จังหวัดในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับ ใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลาง จังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติศาสตร์จังหวัดต่าง ๆ (ขึ้นต้นด้วย บ,ป)

ประวัติศาสตร์จังหวัดบึงกาฬ
ตราประจำจังหวัด

ภูทอก บึงโขงหลง และต้นไม้ ในวงลวดลายไทย
คำขวัญประจำจังหวัด
ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี
ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง
จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
ใน พ.ศ. 2537 นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย เสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร  และมีประชากรประมาณ 390,000 คน อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี
โครงการร้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ... ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น โดยให้เหตุผลว่า
  • เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน,
  • จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน,
  • จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน,
  • จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
  • บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก
ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า
"...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย
เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดงานฉลองจังหวัดบึงกาฬอย่างยิ่งใหญ่ โดยมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น
 จังหวัดบึงกาฬ ห่างจาก จังหวัดหนองคาย 145 กม. และติดกับ จังหวัดนครพนม มีการปลูกยางมากที่สุด รายได้ดีประชากรดีมาก
จังหวัดบึงกาฬ แยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า มีประชากรเกือบ 4 แสนคน มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตารวจน้ำ

อำเภอบึงกาฬ เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี พ..2459 ทางราชการก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้นทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ปี พ..2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้าใหญ่แห่งหนึ่งกว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออาเภอชัยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาปี พ..2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อาเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ ตามลาดับ
ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ ตั้งอยู่ที่บ้านบึงกาฬ หมู่ที่ 1 ตำบลบึงกาฬ ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 136 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 673.262 ตารางกิโลเมตร โดย แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 121 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบึงกาฬ ตาบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี ตำบลหอคำ ตำบลหนองเลิง ตำบลหนองเข็ง ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลนาสวรรค์ ตำบลคานาดี ตำบลโคกก่อง ตำบลชัยพร และตำบลโป่งเปือย
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยสุขาภิบาล 1 แห่ง คือ สุขาภิบาลบึงกาฬ มีองค์การบริหาร ส่วนตาบล (อบต.) ครบทุกตาบล ยกเว้นตาบลโป่งเปือยที่ยังเป็นสภาตาบล รอการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในอนาคต 
  
ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์
ตราประจำจังหวัด

รูปเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง
คำขวัญประจำจังหวัด

มืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

          คำว่า บุรีรัมย์ ซึ่งแปลว่า เมืองที่น่าพอใจ มีความเป็นมายาวนานและมีหลักฐานที่แตก ต่างกัน จะขอนำตัวอย่างหลักฐานอ้างอิง ดังนี้
1. ประกาศแต่งตั้งขุนนางไทย ร.. 87 ปีที่ 1 รัชกาลที่ 5 มีความว่า ให้พระสำแดงฤทธิณรงค์ เป็น พระนครภักดีศรีนัครา เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมา ถือศักดินา 1,000 ฯลฯ ตั้งแต่ ณ วันพุธ ขึ้น 1 คํ่า เดือน 3  ปีมะโรง สัมฤทธิศก ศักราช 1230 เป็นวันที่ 65 ใน รัชกาลปัจจุบัน
2. จากประวัติจังหวัดนครราชสีมา แต่งโดยสุขุมาลย์เทวี กล่าวว่า สมัย สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองขึ้น 5 เมือง คือ นครจันทึก ชัยภูมิ พิมาย บุรีรัมย์ นางรอง
3. ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ โดยหลวงวิจิตรวาทการ . ๓ กล่าวว่า บุรีรัมย์ เดิมชื่อ โนนม่วง ตั้งสมัยกรุงธนบุรี พ.. 2318
ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์ มีความแตกต่างจากประวัติศาสตร์จังหวัดอื่น ตรงที่ว่า ประวัติศาสตร์จังหวัดอื่นส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ชุมชน ซึ่งรวมตัวกันขึ้นในจุดใดจุดหนึ่ง และจุดนั้นก็พัฒนามาจนกลายเป็นจังหวัด หรือเมืองนั้น ๆ แต่เมืองบุรีรัมย์จุดเริ่มต้นและจุดที่เป็นจังหวัดคนละแห่งกัน ความสัมพันธ์ของทั้งสองจุดก็ไม่ได้แน่นแฟ้นกันนัก ประวัติศาสตร์ที่ได้มาจึงมีลักษณะที่เด่น คือเป็นเรื่องของชาวบุรีรัมย์ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจ้าเมืองบุรีรัมย์เพียงอย่างเดียว
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบัน เป็นดินแดนที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นมาโดยตลอด จากหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
         1. จากการศึกษาสำรวจ และศึกษาจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และ ผศ. ทิวา ศุภจรรยา ปรากฏว่า มีเมืองและชุมชนโบราณเฉพาะในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เกินกว่า 130 แห่ง เมืองและชุมชนเหล่านั้นจะมีคูนํ้า คันดินล้อมรอบถึง 3 ชั้น ก็มีลักษณะของเมืองเป็นรูปทรงกลมเกือบทั้งหมด จากการวิเคราะห์ในชั้นต้นเป็นเมืองและชุมชนที่อายุอยู่ในสมัยทวารวดี ซึ่งจากข้อสำรวจดังกล่าวในบริเวณลำนํ้ามูลพบว่า ลำนํ้านี้เป็นลำนํ้าหลักของบริเวณ ไหลมาจากทางทางตะวันตกผ่านตอนใต้ของอำเภอพุทไธสง ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังเขตอำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตามลำดับ ทางฝั่งใต้ของ แม่นํ้ามูลในรัศมี 2-17 กิโลเมตร จากฝั่งนํ้า ได้พบชุมชนเป็นระยะไป ซึ่งล้วนแต่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มทั้งสิ้น คือ บ้านปะเคียบ บ้านโนนสูง บ้านแพ บ้านดงเค็ง บ้านสระขี้ตุ่น บ้านเขว้า บ้านกระเบื้อง บ้านโคกเมืองไช บ้านเมืองน้อย บ้านดงพลอง บ้านตะแบง บ้านโคกเมือง บ้านทุ่งวัง และบ้านสำโรง ชุมชนโบราณที่กล่าวถึงนี้อาจวิเคราะห์ตามรูปร่างลักษณะและสภาพแวดล้อม คือ
(1) แบบที่เป็นเนินดินสูงจากระดับ 5 เมตรขึ้นไป จากที่ราบลุ่มในบริเวณรอบๆ ไม่มีคูนํ้าและคันดินล้อมรอบ บางแห่งก็เป็นเนินเดี่ยว แต่บางแห่งก็เป็นสองสามเนินดินต่อกัน ตามเนินดินจะมีเศษเครื่องปั้นดินเผา ทั้งที่มาจากหม้อกระดูกและไม่ใช่หม้อกระดูกกระจัดกระจายอยู่เนินดิน ที่เป็นแหล่งสำคัญในแบบนี้ได้แก่ บ้านกระเบื้อง ซึ่งเป็นเนินดินขนาดใหญ่มี ๓ เนินดินติดต่อกัน ในการตัดถนนผ่านหมู่บ้านรถแทรกเตอร์ได้ตัดชั้นดินของแหล่งชุมชนโบราณลึกไปอีกถึง 3-4 เมตร เผยให้เห็น ชั้นดินที่มีการอยู่สืบเนื่องกันมาอย่างน้อย 2-3 ชั้น ชั้นตํ่าสุดสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาแบบหนาและหยาบ เปลือกหอย และกระดูกสัตว์ ชั้นบนๆ ขึ้นมาสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาชนิดบางมีลายเชือกทาบ และบรรดาภาชนะบรรจุกระดูกคน ตามแบบต่างๆ นอกนั้นยังพบเศษขี้โลหะ ที่เหลือจากการถลุงแล้ว เนินดินอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านโคกสูง พบชั้นดินที่อยู่อาศัยอย่างน้อย 2-3 ชั้น และพบเศษขี้แร่โลหะ เช่นเดียวกันกับที่บ้านกระเบื้อง
(2) แบบที่เป็นเนินดินที่คูนํ้าล้อมรอบ ได้แก่ บ้านแพ บ้านโคกเมืองไช บ้านเมืองน้อย บ้านดงพลอง บ้านโคกเมือง และบ้านทุ่งวัง ชุมชนโบราณเหล่านี้บางแห่งก็มีคูนํ้าล้อมรอบชั้นเดียว แต่บางแห่งก็มีคูนํ้าล้อมรอบตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป เช่น บ้านดงพลอง และบ้านโคกเมือง แหล่งสำคัญเห็นจะได้แก่บ้านดงพลอง ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีคูนํ้าล้อมรอบสองชั้น พบเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใส่กระดูกคนตายและเครื่องปั้นดินเผาเครือบแบบลพบุรี ซึ่งเข้าใจว่าคงแพร่มาจากเตาบ้านกรวด แสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้คงมีอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บ้านโคกเมืองก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นชุมชนรูปกลม มีคูนํ้าล้อมรอบถึง 3 ชั้น ภายในชุมชนพบเศษภาชนะดินเผา พร้อมบรรจุกระดูกและขี้โลหะที่ถลุงแล้วเป็นจำนวนมาก ถัดมาก็เป็นบ้านทุ่งวัง ซึ่งเป็นเนินดิน 2-3 เนินที่มีคูนํ้าโอบรอบเข้าไว้ด้วยกัน พบเสมาหินทรายแบบทวารวดี และเนินดินลูกหนึ่งที่ใช้เป็นแหล่งถลุงโลหะโดยเฉพาะ นอกนั้นยังมีผู้พบเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาแบบขอมซึ่งเป็นของใน พุทธศตวรรษที่ 16-18 ลงมา
(3) แบบที่เป็นเนินดิน 2-3 เนิน มีคูนํ้าล้อมรอบและมีการสร้างคันดินโอบรอบอีก ชั้นหนึ่งพบที่บ้านปะเคียบเพียงแห่งเดียว แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของผังชุมชนตั้งแต่ระยะแรกที่มีเพียง เนินดินเป็นที่อยู่อาศัย แล้วต่อมาก็มีการขุดคูนํ้าล้อมรอบ และในสมัยหลังสุดก็มีการสร้างคูคันดินเป็นกำแพงเมืองโอบรอบอีกชั้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่น่าเสียดายที่ว่าการสร้างกำแพงดินนี้เสร็จ เพียงแค่ด้านตะวันตกด้านใต้ถ้าหากว่าทำเสร็จแล้วผังของชุมชนแห่งนี้จะเป็นลักษณะเดียวกันกับ ผังเมืองร้อยเอ็ด และสุรินทร์ทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการที่จะปรับปรุงให้ชุมชนบ้านปะเคียบเป็นเมืองขึ้นในสมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 นอกจากนี้บริเวณภายในชุมชนบ้านปะเคียบเองก็แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่สอดคล้องกับลักษณะผังเมืองที่ได้กล่าวมาแล้วคือพบเนินดินที่จัดไว้เป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ เป็นที่ฝังอัฐิคนตาย ซึ่งบรรจุไว้ในหม้อกระดูก ต่อมาบริเวณนี้ ได้กลายเป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนา มีเสมาหินที่มีรูปสลักเป็นรูปสถูปและฐานกลีบบัว อันเป็นสัญลักษณ์ในทางพุทธศาสนา ปักอยู่หลายหลัก รวมทั้งมีชิ้นส่วนของธรณีประตูหินที่แสดงให้เห็นว่า เคยมีการสร้างอาคารในรูปของวิหารบนเนินนี้ด้วย นอกจากนี้ยังพบเศษโลหะสัมริดที่หล่อเป็นรูป วงแหวนและชิ้นส่วนของเทวรูปและข้างในบริเวณนี้อีกด้วย อันแสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่มีพัฒนาการมาถึงสมัยทวารวดี และลพบุรี
         ทางฝั่งเหนือของลำนํ้า ในรัศมี 2-7 กิโลเมตร จากฝั่งนํ้าสำรวจพบแหล่งโบราณคดี จำนวน 17 แห่ง คือ บ้านเมืองไผ่ บ้านเมืองบัว บ้านจาน บ้านขี้เหล็ก บ้านนํ้าอ้อมใหญ่ บ้านแสงสุข บ้านยะวึก บ้านขี้ตุ่น บ้านนํ้าอ้อม บ้านกระเบื้องใหญ่ บ้านกระเบื้องน้อย บ้านหัวนาดำ บ้านสำโรง บ้านตึกชุม บ้านโนนยาว บ้านเขาโค้ง บ้านกระเบื้อง แหล่งโบราณคดีเหล่านี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับทางฝั่งด้านใต้ของแม่นํ้ามูล คือ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ คือ แบบที่เป็นเนินดินโดยไม่มีคูนํ้าล้อมรอบ และแบบที่มีคูนํ้าล้อมรอบ ในบรรดาแบบที่ไม่มีคูนํ้าล้อมรอบที่น่าสนใจเห็นจะได้แก่ บ้านกระเบื้องใหญ่ ตำบลยะวึก เป็นเนินดินขนาดใหญ่ที่มีความสูงลาดขึ้นไปจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก แสดงถึงการทับถมของแหล่งที่อยู่อาศัยหลายยุคหลายสมัย ตอนปลายเนินทางด้านตะวันออก ซึ่งเป็นตอนที่สูงสุดนั้นปัจจุบันเป็นเขตวัดประจำหมู่บ้าน ดูเหมือนจะถูกจัดไว้ให้เป็นแหล่งศักดิ์สิทธิของชุมชนในสมัยโบราณ เพราะเป็นบริเวณที่มีเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้เป็นหม้อบรรจุกระดูกคนตายอยู่หนาแน่นกว่าที่อื่นๆ เนินดินอีกแห่งหนึ่งคือ ที่บ้านโนนยางร้างอยู่ในเขตตำบลบ้านกระเบื้อง อำเภอชุมพลบุรี เป็นเนินดินที่ตั้งอยู่ติดกับลำแม่นํ้ามูล ปัจจุบันลำนํ้าเปลี่ยนทางเดินเลยกัดเซาะเนินดินแห่งนี้พังทลายลงนํ้าไปครึ่งเนิน เผยให้เห็นถึงชั้นดินธรรมชาติ และชั้นดินที่อยู่อาศัยตั้งแต่ชั้นล่างสุดจนถึงชั้นบนสุดที่มีระดับสูงถึง 4 เมตร เนินดินแห่งนี้ทางคณะสำรวจได้ทำการขุดหลุมทดลองทำผังบริเวณ นำเศษเครื่องปั้นดินเผามาวิเคราะห์ และส่งตัวอย่างถ่านไปทำการกำหนดอายุที่สถาบันพลังงานปรมาณูแห่งชาติ
         ส่วนแหล่งโบราณคดีแบบที่มีคูนํ้าล้อมรอบนั้น ในบริเวณนี้มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ แหล่งที่เป็นขนาดเล็กมีลักษณะกลม และบางแห่งก็มีคูนํ้าล้อมรอบ 2-3 ชั้น เช่น บ้านนํ้าอ้อมใหญ่ เป็นต้น แต่มักเป็นเนินดินตํ่า ๆ  มีชั้นดินที่มีเศษเครื่องปั้นดินเผาไม่ลึก และไม่มีความหนาแน่น แสดงถึงการตั้งหลักแหล่งแต่เพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วร้างไป ส่วนแหล่งขนาดใหญ่นั้นมักมีรูปแบบไม่สมํ่าเสมอ เช่นที่บ้าน ยะวึก และบ้านตึกชุม เป็นต้น แต่ละแห่งมีคูนํ้าล้อมรอบขนาดใหญ่ที่สำคัญเห็นจะได้แก่ บ้านยะวึก เพราะภายในบริเวณที่มีคูนํ้าล้อมรอบนั้น มีอยู่หลายเนินดินที่อยู่อาศัย พบเศษเครื่องปั้น ดินเผาที่เป็นหม้อบรรจุกระดูกและขี้โลหะที่เหลือจากการถลุงกระจายไปทั่ว นอกคูนํ้าออกมาก็มีเนินดินที่บางเนิน เช่น บริเวณที่วัดยะวึก ตั้งอยู่นั้นมีลักษณะเหมาะที่เป็นทั้งแหล่งฝังอัฐิคนตายและการถลุงโลหะ ทางคณะสำรวจได้ทำการขุดหลุมทดลองในบริเวณนี้เช่นกัน ห่างออกไปทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวทางถนนที่เป็นคันดินไปติดต่อกับแหล่งชุมชนโบราณที่บ้านนํ้าอ้อมใหญ่ และบ้านแสงสุข ยิ่งกว่านั้นยังมีแนวทางไปติดต่อกับชุมชนโบราณอีกหลายแห่งในเขตลำนํ้าพลับพลาทางเหนือจากร่องรอยคันดินที่สัมพันธ์กับแหล่งชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียงเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณที่บ้านยะวึกนี้มีลักษณะเป็นชุมชนใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นก็ว่าได้
2. มีการขุดพบพระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวารวดี ที่บ้านเมืองฝ้าย ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอ ลำปลายมาศ และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวารวดีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย
นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์ ที่อำเภอพุทไธสง ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 และพบใบเสมาที่บ้านปะเคียบ อำเภอคูเมือง อันเป็นโบราณวัตถุสมัย ทวารวดี ดังนั้นจึงทำให้สันนิษฐานได้ว่า ดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งชุมชนสมัยทวารวดี อย่างน้อยที่สุดก็ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 13
3. จากหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบันด้านสถาปัตยกรรม และเครื่องมือเครื่องใช้ เช่นปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองตํ่า และอื่นๆ อีกมาก เทวรูป พระพุทธรูป ซึ่งมีความงดงามและมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และใกล้เคียง นอกจากนั้นยังมีเครื่องปั้นดินเผาชนิดเผาแกร่ง มีเตาเผาขนาดใหญ่ ซึ่งนักโบราณคดีหลายท่านกล่าวว่า ไม่พบในที่อื่นแม้แต่ในเขมรตํ่า (ประเทศกัมพูชา) ศิลปสถาปัตยกรรมเหล่านี้มีอายุอยู่ในสมัยพระนคร
4. จากการก่อสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานประกอบกิจทางศาสนา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ผู้มีอำนาจ เข้าใจว่าปราสาทหินเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของ เมืองใด เมืองหนึ่งในละแวกใกล้เคียงกันเพราะห่างจากเขาลูกนี้ไปทางใต้ ประมาณ 8 กิโลเมตร มีเมืองโบราณเมืองหนึ่งขนาดไม่ใหญ่โตนักแต่มีระบบการชลประทาน หรืออ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชนเมืองนั้นได้ตลอดทั้งปี อ่างเก็บนํ้านี้บุผนังทั้ง 4 ด้าน ด้วยศิลาแลง กำแพงเมืองเป็นกำแพงดินที่ขุดจากคูรอบเมืองพูนให้สูงขึ้น และปักเสาระเนียดบนคันดินนั้น ร่องรอยต่างๆ สาบสูญหมดแล้ว คงเหลือเพียงคันดินและกำแพงดินบางตอนเท่านั้น ที่กลางเมืองมีเทวสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นบนผังที่งดงาม ตัวเทวสถานสร้างขึ้นด้วยอิฐทั้งหลัง ส่วนระเบียงและใดปุระทั้ง ๔ เรียงด้วยหินทราย การเรียงอิฐก่อสร้างในเทวสถานใช้ กรรมวิธีอย่างดียิ่งจนสามารถทำให้เนื้ออิฐแนบสนิทจนเกือบจะเป็นเนื้อเดียวกันเห็นเป็นรอยเส้นเล็กๆ ระหว่างอิฐแต่ละก้อนเท่านั้น อิฐเหล่านี้มีส่วนของการผสมดินที่ดี จนสามารถนำมาฝนให้เรียบในระหว่างการเรียง และใช้นํ้าที่ละลายออกมาจากอิฐนั้นปนด้วยยางไม้หรือนํ้ากาวเป็นตัวเชื่อมอิฐเข้าด้วยกัน ทำให้ดูไม่เห็นรอยเลื่อมต่อของอิฐ
ตามลักษณะของเทวสถานเมืองโบราณแห่งนี้ เมื่อนำไปเทียบกับเทวสถาน 2-3 หลัง ที่ก่อสร้างด้วยอิฐบนยอดเขาพนมรุ้งแล้วเห็นว่าน่าจะสร้างขึ้นในยุคสมัยไล่เลี่ยกัน หรือ ยุคเดียวกันในราวพุทธศตวรรษที่ 16
5. จากศิลาจารึก ซึ่งพบที่ เขาพนมรุ้ง ได้กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ ที่เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างและดูแลรักษาปราสาทพนมรุ้ง เป็นคนละองค์กับกษัตริย์ที่ปกครองนครวัด เช่น หิรัณยะวรมันกษีตินทราทิตย์ วิเรนทรวรมัน เป็นต้น และระบุศักราชเป็น พ.. 1433 ก็มี 1532 ก็มี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแถบนี้เป็นอิสระ แต่ยอมรับความเป็นผู้นำของพระนคร
จากหลักฐานและเหตุผลข้างต้นนี้ พอจะสรุปได้ว่าดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ (เขตจังหวัดไม่ใช่ตัวจังหวัด) ปัจจุบันนี้เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาตั้งแต่ สมัยทวารวดีถึงสมัยลพบุรี มีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองเป็นอิสระ มีประชาชนอยู่หนาแน่น จนสามารถเกณฑ์แรงงานสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่อย่างปราสาทเขาพนมรุ้ง และแต่ละชุมชนจะต้องมีประชากรหนาแน่นพอที่จะสร้างคูเมืองขนาดใหญ่ได้ เมืองต่างๆ เหล่านี้คงร้างไปตามธรรมชาติ หรือจากภัยต่าง ๆ เช่น ฝนแล้ง โรคระบาด สงคราม โจรผู้ร้าย เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแม้แต่นครวัด นครธม ที่ถูกอาณาจักรอยุธยารุกรานครอบครอง เมื่อ พ.ศ. 1895 และได้ร้างอยู่จนป่าไม้ใหญ่ปกคลุม ขนาดที่ชาวฝรั่งเศส เข้าไปพบโดยบังเอิญ และไม่เชื่อในสายตาตัวเองว่าจะพบสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ เช่นนี้ สอบถามชาวบ้านก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นอะไร สร้างเมื่อไร หากไม่ได้อาศัยศิลาจารึกก็คงไม่มีใครทราบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
อาจมีประชาชนส่วนหนึ่งที่รอดจากภัยมาได้ เข้าหลบอยู่ในป่าชายแดน จนทำให้ทาง กรุงศรีอยุธยาเรียกว่า เขมรป่าดง
ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นบุรีรัมย์ขาดตอนอยู่ช่วงหนึ่งคือ จากยุคโบราณมาจนถึงยุคสิ้นสุดการก่อสร้างปราสาทหินในที่ต่างๆ จากนั้นประวัติศาสตร์บุรีรัมย์เริ่มชัดเจนขึ้นอีกครั้งหนึ่งตอนปลายสมัยอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยนี้ดินแดนในแถบเมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง เมืองตลุง (อ.ประโคนชัย ปัจจุบัน) เมืองนางรอง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองตลุงเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็น หัวเมืองชั้นเอก
จากประวัติจังหวัดนครราชสีมา รวบรวมโดยสุขุมาลย์เทวีกล่าวว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น พระองค์ได้แต่งตั้งให้พระยายมราช (สังข์) ครองเมืองนครราชสีมา สมัยนั้นเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่ มีเมืองขึ้น 5 เมือง คือ นครจันทึก ชัยภูมิ พิมาย บุรีรัมย์ นางรอง ต่อมาขยายเมืองเพิ่มเติมอีก 9 เมือง คือ จัตุรัส เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว ชนบท พุทไธสง ประโคนชัย รัตนบุรี และปักธงชัยสมัยกรุงธนบุรี
ใน พ.. 2320 กองทัพกรุงธนบุรีได้ยกไปตีเมืองบุรีรัมย์ และจากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 กล่าวว่าใน พ.. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพทางบก นำทัพสมทบกับกำลังเมืองตะวันออก ให้เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช เป็นแม่ทัพยกไปเกณฑ์เขมรต่อเรือรบ ยกขึ้นไปทางแม่นํ้าโขง เพื่อตีเมืองนครจำปาศักดิ์ ในการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพมานี้ ปรากฏประวัติเมืองบุรีรัมย์ว่า ใน พ.. 2321 พระยานางรองเป็นกบฎโดยคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้เจ้าพระยาจักรี (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) มาปราบปรามเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเหล่านี้ให้เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมาตามเดิม
แต่ตามจดหมายจากประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 นั้นกล่าวว่า เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ครั้งนั้นชื่อ เจ้าไชยกุมารฯ พ่ายแพ้แก่กองทัพกรุงธนบุรี จึงถูกคุมตัวไปยังกรุงธนบุรี แต่ในที่สุดได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปนครจำปาศักดิ์ ในฐานะประเทศราชอีก ในการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพมาถึงจังหวัดบุรีรัมย์เดี๋ยวนี้ หนังสืออ่านเรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ตีพิมพ์ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ กล่าวว่า พระองค์ได้พบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มนํ้าห้วยจรเข้มาก มีชัยภูมิดี แต่สถานที่เดิมมีไข้เจ็บชุกชุม เขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านอยู่โดยรอบ คือ บ้านโคกหัวช้าง บ้านทะมาน๓ (บริเวณสนามบินปัจจุบัน) จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองร้างนั้นที่ข้างต้นแปะใหญ่ (ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองปัจจุบันนี้) และโปรดเกล้าฯ ให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสง ซึ่งติดตามมาพร้อมด้วยครอบครัวเป็นเจ้าเมืองแล้วชักชวนให้ชาวเขมรป่าดงนี้ มาตั้งหลักแหล่งทำเรือกสวน ไร่ นา ในเมืองร้างจนเป็นปึกแผ่น เมืองนี้จึงใช้นามว่า เมืองแปะ บุตรเจ้าเมืองพุทไธสงสมัยนี้ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี เมื่อพระยานครภักดีวายชนม์ลง บุตรชื่อนายหงส์ เป็นเจ้าเมืองแทน ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี เมื่อ พ.. 2350
นอกจากนี้ปรากฏจากพงศาวดารเมืองสุรินทร์ว่า ในจุลศักราช 1143 ปีฉลู ตรีศก ตรงกับ พ.. 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดจลาจลโดย เจ้าฟ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิบูลราช (ชู) คิดกบฎจับสมเด็จพระบรมราชาธิราช เจ้ากรุงกัมพูชาไปถ่วงนํ้าเสีย ยกนักองค์เองขึ้นเป็นเจ้าแล้วกลับไปฝักใฝ่ทางญวน พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปรามโดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ สุรินทร์ สังขะ แล้วไปตีเมืองประทายเพ็ชร ประทายมาศ ประทายสมันต์ กำแพงสวาย เสียมราฐ แต่การยกทัพไปปราบปรามยังมิทันราบคาบดี ข้างฝ่ายใน กรุงธนบุรี พระเจ้าแผ่นดินมีสติวิปลาศ ทรงประพฤติการวิปริตต่างๆ บ้านเมืองกำลังระสํ่าระสายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทราบข่าวจำเป็นต้องกลับคืนสู่พระนคร บ้านเมืองที่ตีได้ก็กวาดต้อนและ แตกตื่นอพยพมาบ้าง ทั้งพระสุรินทร์ภักดีณรงค์จางวาง ก็ได้มีหนังสือลงไปเกลี้ยกล่อมญาติพี่น้อง ปรายเขมร ทางแขวงเมืองเสียมราฐ สะโตง กำแพงสวาย ประทายเพ็ชร ให้ขึ้นมาทางบน ออกญาแอก กับนางรอง พาบ่าวไพร่ไปตั้งอยู่ที่นางรอง ออกญาหงษ์ ไปตั้งอยู่ที่โคกเมืองแปะ (ที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบัน)
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองบุรีรัมย์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมืองน้อย
ตามที่ปรากฏในบันทึกภูมิศาสตร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่นายสุข รวบรวมไว้มีความว่า พระนครภักดี (หงส์ ต้นตระกูล หงษ์รุจิโก) บุตรพระยาดร (เอม) เจ้าเมืองพุทไธสมัน (ปัณเทียยมาล) ได้พาครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านตะโก ต่อมาได้สร้างเป็นเมืองขึ้นเมื่อ พ.. 2350 เรียกว่า เมืองแปะ เพราะมีต้นแปะอยู่กลางเมือง
นอกจากนี้บางประวัติยังกล่าวว่าใน พ.. 2370 เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้ เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนและเสยียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองแปะ เมืองนางรอง พระนครภักดี (หงษ์) นำราษฎรออกต่อสู้ เมื่อสู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองพุทไธสมัน ทหารลาวตามไปทันแล้วจับตัวได้ที่ช่องเสม็ด (ช่องเขาที่จะไปประเทศกัมพูชา) เมื่อถูกจับแล้ว ทหารลาวนำตัวพระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่จับได้ไปให้เจ้าราชวงศ์ แล้วถูกควบคุมตัวไว้ที่ทุ่งเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งเจ้าราชวงศ์ตั้งทัพอยู่ที่นั่น แต่พระยานครภักดี (หงส์) และครอบครัวที่ถูกควบคุมตัวได้จับอาวุธต่อสู้เพื่อหนี จึงถูกฆ่าตายหมด
นอกจากนี้ ในบางเล่มยังกล่าวถึงประวัติเมืองบุรีรัมย์ ที่แตกต่างออกไปอีกดังนี้ว่า บุรีรัมย์มีชื่อว่าเมืองจรเข้ เดิมขอมดำได้เข้าตั้งเป็นเมืองเล็กๆ ในลุ่มนํ้าห้วยจรเข้ และให้ชื่อเมืองตามลุ่มนํ้านั้น เพราะมีจรเข้ชุมมาก และไข้ป่ามีพิษรุนแรง ขอมดำอยู่ได้ไม่นานก็ทิ้งร้างไป ครั้นขอมดำสิ้นอำนาจไทยจึงเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มนํ้าห้วยจรเข้นี้อีก ตอนแถบบ้านโคกหัวช้าง และบ้านทะมาน จนถึงสมัย กรุงธนบุรี เจ้าเมืองนางรอง และเจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมือง พระเจ้าตากสินโปรดให้เจ้าพระยาจักรี ยกทัพออกไปปราบแล้วนำบุตรชายเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) มาด้วย ผ่านมาทางลุ่มนํ้าจรเข้ เห็น ผู้คนตั้งบ้านเรือนมาก และได้ทราบว่าที่นั่นเป็นเมืองร้างของขอมดำอยู่ก่อนแล้ว ชื่อเมืองจรเข้ จึงได้ตั้งเมืองขึ้นที่เมืองร้างนั้น และให้ชื่อว่า เมืองแปะ ตามนามต้นไม้ใหญ่ ครั้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 โปรดให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บุรีรัมย์
ประวัติศาสตร์บางเล่มก็เล่ากันว่า ขอมได้ครอบครองเมืองบุรีรัมย์และใช้เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัมพูชา กับหัวเมืองขึ้นในภาคอีสานของไทย เช่น พิมาย สกลนคร มีถนนโบราณเหลืออยู่สายหนึ่ง เริ่มจากบ้านละลมพะเนา (บ้านละลมทะนู ปัจจุบัน) ตำบลจันดุม อำเภอประโคนชัย ขึ้นไปอำเภอพุทไธสง มีหลักหินปักเป็นระยะๆ จนถึงเขาพนมรุ้งในสมัยที่ไทยเรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตมายังเมืองบุรีรัมย์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มาครองเมืองบุรีรัมย์ ทางนครราชสีมาหรือทางหลวงพระบาง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเมืองขึ้นอยู่กับนครราชสีมา มีศูนย์กลางการ ปกครองอยู่ที่เมืองนางรอง (ปัจจุบัน คือ อำเภอนางรอง) และมีเมืองใกล้เคียงหลายหัวเมือง เช่น เมืองพุทไธสมัน (ปัจจุบัน คือ อำเภอพุทไธสง) เมืองตลุง (ปัจจุบัน คือ อำเภอประโคนชัย) ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณ พ.. 2321 เจ้าเมืองนางรอง ได้แข็งเมือง เจ้าพระยาจักรได้ยกมาเกลี้ยกล่อมให้เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา ตามเดิม เมื่อเสด็จกลับได้ทรงพบเมืองร้างซึ่งมีชัยภูมิดี จึงโปรดให้ตั้งเมืองขึ้นเรียกว่า เมืองแปะ ตามชื่อต้นแปะใหญ่ (ปัจจุบันบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) ทรงแต่งตั้งบุตรเจ้าเมืองพุทไธ-สมัน คือ พระยาภักดี ขึ้นครองเมือง ครั้นถึง สมัยพระยานครภักดี (ทองดี) เป็นเจ้าเมือง ทางราชการได้รวมเมืองนางรอง เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เมืองรัตนบุรี เมืองตลุง และเมืองแปะ เข้ามาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า บริเวณนางรอง และตัวศาลากลางอยู่ที่เมืองปะ ต่อมาอาณาเขตนางรองเปลี่ยนไป คือ เมืองพิมายโอนไปขึ้นอยู่กับนครราชสีมา เมืองรัตนบุรีไปขึ้นอยู่กับสุรินทร์ ซึ่งบริเวณนางรองก็เปลี่ยนเป็นบุรีรัมย์ มี พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน) เป็นเจ้าเมืองคนแรก (.. 2441 - 2444)
ตั้งแต่เมืองแปะได้ตั้งขึ้นมีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมา คือ
1. พระยานครภักดี (บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน)
2. พระยานครภักดี (หงษ์)
3. พระปลัด บุตรพระยานครภักดี (หงษ์) เป็นผู้รั้งตาแหน่งชั่วคราว
4. พระพิพิธ (สาแดง) ส่งมาจากนครราชสีมา
5. พระนครภักดี (พระสาแดง) .. 1230 (.. 2411)
6. พระแพ่ง (รั้งตาแหน่ง) ส่งมาจากนครราชสีมา
7. พระชมภู (รั้งตาแหน่ง) ส่งมาจากนครราชสีมา
8. พระนครภักดี (ทองดี) บุตรพระปลัด
ความเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ 5 - ปัจจุบัน
ในปี พ.. 2433 มีการประกาศเรียกชื่อข้าหลวงกำกับหัวเมืองทั้ง 4 ขึ้น โดยแยกเมืองบุรีรัมย์ไปขึ้นกับลาวฝ่ายเหนือ และพ่วงเมืองนางรองไปด้วย ขณะที่เมืองพุทไธสง และเมืองตะลุง ยังคงสังกัดอยู่กับเมืองนครราชสีมา ตามเดิม ดังนี้
1. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก (จำปาศักดิ์) มีเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก 11 เมือง เมืองขึ้น 21 เมือง (โท ตรี จัตวา) รวม 32 เมือง
2. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี) มีเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก 12 เมือง โท ตรี จัตวา 29 เมือง รวม 41 เมือง
3. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ (หนองคาย) มีเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก 16 เมือง คือ หนองคาย เชียงขวาง บริคัณทนิคม โพนพิสัย ชัยบุรี ท่าอุเทน นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กมุทาสัย หนองหาร บุรีรัมย์ ขอนแก่น คำมวน คำเกิด และหล่มสัก
บุรีรัมย์มีเมืองสังกัด 1 เมือง คือ เมืองนางรอง
4. หัวเมืองลาวกลาง (นครราชสีมา) มีหัวเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก 3 เมือง คือ นครราชสีมา ชนบท และภูเขียว
หัวเมือง โท ตรี จัตวา สังกัดทั้งหมด 12 เมือง
เมืองนครราชสีมา มี 8 เมือง คือ พิมาย รัตนบุรี นครจันทึก ปักธงชัย พุทไธสง ตะลุง สูงเนิน และกระโทก
เมืองชนบท มี 4 เมือง คือ ชัยภูมิ โนนลาว เกษตรสมบูรณ์ และจตุรัส
ประกาศเปลี่ยนชื่อมณฑล
เมื่อ ร.. 118 (.. 2442) ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อ มณฑลต่างๆ ตามพื้นที่เป็นมณฑลว่า ลาวเฉียง ลาวพวน ลาวกาว และมณฑลเขมร นั้น ให้กำหนดพื้นที่ และเปลี่ยนชื่อ ดังนี้
1. เมืองเชียงใหม่ ลำพูน น่าน เถิน แพร่ และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านั้น ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวเฉียง ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ
2. เมืองหนองคาย หนองหาร ขอนแก่น ชนบท หล่มสัก กมุทาสัย สกลนคร ชัยบุรี โพนพิสัย ท่าอุเทน นครพนม มุกดาหาร รวม 12 หัวเมือง และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่า ลาวพวน นั้น ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลฝ่ายเหนือ
3. เมืองนครจำปาศักดิ์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และเมืองอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวกาว นั้น ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ
4. เมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ พนมศก และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งรวม เรียกว่า มณฑลเขมร นั้น ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออก
5. หัวเมืองในมณฑลนครราชสีมา ซึ่งแบ่งเป็น 3 บริเวณ คือ นครราชสีมา พิมาย ปักธงชัย และนครจันทึก ซึ่งรวมเรียกว่า "บริเวณนครราชสีมา" ต่อนี้สืบไปให้รวมเรียกว่า "เมืองนครราชสีมา"
6. เมืองนางรอง บุรีรัมย์ ประโคนชัย พุทไธสง และรัตนบุรี ซึ่งรวมเรียกว่า "บริเวณนางรอง" นั้น ต่อนี้สืบไปให้รวมเรียกว่า "เมืองนางรอง" ยกเป็นเมืองจัตวา เมืองหนึ่ง
7. เมืองชัยภูมิ ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ จตุรัส และบำเหน็จณรงค์ ซึ่งรวมเรียกว่า "บริเวณชัยภูมิ" นั้น ต่อนี้สืบไปให้รวมเรียกว่า "เมืองชัยภูมิ" ยกเป็นเมืองจัตวา เมืองหนึ่ง
เปลี่ยนชื่อมณฑลครั้งที่ 2
ในปี๖ ร.. 119 (.. 2443) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ตรากฎกระทรวง ซึ่งมีชื่อว่า กฎข้อบังคับเรื่องเปลี่ยนชื่อมณฑล 4 มณฑล ดังนี้
1. มณฑลตะวันออก ให้เรียกว่า มณฑลบูรพา
2. มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เรียกว่า มณฑลอีสาน
3. มณฑลฝ่ายเหนือ ให้เรียกว่า มณฑลอุดร
4. มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ ให้เรียกว่า มณฑลพายัพ
ในปี ร.. 126 (.. 2450) ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
1. มณฑลอีสาน ประกอบด้วย 4 บริเวณ (มีบริเวณอุบลราชธานี, ขุขันธ์, สุรินทร์ และร้อยเอ็ด) 13 เมือง และ 26 อำเภอ
2. มณฑลอุดร ประกอบด้วย 5 บริเวณ (มีบริเวณหมากแข้ง, ธาตุพนม, สกลนคร, ภาชี และนํ้าเหือง) 5 เมือง และ 31 อำเภอ
3. มณฑลนครราชสีมา ประกอบด้วยเมือง 3 เมือง 17 อำเภอ ดังนี้
3.1 เมืองนครราชสีมา มีอำเภอในปกครอง 10 อำเภอ คือ
3.1.1 เมืองนครราชสีมา
3.1.2 เมืองพิมาย
3.1.3 นอก (บัวใหญ่)
3.1.4 สูงเนิน
3.1.5 กลาง (โนนสูง)
3.1.6 จันทึก (ปัจจุบันเป็นตำบล ขึ้นสีคิ้ว)
3.1.7 กระโทก (โชคชัย)
3.1.8 ปักธงชัย
3.1.9 พันชนะ (ด่านขุนทด)
3.1.10 สันเทียะ (โนนไทย)
3.2 เมืองบุรีรัมย์ มีอำเภอสังกัด ๔ อำเภอ คือ
3.2.1 พุทไธสง
3.2.2 รัตนบุรี (ปัจจุบันสังกัดสุรินทร์)
3.2.3 นางรอง
3.2.4 ประโคนชัย
3.3 เมืองชัยภูมิ มีอำเภอสังกัด ๓ อำเภอ คือ
3.3.1 จตุรัส
3.3.2 เกษตรสมบูรณ์
3.3.3 ภูเขียว
ต่อมาในปี พ.. 2455 มณฑลอีสานได้แบ่งออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด และภายหลังมณฑลทั้งสองนี้ได้ถูกรวมเข้ากับ มณฑลนครราชสีมา
มณฑลต่าง ๆ ได้ถูกประกาศยุบลงไปตามลำดับ ดังนี้
1. มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล ประกาศยุบไปเมื่อ พ.. 2468
2. มณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดร ถูกยุบไปเมื่อ พ.. 2476
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.. 2476 ได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร และยกเลิก แบ่งเขตออกเป็นมณฑลเสีย ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีก โดยแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด ดังนี้
1. ให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งเดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล หรือคณะกรมการจังหวัด ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นขึ้นอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. คณะกรมการจังหวัด เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
4. ในปี 2515 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ ให้จังหวัดเป็นที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอ มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัด เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ทำเนียบรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ข้าหลวงประจาจังหวัด และผู้ว่าราชการ จังหวัดบุรีรัมย์


1
พระยารังสรรค์สารกิจ (เลื่อน)
ตั้งแต่
20 ส.. 2441 - 6 มิ.. 2444


2
พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง)
"
6 มิ.. 2444 - 1 ต.. 2451

3
พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์
"
1 ต.. 2451 - 2455

4
พระยาราชเสนา
"
2455 - 2456

5
หม่อมเจ้านิสากร
"
2456 - 2460

6
หลวงรังสรรค์สารกิจ
"
2460 - 2462

7
พระยานครภักดีศรีนครนุรักษ์
(... ชุบ นพวงศ์ ณ อยุธยา)
"
2463 – 1 เม.. 2468

8
พระยาสุริยราชวราภัย
"
26 มี.. 2468 - 1 มิ.. 2471

9
พระพิทักษ์สมุทรเขต 
"
22 พ.. 2471 - 22 ก.. 2476

10
... พระกล้ากลางสมร
"
22 ก.. 2476 - 25 เม.. 2478

11
... หลวงอัสวินศิริวิลาส
"
25 เม.. 2478 - 16 ม.. 2479

12
หลวงสฤษดิ์สาราลักษณ์
"
16 ม.. 2479 - 18 เม.. 2480

13
หลวงบรรณสารประสิทธิ์
"
18 เม.. 2481 - 18 เม.. 2482

14
.. ขุนทะยานราญรอน
"
18 เม..2482 - 2 ก.. 2483

15
ขุนพิเศษนครกิจ
"
2 ก.. 2483 - 6 ก.. 2485

16
หลวงปราณีประชาชน
"
6 ม.. 2485 - 24 ต.. 2485

17
ขุนไมตรีประชารักษ์
"
18 พ.. 2485 - 6 ก.. 2486

18
หลวงบริหารชนบท 
"
2 ก.. 2486 - 22 พ.. 2487

19
ขุนศุภกิจวิเลขการ
"
19 ธ.. 2487 - 7 ต.. 2489

20
นายสุทิน วิวัฒนะ
"
7 ต.. 2489 - 7 ก.. 2492

21
ขุนอารีย์ราชการัณย์
"
11 เม.. 2492 - 11 .. 2492

22
ขุนบุรราษฎร์นราภัย
"
14 ม.. 2493 - 7 ม.. 2495

23
หลวงธุรนัยพินิจ
"
8 ม.. 2495 - 8 มี.. 2498

24
.. จำรูญ จำรูญรณสิทธิ์ 
"
8 มี.. 2498 - 24 เม.. 2499

25
นายชู สุคนธมัต
"
7 มิ.. 2499 - 23 ก.. 2501






26
นายเอนก พยัคฆันตร
"
15 ต.. 2501 - 5 ต.. 2505

27
นายสมอาจ กุยกานนท์
"
5 ต.. 2505 - 8 ม.. 2511

28
นายสุรวุฒิ บุญญานุศาสน์
"
9 ม.. 2511 - 17 พ.. 2516

29
นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ
"
1 ต.. 2516 - 30 ก.. 2519

30
นายบำรุง สุขบุษย
"
1 ต.. 2519 - 30 ก.. 2528

31
นายยุทธ แก้วสัมฤทธิ์
"
1 ต.. 2524 ฯลฯ

บุรีรัมย์ตาน้ากิน
บุรีรัมย์ตาน้ากินเป็นคำพังเพยในอดีตที่แสดงถึงภาวะการขาดแคลนนํ้าในบริเวณพื้นที่อันเป็นเขตการปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีต และแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของชาวบุรีรัมย์สมัยก่อนที่นำเอาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนํ้า
กรรมวิธีที่ได้ชื่อว่าเป็นการตำนํ้ากิน คือการขุดหลุมดินขนาดย่อมขึ้นก่อน แล้วตักเอาโคลนตมในบ่อ สระ หรือบึง มาใส่หลุมที่ขุดไว้ และยํ่าด้วยเท้าจนเป็นเลน
หรือนำมาใส่ครุไม้ไผ่ยาชัน แล้วตำด้วยไม้ให้โคลนเลนมีความหนาแน่นสูงขึ้น ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน นํ้าจากโคลนเลนจะปรากฏเป็นนํ้าใสอยู่ข้างบนตักไปใช้บริโภคได้ แก้ปัญหาการ ขาดแคลนนํ้าอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้
บุรีรัมย์ตาน้ากินเป็นคำพังเพยที่อยู่ในความทรงจำ และความภาคภูมิใจ ในอดีตของชาวบุรีรัมย์ ในฐานะที่เป็นคำพังเพยที่แสดงถึงความยากลำบากและทรหดอดทนของบรรพบุรษผู้บุกเบิกแผ่นดิน ให้ประโยชน์ตกทอดแก่ลูกหลาน เหลน ในปัจจุบัน และในฐานะที่สามารถนำความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาการขาดแคลนนํ้าได้อย่างเฉลียวฉลาด

ปัจจุบันภาวะเรื่องนํ้าของจังหวัดบุรีรัมย์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บนํ้าขนาดต่างๆ เพิ่มขึ้น และสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทก็ได้ปิดกั้นทำนบ เหมืองฝาย และ ขุดลอก ห้วย หนอง คลอง บึง สร้างอ่างเก็บนํ้าขนาดเล็ก สร้างสระนํ้ามาตรฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นสร้างถังเก็บนํ้าฝน สระนํ้า บ่อนํ้าตื้น บ่อบาดาล หอถังจ่ายนํ้าโดยสร้างเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความหมายและภาพพจน์ของคำพังเพยดังกล่าวได้หมดไปแล้วในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์จังหวัดปทุมธานี
ตราประจำจังหวัด


รูปบัวหลวงและช่อรวงข้าวชูช่อเหนือน้ำ
คำขวัญประจำจังหวัด
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยศรีกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
อาศัยหลักฐานทางโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ภายในจังหวัดปทุมธานี เป็นที่น่าเชื่อว่าจังหวัดปทุมธานีในอดีตเป็นเมืองที่เกิดขึ้นในยุคต้นของอาณาจักรศรีอยุธยาประกอบกับ "ตำนานท้าวอู่ทอง" ทำให้เรื่องท้าวอู่ทองอพยพผู้คนหนีโรคห่า (อหิวาตกโรค) ผ่านมายังเมืองปทุมธานีมีความจริงอยู่มาก
"ตำนานท้าวอู่ทอง" ที่จังหวัดปทุมธานี มีปรากฏอยู่ 2 เรื่อง คือ ตำนานเรื่องท้าวอู่ทอง เสด็จหนีโรคห่าผ่านมายังวัดมหิงสาราม ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคกเรื่องหนึ่งและตำนานเรื่องท้าวอู่ทอง อันเป็นประวัติวัดเทียนถวาย อำเภอเมืองอีกเรื่องหนึ่ง
ตำนานท้าวอู่ทอง ที่วัดมหิงสาราม ผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลบางกระบือ เล่าต่อกันมาว่าครั้งหนึ่งในอดีต ท้าวอู่ทองได้อพยพไพร่พล หนีโรคห่า ขณะผ่านเขตสามโคกเป็นเวลาใกล้ค่าแล้วประกอบกับเกวียนชารุด จึงหยุดพักไพร่พล ที่บริเวณวัดมหิงสาราม กับทั้งได้ออกปากขอยืมเครื่องมือจากชาวบ้านละแวกนั้น เพื่อนามาซ่อมแซมเกวียนแต่ได้รับการปฏิเสธ ท้าวอู่ทองทรงพิโรธนัก และในคืนนั้นเองทรงแอบฝังทรัพย์สมบัติส่วนที่ไม่สามารถนำไปได้เพราะเกวียนชำรุด ไว้ในบริเวณวัด และสาปแช่งมิให้ผู้ใดนำทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ไปได้เลย สภาพปัจจุบันวัดมหิงสารามเป็นวัดร้าง ชำรุดทรุดโทรม เหลือเพียงผนังพระอุโบสถเพียง 4 ด้านเท่านั้นอยู่ห่างจากลาน้ำเจ้าพระยาประมาณสองกิโลเมตร สาเหตุที่ร้างมีผู้สันนิษฐานต่างกันไป บ้างก็ว่าเป็นเพราะลำน้ำเปลี่ยนทางเดิน บ้างก็คิดว่าเพราะกรุงแตกเมื่อปี พ.. 2310
ตำนานท้าวอู่ทองจากคาบอกเล่าทางวัดเทียนถวาย ความว่า พระเจ้าอู่ทองได้อพยพผู้คนหนีโรคห่า พร้อมด้วยไพร่พล สัมภาระบรรทุกเกวียนมาประมาณแปดสิบเล่ม ได้หยุดพักไพร่พลอยู่ที่หนองแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันเรียกชื่อว่า หนองปลาสิบ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดเทียนถวาย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง) ตอนกลางคืนได้จุดไฟสว่างไสวตลอดทั้งคืนนานเป็นแรมเดือน เมื่อโรคห่าสงบแล้ว ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดในบริเวณที่เคยประทับขึ้น 1 วัด สมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า "วัดเกวียนไสว" ต่อมาแผลงเป็น "วัดเทียนถวาย"
ตำนานเรื่องท้าวอู่ทองเสด็จหนีโรคห่าเล่าต่อกันมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังปรากฏในนิราศวัดเจ้าฟ้า กล่าวอ้างถึงเรื่องพระเจ้าอู่ทอง ได้เสด็จหนีโรคผ่านเมืองสามโคก ก่อนไปตั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ว่า
"พอเลยนาคบากข้ามถึงสามโคก
เป็นคำโลกสมมุติสุดสงสัย
ถามบิดาว่าท่านผู้เฒ่าท่านกล่าวไว้
ว่าท้าวไทพระอู่ทองเธอกองทรัพย์
หวังจะไว้ให้ประชาเป็นค่าจ้าง
ด้วยจะสร้างบ้านเมืองเครื่องประดับ
พอห่ากินสิ้นบุญไปสูญลับ
ทองก็กลับกลายสิ้นเป็นดินแดง
จึงที่นี้มีนามชื่อสามโคก
เป็นคำโลกสมมุติสุดแถลง
ครั้งพระโกศโปรดปรานประทานแปลง
ที่ตำแหน่งมอญมาสวามิภักดิ์
ชื่อประทุมธานีที่เสด็จ
เดือนสิบเบ็ดบัวออกทั้งดอกฝัก
มารับส่งตรงนี้ที่สำนัก
พระยาพิทักษ์ทวยหาญผ่านพารา"
จากตำนานจึงพอประมาณการได้ว่า ในพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมาบริเวณสองริมฝั่งลำน้ำ เจ้าพระยาตอนล่างเป็นอาณาบริเวณที่ตั้งของจังหวัดปทุมธานี ในอดีตเต็มไปด้วยป่าไม้หนาแน่นอุดม ด้วยสัตว์ป่านานาชนิด บ้านเรือนราษฎร ตั้งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำ และบ้านเรือนเริ่มจะมีมากขึ้น ในภายหลังที่พระเจ้าอู่ทอง ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีปทุมธานีคงเป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ เป็นต้นด่านกักนาวาก่อนที่จะเดินทางผ่านเข้ามาสู่ตัวเมืองกรุงศรีอยุธยา
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (.. 1991 - 2031)
ในรัชสมัยของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์นี้ชุมชนในเขตจังหวัดปทุมธานี เริ่มขยายตัวเป็นชุมชนเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตะวันออก ตั้งแต่บริเวณวัดสองพี่น้องถึงวัดป่างิ้วใน ปัจจุบัน (แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัด "พญาเมือง" และ "วัดนางหยาด") โดยมีคันคูเมืองโดยรอบปัจจุบัน เหลือเพียงร่องรอยต่าง ๆ ในอดีตให้ได้เห็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รู้จักกันในนามว่า "เมืองสามโคก"
ครั้นในปี พ.. 2112 แผ่นดินพระมหินทราธิราชกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งแรก พระเจ้าหงสาวดีได้กวาดต้อนประชาชนพลเมืองไปประเทศพม่า คงเหลือไว้เพียงหมื่นเศษเป็นผลให้สามโคก กลายเป็นเมืองร้างไป
มีหลักฐานในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญ ว่าด้วยการใช้ตราราชการ พ.. 2179 แผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า สามโคกเป็นหัวเมืองขึ้นกับกรมพระกลาโหม จึง แสดงให้เห็นว่า เมืองสามโคกมีฐานะเป็นเมืองมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อพม่ารบกับจีน ในปี พ.. 2202 ชาวมอญที่ถูกเกณฑ์เข้าร่วมในกองทัพพม่า ได้พากันหลบหนีจากกองทัพพม่า โดยพาครอบครัวออกจากเมืองเมาะตะมะ เข้ามากรุงศรีอยุธยาประมาณ 10,000 คน สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญที่อพยพเข้ามาในครั้งนี้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ปรากฏตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขาว่า
"ขณะนั้น (.. 2202 ปีชวด โทศก) มังนันทมิตร ผู้เป็นอาพระเจ้าอังวะอยู่ปกครองเมาะตะมะ ส่วนชาวเมืองฮ่อไซร้ยกทัพมาล้อมเมืองอังวะ จะเอาฮ่ออุทิงผาซึ่งพาฉกรรจ์อพยพประมาณพันหนึ่งหนีไปพึ่งอยู่ ณ เมืองอังวะนั้น จึงมังนันทมิตรเกณฑ์เอาพล 32 เมือง ซึ่งขึ้นแก่เมืองเมาะตะมะนั้น 3,000 ให้ไปช่วยป้องกันเมืองอังวะ และมอญอันไปช่วยป้องกันก็หลีกหนีคืนมาเป็นอันมาก จึง มังนันทมิตรก็ให้คุมเอามอญอันหนีมานั้นใส่ตะรางไว้ว่าจะเผาเสีย และสมิงนายอาเภอทั้ง 11 คนนั้น ควบคุมมอญประมาณห้าพันยกเข้าเผาเมืองเมาะตะมะและได้ตัวมังนันทมิตรจาไว้แล้ว จึงปรึกษากันว่าเรากระทำความผิดถึงเพียงนี้ ถ้าทราบถึงพระเจ้าอังวะก็จะมีภยันตรายแก่พวกเราเป็นแท้ และเราทั้งปวงหาที่พึ่งมิได้ จำจะพากันกวาดอพยพหนีเข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เอาพระเดชานุภาพปกเกล้าฯ ร่มเย็น เป็นที่พำนักจึงจะพ้นภัย ครั้นปรึกษาเห็นพร้อมกันแล้ว สมิงนายอำเภอทั้ง 11 นายก็กวาดต้อนครอบครัวรามัญในแว่นแคว้นเมืองเมาะตะมะทั้ง 32 หัวเมืองกับสมัครพรรคพวกของตัวและพรรคพวกมังนันทมิตรเป็นคนประมาณหมื่นเศษ แล้วให้ถอดมังนันทมิตรออกจากพันธนาการพากันอพยพออกจากเมืองเมาะตะมะ มาทางเมืองสมิถึงด่านพระเจดีย์ 3 องค์ ในปีระกา นพศกนั้น จึงสมิงนายอำเภอทั้ง 11 นาย ก็แต่งหนังสือบอกให้รามัญ ถือเข้ามาแจ้งกิจการแก่พระยากาญจนบุรีว่าจะเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทพระยากาญจนบุรีก็ส่งหนังสือบอกเข้ามาถึงอัครมหาเสนาธิบดี ให้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือกให้ทรงทราบเหตุ ก็ทรงพระโสมนัสดารัสให้สมิงรามัญเก่าในกรุงถือ พลพันหนึ่ง ออกไปรับครัวเมืองเมาตะมะเข้ามายังพระมหานครแล้วทรงพระกรุณาโปรดให้พวกครัวมอญใหม่ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ตาบลสามโคกบ้าง ที่คลองคูจามบ้าง ที่ใกล้วัดตองปุบ้างแล้วดำรัสโปรดให้สมิงนายกองทั้ง 11 คน เข้าเฝ้ากราบถวายบังคม ทรงพระมหาการุญภาพพระราชทานเครื่องยศ เครื่องเรือน และเสื้อผ้าเงินตรากับทั้งเคหฐานให้อยู่เป็นสุข แต่มังนันทมิตรนั้นป่วยลงถึงอนิจกรรม"
ฉะนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มอญที่อพยพมาในครั้งนั้นตั้งบ้านเรือนอาศัยทามาหากินที่ตำบลสามโคก และต่อมาทำให้ตำบลสามโคกเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนมีฐานเป็นเมืองสามโคกและเป็นจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบัน นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ได้ทรงทานุบารุงเมืองปทุมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นหลักฐาน ชาวปทุมธานีจึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์มาจนตราบเท่าทุกวันนี้
สมัยกรุงธนบุรี
ภายหลังจากที่พระยาวชิรปราการ กอบกู้เอกราชของชาวไทยไว้ได้ เมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.. 2310 ได้ประกาศตั้งเมืองหลวงขึ้นใหม่ เรียกว่า "กรุงธนบุรี" และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อปลายปี พ.. 2310 ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.. 2317 พม่าเกณฑ์ทหารมอญมาตีไทยที่ตำบลสามสบ ท่าดินแดง มีพญามอญหัวหน้า 4 คน คือ พระยาเจ่ง เจ้าเมืองอัตรัน เป็นหัวหน้าใหญ่ พระยาอู่ตละเลี้ยงและตละเกล็บ ทหารมอญเหล่านี้ต่างมีความแค้นเคืองพม่าที่ได้กระทำทารุณกรรมต่อชาวมอญ ดังนั้น แทนที่จะมารบกับไทยตามที่พม่าเกณฑ์มา กลับยกทัพเข้าตีพม่าเสียเองที่เมาะตะมะ จนพม่าต้องทิ้งเมืองหนีไปร่างกุ้งเพราะเข้าใจว่าทัพไทยบุกเข้าโจมตีโดยไม่ทันรู้ตัวทัพมอญบุกตีพม่ารุกเข้าไปจนได้เมืองสะโตงหงสาวดี ครั้นพอถึงร่างกุ้ง อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพ พม่ายกกาลังขึ้นปราบปราม มอญสู้ไม่ได้จึงหนีเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารทางเมืองตาก และด่านเจดีย์สามองค์ ประมาณ 10,000 คน พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เตรียมพลไปรับครอบครัวมอญเหล่านั้นให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ปากเกร็ด แขวงเมืองนนทบุรีและ "สามโคก" ให้พระยารามัญวงศ์ มียศเสมอ จตุสดมภ์ หรือเรียกว่า "จักรีมอญ" เป็นหัวหน้าดูแลครัวมอญทั่วไป
สมัยกรุงสมัยรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยของพระองค์ เมื่อ พ.. 2358 พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าได้ทรงเกณฑ์แรงงานชาวมอญให้สร้างพระธาตุที่เมืองเมงถุนให้เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างความลำบากยากเข็ญแก่ชาวมอญเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่ง จึงพากันอพยพหลบหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทยทางเมืองตาก เมืองอุทัยธานี และทางด่านเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี จำนวน 40,000 คน ดังกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ตอนหนึ่งว่า
"เมื่อทรงทราบข่าวว่า ครัวมอญอพยพเข้ามา จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จขึ้นไปคอยรับครัวมอญ ทีเมืองนนทบุรี จัดจากและไม้สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนและเสบียงอาหารของพระราชทานขึ้นไปพร้อมเสร็จทางเมืองกาญจนบุรี โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏฯ (รัชกาลที่ 4) คุมไพร่พลสาหรับป้องกันครัวมอญ และเสบียงอาหารของพระราชทานออกไปรับครัวมอญทางหนึ่ง โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้ใหญ่เสด็จกำกับ
ทางเมืองตากนั้นโปรดให้เจ้าพระยาอภัยภูธร ที่สมุหนายกเป็นผู้ขึ้นไปรับครัวมอญมาถึงเมืองนนทบุรี เมื่อ ณ วันพุธ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช 1177 พ.. 2358 เป็นจำนวน 40,000 เศษ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแขวงเมืองปทุมธานีบ้าง เมืองนนทบุรีบ้าง"
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ ดูแลทุกข์ สุข ครอบครัวมอญเหล่านั้นมิได้ขาด ครั้นถึงเดือน 11 พ.. 2358 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้เสด็จประพาสเมืองสามโคกโดยทางชลมารค เพื่อทรงเยี่ยมเยียนชาวรามัญที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ พระองค์ทรงประทับ ณ พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกับเมืองสามโคก (ตรงหน้าวัดปทุมทองปัจจุบันนี้) ทรงรับดอกบัวจากพสกนิกร ซึ่งนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอยู่เป็นเนืองนิตย์ จึงพระราชทานนามเมืองสามโคกให้เป็นสิริมงคลใหม่ว่า "ประทุมธานี" เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2358 ยกฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรี ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในวรรณคดีสาคัญของสุนทรภู่ 2 เรื่อง คือ
นิราศภูเขาทอง (แต่งราว พ.. 2371) ว่า
"ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า
พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี
ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว"
(นิราศวัดเจ้าฟ้า แต่งราว พ.. 2379)
"จึงที่นี้มีนามชื่อสามโคก
เป็นคำโลกสมมุตติสุดแถลง
ครั้งพระโกศโปรดปรานประทานแปลง
ที่ตำแหน่งมอญมาสามิภักดิ์
ชื่อประทุมธานีที่เสด็จ
เดือนสิบเบ็ดบัวออกทั้งดอกฝัก
มารับส่งตรงนี้ที่สำนัก
พระยาพิทักษ์ทวยหาญผ่านพารา"
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมมหาดไทย พ.. 2437 (.. 113) ให้เมืองประทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทรปราการ เป็นหัวเมืองแขวงมณฑลกรุงเทพฯ ทรงมีพระราชาธิบายว่า เป็นหัวเมืองที่อยู่ไกลกรุงเทพฯ เพียงพันเส้นเท่านั้น ประกอบกับมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ให้มาขึ้นสังกัดกระทรวงนครบาล เพื่อที่ลาดตระเวนจะจับโจรผู้ร้าย ไม่ต้องไปขอตรา เจ้ากระทรวงมหาดไทยอีกต่อไป
ปี พ.. 2441 - 2442 (.. 117 - 118) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำบัญชีสามะโนประชากรของเมืองประทุมธานี ปรากฏว่ามีประชากรในเมืองประทุมธานีทั้งสิ้น 21,360 คน
.. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทนคำว่าเมือง ดังนั้นเมืองประทุมธานี จึงเป็นจังหวัดประทุมธานีเป็นต้นมา โดยเปลี่ยนการเขียนใหม่ด้วย คือ "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" ขึ้นอยู่กับมณฑลกรุงเก่า มีเขตการปกครอง 3 อำเภอ คือ อำเภอบางกะดี อำเภอสามโคก และอำเภอเชียงราก
ทั้งสามอำเภอตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ ๆ กัน และมีอาณาเขตการปกครองของแต่ละอำเภอเป็นแนวลึกไปทางทิศตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะแก่การปกครองเป็นอย่างยิ่ง ทางราชการจึงได้ประกาศให้แบ่งเขตการปกครองเสียใหม่ และให้ย้ายอำเภอเชียงรากไปตั้งที่ตำบลระแหงทางทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เรียกว่า "อาเภอระแหง" ไปก่อน ตามหนังสือศาลากลางเมืองประทุมธานีที่ 824/3228 ลงวันที่ 22 มกราคม พ.. 2458 แล้วให้เปลี่ยนชื่ออำเภอ ระแหง เป็นอำเภอลาดหลุมแก้ว แต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทางราชการให้ยุบจังหวัดธัญญบุรี เมื่อ พ.. 2475 ทำให้จังหวัดปทุมธานีมีเขตพื้นที่อีก 4 อำเภอเพิ่มเข้ามารวมเป็น 7 อำเภอ คือ
อำเภอบางกะดี                             อำเภอสามโคก
อำเภอลาดหลุมแก้ว                      อำเภอธัญบุรี
อำเภอลำลูกกา                            อำเภอบางหวาย
อำเภอหนองเสือ
(สำหรับอำเภอบางหวาย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอคลองหลวง" เมื่อปี พ.. 2448 เมื่อทางราชการโดยบริษัทคูนาสยาม ได้ขุดคลองที่สองเชื่อมคลองรังสิตทางทิศใต้กับคลองระพีพัฒน์ทางทิศเหนือแล้วเสร็จ เนื่องจากตัวอาคารที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ริมคลองที่หลวง (ราชการ) ได้ขุดขึ้น)
ดังนั้น เมืองสามโคก จึงเป็นที่ตั้งของจังหวัดปทุมธานีมาก่อน แต่เนื่องจากสภาพของเมืองมีลักษณะเป็นแหล่งอพยพ เจ้าเมืองผู้ใดมีบ้านเรือนตั้งอยู่ ณ ที่ใด ที่ว่าการเมืองก็อยู่ที่นั่นจึงทำให้ที่ว่าการเมืองต้องย้ายอยู่ถึง 8 ครั้ง ดังนี้ คือ
ครั้งที่ 1 ย้ายจากตำบลบ้านงิ้ว ปากคลองบ้านพร้าว บริเวณวัดพญาเมือง (วัดร้าง) ฝั่งตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา ไปตั้งที่บ้านสามโคก ฝั่งตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยาระหว่างวัดตำหนักกับวัดสะแก
ครั้งที่ 2 ย้ายมาจากบ้านสามโคก ไปตั้งที่บ้านตอไม้ ฝั่งตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา ตรงกับวัดปทุมทองในปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 ย้ายจากบ้านตอไม้ไปตั้งที่บ้านสามโคก ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตามเดิม
ครั้งที่ 4 ย้ายจากบ้านสามโคกไปตั้งที่ปากคลองบางหลวงไหว้พระ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี ปัจจุบัน
ครั้งที่ 5 ย้ายจากปากคลองบางหลวงไหว้พระไปตั้งระหว่างปากคลองบางโพธิ์ ฝั่งเหนือกับคลองบางหลวงฝั่งใต้ ฝั่งตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา
ครั้งที่ 6 (.. 2459) ย้ายจากปากคลองบางโพธิ์เหนือไปตั้งที่บ้านโคกชะพลูใต้คลองบางทรายฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ครั้งที่ 7 (.. 2460) ย้ายจากบ้านโคกชะพลู ไปตั้งที่ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี ปัจจุบัน ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ครั้งที่ 8 (.. 2519) ย้ายจากตำบลบางปรอก ไปตั้งที่ตำบลบ้านฉางนอกเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ตรงสี่แยกถนนปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว ติดกับโรงพยาบาลปทุมธานีและด้านหน้าติดกับถนนแยกไปอำเภอสามโคก ย้ายไปปฏิบัติการเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.. 2519
การก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ที่ย้ายครั้งที่ 8 ใหม่นี้ ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารสมัย พลตรีวิทย์ นิ่มนวล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.. 2518 ดังคำกราบทูลของพลตรีวิทย์ นิ่มนวล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ถวายรายงานแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชตอนหนึ่งว่า
".......เกล้ากระหม่อมและบรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ชาวจังหวัดปทุมธานีรู้สึกซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น ที่ฝ่าพระบาทได้ทรงพระกรุณาสละเวลาเสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารศาลากลางจังหวัดปทุมธานีหลังใหม่ในวันนี้ นับเป็นพระเดชพระคุณหาที่สุด มิได้...."
ที่ดินในการปลูกสร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่นี้ คุณนายกฐิน กุยยกานนท์ ได้ยกให้กับทางราชการ จำนวน 16 ไร่ การก่อสร้างใช้เงินงบประมาณ ในการถมดินและก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 8,926,000 บาท (แปดล้านเก้าแสนสองหมื่นหกพันบาท)
เมื่อสร้างอาคารหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ขนย้ายพัสดุครุภัณฑ์ เอกสารต่าง ๆ จากศาลากลางเก่า ไปศาลากลางใหม่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ..02519
เมื่อนายสุธี โอบอ้อม มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้สนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองปทุมธานีเป็นอย่างมาก ได้สำรวจค้นหาศาลหลักเมืองปทุมธานีและสอบถามชาวเมืองปทุมธานี แล้วปรากฏว่า เมืองนี้ได้โยกย้ายตัวเมืองอยู่หลายครั้งและไม่เคยมีศาลหลักเมืองมาก่อนเหมือนเมืองอื่น ๆ จึงดำริเห็นเป็นสำคัญว่า ควรจะสร้างศาลหลักเมืองไว้ให้มั่นคง เพื่อเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวปทุมธานี พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังจะนำความสงบสุขร่มเย็นมาสู่เมืองด้วย ความดำรินี้จึงเห็นพ้องต้องกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า และประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กคนละน้อย ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น โดยเริ่มลงมือทาพิธีสะเดาะพื้นที่ที่จะสร้างศาลหลักเมือง เพื่อความสวัสดิมงคล เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2519
ต่อมาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์หลักเมือง เมื่อวันจันทร์ วันที่ 3 มกราคม พ.. 2520 ตรงกับเวลา 15.00 น. เดือนยี่ ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะโรง ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
ทางกรมศิลปากร ได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมือง ซึ่งทาด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ที่ทางกรมป่าไม้ได้นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์มอบให้ ครั้นเมื่อประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อยแล้วได้นาเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดาเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ วันที่ 24 มีนาคม พ.. 2521 เวลาฤกษ์ 8.29 น. และในคืนนี้เวลาประมาณ 5 ทุ่ม ได้เกิดจันทรคราสจับครึ่งดวงเป็นที่น่าอัศจรรย์
เมื่อสร้างตัวศาลหลักเมืองแบบจตุรมุขยอดปรางค์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้กำหนดการประกอบพิธียกเสาหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี เมื่อวันพุธ วันที่ 23 สิงหาคม พ.. 2521 โดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี มีขบวนแห่ยาวเหยียด มีการสมโภชเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่อย่างเอิกเกริก
ศาลหลักเมืองจึงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี มีผู้คนมากราบไหว้บูชากันอยู่มิได้ขาด นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวปทุมธานี ให้มีความรักสมัครสมานสามัคคีกันให้แข็งแกร่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพรักยิ่งชีวิตของชาวไทย ไว้ให้มั่นคงถาวรสืบไปชั่วกาลนาน
การจัดรูปการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล
แต่เดิมการปกครองบ้านเมืองมีข้อสาคัญเป็นหลัก 2 ประการ คือ เมื่อมีข้าศึกศัตรู ภายนอก ชาวเมืองต้องช่วยกันรบพุ่งต่อสู้ป้องกันบ้านเมืองประการหนึ่ง ซึ่งตรงกับ "การทหาร" และในยามที่บ้านเมืองเป็นปกติสุข ก็ช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองอีกประการหนึ่ง ซึ่งตรงกับการ "การพลเมือง" ด้วยเหตุนี้กรมต่าง ๆ จึงต้องทำงานทั้งในด้านการทหารและพลเรือน สุดแต่จะมีงานฝ่ายไหนเป็นสำคัญ แต่การสงครามนั้นนาน ๆ จะมีสักครั้ง จึงมักจะมีงานฝ่ายพลเรือนมากกว่า และเมื่อก่อนที่จะแบ่งแยก ระเบียบราชการเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น ในราชการฝ่ายพลเรือน มีกรมใหญ่อยู่ 4 กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา เรียกรวมกันว่า "จตุสดมภ์" โดยหัวหน้ากรมทั้ง 4 มีศักดิ์เสมอกันทั้ง 4 คน เป็นใหญ่กว่าข้าราชการทั้งปวง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงกำหนดราชการให้เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน โดยทรงตั้งหน่วยราชการเพิ่มขึ้นอีก 2 กรม คือ กรมกลาโหม และกรมมหาดไทย ซึ่งกรมทั้ง 2 นี้มีฐานะใหญ่กว่าจตุสดมภ์ดังกล่าวแล้ว และเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชาฝ่ายทหารและพลเรือนทั้งหมด มีอัครมหาเสนาบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายละคน คือ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก แต่ก็มิใช่เป็นการแบ่งแยกราชการออกเป็นทหารและพลเรือน เช่นในปัจจุบัน ข้าราชการทั้ง 3 ฝ่ายยังคงมีหน้าที่ต้องทำทั้งการทหารและพลเรือนอยู่อย่างเดิม ส่วนการปกครองหัวเมืองนั้น อำนาจการปกครองบังคับบัญชาแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล คือ หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก ก็จะมีอิสระในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้แบ่งออกเป็นเมืองเอก โท ตรี และมืองจัตวา โดยให้เมืองน้อยขึ้นกับเมืองใหญ่ คือ หัวเมืองชั้นในขึ้นกับราชธานี และเมืองเล็กขึ้นกับเมืองพระยามหานคร เป็นต้น
ระบบการปกครองดังกล่าวนี้ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามแต่เหตุการณ์และความเหมาะสม ซึ่งก็ได้ใช้อยู่ตลอดมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.. 2435 จึงได้มีการปฏิรูปการบริหารราชการเสียใหม่ โดยทรงแบ่งหน่วยราชการส่วนกลางออกเป็น 12 กระทรวงด้วยกัน แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีฐานะเท่าเทียมกันทุกตำแหน่ง สำหรับการ ปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง ซึ่งแต่เดิมได้แยกกันอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกรมท่า (ก่อนเปลี่ยนเป็นกระทรวงการต่างประเทศ) ก็ได้ปรับปรุงให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง รวม 6 มณฑล คือ มณฑลลางเฉียง หรือ มณฑลพายัพ มณฑลลาวพวน หรือมณฑลอุดร (มณฑลนี้เมื่อก่อน พ.. 2436 รวมหัวเมืองฝั่งซ้าย แม่น้าโขงเข้าด้วย เช่น เมืองพวน และเมืองเชียงขวาง จนกระทั่ง ร.. ๑๑๒ คงเหลือเพียง 6 เมือง) มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา มณฑลลาวกลาง และมณฑลภูเก็ต แต่การรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่การปกครองลักษณะมณฑลเทศาภิบาล
การเทศาภิบาล
การเทศาภิบาล คือ การปกครองที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการออกไปดำเนินการในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งการปกครอง เป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ทั้งนี้ได้จัดแบ่งหน้าที่ การงานออกเป็นสัดส่วน โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมือง และนายอำเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการจะดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้น รวมทั้งมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบล และหมู่บ้าน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งการเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาค มีลักษณะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยการที่รัฐบาลจัดส่งข้าราชการไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่จะให้ส่วนภูมิภาคจัดการปกครองกันเอง อันเป็นการยกเลิกการปกครองแบบโบราณดั้งเดิมของไทยที่เรียกว่า "กินเมือง" ให้หมดสิ้นไป
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจะจัดการปกครอง พระราชอาณาจักรให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าการที่หัวเมืองต่างก็แยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงต่าง ๆ ถึง 3 กระทรวงนั้น เป็นการยากที่จะจัดการปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้แบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหมเสียใหม่และเมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวง โดยให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย ต่อมาจึงได้ดำเนินการจัดระบบการปกครองในรูปมณฑลเทศาภิบาลดังกล่าว ข้างต้น ซึ่งได้เริ่มใช้อย่างแท้จริงเมื่อ พ.. 2437 แต่ก็มิได้ดำเนินการพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร คงจัดตั้งมณฑลขึ้นตามความเหมาะสมและให้ปรับปรุงมณฑลที่ตั้งก่อน พ.. 2437 ให้เป็นลักษณะเทศาภิบาลเหมือนกันเป็นลาดับ ดังนี้
.. 2437 เมื่อเหตุการณ์ ร.. 112 ผ่านพ้นไปแล้วได้เริ่มจัดระบบการเทศาภิบาล โดยเลิกประเพณีการมีประเทศราชและได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลรวม 3 มณฑล คือมณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีน และได้รวบรวมหัวเมืองจากกระทรวงกลาโหมและกรมท่ามาตั้งเป็นมณฑลราชบุรี
.. 2438 ตั้งขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑล กรุงเก่า (เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลอยุธยา ในรัชกาลที่ 6)
.. 2439 ตั้งชื่อ 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลสุราษฎร์)
.. 2440 ตั้งขึ้น 1 มณฑล โดยโอนหัวเมืองของไทย และหัวเมืองมลายูฝ่ายตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศราชมาก่อน ตั้งเป็นมณฑลไทรบุรี
.. 2442 ตั้งขึ้น 1 มณฑล คือ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลนี้มีการตั้งและยุบถึง 2 ครั้ง เพราะเป็นท้องที่กันดารและเป็นมณฑลที่มีท้องที่เล็กกว่ามณฑลอื่น
.. 2442 ได้ปรับปรุงจัดระบบมณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ซึ่งเป็นมณฑลในสภาพเดิม ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. 2449 ตั้งมณฑลขึ้นใหม่ 2 มณฑล คือ มณฑลจันทบุรี และได้แบ่งหัวเมืองจากมณฑลนครศรีธรรมราช มารวมกันจัดตั้งเป็นมณฑลปัตตานี
.. 2455 ตั้งมณฑลเพิ่มอีก 1 มณฑล โดยแบ่งแยกท้องที่จากมณฑลอีสาน ออกเป็น 2 มณฑล เรียกว่า มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด
.. 2458 ตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นอีก 1 มณฑล โดยแบ่งพื้นที่จากมณฑลพายัพ มาตั้งเป็นมณฑลมหาราษฎร์ อีก 1 มณฑล
มณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดตั้งเป็นมณฑล เมื่อ พ.. 2438 เนื่องจากเป็นที่ตั้งราชธานีจึงมีระเบียบการปกครองผิดกับระเบียบการปกครองของมณฑลอื่น ๆ กล่าวคือ ไม่มีตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล หรือสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเทพฯ อยู่ใต้บังคับบัญชารับผิดชอบของเสนาบดีกระทรวงนครบาลโดยเฉพาะ และเมื่อรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทยแล้ว จึงมีสมุหนครบาลเป็นหัวหน้ารับผิดชอบเช่นเดียวกับมณฑลอื่น ๆ มณฑลกรุงเทพฯ มีเมืองอยู่ในปกครอง 6 เมือง คือ พระนคร ธนบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) สมุทรปราการและนนทบุรี
หลังจากที่ได้จัดการปกครองระบบเทศาภิบาลแล้ว ก็มีการปรับปรุงแก้ไขตลอดมาและเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศเปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ต่อเมื่อมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบบเทศาภิบาล ได้ถูกยุบเลิกโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2479 ซึ่งให้ถือจังหวัดเป็นเขตการปกครองส่วนภูมิภาคนับแต่นั้นเป็นต้นมา
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2) เพื่อประหยัดค่าจ่ายของประเทศให้น้อยลง
3) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วน ภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอานาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
1) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
2) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
1) จังหวัด
2) อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคลการตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น 
ประวัติศาสตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์
ตราประจำจังหวัด

รูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ และมีภาพเกาะหลักอยู่เบื้องหลัง
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาที่ไม่ชัดเจนนักบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเพียงทางผ่านทางการเดินทัพทั้งทัพไทยและทัพพม่า และเนื่องจากพม่าเดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้งด้วยกันทำให้อาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ทางศาสนาเป็นเพียงการสร้างขึ้นใช้ชั่วคราว เมื่อถูกโจมตีก็สูญหายไปเสียคราวหนึ่ง จึงไม่มีโบราณสถานถาวรใด ๆ เหลืออยู่เช่นจังหวัดอื่น ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศ อย่างไรก็ตามหลักฐานเอกสารบางฉบับชี้ให้เห็นว่า ดินแดนแถบนี้เคยมีผู้คนตั้งบ้านเรือนมาช้านานแล้ว ซึ่งพอจะลำดับได้ดังนี้
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ประวัติที่เล่าขานถึงความเป็นมาได้แสดงให้เห็นว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันเคยมีผู้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยช้านานนับได้หลายศตวรรษ หนังสือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วัน วลิต พ.. 2182 (Van Vliet) พ่อค้าชาวฮอลันดา ซึ่งได้มาทำงานอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาประมาณ 9 ปี พ.. 2176 - 2185 ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งวนาศรี สามนเสน แปลไว้เมื่อ พ.. 2523 ความบางตอนกล่าวว่า
“ …..เป็นเรื่องราวที่เห็นพ้องต้องกันมากที่สุด คือเมื่อประมาณสองพันปีมาแล้วพระโอรสของจักรพรรดิจีนพระองค์หนึ่งถูกเนรเทศออกจากเมืองจีน เนื่องจากลอบปลงพระชนม์พระราชบิดา และจะยึดครองราชอาณาจักร พระราชโอรสและข้าราชการบริพารหลังจากรอนแรมไปตามที่ต่าง ๆ ในที่สุดก็มาขึ้นบกที่อ่าวสยามแหลมกุย (Guij) อยู่ห่างจากอำเภอกุยบุรีในปัจจุบัน 600 เมตร ความเห็นของผู้แปลบันทึก และตั้งถิ่นฐานที่นั่น….”
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี ในพ.. 1893 ดินแดนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในการปกครองด้วยเช่นกัน
พลตรีดำเนิร เลขะกุล บันทึกลงอนุสาร อ... (ฉบับเดือนเมษายน 2515) ว่าในแผนที่เดินทางของขบวนเรือรบจีนในบังคับบัญชาของเช็งโห หัวหน้าขันที ซึ่งพระเจ้ายุงโล้แห่งราชวงศ์เหม็งทรงส่งมาสารวจประเทศตะวันตก และชื้อหาสิ่งฟุ่มเฟือยแปลก ๆ เช่น เพชร พลอย ไม้หอม เครื่องเทศและสิ่งของหายากอื่น ๆ ในระหว่าง พ.. 1974 - 1975 และศาสตราจารย์ พอล วิตลีย์ (Prof. Poul Wheatly) ได้มาทำขึ้นใหม่นั้น ได้กำหนดตำบลหนึ่งลงบนบริเวณที่เป็นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะนี้ไว้ด้วย และเขียนชื่อที่เรียกเป็นสำเนียงจีน (เขียนด้วยอักษรอังกฤษ) ว่าพิเชียชาน” (Pi-Chia-Chari) แปลว่าเขาสามยอด” (Triple Peak Mountain) สำเนียงจีนกลางมาจากการสอบถามอ่านว่าซันไป่เฟิง-ผู้เรียบเรียง) ใกล้เคียงกับเขาสามร้อยยอดหรือเขาสามยอด ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นี้เป็นที่สังเกตและรู้สึกกันดีในระหว่างนักเดินเรือเป็นอย่างดี
หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ลำดับรายชื่อหัวเมืองปักษ์ใต้ของกรุงศรีอยุธยาไว้ ดังนี้
เมืองปราณ เมืองชะอัง เมืองนารัง (บางนางรม) เมืองบางตะพาน…”
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ เล่าเรื่องสมัยสมเด็จพระนเรศวรไว้ว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าขอแล้วโยมก็จะให้ แต่ทว่าจะให้ไปตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย แก้ตัวก่อน สมเด็จพระนพรัตก็ถวายพระพรว่า การซึ่งจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้นสุดแต่ พระราชสมภารเจ้าจะสมเคราะห์ ใช่กิจสมณะ แล้วสมเด็จพระนพรัตน์พระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพร ลาไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งให้ท้าวพระยาหัวเมืองมุขมนตรีพ้นโทษ พระราชกำหนดให้พระยาจักรีถือพล  50,000 ไปตีเมืองตะนาวศรี ให้พระยาพระคลังถือพล 50,000 ยกไปตีเมืองทวาย….
พระเจ้าหงสาวดีทรงพระราชดำริว่า นเรศร์ทำการศึกว่องไวหลักแหลมองอาจนักจนถึงยุทธ หัตถีมีชัยแก่มหาอุปราชา เอกาทศรฐเล่าก็มีชัยแก่มังจาซะโร เห็นพี่น้องสองคนนี้จะมีใจกำเริบยกมาตี พระนครเราเป็นมั่นคง แต่ทว่าจะคิดเอาเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท เมืองทวายให้ได้ก่อนจำจะให้นายทัพ นายกองและไพร่ซึ่งไปเสียทัพมานี้ให้ยกลงไปรักษาเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท เมืองทวาย ไว้ให้ได้ศึก จึงจะไม่เถิงกรุงสาวดี
ฝ่ายเมื่อพระยาจักรียกมาเถิงแดนเมืองตะนาวศรี ตีบ้านรายทางกวาดผู้คนได้เป็นอันมาก แล้วยกเข้ามาล้อมเมืองตะนาวศรี ชาวเมืองรบป้องกันเป็นสามารถ 15 วัน พระยาจักรีแต่งเข้าปล้น เมืองในเพลา 10 ทุ่ม พอรุ่งขึ้นเช้าประมาณโมงเศษก็เข้าเมืองได้ ฝ่ายกองทัพพระยาพระคลังยกตีแดน เมืองทวาย ชาวทวายยกออกมารับก็แตกเสียเครื่องสัตราวุธล้มตายเป็นอันมาก พระยาพระคลังก็ยกเข้า ไปพักพลตั้งค่ายริมน้ำฟากตะวันออกเหนือคลองละหามั่นแล้ว ก็ยกข้ามไปล้อมเมืองไว้ อยู่เถิง 20 วัน ทวายจาเจ้าเมืองทวายเห็นเหลือกำลังจะรักษาเมืองไว้มิได้ ก็แต่งให้เจตองวุ่นกับวุ่นทก ออกไปขอ ออกเป็นข้าขอบขัณฑเสมา ถวายดอกไม้ เงินทอง
พระยาจักรี พระยาพระคลัง บอกข้อราชการเข้ามาให้กราบทูล
สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ดีพระทัย ตรัสให้ตอบออกไปให้พระยาศรีไสย ณรงค์อยู่รั้ งเมืองตะนาวศรี ให้เอาทวายจาเข้ามาเฝ้า พระยาจักรี พระยาพระคลังจัดแจงบ้านเมืองเสร็จ แล้วก็ให้ยกทัพกลับเข้ามาเถิด
พระยาจักรี พระยาพระคลังแจ้งดังนั้น ก็บอกลงไปเมืองตะนาวตามพระราชบรรหารทุก ประการและให้ทวายจาเป็นเจ้าเมืองอยู่ดังเก่า ให้จัดชาวเมืองทวายเป็นที่ปลัดชื่อออกพระปลัดผู้หนึ่งให้ยกเป็นกระบัตรชื่อออลังปลังปลัดผู้หนึ่งเป็นที่นำชื่อออละนัดผู้หนึ่งเป็นที่วังชื่อคงปลัดผู้หนึ่งเป็นที่คลังชื่อออเมงจะดีผู้หนึ่งเป็นที่สุดชื่อคงแวงทัดคงจำเป็นที่เมือง ครั้นตั้งแต่งขุนหมื่นผู้ใหญ่ผู้น้อย และ จัดแจงบ้านเมืองเป็นปกติเสร็จแล้ว ครั้นเดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ พระยาจักรี พระยาคลัง ก็พาเอาตัวทวายจาเจ้าเมือง กับผู้มีชื่อซึ่งตั้งไว้ 6 คนนั้นเข้ามาด้วย ขณะนั้นยกกองทัพมาโดยมองสอย เถิงตำบลภูเขา สูงช่องแคบ แดนพระนครศรีอยุธยากับเมืองทวายต่อกันหาที่สำคัญมิได้จึงให้เอาปูนในเต้าแห่งไพร่พล ทั้งปวงมาประสมกันเข้าเป็นใบสอก่อเป็นพระเจดีย์ฐานสูง 6 ศอก พอหุงหาอาหารสุกสำเร็จแล้ว ยก ทัพเข้ามาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยาเข้าเฝ้ากราบทูล
ครั้น ณ วันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีจอ อัฐศก (.. 948 พ.. 2129) กรมการเมืองกุยบุรีบอกเข้ามาว่า พระยาศรีไสยณรงค์ซึ่งให้ไปรั้งเมืองตะนาวศรีเป็นกบฏ โกษาธิบดีกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณายังแคลงอยู่ จึงโปรดให้มีตราแต่งตั้งข้าหลวงออกไปหา พระยาตะนาวศรีก็มิมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จึงให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าเสด็จพระราชดำเนินยกทัพออกไป และสมเด็จพระอนุชา เสด็จออกไปครั้งนั้น พล 30,000 ช้างเครื่อง 300 ม้า 500 ทัพปักษ์ใต้เมืองไชยา เมืองชุมพร เมืองคลองวาฬ เมืองกุย เมืองปราณ เมืองเพชรบุรี 6 เมือง คน 15,000 ชุมทัพตำบลบางตะพานเดินทัพทางสิงขรฝ่ายพระยาตะนาวศรีรู้ว่า สมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถ บรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออกมา ก็คิดเกรงพระเดชเดชานุภาพเป็นอันมาก จะหนีก็หนีไม่พ้น จะแต่งทัพออกรับก็เหลือกำลัง จนสิ้นคิดแล้วก็นิ่งรักษามั่นไว้…”
เถิงเดือน 9 พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ (สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรฐ) ก็เสด็จออกจากเมืองเพชรบุรี (เสด็จมาประพาสอยู่ที่เมืองเพชรบุรีก่อน) โดยชลมารคเสด็จไปประพาสถึงตำบลสามร้อยยอด และตั้งพระตำหนักแถบฝั่งพระมหาสมุทร จึงเสด็จลงพระสุพรรณวิมานนาวาอันอลงกตรจนาธิการประดับ สรรพด้วยเครื่องพิชัยศัสตราวุธมหิมา และเรือท้าวพระยาเสนาบดีพิธิโยธาทหารโดยเสด็จแห่ห้อมล้อมดาดาษในท้องมหาอรรณพสาคร พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จออกไปประพาสภิรมย์ชมฝูงมัตสยากร อันมีนานาพรรณในกลางสมุทร ก็ทรงเบ็ดทองได้ฉลามขึ้นมายังพระตำหนักพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จออกไปประพาสในกลางมหาสมุทรดังนั้นได้ 14 วันวาน…”
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ราว พ.. 2146) มีหนังสือจากเมืองตะนาวศรีแจ้งไปกรุงศรีอยุธยาว่ากองทัพมอญและพม่ายกมาล้อมเมืองขอพระราชทานกองทัพไปช่วย พระเจ้าทรงธรรมตรัสให้พระยาพิชัยสงครามเป็นแม่ทัพยกออกไป พอถึงด่านสิงขรก็ได้รับใบบอกจากนายทัพนายกองว่าเมืองตะนาวศรีเสียแก่พม่าแล้ว
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (ราว พ.. 2246) เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีและทรงดำเนินตามรอยพระบาทสมเด็จพระนเรศวร คือประทับแรมที่ตำบลโตนดหลวง และเสด็จเลยลงไปถึงสามร้อยยอดเพื่อทรงเบ็ดฉลาม
ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ (ราว พ.. 2290) เจ้าเมืองกุยมีหนังสือทูลว่ามีทองคำที่บางสะพานพร้อมทั้งส่งทองเข้าถวายด้วย 3 ตำลึง จึงทรงเกณฑ์ไพร่ออกไป 2,000 คน ไปร่อนทองใช้เวลา 5 ปี ได้ทอง 90 ชั่งเศษ
ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (ราว พ.. 2305) พระเจ้าอังวะยกทัพมาตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี ทรงให้พระยายมราชเป็นทัพหน้า ทหาร 3,000 พระยาธารมาเป็นแม่ทัพ ทหาร 2,000 และทหารหัวเมืองเพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม ธนบุรี และนนทบุรี ยกออกไปแต่พอถึงด่านสิงขรก็ทราบว่าเสียเมืองมะริด ตะนาวศรีแล้ว พระยายมราชจึงตั้งทัพอยู่ที่แกงตุ่ม ถูกพม่าตีแตกกลับเข้ามาถึงกุย ปราณ และถึงเพชรบุรี
ราว พ.. 2307 กองทัพมาซึ่งมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ยกตีเรื่อยเข้ามาทางทวาย ระนอง ชุมพร คลองวาฬ กุย ปราณ จนถึงเพชรบุรี แต่ที่เพชรบุรีนี้ทัพพระยาพิพัฒโกษากับทัพของ พระยาตากยกมาจากกรุงศรีอยุธยาทัพรักษาเมืองไว้ได้ พม่ายกถอยไปทางด่านสิงขร
สมัยกรุงธนบุรี
.. 2317 ทางพม่าได้ยกทัพเข้ามาอีกโดยยกเข้ามาทางปากแพรก ตั้งค่ายอยู่ ณ ตำบลบางแก้ว กองหนึ่งคอยปล้นผู้คนแถวเมืองกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครไชยศรี อีกกองหนึ่งยกเข้าปล้นเมืองราชบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ขณะนั้นมีใบบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีว่า กองทหารที่เข้ามาทางเมืองมะริดได้เข้าปล้นค่ายทับสะแก เมืองกำเนิดนพคุณ จึงโปรดให้แจ้งแก่เจ้าเมืองกุยบุรี เมืองปราณบุรี ให้ทำลายบ่อน้ำ หนองน้ำตามรายทางที่คิดว่ากองทัพพม่า จะยกมายังเมืองเพชรบุรีให้หมดสิ้น โดยให้เอาของสกปรกหรือยาพิษใส่ลงไปอย่าปล่อยให้เป็นกำลังแก่ฝ่ายข้าศึกได้
สมัยกรุงธนบุรีเป็นช่วงการปกครองที่สั้นมาก ดังนั้นการเดินทางของกองทัพที่ผ่านไปมาในเส้นทางดินแดนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงไม่มีเรื่องราวปรากฏมากนัก และเมืองนารังก็เลิกร้างไป
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในปี พ.. 2336 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ เสด็จยกทัพไปตีเมืองเมาะตะมะ เมืองร่างกุ้งและถ้าตีได้ก็ให้เลยไปถึงเมืองอังวะเลยทีเดียว สมเด็จกรมพระราชวังบวรเสด็จทางด่านสิงขรไปตั้งต่อเรือรบอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก
ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เมืองบางนางรมที่ปากคลองบางนางรม (บางฉบับเขียนบางนางรมย์) แต่ที่ดินไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ซึ่งมีบ้านเรือนหนาแน่นกว่า พื้นที่อุดมสมบูรณ์กว่าและเป็นเมืองเก่าแก่แต่คงใช้ชื่อเมืองบางนางรมตามเดิม สถานที่ตั้งบ้านเจ้าเมืองคือบ้านจวนบนจวนล่างในปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ความพอสรุปได้ว่าด่านสิงขรเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ส่งข่าวระหว่างประเทศพม่าและประเทศไทยโดยแขวนทิ้งไว้ตามต้นไม้ที่ปลายด่าน เพราะทั้งสองฝ่ายมีกองลาดตระเวนคอยตรวจตรา
การกำหนดหัวเมืองที่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น เรียกว่าเมืองเอก เมืองโท เมืองจัตวา หัวเมืองเอก โท ตรี มีเมืองขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง แต่หัวเมืองจัตวาไม่มีเมืองขึ้น คาดว่าแรก ๆ เมืองกุย เมืองปราณ เมืองคลองวาฬ คงอยู่ในขั้นเมืองจัตวาหรือเป็นเมืองขึ้นของเพชรบุรีเท่านั้น ส่วนการตั้งเมืองบางนางรมนั้นเข้าข่ายเมืองจัตวา
ในสมัยรัชกาลที่ 3 (2367-2394) ไม่มีหลักฐานบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในสมัยรัชกาลที่ 4 (.. 2394-2411) โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองบางนางรม กุยบุรี เมืองคลองวาฬเป็นเมืองตั้งขึ้นใหม่ชื่อ "เมืองประจวบคีรีขันธ์” (ประกาศใน พ.. 2398) แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บันทึกไว้ว่าเมืองขึ้นกลาโหม เมืองคลองวาฬ แก้เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่าทองแก้เป็นเมืองกาญจนดิตถ์ รวม 2 เมือง
เมืองประจวบคีรีขันธ์ ผู้ว่าราชการเมืองตั้งใหม่ พระพิไชยชลสินธุ์ เมืองกำเนินนพคุณ พระกำเนินนพคุณผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระมหาสิงคคุณอดุลยสุพรรภูมารักษ์
.. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณได้ว่า จะมีสุริยุปราคาหมดดวงและจะเห็นได้ในเมืองไทยที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จึงทรงให้จัดเตรียมสถานที่โดยสร้างเป็นค่ายหลวงขึ้น แล้วพระองค์ก็เสด็จมาประทับทอดพระเนตรเป็นที่เอิกเกริก หัวเมืองที่กล่าวถึงในเอกสารหลักฐานสมัยนั้นมีเพียงปราณบุรีและประจวบคีรีขันธ์เท่านั้น
ในรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงจัดการปกครองท้องที่เป็นมณฑลเทศาภิบาล โปรดเกล้าฯ ให้ยุบเมืองประจวบคีรีขันธ์ลงเป็นอำเภอขึ้นอยู่กับเมืองเพชรบุรี ใน พ.. 2437 ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่าเป็นเมืองเล็ก แต่ยังตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองกุย พ.. 2441 โปรดให้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์จากเมืองกุยมาตั้งที่อ่าวเกาะหลักด้วยเป็นที่เหมาะสมกว่า และโอนจากกระทรวงกลาโหมไปขึ้นกับมหาดไทย แต่พอถึง พ.. 2449 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองปราณบุรี ซึ่งขึ้นกับเมืองเพชรบุรี อำเภอกาเนิดนพคุณซึ่งขึ้นกับชุมพร ตั้งขึ้นเป็นเมืองปราณบุรีเพื่อรักษาชื่อเมืองปราณบุรีไว้ ด้วยทรงมีพระราชดำริว่าเมืองปราณบุรีเป็นเมืองเก่าควรสงวนชื่อไว้ทรงพระราชทานนามเมืองที่ตั้งใหม่ว่า เมืองปราณบุรี มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับมณฑลราชบุรี ส่วนเมืองปราณเดิมก็ยังคงอยู่ที่ปากคลองปราณ (บ้านปากน้าปราณปัจจุบัน)
ในรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงมีพระราชดำริว่าเมืองโบราณมีชื่อไม่ตรงกับชื่อสถานที่ตั้งเมือง เช่น เมืองปราณบุรีที่ตั้งอยู่เกาะหลัก กับเมืองปราณที่ตั้งอยู่ริมคลองปราณ (เมืองปราณย้ายจากปากน้าปราณมาอยู่ที่ริมคลองใกล้ทางรถไฟในปี พ.. 2459) นานไปจะเกิดการสับสนทางประวัติศาสตร์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรี (ที่เกาะหลัก) เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์และใช้ชื่อนี้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ 
ประวัติศาสตร์จังหวัดปราจีนบุรี
ตราประจำจังหวัด


รูปต้นพระศรีมหาโพธิ์
คำขวัญประจำจังหวัด
ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดปราจีนบุรีเป็นหัวเมืองชายแดน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย บริเวณตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าปราจีนบุรียาวเหยียดจากทิศตะวันออกจนถึงทิศตะวันตก ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้าปราจีนบุรีไหลผ่านสองฟากฝั่ง จังหวัดปราจีนบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทางด้านอำเภออรัญประเทศและอำเภอตาพระยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดสระแก้ว) ดังนั้นจังหวัดปราจีนบุรีจึงเปรียบเสมือนเมืองกันชนระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่เก่าแก่จังหวัดหนึ่ง มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย
จังหวัดปราจีนบุรีนี้เดิมเรียกกันหลายชื่อ คือ ปราจีนบุรี ปราจิณบุรี ปาจิณบุรี ตามหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่าปราจีนแปลว่าตะวันออกซึ่งหมายความว่าเมืองทางทิศตะวันออกของประเทศไทย จากหลักฐานดั้งเดิมตามพระราชพงศาวดารไทยปรากฏเรียกชื่อนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย แต่มักเรียกกันว่าเมืองปราจิณแต่จากหนังสือประชุมพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี เรียกเมืองประจิมบางที่ก็เรียกว่าเมืองปัจจิมซึ่งคำว่าปัจจิมแปลว่า เมืองทางทิศตะวันตก ซึ่งคงหมายความถึงอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยนั่นเอง
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ยังคงเรียกกันว่าเมืองปราจิณเมื่อประเทศไทยมีการปกครองส่วนภูมิภาคแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองปราจีนเป็นที่ตั้งของมณฑลปราจีณครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดทั่วประเทศ ดังนั้นทำเนียบรายชื่อของจังหวัดทั่วประเทศ จึงมีคำว่าจังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในทำเนียบของกระทรวงมหาดไทย
สำหรับที่ตั้งของเมืองปราจีนบุรีนั้น ในประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงว่าตั้งอยู่ที่ใด แต่พอจะอนุมานตามเหตุผลที่พอจะเชื่อถือได้คือ ในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อกับสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตาก-สินมหาราชในขณะนั้นรับราชการเป็นพระยาวชิรปราการ ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกทั้งชาวจีนและชาวไทยแหวกวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ ได้เดินทางหลบหนีพม่ามาจนถึงบ้านพรานนก เมืองนครนายก จึงให้บรรดาทหารที่หลบหนีมาด้วยทั้งไทยและจีนออกหาเสบียงอาหาร ฝ่ายทหารของพม่าที่รักษาเมืองปราจิณ อยู่ที่บางคางได้ทราบข่าวการหลบหนีของพระยาวชิรปราการ จึงยกกำลังมาปราบปรามเกิดปะทะกัน ปรากฏว่าฝ่ายไทยได้รับชัยชนะ ซึ่งข้อความในตอนนี้บ่งไว้ชัดเจนว่า "บางคาง แขวงเมืองปราจิณ" ซึ่งในคำภาษาจีนภาษาแต้จิ๋วออกเสียงเรียกเมืองปราจิณ ว่า "มั่งคั้ง" ซึ่งหมายถึง "บางคาง" นั่นเอง ดังนั้นคาดว่าเมืองปราจีนบุรีเดิมนั้นคงตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านบางคางอย่างแน่นอน เพราะนอกจากสถานที่นี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏซากเมืองในที่อื่นใด (สำหรับซากเมืองโบราณที่โคกวัด ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี นั้นเป็นซากเมืองโบราณที่สันนิษฐานว่ามีในสมัยขอม คือ เมืองอวัธยปุระ หรือ เมือง มโหสถ ซึ่งต่อมาได้เสื่อมโทรมลงซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป และคงจะย้ายมาอยู่ในบริเวณบ้านบางคางนี้) และจากการสำรวจก็พบซากและร่องรอยให้เห็นว่า ปราจีนบุรี นั้น เดิมตั้งอยู่ที่บางคาง เพราะบริเวณใกล้ ๆ วัดบางคาง (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) ยังแลเห็นปรากฏเป็นโคกเป็นเนินอยู่บ้าง ต่อมาได้มีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปสมัยอยุธยา (ขณะนี้อยู่ที่พระครูศีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) แม้ในปัจจุบัน ซากและร่องรอยต่าง ๆ จะถูกทำลายไปบ้าง แต่ก็ยังมีเค้าเป็นชัยภูมิที่ตั้ งเมืองพอจะสังเกตเห็นได้บ้าง และหลังต่อจากนั้นก็คงจะย้ายตัวเมืองมาตั้ งอยู่บริเวณกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
ในปัจจุบัน ซึ่งห่างจากแม่น้าปราจีนบุรี ประมาณ 200 เมตร และบริเวณนี้ก็ยังคงมีซากกำแพงเมืองบางส่วนหลงเหลืออยู่ส่วนอื่นๆ ไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว
จากข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้ งเมืองปราจีนบุรี ทั้งบริเวณบ้านบางคาง และกองกำกับ ตำรวจภูธร จังหวัดปราจีนบุรีนี้อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเป็นไปได้คือ บริเวณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ห่างจาก แหล่งน้าทั้งนี้เพราะในการตั้งบ้านเรือน การสร้างเมืองของไทยแต่โบราณแล้วจะนิยมยึดถือในแนวทาง เดียวกัน คือ ให้อยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้า เพื่อประกอบอาชีพในการเพาะปลูก ทำนาและการคมนาคม
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
จากการศึกษาและค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี ได้พบว่า จังหวัดปราจีนบุรีเคย เป็นหัวเมืองเก่าแก่มาตั้ งแต่โบราณตั้ งแต่สมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิ อาณาจักรทวาราวดี อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรอีศานปุระ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งแต่เดิมเคยมีชื่อตามหลักศิลาจารึกว่า "เมืองอวัธยปุระ" "เมือง พระรถ" หรือ "เมืองมโหสถ" ทั้งนี้จากหลักฐานรายงานของชุมนุมวัฒนธรรมโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร" ได้บันทึกไว้ดังต่อไปนี้"…..เมืองอวัธยปุระ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) …..นอกจากเมืองโบราณและโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนาดใหญ่และสวยงาม อันแสดงให้เห็นถึงระดับความเจริญแล้ว ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ อันเป็นที่ตั้งของ เมือง ยังแสดงให้เห็นชัดมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการคมนาคม……ในทางภูมิศาสตร์ เมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่  130 องศา 53 ลิปดา 30 ฟิลิปดา เหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 25 ลิปดา ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างรี ….ภายในเมืองมีโคกเนินที่เป็นศาสนสถาน ทั้งที่สร้างด้วยศิลาแลงและ อิฐหลายแห่ง ซึ่งล้วนมีขนาดใหญ่ ….บริเวณเหล่านี้มีเศษกระเบื้องเกลื่อนกลาด เศษกระเบื้องที่พบมี หลายสมัย นับตั้ งแต่สมัยทวาราวดี ลพบุรี จนถึงสุโขทัยและอยุธยาที่เมืองอวัธยปุระนี้การชลประทาน เพื่อกักน้าไว้ใช้เจริญมาก …..บริเวณเมืองอวัธยปุระได้พบหลักศิลาจารึกที่เนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำเภอศรีมโหสถ) จังหวัดปราจีนบุรี มีข้อความว่า …..มหาศักราช 683 ปีฉลูนักษัตร แรม 1 ค่ำ เดือน 7 วันพุธ (ตรงกับ พ.. 2304)"
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับซากโบราณ ศาสนสถาน ตลอดจนที่ตั้ งตามตำแหน่งภูมิศาสตร์ ทำให้เป็นแนวทางสันนิษฐานได้ว่า เมืองอวัธยปุระ "เมืองพระรถ" เมืองมโหสถ หรือเมืองปราจีนบุรีใน ปัจจุบัน ได้เกิดขึ้นในอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ 300 ปี ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งอินเดีย ได้จัดส่งพระเถระ 2 รูป คือ พระโสณะ และพระอุตตระ เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาในอาณาจักรสุวรรณภูมิ ลัทธิหินยาน ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนา จึงอุบัติขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเจริญรุ่งเรืองสืบมาซึ่งจะเห็นได้จากโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นต้นว่า รูปธรรมจักรและกวาง สถูปศิลา พระพุทธรูปปางต่าง ๆ อันหมายถึง อุเทสิกะเจดีย์ ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้พันธุ์มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย อันหมายถึง บริโภคเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเมืองนี้ตลอดมา ต่อมาเมืองอวัธยปุระได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรฟูนันระยะหนึ่ง จนกระทั่งจวบถึงพุทธศตวรรษที่ 11 อาณาจักรทวาราวดีได้มีอำนาจในบริเวณลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาโดยสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรสุวรรณภูมิ และได้แผ่อำนาจมาถึงเมืองอวัธยปุระ จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรทวาราวดีถึงจุดเสื่อม และล่มจมลง เมืองอวัธยปุระจึงต้องตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร
อีศานปุระ (อาณาจักรเจนละ) และจากหลักฐานการค้นพบศิลาจารึกที่บริเวณเนินสระบัว ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจารึกเป็นตัวอักษรขอมโบราณ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าเมืองอวัธย-ปุระ น่าจะมีชนชาติขอมอาศัยอยู่ด้วย และนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เมืองอวัธยปุระในสมัยนี้มีสภาพเป็นหัวเมืองใหญ่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการปกครอง ทั้งได้ถ่ายทอดคติความเชื่อในพุทธ-ศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ นิกายต่าง ๆ เริ่มแพร่หลาย ดังนั้นพระพุทธรูปในลัทธิมหายานและรูปศิวลึงค์ เทวสถาน อันเป็นเครื่องหมายแทนรูปเคารพตามคติความเชื่อในสมัยนั้น จึงปรากฏร่องรอยทิ้งซากปรักหักพังให้เห็นดังในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์โบราณคดี กำหนดเรียกศิลปโบราณวัตถุที่ขุดพบในจังหวัดปราจีนบุรี และแถบตะวันออกของประเทศไทยว่า "กลุ่มของโบราณดงศรีมหาโพธิ" ศิลปโบราณวัตถุดังกล่าวนี้เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 อาณาจักรลพบุรีเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วคาบสมุทรอินโดจีนตลอดแหลมสุวรรณภูมิ เมืองอวัธยปุระ หรือ เมืองศรีมโหสถ จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจด้วย เข้าใจว่ายังคงความสำคัญอยู่แต่ไม่อาจทราบสถานภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจได้แน่ชัด
สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยไม่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองอวัธยปุระ (ศรีมโหสถ) หรือเมืองปราจีนบุรี เข้าใจว่ามิได้มีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับสุโขทัย หรือยังอยู่ในอำนาจขอม แต่ก็ได้พบเครื่องสังคโลกในบริเวณชุมชนโบราณ
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยในปีพุทธศักราช 1893 ทรงนำแบบแผนการปกครองและวิธีการทหารมาจากกรุงสุโขทัย ทรงกำหนดให้มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในขึ้น สำหรับป้องกันราชธานีทั้ง 4 ทิศ และกำหนดให้เมือง ปราจิณเป็นหัวเมืองชั้นในด้านตะวันออก ขึ้นอยู่ในอำนาจของเจ้าพระยาจักรี ตำแหน่งสมุหนายก เมือง ปราจิณ จัดเป็นหัวเมืองชั้นโท เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา
ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการปกครองกรุงศรีอยุธยาใหม่ คือ ทรงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองชั้นใน และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้น ๆ คือ ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวา เมืองปราจิณ ถูกกำหนดให้เป็นเมืองจัตวา (ชั้น 4) ใช้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ พระ หรือ พระยา ปกครอง
ล่วงมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นหลายเมืองด้วยกัน เมือง ปราจิณถูกตัดแบ่งแยกอาณาเขตจากเดิมจัดตั้งเป็นเมืองใหม่เพิ่มขึ้น คือ ท้องที่เขตเมืองปราจิณทางด้านใต้ กับท้องที่เมืองชลบุรีด้านเหนือ ตั้งเป็นเมืองใหม่ คือ เมืองฉะเชิงเทรา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดินี้ พระเจ้าแปรกษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมารุกรานไทย เกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าหลายครั้ง ฝ่ายพระยาละแวกถือโอกาสที่ไทยมีศึกสงครามจึงยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองปราจิณ และหัวเมืองด้านตะวันออกไปเป็นจำนวนมาก หลังจากสงครามพม่าสงบลงแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงโปรดให้พระยาพะเยาเป็นแม่ทัพยกทัพไปตีเมืองละแวก พระยาละแวกเห็นว่าจะสู้ไม่ได้จึงขอยอมรับผิด ยอมอ่อนน้อมขอเป็นเมืองออกถวายเครื่องบรรณาการ และนำครอบครัวชาวไทยที่กวาดต้อนไปจากเมืองปราจิณกลับคืน
ในสมัยของพระมหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า บ้านเมืองบอบชํ้าจากพิษสงคราม เขมรฉวยโอกาสส่งกองทัพมารุกรานหัวเมืองต่างๆ ของไทยหลายครั้ง เมื่อพม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาใน พ.. 2128 พระยาละแวกได้ยกกองทัพมาช่วยโดยเดินทางมาทางด่านเมือง ปราจิณ ครั้งนี้กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ต่อมาพระยาละแวกเริ่มเอาใจออกห่าง จนกระทั่งปี พ.. ๒๑๓๐ พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง ทรงยกกองทัพใหญ่เข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาอีก ฝ่ายพระยาละแวกเมื่อทราบว่าไทยมีศึกกับพม่า จึงแต่งทัพเข้ามาตีหัวเมืองทางภาคตะวันออกของไทย ตีเมืองปราจิณแตก พระยาศรีไสยณรงค์และพระยาสีหราชเดโช ยกทัพออกไปตีต้านทัพทางด้านหณุมาน (ปัจจุบันคืออำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และทางด่านพระจารึกหรือด่านพระกริศ (เข้าใจว่าอยู่ในเขตอำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี-ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว) และแล้วจึงยกทัพกลับมาตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองปราจิณ จนกระทั่งพม่าเลิกทัพแล้วจึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง ทรงร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา ปรับปรุงกองทัพไทยให้เข้มแข็ง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยาไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ณ เมืองแครง ใน พ.. 2127 พระยาละแวกได้ขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา
.. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้จัดเตรียมทัพเพื่อยกเข้าตีกรุงกัมพูชา ทรงสั่งให้เจ้าเมืองทางหัวเมืองด้านตะวันออก ๔ หัวเมือง คือ พระยานครนายก พระยาปราจิณ พระวิเศษเมืองฉะเชิงเทรา และ พระสระบุรี ตั้งค่ายขุดคู ปลูกยุ้งฉางลำเลียงไว้ที่ตำบลทำนบ และให้รักษาฉางข้าว พ.. 2136 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพหลวงไปตีเมืองละแวก ต่อมาโปรดให้ พระยาปราจิณ พระยานครนายก และพระวิเศษเข้าร่วมกระบวนทัพหลวง และโปรดให้พระยาปราจีนตั้งกองรวบรวมเสบียงอาหารอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์พร้อมด้วยทหาร 3,000 คน ในที่สุดก็สามารถตีกรุงกัมพูชาเป็นผลสำเร็จ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้ตั้งพิธีปฐมกรรม และประหารชีวิตพระยาละแวก หลังจากนั้นมาราษฎรเมืองปราจิณก็อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ถูกรบกวนจากพวกเขมรอีก
จวบจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏว่าเกิดเรื่องยุ่งยากในการสืบราชสมบัติ เนื่องจากพระราชโอรสไม่สามัคคีปรองดองกัน (โอรสทั้ง 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร) และพระโอรสเกิดจากพระสนม ๔ พระองค์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี) ต่อมาพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ได้รับพระราชอาญาให้ประหารชีวิตเนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับพระสนม ส่วนราชโอรสองค์กลางคือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) นั้น พระปรีชาและพระอุปนิสัยไม่เหมาะแก่การปกครองบ้านเมือง โปรดให้ออกผนวชและทรงแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นอุปราช เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ต่อมากรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทร-เทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี คบคิดกันช่วงชิงราชสมบัติแต่ไม่สำเร็จ ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ หลังจากนั้นพระเจ้าอุทุมพรทรงถวายราชสมบัติให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือเรียกกันว่าขุนหลวงขี้เรื้อน ส่วนพระเจ้าอุทุมพรเมื่อมอบราชสมบัติให้แก่พระเชษฐาแล้ว ก็ทรงออกผนวชและก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในพุทธศักราช 2309 ปีจอ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งถูกพระเจ้าเอกทัศ เนรเทศไปอยู่เมืองจันทบุรีได้ชักชวนรวบรวมกำลังจัดกองทัพมาช่วยรบพม่าซึ่งขณะนั้นกำลังล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ กองทัพได้ยกกำลังมาถึงเมือง ปราจิณ และให้นายทองอยู่น้อย เป็นแม่ทัพหน้ายกพลไปตั้งมั่นอยู่ปากนํ้าโยทะกา แขวงเมืองนครนายก ต่อมาพม่าได้ยกกองทัพมาตีทัพหน้าของกรมหมื่นเทพพิพิธแตกพ่ายไป กรมหมื่นเทพพิพิธจึงเสด็จหนีไปยังเมืองนครราชสีมา จากเหตุการณ์ที่กรมหมื่นเทพพิพิธได้ชักชวนกำลังราษฎรไปรบกับพม่าช่วย กรุงศรีอยุธยาและได้ยกกองทัพมาถึงเมืองปราจิณนั้น คาดว่าบรรดาชายฉกรรจ์ของเมืองปราจิณ ซึ่งมีเลือดรักชาติและเป็นนักรบอยู่แล้ว คงอาสาร่วมรบพม่าในครั้งนี้ด้วยเป็นแน่แท้
สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.. 2310 แล้ว พม่าตั้งใจจะมิให้ไทยตั้งตัวได้อีก จึงเผาผลาญทำลายปราสาทราชวัง วัดวาอาราม ตลอดจนบ้านเรือนของราษฎรเสียหายยับเยิน ทั้งยังกวาดต้อนผู้คนเก็บทรัพย์สมบัติไปจนหมดสิ้น กรุงศรีอยุธยาซึ่งเคยเป็นราชธานีของไทยที่ยืนยาวมาหลายร้อยปี ก็ถึงกาลพินาศล่มจมนับพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยารวมทั้งสิ้น 34 พระองค์
จากข้อความตอนหนึ่งในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า “…..พม่ายกทัพเรือออกไปตีเมืองปราจิณแตก…..” ก็แสดงให้เห็นว่า ในการสงครามครั้งนี้ เมืองปราจิณต้องถูกพม่าทำลายบ้านเมืองด้วย และคงกวาดต้อนราษฎรไปด้วยเป็นอันมาก จากซากกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า เมืองปราจิณซึ่งถูกกองทัพพม่าบุกยึดเมืองได้ คงถูกทำลายเสียหายย่อยยับเช่นเดียวกันกับกรุงศรีอยุธยา
ในช่วงเหตุการณ์ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นี้ เมืองปราจิณได้มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือ พระยาตาก ขณะนั้นเป็นพระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกทั้งชาวไทยและชาวจีน ตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาออกมาได้ขณะหยุดประทับ ณ บ้านพรานนก ความทราบถึงกองกำลังของทหารพม่าซึ่งตั้งมั่นรักษาเมืองปราจิณอยู่ที่บ้านบางคาง (ปัจจุบันคือบ้านบางคาง ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวัน-ตกห่างจากตัวเมืองปราจิณประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ จึงนำกำลังไปปราบปราม ปะทะกับทหารไทย-จีน ของพระยาตากที่ออกมาหาเสบียงอาหาร ผลปรากฏว่าฝ่ายพระยาตากได้รับชัยชนะ ทำให้พระยาตากเป็นที่เลื่อมใสของบรรดาชาวไทยทั่ว ๆ ไป และเป็นที่ยำเกรงของพม่า ตลอดจนหมู่คนไทยจากชุมนุมต่างๆ ต่อมาพระยาตากได้ยกกองทัพมาถึงเมืองปราจิณ ข้ามแม่นํ้าปราจีนบุรีที่ด่านกบแจะ (ปัจจุบันคือ วัดกระแจะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) แล้วเดินทัพตัดออกทางบ้านคู้ลำพัน (ตำบลคู้ลำพัน อำเภอโคกปีบ-ศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) และหยุดพักไพร่พลเพื่อหุงหาอาหารทางด้านฟากตะวันออกที่ชายดงศรีมหาโพธิ (บริเวณลานต้นโพธิ์ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี) หลังจากนั้นก็เดินทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ต่อไปจนถึงเมืองระยองเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จยึดเป็นที่มั่นรวบรวมซ่องสุมกำลังเพื่อกู้ราชธานี กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า
ท้ายที่สุดพระยาตาก ก็รวบรวมและปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ จนราบคาบและสามารถกู้ อิสรภาพให้พ้นจากอำนาจของพม่าได้ ดังนั้นในวันอังคาร แรม 4 คํ่า เดือน 1 ตรงกับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2311 พระยาตากจึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 เมื่อพระชนมายุได้ 34 พรรษา ซึ่งปัจจุบันได้ถวายพระราชสมญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น พระราชพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทั้งนี้ เพราะในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงระยะฟื้นฟูประเทศ ตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ถ้าไม่ทำสงครามกับพม่าก็ต้องปราบปรามชุมนุมต่างๆ ของไทย เพื่อรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่น แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยของพระบริหารเทพธานี ได้เขียนไว้ว่าใน พ.. 2312 พระรามราชาเกิดผิดใจกับพระนารายณ์ราชา พระรามราชากษัตริย์ของเขมร จึงขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดฯ ให้พระยาโกษาธิบดี (ล่าย) ยกทัพไปปราบพระนารายณ์ราชา พระยาโกษาธิบดียึดได้เมืองพระตะบอง เสียมราฐ กลับมาได้ใน พ.. 2313 ในการปราบเขมรครั้งนี้ เมืองปราจิณซึ่งเป็นหัวเมืองชายแดนทางตะวันออกคงถูกเกณฑ์ชายฉกรรจ์ไปร่วมสงครามด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏในสำเนาท้องตรา พ.. 2316 ว่า พระปราจิณบุรีได้มีท้องตราแจ้งว่าพม่าและลาวยกพลมาตั้งที่ตำบลท่ากระเล็บนอกด่านพระจารึก จึงได้โปรดให้เกณฑ์ทัพหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคกลางและภาคตะวันออกไปช่วยรบ จึงอาจสรุปได้ว่าเมืองปราจิณคงได้รับการบูรณะ
ในฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของกรุงธนบุรี และคงอยู่ในฐานะเมืองหน้าด่านทางด้านเขมรจวบจนสิ้นสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ไม่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณมากนัก ทั้งนี้เพราะเขมรถูกญวนรุกราน และกองทัพไทยก็ปราบปรามเขมรจนราบคาบ จะมีก็แต่ในช่วงที่กรุงธนบุรีเกิดเหตุการณ์จราจล เพราะเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงเสด็จกลับกรุงธนบุรีเพื่อปราบปรามการจราจลและจัดการพระนครนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ให้กองทัพไปล้อมกรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ที่เมืองพุทธไธเพชร แต่กรมขุนอินทร-พิทักษ์สามารถตีหักออกจากที่ล้อมได้ ยกกำลังหนีไปเมืองปราจิณ ต่อมาถูกจับกุมได้และถูก
ประหารชีวิต สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์และได้มีการถวายพระนามว่า  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
จากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณ ในสมัย รัตนโกสินทร์ก็ไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองปราจิณมากนัก ทั้งนี้เมืองปราจิณเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกที่จัดว่าสำคัญ เพราะเป็นทางผ่านในการเดินทัพไปมาระหว่างการสงครามไทยกับเขมร คือ เขมรคอยหาโอกาสและจังหวะที่ไทยอ่อนแอ หรือเกิดความจลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง ยกกองทัพมาซํ้าเติมและกวาดต้อนผู้คนบริเวณหัวเมืองชายแดนไทย ซึ่งจากเหตุผลนี้คาดว่าครอบครัวและราษฎรไทยในเมืองปราจิณ ก็คงจะถูกกวาดต้อนไปบ้างและในกรณีที่ไทยยกกองทัพไปปราบปรามเขมร เนื่องจากเขมรแข็งเมืองบ้าง เขมรทะเลาะวิวาทกันเองบ้าง ราษฎรในเมืองปราจิณก็ต้องถูกเกณฑ์ไปรบด้วย สำหรับเมืองปราจิณมีด่านสำคัญอยู่ด่านหนึ่งคือ "ด่านหณุมาน" (ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นด่านหน้าสำหรับคอยป้องกันเขมรทางด้านตะวันออก คำว่าหณุมาน เป็นทั้งชื่อด่านและแควลำนํ้าหณุมาณด้วย เป็นแควน้อยที่คู่กับแควใหญ่ เรียกว่า "แควพระปรง" สำหรับด่านหณุมานนี้สันนิษฐานว่าตั้งมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เพราะในสมัยนี้ได้ยกฐานะด่านหณุมานตั้งเป็นเมืองกบินทร์บุรีขึ้น (ปี พ.. 2468 เปลี่ยนเป็นอำเภอกบินทร์บุรี) และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ โปรดให้ยกฐานะบ้านที่เป็นชุมชนหนาแน่นเป็นเมือง ขึ้นกรมมหาดไทย คือ เมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร ฯลฯ
และเมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันทน์ เป็นกบฏในสมัยรัชกาลที่ 3 ราว พ.. 2368 ทรงโปรดให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์ เป็นจอมทัพไปปราบปราม กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์ได้ตั้งประชุมพลที่เมือง
ปราจิณและยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ เป็นผลสำเร็จ
ต่อมาในปี พ.. 2375 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร ในการเดินทัพครั้งนี้ กองทัพได้เดินทางออกจากพระนคร ผ่านบ้านบัวลอยและหยุดทัพพักกองเกวียนอยู่ที่บ้านบัวลอยแห่งนี้ และเดินทางต่อไปโดยพักที่บ้านกระโดน อำเภอกบินทร์บุรี โดยได้ตัดถนนจากกบินทร์บุรีไปจนถึงเมืองพระตะบอง เมื่อเสร็จศึกเขมรแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้สร้างวัดขึ้นที่บ้านกระโดน อำเภอกบินทร์บุรี ให้ชื่อว่า "วัดพระยาทำ" (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี) และบริเวณที่เดินทัพมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดแจ้งในปัจจุบัน ก็เป็นเวลารุ่งแจ้งพอดี จึงได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว เรียกว่า "วัดแจ้ง" (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี) สำหรับบริเวณที่หยุดพักเกวียนที่บริเวณบ้านบัวลาย ให้สร้างวัดขึ้นเรียกว่าวัดโรงเกวียน” (ปัจจุบันคือ วัดอุดมวิทยาราม (โรงเกวียน) แล้วจึงยกกองทัพกลับพระนคร สำหรับถนนที่ตัดจากกบินทร์ไปจนถึงเมืองพระตะบองเพื่อไปปราบเขมรนั้น บัดนี้ยังคงอยู่ เรียกว่าถนนเจ้าพระยาบดินทร์
ในปีพุทธศักราช 2421 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือง ปราจิณมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรี บรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองคือพระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) มาควบคุมการทำเหมืองทองที่ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ผู้บุตร เป็นข้าหลวงเมือง ปราจิณ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระปรีชากลการ เพื่อช่วยทำเหมืองทองคำ พระปรีชากลการได้สมรสกับ มิสแฟนนี่ น๊อกซ์ ธิดาของเซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ต่อมาพระปรีชากลการถูกราษฎรร้องทุกข์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าฉ้อโกงเงินหลวง กระทำทารุณกรรมราษฎรด้วยความไม่เป็นธรรมหลายประการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะกรรมการตุลาการขึ้นชำระความ ปรากฏว่าพระปรีชากลการมีความผิดตามที่ราษฎรร้องเรียน จึงจับตัวพระปรีชากลการสอบสวน เซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ ขอร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวพระปรีชากลการ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงโทรเลขเรียกเรือรบอังกฤษเข้ามาในน่านนํ้าไทยเพื่อข่มขู่รัฐบาล รัฐบาลไทยจึงส่งคณะทูตพิเศษออกไปเจรจาความกับรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษเห็นว่าการกระทำของกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทยไม่เป็นการสมควร จึงเรียกเรือรบกลับและมีคำสั่งให้เซอร์โธมัส ยอร์ช น๊อกซ์ พ้นจากตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ดังนั้นคณะลูกขุนตุลาการของศาลไทยจึงพิพากษาลงโทษประหารชีวิตประปรีชากลการ และจำคุกสมัครพรรคพวกอีกหลายคน
.. 2437 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ปฏิรูปการปกครองประเทศไทย ส่วนภาคเป็นระบบมณฑล เทศาภิบาล มณฑลปราจีนมีที่ตั้งที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี มีหัวเมืองขึ้นอยู่ในความปกครอง คือ เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี มีพลตรี พระยาฤทธิ์รงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก
ในสมัยนั้นเมืองปราจีนบุรีมีที่บัญชาการมณฑลเป็นตึก 2 ชั้น 4 หลัง หันเข้าบรรจบกันเป็น 4 เหลี่ยม รูปคล้ายศาลายุทธนาธิการ กว้างขวางมาก ระหว่างกลางสามารถปลูกต้นไม้ทำเป็นสนามได้
สำหรับการปกครองในสมัยนั้น เมืองปราจีนบุรีแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 อำเภอ 3 สาขา คือ
1. อำเภอเมือง
2. อำเภอบ้านสร้าง
3. อำเภอศรีมหาโพธิ แยกสาขาเป็นอำเภอท่าประชุม
4. อำเภอประจันตคาม
5. อำเภอกระบิล แยกสาขาเป็น อำเภอวัฒนา 1 อำเภอสระแก้ว 1
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ถึงสถานีแม่นํ้า จังหวัดฉะเชิงเทรา) ต่อมาในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างต่อจนถึงสถานีอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
ปี พ.ศ.2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า "กิ่งอำเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกา  ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า "อำเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งกรมทหารราบที่ 19 ขึ้น โดยจัดสร้างอาคารทหารทางด้านทิศตะวันออกของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (บริเวณริมเรือนจำในปัจจุบัน) ถึงคลองดักรอบ (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี โรงเรียนปราจีนกัลยาณี โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง และวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรีในปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายกรมทหารไปตั้งใหม่ที่ดงพระรามให้ชื่อว่าค่ายจักรพงษ์มณฑลทหารบกที่ 2 เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เปลี่ยนจากเมืองเป็นจังหวัดและใน พ.. 2476 ได้มีการยุบเลิกมณฑลปราจีน ดังนั้นในทำเนียบรายชื่อจังหวัดในประเทศไทย จึงปรากฏเป็นจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งหมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย
          เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสระแก้วขึ้น โดยแยกออกจากจังหวัดปราจีนบุรี ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 เป็นผลให้จังหวัดสระแก้ว ได้เปิดทำการใน วันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศไทย
ประวัติศาสตร์จังหวัดปัตตานี
ตราประจำจังหวัด


รูปปืนใหญ่ศรีปัตตานีหรือนางพญาตานี
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้

ปัตตานี หากจะอาศัยประวัติศาสตร์ของไทยเราเป็นที่อ้างอิงเพียงด้านเดียวจะเห็นได้ว่าปัตตานีมีเรื่องราวและบทบาทเพียงน้อยนิด เป็นเพียงหัวเมืองปักษ์ใต้ที่เป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แต่สำหรับเรื่องราวของปัตตานีที่มีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุของจีนและประเทศอื่น ๆ ซึ่งเคยติดต่อด้านการค้าการเดินเรือต่างถึงเมืองปัตตานีเนิ่นนานกว่าสมัยสุโขทัยมากนัก ปัตตานีคือปัจจุบัน "ลังกาสุกะ" คือ อดีตอันรุ่งเรือง
ที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ศาสตราจารย์ ปอล วิตลีย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแหลมมลายูได้ใช้บันทึกของผู้โดยสารเรือผ่านอาณาจักรนี้ซึ่งมีมากมายหลายเชื้อชาติ แต่ที่มากที่สุดและได้รายละเอียดมากที่สุดได้แก่ชาวจีน เพราะชาวจีนได้บันทึกมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 11 นายปอล วิตลีย์ สรุปลงได้ว่าอาณาจักรลังกาสุกะตั้งอยู่ระหว่างเมืองกลันตันและเมืองสงขลา ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการประวัติศาสตร์
จดหมายเหตุของจีนชื่อ เหลียง ซู ซึ่งเขียนขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 11 เรียกชื่อเมืองลังกา- สุกะว่าลัง-ยาหรือลังยาชิวและกล่าวว่าอาณาจักรลังกาสุกะได้ตั้งมาก่อนหน้านั้นประมาณ 400 ปี ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7 แล้วกล่าวด้วยว่า อาณาจักรนี้มีอาณาเขตจรดทั้งสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันออกจรดฝั่งอ่าวไทยบริเวณเมืองปัตตานี ด้านตะวันตกจรดฝั่งอ่าวเบงกอลเหนือเมืองไทรบุรี ในประเด็นหลังนั้น ศาสตราจารย์ฮอลล์เห็นด้วยซํ้ากล่าวเพิ่มเติมว่า ก็เพราะอาณาจักรลังกาสุกะมีอำนาจปกครองคร่อมอยู่ทั้งสองฝั่งทะเลเช่นนี้เอง จึงได้ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทางเดินข้ามแหลมมลายูแต่โบราณ
เหตุที่ชื่อเมืองหรืออาณาจักรของลังกาสุกะไปปรากฏในเอกสารของชาวต่างประเทศเป็นอันมากนั้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าเมืองลังกาสุกะต้องเป็นเมืองท่าสำคัญอยู่ใกล้ทะเล มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอ
ถิ่นฐานและการโยกย้าย ตามตำนานพื้นเมืองของปัตตานีเล่าสืบกันมาว่า เมืองปัตตานีโบราณ หรือเมื่อครั้งยังเรียกว่าลังกาสุกะนั้น ได้มีการโยกย้ายมาแล้ว 3 ครั้ง
เดิมนั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปาโย หรือบาโย ซึ่งทุกวันนี้ได้แก่ บริเวณท้องที่ตำบลหน้าถํ้า ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บนฝั่งซ้ายของแม่นํ้าปัตตานี ในบริเวณนี้ได้พบซากโบราณสถาน โบราณวัตถุจำนวนมาก แต่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15-17 เป็นส่วนใหญ่
การเคลื่อนย้ายครั้งที่ 1 ได้อพยพมาตั้งเมืองที่บ้านตะมางันท้องที่ตำบลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ชื่อตะมางันปัจจุบันมีอยู่ที่เมืองยะรังเก่า อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้จดจำตำนานเกิดความไขว้เขวขึ้นก็ได้ อีกทั้งที่อำเภอรือเสาะก็ไม่พบโบราณสถาน หรือหลักฐานใด ๆ ที่เก่าถึงสมัยลังกาสุกะ
การเคลื่อนย้ายครั้งที่ 2 ได้อพยพย้ายมาตั้งบ้านเมืองที่บ้านประแวคือเมืองยะรังเก่า ในท้องที่ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองเก่าของปัตตานีที่บ้านประแวแห่งนี้ได้รับการเชื่อถือมากที่สุดว่าคือเมืองลังกาสุกะเนื่องจากที่ตั้งใกล้เคียงกับที่ได้รับการจดบันทึกในจดหมายเหตุของประเทศต่างๆ ตลอดจนได้พบหลักฐานจำนวนมาก รวมทั้งศาสนสถานทั้งของศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และอื่น ๆ อายุ ตั้งแต่ พ.. 1100-1400 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นหลักฐานที่เน้นถึงความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดของอาณาจักรลังกาสุกะ
การเคลื่อนย้ายครั้งที่ 3 ได้อพยพมาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านกรือเซะอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 4 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเมืองนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อเมืองปัตตานี และชื่อ เมืองลังกาสุกะก็จางหายไปจากหน้าบันทึกทางประวัติศาสตร์
ลักษณะบ้านเมืองและการเป็นอยู่จากหนังสือความสัมพันธ์ของจีนกับหมู่เกาะทะเลจีนตอน ใต้กล่าวถึงจดหมายเหตุ เหลียง-ซู เล่มที่ 54 ว่ามีข้อความเอ่ยถึงเมืองลังกาสุกะว่า เป็นอาณาจักรที่มีพืชผล และภูมิอากาศคล้ายคลึงกับฟูนัน มีเครื่องเทศมาก ประชาชนทั้ งหญิงและชายไว้ผมยาวประบ่า สวมเสื้อผ้าไม่มี แขน กษัตริย์และขุนนางใช้ผ้ายกทองสีแดงคลุมเครื่องแต่งกาย ใส่ตุ้มหูทอง ผู้หญิงมีผ้าคลุมและใส่สร้อยสังวาล กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐ มีประตูเมืองหลายชั้ นเมื่อกษัตริย์เสด็จออกจากวังจะประทับบนหลังช้าง หลังคากูบ เป็นผ้าขาว หน้าขบวนมีพลกลอง และมีทหารถือธงล้อมรอบ ชาวเมืองนี้กล่าวว่าเมืองนี้ได้ตั้ งเมืองมากว่า 400 ปีแล้ว เมืองลังกาสุกะในสมัยพระเจ้าภัคทัตต์ได้ส่งทูตไปเมืองจีน (.. 1058) เพื่อเจริญราชไมตรี
จากข้อความดังกล่าวข้างต้น เป็นหลักฐานที่ยืนยันถึงความเจริญรุ่ งเรืองของอาณาจักรลังกาสุกะ ความอยู่เย็นเป็นสุข และเศรษฐกิจที่ดี แต่เมื่อรุ่ งเรืองถึงขีดสุดแล้ว อาณาจักรลังกาสุกะก็เริ่ มทรุดลงในศตวรรษ ที่14 และ 15 โดยตกไปเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย จนถึง พ.. 1836 อาณาจักรศรีวิชัยหมดอำนาจ กองทัพของกรุงสุโขทัยซึ่งลงมาอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราชร่วมกับกำลังกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชรุกเข้าไป ในรัฐต่างๆ บนแหลมมลายูตอนใต้ จนยึดได้ตลอดสุดแหลมเมื่อ พ.. 1838 ดังข้อความที่จารึกไว้ในหลักศิลา จารึกหลักที่ 1 ตอนที่กล่าวถึงเขตแดนทิศใต้ของอาณาจักรสุโขทัยว่า : -
“… เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ฝั ่ งสมุทร เป็นที่แล้ว …”
ครั้นเมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยอ่อนกำลังลง เมืองนครศรีธรรมราชก็ตรามาเป็นประเทศราชอยู่ใต้ การปกครองของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รวมทั้ งเมืองตานีที่พญาศรีธรรมราช (พระพนมวัง) เป็นผู้สร้างใน ราวพุทธศตวรรษที่ 19
เมื่อปีพุทธศักราช 2310 อันเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่านั้น บรรดาหัวเมืองปักษ์ใต้พากัน กระด้างกระเดื่อง หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้อิสรภาพสำเร็จจึงเสด็จพระราชดำเนินลงไป ปราบเมืองนครศรีธรรมราช และได้เมืองนครศรีธรรมราชกลับคืนมาอยู่ภายในราชอาณาจักรของพระองค์อีก ครั้งหนึ่ง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ ทรงโปรดให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ยกกองทัพไปตีเมืองตานีได้จากสุลต่านโมหะหมัดในปี พ.. 2327 และโปรดเกล้าให้ตวนกูลัมมิเด็นเป็นรายาตานี
ปี พ.. 2334 ตวนกูลัมมิเด็นคบคิดกับแขกเมืองเซียะ (ในเกาะสุมาตรา) ยกทัพไปตีเมือง สงขลา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงให้พระยากลาโหมเสนาเป็นแม่ทัพนำทัพเรือยกไป ตีเมืองตานีและมีชัยชนะ พระยากลาโหมราชเสนาได้ขอพระราชทานโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ระตูปะกาลันเป็น รายาตานีคนต่อไป
ปี พ.. 2351 ระตูปะกาลันได้ก่อความไม่สงบขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชได้ให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ยกกองทัพกรุงออกไปสมทบกับกองทัพเมืองสงขลา พัทลุง จะนะ มอบให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี๋ยนจง) เป็นแม่ทัพนำทัพไปตีเมืองตานีจับระตูปะกาลันได้ และได้นำตัวมาไว้ ณ กรุงเทพมหานคร
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระบรมราโชบายให้แยกเมืองตานีออกเป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์ แต่งตั้งให้นายขวัญซ้าย (มหาดเล็ก) เป็นผู้ว่าการเมืองปัตตานีคนแรก และมีผู้ว่าการต่อมา ดังนี้
นายพ่าย
ตวนกูสุหลง
นายทองอยู่
หนิยุโซะ
ตวนกูเปาะสา
พระยาวิชิตภักดีฯ (ตวนกูปุเตะ)
พระยาวิชิตภักดีฯ (ตวนกูตีมุน)
พระยาวิชิตภักดีฯ (ตวนกูมอซู หรือตวนสุไลมาน)
พระยาวิชิตภักดีฯ (ตวนกูอับดุลกาเดร์)
ในระหว่างปี พ.. 2433-2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองทั้ง 7 อันเป็นการปกครองแบบเก่าคือ ระบบกินเมืองมาเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงดำเนินการไปทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมืองทั้ง ๗ หัวเมือง ทั้งนี้เนื่องจากว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างเอกภาพให้แก่ประเทศ ทรงให้เลิกการแยกการปกครองตามเชื้อชาติที่ปรากฏในเมืองประเทศราชต่าง ๆ เพื่อรวมอำนาจการปกครองทั่วประเทศมาอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย และให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองโดยการกระจายระบบการบริหารไปสู่ท้องถิ่นตามแบบเทศาภิบาล
ปี พ.. 2439 ได้ตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นมณฑลแรกในภาคใต้ มีอำนาจหน้าที่ปกครองหัวเมือง 10 เมือง คือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์
ปี พ.. 2449 ทรงพระกรุณาโปรดให้แยกหัวเมืองทั้ง ๗ ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราชมาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยนฐานะเมืองเป็นอำเภอและจังหวัด
ปี พ.. 2475 ยุบเลิกมณฑลปัตตานี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกตํ่า รัฐบาลจำต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศไว้
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ให้จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร ก่อนสมัยเปลี่ยนการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย ดังนั้นเมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ ราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย สาเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1. การคมนาคมสื่อสารมีความสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อความประหยัด ลดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เนื่องด้วยเห็นว่า การดำเนินงานของหน่วยงานมณฑลซํ้าซ้อนกับหน่วยงานจังหวัดอันก่อให้เกิดความล่าช้าไม่คล่องตัวเท่าที่ควร
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบเลิกมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกนัยหนึ่ง อันมีผลให้ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีการเปลี่ยนเปลงไปจากเดิม ดังนี้
1. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 จังหวัดมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. อำนาจในการบริหารจังหวัดแต่เดิมนั้นตกอยู่กับคณะบุคคลคือ คณะกรรมการจังหวัด ได้เปลี่ยนมาอยู่กับบุคคลเพียงคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. คณะกรรมการจังหวัดแต่เดิมมีฐานะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็น
1. จังหวัด
2. อำเภอ
จังหวัดนั้นได้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่า ราชการจังหวัดในการบริหารแผ่นดินในจังหวัดนั้น ๆ

No comments:

Post a Comment