมาะสมเพราะมีภูเขาล้อมรอบ มีทางออกทางเดียว ศัตรูรุกรานได้ยาก ดังนั้นคณะรัฐมนตรีอันมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ยกร่างพระราชกำหนดสร้างนครบาลขึ้น แล้วย้ายสถานที่ราชการส่วนกลางมาตั้งที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พระราชกำหนดนครบาลใหม่นี้ชื่อว่า "พระราชกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์และสร้างพุทธบุรี พ.. 2487"
ใ        นการบริหารราชการนครบาลเพชรบูรณ์ครั้งนั้นจัดให้มีคณะกรมการนครบาลเพชรบูรณ์ประกอบด้วยข้าหลวงนครบาลเพชรบูรณ์ สังกัดกระทรวงมหาดไทย รองข้าหลวงนครบาลกับหัวหน้าส่วนราชการบริหารฝ่ายพลเรือนส่วนอื่น ๆ ตามที่กระทรวงเจ้าสังกัดจะแต่งตั้ง ข้าหลวงนครบาลมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและมีอำนาจของอธิบดีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการพลเรือนด้วย
เมื่อข่าวการตราพระราชกำหนดนครบาลเพชรบูรณ์แพร่ออกไป ยังความดีใจให้แก่ชาวเพชรบูรณ์เป็นอย่างมาก จนคนในสมัยนั้นพากันยกย่องชมเชยว่า จังหวัดเพชรบูรณ์คือสวิสเซอร์แลนด์ของประเทศไทย หน่วยราชการต่าง ๆ จากส่วนกลางก็ได้ขยับขยายมาจัดตั้งหน่วยทำการ เช่น กระทรวงการคลัง ตั้งอยู่ที่ถ้าฤๅษี ตำบลบุ้งคล้า อำเภอหล่มสัก (ชาวบ้านเรียกกันว่าถ้ำฤๅษีสมบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้) ได้นำพระคลังสมบัติจากกรุงเทพฯ มาเก็บไว้ที่ถ้ำนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแส ตำบลบุ้งคล้า อำเภอหล่มสัก โรงเรียนนายร้อย จ... อยู่ที่บ้านป่าแดง ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ทำเนียบจอมพล ป. ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็งเพชรเจริญ) เนื่องจากการย้ายหน่วยราชการไปอยู่นครบาลเพชรบูรณ์ได้กระทำในเวลากระทันหัน จึงต้องปลูกสร้างอาคารชั่วคราว ซึ่งสร้างด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนมาก สร้างด้วยไม้จริงเป็นส่วนน้อย จึงชำรุดหักพังไม่มีซากเหลือให้เห็นในปัจจุบัน ถนนหนทางต่าง ๆ ก็สร้างเป็นทางลำลองโดยเกณฑ์ประชาชนจากจังหวัดต่าง ๆ ทำให้คนเหล่านั้นพากันมาเจ็บป่วยล้มตายเป็นอันมากเนื่องจากไข้มาเลเรีย
แต่พอพระราชกาหนดนี้นำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอความเห็นชอบ ปรากฏว่าฝ่าย รัฐบาลแพ้เสียงเพราะสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นเห็นว่าเป็นการหมดเปลืองโดยเปล่าประโยชน์กับ ทั้งทำให้ประชาชนที่รัฐบาลเกณฑ์มาสร้างถนนสายตะพานหิน-เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นทางออกทางเดียว ต้องเสียชีวิตมากมายจึงลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ในที่สุด จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2487 นครบาลเพชรบูรณ์เป็นอันสิ้นสุดลง และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง หน่วยราชการต่าง ๆ ก็ย้ายกลับสู่กรุงเทพฯ เช่นเดิม
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476  จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑล น่าจะเนื่องจาก
1. การคมนาคมสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยงานมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495  รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
2. ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 24 กันยายน 2515 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ส่งมาประจำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรมการจังหวัดโดยตำแหน่ง และในกรณีที่มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมเป็นคณะกรรมการจังหวัดด้วย 

No comments:

Post a Comment